ถอดบทเรียนแบรนด์เครื่องสำอางไทย กวาดยอดขายหลักร้อยล้านบาทที่จีน ใน 1ปี
-----
ถ้าใครที่เคยติดตามเรื่องราวการตลาดจีนและธุรกิจจีนบนเพจอ้ายจง คงจะจำประเด็นที่อ้ายจงเล่าอยู่บ่อยๆ สำหรับประเด็น “สินค้าสายBeauty พวกเครื่องสำอางและสกินแคร์ของไทย ได้รับความนิยมจากคนจีน” โดยเฉพาะคนที่มาเที่ยวไทย แบบFIT (เที่ยวด้วยตนเอง ไม่พึ่งกรุ๊ปทัวร์)
วันนี้อ้ายจงเลยขอหยิบเคสแบรนด์สินค้าBeautyของไทยแบรนด์หนึ่ง ที่กำลังมาแรงและเป็นที่นิยมในตลาดจีนเป็นอย่างมาก
แบรนด์ที่อ้ายจงพูดถึงคือแบรนด์ Zenn ซึ่งเป็นแบรนด์เครือเดียวกันกับ Tokyo Dolls แบรนด์Beautyสัญชาติไทยแท้
โดยยอดขายของ Zenn ในประเทศจีน เมื่อปีที่แล้ว ขายสินค้าไปประมาณ 2 ล้านกว่าชิ้น ราคาขายหน้าร้านในประเทศจีน ชิ้นละ 2-3 ร้อยบาทไทย ดังนั้น คิดเป็นยอดขาย ก็ราวๆ 600ล้านบาททีเดียว
เราลองมาวิเคราะห์กันดีกว่าว่า ทำไมแบรนด์นี้จึงประสบความสำเร็จ
1. วาง Position อย่างชัดเจนว่า ตำแหน่งของเราจะอยู่ในจุดไหน กลุ่มเป้าหมายคนจีนที่จะมาเป็นลูกค้าเราคือกลุ่มไหน
เท่าที่อ้ายจงได้สำรวจตลาดออนไลน์ในจีน พบว่า แบรนด์นี้ กำหนด Position อย่างชัดเจนว่า เป็นแบรนด์สัญชาติไทย กำเนิดจากประเทศไทย และเน้นเจาะตลาดจีนโดยตรง โดยสินค้าต่างๆ จะเลือกสไตล์ที่เป็นที่ชื่นชอบของคนจีน ซึ่งแน่นอนว่า เป็นผู้หญิง อายุ 18-35ปี คือเจาะกลุ่มวัยรุ่นและสาววัยทำงานสมัยใหม่
-----
2. วาง Brand character กำหนดตัวตนของแบรนด์เราให้ชัดเจน
Zenn มี Character ที่ชัดเจน อ้ายจงไม่ได้เป็นผู้หญิง ไม่ใช่คนแต่งหน้า แต่พอเข้าไปดูใน Weibo สื่อออนไลน์ของทางแบรนด์นี้ และดูแต่ละโพสต์ที่จัดทำขึ้น เห็นเลยว่าเป็นแบรนด์ที่เน้นความ “แฟชั่นสมัยใหม่ และ สีสันของคนรุ่นใหม่” เรียกได้ว่า ทำเข้ากับผู้หญิงจีนที่ชอบแต่งหน้าแนวสีสันสดใสจริงๆ
นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งนะครับ ถ้าเรากำหนดตัวตนของแบรนด์เราชัดเจนแล้ว สื่อที่เราทำขึ้นมา ไม่ว่าจะสื่อออฟไลน์หรือออนไลน์ ก็ต้องสื่อสารตัวตนของเราออกมาให้ได้ด้วยเช่นกัน
-----
3. วางกลยุทธ์การตลาด ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ให้สอดคล้องกับ ข้อ 1 และ 2
สำหรับ Zenn แผนระยะสั้นและกลาง ในการทำตลาดจีน คือ ทำให้คนจีนเริ่มรู้จัก จนมี Distributor ติดต่อเข้ามา ซึ่งขั้นตอนนี้เราสามารถใช้สื่อออนไลน์ช่วยทำให้คนจีนรู้จักและไปเตะตา Distributor ได้ เช่น การใช้ KOL (Key Opinion Leader) ผู้นำทางความคิด /Celebในโลกออนไลน์/เน็ตไอดอล หรือ คนที่มีผู้ติดตามจำนวนมากในโลกออนไลน์
พอเริ่มเป็นที่รู้จัก และ มีDistributor ติดต่อเพื่อนำไปจำหน่ายในจีน สิ่งที่ทาง Zenn ทำต่อไปคือการกำหนดแผนระยะยาว ว่าจะอยู่ในตลาดจีนได้เช่นไร
จัดจำหน่ายแบบไหน ซึ่งทางแบรนด์ไทยเจ้านี้ ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นว่า จะต้องขายใน Modern Trade ให้ได้ เพื่อที่จะเป็นแบรนด์Beautyที่ขายในจีนระยะยาว และเน้นสร้างProduct ให้ถูกจริตของคนจีน
นี่จึงเป็นที่มาของการเป็น Partnerกับ THE COLORIST ร้านเครื่องสำอางและสกินแคร์รายใหญ่ของจีน
(KK Group บริษัทแม่ของ THE COLORIST ถือเป็น Startupจีน ธุรกิจ O2O – Online to Offline ระดับ Unicorn มีมูลค่าบริษัทแตะ 1พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเมื่อปี2019 เพิ่งได้รับเงินทุน 100ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากกองทุน eWTP :Electronic World Trade Platform ที่ริเริ่มโดย Alibaba จากการระดมทุน รอบ Series D หลังจากในรอบ Series C ก็ได้ไปแล้วจาก eWTP ราว 60ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
-----
4. Customer Journey ต้องชัด กำหนดไปเลยว่า ลูกค้าจะเจอแบรนด์เราได้อย่างไร
กรณีของ Zenn คล้ายกับ กรณีของสาหร่ายเถ้าแก่น้อย ที่อ้ายจงเคยวิเคราะห์ไปก่อนหน้านี้แล้วนะครับ คือเราต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่า สุดท้ายแล้ว สินค้าของเราจะไปอยู่ในมือของผู้บริโภคได้เช่นไร
ทั้ง Zenn และ เถ้าแก่น้อย เลือกที่ทำให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์ของเขาจากการมาเที่ยวไทยก่อน จากนั้นก็ไปเจาะตลาดจีนโดยตรง แต่ยังไม่ทิ้งแบรนด์ในไทยนะครับ เพราะในเมื่อเราเข้าไปในฐานะ แบรนด์จากประเทศไทย เป็นแบรนด์ต่างประเทศในสายตาคนจีน พวกเขาก็ยังคงสนใจว่า “ในประเทศต้นกำเนิดของแบรนด์นั้น มีจำหน่ายจริงหรือไม่?”
ต้องยอมรับว่า Zenn กำหนดความสำคัญของกลุ่มลูกค้าได้อย่างชัดเจน ว่า เทไปทางตลาดจีนมากกว่าตลาดไทย อย่างที่อ้ายจงระบุไว้ในข้อ 1แล้วว่า เขาทำคอลเลคชั่นและสีสันต่างๆเจาะคนจีนอย่างเห็นได้ชัด
Customer Journey เส้นทางการเดินของลูกค้าที่จะเจอแบรนด์ของเขา จึงเน้นไปในตลาดจีน ซึ่งตอนนี้กำลังรุก Modern Trade เป็นหลัก
-----
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับการวิเคราะห์ ความสำเร็จของแบรนด์ไทยในตลาดจีน ถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ แล้วมาลุ้นกันว่า คราวหน้า อ้ายจงจะมาวิเคราะห์แบรนด์ไหนอีก
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
colorist คือ 在 Nonzee Nimibutr's Fanpage Facebook 的最讚貼文
ภาพยนตร์โฆษณาเรื่องใหม่ของ โต้ง บรรจง ครับ เป็นหนังที่เรียกได้ว่ามีกลิ่นของหนังตื่นเต้นสยองขวัญเต็มรูปแบบ โปรดักส์ในปัจจุบันนี้มีความกล้าที่จะลุกขึ้นมาให้ความใส่ใจกับสังคมมากขึ้น ผมชอบเลยครับสำหรับเรื่องนี้ เร้าใจจริงๆ
ภาพข่าวเด็กหญิงวัย 4 ขวบ พูดภาษาอังกฤษปร๋อ ทั้งที่ไม่เคยไปโรงเรียน
เธอไม่ใช่ลูกครึ่ง แถมในรัศมีแถวบ้านก็ไม่มีฝรั่งสักคน
หลายคนอาจมองว่านี่เป็นเรื่องน่าทึ่ง ขณะที่คนเป็นแม่เองก็ดูประหลาดใจ
แต่ดูจากสีหน้าตอนนักข่าวสัมภาษณ์แม่ก็แอบภูมิใจกับพรสวรรค์อันน่าฉงนในการพูดภาษาอะไรซักอย่างที่ฟังดูคล้ายภาษาอังกฤษ แต่ไม่ใช่ ของลูกสาวตัวน้อย
สืบไปสืบมา แม่เฉลยว่า เป็นเพราะเธอปล่อยลูกไว้กับ “พี่เลี้ยง” ทั้งวัน!!!
เจตนาของหนังเรื่องนี้ไม่ต้องการ ตั้งตัวเป็นศัตรูหรือกล่าวโทษ พี่เลี้ยง แต่อย่างใด
เพียงแต่อยากจะสะท้อนถึงผลเสียของการปล่อยให้ลูกอยู่กับพี่เลี้ยง “นานเกินไป”
เราแค่อยากชวนพ่อแม่ทุกคนให้คิดทบทวนถึง “ความพอดี” ของระยะเวลา
ที่จะปล่อยให้ลูกอยู่กับพี่เลี้ยงเหล่านี้ต่างหาก
ผมยอมรับว่า การที่เด็กได้อยู่กับพี่เลี้ยง
มันช่วยทำให้เขาได้เรียนรู้ภาษา ได้ฝึกจินตนาการ
แต่อย่าลืมว่า อะไรก็ตาม ถ้ามากเกินไป
มันอาจจะส่งผลร้ายกับลูกอย่างที่เรา คาดไม่ถึง
จากข้อมูล เผยให้เห็นว่า พ่อแม่คนไทย ปล่อยให้ลูกอยู่กับ “พี่เลี้ยง” ถึงวันละ 5 ชั่วโมง
ซึ่งถือว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่น
ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่เคยไหว้วานพี่เลี้ยง ให้ช่วยเลี้ยงลูกแทน หลายต่อหลายครั้ง
เวลาที่ต้องมีประชุมกับลูกค้า หรือนั่งทำงาน เพราะไม่อยากให้ลูกกวนสมาธิ
จึงจำเป็นต้องพึ่งพี่เลี้ยง เพื่อที่จะทำให้ลูกอยู่นิ่ง
ก็พอรู้นะ ว่าปล่อยให้เขาอยู่กับพี่เลี้ยงสองต่อสองแบบนี้ มันไม่ดี
แต่ แค่แป๊บเดียว คงไม่เป็นไรมั้ง
แต่หลังจากที่ผมได้มีโอกาสทำงานนี้
เมื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึก ได้อ่านผลวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญ ความคิดที่จะพึ่งพาพี่เลี้ยงก็หมดไป
ผมคิดไม่ถึงเลยว่า แค่ปล่อยให้ลูกอยู่กับพี่เลี้ยงเหล่านี้ วันละไม่กี่ชั่วโมง
มันจะทำร้ายลูกเราได้ถึงขนาดนี้
หลังจากนั้น ผมก็พยายามหาวิธี
ที่จะกำจัดพี่เลี้ยงให้ออกไปจากชีวิตลูก
อย่างเด็ดขาด มีทั้งแบบหักดิบ
แยกพวกเค้าออกจากกันดื้อๆ
ผล คือ ลูกลงไปชักดิ้นชักงอ
ร้องขอจะหาพี่เลี้ยง ให้ได้
จนในที่สุด ผมก็พบวิธี
ผมเลือกที่จะเบนความสนใจของเขาจากพี่เลี้ยง ด้วยการพาเขาออกไปโลกภายนอก
พาเขาไปสวนสาธารณะ พาไปดูสัตว์ในสวนสัตว์ พาไปดูตัวเหี้ยที่สวนลุม พาไปปีนต้นไม้ พาไปทะเล พาไปขี่จักรยาน
พาไปทำกิจกรรมอะไรก็ได้ ที่ให้ลูกได้มีเวลาอยู่กับเรามากขึ้น มากกว่าอยู่กับพี่เลี้ยง
กุศลเดียวจากการที่ผมได้มีส่วนร่วมในการทำงานนี้ ก็คือ
ปัจจุบัน ลูกของผม ตัดขาด จากพี่เลี้ยง ได้แล้ว
ไม่ถามหา ไม่งอแง ไม่โวยวาย ไม่ร้องหา พี่เลี้ยงอีกเลย
Production House : หับ โห้ หิ้น
Director : บรรจง ปิสัญธนะกูล
Producer : ณัฐพล กรแก้ว
Director of Photography : นฤพล โชคคณาพิทักษ์
Editor : ธรรมรัตน์ สุเมธศุภโชค
Music Score : ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์
Sound Design and sound mix : ปานเทพ ปูรณะสุคนธ
Colorist : อนุวัฒน์ อนุตรวณิชกุล