ใครจะได้ประโยชน์ ในโลกยุค Sustainability
ประเด็นเรื่องความยั่งยืนของโลก ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ได้รับการถูกกล่าวถึงมายาวนาน
แต่ทำไมผู้คนจึงพูดถึงเรื่องนี้กันมากขึ้น ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา
นั่นก็เพราะผลกระทบจากปัญหาเหล่านี้ กำลังเป็นเรื่องใหญ่ที่ยากจะมานั่งใจเย็นได้
อย่างเช่นปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
หากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังถูกปล่อยในอัตราเดิม จนถึงปี 2100
เศรษฐกิจโลกจะเกิดความเสียหายสูงกว่า 550 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
นานาประเทศจึงได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
หรือที่เรียกว่า Net-Zero Greenhouse Gas Emission
อาทิ
- ระดับโลก ภายใต้ Paris Climate Agreement
- ฝั่งเอเชีย อย่างจีน ที่ตั้งเป้าปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2060
- ฝั่งสหรัฐอเมริกา ภายใต้รัฐบาลโจ ไบเดน ตั้งงบลงทุน 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายใต้ Climate and Environmental Justice Proposal
“ความยั่งยืน” ไม่เพียงเป็นนโยบายระดับประเทศ
แต่ยังเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ ในโลกธุรกิจ
เมื่อผู้บริโภคตื่นตัวกันมากขึ้น ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม และความเท่าเทียมทางสังคม
และพร้อมที่จะเลิกสนับสนุนธุรกิจที่ไม่มีความรับผิดชอบ
เช่น การแบนสินค้าที่มีกระบวนการผลิตละเมิดสิทธิมนุษยชน
โจทย์สำคัญในยุคนี้ของโลกธุรกิจ..
ก็คือ ทำอย่างไรให้ธุรกิจเติบโต โดยไม่ส่งผลทำลายโลกและสังคม เพื่อสร้างความยั่งยืนในอนาคต
ความท้าทายนี้ สำคัญต่อการอยู่รอด หรือการเป็นผู้ชนะ ของโลกธุรกิจเลยทีเดียว
แล้วเรื่องนี้สำคัญต่อการลงทุนของเราอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
ผลจากการตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืน กำลังก่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ ๆ
ที่เป็นมิตรต่อโลกและสังคม เรียกว่า CLIC Economy
Lombard Odier องค์กรไพรเวทแบงกิ้งระดับโลก
คาดการณ์ว่า CLIC Economy จะส่งผลต่อทุกอุตสาหกรรม
และจะเกิดเม็ดเงินลงทุนหมุนเวียนกว่า 5.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปีเลยทีเดียว
โดย CLIC Economy ที่ว่านี้ จะประกอบไปด้วย
C (Circular) คือ การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน
L (Lean) คือ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
I (Inclusive) คือ การสร้างความเท่าเทียมด้านเศรษฐกิจและสังคม
C (Clean) คือ การดำเนินการที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
พูดง่าย ๆ ว่าแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ว่านี้
กำลังผลักดันธุรกิจให้กลายเป็น “ธุรกิจแห่งความยั่งยืน” นั่นเอง
หลายคนอาจสงสัยว่า..
แล้วธุรกิจเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด
จะปรับตัวมาเป็น “ธุรกิจแห่งความยั่งยืน” ได้อย่างไร ?
รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของ Apple คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่มาจากวัสดุรีไซเคิล 100%
รวมทั้งการใช้พลังงานสะอาดในกระบวนการผลิตทั้งหมด ภายในปี 2030
เช่นเดียวกัน TSMC ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลก ที่มีเป้าหมาย Positive Impact ต่อโลกให้มากที่สุด เช่น ลดของเสียในกระบวนการผลิตและลดมลพิษทางอากาศ
สะท้อนได้ว่า “เทรนด์ Sustainability” ไม่ใช่แค่เรื่อง CSR
แต่กำลังเป็น “หนึ่งเป้าหมายหลัก” ในโลกธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว
ธุรกิจที่ปรับตัวก่อน ย่อมอยู่รอด และก้าวขึ้นไปสู่ชัยชนะในโลกธุรกิจ
ส่วนธุรกิจที่มองข้ามความสำคัญนี้ อาจไม่ได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภาครัฐ พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า และนักลงทุน จนต้องล้มหายตายจากไปในอนาคต
ทีนี้น่าจะมองออกแล้วว่า..
ธุรกิจที่กำลังเติบโต และกำลังสร้างความยั่งยืน ด้วยการเป็น “ธุรกิจแห่งความยั่งยืน”
ก็คือโอกาสสำคัญในการลงทุน ที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว หรือที่เรียกว่า Long Term Growth นั่นเอง
จึงไม่แปลกใจ หากปัจจุบันนี้จะมีรูปแบบการลงทุน Sustainable Investing เกิดขึ้นมากมาย
คำถามคือ แล้วเราจะเลือกลงทุนในธีม Sustainability อย่างไรดี ?
หนึ่งในผู้นำด้าน Sustainable Investing
ก็คือ KBank Private Banking ซึ่งเป็นไพรเวทแบงก์รายแรกในประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง
และยังมีพันธมิตรเป็นผู้ให้บริการไพรเวทแบงกิ้งระดับโลก
อย่าง Lombard Odier ผู้มีประสบการณ์กว่า 225 ปี
มองว่า จุดเด่นของ Sustainable Investing
คือ การลงทุนระยะยาว ที่จะสร้างความมั่งคั่งแบบ Smooth และ Sustainable
ไปพร้อมกับความยั่งยืนของโลก
ธีมการลงทุนนี้ จึงอาจจะไม่เหมาะสำหรับนักลงทุนลักษณะ Momentum Play
ที่เน้นเล่นรอบระยะสั้น แบบจับจังหวะราคาขึ้นลง
ภายใต้ตัวเลือก Sustainable Investing ที่มีอยู่มากมาย
สิ่งที่นักลงทุนต้องพิจารณา คือ การพยายามมองหากองทุนหลักต่างประเทศที่มีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และลงมือทำจริง
โดยเข้าไปพิจารณาถึงเนื้อในของการทำงานกองทุนนั้น ๆ
ด้วยเหตุนี้ ผู้เชี่ยวชาญที่จะทำหน้าที่แนะนำการลงทุน ทั้งในเรื่องการดำเนินการของธุรกิจตามเป้าหมายและระดับราคาที่เหมาะสม จึงกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นนั่นเอง
ตัวอย่างกองทุนรวมประเภท Feeder Fund ที่ KBank Private Banking แนะนำแก่ลูกค้า
ในธีมการลงทุน Sustainable Investment ที่น่าสนใจ
คือ กองทุน K-CLIMATE และ กองทุน K-CHANGE
แล้วกองทุน K-CLIMATE น่าสนใจอย่างไร ?
กองทุน K-CLIMATE มีจุดเด่นที่น่าสนใจ
คือ การลงทุนในธุรกิจที่สามารถเติบโต มีศักยภาพในการแข่งขันระยะยาว
พร้อมมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
รวมทั้งธุรกิจที่ปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
ธุรกิจกลุ่มนี้ ถือเป็นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์โดยตรงจาก Paris Agreement
ตัวอย่างธุรกิจที่เข้าไปลงทุน เช่น
-Vetas Wind System ผู้นำด้านการพัฒนากังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้สูงถึง 130 กิกะวัตต์ ใน 82 ประเทศทั่วโลก มีส่วนแบ่งตลาด 20% และมีบริการยาวนานถึง 19 ปี
-Delta Airlines บริษัทสายการบินใหญ่ที่สุดในโลกที่พยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยแผนการลงทุน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในอีก 10 ปี ข้างหน้า
โดยปัจจุบัน กองทุน K-CLIMATE มีผลการดำเนินงานตั้งแต่จัดตั้งกองทุนต่อปี 17.99% ใกล้เคียงดัชนีอ้างอิงที่ 19.25% ต่อปี (ณ 1 เมษายน 2564)
แล้วกองทุน K-CHANGE น่าสนใจอย่างไร ?
กองทุน K-CHANGE มีจุดเด่นที่น่าสนใจ
คือ การลงทุนในบริษัทที่มีอัตราการเติบโตของกำไรสูงพร้อมทั้งสร้างผลกระทบเชิงบวก และช่วยให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ โอกาสทางสังคมและการศึกษา การดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิต ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
โดยมีเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกบริษัทที่จะลงทุน
ที่สามารถวัดผลการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นรูปธรรม
เช่น ทุกการลงทุน 15 ล้านบาทในปี 2019
- จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 124 ตัน
- จะช่วยประหยัดน้ำดื่มได้ 2.9 แสนลิตร
ตัวอย่างธุรกิจที่เข้าไปลงทุน เช่น
- ธุรกิจเทคโนโลยีที่มีกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อโลก เช่น Tesla และ TSMC
- ธุรกิจส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการวิจัยด้านยารักษาโรค เช่น Moderna และ M3
ที่น่าสนใจคือ K-CHANGE ลงทุนใน Moderna ตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19
เพราะเป็นธุรกิจเทคโนโลยีสุขภาพในเมกะเทรนด์ ที่สามารถสร้างความยั่งยืนให้แก่โลกได้
โดยกองทุน K-CHANGE มีผลการดำเนินงานตั้งแต่จัดตั้งกองทุนต่อปีที่ 47.46%
ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าดัชนีอ้างอิงต่อปีที่ 17.29% (ณ 7 เมษายน 2564)
พูดง่าย ๆ ว่ากองทุน K-CLIMATE และ กองทุน K-CHANGE
เป็นหนึ่งช่องทางสร้าง Long Term Capital Growth
หรือผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้นั่นเอง
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า..
เทรนด์ “Sustainability” ไม่ใช่แค่เรื่องของนโยบายระดับประเทศ
แต่ยังเป็นโอกาสสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับโลกธุรกิจ
แม้วันนี้.. หลาย ๆ อย่างจะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น
แต่การมีเป้าหมายที่ชัดเจน แม้จะใช้ระยะเวลานาน ก็มั่นใจได้ว่า การเดินทางครั้งนี้ จะไม่หลงทาง
เช่นเดียวกับการเลือกลงทุนกับองค์กรมืออาชีพที่ช่วยดูแลการลงทุน ให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนด้วย “ธุรกิจแห่งความยั่งยืน”
และยังเป็นเทรนด์การลงทุนที่จะสร้าง “ผลตอบแทนระยะยาว” ให้แก่นักลงทุน และ “ความยั่งยืน” ให้แก่โลกไปพร้อมกันนั่นเอง..
สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนในธีม Sustainability สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.kasikornbank.com/th/personal/private-banking/vdo-covid/Pages/KPB-Perspective-EP2.aspx และ https://www.kasikornbank.com/th/personal/private-banking/vdo-covid/Pages/KPB-Perspective-EP3.aspx
ข้อมูลสำคัญสำหรับการลงทุน
- K-CLIMATE ระดับความเสี่ยงกองทุน : ระดับ 6 / ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน : การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจ
- K-CHANGE ระดับความเสี่ยงกองทุน : ระดับ 6 / ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน : การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน
- โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า/เงื่อนไขผลตอบแทน/ความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
- ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน
References
-https://joebiden.com/climate-plan/
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-03-05/china-s-new-green-target-still-means-pumping-too-much-pollution
-https://ec.europa.eu/info/strategy/priorities-2019-2024/european-green-deal_en#timeline
-https://greennews.agency/?p=22111
-https://www.lombardodier.com/clic
-https://www.apple.com/environment/
-https://csr.tsmc.com/csr/en/CSR/valueCreation.html
-https://kasikornasset.com/th/mutual-fund/fund-template/Pages/K-CHANGE-A(A).aspx
-https://www.kasikornasset.com/th/mutual-fund/fund-template/Pages/K-CLIMATE.aspx
csr คือ 在 TripTravelGang Facebook 的最佳貼文
Lifestyle Travel @ ภาคกลาง
ททท.ภาคกลางพาแค้มปิ้ง ชิลเมืองแห่งสายน้ำ
.
ททท.ภูมิภาคภาคกลาง ผนึกกำลัง 9 สำนักงานฯ แถลงแผนงานและกิจกรรมฯ ปี 2564 ฟื้นฟูและส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยว Lifestyle Travel @ ภาคกลาง ส่งเสริมการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย พร้อมเน้นการเดินทางท่องเที่ยวแนวใหม่ (New Normal) ภายใต้แนวคิด "Camping and Camper @ River Legacy" เพื่อสนับสนุนนักท่องเที่ยวที่สนใจการพักค้างแคมแบบกางเต็นท์หรือพักค้างแรมบนรถบ้าน (Camper van) ซึ่งเริ่มได้รับความนิยมและลดความเสี่ยงจากการสัมผัสหรือพบปะผู้คนจำนวนมาก
.
ในงานเปิดด้วยดนตรีเพราะๆจากวงสินเจริญบราเธอร์ส ต่อด้วยนำโดยผู้อำนวยการ ททท ภาคกลาง พร้อมด้วยผู้อำนวยการจากทุกสำนักงานในภาคกลาง ผนึกกำลังโปรโมทโครงการท่องเที่ยวทุกจังหวัดในพื้นที่
.
โดยมีกิจกรรมตลอดช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 64 ทั่วภาคกลาง เช่น
.
• กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถยนต์ในรูปแบบ Road tip ในวันที่ 26-27 มีนาคม 2564 เส้นทางกรุงเทพฯ-สระบุรี เพื่อร่วมทำกิจกรรม CSR ปลูกต้นกัลปพฤกษ์ร่วมกับชุมซนในพื้นที่ โดยจะมีผู้เข้าร่วมจำนวน 120 คนพร้อมรถยนต์ประเภทต่างๆ ที่เป็นสายแคมปปิ้ง เช่น Camper van, car camp, caravan, rooftop เป็นต้น
.
• ร่วมกับนิตยสาร Time out Bangkok จัด Camping & camper The River Legacy วันที่ 17-18 เมษายน 2564 สัมผัสชุมชนวิถีกษตร รับประทานอาหารสไตล์ Chef's Table ที่รังสรรค์เมนูเด็ดจากวัตถุดิบในท้องถิ่น ปิดท้ายด้วยบรรยากาศริมอ่างเก็บน้ำใต้แสงดาว
.
• กิจกรรมเสนอขายเส้นทางท่องเที่ยวทางรถยนต์ ภายใต้ซื่อ Camping & Camper @ River Legacy เมษายน 2564 เส้นทางกรุงเทพฯ - อ่างทอง - ชัยนาท
.
นอกจากนี้ยังมีโครงการ Luxperience @ภาคกลาง และ โครงการ More River Legacy วิถีเมือง ส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคกลาง นำเสนอขายสินค้าใน 2 รูปแบบ คือ สินค้าที่มีมูลค่าสูงในพื้นที่ภาคกลางและสินค้าท้องถิ่น/ชุมชนที่สามารถสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคกลาง เช่น
.
• โครงการ "เปิดประสบการณ์อาหารถิ่น กินกับ เซฟบุ๊ค บุญสมิทธิ์ พุกกะณะสุต" เสนอขายวัตถุดิบท้องถิ่นในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งได้รับมาตรฐาน GI (Geographical Indications) และวัตถุดิบที่เป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่ เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารถิ่น โดยที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับสิทธิ์ในการทำอาหารถิ่นร่วมกับเซฟบุ๊ค ผ่านห้อง Zoom แบบส่วนตัว รวมถึง มีการ Live ผ่าน Facebook ระหว่างวันที่ 8 มีนาคม-1 เมษายน
.
• กิจกรรมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเมืองรองภาคกลาง ภายใต้แนวคิด "More River Legacy มรดกแห่งสายน้ำ" ดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ สร้างกระแสการเดินทางท่องเที่ยวสู่เมืองรอง โดยให้ Blogger & Youtuber ที่มียอดผู้ติดตามสูง อาทิ Happy Channel, Dek Jew Small World, เที่ยวแบบกรู, เลี้ยงลูกสุดเหวี่ยง ลงพื้นที่ทำ Content ประชาสัมพันธ์สร้างกระแสการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองรองภาคกลาง ดำเนินการรีวิวและประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร และร้านคาเฟ ที่ได้รับมาตรฐาน SHA จาก ททท. ในพื้นที่เมืองรอง 3 เส้นทาง คือ เส้นทางสุพรรณบุรี-อ่างทอง, สมุทรสงคราม-ราชบุรี, และ ลพบุรี-สิงห์บุรี-อ่างทอง ดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2564
.
จะสายแค้มปิ้ง หรืสายชิลเมืองสายน้ำ สนใจสอบถามรายละเอียดโครงการอื่นๆ เพิ่มเติมโทร. 1672 หรือติดต่อตรงแต่ละสำนักงาน ยินดีสแตนบายให้ข้อมูล
csr คือ 在 TripTravelGang Facebook 的精選貼文
📌 เปลี่ยนทุกที่ในไทยให้เป็นที่ทำงาน กับโครงการ “Workation Thailand ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ”
✔️
ททท. ชวนไปทำงานให้ผ่อนคลายกว่าเดิม เดินหน้าโครงการ “Workation Thailand ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ” เปลี่ยนทุกที่ท่องเที่ยวให้เป็นที่ทำงาน ดึงแนวคิด Force Move Tourism พร้อมกระตุ้นการเดินทางตลาดในประเทศ ผ่านเส้นทางท่องเที่ยวหลากหลายตามความต้องการขององค์กร กับแพ็คเกจท่องเที่ยวราคาพิเศษ ตั้งแต่ตุลาคม-ธันวาคม 63 พร้อมใช้ยาวถึงปีหน้า แถมรับคะแนนสะสมเพื่อรับของสมนาคุณ และโล่ประกาศเกียรติคุณ ประเดิมดีลด้วยปตท. และกฟผ. ส่วนองค์กรอื่นๆ สามารถเลือกแพ็คเกจที่สนใจและสอบถามเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ workationthailand.com และ Official Line : @workationthailand
✔️
ในงานนำโดย นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมด้วย นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่ประเทศไทย นายชัยรัตน์ ไตรรัตนจรัสพร ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นางมาริสา สุโกศล-หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย เป็นประธานในพิธีแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “Workation Thailand ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ” ภายใต้แนวคิด “Working Outing & Meeting from Somewhere” ส่งเสริมความอิสระให้องค์กรและหน่วยงานสามารถเปลี่ยนทุกที่ของประเทศไทยให้กลายเป็นที่ทำงาน พบปะ พูดคุย สังสรรค์ และจัดประชุม ท่ามกลางบรรยากาศที่แตกต่างไปจากเดิม” ณ พารากอน ฮอลล์ 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ชั้น 5 กรุงเทพมหานคร
✔️
นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย โดยรัฐบาลได้ออกมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับทุกภาคส่วน เพื่อบรรเทาผลกระทบและเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการธุรกิจและบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ให้สามารถพลิกฟื้นธุรกิจภายหลังสถานการณ์คลี่คลาย
✔️
ในการนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงได้จัดทำโครงการกระตุ้นการเดินทาง “Workation Thailand ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ” ภายใต้โครงการผู้ประกอบการสร้างสรรค์ ททท. สร้างเสริม เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าและการบริการทางการท่องเที่ยวของผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยว อีกทั้งสื่อสารภาพลักษณ์ของประเทศไทย ที่ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ เพื่อกระตุ้นตลาดในประเทศ แบบ Force Move Tourism
✔️
แก่นสำคัญในการสื่อสาร คือ “Workation Thailand ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ” ภายใต้แนวคิด “Working Outing & Meeting from Somewhere ความอิสระที่องค์กรและหน่วยงานสามารถเปลี่ยนทุกที่ของประเทศไทยให้กลายเป็นที่ทำงาน พบปะ พูดคุย สังสรรค์ และจัดประชุม ท่ามกลางบรรยากาศที่แตกต่างไปจากเดิม”
✔️
โดยเชิญชวนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ องค์กร และหน่วยงาน เดินทางท่องเที่ยวผ่านแพ็คเกจเส้นทางการท่องเที่ยว 5 ประเภท ตามความต้องการของแต่ละองค์กร คือ
✔️
1. CSR Outing ทำงานแบบสุขกาย สุขใจ ได้ตอบแทนสังคมและรักสิ่งแวดล้อม
✔️
2. Special Interest ท่องเที่ยวไปกับความสนใจพิเศษที่คุณเลือกได้ เรียนรู้ควบคู่ไปกับการทำงาน สัมผัสเสน่ห์วัฒนธรรมและโบราณสถานทั่วไทย ผ่อนคลายได้สุขภาพ สนุกกับการค้นพบประสบการณ์ใหม่
✔️
3. Community สร้างทีมเวิร์ค ความผูกพันของบุคลากรในหน่วยงาน ด้วยกิจกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชน
✔️
4. Luxury & Gastronomy พบปะหารือ ประชุมบนเรือยอร์ช แบบ Exclusive เสิร์ฟอาหารแบบ Farm to Table วัตถุดิบคุณภาพ สดจากฟาร์มถึงมือคุณ
✔️
5. Special Deal ดีลพิเศษเฉพาะ Workation Thailand เสนอส่วนลดพิเศษสุด พร้อมสิทธิพิเศษอื่น ๆ มากมาย เช่น แพคเกจทัวร์ Vouchers ต่าง ๆ มากมาย
✔️
สำหรับหน่วยงานที่รวมใจช่วยชาติ ช่วยเหลือผู้ประกอบการให้อยู่รอด จะได้รับของรางวัล Certificate และโล่ประกาศเกียรติคุณจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านการสะสมคะแนนที่เรียกว่า “Survival Point” หรือคะแนนสะสมช่วยเหลือผู้ประกอบการให้อยู่รอด โดยแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ ได้แก่ Bronze Certificate ใช้จ่าย 500,000 บาท คะแนนสะสมครบ 5,000 แต้ม, Silver Certificate ใช้จ่าย 1,250,000 บาท คะแนนสะสม 12,500 แต้ม, Gold Certificate ใช้จ่าย 2,000,000 บาท คะแนนสะสม 20,000 แต้ม และ รางวัลสำหรับผู้ที่ใช้จ่ายมากที่สุด มีคะแนนสะสมสูงสุดจะได้รับรางวัลเพียงหนึ่งเดียว คือ Legendary Certificate
✔️
อีกทั้งยังมีการมอบของสมนาคุณต่าง ๆ ให้แก่องค์กรและนิติบุคคลที่ร่วมซื้อแพคเกจในโครงการอีกด้วย
✔️
ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ workationthailand.com และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจซื้อแพคเกจได้ที่ Official Line : @workationthailand สำหรับผู้ประกอบการโรงแรม หรือสินค้าบริการต่าง ๆ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Official Line : @workationagency