กรณีศึกษา Ben Ali ประธานาธิบดีตูนิเซีย กินรวบประเทศ จนโดนปฏิวัติ /โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า “อาหรับสปริง” การลุกฮือต่อต้านรัฐบาลในช่วงปี 2011 ของกลุ่มประเทศอาหรับ ไล่มาตั้งแต่อียิปต์ ลิเบีย เยเมน บาห์เรน ไปจนถึงการเกิดสงครามกลางเมืองที่ซีเรีย ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจากการปฏิวัติในประเทศเล็ก ๆ ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาที่มีชื่อว่า “ตูนิเซีย”
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การปฏิวัติตูนิเซียนี้
เกิดขึ้นโดยปราศจากผู้นำการปฏิวัติ และไม่ได้มาจากประเด็นทางการเมือง
แต่เป็นเรื่องของการว่างงานและสภาวะเศรษฐกิจที่ผลักดันให้ประชาชนในประเทศรวมตัวกันลุกขึ้นมาปฏิวัติ โดยมีจุดเริ่มต้นจากประธานาธิบดีของตูนิเซียที่มีชื่อว่า Ben Ali
เกิดอะไรขึ้นที่ตูนิเซีย ภายใต้การปกครองของ Ben Ali จนนำไปสู่การปฏิวัติในประเทศ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สาธารณรัฐตูนิเซีย เป็นประเทศอาหรับมุสลิมในแอฟริกาเหนือ ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีขนาดพื้นที่ราว ๆ 160,000 ตารางกิโลเมตร พอ ๆ กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ตูนิเซียมีประชากรเพียง 12 ล้านคน มากกว่า 90% นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี แต่เนื่องจากเคยถูกปกครองโดยฝรั่งเศสมาก่อน ทำให้มีการใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการควบคู่ไปกับภาษาอารบิก
ประกอบกับผู้คนที่มีหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกัน ทำให้วัฒนธรรมจะเป็นการผสมผสานระหว่างอาหรับและยุโรป
ในอดีตประเทศตูนิเซียนั้นถูกปกครองโดยประธานาธิบดี Habib Bourguiba ซึ่งปกครองตูนิเซียมายาวนานตั้งแต่ได้รับอิสรภาพจากฝรั่งเศสในปี 1956
แต่การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ทั้งเศรษฐกิจและสังคมของตูนิเซียกลับเกิดขึ้นหลังจากการมาถึงของชายที่ชื่อว่า Ben Ali
Zine al-Abidine Ben Ali หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Ben Ali
ก่อนที่เขาจะขึ้นเป็นประธานาธิบดีตูนิเซียนั้น เขาเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองมามากมาย
ทั้งหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง เอกอัครราชทูต รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติ รัฐมนตรีมหาดไทย
จนในปี 1987 เขาได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีของตูนิเซีย โดยถือได้ว่าเขาเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลและทรงอำนาจอย่างมากในรัฐบาลตูนิเซีย
ซึ่งในขณะนั้นประธานาธิบดีคนแรก Habib Bourguiba กำลังป่วยหนักและหลายฝ่ายเห็นว่าไม่เหมาะที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป
Ben Ali จึงได้ทำการรัฐประหารโดยสันติและปลด Bourguiba ออกจากตำแหน่ง จากนั้นจึงแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่สองของตูนิเซียในปี 1987
หลังจากที่ Ben Ali ได้ขึ้นมาปกครองประเทศ เขาพยายามที่จะสร้างภาพลักษณ์ให้การบริหารประเทศของเขาเป็นรูปแบบของประชาธิปไตยตามเสียงเรียกร้องของผู้คนในประเทศ
โดยได้ดำเนินการหลากหลายมาตรการ เช่น
- การเปลี่ยนชื่อพรรคการเมืองของตัวเองจาก Neo-Destour Party เป็น Democratic Constitutional Rally
- การเปิดให้ประชาชนสามารถสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้
- การยกเลิกระบบพรรคการเมืองเดียว
- การปล่อยนักโทษทางการเมืองซึ่งได้รับผลกระทบจากการปกครองของประธานาธิบดีคนเก่า
แม้การเลือกตั้งใหม่ในปี 1989 มีขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมในการปกครองประเทศ และพรรคของเขาเองก็ได้ที่นั่งในสภามากกว่า 80% แต่ Ben Ali ก็ได้เริ่มจุดไฟแห่งความขัดแย้งขึ้น
Ben Ali เริ่มการจับกุมแกนนำและนักกิจกรรมของฝ่ายตรงข้ามที่เขามองว่ามีแนวโน้มจะได้รับความนิยมในอนาคต
นอกจากนี้ยังมีรายงานการคุกคามนักกิจกรรมทางการเมืองที่เรียกร้องประชาธิปไตย ทั้งการข่มขู่และทรมานจากภาครัฐ รวมถึงการบังคับให้ลี้ภัยไปต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังมีการแก้กฎหมายเลือกตั้งให้เอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายตนเอง ส่งผลให้การเลือกตั้งที่จัดขึ้นหลังจากนั้น เขาได้รับคะแนนเสียงอย่างถล่มทลาย ไร้คู่แข่งที่จะมาเทียบเคียง
โดยการเลือกตั้งในปี 1999 Ben Ali มีคู่แข่งเพียง 2 คนเท่านั้น และฝ่ายค้านไม่เคยได้ที่นั่งในสภาเกิน 25% เลยแม้แต่ปีเดียว
จนสุดท้ายแล้วตูนิเซียภายใต้การปกครองของ Ben Ali มีลักษณะทางการเมืองแทบไม่ต่างจากยุคของประธานาธิบดีคนก่อน ที่ถูกเรียกว่าเป็นระบอบเผด็จการ
นอกจากการแก้กฎหมายเพื่อความมั่นคงของตำแหน่งทางการเมืองแล้ว
อีกเรื่องหนึ่งที่เขาทำในระหว่างที่อยู่ในอำนาจ คือการเอื้อผลประโยชน์ให้พวกพ้อง
โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่อยู่ในเครือข่ายของเขา
ในฉากหน้านั้น Ben Ali ได้ปรับปรุงระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ทันสมัยขึ้น
ทั้งการแก้กฎระเบียบต่าง ๆ ให้ผ่อนคลายลงจากสมัยอดีตประธานาธิบดีคนเก่า
การปรับโครงสร้างและแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ส่งผลให้ตลอดระยะเวลาที่ Ben Ali อยู่ในอำนาจนั้น ตูนิเซียมีอัตราการเติบโตของ GDP ไม่น้อยกว่า 5% มาโดยตลอด และระบบเศรษฐกิจของตูนิเซียโดดเด่นและเติบโตเร็วกว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน
จนแม้แต่ IMF และธนาคารโลกยังเคยยกย่องให้ตูนิเซียเป็นแบบอย่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
ทว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ไม่ได้ไปถึงประชาชนในประเทศ
แต่กลับตกอยู่ในมือเครือข่ายของ Ben Ali
Ben Ali มีเครือข่ายธุรกิจกระจายตัวอยู่ในทุกภาคส่วนของประเทศ
โดยมีการตรวจพบว่ามีบริษัทกว่า 220 บริษัทที่อยู่ในเครือข่ายดังกล่าว
ซึ่งมีทั้งธุรกิจสายการบิน โทรคมนาคม การขนส่ง การเงินและธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม ร้านอาหารและอื่น ๆ อีกมาก และนาย Ben Ali ก็ได้เอื้อผลประโยชน์ให้กับธุรกิจของตัวเอง โดยการออกกฎหมายเพื่อกีดกันทางการค้า และกำจัดคู่แข่งทางธุรกิจ ส่งผลให้มีการทุจริตคอร์รัปชันโดยเจ้าหน้าที่รัฐกระจายอยู่ทั่วประเทศ
โดยตั้งแต่ปี 1994 นาย Ben Ali ได้ออกกฎระเบียบและข้อบังคับกว่า 25 ฉบับ เพื่อเอื้อผลประโยชน์ต่อเครือข่ายธุรกิจของตน ซึ่งในบางธุรกิจถ้าไม่มีชื่อของเครือข่าย Ben Ali อยู่ในบริษัท ก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
อย่างเช่นกรณีเชนร้านอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง McDonald’s ที่ได้มอบสิทธิ์แฟรนไชส์ให้กับพาร์ตเนอร์ที่ไม่ใช่เครือข่ายของ Ben Ali สุดท้ายแล้วภาครัฐก็ได้ปฏิเสธข้อตกลงดังกล่าว และ McDonald’s ก็ต้องยอมถอยออกจากตลาดไป
หรืออีกกรณีหนึ่งคือการผูกขาดระบบโทรคมนาคมของประเทศ
ราคาค่าบริการโทรระหว่างประเทศที่ผู้บริโภคต้องจ่ายมีราคาสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน 10-20 เท่า
ในขณะที่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก็เป็นรายได้เข้ากระเป๋ากลุ่มบริษัทในเครือข่ายของนาย Ben Ali
จากการออกข้อกฎหมายที่ยากต่อการแข่งขันและทำให้เกิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่งผลให้การเติบโตของภาคเอกชนในประเทศกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มเครือข่ายของนาย Ben Ali
โดยจากรายงานของธนาคารโลกระบุว่า เครือข่ายของนาย Ben Ali ที่มีกว่า 220 บริษัท
มีผลกำไรคิดเป็น 21% ของภาคเอกชนทั้งหมดภายในประเทศ
และมีมูลค่าบริษัทประมาณ 4.22 แสนล้านบาท ซึ่งมากกว่า 1 ใน 4 ของ GDP ประเทศในปี 2010
เมื่อการกระจายความเติบโตของเศรษฐกิจไม่ทั่วถึง
ส่งผลให้ตูนิเซียมีอัตราการว่างงานที่สูงมาก สวนทางกับ GDP ที่เติบโตต่อเนื่อง
บวกกับวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2008 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งการส่งออก ภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว
ทำให้ตูนิเซียมีอัตราการว่างงานของคนวัยหนุ่มสาวสูงถึง 30% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกมีเพียง 15% เท่านั้น
สุดท้ายแล้วเมื่อเศรษฐกิจภายในประเทศถูกผูกขาดด้วยคนบางกลุ่ม ทำให้สินค้าหลายอย่างมีราคาสูง
บวกกับอัตราการว่างงานในประเทศที่ยากเกินกว่าจะแก้ไข ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนจึงเพิ่มมากขึ้นในตูนิเซีย
จนในที่สุดความอดทนของประชาชนในประเทศก็หมดลง..
หนุ่มชาวตูนิเซีย Mohamed Bouazizi อายุ 27 ปี ตัวเขาเรียนไม่จบและต้องออกมาขายผลไม้เพื่อช่วยเหลือครอบครัวตั้งแต่เด็ก ซึ่งเขามักจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกสินบนและริบสินค้าของเขาอยู่หลายครั้ง
จนกระทั่งในวันที่ 17 ธันวาคม 2010 เจ้าหน้าที่ได้ยึดสินค้าและอุปกรณ์ในการค้าขายของเขา โดยอ้างว่าเขาไม่มีใบอนุญาตสำหรับขายผลไม้ในพื้นที่ และมีพยานในเหตุการณ์กล่าวว่าเขายังถูกเจ้าหน้าที่ตบเข้าที่หน้าอีกด้วย
Bouazizi ได้ไปร้องเรียนที่สำนักงานเทศบาลในเมือง Sidi Bouzid แต่กลับไม่มีใครรับฟังข้อร้องเรียนของเขา Bouazizi จึงราดน้ำมันและจุดไฟเผาตัวเองทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเดือนมกราคม ปี 2011
หลังจากการเผาตัวเองของ Bouazizi เรื่องราวของเขาก็แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างเช่น Facebook และ Twitter ซึ่งยากต่อการควบคุมและตรวจสอบโดยภาครัฐ
ทำให้ไม่กี่วันหลังจากนั้นมีผู้คนจำนวนมากที่ได้รับความเดือดร้อนและโกรธแค้นรัฐบาล โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวในขณะนั้น ซึ่งเกือบทั้งชีวิตของพวกเขาเติบโตมาภายใต้การปกครองของ Ben Ali
คนหนุ่มสาวได้ออกมาชุมนุมประท้วงในเมือง Sidi Bouzid จำนวนมากและจากการประท้วงในท้องถิ่น จนกลายเป็นระดับภูมิภาคและแพร่กระจายไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว
Ben Ali ได้ออกประกาศตำหนิผู้ประท้วงและใช้กำลังในการปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
จึงมีภาพการปราบปรามผู้ชุมนุมด้วยความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐถูกเผยแพร่ออกไปในสื่อออนไลน์ทั่วโลก
เมื่อแรงกดดันเพิ่มมากขึ้น สุดท้ายแล้ว Ben Ali จึงได้ประกาศจะไม่ลงเลือกตั้งอีกหลังจากหมดวาระในปี 2014 และจะให้เสรีภาพรวมถึงดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจัง
แต่ตัวเขากลับปฏิเสธว่าตำรวจไม่ได้ยิงใส่ผู้ชุมนุม ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะขัดแย้งกับภาพที่อยู่บนสื่อออนไลน์ ทำให้การชุมนุมแผ่ขยายมากขึ้นไปอีก
Ben Ali ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินและออกคำสั่งให้ทหารใช้ปืนยิงผู้ชุมนุมที่ต่อต้าน แต่ทหารปฏิเสธคำสั่งดังกล่าว เมื่อเห็นว่าตัวเขาไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้อีกต่อไป Ben Ali จึงหนีออกนอกประเทศและลี้ภัยในประเทศซาอุดีอาระเบีย
เมื่อ Ben Ali พ้นจากตำแหน่ง ศาลธรรมนูญวินิจฉัยให้นาย Fouad Mebazaa ประธานรัฐสภาดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดี
นาย Fouad Mebazaa จัดตั้งรัฐบาลโดยแต่งตั้งผู้ที่เคยอยู่ในระบอบเก่า และภักดีกับอดีตประธานาธิบดี Ben Ali เป็นรัฐมนตรีกระทรวงที่สำคัญ
เมื่อรายชื่อคณะรัฐมนตรีประกาศออกมา จึงเกิดความไม่พอใจอย่างมากตามมา ฝ่ายค้านลาออกจากรัฐสภา, เยาวชนหนุ่มสาวออกมาประท้วงอีกครั้ง และเกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่อีกครั้ง ในที่สุด ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีรักษาการชุดนี้ก็ต้องลาออก
การจัดตั้งคณะรัฐบาลรักษาการเกิดขึ้นอีกครั้ง นายกรัฐมนตรีรักษาการคนใหม่สั่งการให้จับกุม, สอบสวน และดำเนินการลงโทษเจ้าหน้าที่พรรคของรัฐบาล ครอบครัวและญาติของอดีตประธานาธิบดี Ben Ali
รวมทั้งดำเนินการยุบพรรคและยึดทรัพย์สินของพรรค ขณะเดียวกันก็ประกาศปล่อยนักโทษการเมือง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในปลายปีนั้นเอง
เรื่องราวทั้งหมดนี้นอกจากจะสะท้อนความล้มเหลวในการบริหารประเทศและการทุจริตคอร์รัปชันจนสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนและนำไปสู่การปฏิวัติแล้ว
ในวันที่ Mohamed Bouazizi จุดไฟเผาตัวเองเพียงคนเดียว
แต่เรื่องราวของเขาบนโลกอินเทอร์เน็ต ก็ได้ปลุกให้ผู้คนทั่วประเทศ
ต่างมารวมตัวกันเพื่อขับไล่รัฐบาล จนบานปลายเป็น “อาหรับสปริง” ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ทั่วโลกกล่าวถึง..
เหตุการณ์นี้ยังเป็นกรณีศึกษาชั้นดี ของอิทธิพลจากสื่อโซเชียลมีเดีย
ยิ่งสื่อเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงผู้คนให้เข้าหากัน ภายในเวลาอันรวดเร็วเท่าไร
ก็ยิ่งทำหน้าที่เผยแพร่ “สิ่งที่พยายามปกปิด” ออกไปสู่สาธารณชน
ในเวลาอันรวดเร็วได้เท่านั้น
ในยุคที่มีคนโจมตีความน่ากลัวของโซเชียลมีเดีย ว่าจะทำให้เกิดข่าวปลอมเผยแพร่ได้โดยง่าย
แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ทำให้ข่าวจริงที่ถูกปิดไว้ ถูกเผยแพร่ได้ง่ายขึ้น เช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.washingtonpost.com/news/monkey-cage/wp/2014/03/27/tunisias-golden-age-of-crony-capitalism/
-https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/17726/WPS6810.pdf?sequence=1&isAllowed=y\
-https://www.aljazeera.com/news/2020/12/17/bread-and-gas-economic-boost-needed-after-arab-spring
-https://www.wider.unu.edu/publication/youth-unemployment-arab-world
-https://www.pewresearch.org/journalism/2012/11/28/role-social-media-arab-uprisings/
-https://www.silpa-mag.com/history/article_55976
-https://www.aljazeera.com/features/2011/1/26/how-tunisias-revolution-began
-https://www.dw.com/en/zine-el-abidine-ben-ali-the-robber-baron-of-tunisia/a-50501648
-https://www.britannica.com/event/Jasmine-Revolution
-https://theconversation.com/ben-ali-the-tunisian-autocrat-who-laid-the-foundations-for-his-demise-124786
-https://www.theatlantic.com/technology/archive/2011/09/so-was-facebook-responsible-for-the-arab-spring-after-all/244314/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「democratic capitalism」的推薦目錄:
democratic capitalism 在 黃之鋒 Joshua Wong Facebook 的精選貼文
#為何香港是新冷戰下的東柏林
https://twitter.com/joshuawongcf/status/1326918252082171904
「若然全球陷入新冷戰,在威權政體和自由世界之間,香港必然就是新柏林。」在上世紀的冷戰,柏林仍是資本主義與共產主義競爭的地域,而香港如今則成為民主與獨裁對抗的重要陣地。毋容置疑,中國共產黨很想擴大其影響力,如以經濟影響力爭取世界同盟靠攏其命令,但我相信越來越多國家將意識其威脅並投入抵抗。
外交專家們已經指出,中美持續的緊張關係,從結構上將改變世界秩序,也說明國際社會描述角力為新冷戰的源起。我想,貿易戰只是一個開始,接下來的信息競賽和科技競爭,反而更為關鍵。即使香港不像上世紀的柏林一樣劃分為四個佔領區,但也被界分分為兩個陣營,支持中共專政和支持自由與民主的政府。
若然香港不能力挽狂瀾,將產生骨牌效應,動搖世界經濟體系的既有秩序,並衝擊本來大家所擁抱的民主信仰。這就說明,香港抗爭並非只限於影響香港人,香港抗爭的未來形勢,在地緣政治的層面,將牽一髮而動全身。
’If we are in the new Cold War, HK is the new Berlin.’’ -- for we are now standing between the free world and the dictatorship of China. I’m not an expert in academic but perhaps the historical context would help us shed light on many similarities.
First of all, during the Cold War, Berlin was the forefront of the two competing ideologies - Capitalism & Communism; ironically, at present, Hong Kong has become the wrestling ground for two ideologies-- Democratic values, liberties versus absolute dictatorship. The communist party is very eager in expanding its influence in the world and setting up satellite states through economic means. The free world is realizing its intention and preparing itself to resist its threat.
Diplomatic experts already pointed out that the ongoing tension between China and US had structurally changed the world order & would eventually escalate into the new Cold War. The trade dispute is only the beginning, there lies the information and technology competition. The development in 2020 has proven so. And Hong Kong is like Berlin, not being physically divided into four occupation zones, but is divided into two opposing ideologies-- the government that supports the dictatorship and those who support freedom and democracy.
However, if HK falls, the domino effect will follow, it will hinder the world’s economy & the beliefs of democracy. That is why we, HKers are not just fighting this uphill battle for our own. The world and we, are all in this together.
.................
💪小額支持我的獨家分析及文章:https://bit.ly/joshuawonghk
╭────────────────╮
╞🌐https://twitter.com/joshuawongcf
╞📷https://www.instagram.com/joshua1013
╞📧joshua@joshuawongcf.com
╞💬https://t.me/joshuawonghk
╰────────────────╯
https://twitter.com/joshuawongcf/status/1326918252082171904
democratic capitalism 在 李怡 Facebook 的最佳貼文
I sincerely hope I am wrong | Lee Yee
I know very little about American issues. In the past, I even thought that no matter which party wins the presidential election, there would be no significant difference under the Constitution and the existing system. However, it is different this time. This US presidential election not only involves the interests of the Americans but also concerns the future political situation of the world, especially for China and Hong Kong.
The state of society tearing as a result of this presidential election is far beyond any from the past, almost to the point of a civil war. As far as the domestic situation in the US is concerned, it is not a dispute between supporting Trump or supporting Biden, but a fight between support for Trump and opposition to Trump. The topics of discussion are 1) epidemic prevention and control measures, 2) violence and disorder due to the Black Lives Matter protests, and 3) economy. Arguments from both standpoints are too numerous to detail and many are reasonable with solid judgment. It is very difficult to explain clearly in this short article. I will only discuss the history and current situation of Sino-US relations.
The most important timeline in the history of the modern relations between China and the US is after WWII during the Chinese Civil War between the Kuomintang (KMT)-led government of the Republic of China and the Communist Party of China (CPC). At that time, the 33rd president of the US and leader of the Democratic Party, Harry S. Truman pursued a policy of appeasement to the CPC and actively advocated negotiations between the KMT and the CPC. During the Chinese Civil War, it was apparent that he was pro-communist and made the communist military stronger. The KMT was defeated for internal reasons but the US inclination was key. After the KMT government retreated to Taiwan, in January 1950, President Truman issued a statement that the US would not intervene with the situation in China and declared that the island groups of Taiwan, Penghu, Kinmen, Matsu and some minor islands were not within the scope of the US military. The US Democratic Party allowed mainland China to fall into the hands of the Chinese Communist Party (CCP). Later, Chiang Kai-shek commissioned General Ho Shai-lai to Tokyo to meet with Douglas MacArthur, the American general who administered postwar Japan during the Allied occupation and oversaw the occupation, rebuilding and democratization of Japan. The visit aimed to win the support of General MacArthur and was ultimately able to save Taiwan.
Another important page in the history of the Sino-US relations was the diplomatic breakthrough of Republican US President Richard Nixon in 1971. A military conflict broke out in the previous year at the border of China and the then Soviet Union. The Soviet Union intended to deploy nuclear weapons to perform a so-called “surgical removal operation” on China’s nuclear base. However, it was halted when it probed the US for reactions. The US stated that if the Soviet Union employed nuclear weapons, it would undoubtedly challenge the US nuclear balance policy. After that, when the US collaborated with China to strategically deal with the superpower Soviet Union, the US did not abandon Taiwan. Not until 1979 when Jimmy Carter, the 39th president of the US and a democrat, established diplomatic relations with the CCP that the US severed ties with Taiwan. The incident triggered a global trend to set up diplomatic relations with the CCP, which enabled the CCP to steady a firm holding in the international community.
The third important aspect in the history of the Sino-US relations was in 2000, under Bill Clinton’s administration, China was given entry into the WTO (World Trade Organization) and granted a most favored nation (MFN) status. Since then, it developed its foothold as an international manufacturer in the global market. Furthermore, its economy took off through intellectual property theft, failure to commit to the promise of its 2001 accession to the WTO and market dominance by means of authoritarian capitalism. As China’s economic development fully penetrates into the Western world, on the one hand, it takes advantage of the multinational companies invested in China to control the capital markets of the US and the West. On the other hand, it invests heavily in its grand propaganda to control overseas Chinese media and even Western mainstream media.
Every election candidate receives donations from multinational companies. Not to mention 90% of the mainstream media in the US are owned or operated by these Democratic Party’s donors. Therefore, they turn a blind eye to the elephant in the room and injudiciously embrace the CCP regime that has infiltrated the American society and continuously infringed on human rights at home. In addition to the interest considerations, the media of course also has the leftist ideology permeated in Western academia and journalism. I will elaborate on this topic at another time.
Finally, there is Trump who is not swayed by the donors of multinational corporations because he himself does not lack money nor is he afraid to offend most of the leftist media. He sometimes speaks without thinking but he never seeks the so-called “political correctness,” and basically does what he says he would. People who stand on the moral high ground with the spirit of great love would shake their heads upon his words and actions. Regardless, only a person like Trump can start to contain the power that infiltrated the US and the Western world, and support the democracy of Taiwan and Hong Kong’s campaign for autonomy.
Currently, anti-China is the general social conscience in the US. Biden’s China policy seems to align with that of Trump’s. Biden even defined the CCP’s handling of Xinjiang as an “ethnic genocide.” However, is there really no difference between the two parties? Recall that when Clinton was running for the presidency, he said that he opposed the Republican government’s annual review of the US MFN status for China. He believed it should not be granted but after he took office, he made China’s MFN status permanent and sent China to the WTO.
As the Democratic Party controls Wall Street and mainstream media, I am not optimistic about Trump in this election. Even so, I really hope from my brain to my heart that I am wrong.
democratic capitalism 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳貼文
democratic capitalism 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
democratic capitalism 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
democratic capitalism 在 Democratic Capitalism's Future - Democracy Journal 的相關結果
Democratic capitalism succeeded because capitalists were on board with—and at times, worked to improve—our democracy. This stands in stark contrast to ... ... <看更多>
democratic capitalism 在 The Crisis of Democratic Capitalism - Institute for New ... 的相關結果
The Crisis of Democratic Capitalism ... In a liberal democracy — a democracy characterised by individual civil rights, the rule of law and respect ... ... <看更多>
democratic capitalism 在 The Spirit of Democratic Capitalism - Wikipedia 的相關結果
Novak defines democratic capitalism as a pluralistic social system that contrasts with the unitary state of the traditional society and the modern socialist ... ... <看更多>