เขากลับมาแล้ว เขาไม่ใช่เอเรนแต่เขาคือ P-Saderd [พี สะเดิด]
เรียกเพื่อนๆมารอซื้อบัตรได้เลย พลาดไม่ได้
Rimpha Music Festival 9 เราและนาย
เทศกาลดนตรีที่มีแต่เพื่อน
เสาร์ที่ 13 ก.พ. 64
เจอกันที่เดิม กม.21 ถ.ธนะรัชต์ เขาใหญ่
โปรโมชั่น “กอดคอ”
ราคาปกติใบละ 1,300 บาท
ซื้อ 1 แถม 1 เริ่มจำหน่าย 25 ต.ค. นี้
*มีค่าธรรมเนียมบัตรแข็งใบละ 20 บาท*
จำกัดเพียง 5,000 ชุดเท่านั้น
กอดคอเพื่อนร่วมร้องเพลงกับ
SEK LOSO / PU PONGSIT / POLYCAT / SCRUBB / TATTOO COLOR / THE TOYS / GREASY CAFÉ / SAFEPLANET / NONT TANONT / SLOTMACHINE / MILD / JAZZ SPKK / พี สะเดิด / SILLYFOOLS & DAX / BOMB AT TRACK / T_047 / HE MEN CROWN ALREADY DEADD / จุลโหฬาร / SAFE PLANET / MOVING AND CUT / TELEX TELEXS / เขียนไขและวานิช / คณะขวัญใจ / อภิรมย์ / SRIRAJAH ROCKERS / WHAL & DOLPH / DJ LEO / MAD PACK IT / GOLDRED และศิลปิน Indy Rimpha อีกมากมาย ใครอยากแดนซ์ เราก็มีโซน Rimpha Bar นะจ๊ะ
ช่องทางจำหน่ายบัตร
• The Concert
ดาวน์โหลดแอปได้ที่ onelink.to/xg82rs
เว็บไซต์ www.theconcert.com/p/44
• ALLTICKET เซเว่น อีเลฟเว่น ทุกสาขาทั่วประเทศ
• https://heavyorganizer.com/rimpha-music-festival-9/
**ซื้อแล้วไม่สามารถคืนได้ทุกรณี**
#rimphamusicfestival
#Rimpha
#Rimpha9
#rimpha9เราและนายHe's back. He's not Evan but he's @[216034061852863:274:P-Saderd [phī s̄a e di d \]]
Calling friends to buy tickets. I can't miss it.
@[656492364365970:274:Rimpha Music Festival] 9 us and you
Music festival with only friends
Saturday 13th. 64 64
See you at the same place km. 21 Road. Thanarat Khao Yai
Promotion ′′ Hug Neck ′′
Normal price is 1,300 baht each.
Buy 1 get 1 free. Sale starts at 25 T. .. This is it.
* There is a hard card fee of 20 baht each *
Limited to 5,000 sets only
Hug the neck of singing friends with
SEK LOSO / PU PONGSIT / POLYCAT / SCRUBBB / TATTOO COLOR / THE TOYS / GREASY CAFÉ / SAFEPLANET / NONT TANONT / SLOTMACHINE / MILD / JAZZ SPKKK / SILLYFOOLS & DAX / AT TRACK / T 047 / HE MEN CROWN ALREADY DEADDD / JAMICO / SAFE PLANET / MOVING AND CUT / TELEX TELEXS / Waxing / Vanich / Faculty / SRIRAJAH ROCKERS / WHAL & DOLPH / DJ LEO / MADE PACK IT / GOLDRED and many Indy Rimpha artists. If you want to dance, we have Rimpha Bar zone.
Ticketing channel
• The Concert
Download the app at onelink.to/xg82rs
Website www.theconcert.com/p/44
• ALLTICKET Seven Eleven branches nationwide.
• https://heavyorganizer.com/rimpha-music-festival-9/
** Buy it and it can't be returned in any case **
#rimphamusicfestival
#Rimpha
#Rimpha9
#rimpha9เราและนายTranslated
dax website 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
รู้จัก Beiersdorf บริษัทอายุ 138 ปี เจ้าของ NIVEA และ Eucerin /โดย ลงทุนแมน
NIVEA และ Eucerin
แบรนด์สกินแคร์ที่คนไทยคงจะรู้จักและได้ยินชื่อกันมานาน
แต่รู้หรือไม่ว่าเจ้าของสองแบรนด์นี้คือบริษัทเดียวกัน
นั่นคือบริษัทสัญชาติเยอรมัน ที่มีชื่อว่า “Beiersdorf”
ความเป็นมาของ Beiersdorf
รวมถึงจุดเริ่มต้นของ NIVEA และ Eucerin เป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จุดเริ่มต้นของเรื่องราวนี้
มาจากชายที่มีชื่อว่า “Paul C. Beiersdorf”
ชายคนนี้เป็นเภสัชกรชาวเยอรมัน
ที่เคยเปิดร้านขายยามาแล้วหลายแห่งในเบอร์ลิน เมืองหลวงของประเทศเยอรมนี
ในปี 1882 Beiersdorf ตัดสินใจย้ายออกจากเบอร์ลิน
มาเปิดร้านขายยาและสร้างห้องปฏิบัติการสำหรับแพทย์
ในเมือง Hamburg เพราะเห็นว่ามีทำเลที่ดีกว่า
8 ปีหลังจากนั้น Beiersdorf ก็ได้พบกับชายคนหนึ่ง
ที่เป็นทั้งเภสัชกรและนักธุรกิจมากประสบการณ์
ชายคนนั้น นามว่า “Dr. Oscar Troplowitz”
ทั้งคู่ได้ตกลงเป็นหุ้นส่วนในการทำธุรกิจ
และเริ่มว่าจ้างนักเคมีฝีมือดีหลายคนให้มาคิดค้นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ดูแลผิว
จนวันหนึ่ง ทีมนักเคมีได้ค้นพบสารลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง
ที่ได้จากการสกัดออกมาจากขนแกะ
ซึ่งคุณสมบัติคือใช้บำรุงผิวพรรณให้เรียบเนียนได้
พวกเขาจดสิทธิบัตรสารตัวนี้ด้วยชื่อ “Eucerit”
ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า “ขี้ผึ้งที่สวยงาม (Beautiful Wax)”
ซึ่ง Eucerit นี่เอง ที่เป็นส่วนประกอบตั้งต้นของ NIVEA และ Eucerin
ไม่นานหลังจากนั้น ครีมบำรุงผิว NIVEA
ก็เปิดตัวและวางขายครั้งแรกในปี 1911
และได้รับความนิยมไปทั่วทวีปยุโรปและอเมริกาอย่างรวดเร็ว
จากนั้นในปี 1928 Beiersdorf ก็ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน
โดยมีชื่อว่า “Beiersdorf AG”
ส่วนแบรนด์ “Eucerin” เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 1950
โดยใช้ Eucerit ที่เป็นสารตั้งต้นของ NIVEA
มาคิดค้นและปรับปรุงเป็นสกินแคร์สูตรใหม่
ผลิตภัณฑ์แรกของ Eucerin มีชื่อว่า “pH5 Eucerin Ointment”
ที่สามารถรักษาสภาพความเป็นกรดอ่อนๆ ให้ผิวหนังได้เป็นอย่างดี
นอกจาก NIVEA และ Eucerin
Beiersdorf ยังเป็นเจ้าของแบรนด์สกินแคร์อื่นอีกมากมายที่มีชื่อเสียงในยุโรปและอเมริกา
ตัวอย่างเช่น La Prairie, Florena, Skin Stories
Beiersdorf AG ยังมีธุรกิจอื่นนอกเหนือจากสกินแคร์ คือ
ธุรกิจผลิตเทปกาวอเนกประสงค์ แบรนด์ tesa
และธุรกิจผลิตภัณฑ์รักษาบาดแผล แบรนด์ Hansaplast
ซึ่งแบรนด์ทั้งหมดที่ว่ามานั้น
ต่างก็ได้รับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ในปี 2019 ผลประกอบการของ Beiersdorf AG
รายได้ 285,000 ล้านบาท
กำไร 27,000 ล้านบาท
โดยรายได้ทุก 100 บาท มาจาก
ยอดขายในยุโรป 49 บาท
ยอดขายในอเมริกา 18 บาท
ยอดขายในแอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย 33 บาท
ปัจจุบัน Beiersdorf AG มีมูลค่าบริษัทประมาณ 800,250 ล้านบาท
และถูกคำนวณอยู่ในดัชนี DAX 30
ซึ่ง DAX 30 ก็คือ ดัชนีตลาดหุ้นเยอรมัน ซึ่งจะถูกคำนวณจากหุ้นที่ใหญ่ที่สุด 30 บริษัท ของตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ต (Frankfurt Stock Exchange)
สำหรับเรื่องราวในประเทศไทย
สินค้าแบรนด์แรกของ Beiersdorf ที่คนไทยรู้จัก คือ NIVEA
ซึ่งถูกนำเข้ามาในไทยเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1926 หรือประมาณ พ.ศ. 2469
Beiersdorf ได้เข้ามาตั้งสำนักงานในไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2515
และตั้งโรงงานผลิตในนิคมอุตสาหกรรมบางพลี ในปี พ.ศ. 2530
เพื่อเป็นฐานการผลิตสินค้าแบรนด์ NIVEA และ Eucerin สำหรับจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาจนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบัน รายได้ของ Beiersdorf ในประเทศไทย มาจาก 2 บริษัท คือ
บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ (ประเทศไทย) จำกัด โดย Beiersdorf AG เป็นผู้ถือหุ้น 100%
ผลประกอบการ ปี 2019
รายได้ 11,336 ล้านบาท
กำไร 1,211 ล้านบาท
บริษัท เทซ่า เทป (ประเทศไทย) จำกัด โดย Beiersdorf AG เป็นผู้ถือหุ้น 90.57%
ผลประกอบการ ปี 2019
รายได้ 290 ล้านบาท
กำไร 17 ล้านบาท
และทั้งหมดนี้ ก็คือเรื่องราวของ Beiersdorf
บริษัทเก่าแก่สัญชาติเยอรมัน ที่มีอายุมากถึง 138 ปี
บริษัทที่เป็นเจ้าของแบรนด์ดังอย่าง NIVEA และ Eucerin
แบรนด์สกินแคร์ที่ใครหลายคนใช้อยู่เป็นประจำในทุกวันนี้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-Beiersdorf Annual report 2019
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-https://www.beiersdorf.com
-https://www.beiersdorf.co.th/about-us/our-history/local/th/beiersdorf-thailand-history
-https://www.eucerin.co.th/about-eucerin/history
-https://finance.yahoo.com/quote/bei.de/
dax website 在 นักคณิตศาสตร์ประกันภัย - ทอมมี่ แอคชัวรี Actuary Facebook 的最讚貼文
เกิด Inverted Yield Curve ในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ อีก หลังดัชนี PMI ต่ำสุดในรอบ 10 ปี ส่งสัญญาณเตือนเศรษฐกิจชะลอตัว: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้
.
อ้างอิง:
- Infoquest
- Bloomberg
- Investing
- CNBC
.
➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖
🌟 ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ Actuary ได้ที่ 🌟
➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖ ➖
🆔 LINE : www.line.me/R/ti/p/%40abstas19
⏯ YouTube : www.youtube.com/channel/UCAsSvU1-CvAwCqRSd24sKtw
🔅 Twitter : www.twitter.com/ActuaryTommy
🚩 Facebook : นักคณิตศาสตร์ประกันภัย - ทอมมี่ แอคชัวรี Actuary
🌐 Website : www.actuarialbiz.com
.
#นักคณิตศาสตร์ประกันภัย #คณิตศาสตร์ประกันภัย #อาจารย์ทอมมี่ #ทอมมี่แอคชัวรี #Actuary #LoveBattle #Fellow #Fellowship #Associateship #เฟลโล่
UPDATE: เกิด Inverted Yield Curve ในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ อีก หลังดัชนี PMI ต่ำสุดในรอบ 10 ปี ส่งสัญญาณเตือนเศรษฐกิจชะลอตัว: 5 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องรู้ (23 ส.ค. 2562)
.
- ประกาศตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ 1. ตัวเลข Manufacturing PMI เบื้องต้น เดือนสิงหาคม ประกอบด้วย ออสเตรเลีย 51.3 ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่ 51.6, ญี่ปุ่น 49.5 ต่ำกว่าคาดที่ระดับ 49.8 แต่ยังขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 49.4, ฝรั่งเศส 51.0 ดีกว่าคาดที่ 49.5 และขยายตัวจากเดือนก่อนที่ระดับ 49.7, เยอรมนี 43.6 ดีกว่าคาดที่ 43.0 และขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 43.2, ยุโรปโดยรวม 47.0 ดีกว่าคาดที่ 46.3 และขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 46.5 และสหรัฐฯ 49.9 ต่ำกว่าคาดที่ 50.5 และหดตัวจากเดือนก่อนที่ 50.4 ซึ่งเป็นการหดตัวต่ำกว่า 50.0 ครั้งแรก 2. ตัวเลข Service PMI เบื้องต้นเดือนสิงหาคม ประกอบด้วย ออสเตรเลีย 49.2 หดตัวจากเดือนก่อนที่ 52.3, ญี่ปุ่น 53.4 ขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 51.8, ฝรั่งเศส 53.3 ดีกว่าคาดที่ 52.5 และขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 52.6, เยอรมนี 54.4 ดีกว่าคาดที่ 54.1 แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่ 54.5, ยุโรปโดยรวม 53.4 ดีกว่าคาดที่ 53.0 และขยายตัวจากเดือนก่อนที่ 53.2 และสหรัฐฯ 50.9 ต่ำกว่าคาด 52.9 ซึ่งหดตัวจากเดือนก่อนที่ระดับ 53.0
.
- เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น ยกระดับความตึงเครียด โดยวานนี้ คิมยูกึน รองหัวหน้าสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติเกาหลีใต้ ได้ประกาศเตรียมถอนตัวออกจากสนธิสัญญาแบ่งปันข่าวกรองร่วมกับญี่ปุ่น ซึ่งมีการลงนามกันตั้งแต่ปี 2559 โดยมีสหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุน เพื่อร่วมรับมือกับปัญหาความตึงเครียดในน่านน้ำบริเวณ 2 ประเทศ กับคู่กรณีอย่างเกาหลีเหนือและจีน การถอนตัวส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง จากท่าทีการตอบโต้กันไปมาและยังไม่มีท่าทีจะนั่งลงเจรจา ซึ่งกดดันการค้าระหว่าง 2 ประเทศต่อไป
.
- เกิด Inverted Yield Curve อีกครั้ง โดยวานนี้ตลาดตราสารหนี้สหรัฐฯ ส่งสัญญาณความกังวลอีกครั้งจากการเกิด Inverted Yield Curve ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงแนวโน้มการเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ โดยเป็นการเกิดขึ้นครั้งที่ 3 ในรอบ 2 สัปดาห์ จากความกังวลของนักลงทุนที่มีต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ว่าอาจไม่ทันการณ์ ทั้งนี้ตัวเลขดัชนี Manufacturing PMI ล่าสุดของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 49.9 จุด ต่ำกว่าระดับ 50.0 จุด ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจมีโอกาสหดตัวและเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี ขณะที่ดัชนี Services PMI อยู่ที่ระดับ 50.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และเป็นการลดลงต่ำสุดในรอบ 3 เดือน
.
- Brexit ยังไร้ความแน่นอน วานนี้ อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ได้เสนอให้รัฐบาลอังกฤษเตรียมข้อตกลงทางเลือกอื่นเพิ่มเติมไว้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแยกตัวแบบ No-Deal ซึ่งจะส่งผลร้ายแรงต่อเศรษฐกิจอังกฤษ โดยนักลงทุนเชื่อว่าเป็นสัญญาณที่ดีของการเริ่มเจรจาข้อตกลงกับสหภาพยุโรปอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสกล่าวว่า ณ เวลานี้มีเวลาไม่มากพอที่สหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรจะเริ่มต้นการเจรจาข้อตกลงอีกครั้ง ส่งผลให้ประเด็น Backstop ยังหาทางออกไม่ได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างไอร์แลนด์และสราชอาณาจักร รวมไปถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อสหราชอาณาจักร ซึ่งทางยุโรปได้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวไว้แล้ว
.
- ท่ามกลางความคาดหวังลดอัตราดอกเบี้ย คณะกรรมการ Fed ยังสนับสนุนให้คงเอาไว้ โดยวานนี้ แพทริก ฮาร์เกอร์ ประธาน Fed สาขาฟิลาเดลเฟีย, เอสเธอร์ จอร์จ ประธาน Fed สาขาแคนซัส และ โรเบิร์ต แคปแลน ประธาน Fed สาขาดัลลัส ได้ให้ความเห็นต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ว่าควรที่จะยังคงอัตราดอกเบี้ยต่อไป เนื่องจากข้อมูลทางเศรษฐกิจยังบ่งชี้ว่ามีความแข็งแกร่ง และธนาคารกลางควรสนใจเป้าหมายระยะยาวมากกว่าความกังวลของตลาดการเงินในระยะสั้นจากความไม่แน่นอนต่างๆ ความเห็นดังกล่าวสวนทางกับความคาดหวังของนักลงทุนที่ในปัจจุบันคาดว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมเดือนกันยายนที่กำลังจะมาถึงนี้
.
ภาวะตลาดวานนี้
- ตลาดทั่วโลกยังคงผันผวนเล็กน้อย จากการที่นักลงทุนจับตาการแถลงนโยบายการเงินจากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) วันศุกร์นี้ ประกอบกับการเกิดสัญญาณ Inverted Yield Curve ในระยะเวลาสั้นๆ หลังจากที่สหรัฐฯ ประกาศตัวเลข PMI เบื้องต้นของเดือนสิงหาคม โดยทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการต่างออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ ซึ่งต่ำสุดในรอบ 10 ปี ทั้งนี้หากตัวเลขภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 49.9 ซึ่งต่ำกว่า 50.0 บ่งชี้ถึงสัญญาณเศรษฐกิจหดตัวในอนาคต เช่นเดียวกับภาคบริการที่ประกาศออกมาที่ 50.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 53.0 แม้ยังไม่ต่ำกว่า 50.0 แต่การหดตัวครั้งนี้กลับมาอยู่ในระดับเดียวกับเดือนพฤษภาคม ที่สงครามการค้ากลับมารุนแรงอีกครั้ง จากตัวเลขดังกล่าว Fed Fund Futures ล่าสุดเดือนกันยายน ตลาดคาดการณ์ว่า Fed มีโอกาสถึง 93.5% ที่จะลดดอกเบี้ยลงอีก 1 ครั้ง จากวันก่อนหน้าที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 70%
.
ยุโรป
- Euro Stoxx 50 ปิดที่ 3373.67 ลดลง -21.22 (-0.63%)
- DAX ปิดที่ 11747.04 ลดลง -55.81 (-0.47%)
- FTSE 100 ปิดที่ 7128.18 ลดลง -75.79 (-1.05%)
- FTSE MIB ปิดที่ 20816.99 ลดลง -30.08 (-0.14%)
.
เอเชีย
- Nikkei 225 ปิดที่ 20628.01 เพิ่มขึ้น 9.44 (0.05%)
- S&P/ASX 200 ปิดที่ 6501.8 เพิ่มขึ้น 18.5 (0.29%)
- Shanghai ปิดที่ 2883.44 เพิ่มขึ้น 3.11 (0.11%)
- Hang Seng ปิดที่ 26048.72 ลดลง -221.32 (-0.84%)
- SET ปิดที่ 1633.56 ลดลง -4.68 (-0.29%)
- KOSPI ปิดที่ 1951.01 ลดลง -13.64 (-0.69%)
- BSE Sensex ปิดที่ 36472.93 ลดลง -587.44 (-1.59%)
.
อเมริกา
- Dow 30 ปิดที่ 26276.67 เพิ่มขึ้น 73.94 (0.28%)
- S&P 500 ปิดที่ 2925.5 เพิ่มขึ้น 1.07 (0.04%)
- Nasdaq ปิดที่ 8001.25 ลดลง -18.96 (-0.24%)
.
Commodity
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดที่ 55.37 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 0.31 (-0.56%)
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปิดที่ 59.97 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 0.33 (-0.55%)
- ราคาทองคำ ปิดที่ 1508.25 ดอลลาร์/ออนซ์ ลดลง -7.45 (-0.49%)
.
อ้างอิง:
- Infoquest
- Bloomberg
- Investing
- CNBC
.
ติดตามข่าวสารการลงทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://finno.me/dailyupdate
#THESTANDARDxFINNOMENA #News #TheStandardCo