จาก D&G สู่ NIKE เมื่อแบรนด์ต้องเลือกระหว่าง “อุดมการณ์” หรือ “ผลประโยชน์” / โดย ลงทุนแมน
“เราจะบอกคนทั้งโลกว่าประเทศจีนมันห่วย และขอให้รู้ไว้เลยว่าเราอยู่ได้โดยที่ไม่มีพวกคุณ”
ประโยคดังกล่าวถูกพิมพ์ขึ้นโดยเจ้าของแบรนด์หรู Dolce & Gabbana สัญชาติอิตาลี เมื่อราว 2 ปีก่อน จนถูกแบนจากชาวจีนจนถึงทุกวันนี้
และเมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้มีเรื่องราวในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นอีกครั้ง กับแบรนด์ระดับโลกอย่าง Nike, Zara, Gap, Uniqlo และ H&M ที่มีแนวโน้มว่าอาจจะถูกแบน และมีโอกาสจะได้รับผลกระทบมหาศาล
สิ่งที่ต่างกันระหว่างสองเหตุการณ์นี้ก็คือ Dolce & Gabbana เกิดกับตัวบุคคลที่เหมือนไปดูถูกวัฒนธรรมประเทศจีน แต่เหตุการณ์หลังเกิดขึ้นจากการที่แบรนด์เสื้อผ้า กำลังแสดงจุดยืนเรื่องสิทธิมนุษยชน
แล้วมันเกิดอะไรขึ้น?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เรื่องราวทั้งหมดนี้ มีจุดเริ่มต้นจาก “เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์”
ซึ่งถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่งในประเทศจีน
ดินแดนแห่งนี้เป็นแหล่งผลิตผ้าฝ้ายปริมาณมหาศาล ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับแบรนด์เสื้อผ้า
ซินเจียงมีกำลังการผลิตผ้าฝ้ายราว 20% ของกำลังการผลิตทั่วโลก ซึ่งซินเจียงถือเป็นหนึ่งในแหล่งที่ผลิตได้มากที่สุดในโลก
และเมื่อไม่นานมานี้มีรายงานว่า “ชาวอุยกูร์” เป็นแรงงานสำคัญในอุตสาหกรรมผลิตผ้าฝ้าย
ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้เองที่ได้กลายมาเป็นประเด็นสำคัญของเรื่องราวทั้งหมดต่อจากนี้
ด้วยความที่ชาวอุยกูร์มีวัฒนธรรม เชื้อสาย และนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งแตกต่างจากชาวจีนส่วนใหญ่ในประเทศ ทำให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่าน พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติ และถูกคุกคามจากรัฐบาลจีน
จากการรายงานของสื่อตะวันตกหลายแห่งได้ระบุว่าใน 1 ปีจะมีชาวอุยกูร์เกือบ 5 แสนคน
ถูกบังคับให้มาเป็นแรงงานในการเก็บฝ้าย ทอผ้า รวมไปถึงตัดเย็บเสื้อผ้า
หลังจากที่ข่าวเรื่องนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ก็ได้ทำให้เกิดคำถามถึงแบรนด์เสื้อผ้าที่ได้เลือกใช้วัตถุดิบจากซินเจียง ว่ากำลังสนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวอุยกูร์ หรือไม่ ?
เมื่อเรื่องเป็นเช่นนี้ จึงมีหลายแบรนด์ดังระดับโลก
พาเหรดกันออกมาแสดงจุดยืนว่าไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์
ที่มาจากการใช้แรงงานในซินเจียงไม่ว่าจะเป็น Nike, Adidas, Uniqlo, H&M
และมีแนวโน้มที่อีกหลายแบรนด์กำลังจะเข้าร่วมแสดงจุดยืน เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ท่าทีของบรรดาแบรนด์ต่างชาติไม่ได้สร้างผลกระทบอะไรมากนัก
จนกระทั่งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สหภาพยุโรป (EU), สหรัฐฯ, อังกฤษ และแคนาดา
ได้ออกมากำหนดมาตรการคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีน
ในข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวอุยกูร์ในซินเจียง
ประเด็นดังกล่าวกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์บนโลกออนไลน์
และมีการนำแถลงการณ์ของแบรนด์ต่าง ๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้ มาเผยแพร่ปลุกกระแสชาตินิยมในจีนให้ร้อนระอุ
หนึ่งในแบรนด์ที่โดนทัวร์ลงอย่างหนัก คือ H&M
ซึ่งออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อสถานการณ์อุยกูร์ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
จนถูกแบนจากทุกช่องทางของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจีน
ไม่ว่าจะเป็น Tmall, Taobao, JD.com และ Pinduoduo
ขณะที่คนดังชาวจีนที่ร่วมงานกับทางแบรนด์ก็เตรียมจะฉีกสัญญาที่ทำกับแบรนด์ เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม H&M ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ออกมาตอบโต้ว่า บริษัทไม่ได้ต้องการแสดงจุดยืนทางการเมืองใด ๆ
และ H&M ยังคงเคารพผู้บริโภคชาวจีนเหมือนอย่างเคย และมุ่งมั่นที่จะลงทุนและพัฒนาระยะยาวในประเทศจีน
เช่นเดียวกับ Nike, Adidas และ Uniqlo ก็กลายเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ หลังออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนในทำนองเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า หวังอี้ป๋อ ถานซงอวิ้น ดารานักแสดงดาวรุ่งชื่อดัง
ออกมาประกาศยุติความร่วมมือทั้งหมดที่มีกับแบรนด์ Nike โดยให้มีผลทันที
ขณะที่ วิกตอเรีย ซ่ง นักร้องและนักแสดง จะยกเลิกสัญญากับทาง H&M
และคาดว่าจะมีดาราจีนอีกหลายคนที่ร่วมงานกับแบรนด์ต่างชาติออกมาแสดงจุดยืนเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่นกัน
ซึ่งเหตุการณ์ในลักษณะนี้ ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับแบรนด์ Dolce & Gabbana
จากประเด็นโฆษณาการใช้ตะเกียบคีบอาหารอิตาลี
ที่ทางผู้ก่อตั้งยึดมั่นในอุดมการณ์ของตนเอง และใช้คำที่เปรียบเสมือนกับการดูถูกวัฒนธรรมของประเทศจีน
จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และส่งผลให้ “ยอดขายเกือบทั้งหมด” ในประเทศจีนหายไปอย่างรวดเร็ว
แต่ในอีกมุมหนึ่ง
ก็ยังมีบางบริษัทที่เห็นว่าผลประโยชน์ของตัวเองต้องมาก่อน
หนึ่งในตัวอย่างที่เราอาจนึกไม่ถึงก็คือสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล
ที่ได้แบน เมซุท เออซิล นักเตะตัวเก่งของตัวเอง
เพราะนักเตะคนดังกล่าว ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นไม่เห็นด้วยต่อการกระทำของรัฐบาลจีน ต่อชาวอุยกูร์
สาเหตุที่อาร์เซนอลต้องแบน ก็เพราะว่ายังต้องการทำธุรกิจในประเทศจีนต่อไป
แต่จากแนวโน้มที่แบรนด์เสื้อผ้าระดับโลกออกมาแสดงจุดยืนในตอนนี้
ก็ดูเหมือนว่ากระแสจะเทไปทางเดียวก็คือ ไม่สนับสนุนการใช้แรงงานชาวอุยกูร์
แล้วแบรนด์ที่ออกมาแสดงจุดยืนในเรื่องดังกล่าว
มีสัดส่วนรายได้จากประเทศจีนมากขนาดไหน ?
Nike มีรายได้จากจีน 2.0 แสนล้านบาท ต่อปี คิดเป็น 18% ของรายได้ทั้งหมด
Adidas มีรายได้จากจีน 1.6 แสนล้านบาท ต่อปี คิดเป็น 24% ของรายได้ทั้งหมด
Uniqlo มีรายได้จากจีน 1.3 แสนล้านบาท ต่อปี คิดเป็น 23% ของรายได้ทั้งหมด
H&M มีรายได้จากจีน 0.4 แสนล้านบาท ต่อปี คิดเป็น 5% ของรายได้ทั้งหมด
จะเห็นได้ว่าบริษัทเหล่านี้ มีรายได้มหาศาลจากประเทศจีน
ซึ่งหากว่าแบรนด์เหล่านี้ ได้รับผลกระทบในรูปแบบเดียวกันกับ Dolce & Gabbana คือถูกแบนทิ้งทั้งหมด
และแน่นอนว่าเมื่อรายได้จากประเทศจีนมีแนวโน้มจะลดลงในอนาคต
สิ่งที่สะท้อนมาเป็นลำดับแรกก็คือ มุมมองของนักลงทุนต่อมูลค่าบริษัท
H&M -3%
Adidas -4%
ในขณะที่ราคาก่อนเปิดตลาดของ Nike ในตอนนี้ก็คือ -4%
ส่วนหุ้นของบริษัทที่ทำอุปกรณ์กีฬาในประเทศจีน กลับพุ่งสูงขึ้นเพราะเหตุการณ์นี้ เช่น
Li-Ning +11%
Anta +8%
ถึงตรงนี้ เราอาจจะต้องดูกันต่อไปว่าว่าผลกระทบในระยะยาวจะเป็นอย่างไร
ก็อดคิดไม่ได้ว่าถ้าเรื่องนี้ เกิดขึ้นกับธุรกิจของเรา
ที่มีตัวเลือกระหว่างคำว่า “อุดมการณ์” หรือ “ผลประโยชน์”
เป็นเรา เราจะเลือกอะไร..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bbc.com/thai/international-55329600
-https://th.usembassy.gov/th/who-are-the-uighurs-th/
-https://www.nytimes.com/2021/03/24/business/handm-boycott-china-uyghurs.html?
-https://www.channelnewsasia.com/news/business/
-https://www.reuters.com/article/us-nike-china-xinjiang/
-https://hmgroup-prd-app.azurewebsites.net/wp-content/uploads/2020/09/2629510.pdf
-https://s1.q4cdn.com/806093406/files/doc_financials/2020/Q4/
-https://www.adidas-group.com/media/filer_public/af/5a/
-https://www.fastretailing.com/eng/ir/library/pdf/ar2020_en_09.pdf
-https://www.statista.com/statistics/263055/cotton-production-worldwide-by-top-countries/
-https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/858503
anta ir 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
Li-Ning จากนักยิมนาสติก สู่เจ้าของแบรนด์กีฬา 4 แสนล้าน /โดย ลงทุนแมน
หากใครที่อยู่ในวงการแบดมินตัน หรือ บาสเกตบอล อาจจะคุ้นเคยกับแบรนด์นี้ดีเพราะ
Li-Ning ถือเป็นแบรนด์กีฬาสัญชาติจีนที่ได้รับการยอมรับ และเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
แต่รู้หรือไม่ว่า เจ้าของแบรนด์นี้ ไม่ได้มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาก่อน
แต่กลับเป็นอดีตนักกีฬาโอลิมปิก ที่ผันตัวมาทำธุรกิจ
เรื่องราวของ Li-Ning เป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
คุณหลี่หนิง (Li Ning) เริ่มจากการเป็นนักกีฬายิมนาสติกทีมชาติ ก่อนที่จะได้รับการคัดเลือกให้ไปแข่งกีฬาโอลิมปิกในปี 1984
โดยเขาสามารถคว้าชัยมาได้ทั้งหมด 3 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญทองแดง
แล้วยังเป็นแชมป์การแข่งขันยิมนาสติกระดับโลก
โดยคว้าเหรียญทองมาทั้งหมด 6 เหรียญ
และกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ในนาม “เจ้าชายแห่งวงการยิมนาสติก”
แต่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ปี คุณหลี่หนิง ก็มีอาการบาดเจ็บที่ข้อเท้าจนไม่สามารถแข่งขันต่อได้และได้ตัดสินใจอำลาวงการ ด้วยวัยเพียง 25 ปี
ถึงแม้จะเกษียณไปแล้ว แต่คุณหลี่หนิงก็ยังคงเป็นตำนานและเป็นนักกีฬาในดวงใจของชาวจีนอยู่
ซึ่งก็เห็นได้จากงานกีฬาโอลิมปิกที่จีนเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี 2008 ณ กรุงปักกิ่ง
คุณหลี่หนิง ก็ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาวิ่งคบเพลิง ในพิธีเปิดงานด้วย
แล้วคุณหลี่หนิงเข้ามาวงการแบรนด์กีฬานี้ได้อย่างไร?
หลังจากที่เกษียณจากวงการกีฬาไป คุณหลี่หนิงก็ได้มีโอกาสได้เป็น Brand Ambassador ให้กับเครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่ง ทำให้เขาได้มีส่วนในการดูแลการตลาดของบริษัท
เรื่องนี้จึงเป็นแรงผลักดันให้เขาตัดสินใจ ออกมาเปิดแบรนด์ของตัวเอง ในวัย 26 ปี
โดยตั้งชื่อแบรนด์ว่า “Li-Ning” ตามชื่อของเขานั่นเอง
แบรนด์ Li-Ning ได้รับความนิยมอย่างมากนับตั้งแต่เปิดตัว
แต่เมื่อมาถึงช่วงปี 2010 ก็เริ่มมีคู่แข่งจากทั้งในและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะแบรนด์อย่าง Anta ที่มีความสดใหม่ถูกใจวัยรุ่นมากกว่า สวนทางกับภาพลักษณ์ของ Li-Ning ที่นิยมในกลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสมัยนั้น
ซึ่งคุณหลี่หนิงเองก็มองเห็นในปัญหานี้
ทำให้เขาตัดสินใจปรับเปลี่ยนบริษัทครั้งใหญ่
โดยดึงที่ปรึกษาชื่อดังอย่าง Texas Pacific Group
และออกแผนที่ชื่อว่า “Transformation Plan” ขึ้นมาในปี 2012
และพลิกให้ Li-Ning จากแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์ดูล้าสมัย กลายมาเป็นแบรนด์แฟชั่นสุดล้ำได้ในที่สุด
โดย “Transformation Plan” ที่ว่านี้เริ่มต้นตั้งแต่
การค้นคว้าหาแก่นหลักของแบรนด์เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ
การปรับภาพลักษณ์แบรนด์ให้เหมาะกับ กลุ่มลูกค้าชนชั้นกลางมากขึ้น
การปรับปรุงช่องทางการจัดจำหน่าย
การบริหารคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเน้นการสร้างประสบการณ์การซื้อให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการติดตามข้อมูลการซื้อขายโดยละเอียด จากร้านค้าปลีกต่างๆ เพื่อสำรวจแนวโน้มหรือเทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยม และนำไปปรับและพัฒนาสินค้าให้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น
ซึ่งเรื่องนี้ก็ตามมาด้วยดีไซน์แบบใหม่ ที่สุดล้ำของแบรนด์นั่นเอง
เมื่อมีสินค้าที่น่าสนใจพร้อมจะส่งถึงมือผู้บริโภคแล้ว
ความท้าทายสำคัญคือ จะทำอย่างไรให้พวกเขาหันมาซื้อสินค้าของแบรนด์ Li-Ning
เรื่องนี้ทำให้ คุณหลี่หนิง ตัดสินใจเปิดตัวไลน์สินค้าแบบพรีเมียมขึ้นครั้งแรก ที่งาน New York Fashion Week เมื่อปี 2018
โดยมีทั้งเสื้อสเวตเตอร์และเสื้อยืด ที่มาในลายตัวอักษรจีน ผสมผสานกับการออกแบบในสไตล์โมเดิร์น
ซึ่งก็ถูกใจลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นเป็นอย่างมาก ทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติ
ซึ่งก็ดูเหมือนว่ากลยุทธ์ทั้งหมดนี้จะได้ผล
เมื่อดูจากรายได้ 3 ปีที่ผ่านมา..
ปี 2017 รายได้ 41,000 ล้านบาท กำไร 2,400 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 48,000 ล้านบาท กำไร 3,300 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 64,000 ล้านบาท กำไร 6,900 ล้านบาท
โดยเฉพาะปี 2019 ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 32% และมีกำไรเพิ่มขึ้นอีก 109%
และรายได้ทั้งหมดนี้ กว่า 98% มาจากประเทศจีนทั้งหมด ส่วนที่เหลืออีกเพียง 2% นั้นมาจากต่างประเทศ
โดยนอกจากเสื้อผ้าแนวแฟชั่นที่กำลังเติบโตได้ดีแล้ว
สินค้าในหมวดกีฬา ก็ยังคงเติบโตได้ดีไม่แพ้กัน
โดยเฉพาะ บาสเกตบอล และ แบดมินตัน
ที่ยอดขายจากร้านค้าปลีก เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 45% และ 24% (รวมฟุตบอล) ซึ่งทาง Li-Ning ได้มีการร่วมมือกับนักบาสเกตบอล NBA ชื่อดังอย่าง Dwyane Wade ในการโปรโมตแบรนด์ และยังเป็นผู้สนับสนุนให้กับสมาคมบาสเกตบอลจีน และนักแบดมินตันทีมชาติอีกด้วย
ซึ่งทั้งหมดนี้ อาจเกิดขึ้นไม่ได้เลย
หากคุณหลี่หนิงไม่ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงแนวทางของบริษัทให้ตามทันกระแสโลก
ถึงแม้ว่าคุณหลี่หนิงจะไม่ได้มีประสบการณ์ในด้านการทำธุรกิจมาก่อน
แต่ด้วยประสบการณ์ที่ “ทำไปเรียนรู้ไป” ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา
ก็ทำให้เขา สามารถสร้างและผลักดันบริษัทให้ประสบความสำเร็จได้
และกลายเป็นแบรนด์กีฬาอันดับต้นๆ ของจีน ที่มีมูลค่าสูงกว่า 420,000 ล้านบาท..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-http://ir.lining.com/en/company/about.php
-https://www.statista.com/statistics/1119529/li-ning-revenue-by-product/
-https://www.statista.com/statistics/1119450/li-ning-revenue/
-http://ir.lining.com/en/media/press_popup.php?file=inside-3_1_90.html
-https://jingdaily.com/how-li-ning-grew-in-a-gloomy-fashion-market/
-https://www.scmp.com/lifestyle/fashion-beauty/article/3010895/chinese-olympian-li-ning-starting-sportswear-empire-and
-https://doc.irasia.com/listco/hk/lining/annual/ar228227-e02331.pdf
-http://ir.lining.com/en/ir/presentations/pre200327.pdf
-https://en.lining.com/story.html
anta ir 在 AKTIERIS | By Spīdolas ģimnāzijas Parlaments | Facebook 的推薦與評價
Aktrise Anta Aizupe. Mācījusies Latvijas Kultūras akadēmijā un pašlaik ir ārštata aktrise. Anta ir piedalījusies vairākos seriālus, ... ... <看更多>
anta ir 在 STEFANY AGUILAR - TE PUEDES IR / HUAROCONDO, ANTA 的推薦與評價
Radio Picaflor Perú... ¡Siente música latina! ® Oficial. ... <看更多>
anta ir 在 Laiza Anta Ir Djuma | Facebook 的推薦與評價
Laiza Anta Ir Djuma is on Facebook. Join Facebook to connect with Laiza Anta Ir Djuma and others you may know. Facebook gives people the power to share... ... <看更多>