ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019
จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
“ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”
ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”
สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก
นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง
การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร
ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845
ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง
แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932
และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935
แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น
เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963
แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา
สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก
ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย
มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประการแรก: พัฒนาการศึกษา
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี
และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ
“ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”
นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที
โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”
สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988
ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
จากการจัดอันดับโดย QS
ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์
เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน
ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS
ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ
เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”
ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s
และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน
รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation
ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น
แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://prp.trf.or.th/download/2538/
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
-https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU
同時也有1187部Youtube影片,追蹤數超過19萬的網紅Mateusz Urbanowicz,也在其Youtube影片中提到,Part of Japan illustrations set for the 2021 year DOCOMO (Japanese mobile carrier) calendar. Read more about this project here: https://mateuszurbano...
「apple (sg)」的推薦目錄:
- 關於apple (sg) 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於apple (sg) 在 Eat with Pal Li - พี่แป๋วพากินเที่ยวสิงคโปร์ฮ่องกง Facebook 的精選貼文
- 關於apple (sg) 在 Facebook 的最佳解答
- 關於apple (sg) 在 Mateusz Urbanowicz Youtube 的最佳貼文
- 關於apple (sg) 在 The Thirsty Sisters Youtube 的最佳貼文
- 關於apple (sg) 在 Ray Mak Youtube 的最讚貼文
- 關於apple (sg) 在 Apple Sg | Facebook 的評價
apple (sg) 在 Eat with Pal Li - พี่แป๋วพากินเที่ยวสิงคโปร์ฮ่องกง Facebook 的精選貼文
🔥 เทียบราคา iPhone 13 (ฮ่องกง 🇭🇰 สิงคโปร์ 🇸🇬 ไทย 🇹🇭)
.
สั้นๆ 🇭🇰 ฮ่องกงถูกสุด
🇸🇬 พี่สิงตู แพงกว่า 🇹🇭 ไทย
ชนะเลิศไปเลย! 🙄
.
=================
iPhone 13 Mini
=================
128GB
🇭🇰 HK$5,999 (~ 25,500 บาท)
🇸🇬 SG$1,149 (~ 28,200 บาท)
🇹🇭 25,900 บาท
.
256GB
🇭🇰 HK$6,799 (~ 28,800 บาท)
🇸🇬 SG$1,319 (~ 32,400 บาท)
🇹🇭 29,900 บาท
.
512GB
🇭🇰 HK$8,499 (~ 36,000 บาท)
🇸🇬 SG$1,649 (~ 40,500 บาท)
🇹🇭 37,900 บาท
.
===============
iPhone 13
===============
128GB
🇭🇰 HK$6,799 (~ 28,800 บาท)
🇸🇬 SG$1,299 (~ 31,900 บาท)
🇹🇭 29,900 บาท
.
256GB
🇭🇰 HK$7,599 (~ 32,200 บาท)
🇸🇬 SG$1,469 (~ 36,100 บาท)
🇹🇭 33,900 บาท
512GB
🇭🇰 HK$9,299 (~ 39,400 บาท)
🇸🇬 SG$1,799 (~ 44,200 บาท)
🇹🇭 41,900 บาท
.
=================
iPhone 13 Pro
=================
128GB
🇭🇰 HK$8,499 (~ 36,000 บาท)
🇸🇬 SG$1,649 (~ 40,500 บาท)
🇹🇭 38,900 บาท
.
256GB
🇭🇰 HK$9,299 (~ 39,400 บาท)
🇸🇬 SG$1,819 (~ 44,700 บาท)
🇹🇭 42,900 บาท
.
512GB
🇭🇰 HK$10,999 (~ 46,600 บาท)
🇸🇬 SG$2,149 (~ 52,800 บาท)
🇹🇭 50,900 บาท
.
1TB
🇭🇰 HK$12,699 (~ 53,900 บาท)
🇸🇬 SG$2,479 (~ 60,900 บาท)
🇹🇭 58,900 บาท
.
==================
iPhone 13 Pro Max
==================
128GB
🇭🇰 HK$9,399 (~ 39,800 บาท)
🇸🇬 SG$1,799 (~ 44,200 บาท)
🇹🇭 42,900 บาท
.
256GB
🇭🇰 HK$10,199 (~ 43,200 บาท)
🇸🇬 SG$1,969 (~ 48,400 บาท)
🇹🇭 46,900 บาท
.
512GB
🇭🇰 HK$11,899 (~ 50,500 บาท)
🇸🇬 SG$2,299 (~ 56,500 บาท)
🇹🇭 54,900 บาท
.
1TB
🇭🇰 HK$13,599 (~ 57,700 บาท)
🇸🇬 SG$2,629 (~ 64,600 บาท)
🇹🇭 62,900 บาท
.
==============
วางจำหน่าย
=============
🇭🇰 ฮ่องกง
pre-order 17 กย, วางขาย 24 กย
ซื้อได้ไม่เกินคนละ 2 เครื่อง
เทรดอินราคาเครื่องเก่า (iPhone 8 ขึ้นไป)
HK$600-5,950 (~ 2,550-25,300 บาท)
.
🇸🇬 สิงคโปร์
pre-order 17 กย, วางขาย 24 กย
ซื้อได้ไม่เกินคนละ 2 เครื่อง
.
🇹🇭 ไทย
pre-order 1 ตค, วางขาย 8 ตค
.
หมายเหตุ:
- ราคาเงินบาทของฮ่องกงและสิงคโปร์ ประเมินตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 15 กย 64 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
- ราคาทั้ง 3 ที่ นำมาจากเว็บไซต์ Apple
.
#EatwithPalLi #พี่แป๋วพากินเที่ยวสิงคโปร์ฮ่องกง 🇸🇬🇭🇰
apple (sg) 在 Facebook 的最佳解答
🌾<𝗚𝗜𝗩𝗘𝗔𝗪𝗔𝗬>🌾
Our Ellie feasting on her new healthy yum yum 😋 snack from @little.blossomco in a new cozy corner I created in our MBR for her! Want to join in?
🌾🌾🌾🌾🌾 (swipe to see her cheeky faces 😝)
We absolutely love them cos it’s 100% natural, made with organic ingredients and doesn’t contain added sugar, salt or preservatives!! And they are halal certified and gluten-free too, perfect for everyone and anyone! 👍🏻👍🏻👍🏻
🌈 Give it a try and cart out 10% off with
Available in FOUR yummy flavors:
🍓 Strawberry
🍎🥦 Apple & Broccoli
🎃 Pumpkin
🍠 Sweet Potato
These adorable rice puffs has a really good crunch, and taste so organically good, Christian Korkor always steal from her snack packs 😝! And these are locally made so let’s #supportlocalsg!
🎁 𝐆𝐎𝐎𝐃 𝐍𝐄𝐖𝐒 🎁
Together with Little Blossom Co, TWO (2) lucky winners will receive two packs each! Here’s how TO WIN this:
➕ 𝙁𝙤𝙡𝙡𝙤𝙬 @little.blossomco
➕ 𝙁𝙤𝙡𝙡𝙤𝙬 @familystaysg
➕ 𝙏𝙖𝙜 as many friends as possible! No limits pls, per tag per comment!
➕ 𝙍𝙚𝙨𝙝𝙖𝙧𝙚 this post onto your IGS, please tag us both so we can see! 🪄
The Giveaway ends on 12 Sept 2021, only limit to Singapore residents. Winners will be announced on my IG, so 𝙎𝙖𝙫𝙚 this post to stay tune!
.
.
.
.
#familystaysg #sgcontest #sggiveaways #snacks #healthysnacks #babysnacks #sgfoodtrend #cutebabies #cutie #babygirl #oneyearold #mybabygirl #sgmoms #sgmums #sgmummies #sgmummybloggers #sgmummiesandbabies #sginstamummy #sginstagram #singapore #sg #sp
apple (sg) 在 Mateusz Urbanowicz Youtube 的最佳貼文
Part of Japan illustrations set for the 2021 year DOCOMO (Japanese mobile carrier) calendar.
Read more about this project here:
https://mateuszurbanowicz.com/thumbs/docomo2021/
All the images were painted digitally using the Apple iPad Pro and the painting application Procreate.
File size: width 6000px
Brushes: my own brushes available here: https://mateuszurbanowicz.com/tools/
All the images and brands copyright by NTT DOCOMO, INC.
This image was made as a part of commissioned work but this video was not paid for and does not endorse any product.
Feel free to check out my other stuff:
Gumroad: https://gumroad.com/mateusz_urbanowicz
Patreon: https://www.patreon.com/mateuszurbanowicz
Website: http://mateuszurbanowicz.com
Blog: http://mattjabbar.tumblr.com
Twitter: https://twitter.com/gommatt
Instagram: https://www.instagram.com/mateusz_urbanowicz
apple (sg) 在 The Thirsty Sisters Youtube 的最佳貼文
This week, The Thirsty Sisters are back with their thoughts on the recent Population Census 2020 survey, where it was reported for women to be more educated than their male counterparts! Why are people on Facebook angry about this increase? Are women really smarter than men? ? We got Sylvia and Nina to react to all these—tune in to hear all about it!
Link to The Straits Times article: https://str.sg/34Sk
Link to the Facebook post: https://www.facebook.com/129011692114/posts/10157967528802115/?d=n
00:00 Intro
01:39 Topic of the day
03:18 Key statistics from the article
04:23 'Its a women problem'
06:27 Why we are having less children
11:00 How women balance work and family
13:30 Coping with your own and your child's issues
15:19 Are we ready to have children?
18:32 The new vs old mindset on single parenthood
21:34 Supporting women regardless of their decisions
22:50 Women are getting harder to get along with?!
26:42 Men have to pay on dates?
29:58 Not taking these comments at face value
32:46 Conclusion
Sylvia and Nina are not your typical influencers; they give it to you raw and real! Join them as they quench their never-ending thirst for wisdom, trends, success and men.
They explore hot and pressing issues you never thought you needed to know in this extremely in-depth podcast. Sisters, brothers and everyone in between or beyond; jump in and be thirsty!
*Disclaimers*
The legal age for sex in Singapore is 18. While being comfortable with your bodies is a must, please protect yourselves by using protection ?
https://singaporelegaladvice.com/law-articles/legal-age-for-sex-in-singapore/
Our views in this podcast include only our own experiences as heterosexual women in Singapore, we respect everyone’s views regardless of genders, gender identities and sexual orientations.
Follow The Thirsty Sisters on Apple Podcasts, Spotify and Instagram!
https://podcasts.apple.com/sg/podcast/the-thirsty-sisters/id1509379792
https://www.instagram.com/thethirstysisterstts
https://open.spotify.com/show/5yx8txjfb7dMkosumEv6lQ?si=5Ew1dv6wRlCayZ0TQfo-Ug
Featuring:
Sylvia - https://www.instagram.com/sylsylnoc
Nina - https://www.instagram.com/ninatsf
Brand collaborations/features:
sales@noc.com.sg
The Thirsty Sisters TEAM
Co-Founders: Sylvia Chan | Nina Tan
Executive Producer: Sylvia Chan
Crew/Editors: Jade Liew | Winston Tay
Motion Graphics Designers: Bryan Seah | Kher Chyn
Sound Engineers: Nah Yu En | Mabel Leong
Digital Strategist: Winston Tay
apple (sg) 在 Ray Mak Youtube 的最讚貼文
?SHEET MUSIC & Mp3 ▸ http://www.makhonkit.com
?LEARN MY SONGS ▸ https://tinyurl.com/RayMak-flowkey
?Listen on Spotify ▸ https://sptfy.com/raymak
?Listen on Apple Music ▸ https://music.apple.com/sg/artist/ray-mak/1498802526
?Full Song List ▸ http://www.redefiningpiano.com
Talk to me :
? Instagram ▸ http://instagram.com/makhonkit
? Facebook ▸ http://facebook.com/raymakpiano
? Twitter ▸ http://twitter.com/makhonkit
@Bella Poarch - Build a B*tch Piano by Ray Mak
This song got stuck in my head for the longest time. I had to get it out. Hope you guys like it.
#BellaPoarch #BuildAB*tch #Piano
apple (sg) 在 Apple Sg | Facebook 的推薦與評價
Apple Sg is on Facebook. Join Facebook to connect with Apple Sg and others you may know. Facebook gives people the power to share and makes the world... ... <看更多>