เศรษฐีรวยสุดในเอเชีย มีน้องชาย เป็นบุคคลล้มละลาย ได้อย่างไร ? /โดย ลงทุนแมน
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า Mukesh Ambani เจ้าของ Reliance Industries กลุ่มธุรกิจที่ใหญ่สุดในอินเดียและเป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในเอเชีย มีน้องชายชื่อ Anil Ambani
สำหรับน้องชายของมหาเศรษฐีคนนี้ ก็เป็นเจ้าของธุรกิจที่แยกตัวออกมาจาก Reliance Industries ของพี่ชาย มีชื่อบริษัทว่า Reliance ADA Group
ในปี 2008 Mukesh Ambani มีทรัพย์สิน 1.4 ล้านล้านบาท รวยเป็นอันดับ 5 ของโลก
ในขณะที่ Anil Ambani ตามมาติด ๆ ด้วยทรัพย์สิน 1.37 ล้านล้านบาท และรวยเป็นอันดับ 6 ของโลก
โดยในปีนั้น เศรษฐี 4 อันดับแรกของโลก ได้แก่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ (อเมริกัน), คาร์ลอส สลิม (เม็กซิโก),
บิลล์ เกตส์ (อเมริกัน) และลักษมี นิวาส มิตตัล (อินเดีย)
หลังจากผ่านไป 13 ปี Mukesh Ambani มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านล้านบาท
กลายมาเป็นมหาเศรษฐีรวยสุดในอินเดียและเอเชีย และรวยเป็นอันดับ 10 ของโลก
แต่ในปี 2019 Ambani คนน้องกลับมีทรัพย์สิน เพียง 5.6 หมื่นล้านบาท
จนล่าสุด มีหลายคนกล่าวว่าความมั่งคั่งตอนนี้ของ Ambani คนน้อง ลดลงจนเกือบเป็นศูนย์
แล้วมันเกิดอะไรขึ้นกับน้องชาย ของคนที่รวยสุดในเอเชีย ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในปี 1948 หรือเมื่อ 73 ปีก่อน ชายชาวอินเดียวัย 16 ปี
ที่ชื่อ Dhirubhai Ambani ได้ตัดสินใจเดินทางออกจากบ้านเกิดไปทำงานที่ประเทศเยเมน
ผ่านไป 10 ปี Dhirubhai กลับมาที่อินเดียพร้อมกับเงินเก็บ เพื่อมาเริ่มสร้างธุรกิจเอง
Dhirubhai เริ่มจากการนำเข้าเส้นใยสังเคราะห์และส่งออกเครื่องเทศ ก่อนจะเริ่มทำธุรกิจสิ่งทอ ซึ่งก็เติบโตอย่างรวดเร็ว จน Dhirubhai ได้ขยายกิจการไปในอุตสาหกรรมอื่น และเปลี่ยนมาใช้ชื่อบริษัทว่า “Reliance Industries” ในปี 1973
Reliance Industries สามารถ IPO ได้ในปี 1977 ซึ่งหุ้นของบริษัทก็มีชาวอินเดียสนใจลงทุนเป็นจำนวนมาก ถึงขนาดเคยจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่สเตเดียม
ตั้งแต่ที่กิจการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว Dhirubhai ก็เริ่มให้ลูกชายทั้ง 2 คนของเขา เข้ามาช่วยบริหารงานที่บริษัท
Mukesh Ambani ลูกชายคนโต เป็นประธาน
Anil Ambani ลูกชายคนรอง เป็นกรรมการผู้จัดการ
แต่แล้วในปี 2002 Dhirubhai ได้เสียชีวิตลงและได้ทิ้งกิจการ Reliance Industries ไว้กับลูกชายทั้ง 2 คน
Dhirubhai ที่จากโลกนี้ไปไม่ได้ทำพินัยกรรมและข้อตกลงแบ่งกิจการให้กับลูกแต่ละคนไว้ ซึ่งเขาก็คงไม่คิดว่า จะเกิดปัญหาตามมา
โดยปัญหาที่ว่านั้นเริ่มเกิดขึ้นเพราะลูกชายทั้ง 2 คน ที่เริ่มเข้าทำงานและมีบทบาทในบริษัทมาพร้อม ๆ กัน
กลับตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะเป็นเจ้าของและใครจะดูแลและรับผิดชอบบริษัทไหนบ้าง
สุดท้ายแล้ว ในช่วงปี 2004 ถึง 2005 ผู้เป็นแม่ต้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหา
โดยการจ้างบุคคลที่ 3 ให้เข้ามาจัดการเรื่องการแยกบริษัทออกจากกันไปเลย
Mukesh Ambani คนพี่ได้ธุรกิจหลักคือปิโตรเลียม ซึ่งเขามีบทบาทสำคัญในการขยายกิจการในส่วนนี้มาตั้งแต่แรก และยังได้ธุรกิจอื่น ๆ อย่างเช่นปิโตรเคมี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจยุคเก่า โดยกลุ่มบริษัทของ Mukesh ใช้ชื่อว่า Reliance Industries
Anil Ambani คนน้องได้ธุรกิจหลักคือ Reliance Communications ธุรกิจโทรคมนาคมที่เพิ่งเริ่มกิจการได้ไม่นาน แต่ก็กลายเป็นบริษัทเทเลคอมที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในอินเดีย ซึ่งแม้ว่า Mukesh จะมีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่ต้น แต่ Anil ก็อยากได้ธุรกิจนี้เช่นกัน
นอกจากธุรกิจเทเลคอมแล้ว กิจการอื่นที่ Anil Ambani ได้รับไปดูแลอีกก็อย่างเช่น ธุรกิจพลังงาน และบริการทางการเงิน ซึ่งส่วนมากจะเป็นธุรกิจยุคใหม่ โดยกลุ่มธุรกิจของ Anil Ambani ใช้ชื่อว่า “Reliance ADA Group”
หลังจากจบเรื่องการแบ่งธุรกิจแล้ว แต่ละคนก็เริ่มต่อยอดธุรกิจตามเส้นทางของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น
Mukesh Ambani เริ่มทำธุรกิจค้าปลีกในปี 2006 จน Reliance Retail กลายมาเป็นธุรกิจค้าปลีกที่ใหญ่สุดในอินเดีย
ในขณะที่ Anil Ambani ก็ได้ต่อยอดทำธุรกิจบันเทิง อย่างเช่นในปี 2005 ได้ซื้อบริษัท Adlabs Films ที่เป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์ Big Cinemas ซึ่งกลายมาเป็นโรงภาพยนตร์ที่มีสาขามากสุดในอินเดียในอีก 3 ปีถัดมา
ในปี 2008 Reliance Entertainment ของ Anil Ambani ก็ได้เซ็นสัญญากับบริษัทผลิตภาพยนตร์ DreamWorks ของผู้กำกับ Steven Spielberg ซึ่งได้ร่วมผลิตภาพยนตร์ที่ได้รางวัลมากมาย อย่างเช่น The Help และ Lincoln
และปีเดียวกันนี้ Anil Ambani ก็ได้นำบริษัทพลังงานอย่าง Reliance Power จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยมูลค่าการระดมทุนที่สูงเป็นประวัติการณ์ในขณะนั้น
ผ่านไป 6 ปีหลังจากการเสียชีวิตของ Dhirubhai
ดูเหมือนว่าลูกชายของเขาทั้งคู่ก็ต่อยอดกิจการไปได้อย่างสวยงาม
จนทำให้ในปี 2008 Mukesh มีทรัพย์สิน 1.4 ล้านล้านบาท รวยเป็นอันดับ 5 ของโลก และ Anil มีทรัพย์สิน 1.37 ล้านล้านบาท รวยเป็นอันดับ 6 ของโลก
แต่หลังจากนั้น เส้นทางความมั่งคั่งของพี่น้องคู่นี้ กลับเริ่มมีทิศทางที่สวนทางกัน
คนพี่รวยขึ้น ส่วนคนน้องความมั่งคั่งหายไปเกือบหมด
แล้วมันเกิดอะไรขึ้น ?
เรื่องทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นมาจากเงินที่บริษัท Reliance Power ของ Anil Ambani ได้มาจากการ IPO มีแผนจะใช้สร้างโรงไฟฟ้าที่ส่วนใหญ่จะผลิตจากก๊าซ
โดยก๊าซที่ Reliance Power ใช้ ก็มาจากบริษัทก๊าซธรรมชาติในเครือ Reliance Industries ของ Mukesh นั่นเอง
ซึ่งในตอนที่แยกบริษัทกัน สองพี่น้องก็ได้เซ็นสัญญาว่าบริษัทก๊าซของ Mukesh Ambani จะขายก๊าซให้โรงไฟฟ้าของน้องชายที่ราคาหนึ่ง
แต่ในวันที่โรงไฟฟ้าสร้างใกล้จะเสร็จและถึงเวลาที่พี่ชายจะขายก๊าซให้กับน้อง ราคาก๊าซในตลาดโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นไปเกือบเท่าตัว
Anil Ambani จึงต้องการซื้อก๊าซในราคาที่ตกลงกัน เพื่อที่จะไม่ต้องเผชิญต้นทุนก๊าซที่สูงขึ้น
แต่ทาง Mukesh Ambani ไม่สามารถขายก๊าซตามราคาที่ตกลงกันไว้ได้เพราะบริษัทของเขาจะขาดทุน
แต่แทนที่จะเจรจาตกลงกัน Anil Ambani กลับเลือกที่จะยื่นฟ้องบริษัทพี่ชายในปี 2010 เพื่อให้ซื้อก๊าซได้ในราคาเดิมที่เคยตกลงกัน
แต่ศาลก็ได้มีคำสั่งให้ Anil Ambani ซื้อก๊าซในราคาใกล้เคียงกับราคาตลาดโลก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายราคาก๊าซของประเทศ
สุดท้ายแล้ว Anil Ambani ที่ต้องแบกรับต้นทุนก๊าซเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จึงไม่สามารถจัดหาก๊าซเพื่อไปใช้ผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าที่สร้างรอไว้แล้วได้
Reliance Power จึงกลายเป็นบริษัทที่มีหนี้มหาศาล จนต้องขายทรัพย์สินและกิจการบางส่วนออกไป เพื่อเอามาใช้หนี้ ซึ่งรวมถึงกิจการโรงภาพยนตร์ Big Cinemas ที่ซื้อมาเมื่อปี 2008 ด้วย
แต่ความผิดพลาดทางธุรกิจของ Anil Ambani ยังไม่ได้จบลงแค่นี้ เพราะเรื่องราวที่ร้ายแรงกว่านั้น เกิดขึ้นกับธุรกิจโทรคมนาคมอย่าง Reliance Communications (RCom)
ในปี 2002 ซึ่งเป็นช่วงที่ RCom เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ RCom เลือกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่เรียกว่า CDMA ซึ่งใช้เงินลงทุนน้อยกว่า ขณะที่บริษัทคู่แข่งอย่างเช่น Airtel เลือกใช้เทคโนโลยีที่ชื่อ GSM
แม้เทคโนโลยีทั้ง 2 แบบจะใช้ได้ดีกับ 2G และ 3G เหมือนกัน แต่ปัญหาก็คือ CDMA ที่ RCom เลือกใช้ ไม่สามารถรองรับ 4G และ 5G ได้แบบ GSM ที่เหล่าคู่แข่งเลือกใช้
นั่นจึงทำให้ช่วงเวลาที่ทั่วโลกเปลี่ยนผ่านจาก 3G มาเป็น 4G อย่างรวดเร็ว RCom เลยตามคนอื่นไม่ทัน จน RCom กลายเป็นบริษัทที่เริ่มมีหนี้มากขึ้น
และจุดพลิกผันครั้งใหญ่ของ RCom รวมไปถึงทั้งอุตสาหกรรมเทเลคอมของอินเดีย ก็เกิดขึ้นในปี 2016
เมื่อ Mukesh Ambani ได้ก่อตั้งบริษัทย่อยของ Reliance Industries ในชื่อ “Jio” ซึ่งเป็นบริษัท
ที่เน้นบริการด้านเทคโนโลยี รวมถึงการให้บริการโทรคมนาคมแบบเดียวกับ RCom ด้วย
ด้วยชื่อเสียงของ Reliance Industries ก็ทำให้ Jio มีจำนวนผู้ใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กำไรของบริษัทที่เป็นหนึ่งในผู้นำตลาดอย่าง Airtel ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และทำให้อีก 2 บริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดรองลงมาอย่าง Vodafone และ Idea ต้องควบรวมกิจการกัน
ในเวลาต่อมาบริษัท Jio ของ Mukesh Ambani ก็กลายมาเป็นบริษัทเทเลคอมที่ใหญ่สุดในอินเดีย ส่วน RCom ของ Anil ที่ย่ำแย่อยู่แล้ว ก็หายไปจากการแข่งขันในตลาดเทเลคอม จนทำให้บริษัทขาดทุนและกลายเป็นหนี้มหาศาล
RCom ต้องยอมขายสินทรัพย์ของกิจการบางส่วนให้กับ Jio เพื่อลดหนี้
แต่นั่นก็ยังไม่ช่วยให้สถานการณ์ของ RCom ดีขึ้น
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2013 RCom ได้ทำข้อตกลงกับ Ericsson โดยจ้างให้ Ericsson มาเป็นผู้บริหารเครือข่ายในบริเวณทางเหนือและตะวันตกของอินเดีย แต่ผลจากการขาดทุนต่อเนื่องก็ทำให้ RCom ไม่มีเงินจ่ายให้ Ericsson ตั้งแต่ปี 2016
RCom ติดหนี้ Ericsson 2.46 พันล้านบาท ซึ่ง RCom ก็ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามกำหนด และขอเลื่อนเวลาการจ่ายหนี้ออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งสุดท้ายแล้ว RCom จ่ายหนี้ได้เพียง 528 ล้านบาท นำไปสู่การถูกฟ้องร้องในเวลาต่อมา
ศาลสูงสุดจึงมีคำตัดสินว่า ถ้าภายใน 1 เดือน RCom ยังจ่ายหนี้ให้ Ericsson ไม่ได้ Anil จะต้องถูกจำคุก 3 เดือน
สุดท้ายแล้วพี่ชายของ Anil Ambani อย่าง Mukesh ก็เข้ามาช่วย
โดยการจ่ายหนี้ที่เหลือ มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาทให้
ในขณะที่ บริษัท RCom ก็ต้องยื่นล้มละลาย
แต่เรื่องราวยังไม่จบแค่นั้น เพราะ RCom ยังมีหนี้ก้อนใหญ่อีกก้อน ที่กู้ยืมมาจาก 3 ธนาคารขนาดใหญ่ของจีน ทั้ง ICBC, China Development Bank และ EXIM Bank of China เป็นมูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท
ทั้ง 3 ธนาคารจึงยื่นฟ้อง RCom และ Anil Ambani..
ช่วงต้นปี 2020 ที่ผ่านมา ซึ่ง Anil ได้พูดระหว่างพิจารณาคดีออนไลน์กับศาลของประเทศอังกฤษว่า เขาไม่มีเงินใช้หนี้ เพราะความมั่งคั่งของเขาตอนนี้ใกล้จะเป็นศูนย์แล้ว.. ซึ่งจนถึงตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าเขาจะหาเงินจากไหนมาใช้หนี้
จากความขัดแย้งเพื่อแย่งกิจการกันเองในครอบครัว บวกกับการบริหารธุรกิจที่ผิดพลาด การทุ่มเงินลงทุนขนาดใหญ่แต่ได้ผลลัพธ์แย่กว่าที่คาด ทำให้บริษัทก่อหนี้ก้อนโต
ทั้งหมดนี้ก็ได้ส่งผลไปยังทรัพย์สินของผู้ที่เคยรวยติดอันดับ 6 ของโลกอย่าง Anil Ambani ได้หายไปเกือบหมด ในขณะที่พี่ชายที่เติบโตมาพร้อมกัน กลับเดินสวนทางกัน เพราะประสบความสำเร็จในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นเศรษฐี ที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย นั่นเอง
ถ้าใครเชื่อว่าชีวิตของเราถูกกำหนดมาแล้วตั้งแต่เกิด
เกิดมาในครอบครัวที่รวย ก็ย่อมมีแรงส่งให้พวกเขารวยขึ้น
ซึ่งมันก็เป็นจริงในหลายกรณี
แต่ในบางกรณี มันก็อาจเป็นตรงกันข้าม
ซึ่งอย่างน้อย มันก็เกิดขึ้นแล้วกับ Anil Ambani น้องชายของ มหาเศรษฐี ที่รวยสุดในเอเชีย นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.businessinsider.in/thelife/personalities/news/anil-ambanis-journey-from-42-billion-net-worth-to-claiming-poverty/articleshow/74028627.cms
-https://www.scmp.com/magazines/style/celebrity/article/3093874/mukesh-vs-anil-why-did-one-ambani-brother-go-bankrupt
-https://economictimes.indiatimes.com/industry/telecom/telecom-news/from-glory-to-dust-an-ambani-brands-journey-to-bankruptcy/articleshow/67837769.cms?from=mdr
-https://www.businesstoday.in/latest/economy-politics/story/anil-ambani-road-to-bankruptcy-how-the-brother-of-indias-richest-man-lost-his-way-271119-2020-08-25
-https://www.moneycontrol.com/news/business/a-timeline-of-reliance-communications-versus-ericsson-case-3661261.html
-https://youtu.be/dBH0E20kc30
-https://www.forbes.com/forbes/2008/0324/080.html?sh=3e185f910f2e
-https://en.wikipedia.org/wiki/Reliance_Industries
-https://en.wikipedia.org/wiki/Reliance_Group
china bank wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
เจ้าหน้าที่ระดับสูงจีน Lai Xiaomin รับสินบน 9 พันล้าน ถูกประหารชีวิต /โดย ลงทุนแมน
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง แห่งประเทศจีนได้เอาจริงเอาจังกับการปราบปรามคอร์รัปชัน มาตั้งแต่เริ่มเข้ารับตำแหน่งเมื่อปี 2012
“Lai Xiaomin” ถือเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ที่ถูกสอบสวนและพบว่าเขารับสินบนเป็นมูลค่าเกือบ 9 พันล้านบาท ตลอดช่วงที่อยู่ในตำแหน่งมายาวนานถึง 10 ปี
ซึ่งการทุจริตดังกล่าว ได้นำไปสู่การที่เขา ถูกตัดสินประหารชีวิตเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
แล้ว Lai Xiaomin เป็นใคร
ความผิดของเขาร้ายแรงมากแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Lai Xiaomin เกิดเมื่อปี 1962 ที่มณฑลเจียงซี ประเทศจีน
เขาเกิดในครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน เขาจึงมุ่งมั่นตั้งใจเรียน จนในปีที่สอบเข้ามหาวิทยาลัย เขาสามารถทำคะแนนได้เป็นอันดับ 1 ของประเทศ และเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ที่ Jiangxi University of Finance and Economics
เมื่อเรียนจบ นาย Lai ก็ได้เข้าทำงานในสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศ ตั้งแต่ธนาคารกลางจีน หรือ PBOC ต่อด้วยคณะกรรมการกำกับดูแลภาคธนาคาร หรือ CBRC รวมถึงเขาก็ยังเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนอีกด้วย
ปี 2009 นาย Lai ย้ายมาที่ “บริษัทจัดการสินทรัพย์ Huarong” และได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการ
ในอีก 3 ปีถัดมา
จนกระทั่งในปี 2018 เขาก็ถูกสอบสวน ซึ่งเป็นผลมาจากการปราบปรามคอร์รัปชันในหมู่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และผลการสอบสวนก็พบว่านาย Lai มีความผิดอยู่ 3 อย่าง
ข้อหาแรก “การยักยอกทรัพย์” โดยนาย Lai ยักยอกทรัพย์เป็นเงิน 25 ล้านหยวน หรือกว่า 127 ล้านบาท ในทรัพย์สินที่เป็นของรัฐ
ข้อหาที่สอง “การสมรสซ้อน” โดยนาย Lai จดทะเบียนสมรสซ้อนและอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา รวมถึงมีลูก กับทั้ง 2 ครอบครัว
นอกจากนี้ยังพบว่าเขามีภรรยาน้อยร่วม 100 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับตำแหน่งระดับบริหารในบริษัทย่อยของ Huarong
ข้อหาที่สาม และเป็นข้อหาที่ร้ายแรงที่สุดคือ “การรับสินบน” โดยนาย Lai รับสินบนมาเป็นเวลากว่า 10 ปี หรือตั้งแต่ปี 2008 ถึง 2018 เป็นเงินกว่า 1.8 พันล้านหยวน หรือราว 9 พันล้านบาท
ซึ่งในช่วงสอบปากคำ ก็พบว่านาย Lai มีทั้งรถหรู อะพาร์ตเมนต์หรู นาฬิกาหรู งานศิลปะ และทองคำแท่ง ที่รับเป็นสินบน
นอกจากนี้ พอเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบที่อะพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งในกรุงปักกิ่ง ซึ่งนาย Lai ตั้งชื่อเล่นว่า “ซูเปอร์มาร์เก็ต” เจ้าหน้าที่ก็ได้พบตู้ขนาดใหญ่หลายตู้ ที่อัดแน่นไปด้วยเงินสดมูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท
เรื่องราวของนาย Lai ได้สร้างความฮือฮาไปทั่วทั้งประเทศจีน รวมถึงได้รับความสนใจจากสื่อต่างประเทศ
เพราะแม้การรับสินบนจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มูลค่าการรับสินบนกว่า 9 พันล้านบาทนั้น
เป็นมูลค่ามหาศาล ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศจีน
เรื่องนี้ก็สร้างความฮือฮาอีกครั้งเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2021 ที่ผ่านมา
ที่ศาลประชาชนจีนตัดสินให้นาย Lai มีโทษถึงการประหารชีวิต
แม้ว่าตามกฎหมายของจีน การคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับเงินมากกว่า 3 ล้านหยวนหรือราว 15 ล้านบาทขึ้นไป จะมีโทษประหารชีวิต
แต่การพิพากษาโทษประหารจากความผิดลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นน้อยมากและจะสามารถขอลดโทษเป็นจำคุกตลอดชีวิตได้ในภายหลัง
แต่กรณีของนาย Lai แม้ว่าตัวเขาเองจะให้ข้อมูลที่เป็นเบาะแสสำหรับการสืบเรื่องคอร์รัปชันอื่นต่อเนื่อง คำสั่งศาลสูงสุดก็ยังคงให้ประหารชีวิต
โดยศาลให้เหตุผลว่าการรับสินบนของนาย Lai ถือเป็นอาชญากรรมทางการเงินที่รุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ สร้างความเสียหายให้กับสังคมเป็นวงกว้าง และคุณงามความดีที่นาย Lai เคยทำไว้ก็ไม่เพียงพอที่จะช่วยบรรเทาความผิดนี้ได้
นั่นจึงทำให้นาย Lai ในวัย 58 ปี ถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2021 หรือเพียง 24 วันหลังจากการพิพากษาในครั้งแรก และถือเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่รับโทษรุนแรงที่สุดจากการคอร์รัปชัน
และแม้ว่าศาลจะพิพากษาให้ชีวิตของนาย Lai จบลง
แต่ความเสียหายจากสิ่งที่เขาทำไว้ กลับเพิ่งเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น
บริษัทจัดการสินทรัพย์ Huarong ที่นาย Lai เป็นประธานคณะกรรมการอยู่ก่อนจะโดนสอบสวน คือหนึ่งใน บริษัทบริหารจัดการหนี้ด้อยคุณภาพที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ 57%
Huarong เริ่มก่อตั้งในปี 1999 พร้อมกับอีก 3 บริษัท เพื่อจัดการปัญหาหนี้เสียในภาคธนาคารของประเทศจีนที่เป็นผลมาจากวิกฤติการเงินในเอเชีย
แต่เมื่อนาย Lai เริ่มเข้ามาบริหารในปี 2012 รูปแบบกิจการของ Huarong ก็เพี้ยนไปจากเดิม
เพราะนอกจาก Huarong จะเป็นบริษัทจัดการหนี้เสีย นาย Lai ยังได้ขยายธุรกิจเพิ่มเติมโดยรุกเข้าสู่ ธุรกิจการปล่อยสินเชื่อ ลีสซิ่ง โบรกเกอร์ซื้อขายหุ้น อสังหาริมทรัพย์และทรัสต์ วาณิชธนกิจรวมถึงประกัน
เมื่อขยายธุรกิจไปมากขนาดนี้ สิ่งที่ตามมาก็คือการหาเงินทุน ซึ่งนาย Lai ก็ได้นำ Huarong ระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ อย่างเช่น การออกพันธบัตรมูลค่ามหาศาล ทั้งในประเทศที่เป็นสกุลเงินหยวนและในต่างประเทศที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์ฮ่องกงและดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนั้น Huarong ยังระดมทุนผ่านทางตลาดทุนโดยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเมื่อปี 2015 ซึ่งสามารถขายหุ้น IPO กว่า 7 หมื่นล้านบาทให้กับสถาบันการเงินชั้นนำ เช่น Goldman Sachs, BlackRock และ Vanguard รวมถึงกองทุนระดับประเทศอย่างกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของมาเลเซีย
ในฝั่งของผู้ที่มาซื้อพันธบัตรหรือมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของ Huarong ก็มีทั้งสถาบันการเงินและบริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นของรัฐในประเทศจีนเอง รวมไปถึงนักลงทุนสถาบันในต่างประเทศด้วยเช่นกัน
Huarong จึงกลายเป็นหนึ่งในลูกหนี้รายใหญ่ ที่สามารถระดมทุนจากสถาบันทั้งในและต่างประเทศได้มหาศาล เพราะ Huarong มีรัฐบาลเป็นเจ้าของ จึงทำให้มีความน่าเชื่อถือสูงและด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ก็ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของ Huarong อยู่ในระดับต่ำได้นั่นเอง
หลังจากนาย Lai พ้นจากตำแหน่งในปี 2018 Huarong ก็ได้แต่งตั้งผู้นำคนใหม่ที่ชื่อว่า Wang Zhanfeng โดยมีเป้าหมายหลักก็คือเข้ามาปรับโครงสร้างบริษัท Huarong ให้กลับสู่สภาพเดิมด้วยการเลิกทำธุรกิจส่วนที่ขาดทุนและที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักเดิมของ Huarong
ซึ่งระหว่างที่กระบวนการปรับโครงสร้างดำเนินไป ผลกำไรสุทธิของ Huarong ก็ลดลงกว่า 94% ภายใน 2 ปี หรือระหว่างปี 2017 ถึง 2019
แต่แล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา Huarong แจ้งว่าไม่สามารถส่งงบการเงินและรายงานประจำปีของปี 2020 ได้ทัน ซึ่งก็ได้ขอเลื่อนการส่งเอกสารทั้งหมดนี้ออกไปก่อน โดยอ้างว่าผู้ตรวจสอบบัญชียังต้องใช้เวลาตรวจสอบเพิ่มเติม
ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็ยิ่งมาซ้ำเติม Huarong เข้าไปอีก จากสถานการณ์ย่ำแย่มาตั้งแต่ตอนที่นาย Lai ถูกจับกุมอยู่แล้ว
สถานะทางการเงินของบริษัทแย่ลงมาอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นความคลุมเครือในปีล่าสุด ที่ได้สร้างความกังวลในตลาดการเงิน เพราะโอกาสที่ Huarong จะไม่สามารถจ่ายหนี้จำนวนมหาศาลคืนได้ ก็มีมากขึ้น
โดยเฉพาะในตลาดตราสารหนี้ ที่ในปัจจุบัน Huarong มีพันธบัตรที่ยังไม่ครบกำหนดชำระคืน หรือ Outstanding Bonds มูลค่ารวมกว่า 1.4 ล้านล้านบาท
โดยครึ่งหนึ่งเป็นพันธบัตรที่ออกเป็นสกุลเงินหยวน อีกครึ่งหนึ่งออกเป็นสกุลเงินต่างประเทศ และ 1 ใน 10 ของมูลค่าพันธบัตรทั้งหมดที่กล่าวมานี้ Huarong มีกำหนดชำระคืนภายในปีนี้
ความกังวลนี้ก็สะท้อนไปที่ราคาของพันธบัตรของ Huarong ที่ผันผวนอย่างรุนแรงในไตรมาสที่ 2 และลามไปถึงตราสารหนี้ของบริษัทขนาดใหญ่อื่น ๆ ในประเทศจีนด้วย
ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมา การผิดนัดชำระหนี้พันธบัตรของบริษัทในประเทศจีน ก็เพิ่งทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งก็ยิ่งเพิ่มความกังวลในตลาดตราสารหนี้ของจีนมากขึ้นไปอีกว่าสถานการณ์จะรุนแรงจนทำให้เกิดเป็นวิกฤติการผิดนัดชำระหนี้ได้
ถึงแม้ว่าการผิดนัดชำระหนี้โดยบริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นของรัฐแบบ Huarong จะยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศจีน
แต่ถ้าเกิดขึ้นจริง ผลกระทบก็จะไม่ได้สร้างความเสียหายให้ตลาดตราสารหนี้จีนเท่านั้น แต่จะลุกลามไปทั่วโลก
เรื่องนี้ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า Huarong ที่เริ่มก่อตั้งมาเมื่อ 22 ปีก่อน
เพื่อบรรเทาและแก้ไขผลกระทบจากวิกฤติการเงินในเอเชียให้กับภาคธนาคารในประเทศจีน
จะให้ผลในสิ่งตรงกันข้ามและกลายเป็นต้นตอของวิกฤติครั้งใหม่ของประเทศหรือไม่..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-04-15/china-s-very-bad-bank-inside-the-huarong-debt-debacle
-https://www.ft.com/content/2aabfd64-6527-442f-b6fb-36c3804dcfc7
-https://edition.cnn.com/2021/01/06/business/china-huarong-lai-xiaomin-death-sentence-intl-hnk/index.html
-https://www.dailymail.co.uk/news/article-9204601/Former-head-Chinese-state-asset-firm-Lai-Xiaomin-executed.html
-https://www.bbc.com/news/business-55555417
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lai_Xiaomin
-https://finance.yahoo.com/quote/2799.HK?p=2799.HK
china bank wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
รู้จัก G7 ขั้วมหาอำนาจโลก ที่กำลัง แลกหมัดกับจีน /โดย ลงทุนแมน
1,228 ล้านล้านบาท คือ GDP ในปีที่ผ่านมา ของ 7 ประเทศ ในกลุ่ม G7 รวมกัน
2,620 ล้านล้านบาท คือ GDP ในปีที่ผ่านมา ของทุกประเทศในโลกรวมกัน
เท่ากับว่าขนาดเศรษฐกิจของเพียงแค่ 7 ประเทศในกลุ่มนี้
คิดเป็น “เกือบครึ่ง” ของขนาดเศรษฐกิจโลกในปีที่ผ่านมา
ทั้ง ๆ ที่มีประชากรรวมกันแค่ประมาณ 773 ล้านคน หรือประมาณ 10% ของประชากรโลกเท่านั้น
กลุ่ม G7 มีประเทศอะไรบ้าง เกิดขึ้นมาอย่างไร
แล้วทำไมถึงบอกว่ากำลังแลกหมัดกับจีน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
แคนาดา
ฝรั่งเศส
เยอรมนี
อิตาลี
ญี่ปุ่น
สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
นี่คือรายชื่อ 7 ประเทศ ที่รวมตัวกันเป็น “Group of Seven” หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า กลุ่ม G7
ซึ่งถ้าเราลองไปเปิดดูตัวเลข GDP ของแต่ละประเทศ ทั้ง 7 รายชื่อนี้ จะอยู่ใน Top 10 ของประเทศที่ GDP มากสุดในโลก
และถ้าเอา GDP ของ 7 ประเทศมาบวกรวมกัน
ก็จะคิดเป็น 47% ของขนาดเศรษฐกิจโลก
นอกจากจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กันทุกประเทศแล้ว
รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรในประเทศเหล่านี้
ก็ล้วนแล้วแต่อยู่แนวหน้าของโลกทั้งสิ้น
พูดง่าย ๆ ว่า นี่คือสมาคมประเทศร่ำรวย อย่างแท้จริง..
แล้วประเทศเหล่านี้ มารวมตัวกันได้อย่างไร ?
จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มนี้อย่างเป็นทางการ ต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 1973
ช่วงนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น นั่นคือ วิกฤติการณ์น้ำมัน หรือ “Oil Shock”
สรุปเหตุการณ์แบบคร่าว ๆ ก็คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ไปมีปัญหากับกลุ่ม OPEC ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก
ปัญหาที่ว่าก็คือ 4 ประเทศนี้ ไปสนับสนุนอิสราเอล ที่กำลังทำสงครามกับกลุ่มชาติอาหรับ ที่ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นสมาชิกกลุ่ม OPEC
พอเรื่องเป็นแบบนี้ กลุ่ม OPEC จึงระงับการส่งออกน้ำมันไปยังประเทศที่สนับสนุนอิสราเอล ทำให้ประเทศเหล่านี้เจอวิกฤติขาดแคลนน้ำมัน และราคาน้ำมันพุ่งสูงหลายเท่าตัวในช่วงเวลาไม่นาน ซึ่งทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศ ไปจนถึงระดับทวีป และระดับโลก เป็นปัญหาลูกโซ่ตามมา
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เริ่มลุกลามเป็นวงกว้างไปในระดับโลก
ทำให้ 6 ประเทศมหาอำนาจในตอนนั้น
ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี (สมัยนั้นยังเป็น เยอรมนีตะวันตก), ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น และอิตาลี
จัดการประชุมร่วมกันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในปี 1975
เพื่อหาทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกไปข้างหน้า
และตกลงกันว่า “เราจะมาร่วมหารือกันแบบนี้ทุก ๆ ปีต่อจากนี้”
อีกหนึ่งปีต่อมา มีอีกชาติมหาอำนาจเข้าร่วมกลุ่ม นั่นก็คือ แคนาดา
เป็นอันสรุปว่า Group of Seven หรือ G7 ครบองค์ประชุมตั้งแต่ปี 1976 เป็นต้นมา..
ในช่วงแรก ตัวแทนของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมประชุม ยังเป็นเพียงแค่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
แต่หลัง ๆ มาเรื่องที่ประชุมกันแต่ละปี ไม่ได้จำกัดอยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจเท่านั้น
ยังรวมไปถึงเรื่องความมั่นคงทางการทหาร, โรคระบาด, สุขอนามัย, การศึกษา ไปจนถึงปัญหาความยากจน และเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นระดับโลกในแต่ละปี
ทำให้ต่อมา ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำประเทศ จะเป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม
โดยในแต่ละปี กลุ่ม G7 ก็มักจะเชิญหลายประเทศนอกกลุ่ม และตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศอย่าง EU, World Bank และ IMF ให้มาเข้าร่วมการประชุม ตามวาระที่สำคัญของช่วงเวลานั้น
เช่น ในปี 2008 มีการเชิญตัวแทนประเทศในเอเชียอย่าง เกาหลีใต้และอินโดนีเซีย ให้เข้าร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์เศรษฐกิจในเอเชีย
หรือในปี 2011 ที่มีการเชิญหลายประเทศในทวีปแอฟริกาอย่าง กินี, ไนเจอร์, โกตดิวัวร์ และตูนิเซีย ให้มาร่วมพูดคุยเรื่องปัญหาความยากจนในแอฟริกา
และล่าสุด การประชุม G7 ในปีนี้ ก็เพิ่งจัดขึ้นเมื่อ 11 มิถุนายน ที่ผ่านมาที่สหราชอาณาจักร
โดยสมาชิกในกลุ่มก็มีข้อตกลงร่วมกันในหลายเรื่อง อย่างเช่น
- ตกลงจะร่วมกันมอบวัคซีนอย่างน้อย 1,000 ล้านโดส ให้ประเทศรายได้ต่ำที่ต้องการวัคซีนเร่งด่วน
- เริ่มต้นผลักดันประเทศในกลุ่มและนอกกลุ่ม ให้มีการเก็บภาษีขั้นต่ำ 15% กับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เพื่อยุติปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีผ่านการนำบริษัทไปจดทะเบียนในประเทศที่เก็บภาษีอัตราต่ำ
แต่เรื่องที่เป็นไฮไลต์สุดของการประชุมครั้งนี้
คือการเปิดตัวโครงการ “Build Back Better World” หรือ B3W
โครงการที่สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรในกลุ่ม G7 ใช้เป็นคำประกาศกร้าวว่า
จะไม่ยอมให้คู่แข่งคนสำคัญอย่าง “จีน”
ก้าวขึ้นมามีอิทธิพล หรือก้าวมาเป็นอีกขั้วมหาอำนาจโลกได้ง่าย ๆ
ก่อนหน้านี้เราได้ยินกันมาตลอด ว่าจีนมีโครงการ “Belt and Road Initiative” หรือ BRI
ซึ่งเป็นเหมือนการขยายอิทธิพลและสร้างพันธมิตรผ่านการไปร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศต่าง ๆ ตามเส้นทางสายไหมที่เคยรุ่งเรืองในอดีต จากตะวันออกของโลกคือจีน ไปสู่ฟากโลกตะวันตก
ส่วนโครงการ B3W ของสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร G7 ก็จะเน้นเข้าไปมีส่วนร่วมและสนับสนุนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศรายได้น้อยถึงรายได้ปานกลาง ตั้งแต่ตะวันตก ลากยาวไปตะวันออก
และ G7 เคลมว่า B3W ของพวกเขา พิเศษกว่า BRI ของจีน
เพราะของที่สร้างโดยการสนับสนุนของ G7 จะมีคุณภาพกว่า
มีกระบวนการสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกว่า
ไม่มีทุจริตคอร์รัปชัน สนับสนุนภาคเอกชนให้มีส่วนร่วม
ไม่มีเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน สนับสนุนความเท่าเทียม และที่สำคัญคือสนับสนุนโดยกลุ่มนิยมประชาธิปไตย อย่าง G7..
ขณะที่โฆษกสถานทูตจีนประจำกรุงลอนดอน
ก็โต้กลับมติประชุมของกลุ่ม G7 ทันทีว่า
ให้เลิกกล่าวอ้าง กล่าวหาจีนในเรื่องต่าง ๆ เสียที
และยังโต้กลับในทำนองที่ว่า “มันหมดยุคที่โลกถูกนำโดยบางกลุ่มประเทศไปแล้ว”
จะเห็นว่า 2 ขั้วอำนาจโลกในตอนนี้ กำลังปล่อยหมัดหนักแลกใส่กันไปมา อย่างไม่มีใครยอมใคร
เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายครองอำนาจโลกแต่เพียงผู้เดียวได้โดยง่าย
ฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มมหาอำนาจโลกเดิมอย่าง G7
ที่ยังคงมีความสำคัญมากกับทั้งโลก ไม่ว่าจะเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และขนบธรรมเนียมโลกแบบเดิมที่ทั่วโลกคุ้นชินมาหลายทศวรรษ
ส่วนอีกฝ่ายคือจีน ที่เป็นประเทศคู่ค้าของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศในกลุ่ม G7 เอง และขนาดเศรษฐกิจของจีนกำลังจะขึ้นแท่นเบอร์ 1 ของโลกแซงหน้าสหรัฐอเมริกาในเร็ว ๆ นี้
ในขณะเดียวกันจีนก็กำลังเดินหน้าท้าชิงความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม
และเดินหน้าสร้างพันธมิตร สร้างอิทธิพลตามแผนที่วางไว้
ปิดท้ายด้วยเรื่องที่น่าสนใจ
ในอดีต G7 เคยขยายเป็น G8 โดยอีกประเทศที่เพิ่มเข้ามาคือ รัสเซีย ที่เข้าร่วมตั้งแต่ปี 1997
แต่หลังจากที่รัสเซียทำการผนวกไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ในปี 2014
ก็ทำให้ประเทศสมาชิกที่เหลือไม่พอใจ และไม่เชิญรัสเซียเข้าร่วมการประชุมอีกเลย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://statisticstimes.com/economy/projected-world-gdp-ranking.php
-https://www.g7uk.org/what-is-the-g7/
-https://en.wikipedia.org/wiki/1973_oil_crisis
-https://www.blockdit.com/posts/60c89d166ea44e0c5adf9455
-https://thestandard.co/g7-summit-summary/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Group_of_Seven
-https://www.whitehouse.gov/briefing-room/statements-releases/2021/06/12/fact-sheet-president-biden-and-g7-leaders-launch-build-back-better-world-b3w-partnership/
-https://www.ndtv.com/world-news/small-groups-dont-rule-the-world-china-cautions-g7-2462751
china bank wiki 在 BANK OF CHINA GLOBAL WEB SITE 的相關結果
Online Banking ; Corporate Financing · Trade Services · Corporate Financial Services · RMB Settlement Services ; Personal Savings · Personal Loans · Personal ... ... <看更多>
china bank wiki 在 (CBC) China Banking Corporation - Personal 的相關結果
Check Management · Credit Cards · Deposits · Channels · Consumer Loans · Remittance · Treasury Investments · Trust · Other Services. ... <看更多>
china bank wiki 在 Chinabank - Wikipedia 的相關結果
China Banking Corporation commonly known as China Bank, is a Filipino bank established in 1920. It was the first privately owned local commercial bank in ... ... <看更多>