รายการ #ชัวร์แน่หรือแชร์มั่ว EP.27ตอน "วางขวดน้ำในรถ จะทำให้ไฟไหม้ แถมเกิดสารก่อมะเร็ง จริงหรือ ?
มีการแชร์โพสต์เตือนภัยกันว่า "การวางขวดน้ำไว้ในรถ จะมีอันตรายอย่างมาก เพราะเมื่อแสงตกกระทบกับน้ำ จะหักเห เปลี่ยนสภาพเป็นพลังงานความร้อน ก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ จากแหล่งเชื้อเพลิงในรถ เช่น ผ้า/หนังสังเคราะห์/พลาสติก/ยาง" เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง หรือเรื่องมั่ว ครับ ?
อันนี้เป็นเรื่องจริง ! ครับ
เคยมีรายงานแล้วทั้งในต่างประเทศและในไทย แต่มักจะเป็นความบังเอิญมากที่จะเกิดขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักก็คือ ขวดน้ำทำตัวเหมือนเป็น "เลนส์" ที่โฟกัสรวมแสงดวงอาทิตย์ จะเกิดจุดความร้อนที่สูงพอจะทำให้วัสดุในรถติดไฟได้
หลักการนั้น ก็คล้ายๆ กับที่เราเอา "แว่นขยาย" ซึ่งเป็นเลนส์นูน มารวมแสงโฟกัสลงไปบนพื้น เกิดจุดแสงที่มีพลังงานความร้อนสูง เผาใบไม้ เผากระดาษเล่น ตอนเด็กๆ ซึ่งขวดใสใส่น้ำเปล่า ไม่ว่าจะเป็นขวดพลาสติกหรือขวดแก้ว ก็สามารถที่จะทำให้เกิดการโฟกัสแสงที่เข้ามาในรถได้เหมือนกัน
แต่ผู้เชี่ยวชาญก็บอกด้วยว่า แม้ขวดน้ำจะรวมแสงโฟกัสจนทำให้วัสดุในรถร้อนจัด เกิดควันของการเผาไหม้ขึ้นได้นั้น แต่ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่จะถึงขนาดติดไฟลุกไหม้อุปกรณ์ในรถ จนไฟไหม้รถทั้งคัน อย่างที่กลัวกัน เพราะผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่จะต้องใช้วัสดุภายในรถที่ทนไฟ ตามมาตรฐานการประกอบรถยนต์ (อ่านเพิ่มเติมใน https://www.livescience.com/62899-water-bottle-fire.html)
ตัวที่จะเป็นปัญหาจริงๆ คือ จะเป็นข้าวของอย่างอื่นๆ ที่เราทิ้งไว้ในรถเองมากกว่า เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า เศษขยะ ถ้าบังเอิ้นบังเอิญ จุดโฟกัสรวมแสงจากขวดน้ำนั้นไปโดนพวกมันเข้าพอดี และเป็นระยะเวลานานเพียงพอที่จะเกิดการลุกไหม้ติดไฟได้
มีคลิปวิดีโอตัวอย่างที่บริษัท Idaho Power ของสหรัฐอเมริกา ลองทดลองเอาขวดน้ำมาทำเป็นเลนส์ ให้เกิดจุดความร้อนขึ้นในรถ (ดู https://youtu.be/EUdbdalZnEQ) พบว่า ขวดน้ำสามารถทำให้เบาะหนังในรถร้อนขึ้นถึง 99 องศาเซลเซียส และทำให้เกิดรูไหม้ขึ้น 2 รูบนเบาะนั้น
แต่ๆๆ ก็ต้องอย่าลืมว่า ทั้งขวดน้ำ-แนวแสงแดด-วัสดุเชื้อเพลิง ต้องบังเอิญมาเรียงตัวในระนาบที่เหมาะสมพอดีเป๊ะ ถึงจะเกิดเช่นนี้ได้ / ขวดน้ำเอง ก็ต้องเป็นขวดที่ผิวเรียบ ไม่เป็นร่อง และทรงโค้งกำลังดี ถึงจะเป็นเลนส์ที่เหมาะสม / น้ำที่อยู่ด้านใน ก็ต้องใสมากพอที่จะทำให้แสงผ่านไปได้
และที่สำคัญที่สุด คือ แสงแดดจะต้องส่องลงมาที่ขวดน้ำ เป็นเวลานานมากเพียงพอ ในมุมที่เหมาะสม กว่าที่จะทำให้จุดรวมแสงนั้นร้อนจัดจนเกิดการลุกไหม้ได้ ... ถ้าแสงส่องผ่านกระจกรถ หรือฟิล์มกรองแสง หรือเป็นวันที่มีเมฆ ก็จะลดปริมาณแสงที่จะผ่านขวดน้ำลงได้
ดังนั้น การทิ้งขวดน้ำไว้ในรถในวันที่แดดจัด แล้วทำให้เกิดไฟลุกไหม้ขึ้นในรถได้นั้น เป็นไปได้แต่ก็ไม่ได้จะเกิดขึ้นง่ายๆ ต้องบังเอิญมากๆ จริงๆ จึงจะเกิดสภาวะที่เหมาะสมขนาดนั้นได้ ... ถ้ากังวล ก็อย่าทิ้งขวดน้ำเปล่าไว้ในรถในตำแหน่งที่จะโดนแสงแดดได้โดยตรง แค่นั้นก็ปลอดภัยแล้วครับ
-------------------
นอกจากนี้ ยังมีการแชร์ข้อความเตือนกันอยู่เรื่อยๆ ว่า "ขวดน้ำวางไว้ในรถ จะเกิดสารก่อมะเร็ง" โดยอ้างว่า "80% ของคนที่ดื่มน้ำที่วางไว้ในรถ จะเป็นมะเร็ง เพราะขวดน้ำแบบ PET นั้น เมื่อโดนความร้อนจะปล่อยสาร BPA ออกมา ส่งผลต่อความผิดปรกติของพันธุกรรม เป็นโรคมะเร็งได้"
ซึ่งเรื่องนี้ ไม่จริง! นะครับ
สาร BPA หรือ Bisphenal A นั้น ไม่ได้ใช้เป็นองค์ประกอบของขวดน้ำดื่มใส หรือ ขวด PET ที่เราใช้ดื่มกันเลย สารนี้ ส่วนมากใช้เป็นสารที่เอาไว้ยารอยต่อของโลหะของกระป๋องอาหาร และก็เอาไว้ผลิตพลาสติกพวก PC หรือ Polycarbonate ที่เป็นพลาสติกหนาๆ ทนๆ ใสๆ ) สาร BPA นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับฮอร์โมนเพศ เลยมีความกังวลกันว่า ถ้าเอาไปทำขวดนมให้เด็กทารก ซึ่งต้องต้มบ่อยๆ จะทำให้สารมันหลุดออกมาและเป็นอันตรายต่อเด็กทารกในระยะยาวได้หรือไม่ เลยมีการรณรงค์ให้เลิกใช้ในขวดนม (แต่ไม่ใช่ในภาชนะของผู้ใหญ่หรืออาหารกระป๋องนะ)
ส่วนขวดใสใส่น้ำ หรือขวด PET (โพลีเอธิลีน เทเรพธาเลต) นั้น ก็สามารถเก็บน้ำ และวางไว้ในรถได้ แม้จะตากแดดร้อน โดยมีงานวิจัยพบว่า ถ้าจะให้เกิดสารอันตรายอื่นๆ เช่น phthalate และ พลวง ที่ละลายออกมาจากขวดลงไปในน้ำมากเกินมาตรฐาน ก็จะต้องใส่ตั้งขวดไว้ในที่ร้อน อุณหภูมิเกิน 60 องศาเซลเซียส นานเป็นเวลาเกิน 11 เดือน (ดูรายละเอียด https://en.wikipedia.org/wiki/Polyethylene_terephthalate#Safety)
ส่วนในไทยเองนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้เคยสุ่มตรวจขวดน้ำ PET กว่า 10 บริษัท พบว่าค่าสารที่ละลายออกมานั้นอยู่ในมาตรฐาน (http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/BQSF/File/VARITY/recycle_plastic.htm) และการนำขวดมาใช้ซ้ำนั้น ทาง ก.สาธารณสุข บอกว่าไม่น่ามีปัญหาเรื่องสารเคมีปนออกมา แต่อาจมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคและสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่มากกว่า ถ้าล้างไม่ดีพอก่อนที่จะบรรจุซ้ำใหม่
น้ำที่เก็บในรถ จึงไม่ได้อันตรายหรือก่อมะเร็ง ขวด PET ก็สามารถเก็บน้ำได้นาน (แต่ไม่ใช่ตากแดดไว้เป็นแรมปี) และถ้าไม่จำเป็น ก็ไม่ควรเอามาใช้ซ้ำ หรือถ้าจะใช้ซ้ำ ก็ต้องล้างให้มั่นใจว่าสะอาดปราศจากเชื้อโรคปนเปื้อนจริง
---------------
ดังนั้น ที่แชร์กันอยู่ว่า "วางขวดน้ำในรถจอดตากแดดไว้ อาจจะทำให้เกิดไฟไหม้ได้" อันนี้เป็นเรื่อง "จริง" นะครับ แต่ก็เกิดได้ยากมากครับ ... ส่วนที่บอกว่า "ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง" นั้น เป็นเรื่อง "มั่ว" ครับ
「พลาสติก pet」的推薦目錄:
- 關於พลาสติก pet 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
- 關於พลาสติก pet 在 Vikrom วิกรม Facebook 的最讚貼文
- 關於พลาสติก pet 在 DjFiat LinkCorner Facebook 的精選貼文
- 關於พลาสติก pet 在 รู้จักกับขวดพลาสติกใส PET ที่นำมาแปรรูปเป็นชุด PPE ในยุคนี้ 的評價
- 關於พลาสติก pet 在 กระทรวงอุตสาหกรรม - ขวด PET และ HDPE คืออะไร ... 的評價
- 關於พลาสติก pet 在 เม็ดพลาสติกรีไซเคิล PCR PET มาตรฐาน อย. เจ้าแรกในประเทศ 的評價
- 關於พลาสติก pet 在 OR เชิญชวนร่วมบริจาคขวดน้ำพลาสติกใส (PET) เพื่อผลิตเป็น ... 的評價
พลาสติก pet 在 Vikrom วิกรม Facebook 的最讚貼文
กิจกรรมว่างเว้นหลังจากการทำงาน ของพนักงานอมตะ ทุกคนมีความตั้งใจทำ...หน้ากากนี้ ส่งให้หมอและพยาบาลใส่ป้องกัน COVID-19 ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เราผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้...
❤️ #ร่วมด้วยช่วยแบ่งปัน... #อมตะ เตรียมมอบหน้ากาก Face shield ให้แก่โรงพยาบาลโดยรอบนิคมฯ เพิ่มอีก 500 ชิ้น
❤️ เมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา พนักงานในกลุ่มบริษัทอมตะฯ ร่วมกันผลิตหน้ากากป้องกันแบบเต็มใบหน้า (Face shield) เพิ่มเติมอีกจำนวน 500 ชิ้น โดยใช้ พลาสติก PET ชนิด ไม่ขึ้นฝ้า (anti-fog) กันไฟฟ้าสถิตย์ (anti-static) และมีขนาดตามมาตราฐานทางการแพทย์
❤️ เพื่อมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาล โดยรอบนิคมฯ อมตะซิตี้ ชลบุรี ได้สวมใส่อย่างปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วย รวมถึงป้องกันเชื้อไว้รัส COVID-19 และมีแผนในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
#เราจะผ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกัน #CSRAMATA #AMATA
พลาสติก pet 在 DjFiat LinkCorner Facebook 的精選貼文
กากเพชร สวยแต่ร้ายนักกก
กากเพชร ... สวยแต่ร้าย
ยาพิษเม็ดเล็กทำลายสิ่งแวดล้อม
--------------------------------------
... พี. มิซูกิ
แฟชั่นการตกแต่งหน้าตาเนื้อตัวด้วย “กลิตเตอร์” หรือ “กากเพชร” กลายเป็นกระแสนิยมร้อนแรง ซึ่งพบเห็นได้ดาษดาในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทั้งในเทศกาลดนตรีใหญ่ๆ อย่าง โคเชลลาที่สหรัฐ แกลสตันบูรีในอังกฤษ รวมทั้งปาร์ตี้ แฟชั่นโชว์ หรือแม้แต่ในงานไพร์ดเพื่อเฉลิมฉลองสิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศที่จัดขึ้นเป็นประจำในหลายเมืองใหญ่ทั่วโลกช่วงเดือน ก.ค. ของทุกปี
เพราะสีสันและประกายวิบวับแวมวาวราวกับเพชร ทอง เงิน หรืออัญมณีมีค่า กลิตเตอร์จึงถูกนำมาประดับประดาเพื่อให้สะดุดตาและดึงดูดความสนใจ แต่ความสวยงามชั่วครั้งชั่วคราวนี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของสิ่งแวดล้อม สร้างผลกระทบรุนแรง และเนิ่นนานอย่างคาดไม่ถึง
พลาสติกชิ้นเล็กชิ้นน้อยอย่างกลิตเตอร์ หลังจากถูกชำระล้างออกจากร่างกายก็จะไหลลงแม่น้ำ ลำธาร และมหาสมุทร กลายเป็นส่วนหนึ่งของขยะพลาสติกที่ทิ้งลงสู่ท้องทะเลมากราว 8 ล้านตันต่อวัน เหมือนกับมีขยะ 1 รถบรรทุกถูกเทลงทะเลทุกๆ หนึ่งนาที โดยที่ 92% ของขยะเหล่านั้นเป็น "ไมโครพลาสติก" อย่าง กลิตเตอร์ รวมทั้งชิ้นส่วนของเส้นใยผ้า ถุงพลาสติกซึ่งย่อยสลายแตกเป็นชิ้นเล็กๆ เป็นต้น
เพราะขนาดเล็กมาก ไมโครพลาสติกจึงไม่สามารถถูกกรองได้ด้วยระบบบำบัดน้ำเสีย ทั้งยังย่อยสลายได้ยากจึงเป็นต้นเหตุของมลภาวะ ไมโครพลาสติกยังดูดซับสารปนเปื้อนซึ่งเป็นอันตรายที่มีอยู่ในน้ำทะเล เมื่อสัตว์ทะเลกลืนกินเข้าไปก็จะได้รับพิษ ทำให้มนุษย์ซึ่งรับประทานสัตว์ทะเลเกิดปัญหาด้านสุขภาพได้
ผลกระทบของขยะพลาสติกนั้นยั่งลึกและขยายวงออกไปกว้าง อย่างที่นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮัลล์และบริติชแอนตาร์กติกเซอร์เวย์ระบุไว้ในบทความบนหน้าวารสาร Science of the Total Environment ว่า ปัจจุบันมลภาวะพลาสติกในทวีปแอนตาร์กติการุนแรงมากกว่าคาดการณ์ถึง 5 เท่า และตัวการหลักก็คือ ไมโครพลาสติก ซึ่งพบมากขึ้นในสถานที่อันห่างไกลอย่างแอนตาร์กติกา และถ้าหากจำนวนไมโครพลาสติกไม่ลดลงจะทำให้เกิดปัญหากับระบบนิเวศน์อันเปราะบางของสัตว์ประจำถิ่นอย่าง วาฬ แมวน้ำ และ เพนกวิน ด้วย
กลิตเตอร์เป็นหนึ่งในไมโครพลาสติกซึ่งได้รับสมญานามว่า "ยาพิษเม็ดเล็ก" เช่นเดียวกันกับ “ไมโครบีดส์” หรือเม็ดทรายสังเคราะห์ที่ทำจากชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็ก และมักจะนำไปผสมในผลิตภัณฑ์จำพวกสบู่ โฟมล้างหน้า สครับส์ ครีมโกนหนวด หรือแม้แต่ยาสีฟัน ซึ่งรัฐบาลบางประเทศได้ตื่นตัวตระหนักถึงอันตรายจึงสั่งไม่ให้ใช้นับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา
ในปัจจุบันมีแบรนด์สินค้าจำนวนหนึ่งประกาศเลิกใช้กลิตเตอร์ในผลิตภัณฑ์ของพวกเขา บ้างก็หันไปเลือกใช้กลิตเตอร์แบบ พลาสติก-ฟรี หรือกลิตเตอร์ที่ไม่มี พอลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต (PET), พอลิเอทิลีน (PE) หรือ พอลิโพรไพลีน (PP) เป็นส่วนประกอบ และบางผลิตภัณฑ์เลือกใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable Plastic) แทน
ถึงอย่างนั้นก็ดูเหมือนว่า การตระหนักรับรู้ถึงอันตรายของกลิตเตอร์จะยังไม่มากเพียงพอ แฟชั่นวิบวับประดับร่างกายจึงกลายเป็นกระแสร้อนแรงขึ้นมา ทำให้เกิดความกังวลใจ และตั้งคำถามว่า … ถึงเวลาที่ควรจะ “แบน” พลาสติกชิ้นเล็กชิ้นน้อยซึ่ง “สวยแต่ร้าย” อย่างกลิตเตอร์แล้วหรือยัง?
--------------------------------------
https://greennews.agency/?p=14458
พลาสติก pet 在 กระทรวงอุตสาหกรรม - ขวด PET และ HDPE คืออะไร ... 的推薦與評價
ขวด PET ย่อมาจาก Polyethylene Terephthalate คือ ขวดใสที่ใส่น้ำดื่ม ซึ่งพลาสติกชนิดนี้สามารถทำทั้งขวดน้ำ กระปุกเนยถั่ว ขวดสบู่ กล่องผลไม้ เป็นต้น คุณสมบัติ ขวด PET ... <看更多>
พลาสติก pet 在 เม็ดพลาสติกรีไซเคิล PCR PET มาตรฐาน อย. เจ้าแรกในประเทศ 的推薦與評價
... ดีขึ้นเพื่อโลก” สร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุอาหารและเครื่องดื่มด้วยเม็ด พลาสติก รีไซเคิล (PCR PET ) ภายใต้แบรนด์ InnoEco ที่ผลิตจาก พลาสติก ใช้แล้วในประเทศไทย 100% ... ... <看更多>
พลาสติก pet 在 รู้จักกับขวดพลาสติกใส PET ที่นำมาแปรรูปเป็นชุด PPE ในยุคนี้ 的推薦與評價
ประโยชน์ดี ๆ จากการแปรรูป PET · มีความแข็งแรง เหนียว ทนทาน · ราคาไม่สูง · สามารถทนต่ออุณหภูมิได้สูงสุดไม่เกิน 70-100 องศาเซลเซียส · สามารถลดปริมาณขยะในชุมชน · ไร้สาร BPA ... ... <看更多>