มนุษย์ฆ่ากันเองเพียงเพราะการหาเงิน
ภัยเงียบ แต่ อันตราย !
กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว
โรคร้ายแรงแห่งยุคสมัย ไม่ได้มาจากเชื้อโรคเหมือนแต่ก่อน แต่กลายเป็นโรคอันเกิดจากไลฟ์สไตล์ ภาวะโภชนาการ โดยเฉพาะอาการไขมันพอกตับ ซึ่งกำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก
ตับเป็นอวัยวะที่ทำงานหลายหน้าที่ มากกว่า500 กระบวนการเพื่อช่วยกำจัดพิษออกจากร่างกาย , ย่อยอาหาร ,ปรับสมดุลฮอร์โมน ,ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ,มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างภูมิต้านทาน .
นายแพทย์ Robert Lustig, MD แพทย์ด้านต่อมไร้ท่อแห่ง University of California, San Francisco เปรียบเทียบว่า ภาวะไขมันพอกตับนั้น คล้ายๆกับภาวะความดันโลหิตสูง ที่อาจเป็นอยู่แล้วแต่เจ้าตัวไม่เคยตระหนัก กว่าจะรู้ตัวก็สายเสียแล้ว เกินเยียวยา เดิมทีเราเคยขนานนามกันว่า ภาวะความดันสูงคือฆาตกรเงียบ ตอนนี้เราก็จะได้ฆาตกรเงียบใหม่เพิ่มมาอีกหนึ่งโรคนั่นคือ โรคไขมันพอกตับ
กว่า 70% ของผู้ป่วยเบาหวานมักเกิดภาวะไขมันพอกตับ
กว่า 45% ของเด็กอ้วนมักเกิดภาวะไขมันพอกตับ
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาวะโรคนี้ไม่ได้แปรผันโดยตรงกับ มวลร่างกาย (body-mass index) เพราะคนผอมก็เป็นโรคนี้ได้
เดิมทีเคยเชื่อกันว่าสาเหตุที่ทำให้ไขมันพอกตับเกิดจากการดื่มแอลกอฮอลล์ แต่ปัจจุบันพบแล้วว่าแม้ไม่ดื่มเลยก็เกิดภาวะโรคนี้ได้
ความน่ากลัวของโรคนี้คือมัน คืบคลาน อย่างเงียบๆ ไม่มีอาการเด่นชัด จนกระทั่งตับใกล้หมดสภาพแล้ว และมักจะตรวจพบหลังไปตรวจร่างกายด้วยปัญหาสุขภาพอื่นที่ดูเหมือนไม่ได้เกี่ยวกับตับโดยตรง
อันตรายของโรคนี้ก็คือ ตับที่มีไขมันพอกตับจะปล่อยไตรกลีเซอร์ไรด์เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ดังที่รู้กันดีว่า ไตรกลีเซอร์ไรด์สูงนั้นอันตรายไม่ยิ่งหย่อนกว่าLDL cholesterol สูงเลย
ดังนั้นไขมันพอกตับจึงมักเชื่อมโยงไปถึง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวาน น้ำหนักเกิน ความดันสูง เพิ่มอัตราเสี่ยงต่ออัมพฤกษ์ สมองเสื่อม
หากปล่อยปละละเลยไม่แก้ไข ก็ยังอาจลุกลามไปเป็น ตับอักเสบ ตับแข็ง และตับวายในที่สุด
ต้นเหตุ
อันดับหนึ่งก็คือ น้ำตาล high-fructose corn syrup (HFCS)ที่มีการใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและอาหารอย่างมโหฬาร โดยเฉพาะน้ำอัดลม
นักวิชาการบางท่านจึงเรียกน้ำตาล HFCS นี้ว่ามันคือ“ สารเสพติดหรือบุหรี่ยุคใหม่”
ฟังจากชื่อว่าเป็นน้ำตาลจากข้าวโพด แต่ความจริงแล้วมันแตกต่างจากน้ำตาลธรรมชาติ เช่นน้ำผึ้ง, ผลไม้ ,น้ำตาลอ้อย เพราะมันเป็นน้ำตาลที่ผ่านการดัดแปลงด้วยขบวนการเคมี ทำให้ฟรุ้คโต้สในHFCSอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างไปจากธรรมชาติเดิม ทำให้มีรสหวานมากขึ้น ต้นทุนถูกลง มีความเข้มข้นมากกว่าน้ำตาลธรรมชาติมาก
ฟังจากชื่อโรค หลายๆคนคิดว่าเกิดจากบริโภคไขมันเข้าไปมากเกิน แต่ที่จริงคือบริโภคน้ำตาลเข้าไปมากต่างหาก
โดยปกติร่างกายมนุษย์จะเก็บสะสมพลังงานสำรองเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินในรูปของ glycogen แต่เมื่อเราบริโภคฟรุ้คโต้สเข้าไป ตับจะยังไม่สามารถแปรสภาพฟรุ้คโต้สให้กลายเป็น glycogen ได้ทันที ตับต้องขนย้ายฟรุ้คโต้สไปเก็บไว้ก่อนโดยแปรรูปไปเป็นไขมันสะสมเอาไว้
ตับจะแปรรูปแอลกอฮอลล์ไปเป็นไขมันเช่นเดียวกันกับวิธีการแปรรูปฟรุ้คโต้ส ดังนั้นนักวิจัยทางการแพทย์บางท่านจึงเปรียบเทียบว่า ในร่างกายของเด็ก "น้ำตาล ก็คือ แอลกอฮอลล์ ”
ไขมันที่สะสมภายในตับจะก่อผลร้ายกับสุขภาพ
๑) ปล่อยหลุดลอยไปในกระแสเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดอุดตัน
๒) สะสมมากเข้ากลายเป็นภาวะโรคไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง
๓) ขัดขวางกระบวนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เพราะเมื่อตับสะสมฟรุ้คโต้สมากๆ ตับอ่อนก็จะทำงานมากขึ้นชดเชยความอ่อนล้าของตับ โดยการปล่อยอินซูลินออกมามากขึ้น ซึ่งก็มีผลให้มีการขนย้ายน้ำตาลไปสะสมที่ตับเพิ่มมากขึ้น ภาวะไขมันพอกตับจึงเป็นทั้งตัวก่อโรค และผลลัพธ์ของโรคเมตาบอลิค( กลุ่มอาการโรคที่มีการเผาผลาญไขมันเสื่อมประสิทธิภาพ ระดับอินซูลินในเลือดผันผวน) ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ในที่สุดภาวะไขมันพอกตับจะไปเกี่ยวโยงกับโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด อัมพฤกษ์ ได้อย่างไร ?
๔) ดังที่ทราบกันแล้วว่าตับเป็นอวัยวะสำคัญในการกำจัดพิษในร่างกาย เมื่อไขมันพอกตับ จึงทำให้เหลือพิษตกค้างในร่างกาย เช่นสารตกค้างจากพลาสติกจะรบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ ตะกั่วจะทำลายเส้นประสาท ในสภาวะแวดล้อมในปัจจุบันนี้พวกเราล้วนมีอัตราเสี่ยงมากมายที่จะได้รับพิษสารพัดชนิดหรือ สัมผัสกับมลพิษต่างๆ เมื่อตับเสื่อมสภาพลง ก็เท่ากับว่าร่างกายขาดด่านสำคัญในการปกป้องอันตรายจากพิษเหล่านี้
วิธีการปกป้องตับให้รอดพ้นจากไขมันพอกตับ
1) เลิก หลีกเลี่ยง งด ทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่เจือปนด้วยHFCS
เลือกสรรอาหารที่ปรุงสดด้วย ผัก ถั่วเปลือกแข็ง ธัญญพืช ผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อยๆ
2) พิถีพิถันในการบริโภคผลไม้มากขึ้น เพราะผลไม้โดยธรรมชาติมีน้ำตาลfructoseอยู่มาก แม้จะดีกว่าการดื่มเครื่องดื่มรสหวานโดยตรง เพราะในผลไม้ยังมี มีกากใย(fiber) , pectin, phytonutrients
จึงช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด อย่างไรก็ตามผลไม้รสหวานก็ควรทานแต่น้อย และทานผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย มีกากใยเยอะเป็นหลัก หากติดใจรสชาดผลไม้รสหวานหักห้ามใจไม่ไหวก็ให้ทานร่วมกับ หรือตามด้วยสารอาหารที่มีกากใยเพื่อช่วยดูดซับน้ำตาลผลไม้เช่น เมล็ดchia ,flaxseeds,ถั่วเปลือกแข็ง ,อะโวคาโด ,ผักใบเขียว
3) บริโภคไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่นไขมันปลา มะกอก น้ำมันมะกอก อะโวคาโด ถั่วเปลือกแข็ง น้ำมันมะพร้าว
4) งดทานอาหารฟ้าสต์ฟู้ดทั้งหลาย เพราะส่วนมากแล้วล้วนปรุงแต่ง ปนเปื้อนด้วยไขมันทรานส์ และHFCS
5) ทานเสริมโคลีนเพิ่มเติม โคลีนมีมากในไข่ ตับ
ุ6) ลดการใช้ยาเท่าที่จำเป็นจริงๆ เพราะสารเคมีในยามักตกค้างและเป็นพิษกับตับ Dr.Ann Louise Gittleman, PhD, CNS นักโภชนาการชื่อดัง อ้างผลการศึกษาของ University of Texas Southwestern Medical Center ว่า 38% ของคนไข้300 กว่าราย เกิดความเสียหายภายในตับ อันเนื่องจากการทานยาแก้ปวดacetaminophen(Tylenol)เกินขนาด ทั้งนี้เพราะก่อนที่ยาจะซึมไปออกฤทธิ์ในร่างกายต้องผ่านปราการแรกคือตับเสียก่อน ยิ่งทานยาหลายขนาน ทานปริมาณมากๅ ตับก็ยิ่งต้องรับภาระหนักเป็นเงาตามตัว ปัจจุบันยังไม่มียารักษาอาการไขมันพอกตับโดยตรง นอกจากการใช้ยาลดอาการเบาหวานที่มีผลต่อตับบ้างเท่านั้นเอง
7) หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีเกษตร หรือยาฆ่าแมลงเช่น DDT, atrazine, glyphosate; สารเคมีที่มีส่วนผสมด้วยตะกั่ว,สารปรอท,สารหนู สรรหาผักผลไม้ที่เพาะปลูกในระบบอินทรีย์ (organic)
8) ออกกำลังกาย ผลวิจัยพบว่าการลดน้ำหนักส่วนเกินได้เพียง 3 %ถึง 5 % ก็สามารถช่วยแก้ไขอาการไขมันพอกตับได้อย่างมีนัยยะสำคัญแล้ว ยิ่งหากออกกำลังกายอย่างถูกวิธีและต่อเนื่องก็สามารถบำบัดอาการไขมันพอกตับได้เป็นอย่างดี
กรรมวิธีการตรวจว่าเป็นไขมันพอกตับ แล้วหรือยัง?
ความน่ากลัวของโรคนี้คือ มันมาแบบเงียบเชียบ ไม่กระโตกกระตาก ไม่มีอาการเด่นชัด บางคนอาจมีอาการปวดท้องด้านบนขวา แต่บางคนก็ไม่มีอาการใดๆ กว่าจะรู้ตัวก็เพียบหนักเสียแล้ว
ดังนั้นควรจะมีวินัยในการตรวจสุขภาพตับเป็นระยะๆแม้ไม่มีอาการ
-ตรวจเอ็นไซม์ตับ เพื่อประเมินสภาวะอักเสบ หรือ ความเสียหายภายในตับ ในบางรายอาจต้องตรวจซ้ำด้วย ultrasound
-ตรวจวัด fasting blood sugar, hemoglobin A1cในเลือดทุกๆ3เดือน
-ตรวจวัดระดับไขมัน triglyceride, cholesterol ,
-ตรวจวัดC-reactive proteinในเลือด ( เพื่อบ่งชี้สภาวะอักเสบในร่างกาย)
เขียนเผยแพร่โดย Laine Bergeson , FMCHC, is a health journalist and functional-medicine-certified health coach based in Minneapolis.
cns medical 在 眼科陳慶隆醫師-視網膜的大小事 Facebook 的精選貼文
人工視網膜 - Part 1 解剖生理及機轉簡介
恭喜林口長庚眼科部醫療團隊成功完成全國首例人工視網膜植入手術,恭喜黃奕修主任的傲人成就!
關於這個新科技人工視網膜(Retinalprothesis),就是俗稱人工電子眼。3-4年前,我還在美國進修的時候,非常幸運地,我所在的視網膜手術團隊(Professor Stanley Chang in Columbia University Medical Center, New York)被認證為人工視網膜手術的執行醫院,也有完成人工視網膜植入手術,非常有趣,也非常值得分享。
今天我們來分享一個有趣的人工視網膜科技!
其實這個生物醫學植入科技(Biomedical implanttechnology) 其實已經臨床試驗很多年了,因為今年年初 Feb 2013,Argus II retinal implant 獲得美國FDA核准上市(Marketapproval),這個科技又再一次成為熱門話題。不過大部份的媒體還是如過往一般,不斷強調這是台灣之光,發明人是台灣人(其實還有很多其他重要的人),而忽略了此項技術的原理,機轉,最重要的是哪些人或哪些疾病可以適用。
中樞神經(CNS)無法再生,這句雖然不是牢不可破的,但是以目前的科技,確實非常困難。所以,我們無法再生一些神經細胞來用,只能用原來還能用的。
視覺的產生是影像光線透過若干眼器(淚膜,眼角膜,前後房水,水晶體,及玻璃體)屈光折射,隨後聚像在視網膜上而造成視網膜外層感光細胞(Photoreceptor cell)去極化,接著將神經衝動傳送給許多內層傳遞與調節細胞 (Bipolar, Horizontal,Amacrine cells),最後經由神經節細胞(Ganglion cells)發出軸突(Axon)匯聚成視神經而傳遞視覺衝動到大腦視覺皮質,產生影像。過程相當複雜,其中只要一個環節出問題,我們就看不到了。(註:視網膜結構上可分成十層,就神經功能而言,可以大致分為外層和內層。)
我們今天要談的人工視網膜,就是扮演視覺產生中,內層傳遞與調節細胞之前的所有功能。影像會藉由先進的攝影科技,將訊號轉換後經植入微電極陣列(implanted electrode array),直接刺激內層傳遞與調節神經細胞來產生視覺訊號。簡單的說,人工視網膜取代了外層感光細胞的功能,也就是我們所熟知的桿狀細胞與錐狀細胞(Rod and Cone cells)。
所以說,只有外層感光細胞嚴重受損的患者才能使用此項科技。最常見的疾病是視網膜色素性病變(Retinitis pigmentosa )及老化性黃斑部退化性病變 (Age-related macular degerenation)。並不是任何視網膜疾病都適合使用。
根據美國FDA的適應症規定,人工視網膜,俗稱人工電子眼,目前只適用於視網膜色素性病變及老化性黃斑部退化性病變,而且雙眼視力都需退化到低於僅餘光覺或是無光覺,才能接受手術。所以尚有視力的黃斑病變或是視網膜剝離術後都不能接受手術。
有關外層感光細胞病變的診斷,必須要做進一步的電生理檢查(Electrophysiological testing),像是 ERG(electroretinogram) 再合併視野檢查(Visual field testing)才能診斷出外層感光細胞病變。
待續!
cns medical 在 CNS Healthcare - Home | Facebook 的推薦與評價
Real Research, Real Results. Since our inception in 1996, CNS Healthcare has had the privilege of assisting in the development of some of the most widely ... ... <看更多>