อโศก ทำเลทอง ที่ทุกคนอยากสร้างตึกสูง บนถนนนี้ /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงทำเลที่สามารถตอบโจทย์คนกรุงเทพฯ รอบด้าน
เป็นย่านธุรกิจสำคัญ มีอาคารสำนักงานมากมาย
เป็นย่านที่พักอาศัยของชาวไทยและชาวต่างชาติ
และยังเป็นย่าน Interchange ของรถไฟฟ้า MRT และ BTS
เชื่อว่า หนึ่งในทำเลที่หลายคนนึกถึงก็คือ “ทำเลอโศก”
พัฒนาการนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของ ทำเลอโศก เป็นอย่างไร ?
ปัจจัยส่งเสริมใด ? ที่ทำให้กลายเป็นหนึ่งย่าน CBD สำคัญของกรุงเทพฯ
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้หรือไม่ว่า “ถนนอโศกมนตรี” เพิ่งได้รับชื่อเรียกนี้ในปี 2547
เพื่อเป็นเกียรติให้กับชายผู้ร่วมอุทิศที่ดินและบริจาคทุนในการขยายถนนสายนี้ ที่มีชื่อว่า พระอโศกมนตรี (เรียม เศวตเศรณี)
ซึ่งเดิมทีถนนอโศกมนตรีมีชื่อว่า ซอยอโศก หรือซอยสุขุมวิท 21
มีลักษณะเป็นถนนสายสั้น ๆ ราว 1.3 กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างถนนสุขุมวิท และถนนเพชรบุรี
ต่อมาในปี 2519 มีการตัดถนนรัชดาภิเษก หรือถนนวงแหวนรอบใน
เพื่อเชื่อมต่อกับถนนสายต่าง ๆ จนเป็นลักษณะวงแหวนรอบเมือง
โดยซอยอโศกก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของถนนวงแหวนรอบในนี้เช่นกัน
และด้วยความเป็นถนนที่มีขนาดกว้าง สามารถสร้างอาคารขนาดใหญ่สูง 23 เมตรขึ้นไปได้
จึงทำให้ถนนสายนี้กลายเป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงานมากมายนับตั้งแต่นั้นเรื่อยมา เช่น
- อาคารอโศก ทาวเวอร์ส สร้างเสร็จในปี 2528
- อาคารซิโน-ไทย สร้างเสร็จในปี 2529
- อาคารโอเชี่ยน ทาวเวอร์ 2 สร้างเสร็จในปี 2536
- อาคาร GMM Grammy Place สร้างเสร็จในปี 2542
นอกจากนี้ ตลอดแนวซอยอโศก ยังมีเส้นทางเชื่อมต่อไปยังสถานที่และทำเลอื่น ๆ ของถนนสุขุมวิท
ซึ่งล้วนเป็นย่านสำคัญของกรุงเทพฯ เช่น
- ซอยสุขุมวิท 15 เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนานาชาตินิสท์ (NIST) และซอยสุขุมวิท 19 เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ส่วนฝั่งซอยสุขุมวิท 23 เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว ประสานมิตร)
- ซอยสุขุมวิทเลขคี่ สามารถเชื่อมต่อไปยังย่านนานา (ซอยสุขุมวิท 3) จนถึงทองหล่อและเอกมัยได้
ซึ่งเป็นหนึ่งย่านยอดนิยมของชาวต่างชาติ ทั้งนักท่องเที่ยว และเหล่า Expat ที่มาพักอาศัยระยะยาว และเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแบบครบวงจรที่ใกล้ที่สุดอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ ทำเลอโศกจึงกลายเป็นย่านสำคัญที่เต็มไปด้วยความคึกคักของผู้คน
และยังเกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบด้าน ทั้งในรูปแบบของแหล่งงาน, แหล่งศึกษา รวมทั้งรองรับชาวต่างชาติ นั่นเอง
แต่ความเจริญของทำเลอโศก ก็ยังไม่ได้หยุดแต่เพียงเท่านั้น..
เพราะเมื่อรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง เริ่มให้บริการในปี 2547
ได้เกิดสถานี Interchange เชื่อมต่อระหว่าง BTS และ MRT เพียง 3 แห่งเท่านั้น
นั่นคือ หมอชิต-สวนจตุจักร, ศาลาแดง-สีลม รวมทั้ง อโศก-สุขุมวิท นั่นเอง
ด้วยความเป็นหนึ่งในสถานี Interchange นี้เอง
กลายเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ทำเลอโศก กลายเป็นทำเลมีศักยภาพโดดเด่น จนนับได้ว่าเป็นพื้นที่ย่านเศรษฐกิจสำคัญใจกลางเมือง หรือ Central Business District (CBD) ของกรุงเทพฯ
และยังเป็นจุดสนใจของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่น
- โครงการเชิงพาณิชย์ เช่น ศูนย์การค้า Terminal 21
- โรงแรมชั้นนำ เช่น Pullman Bangkok Grande Sukhumvit, Sofitel Bangkok Sukhumvit, The Continent Hotel และ Solaria Nishitetsu Hotel
ความเจริญที่เกิดขึ้นในทำเลอโศก ยังผลักดันให้เกิดการเติบโตของราคาประเมินที่ดินอย่างต่อเนื่อง
โดยราคาประเมินที่ดินล่าสุดปี 2559-2562 อยู่ที่ตารางวาละ 550,000 บาท
ขณะที่ราคาซื้อขายที่ดินในตลาดของทำเลอโศก เฉลี่ยตารางวาละ 950,000 บาท
เหตุจากต้นทุนราคาที่ดินสูงนี้เอง
จึงผลักดันให้การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียมในทำเลอโศก
มักจะเป็นโครงการระดับ High Class ขึ้นไปจนถึง Luxury
จับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังจ่าย รวมทั้งนักลงทุนและชาวต่างชาติ
เราจึงเห็นโครงการคอนโดมิเนียมในทำเลอโศกในปัจจุบันนี้
มีราคาขายต่อตารางเมตรอยู่ในระดับแสนบาท เลยทีเดียว
เช่น
- Noble BE19 บริเวณซอยสุขุมวิท 19 เริ่มต้น 148,484 บาท/ตร.ม.
- The ESSE Asoke บริเวณกลางซอยอโศก เริ่มต้น 192,000 บาท/ตร.ม.
- MUNIQ Sukhumvit 23 ซอยสุขุมวิท 23 เริ่มต้น 198,618 บาท/ตร.ม.
- Ashton Asoke บริเวณทางเข้าสถานี MRT สุขุมวิท เริ่มต้น 210,000 บาท/ตร.ม.
- CELES Asoke บริเวณช่วงต้นซอยอโศก เริ่มต้น 256,000 บาท/ตร.ม.
ซึ่งหลายโครงการก็ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคไปไม่น้อย
เพราะแม้จะเป็นทำเลคอนโดมิเนียมที่มีราคาสูง แต่ได้มาด้วยการอยู่อาศัยในย่าน CBD
ความเป็นทำเลสมบูรณ์ทั้งการอยู่อาศัย ทำงาน จับจ่าย หรือการเดินทาง
มาถึงตรงนี้ ก็น่าติดตามต่อไปว่า เมื่อแปลงที่ดินริมถนนสาธารณะที่มีอยู่อย่างจำกัดเริ่มหมดไปเรื่อย ๆ
แปลงที่ดินที่อยู่ในซอย ก็อาจจะถูกนำมาใช้ประโยชน์มากขึ้น จนอาจนำไปสู่การพัฒนาโครงการด้วยวิธีพิเศษ เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายการก่อสร้าง
เหมือนอย่างประเด็นของคอนโดฯ Ashton Asoke ที่มีการใช้พื้นที่ของ รฟม. ในการเป็นทางเข้าออก เพื่อให้ก่อสร้างตึกที่สูงขึ้นได้
ทั้งหมดนี้ก็เพราะว่า อโศก เป็นที่ดินทำเลทอง ที่ผู้พัฒนาอยากได้พื้นที่ใช้สอยมากที่สุด ภายใต้ที่ดินที่จำกัด นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://th.wikipedia.org/wiki/ถนนอโศกมนตรี
-https://th.wikipedia.org/wiki/ถนนรัชดาภิเษก
-https://www.treasury.go.th/web-upload/m_document/154/4752/file_download/334a66a866234c88c5620d11da0b5fcd.pdf
-https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/ราคาประเมินที่ดินกรุงเทพ-34351
-https://www.singhaestate.co.th/en/residential/condo/the-esse/asoke
-https://www.ananda.co.th/th/condominium/ashton-asoke
-https://www.noblehome.com/th/condominium/be19
-https://www.celes-asoke.com/
-https://www.mjd.co.th/muniq/sukhumvit23/
ashton asoke 在 ThinkofLiving.Com Facebook 的精選貼文
Update #Ashtonอโศก และคำแถลงจากทางอนันดา
อ่านเพิ่ม https://wp.me/p1YZB1-35Z8
.
หลังจากเมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2564 ศาลปกครองกลาง(ศาลชั้นต้น) ได้มีคำพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาติก่อสร้างคอนโด #AshtonAsoke ทำให้วันนี้หุ้นของ Ananda Development ร่วงลงกว่า 14% ล่าสุดทางบริษัทได้ออกมาชี้แจ้งเพิ่มเติมว่า กำลังอยู่ระหว่างเตรียมยื่นอุทธรณ์ใน 30 วัน และพร้อมช่วยเหลือลูกบ้านอย่างเต็มความสามารถ แม้ว่าการเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีของศาลปกครองสูงสุด อาจกินระยะเวลานาน 3-5 ปี
.
ปัจจุบัน Ashton Asoke ขายไปได้ 87% หรือประมาณ หรือประมาณ 666 ยูนิต มีลูกบ้านเข้าอยู่ 578 ครอบครัว แบ่งเป็นลูกค้าคนไทย 458 ครอบครัว และต่างชาติอีก 140 ครอบครัว ที่ได้เข้าอยู่ในโครงการมากว่า 2 ปี
.
ชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Ananda Development กล่าวว่า การที่ศาลปกครองกลาง สั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง Ashton อโศก ถือเป็นความไม่เป็นธรรมอย่างมาก และสะเทือนถึงความล้มเหลวของระบบ-ระเบียบราชการไทย เนื่องจากโครงการนี้ ผ่านการอนุมัติของหน่วยงานรัฐถึง 8 หน่วยงาน เอกสาร 9 ฉบับ อีกทั้ง มีการผ่านการขอความเห็น ก่อนดำเนินการจาก 7 หน่วยงาน จำนวน 5 คณะกรรมการ ด้านพันธมิตรที่ร่วมทุนอย่าง Mitsui Fudosan เป็นบริษัทขนาดใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ยึดถือกฏระเบียบและความถูกต้อง ดังนั้นไม่มีทางที่บริษัทจะจงใจทำผิดกฏหมาย แต่สุดท้ายกลับเกิดปัญหาขึ้น
.
อย่างไรก็ตาม Ashton อโศก ไม่ใช่โครงการแรกที่ใช้ทางออกร่วมกับ รฟม. หากเคสนี้ยื่นอุทธรณ์ไม่ผ่าน มีความเป็นไปได้ที่จะกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่ออสังหาริมทรัพย์ในไทย รวมไปถึงหลายๆ อาคารที่มีการใช้ที่ดินลักษณะเดียวกัน
ที่มา: https://www.thansettakij.com/property/490066?fbclid=IwAR3I_HjglazkSRFUc6A9edY4wbi5nJQ29QsmdmkAmX23VzSd1uCwy9JpVu8
https://www.posttoday.com/property/659575
https://mgronline.com/stockmarket/detail/9640000075578
---------------------------------
ติดตาม Content อื่นๆ ผ่านทาง ThinkofLiving Line Official Account คลิก > https://lin.ee/svACOxcFB
ashton asoke 在 ThinkofLiving.Com Facebook 的最讚貼文
ข่าวสะเทือนวงการอสังหา เมื่อคอนโดหรูอย่าง #Ashtonอโศก ของ Ananda Development โดนศาลปกครองกลาง สั่งเพิกถอนใบอนุญาติก่อสร้าง ซึ่งคดีนี้สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวกรวม 16 คน ได้ยื่นฟ้องผู้อำนวยการเขตวัฒนา กับพวกรวม 5 คน
อ่านเพิ่ม https://wp.me/p1YZB1-35Z8
.
โดยศาลให้เหตุผลว่า ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของอาคาร Ashton อโศก ไม่มีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 2 วรรคสอง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
อ่านคำพิพากษาฉบับเต็ม >> https://drive.google.com/file/d/12O3h_jQd37jPlLIOX9Fku8bnYeS41iSU/view
.
อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาเบื้องต้น เป็นของศาลอุทธรณ์กลางผู้ถูกฟ้องคดียังสามารถอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้อีก และล่าสุดทาง Ananda Development ผู้พัฒนาโครงการ Ashton Asoke ก็ได้ออกจดหมายมาชี้แจง พร้อมเตรียมยื่นอุทธรณ์
.
สำหรับ Ashton อโศก เป็นคอนโดร่วมทุนระหว่าง Ananda Development กับ Mitsui Fudosan มูลค่าโครงการ 6,432 ลบ. เปิดตัวในปี 2557 ในราคาเริ่มต้น 210,000 บาท/ ตร.ม. ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างสูงในขณะนั้น แต่หลังจากโครงการสร้างเสร็จในปี 2560 กลับเจอปัญหาไม่ได้รับเอกสารรับรองการก่อสร้าง และเปิดใช้อาคาร (หรืออ.6) จากกทม. ทำให้ไม่สามารถส่งมอบคอนโดให้กับลูกค้าได้ภายใน มี.ค. 2561 จนต้องขยายเวลาออกส่งมอบเป็น มิ.ย. 2561
อ่านจดหมายชี้แจงของอนันดา ชี้แจงเรื่องการได้รับใบอ.6 ได้ที่ https://wp.me/p1YZB1-2196
.
ที่มา: https://www.isranews.org/article/isranews-news/101014-Administrative-Court-ASHTON-ASOKE-news.html
https://www.matichon.co.th/local/news_2858702