"หลักคิดการทำงานและสร้างผลงานทางวิชาการของผม"
รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
สิ่งเริ่มต้มในการของการทำงานผมจะใช้หลักคิดหรือหลักพื้นฐานของการทำงานวิชาการ อยู่ 2 หลัก คือ "หลักอิทธิบาท 4" กับ "พหูสูตรในพระไตรฏิฎก- เคล็ดลับการเป็นนักปราชญ์" นี่คือสิ่งที่ผมยึดถือปฏิบัติเพราะด้วยเหตุผลเพราะผมไม่เก่ง ไม่ฉลาด เหมือนคนอื่นๆ
"อิทธิบาท 4"
อิทธิบาท 4 หมายถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย มี 4 ประการ คือ
ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป คือ สนุกหรือมีความสุขไปกับการเขียนผลงานทางวิชาการ
วิริยะ (ความเพียร) คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย แม้ประสบปัญหาในการเขียน เช่น การค้นคว้างานภาษาอังกฤษ ก็อดทนหาวิธีเข้าถึงมันให้ได้ เป็นต้น และที่สำคัญเราต้องขยันอ่านหนังสือ และอ่านมันตลอดเวลาและหัดเขียนบันทึกตลอดเวลา จนป็นกิจวัตรประจำวันของเรา
จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป มุ่งมั่นกับสิ่งที่เราทำหรือที่เราเขียนผลงานทางวิชาการเรื่องนั้นๆให้มันเข้าใจและตกผลึกสามารถเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆได้ หรือเรียกว่า "จัดระบบความคิด"
วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง ในผลงานวิชาการที่เราเขียนอยู่เสมอ เป็นต้น
"พหูสูตรในพระไตรปิฎก – เคล็ดลับการเป็นนักปราชญ์"
พหูสูตรในพระไตรปิฎก – เคล็ดลับการเป็นนักปราชญ์" ผมได้รับข้อคิดจาก รศ.ดร. โกเมศ ขวัญเมือง ท่านเขียนไว้ในหนังสือผมที่ท่านยืมไปอ่านค้นคว้าในงานของท่าน ข้อความที่ท่านเขียนมานี้ผมนำมาเป็นข้อปฏิบัติตลอดมา ซึ่งพหูสูตรในพระไตรปิฎก – เคล็ดลับการเป็นนักปราชญ์" ประกอบด้วยหลักคิด ดังนี้
*ฟังมาก: รวมถึง
-อ่าน
-รวบรวมข้อมูล
*จำมาก: จำสิ่งซึ่งเป็นหลักการสาระสำคัญได้มาก
*คล่องปาก: จดจำได้จนท่องคล่องปาก,ขึ้นใจ
*เจนใจ: คิดวิเคราะห์บันทึกเป็นภาพขึ้นได้ในใจ
*ขอได้ด้วยทฤษฎี: ทำข้อมูลที่ได้มา สรุปและสร้างเป็น แนวคิดของตนและขยายผลไปกว้างใหญ่
「จิตตะ หมายถึง」的推薦目錄:
- 關於จิตตะ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於จิตตะ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於จิตตะ หมายถึง 在 การเรียนอิทธิบาท ๔ เพื่อความสำเร็จ I พระมหากีรติ ธีรปัญโญ 的評價
- 關於จิตตะ หมายถึง 在 ยึดหลักอิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา - YouTube 的評價
- 關於จิตตะ หมายถึง 在 อิทธิบาท 4 ทางดำเนินไปสู่ความสำเร็จ - YouTube 的評價
- 關於จิตตะ หมายถึง 在 ผู้มีประกอบด้วยอิทธิบาท 4 ทำอะไรก็ย่อมสำเร็จ | ธรรมให้รู้•2565 的評價
- 關於จิตตะ หมายถึง 在 การมีใจรัก ศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิ่งที่ทำ การสร้างฉันทะ เราต้องเลือกที่ ... 的評價
จิตตะ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
ประสบการณ์ในการเขียนผลงานวิชาการ เอกสารประกอบการสอน/ เอกสารคำสอน/ตำรา/หนังสือ/บทความทางวิชาการและงานวิจัยเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
สิ่งเริ่มต้มในการของการทำงานผมจะใช้หลักคิดหรือหลักพื้นฐานของการทำงานวิชาการ อยู่ 2 หลัก คือ หลักอิทธิบาท 4 กับพหูสูตรในพระไตรฏิฎก- เคล็ดลับการเป็นนักปราชญ์ นี่คือสิ่งที่ผมยึดถือปฏิบัติเพราะด้วยเหตุผลเพราะผมไม่เก่ง ไม่ฉลาด เหมือนคนอื่นๆ
อิทธิบาท 4 หมายถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย มี 4 ประการ คือ
ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป คือ สนุกหรือมีความสุขไปกับการเขียนผลงานทางวิชาการ
วิริยะ (ความเพียร) คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย แม้ประสบปัญหาในการเขียน เช่น การค้นคว้างานภาษาอังกฤษ ก็อดทนหาวิธีเข้าถึงมันให้ได้ เป็นต้น และที่สำคัญเราต้องขยันอ่านหนังสือ และอ่านมันตลอดเวลาและหัดเขียนบันทึกตลอดเวลา จนป็นกิจวัตรประจำวันของเรา
จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป มุ่งมั่นกับสิ่งที่เราทำหรือที่เราเขียนผลงานทางวิชาการเรื่องนั้นๆ
วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง ในผลงานวิชาการที่เราเขียนอยู่เสมอ เป็นต้น
พหูสูตรในพระไตรปิฎก – เคล็ดลับการเป็นนักปราชญ์ (โดย รศ.ดร. โกเมศ ขวัญเมือง)
*ฟังมาก: รวมถึง
-อ่าน
-รวบรวมข้อมูล
*จำมาก: จำสิ่งซึ่งเป็นหลักการสาระสำคัญได้มาก
*คล่องปาก: จดจำได้จนท่องคล่องปาก,ขึ้นใจ
*เจนใจ: คิดวิเคราะห์บันทึกเป็นภาพขึ้นได้ในใจ
*ขอได้ด้วยทฤษฎี: ทำข้อมูลที่ได้มา สรุปและสร้างเป็น แนวคิดของตนและขยายผลไปกว้างใหญ่
ประสบการณ์ชีวิตในการทำงานและการขอตำแหน่งทางวิชาการ
ประสบการณ์ในการเขียนผลงานทางวิชาการ คือ เอกสารประกอบการสอน/ เอกสารคำสอน/ตำรา/หนังสือ/บทความทางวิชาการและงานวิจัย ผมได้ทำมาตั้งแต่เริ่มต้นของการเป็นอาจารย์ โดยได้รับการเมตตาปรานีจาก อาจารย์ ดร. พีระพันธุ์ พาลุสุข คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในขณะนั้น (ปี 2544) โดยอาจารย์ได้แปลคู่มือการเขียนตำรา ที่เป็นคู่มือภาษาฝรั่งเศส มาเป็นภาษาไทย โดยให้ผมจับจดขึ้นมาในเรื่องวิธีการเรียบเรียงและวิธีการเขียน ให้เป็นเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน/ตำรา/หนังสือและงานวิจัย ขึ้นมา และผมโชคดีที่ได้ทำวิทยานิพนธ์ กับศ.ดร. สมคิด เลิศไพทูรย์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ท่านสอนวิธีการเขียนวิทยานิพนธ์ ทำให้พื้นฐานในการเขียนและเรียบเรียงผลงานทางวิชาการได้เร็ว จนเกิดผลงานทางวิชาการและได้เป็นเคล็ดลับในการเขียนผลงานทางวิชาการและที่สำคัญผมเขียนผลงานทางวิชาการให้สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งผมได้รับโอกาสเข้าอบรมประกันคุณภาพการศึกษามาตลอด จนทำให้ผมได้มีรายชื่อที่สามารถเป็นประธานผู้ประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในในสถาบันการศึกษา ของ สกอ. และผมก็ได้เขียนผลงานทางวิชาการตามที่กำหนดตามประกันคุณภาพการศึกษามาตลอด จึงเกิดประโยชน์ของตัวผมเองและตัวสถาบันที่ทำงาน และที่สำคัญจงมีความสุขกับการทำงานต้องคิดว่า "การทำงานเยอะยิ่งได้ความรู้เยอะ สามรถพัฒนาตนเองได้เร็วกว่าคนอื่น อย่าคิดว่าตัวเองทำงานแล้วคนอื่นไม่ทำงานและคิดน้อยใจแล้วไปว่าคนอื่นโวยวายไป นั่นคือ สิ่งที่บั่นทอนจิตใจเราไม่สามารถที่จะพัฒนาไปข้างหน้าได้เลย"
เริ่มทำงาน เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาครั้งแรก ตุลา 2544 ผมเสียเวลา 3 ปีกับการรับงานบริหาร คือ เป็นหัวหน้าแผนกวินัยและพัฒนานักศึกษา ที่มหาวิทยาลัยณิวัฒนา (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเวสเทริ์น) จ.สุพรรณบุรี (ปี 2544-2546) แล้วไปทำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ที่สันตพล จ.อุดรธานี (ปี 2546-2548) อยู่ดูแลหลักสูตรจนยืนได้ แล้วก็เริ่มเขียนผลงานทางวิชาการอย่างจริงจัง แล้วลาออกมาอยู่ วิทยาลัยตาปี จ.สุราษฎร์ธานี (ปี 2548) ผมมาอยู่มหาวิทยาลัยตาปี ก็เขียนผลงานทางวิชาการโดยการสนับสนุนจาก ท่านอาจารย์ รศ.ดร.โกเมศขวัญเมือง คณบดี ในการเขียนผลงานทางวิชาการ เอกสารประกอบการสอน ตำรา และบทความทางวิชาการ และในขณะเดียวท่านอาจารย์ รศ.ดร.โกเมศ ขวัญเมือง ท่านได้เสนอให้ผมเป็นผู้ช่วย สส. (นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดชุมพร) ให้ผมเข้าเรียนรู้งานในฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะอนุกรรมาธิการป้องกันและปรามปรามการทุจริตประพฤติมิชอบสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ผมได้พบนักกฎหมาย ที่เป็นนักการเมือง นักวิชาการที่เข้ามาเป็นกรรมาธิการที่มีความรู้ทางกฎหมายโดยเฉพาะทางด้านกฎหมายมหาชน ทำให้ผมมีความรู้เพิ่มมากขึ้นในการเขียนตำรา/บทความความ
ในเดือนตุลา 2550 ผมก็เสนอขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) และซึ่งในขณะนั้นผมได้รับมอบหมายให้ทำหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชนด้วย และจัดทำหลักสูตรสำเร็จ เปิดดำเนินการผมทำหน้าที่เป็นเลขาหลักสูตรที่ต้องจัดทำหน้าที่ทั้งหมด ทั้งด้านเอกสารและประสานงานต่างๆรวมไปถึงอาจารย์ผู้สอน ปโท ในช่วงเวลานี้แหละที่ผมได้เขียนผลงานทางวิชาการเสนออาจารย์ที่มาสอนพิเศษในหลักสูตร ปโท ทำให้ผมมีความรู้เพิ่มมากขึ้นและมีงานเพิ่มมากขึ้นกว่าอาจารย์คนอื่นในคณะ คือ ต้องเขียนบทความ เขียนตำรา เขียนงานวิจัย และต้องมีภาระงานสอนด้วย และในเวลานั้นผมได้รับหน้าท่ีเป็นอนุกรรมาธิการการยุติธรรมการตำรวจ วุฒิสภา อีกตำแหน่งหนึ่ง ทำหน้าท่ียกร่างกฎหมายไกล่ข้อพิพาทในชั้นสอบสวน และได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ด้วยในเวลานั้น (ปี2552-2553)
ผมใช้เวลาอีก 4 ปี จากได้รับตำแหน่ง ผศ. เดือน ตุลา 2554 เสนอขอตำแหน่งรองศาสตราจารย์ (รศ.) ได้รับตำแหน่ง ผอ.สำนักงานวิจัยควบคู่กับผอ.สำนักงานบริการวิชาการ และในขณะเดียวกัน ทางมหาลัยได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ อ.บ.ต. ตะเคียนทอง อ. กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมอบหมายให้ผมเป็นผู้ประสานงาน ผมก็เป็นที่ปรึกษากฎหมายและแผนนโยบายให้กับ อ.บ.ต.(ปี2552-2556) ไปด้วย ได้วางแผนพัฒนา จน อ.บ.ต. ได้รับรางวัลชมเชยพระปกเกล้า ในการบริหารวานภายใต้หลักธรรมาภิบาล ซึ่งในช่วงที่เป็นที่ปรึกษาให้กับ อ.บ.ต. ได้มีการร้องขอให้คณะนิติศาสตร์ ให้ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตะเคียนทอง ก็ได้ทำโครงการวิจัยดังกล่าว โดย มี รศ.ดร.โกเมศ ขวัญเมือง เป็นหัวหน้าโครงการ ผมเป็นผู้ร่วมวิจัยในโครงการวิจัยนี้ด้วย ต่อมาผมได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยตาปี เมื่อมีนาคม 2556
ปัจจุบันผมได้มาทำงานที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (เริ่มงาน ตุลา 2556) ระยะเวลา 13 ปี กับความมุ่งมั่นที่เขียนผลงานทางวิชาการ
(หมายเหตุ ผมรู้สึกว่าเดือนตุลา ถูกโฉลกกับชีวิตผม และตรงกับเดือนเกิดของด้วยครับ)
ขั้นตอนและกระบวนการเขียนผลงานวิชาการ
ขั้นตอนการเริ่มเขียนผลงานทางวิชาการ ที่ประกอบด้วยเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน/ตำรา/หนังสือ/บทความทางวิชาการ/และงานวิจัย ดังนี้
1. เริ่มต้นด้วยการเขียนเอกสารประกอบสอน/เอกสารคำสอนให้เรียบเรียงเอกสารให้เป็นระบบ ในแต่ละหัวข้อตามคำอธิบายรายวิชา ในแต่ละหลักสูตร เรียบเรียงในรายวิชาหนังสือ บทความ วิจัย/วิทยานิพนธ์ เอกสารการบรรยายต่างๆ มารวบรวมให้เป็นระบบ แต่ถ้าเป็นเอกสารคำสอนมีการเรียบเรียง และมีการอ้างอิงให้เป็นระบบ โดยเน้นเรื่องที่สำคัญหรือเน้นเรื่องที่ตนถนัดหรือมีการคนเขียนเรื่องนี้มีน้อยหรือเขียนเพื่อให้เกิดแนวคิดใหม่ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
วิธีการค้น รวบรวมและการเขียนเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน ดังนี้
1) วิธีค้นหาข้อมูลเพื่อประกอบการเขียน วิธีค้นหาข้อมูลที่มีความรวดเร็วที่สุดว่าต้องค้นหาข้อมูลตรงที่ไหน คือ
(1) ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต คือ คีย์ชื่อ ในฐาข้อมูลกูเกิล (Google) หัวข้อที่เราจะเขียนในรายวิชาที่เราจะสอน ในแต่ละหัวข้อ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในฐานข้อมูลในกูเกิล จะได้ข้อมูลที่เราจะเขียนส่วนหนึ่ง แต่บอกที่มาใครเขียน เรื่องอะไรในเวปไซด์ใด แล้วระบุวัน เดือน ปี ในการสืบค้น
(2) ข้อมูลในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผมเขียนงานทางวิชาการ ห้องสมุดของหน่วยงาน เช่น ห้องสมุดของรัฐสภา ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งของรัฐและเอกชน หอสมุดแห่งชาติ ห้องสมุด สกว. เป็นต้น
(3) ข้อมูลในบรรณานุกรมใน ตำรา หนังสือ วิจัย วิทยานิพนธ์ บทความและเอกสารต่างๆ เพื่อนำมาเขียนเรียบเรียงเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน เพราะในบรรณานุกรมในตำรา หนังสือ วิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ เอกสารต่างๆที่ระบุไว้ก็จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราเขียนทั้งนั้น
2) วิธีการรวบรวมและเก็บเอกสาร เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ผมจะใช้วิธีการ ดังนี้
(1) copy เอกสารหรือผลงานทางวิชาการใน อินเทอร์เนตเก็บเอาไว้ โดย ระบุที่มาของเอกสาร วันเดือนปี ที่สืบค้น เป็นต้น ในประเด็นเรื่องที่สนใจและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลงานทางวิชาการที่ผมจะเขียน
(2) print เอกสารผลงานทางวิชาการใน กรณีที่ไม่สามารถ copy ได้ นำมาเก็บไว้ แล้วรวบรวมไว้เป็นเล่ม เพื่อให้มีความคงทนของเอกสาร เก็บไว้ได้นาน
(3) ซื้อผลงานทางวิชาการที่มีจำหน่ายในเรื่องที่ผมสนใจและเห็นว่านำมาเขียนผลงานวิชาการ (ปัจจุบันที่บ้านผมเป็นห้องสมุดน้อยๆที่สามารถค้นคว้าเขียนงานทางวิชาการ)
(4) ถ่ายเอกสารในเรื่องที่ผมต้องการที่จะนำมาเขียนผลงานทางวิชาการเก็บไว้ โดยเขียนระบุที่มาของเอกสารหรือผลงานวิชาการไว้ด้วย เอามารวบรวมทำเป็นเล่มเพื่อให้มีความคงทน เพื่อยืดอายุการใช้งานของเอกสารนั้นๆ (ส่วนมากเอกสารพวกนี้จะไม่มีจำหน่าย จะเป็นพวกอ้างอิง ในห้องสมุดที่ไม่ให้มีการยืมนอกจากขออนุญาติถ่ายเอกสาร)
(5) จดบันทึกด้วยสมุดโน๊ต โดยระบุที่มาของผลงานทางวิชาการที่ผมอ่าน จดบันทึก และในปัจจุบัน ผมมีการจดบันทึกไว้ใน ไอแผด ไว้ด้วย
3) วิธืการเขียนเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน คือ เขียนตามที่กำหนดไว้ในคำอธิบายรายวิชาของแต่ละวิชา ว่าเรื่องอะไรบ้าง โดยจัดระบบให้สอดคล้องสัปดาห์ที่กำหนดตามระยะเวลาสอนในเทอมนั้นๆ อาจะเขียน 15 บท/ต่อครั้ง และครั้งที่ 16 สอบ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ เพื่อสะดวกต่อการรายงานการสอนที่เป็นข้ำหนดของมหาลัยเมื่อสอนเสร็จต้องรายงานการสอนคณะ เป็นต้น (ถ้ามหาลัยแห่งนั้นกำหนดให้ต้องรายงานการสอนเสร็จต่อคณะ)
ตัวอย่างที่ดีที่สุดและชัดเจนที่สุด คือ เอกสารคำสอนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นตัวอย่างในการเขียนเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอนได้เป็นอย่างดี
2. การพัฒนาเป็นบทความวิชาการ เมื่อเขียนเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาเป็นตำรา ต่อไป ด้วยการเขียนบทความทางวิชาการ โดยนำหัวข้อในเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน ในแต่ละหัวข้อนำมาเขียนบทความวิชาการ ที่เป็นทฤษฎีนำมาวิเคราะห์ในประเด็นในทางวิชาการ เพื่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่หรือตอบโจทย์ในปัญหาทางสังคม และอาจมีประเด็นที่คนสนใจ โดยเอาทฤษฎีในเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน มาปรับวิเคราะห์ในประเด็นที่กล่าวถึงข้างต้น จะก่อประโยชน์ 2ด้าน
1) ด้านที่ 1 ได้ผลงานวิชาการ บทความวิชาการ และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ทางวิชาการ และถ้าบทความนั้นมีความลุ่มลึกและสามารถเป็นบทความที่มีคุณภาพ สามารถเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการได้ จากงานเหล่านี้ผมได้มีบทความวิชาการที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ ประมาณ 30 เรื่อง
2) ด้านที่ 2 ผลงานวิชาการที่ได้รับตีพิมพ์ นั้นได้เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับรองคุณภาพ เป็นเกณฑ์ประเมินประกันคุณภาพ ได้เป็นอย่างดี
3. การพัฒนาเป็นตำรา/หนังสือ/งานวิจัย นำผลงานทางวิชาการบทความวิชาการ ในแต่ละหัวข้อมาเขียนเป็นหนังสือ/ตำราหรือนำมาพัฒนาเขียนโครงการวิจัย ก่อให้เกิดผลดีคือ (การเขียนบทความวิชาการนี้ ผมได้รับการสั่งสอนวิธีและเทคนิคการเขียน จาก ศ.ดร. ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ เป็นอย่างดี)
1) ตำรา จะเป็นตำราที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆได้ เพราะตำราดังกล่าว ในประเด็นหัวข้อนี้ ได้นำมาจากการเขียนบทความวิชาการ ถือว่าเป็นตำราที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยตำรานั้นต้องเขียนครอบคลุมตามคำอธิบายรายวิชา ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร (การเขียนตำราที่นำมาจากบทความวิชาการ นั้นต้องอ้างผลงานบทความวิชาการด้วยที่เขียนด้วยแม้ผลงานตนเองก็ต้องอ้าง)
ผลงานตำรา เช่น
(1) การศึกษาแนวใหม่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป ซึ่งได้ตีพิมพ์เผยแพร่ 2 ครั้งแล้ว
(2) หลักกฎหมายมหาชน ซึ่งได้ตีพิมพ์เผยแพร่ ไปแล้ว
(3) กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองที่ใช้สอน และกำลังตีพิมพ์ในปลายปีนี้
2) หนังสือ นำบทความวิชาการ ที่ได้เขียนมาจัดระบบ ให้เป็นเรื่องเป็นราว ที่ก่อให้เรื่องใหม่ ที่เป็นหนังสือ ขึ้นมาแต่ต้องเป็นหนังสือที่มีแนวคิดใหม่ๆหรือนำมาเขียนเป็นเรื่องเดียวกันที่ได้เขียนบทความวิชาการมาแล้ว (การเขียนตำราที่นำมาจากบทความวิชาการ นั้นต้องอ้างผลงานบทความวิชาการด้วยที่เขียนด้วยแม้ผลงานตนเองก็ต้องอ้าง)
ผลงานหนังสือ ที่เกิดจากการเขียนบทความ ได้รวบรวมมาเป็นเล่มและเป็นเรื่องใหม่ขึ้นมา เช่น
(1) ศาสตร์แห่งการตีความกฎหมาย ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ มา 2 ครั้งแล้ว
(2) การปกครองแบบนิติรัฐที่ยึดหลักนิติธรรมกับปรัชญากฎหมายที่มีอิทธิพลต่อการจัดทำและแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
การเขียนหนังสือโดยนำบทความมารวบรวมเป็นรูปเล่มและเป็นเรื่องใหม่ขึ้นมา โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก ศ.ดร. คณิต ณ นคร และท่านให้คำแนะนำในการเขียนหนังสือเป็นอย่างดี
(การเขียนหนังสือที่นำบทความวิชาการ มารวบรวม นี้ต้องอ้างแหล่งที่มาที่มาของบทความด้วย)
3)จากการเขียนบทความวิชาการเกิดประเด็นหัวข้องานวิจัย สามารถนำมาพัฒนาเขียนงานวิจัยได้อาจจะเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวประเด็นทางสังคมได้อีก ซึ่งอาจจะเกิดจากการเขียนบทความเรื่องนั้น หรืออาจจะเกิดจากการที่เราไปค้นคว้าเอกสารต่างๆในเรื่องนั้น พบประเด็นงานวิจัยขึ้นมา เช่น งานวิจัยเรื่อง "การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน : กรณีศึกษาเปรียบเทียบการให้สิทธิประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2540กับ50" ซึ่งงานวิจัยเรื่องนี้ได้เป็นบทความแล้วมาพัฒนาเป็นห้วข้อในตำราอีกที่หนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับรายวิชาที่ผมสอนและเขียนตำรา คือ วิชากฎหมายมหาชนกับวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง เป็นต้น
ตำรา/หนังสือ/และงานวิจัยนี้สามารถขอตำแหน่งทางวิชาการได้และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับรองคุณภาพ ซึ่งเป็นเกณฑ์หนึ่งของการประกันคุณภาพการศึกษา
วิธีการที่ทำให้ผลงานทางวิชาการของมีคุณภาพ
วิธีการที่ทำให้ผลงานทางวิชาการผมให้มีคุณภาพ คือ นำผลงานวิชาการที่เขียนให้อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิอ่านให้คำแนะนำ กล่าวคือ ผลงานทางวิชาการ คือ เอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน/ตำรา/หนังสือ/บทความวิชาการและงานวิจัย. เหล่านี้ผมได้เขียนและนำเสนออาจารย์แต่ละท่านเพื่อขอคำแนะนำและติติงและนำแนะวิธีคิดใหม่ๆในการเขียน การนำเสนอ เช่น ศ.ดร.คณิต ณ นคร ศ.ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ ศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐรศ.ดร. โกเมศ ขวัญเมือง รศ.ดร.ภูมิ โชคเหมาะ เป็นต้น วิธีการนำเสนอให้อาจารย์แต่ละท่านช่วยและให้คำแนะนำ นี้ผมโชคดีที่ได้ทำหน้าท่ีในการประสานงานกับอาจารย์เหล่านี้มาสอนพิเศษในมหาลัยที่ผมทำงาน แต่ละครั้งที่อาจารย์มาสอนผมจะเขียนงานมาให้อาจารย์ดูทุกครั้ง ทำเหมือนในลักษณะที่ผมเคยทำวิทยานิพนธ์กับอาจารย์ คือ ถือว่าเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์แม้จะเป็นผู้ร่วมวิชาชีพทางวิชาการด้วยกันก็ตาม ทำให้อาจารย์ผู้ใหญ่เอื้ออาทรต่อผมเสมอแม้กระทั่งปัจจุบัน ในฐานะลูกศิษย์ในวันพิเศษ เช่น วันครู ปีใหม่ เป็นต้น ผมจะส่งข้อความหรือโทร ไปหาอาจารย์ทุกครั้ง สม่ำเสมอ ระลึกเสมอว่าอาจารย์เป็นผู้ประสาทวิชาแก่ผมและเป็นครูตลอดไป
อนึ่ง ส่วนในความเห็นทางวิชาการที่ไม่เห็นด้วยกับงานเขียนของอาจารย์ ผมก็เขียน เช่น เขียนบทความ/ตำรา/หนังสือ/วิจัย เป็นต้น ก็เห็นแย้งตามหลักวิชาการแต่จะไม่เขียนที่โต้แย้งด้วยวิพากษ์อย่างรุนแรงมีอารมณ์ ซึ่งในบางครั้งอาจารย์ก็อ่านงานที่ผมเขียนเห็นแย้งกับความคิดของอาจารย์ อาจารย์ยิ่งชอบ ดีใจว่าศิษย์เห็นที่เป็นหลักการและมีกระบวนการวิธีคิดที่เป็นอิสระ ไม่ได้ถูกครอบงำทางความคิดของอาจารย์
ผลดีในการเขียนผลงานทางวิชาการ
ในตลอดระยะเวลา 13 ปี กับการเป็นอาจารย์สอนหนังสือระดับอุดมศึกษา ในสถาบันการศึกษา ผมได้มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างผลงานทางวิชาการที่สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา มาตลอด มันก่อให้เกิดผลดีหลายประการด้วยกัน ดังนี้
1. เป็นข้อดีในตัวผม
1) เป็นที่ยอมรับในทางวิชาการ
2) เป็นผลงานที่อาจได้รับประเมินผลงานค่าตำแหน่งเงินเดือน
3) เป็นผลงานวิชาการที่เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ
2. เป็นข้อดีในตัวสถาบัน
1) เป็นชื่อเสียงของสถาบัน
2) เป็นผลงานในการรับรองประกันคุณภาพการศึกษา งานวิจัย บริการวิชาการ ของสถาบัน
สรุป สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความขยันหมั่นเพียรและต้องอ่านหนังสือให้มากๆๆ โดยใช้เวลาให้เหมาะ และต้องการขีดเขียนและจับจดเมื่อได้ประเด็นปัญหาที่เราจะเขียนและเราต้องอยู่กับมันตลอดเวลา ความมุ่งมั่นที่จะทำจะประสบความสำเร็จได้ ก็ต้องด้วยอิทธิบาท 4 ครับ
ประวัติและผลงานทางวิชาการรองศาสตราจารย์สิทธิกร ศักดิ์แสง
ประวัติการศึกษา
- มัธยมศึกษา 1-6 โรงเรียนสวนศรีวิทยา อ.หลังสวน จ.ชุมพร
- นิติศาสตรบัณฑิต ( น.บ.) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.) สาขากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- สัมฤทธิบัตรหลักสูตรพนักงานคดีปกครองสำหรับบุคคลทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ร่วมกับสำนักงานศาลปกครอง
ประวัติการทำงาน
- อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์และหัวหน้าแผนกวินัยและพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยณิวัฒนา
- อาจารย์ประจำและเลขานุการคณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล
- อดีตสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พ.ศ. 2549
- ผู้ช่วยเลขาอนุกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามทุจริตประพฤติมิชอบ คณะที่ 1 สภาผู้แทนราษฎร
- ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน ในคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจ วุฒิสภา
- ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับที่ดินในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน การออกเอกสารสิทธิ์ และกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินและป่าไม้ สภาผู้แทนราษฎร
- อนุกรรมาธิการอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน ในคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจ วุฒิสภา
- รองศาสตราจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยตาปี
- กรรมการและเลขานุการบริหารหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยตาปี
- กรรมการวิจัย วิทยาลัยตาปี
- กรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยตาปี
- กรรมการและเลขานุการพิจารณาให้ทุนสนับสนุนผลิตตำรา วิทยาลัยตาปี
- ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการประจำวิทยาลัยตาปี
- ผู้อำนวยการศูนย์บริการเผยแพร่ความรู้ทางด้านกฎหมายและการวิจัยแก่ประชาชน
คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยตาปี
- ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัย มหาวิทยาลัยตาปี
- ผู้อำนวยการสำนักงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยตาปี
- ผู้ช่วยผู้ดำเนินการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 5 นายธีระชาติ ปางวิรุฬห์รักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดชุมพร
- ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการปองกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ คณะที่ 2
ปัจจุบัน
- รองศาสตราจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
- ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
- กรรมการจรรยาบรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
ผลงานวิชาการ
วิจัยและงานสร้างสรรค์
วิจัย
- เรืองศักดิ์ ศักดิ์แสง (สิทธิกร ศักดิ์แสง) “องค์การบริหารส่วนตำบลกับการกระจายอำนาจ
การจัดการทรัพยากรป่าไม้” มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2543
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “ปัญหาการใช้ดุลพินิจและอำนาจผูกพันที่ราชการส่วนกลางราชการ
ส่วนภูมิภาคในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการที่มีผลกระทบต่อเทศบาล : ศึกษา
กรณีเทศบาลในจังหวัดชุมพร” รายงานวิจัยเสนอต่อวิทยาลัยตาปี ประจำปีการศึกษา
2548
- พรเลิศ สุทธิรักษ์และสิทธิกร ศักดิ์แสง “การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน
: กรณีศึกษาเปรียบเทียบการให้สิทิประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540กับ2550” รายงานวิจัยเสนอต่อวิทยาลัยปี
ประจำปีการศึกษา 2551
- สิทธิกร ศักดิ์แสงและคณะ “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาท
คดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน” รายงานวิจัยเสอนต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา,
2553
- สุรินทร์ ทองแท่น อุทิศ สุภาพ และสิทธิกร ศักดิ์แสง “การขาดความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายทำให้ป่าไม้ในเขตพื้นที่สุราษฎร์ธานีลดลง” รายงานวิจัยเสนอต่อวิทยาลัยตาปี ปีการศึกษา 2554
- โกเมศ ขวัญเมือง สิทธิกร ศักดิ์แสง วิชุนี พันธุ์น้อย กชพร คงพยัคฆ์ และจีรวัฒน์ แก้วภูมิแห่ “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตำบลตะเคียนทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี” รายงานวิจัยเสนอต่อองค์การบริหารส่วนตำบลตะเคียนทอง ประจำปี 2555
ตำรา
- โกเมศ ขวัญเมืองและสิทธิกร ศักดิ์แสง “การศึกษาแนวใหม่ : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ
กฎหมายทั่วไป” กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2549 พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์นิติธรรม,
2553
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “หลักกฎหมายหมายชน” ได้รับทุนสนับสนุนผลิตตำรา วิทยาลัยตาปี
ปีการศึกษา 2552 และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ กรุงทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม,2554
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง”
ทุนสนับสนุนการผลิตตำรา วิทยาลัยตาปี ปีการศึกษา 2553
หนังสือ
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “ศาสตร์แห่งการตีความกฎหมาย” กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา,2552 และพิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์นิติธรรม,2556
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “การปกครองแบบนิติรัฐที่ยึดหลักหลักนิติธรรมกับปรัชญากฎหมายที่มีอิทธิพลต่อการจัดทำและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไทย” กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา,2556
เอกสารคำสอน
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง” คณะนิติศาสตร์
วิทยาลัยตาปี,2554
เอกสารประกอบการสอน
- สิทธิกร ศักดิ์แสง เอกสารประกอบการสอนวิชา “นิติปรัชญา” คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยตาปี, 2555
- สิทธิกร ศักดิ์แสง เอกสารประกอบการสอน วิชา “กฎหมายแพ่ง :
ลักษณะทั่วไป” คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยตาปี, 2551
- สิทธิกร ศักดิ์แสง เอกสารประกอบการสอน วิชา “กฎหมายปกครอง” คณะนิติศาสตร์
วิทยาลัยตาปี, 2555
บทความวิชาการ
- เรืองศักดิ์ ศักดิ์แสง (สิทธิกร ศักดิ์แสง) “สิทธิมนุษยชน : การรับรองสิทธิเสรีภาพในการ
จัดการทรัพยากรป่าไม้ตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540”
วารสารข่าวสารป่าชุมชน ปีที่ 10 ฉบับที่ 19 เดือน พฤศจิกายน 2546 ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์
ชุมชนแห่งเอเชียแปซิฟิค (RECOFTC) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “สิทธิชุมชน : กับการรับรองสิทธิเสรีภาพในการจัดการทรัพยากรป่า
ไม้ตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540” วารสาร รัฐสภาสาร ปี
ที่ 54 ฉบับที่ 1เดือน มกราคม 2549
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “ปัญหาผู้ตีความตามรัฐธรรมนูญ กรณีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” วาสารกฎหมายใหม่ วารสารรายเดือน ปีที่ 4 ฉบับที่ 73
กรกฎาคม 2549
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “การยกเลิกของกฎหมายนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญขัดต่อหลักนิติรัฐ
หรือไม่” วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยตาปี ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (เมษายน –
มิถุนายน 2550)
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “ศาลเป็นผู้สร้างหลักกฎหมายได้หรือไม่ในระบบกฎหมายไทย” วาสาร
กฎหมายใหม่ วารสารรายเดือน ปีที่ 5 ฉบับที่ 84 พฤษภาคม 2550 และลงตีพิมพ์อีกครั้งใน
วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 55 ฉบับที่ 8 สิงหาคม 2550
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “ข้อสังเกตเกี่ยวกับการตีความในระบบกฎหมายไทย” วารสาร
กฎหมาย คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยตาปี ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – สิงหาคม 2550)
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “สิทธิมนุษยชนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 กับ การ
ต่อสู้เพื่อคำนิยามปรัชญากฎหมายเชิงอุดมคติ” วารสารสงขลานครินทร์
ฉบับ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 เม.ย. – มิ.ย. 2550
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “ปัญหาการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อ
พิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องคดี” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีที่ 36 ฉบับที่ 2 มิถุนายน 2550
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “กฎหมายกับความยุติธรรม” วารสารกฎหมายใหม่ วารสารรายเดือน ปีที่
5 ฉบับที่ 89 พฤศจิกายน 2550
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “ข้อสังเกตเกี่ยวกับการตีความกฎหมาย : กรณีศึกษาการตีความ
กฎหมาย ย้อนหลังการตัดสิทธิเลือกตั้ง (สมัครรับเลือกตั้ง) กรรมการบริหารพรรคไทย
รักไทย” วารสารรัฐสภาสารปีที่ 55 ฉบับที่ 12 ธันวาคม 2550
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “การศึกษารัฐในแง่สังคมศาสตร์และรัฐในแง่นิติศาสตร์” วารสารรัฐสภา
สาร ปีที่ 65 ฉบับที่ 4 เมษายน 2551
- โกเมศ ขวัญเมืองและสิทธิกร ศักดิ์แสง “ข้อสังเกตบางประการ เหตุใดศาลปกครองได้
ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวคดีฟ้องเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีและแถลงการณ์ร่วมร่วม ไทย-กัมพูชาเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร” วารสารกฎหมายใหม่ ปีที่ 6 ฉบับที่ 97 กรกฎาคม 2551
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “สถานะทางกฎหมายของประกาศคณะปฏิวัติ… ?” วารสารกระบวนการยุติธรรม เล่มที่ 1 ปีที่ 2 มกราคม-มีนาคม 2552
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “การปกครองแบบนิติรัฐที่ยึดหลักนิติธรรมในประเทศไทย” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 57 ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2552
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสอบสวนมาใช้ในประเทศไทย” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 57 ฉบับที่ 10 ตุลาคม 2552
- สิทธิกร ศักดิ์แสงและคณะ “วิเคราะห์เปรียบเทียบพรรคการเมืองและกฎหมายพรรคการเมืองของประเทศไทยในอดีตถึงปัจจุบัน” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 58 ฉบับที่ 7 กรกฎาคม 2553
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “แนวคิดปรัชญากฎหมายที่มีอิทธิพลต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญ 2550” วารสารวิชาการวิทยาลัยตาปี ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2553
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “วิเคราะห์เปรียบเทียบปรัชญากฎหมายที่มีอิทธิพลต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญ 2540 กับ 2550” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 58 ฉบับที่ 12 ธันวาคม 2553
- สิทธิกร ศักดิ์แสงและถาวร พูลมาศ “การวิเคราะห์การแบ่งแยกฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร : กรณีศึกษาประเทศลาวกับประเทศเวียดนาม” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 59 ฉบับที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ 2554
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “ข้อสังเกตในเรื่องความยุติธรรมที่มีความสัมพันธ์กับกฎหมายอาญา”วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 เดือนมีนาคม 2554
- สิทธิกร ศักดิ์แสงและคณะ “ข้อสังเกตเกี่ยวกับการตีความกฎหมาย : กรณีศึกษาคำ
วินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 27/2544” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 59 ฉบับที่ 8 เดือน สิงหาคม
2554
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกับการนำหลักการปกครองแบบนิติรัฐที่ยึดหลักนิติธรรม” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 59 ฉบับที่ 12 เดือน ธันวาคม 2554
- สิทธิกร ศักดิ์แสงและคณะ “ผลกระทบของการยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยการปฏิวัติ
รัฐประหารต่อความสมบูรณ์ของกฎหมาย : กรณีศึกษาการปฏิวัติรัฐ ประหารของ
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 60 ฉบับที่ 2
เดือนกุมภาพันธ์ 2555
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “วิเคราะห์การแก้ไขเพิ่มเติมและการยกเลิกรัฐธรรมนูญของประเทศไทย : อนาคตของประเทศไทย” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 60 ฉบับที่ 5 เดือนพฤษภาคม 2555
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 60 ฉบับที่ 9 กันยายน 2555
- สิทธิกร ศักดิ์แสงและคณะ “การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาที่มีใช้ในชั้นสอบสวนของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law)กับคอมมอนลอว์ (Common Law)” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 61 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2556
- สิทธิกร ศักดิ์แสง "รูปแบบของรัฐและรูปแบบการปกครองของรัฐ: กรณีศึกษารูปแบบการปกครองของประเทศไทย" วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 61ฉบับที่ 10 เดือน ตุลาคม 2556
- สิทธิกร ศักดิ์แสงและณฐภัทร ถิรารางค์กูล "แนวคิดและทฤษฎีในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยอำนาจอธิปไตยที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่วราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550" วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2557
บทความวิจัย
- เรืองศักดิ์ ศักดิ์แสง ( สิทธิกร ศักดิ์แสง ) “การกระจายอำนาจการจัดการทรัพยากรป่าไม้
ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ.2540” วารสารข่าวสารป่าชุมชน ปีที่ 12 ฉบับที่ 20 เดือน มกราคม 2548 ศูนย์ฝึกอบรม
วนศาสตร์ชุมชนแห่งเอเชียแปซิฟิค (RECOFTC) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “ปัญหาการใช้ดุลพินิจและอำนาจผูกพันที่ราชการส่วนกลาง
ราชการส่วนภูมิภาคในการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการที่มีผลกระทบต่อ เทศบาล : ศึกษากรณีเทศบาลในจังหวัดชุมพร” วารสารสุทธิปริทัศน์ ฉบับที่ 63-64 มกราคม – สิงหาคม 2550มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- พรเลิศ สุทธิรักษ์และสิทธิกร ศักดิ์แสง “การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของ
ประชาชน : กรณีศึกษาเปรียบเทียบการให้สิทธิประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540กับ2550” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 56 ฉบับที่
10 ตุลาคม 2551
- สิทธิกร ศักดิ์แสงและคณะ “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาท
คดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 56 ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2553
- สุรินทร์ ทองแท่น อุทิศ สุภาพ และสิทธิกร ศักดิ์แสง “การขาดความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายทำให้ป่าไม้ในเขตพื้นที่สุราษฎร์ธานีลดลง” วารสารบทบัณฑิตย์ เนติบัณฑิตยสภา
การประชุมเสนอผลงานวิชาการทางสาขานิติศาสตร์
- สิทธิกร ศักดิ์แสง “สถานะทางกฎหมายของประกาศคณะปฏิวัติ… ?” ได้รับพิจารณาให้
เสนอผลงานทางวิชาการด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมระดับคณาจารย์คณะ นิติศาสตร์ โครงการสัมมนาทางวิชาการด้านนิติศาสตร์ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานกิจการยุติธรรม สภานิติศึกษา ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร วันพุธที่ 30 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2551
- พรเลิศ สุทธิรักษ์และสิทธิกร ศักดิ์แสง “การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน : กรณีศึกษาเปรียบเทียบการให้สิทธิประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กับ 2550” การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานสาขานิติศาสตร์ครั้งที่ 2 คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ วันพุธที่ 28 เมษายน 2553
- สิทธิกร ศักดิ์แสงและคณะ “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาท
คดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน” การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานสาขานิติศาสตร์ครั้งที่ 3 คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ วันพุธที่ 27 เมษายน 2554
จิตตะ หมายถึง 在 ยึดหลักอิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา - YouTube 的推薦與評價
topnews #บันทึกคนสำคัญ #ทีวี ไดเร็คLINE TODAY : https://bit.ly/3AhVh3SYoutube : https://bit.ly/YoutbTopTVFB : https://bit.ly/FBTOPTVIG ... ... <看更多>
จิตตะ หมายถึง 在 อิทธิบาท 4 ทางดำเนินไปสู่ความสำเร็จ - YouTube 的推薦與評價
http://www.dmc.tv อิทธิบาทก็ คือ "ทางดำเนิน ไปสู่ความสำเร็จ" ซึ่งประกอบด้วยหมวดธรรม 4 ข้อ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา. ... <看更多>
จิตตะ หมายถึง 在 การเรียนอิทธิบาท ๔ เพื่อความสำเร็จ I พระมหากีรติ ธีรปัญโญ 的推薦與評價
... 00:13:05 จิตตะ จิตที่เป็นสมาธิ มีความตั้งใจ มุ่งมั่นต่อสิ่งที่ทำ 00:18:22 วิมังสา ปัญญาสู่ความสำเร็จ -------------------------- . ... <看更多>