Chain ต่างๆบนโลก Defi มีอะไรบ้าง ?
ในการใช้งานของระบบ Defi นั้นค่อนข้าวมีรายละเอียดมากสำหรับเพื่อนๆที่เข้ามาศึกษาใหม่ๆ เรื่อง Chain ของ Defi ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญเช่นกันดังนั้นสิ่งที่เพื่อนๆควรต้องรู้ มีดังต่อไปนี้
- Defi เป็นการนำ Application ทาง Financial Service มา Run บน Blockchain ซึ่ง Blockchain ที่รองรับการ Run ของ Application นั้นๆก็มีหลาย Blockchain ซึ่งเพื่อนๆจำเป็นต้องรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
- Blockchain แต่ละ Blockchain มี Consensus เป็นของตัวเองโดย Consensus คือกติกาในการนำข้อมูลของทรัพย์สินของเราไปบันทึกในบัญชีสาธารณะที่ทุกคนเห็น โดยบัญชีสาธารณะนี้สามารถดูได้ผ่านทาง Blockchain Explorer
- Blockchain 1 ระบบจะมี Network ในการโอนเหรียญของตัวเอง โดยหากโอนผิด Network เหรียญนั้นก็จะส่งไปไม่ถึงปลายทางนั่นเอง และใน 1 network จะกำนหดให้มีการจ่ายค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม โดยค่าธรรมเนียมระบบนี้ จะต้องจ่ายเป็นเหรียญของระบบ เรียกว่า Utillity Token
รายละเอียดของ Chain ต่างๆมีดังนี้
1. Ethereum Chain ( ETH Chain ) เป็น chain ที่มี Total Value lock สูงที่สุดในปัจจุบัน (20/4/2021 ) เป็น Chain แรก ในยุคบุกเบิกในการพัฒนาให้มีการนำ Application มา Run บน Blockchain ในปัจจุบันเรียกว่า Smart Contract เนื่องจาก Ethereum มีการ Conesensus แบบ Proof of work บวกกับมีการกระจายตัวของ Node ที่มากระดับหนึ่ง ทำให้การพยายามแก้ไข Smart contract เป็นไปได้ยากมาก ดังนั้น Ethereum Chain จึงเป็น Chain หนึ่งที่มีความเป็น Decentralized ในตัวเองสูงมาก บวกกับ ความเป็นผู้บุกเบิก ทำให้มูลค่า Total Value locked ของ Ethereum Chain ยังคงนำหน้า Chain อื่นๆมาตลอดจนถึงปัจจุบัน
Network ที่ใช้ในการโอนเหรียญ : ERC-20
เหรียญที่ใช้ในการจ่ายค่าธรรมเนียมระบบ : ETH
มี Consensus แบบ POW ( Proof of work ) ในอนาคตมีแผนที่จะเปลี่ยนเป็น POS ( Proof of stake )
ตัวอย่าง Defi บน ETH chain : UniSwap ShushiSwap Compound Curve 1inch Alpha Kulap
Blockchain Explorer : https://etherscan.io/
2. Binance Smart Chain ( BSC Chain ) เป็น chain ที่สร้างโดย Binance ที่เป็น Centralized Exchange ที่ใหญ่ที่สุดในโลกปัจจุบัน เกิดขึ้นจากความคิดที่จะแก้ปัญหาค่าธรรมเนียมในระบบของ Ethereum Chain ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจากปัญหาการ Scaling ปริมาณ Miner ที่เติบโตไม่ทัน ปริมาณ Transaction ที่หนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ Binance จึงมีแนวคิดในการ เปลี่ยน Consensus เป็น POA เพื่อแก้ปัญหานี้ขึ้นและเกิดเป็น BSC Chain
Network ที่ใช้ในการโอนเหรียญ : BEP-20
เหรียญที่ใช้ในการจ่ายค่าธรรมเนียมระบบ : BNB
มี Consensus แบบ POA ( Proof of Authority )
ตัวอย่าง Defi บน BSC chain : PancakeSwap Venus Autofarm Alpha Alpaca Warden
Blockchain Explorer : https://www.bscscan.com/
3. Huobi ECO Chain ( HECO Chain ) เป็น chain ที่สร้างโดย Huobi ที่เป็น Centralized Exchange อันดับสอง ในโลกปัจจุบัน โดย Huobi มีความคิดที่จะแก้ปัญหาค่าธรรมเนียมในระบบที่สูง โดยที่ยังคงความเป็น Decentralized อยู่บ้าง Huobi จึงเลือกที่จะใช้ Consensus แบบ HPOS ซึ่งเป็นการแบ่ง Transaction ครึ่งหนึ่งไปยืนยันแบบ POW และอีกครึ่งหนึ่งยืนยันแบบ POS จนเกิดเป็น HECO ให้เราได้ใช้กัน
Network ที่ใช้ในการโอนเหรียญ : HECO
เหรียญที่ใช้ในการจ่ายค่าธรรมเนียมระบบ : HT
มี Consensus แบบ HPOS ( Hybridge Proof of stake )
ตัวอย่าง Defi บน HECO chain : Mdex
Blockchain Explorer : https://hecoinfo.com/
4. Terra Chain เป็น chain ที่สร้างโดยกลุ่มคนชาวเกาหลี และ run บน Multi blockchain ของ COSMOS
โดย Terra มีแนวคิดในการใช้ Consensus แบบ DPOS หรือก็คือเลือกผู้ที่ทำการยืนยัน Transaction ของระบบขึ้นมายืนยัน โดยจะใช้การโหวตโดยวิธี POS หรือก็คือใช้ LUNA Token ของระบบไป Stake กับผู้ที่เราเลือกที่จะให้ยืนยันนั้นๆ วิธีนี้ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ค่าธรรมเนียมของระบบ Terra chain ยังคงไม่สูงมากจนถึงปัจจุบัน
Network ที่ใช้ในการโอนเหรียญ : Terra
เหรียญที่ใช้ในการจ่ายค่าธรรมเนียมระบบ : UST
มี Consensus แบบ DPOS ( Delegated Proof of stake )
ตัวอย่าง Defi บน Terra chain : Mirror Anchor
Blockchain Explorer : https://finder.terra.money/
โดยบาง Defi โปรเจคเดียวกันอาจสร้างอยู่มากกว่า 1 chain ก็ได้เช่น Alpha Fulcrum Mdex Cream เป็นต้น สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับ Consensus รูปแบบต่างๆผมจะนำมาเขียนในบทความต่อๆไป รอติดตามกันได้เลยครับ
แอดตอง
anchor luna 在 Anchor Taiwan Facebook 的精選貼文
Thank you HTC VIVE X for the invite to another successful demo day. From LUNA º, Xikaku, ThermoReal to Snobal, we learned and experienced cutting-edge technology at HTC's Headquarters!
#anchortaiwan http://anchortaiwan.com (Next batches: Sept and Nov 2017)