เมื่อ Bill Gross ราชาแห่งพันธบัตร กำลังบอกว่า พันธบัตรคือขยะ /โดย ลงทุนแมน
เราอาจแปลกใจถ้ามีคนพูดว่า “การลงทุนในพันธบัตรคือ การลงทุนในขยะ”
แต่เราคงตกใจยิ่งกว่านั้น เมื่อรู้ว่าคนที่พูดประโยคนั้นคือ หนึ่งในนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ที่มีชื่อว่า บิลล์ กรอสส์ เจ้าของฉายา “ราชาแห่งพันธบัตร”
พันธบัตรเป็นหนึ่งตัวแทนของสินทรัพย์ทางการเงิน
ที่หลายคนมองว่าปลอดภัย และมีความเสี่ยงต่ำ
แต่ทำไมตอนนี้ บิลล์ กรอสส์ ถึงมองว่า การลงทุนในพันธบัตร คือการลงทุนในขยะ..
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ถ้าพูดถึงนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ในตลาดหุ้น หลายคนคงนึกถึง วอร์เรน บัฟเฟตต์
แต่ถ้าพูดถึงนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ในตลาดพันธบัตร เราจะต้องพูดถึง บิลล์ กรอสส์ (Bill Gross)
บิลล์ กรอสส์ เป็นผู้จัดการกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ และประสบความสำเร็จ จนได้รับฉายาว่า “Bond King” หรือ “ราชาแห่งพันธบัตร”
เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทจัดการลงทุน
ที่ชื่อว่า Pacific Investment Management Company หรือเรียกสั้น ๆ ว่า PIMCO ซึ่งปัจจุบัน เป็นหนึ่งในบริษัทจัดการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
PIMCO มีการลงทุนที่หลากหลายตั้งแต่ ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ กองทุน ETF กองทุนเฮดจ์ฟันด์ และไพรเวทอิควิตี้
จากจุดเริ่มต้นของ PIMCO ที่มีทรัพย์สินภายใต้การบริหารไม่ถึง 400 ล้านบาท ในปี 1971 ก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนสูงกว่า 72 ล้านล้านบาท ในปี 2020
โดยการลงทุนที่สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเขาในฐานะผู้จัดการกองทุนอย่างมาก คือการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้
ในปี 2010 Morningstar องค์กรที่ให้บริการข้อมูลและจัดอันดับเปรียบเทียบกองทุนรวมทั่วโลก ระบุว่า “ไม่มีผู้จัดการกองทุนคนไหนอีกแล้ว ที่จะสามารถทำเงินจากการลงทุนในตราสารหนี้ ได้มากกว่า บิลล์ กรอสส์”
แต่ประเด็นน่าสนใจที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ คือ
บิลล์ กรอสส์ ได้ออกมาบอกว่า
“การลงทุนในพันธบัตรคือ การลงทุนในขยะ”
ทำไมราชาแห่งพันธบัตร ถึงพูดแบบนี้ ?
เราลองมาทำความเข้าใจกับ ลักษณะที่สำคัญของตราสารหนี้ ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้เอกชนกันก่อน
ตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” อย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
หรือพูดอีกมุมหนึ่งคือ ผู้ที่ลงทุนในตราสารหนี้ จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ที่ออกตราสารหนี้นั้น
จุดเด่นสำคัญของตราสารหนี้ คือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับหุ้น
ยิ่งถ้าผู้ที่ออกตราสารดังกล่าว เป็นรัฐบาลที่มีเครดิตดี และโอกาสน้อยมากที่จะผิดนัดจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ถือตราสาร ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ก็ยิ่งต่ำ
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่ำ ก็ไม่ได้แปลว่า ไม่มีความเสี่ยง
เพราะนอกจากความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้แล้ว การลงทุนในตราสารหนี้ ยังมีความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ “ความเสี่ยงจากดอกเบี้ยที่กำลังจะปรับตัวเพิ่มขึ้น”
อธิบายกลไกของตราสารหนี้ง่าย ๆ คือ
ความสัมพันธ์ของราคาตราสารหนี้กับอัตราดอกเบี้ยจะสวนทางกัน
หมายความว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ราคาตราสารหนี้จะเพิ่มขึ้น และเมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ราคาตราสารหนี้จะลดลง
ทีนี้ย้อนกลับมาถึงในสิ่งที่ บิลล์ กรอสส์ พูดไว้ข้างต้น ซึ่งเขามองว่า การลงทุนตราสารหนี้เริ่มไม่น่าสนใจ เนื่องจาก
- นโยบายอัดฉีดเงินเข้าระบบผ่านการเข้าซื้อสินทรัพย์โดยทางธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) หรือที่เรียกว่าการทำ QE กำลังจะลดขนาดลง
การปรับตัวขึ้นของราคาสินทรัพย์ทางการเงินหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ หรือแม้แต่สินทรัพย์ทางเลือกอย่างคริปโทเคอร์เรนซีในช่วงหลายปีที่ผ่านนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากการอัดฉีดเงิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องตลาดการเงินของสหรัฐอเมริกา
โดย Fed ทำการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อจำนองค้ำประกันของ Fed รวมกันเดือนละประมาณ 3.9 ล้านล้านบาท อย่างต่อเนื่อง
เรื่องนี้ทำให้ราคาพันธบัตรเหล่านี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐอเมริกา อายุ 10 ปี นั้นลดลง ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่งอัตราผลตอบแทนดังกล่าวเคยลดลงไปเหลือเพียง 0.5% ในช่วงกลางปี 2020
อย่างไรก็ตาม การที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ Fed เริ่มส่งสัญญาณลดการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบลง หรือที่เรียกว่า QE Tapering
ซึ่งเม็ดเงินที่ลดลงนี้ หมายความว่า ปริมาณการซื้อตราสารหนี้มีแนวโน้มจะลดลง จนทำให้ความน่าสนใจในตราสารหนี้ ลดลงไปด้วย
- แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
เราอยู่ในจุดที่อัตราดอกเบี้ยนั้นต่ำมาเป็นเวลานานพอสมควร ธนาคารกลางหลายประเทศปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปอยู่ที่ 0% หรือแม้แต่ติดลบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวกลับมาเติบโตเหมือนเดิม
แต่สิ่งหนึ่งที่มักมาพร้อมกับการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจคือ “เงินเฟ้อ” ซึ่งหากเงินเฟ้อมีการปรับตัวขึ้นเร็วจนเกินไป ก็จะส่งผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ
เพราะฉะนั้น ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ อย่างเช่น Fed ก็ต้องมีมาตรการมาควบคุม ไม่ให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเร็วจนเกินไป
หนึ่งในวิธีที่ทำกันมานาน ก็คือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อให้ดอกเบี้ยในภาพรวมของประเทศปรับตัวสูงขึ้น เพื่อให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจและชะลอเงินเฟ้อได้
ขณะเดียวกัน นักลงทุนหรือคนที่ถือพันธบัตรอยู่ในปัจจุบัน พอเห็นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น พวกเขาก็จะเริ่มทยอยขายพันธบัตรที่ถืออยู่ออกมา เพื่อนำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ชุดใหม่ ๆ ที่จะให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า หรือเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า
เมื่อมีการขายตราสารหนี้ออกมาจำนวนมาก ก็จะทำให้ราคาตราสารหนี้นั้นปรับตัวลดลง จนทำให้ผู้ที่ถือตราสารหนี้ โดยเฉพาะยิ่งเป็นตราสารหนี้ระยะยาวอาจจะขาดทุนหนักได้
นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อ ยังทำให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินหักด้วยอัตราเงินเฟ้อ) จะยิ่งลดลงไป ซึ่งหมายความว่า อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจากการถือตราสารหนี้ ลดลงไปอีก
เมื่อเป็นแบบนี้ ก็จะทำให้มีแรงเทขายตราสารหนี้ออกมาในปริมาณมาก จนอาจทำให้หลายคนที่ลงทุนในตราสารหนี้อยู่ ต้องขาดทุนอย่างหนักมากกว่าเดิมก็เป็นได้
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า สิ่งที่ บิลล์ กรอสส์ คาดการณ์ไว้เช่นนี้ จะเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน
แต่ก็ต้องยอมรับว่า นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ กำลังจะต้องเจอความท้าทายจากอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่กำลังจะปรับตัวขึ้นหลังจากนี้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-09-01/bill-gross-says-bonds-are-investment-garbage-just-like-cash
-https://www.investopedia.com/terms/w/william-h-gross.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Bill_H._Gross
-https://www.ft.com/content/f1a48ac2-36fb-4e7f-8d23-71477f1fc0a4
-https://www.sunsigns.org/famousbirthdays/d/profile/bill-gross/
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過120萬的網紅Phê Phim,也在其Youtube影片中提到,Phê Phim News: CAPTAIN DRA-MARVEL | RAMI MALEK VÀO VAI PHẢN DIỆN TRONG BOND 25!? Chào mừng các bạn đến với Phê Phim News, nơi mà mình nói về những ti...
bond wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
สรุปเรื่อง เศรษฐกิจ เงินแข็ง เงินเฟ้อ ของประเทศไทย แบบเข้าใจง่ายๆ / โดย ลงทุนแมน
[1 ในบทความที่นิยมสุดของลงทุนแมนในปี 2019]
“ประเทศที่ภาวะเศรษฐกิจดี และมีแนวโน้มเติบโต ค่าเงินมักจะแข็งค่า”
นี่คือแนวคิดพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
แต่ประโยคนี้อาจใช้ไม่ได้กับประเทศไทยในปัจจุบัน
เพราะถึงแม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็ง แต่เศรษฐกิจของเราชะลอลง
เรื่องนี้เป็นเพราะอะไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
ตอนนี้บางฝ่ายกำลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 2019 จะเติบโตไม่ถึง 3%
IMF คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 2.9%
ล่าสุดกระทรวงการคลังก็คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะเติบโตเพียง 2.8%
ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นจริง เศรษฐกิจไทยจะเติบโตต่ำสุดในรอบ 5 ปี
หลายคนรู้ดีว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจเปิด เน้นภาคส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ปี 2018 มูลค่าการส่งออกของไทยประมาณ 7.6 ล้านล้านบาท
คิดเป็นประมาณ 50% ของมูลค่า GDP ที่ 15.2 ล้านล้านบาท
เมื่อสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ เกิดขึ้น ย่อมส่งผลต่อการส่งออกของประเทศไทยอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะตลาดส่งออกของไทยที่ไปยังสหรัฐอเมริกาและจีน มีสัดส่วนกว่า 23% หรือ มูลค่ารวมกันเกือบ 1.9 ล้านล้านบาท
ผลของสงครามการค้าทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว
จีนมีการเติบโตต่ำสุดในรอบ 30 ปี ซึ่งจีนเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของไทย
พอตลาดส่งออกอย่างจีนกำลังมีปัญหา ประเทศเราก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย
นั่นจึงทำให้การส่งออกของไทยซึ่งเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจสำคัญ เกิดปัญหา
เครื่องยนต์อีกตัวที่ถือว่าสำคัญคือ “การบริโภคภายในประเทศ” ที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากการส่งออก ซึ่งหลายคนหวังว่าจะมาช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตอีกแรง
แต่เครื่องยนต์ที่เป็นความหวังนี้ก็อาจมีปัญหา เพราะปัจจุบันหนี้สินของครัวเรือนของประเทศไทยนั้นอยู่ที่ประมาณ 78% ของ GDP
หมายความว่า หนี้สินของครัวเรือนทั้งระบบอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านล้านบาท
ถ้าเราคิดดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 8% ครัวเรือนทั้งหมดต้องจ่ายดอกเบี้ยเกือบ 1 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 7% ของ GDP ซึ่งภาระหนี้เหล่านี้ส่งผลให้กำลังซื้อหายไปจากระบบเศรษฐกิจไทย
ในขณะที่หนี้ NPL ทั้งระบบอยู่ที่ประมาณ 450,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 337,000 ล้านบาท จากปี 2015 โดยเฉพาะหนี้เสียที่เป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภคกำลังเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
สรุปแล้ว ทั้งการส่งออกและการบริโภคที่พวกเราหวังจะให้มากระตุ้นเศรษฐกิจ กำลังเจอความท้าทายอย่างหนัก ซึ่งปกติแล้วเศรษฐกิจที่ชะลอตัว จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นอ่อนค่าลง
อย่างไรก็ตาม เงินบาทกำลังแข็งค่าสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจ..
นับจากต้นปี เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาแล้วกว่า 7% และตอนนี้ก็กำลังแข็งค่ามากสุดในรอบกว่า 6 ปี
เหตุผลที่เงินบาทแข็งค่ามาจากหลายปัจจัย
ปี 2018 ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ของไทยถือว่าสูงเป็นอันดับที่ 16 ของโลก สาเหตุก็เพราะไทยมีการค้าและบริการที่เกินดุล ทั้งจากการส่งออกมากกว่านำเข้า และการท่องเที่ยวที่สามารถดึงเม็ดเงินต่างชาติได้มาก
เมื่อต่างชาติเอาเงินต่างประเทศมาแลกเป็นเงินไทย ไทยก็ต้องถือครองเงินต่างประเทศมากขึ้น และเป็นเหตุผลที่ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยนั้นสูงถึง 6.5 ล้านล้านบาท มากเป็นอันดับที่ 12 ของโลก
เงินสำรองระหว่างประเทศที่มาก ทำให้ประเทศไทยถูกมองว่า มีสถานะการเงินที่แข็งแรง และทำให้เงินบาทแข็งค่า
รวมไปถึงเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) ในโครงการต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมาก็ทำให้ความต้องการเงินบาทสูงขึ้นเช่นกัน
สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นไทยนั้น หลายคนอาจสงสัยว่า ทั้งๆ ที่ต่างชาติขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปีที่แล้ว ที่ขายสุทธิในตลาดหุ้นมากกว่า 287,000 ล้านบาท มากสุดในรอบ 5 ปี แต่ทำไมเงินบาทยังแข็งค่า
จริงๆ แล้ว เงินนักลงทุนต่างชาติบางส่วนไม่ได้นำออกไปไหน แต่กลับถูกนำไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปี 2018 นักลงทุนต่างชาติถือครองตราสารหนี้ในไทย มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากปี 2015 ที่ประมาณ 5.7 แสนล้านบาท
อีกเรื่องคือเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อ หมายถึง การด้อยของค่าเงินในประเทศนั้น
ประเทศไหนที่เงินเฟ้อสูง ย่อมไม่มีใครอยากถือครองเงินสกุลนั้น และจะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นอ่อนค่าในที่สุด
ในขณะที่ประเทศไหนที่เงินเฟ้อต่ำ เงินจะด้อยค่าเพียงเล็กน้อย ย่อมทำให้คนอยากถือครองเงินสกุลนั้น และจะทำให้เงินของประเทศนั้นแข็งค่าในที่สุด
สำหรับไทยนั้น ตั้งแต่ปี 2013 - 2018 เงินเฟ้อทั่วไปของไทยเฉลี่ยปีละ 0.9% เท่านั้น ต่างประเทศก็พากันอยากถือครองเงินสกุลไทยบาท และนั่นจึงทำให้ที่ผ่านมาเงินบาทจึงแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เราต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด จึงทำให้รัฐบาลแต่ละประเทศก็มีการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ต่างกัน บางประเทศลดดอกเบี้ยจนเข้าใกล้ศูนย์ บางประเทศออกนโยบายแจกเงินไปถึงมือประชาชน เรื่องเหล่านี้บางอย่างอาจได้ผลในระยะสั้น แต่บางอย่างก็อาจทำให้สภาพเศรษฐกิจผิดเพี้ยนไปจากอดีต
ปิดท้ายด้วยวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
ในโลกนี้ มีประเทศหนึ่งที่มีเงินเฟ้อต่ำ แต่ค่าเงินอ่อนลง ซึ่งขัดแย้งกับความเชื่อเดิมที่ว่าเงินเฟ้อต่ำจะทำให้ค่าเงินแข็ง
ประเทศนั้นก็คือ ญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นนั้น เงินเฟ้อต่ำต่อเนื่องมาหลายปี และค่าเงินญี่ปุ่นก็แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น จนกระทั่ง ธนาคารกลางญี่ปุ่นเลือกที่จะใช้นโยบายพิเศษ โดยอัดฉีดเงินเข้าระบบครั้งใหญ่ เพื่อคาดหวังให้เงินเฟ้อกลับมาที่ 2% รวมไปถึงการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% มาตั้งแต่ปี 2011 และล่าสุดกำหนดให้ดอกเบี้ยติดลบที่ 0.1%
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของญี่ปุ่นติดลบ
และทำให้คนอยากครอบครองเงินสกุลเยนญี่ปุ่นน้อยลง ส่งผลให้ค่าเงินเยนญี่ปุ่นอ่อนลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น และนั่นก็เป็นสาเหตุที่เราคนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นได้ถูกลงในช่วงที่ผ่านมา นั่นเอง..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-2018 Thai Bond Market Review, ThaiBMA
-https://en.wikipedia.org/…/List_of_countries_by_GDP_(nomina…
-http://www.thaiwebsites.com/imports-exports.asp
-https://www.bangkokpost.com/…/imf-sees-thai-growth-rate-at-…
-https://kasikornresearch.com/…/k-e…/economy/Pages/y3823.aspx
-https://www.ceicdata.com/…/t…/household-debt-\-\of-nominal-gdp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Economy_of_Thailand
-http://www.worldstopexports.com/thailands-top-10-exports/
- https://www.bot.or.th/…/BTWS_ST…/statistics/ReportPage.aspx…
-https://en.wikipedia.org/…/List_of_countries_by_foreign-exc…
-https://www.inflation.eu/…/histori…/cpi-inflation-japan.aspx
-https://tradingeconomics.com/japan/interest-rate…
bond wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
สรุปเรื่อง เศรษฐกิจ เงินแข็ง เงินเฟ้อ ของประเทศไทย แบบเข้าใจง่ายๆ / โดย ลงทุนแมน
[1 ในบทความที่นิยมสุดของลงทุนแมนในปี 2019]
“ประเทศที่ภาวะเศรษฐกิจดี และมีแนวโน้มเติบโต ค่าเงินมักจะแข็งค่า”
นี่คือแนวคิดพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์
แต่ประโยคนี้อาจใช้ไม่ได้กับประเทศไทยในปัจจุบัน
เพราะถึงแม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็ง แต่เศรษฐกิจของเราชะลอลง
เรื่องนี้เป็นเพราะอะไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
ตอนนี้บางฝ่ายกำลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 2019 จะเติบโตไม่ถึง 3%
IMF คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 2.9%
ล่าสุดกระทรวงการคลังก็คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะเติบโตเพียง 2.8%
ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นจริง เศรษฐกิจไทยจะเติบโตต่ำสุดในรอบ 5 ปี
หลายคนรู้ดีว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจเปิด เน้นภาคส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ปี 2018 มูลค่าการส่งออกของไทยประมาณ 7.6 ล้านล้านบาท
คิดเป็นประมาณ 50% ของมูลค่า GDP ที่ 15.2 ล้านล้านบาท
เมื่อสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ เกิดขึ้น ย่อมส่งผลต่อการส่งออกของประเทศไทยอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะตลาดส่งออกของไทยที่ไปยังสหรัฐอเมริกาและจีน มีสัดส่วนกว่า 23% หรือ มูลค่ารวมกันเกือบ 1.9 ล้านล้านบาท
ผลของสงครามการค้าทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว
จีนมีการเติบโตต่ำสุดในรอบ 30 ปี ซึ่งจีนเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของไทย
พอตลาดส่งออกอย่างจีนกำลังมีปัญหา ประเทศเราก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย
นั่นจึงทำให้การส่งออกของไทยซึ่งเป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจสำคัญ เกิดปัญหา
เครื่องยนต์อีกตัวที่ถือว่าสำคัญคือ “การบริโภคภายในประเทศ” ที่มีขนาดใหญ่รองลงมาจากการส่งออก ซึ่งหลายคนหวังว่าจะมาช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตอีกแรง
แต่เครื่องยนต์ที่เป็นความหวังนี้ก็อาจมีปัญหา เพราะปัจจุบันหนี้สินของครัวเรือนของประเทศไทยนั้นอยู่ที่ประมาณ 78% ของ GDP
หมายความว่า หนี้สินของครัวเรือนทั้งระบบอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านล้านบาท
ถ้าเราคิดดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 8% ครัวเรือนทั้งหมดต้องจ่ายดอกเบี้ยเกือบ 1 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 7% ของ GDP ซึ่งภาระหนี้เหล่านี้ส่งผลให้กำลังซื้อหายไปจากระบบเศรษฐกิจไทย
ในขณะที่หนี้ NPL ทั้งระบบอยู่ที่ประมาณ 450,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 337,000 ล้านบาท จากปี 2015 โดยเฉพาะหนี้เสียที่เป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภคกำลังเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
สรุปแล้ว ทั้งการส่งออกและการบริโภคที่พวกเราหวังจะให้มากระตุ้นเศรษฐกิจ กำลังเจอความท้าทายอย่างหนัก ซึ่งปกติแล้วเศรษฐกิจที่ชะลอตัว จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นอ่อนค่าลง
อย่างไรก็ตาม เงินบาทกำลังแข็งค่าสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจ..
นับจากต้นปี เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาแล้วกว่า 7% และตอนนี้ก็กำลังแข็งค่ามากสุดในรอบกว่า 6 ปี
เหตุผลที่เงินบาทแข็งค่ามาจากหลายปัจจัย
ปี 2018 ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP ของไทยถือว่าสูงเป็นอันดับที่ 16 ของโลก สาเหตุก็เพราะไทยมีการค้าและบริการที่เกินดุล ทั้งจากการส่งออกมากกว่านำเข้า และการท่องเที่ยวที่สามารถดึงเม็ดเงินต่างชาติได้มาก
เมื่อต่างชาติเอาเงินต่างประเทศมาแลกเป็นเงินไทย ไทยก็ต้องถือครองเงินต่างประเทศมากขึ้น และเป็นเหตุผลที่ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยนั้นสูงถึง 6.5 ล้านล้านบาท มากเป็นอันดับที่ 12 ของโลก
เงินสำรองระหว่างประเทศที่มาก ทำให้ประเทศไทยถูกมองว่า มีสถานะการเงินที่แข็งแรง และทำให้เงินบาทแข็งค่า
รวมไปถึงเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) ในโครงการต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมาก็ทำให้ความต้องการเงินบาทสูงขึ้นเช่นกัน
สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นไทยนั้น หลายคนอาจสงสัยว่า ทั้งๆ ที่ต่างชาติขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปีที่แล้ว ที่ขายสุทธิในตลาดหุ้นมากกว่า 287,000 ล้านบาท มากสุดในรอบ 5 ปี แต่ทำไมเงินบาทยังแข็งค่า
จริงๆ แล้ว เงินนักลงทุนต่างชาติบางส่วนไม่ได้นำออกไปไหน แต่กลับถูกนำไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปี 2018 นักลงทุนต่างชาติถือครองตราสารหนี้ในไทย มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากปี 2015 ที่ประมาณ 5.7 แสนล้านบาท
อีกเรื่องคือเงินเฟ้อ
เงินเฟ้อ หมายถึง การด้อยของค่าเงินในประเทศนั้น
ประเทศไหนที่เงินเฟ้อสูง ย่อมไม่มีใครอยากถือครองเงินสกุลนั้น และจะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นอ่อนค่าในที่สุด
ในขณะที่ประเทศไหนที่เงินเฟ้อต่ำ เงินจะด้อยค่าเพียงเล็กน้อย ย่อมทำให้คนอยากถือครองเงินสกุลนั้น และจะทำให้เงินของประเทศนั้นแข็งค่าในที่สุด
สำหรับไทยนั้น ตั้งแต่ปี 2013 - 2018 เงินเฟ้อทั่วไปของไทยเฉลี่ยปีละ 0.9% เท่านั้น ต่างประเทศก็พากันอยากถือครองเงินสกุลไทยบาท และนั่นจึงทำให้ที่ผ่านมาเงินบาทจึงแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เราต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด จึงทำให้รัฐบาลแต่ละประเทศก็มีการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ต่างกัน บางประเทศลดดอกเบี้ยจนเข้าใกล้ศูนย์ บางประเทศออกนโยบายแจกเงินไปถึงมือประชาชน เรื่องเหล่านี้บางอย่างอาจได้ผลในระยะสั้น แต่บางอย่างก็อาจทำให้สภาพเศรษฐกิจผิดเพี้ยนไปจากอดีต
ปิดท้ายด้วยวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
ในโลกนี้ มีประเทศหนึ่งที่มีเงินเฟ้อต่ำ แต่ค่าเงินอ่อนลง ซึ่งขัดแย้งกับความเชื่อเดิมที่ว่าเงินเฟ้อต่ำจะทำให้ค่าเงินแข็ง
ประเทศนั้นก็คือ ญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นนั้น เงินเฟ้อต่ำต่อเนื่องมาหลายปี และค่าเงินญี่ปุ่นก็แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น จนกระทั่ง ธนาคารกลางญี่ปุ่นเลือกที่จะใช้นโยบายพิเศษ โดยอัดฉีดเงินเข้าระบบครั้งใหญ่ เพื่อคาดหวังให้เงินเฟ้อกลับมาที่ 2% รวมไปถึงการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% มาตั้งแต่ปี 2011 และล่าสุดกำหนดให้ดอกเบี้ยติดลบที่ 0.1%
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของญี่ปุ่นติดลบ
และทำให้คนอยากครอบครองเงินสกุลเยนญี่ปุ่นน้อยลง ส่งผลให้ค่าเงินเยนญี่ปุ่นอ่อนลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น และนั่นก็เป็นสาเหตุที่เราคนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นได้ถูกลงในช่วงที่ผ่านมา นั่นเอง..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-2018 Thai Bond Market Review, ThaiBMA
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-http://www.thaiwebsites.com/imports-exports.asp
-https://www.bangkokpost.com/business/1767534/imf-sees-thai-growth-rate-at-2-9-this-year-3-0-in-2020
-https://kasikornresearch.com/en/analysis/k-econ/economy/Pages/y3823.aspx
-https://www.ceicdata.com/en/indicator/thailand/household-debt--of-nominal-gdp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Economy_of_Thailand
-http://www.worldstopexports.com/thailands-top-10-exports/
- https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=794&language=eng
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_foreign-exchange_reserves_(excluding_gold)
-https://www.inflation.eu/inflation-rates/japan/historic-inflation/cpi-inflation-japan.aspx
-https://tradingeconomics.com/japan/interest-rate?continent=asia
bond wiki 在 Phê Phim Youtube 的最讚貼文
Phê Phim News: CAPTAIN DRA-MARVEL | RAMI MALEK VÀO VAI PHẢN DIỆN TRONG BOND 25!?
Chào mừng các bạn đến với Phê Phim News, nơi mà mình nói về những tin tức thú vị nhất trong thế giới điện ảnh tuần vừa rồi. Video hôm nay ngày 02/03 sẽ có những nội dung chính như sau:
______
1. Lady Gaga lần đầu lên tiếng về màn trình diễn gây ồn ào của cô cùng Bradley Cooper
-https://www.youtube.com/watch?v=1MagImMpI7M
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lady_Gaga
______
2. Rami Malek trở thành phản diện của James Bond?
-http://collider.com/rami-malek-bond-25-villain/
-https://www.vanityfair.com/hollywood/2019/03/bond-25-rami-malek-lupita-nyongo-casting
______
Điểm tin
-Nhà sản xuất nhạc nổi tiếng André Previn qua đời
https://www.vulture.com/2019/02/composer-and-my-fair-lady-scorer-andr-previn-has-died.html
-Game of Thrones tung poster cho season cuối
https://www.hollywoodreporter.com/live-feed/game-thrones-final-season-iron-throne-character-art-hits-twitter-1191377
-Bohemian Rhapsody bị cắt hết cảnh phim đồng tính trước khi ra rạp tại Trung Quốc
https://www.theguardian.com/film/2019/feb/28/china-to-remove-lgbt-scenes-from-bohemian-rhapsody
-Will Smith rời Suicide Squad
https://variety.com/2019/film/news/will-smith-the-suicide-squad-sequel-exits-1203151442/
______
3. Captain Dra-Marvel
-https://www.theguardian.com/film/2019/feb/27/rotten-tomatoes-captain-marvel-brie-larson-review-trolls
-https://comicvine.gamespot.com/forums/gen-discussion-1/why-marvel-is-losing-sales-and-why-people-hate-cap-1955825/
-https://variety.com/2018/scene/news/brie-larson-minority-film-critics-1202845853/
-https://ew.com/movies/2018/09/05/brie-larson-captain-marvel-interview/
-https://www.youtube.com/watch?v=YrfaFqIgftc
-http://editorial.rottentomatoes.com/article/making-some-changes/
-https://www.rottentomatoes.com/m/captain_marvel
______
Phim mới
-Chứng Nhân Hoàn Hảo
-Cold Pursuit (Báo Thù)
-Endzeit: Ever After
Kịch bản: Kiên, Ngân, Hoài Xoài, Linh
MC: Linh
Voice: Linh
Editor: Nhân
#PhêPhimNews #Số43
bond wiki 在 Mr.Halogogo Youtube 的最佳解答
สนับสนุนโดเนทเพื่อเป็นกำลังใจในการทำคลิปให้ผมได้นะครับ
*-- บริจากผ่าน paypal : https://twitch.streamlabs.com/halogogo --*
*-- บริจากผ่าน truemoney : https://www.tmtopup.com/topup/?uid=140895 --*
*--บริจากผ่านบัญชีธนาคาร ไทยพาณิชย์ : 113-227-6939--*
Bitcoin (BTC) : 16VUpav7T2MWq4rFUSUE5eGEDYgNR1Zbxg
Dogecoin (DOG) : DQcEk6yngYsnEmjfZPWiEXHPEYBJHK4mSW
Ethereum (ETH) : 0x12c48A48ba7dFaB6707Dc1c10A8eBe25A4EBBdfb
Litecoin (LTC) : LPb28AVt6qHBGzQscZXHSvUAiydDtcZ8dP
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
20 อุปกรณ์ของสายลับ ที่เคยถูกใช้ในอดีต
https://youtu.be/b89ekhVTWhE
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
facebook เพจ : https://www.facebook.com/Mr.Halogogo/
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
เพลงประกอบ
-Sneaky_Snooper
-DC_Love_Go_Go