กรณีศึกษา BBIK กับการเป็น IPO คอนซัลต์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันตัวแรกของไทย
Bluebik x ลงทุนแมน
ถ้าถามว่าปัจจัยที่ 5 ในการดำเนินชีวิตยุคนี้คืออะไร
หนึ่งคำตอบของใครหลายคนก็คือ เทคโนโลยีดิจิทัล
ปัจจุบันคนไทย 70% ของประเทศกำลังใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยเกือบ 9 ชั่วโมงต่อวัน
สูงเป็นอันดับที่ 9 ของโลก
ผลที่ตามมาคือ ฐานข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เรียกว่า Big Data
รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ
ทำให้ผู้ประกอบการหลากหลายอุตสาหกรรมต่างต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อตามทันโลกดิจิทัล
เรื่องนี้กำลังเป็นโอกาสทางธุรกิจครั้งใหญ่ของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัล
หนึ่งในนั้นคือ Bluebik องค์กรเล็ก ๆ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรขนาดใหญ่ใน SET 100 และ SET 50
เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, กลุ่มธุรกิจประกัน, กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มสื่อสาร
เพื่อช่วยให้สามารถแข่งขันได้ และผลักดันให้เกิดการเติบโตในระยะยาวได้
โดยล่าสุด Bluebik กำลังจะ IPO ในชื่อ BBIK (อ่านว่า บี-บิก) ในตลาดหลักทรัพย์ MAI
ซึ่งจะกลายเป็น บริษัทที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ตัวแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อีกด้วย
ความน่าสนใจของธุรกิจนี้ จะเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Digital Transformation เป็นอีกหนึ่งคำคุ้นหูในช่วงเวลานี้
ซึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงองค์กรแบบพลิกโฉมด้วยเทคโนโลยี เพื่อเข้าสู่โลกดิจิทัล
หลายองค์กรมักจะจ้างที่ปรึกษาหรือ Consulting Firm เข้ามาช่วยดูแล
ซึ่งก็แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ
- ที่ปรึกษาด้านการวางกลยุทธ์ในระดับผู้บริหารหรือ C-Level
ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่ปรึกษามีชื่อเสียงระดับโลก เช่น McKinsey, BCG
มักจะมีค่าใช้จ่ายสูง เน้นบริการด้านกลยุทธ์ แต่อาจจะขาดการให้คำปรึกษาด้านการดำเนินการ
- ที่ปรึกษาด้านการดำเนินการ ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจสัญชาติไทย
ที่มีความเชี่ยวชาญในงานระบบเฉพาะด้านตามความต้องการของลูกค้า
แต่ปัญหาก็คือ มักจะขาดความเชี่ยวชาญด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์
สังเกตไหมว่าตลาด Consulting Firm กำลังมีช่องว่างที่น่าสนใจเกิดขึ้น
และนั่นจึงเป็นที่มาของ Bluebik หรือก็คือ บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ธุรกิจที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ครบวงจร ที่มีบริการ 5 ด้าน ตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำเรียกว่า End-to-End Consulting Firm เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
แล้วบริการ 5 ด้านแบบ End-to-End Consulting Firm ของ Bluebik น่าสนใจอย่างไร ?
1. ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการจัดการ หรือ Management Consulting
เช่น กำหนดทิศทางกลยุทธ์ธุรกิจ, ค้นหาปัจจัยความสำเร็จทางธุรกิจ, กลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่ม
2. ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการโครงการเชิงยุทธศาสตร์ หรือ Strategic PMO
เช่น บริหารโครงการขนาดใหญ่, วางโครงสร้างระบบไอทีภายในองค์กร
3. ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบดิจิทัลและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี หรือ Digital Excellence and Delivery
เช่น การออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้งานและส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้กับระบบ (UX/UI) บนหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน
4. ที่ปรึกษาด้านการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ Big Data & Advanced Analytics เช่น การวางโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้วย AI
5. ให้บริการทรัพยากรบุคคลชั่วคราวด้านไอที หรือ IT Staff Augmentation เช่น พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีอย่างโปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
พูดง่าย ๆ ว่า Bluebik มีบริการครบถ้วนที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่โลกดิจิทัลได้ทุกรูปแบบ
สะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพตัวจริงในวงการที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation นั่นเอง
ที่สำคัญไม่เพียงจะมี “รูปแบบบริการ” ครบถ้วนทุกขั้นตอนตอบโจทย์ยุค Digital Economy
แต่ Bluebik ยังมี “บุคลากรทำงาน” ที่เป็นตัวจริงในวงการธุรกิจ อีกด้วย
เราจึงเห็น “บอร์ดบริหาร” ล้วนเป็นแนวหน้าหลากหลายธุรกิจชั้นนำของประเทศไทย เช่น
- คุณธนา เธียรอัจฉริยะ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทในเครือ SCB 10X
- คุณครรชิต บุนะจินดา ซึ่งเป็นกรรมการธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เซ็นทรัล, โรบินสัน
- คุณชลากรณ์ ปัญญาโฉม ซึ่งเป็นกรรมการธุรกิจสายงานดิจิทัลทีวีชั้นนำ เวิร์คพอยท์
- คุณวศิษฐ์ กาญจนหัตถกิจ ซึ่งมีประสบการณ์ด้านธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ศรีสวัสดิ์
- คุณพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจสื่อมากกว่า 20 ปี
รวมทั้ง “ทีมผู้บริหารและพนักงาน” ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง อายุน้อย แต่มากประสบการณ์
จากธุรกิจที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกกว่า 100 คนมารวมกัน
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจให้กับลูกค้าได้
จึงไม่แปลกใจที่กลุ่มลูกค้า Bluebik ล้วนเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ใน SET 100 และ SET 50
เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, กลุ่มธุรกิจประกัน, กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มสื่อสาร
โดยล่าสุด Bluebik ยังได้ร่วมทุนกับ OR ในเครือธุรกิจ ปตท.
จัดตั้งธุรกิจ ORBIT Digital ที่มีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท
โดยมีสัดส่วนหุ้น Bluebik : OR เท่ากับ 60:40
เป้าหมายก็เพื่อก้าวทันโลก ต่อยอดธุรกิจที่จะสร้างรายได้เติบโตในยุค Digital Economy อีกด้วย
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า Bluebik เป็นอีกหนึ่งดวงดาวจรัสแสง
ที่ครบถ้วนด้วยบริการเต็มรูปแบบ พร้อมด้วยบุคลากรทำงานคุณภาพ
และกำลังเดินเคียงข้างองค์กรธุรกิจชั้นนำของประเทศไทยสู่ Digital Transformation
แล้วผลประกอบการ Bluebik เป็นอย่างไร ?
ปี 2561 รายได้รวม 133 ล้านบาท กำไรสุทธิ 19 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้รวม 185 ล้านบาท กำไรสุทธิ 32 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้รวม 201 ล้านบาท กำไรสุทธิ 44 ล้านบาท
ส่วนในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีรายได้จากการขายและบริการ 126.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.47% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และกำไรสุทธิ 30.06 ล้านบาท คิดเป็นอัตราทำกำไรสุทธิที่ 23.67%
จะเห็นได้ว่า Bluebik มีรายได้และกำไรสุทธิเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังมีงานในมือ (Backlog) 161 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้รายได้ภายใน 1-2 ปีนี้
ทั้งนี้ ยังไม่ได้นับรวมรายได้ที่จะมาจาก ORBIT Digital จากการร่วมมือกับ OR อีกด้วย
มาถึงตรงนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เรากำลังเดินทางเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ
รู้หรือไม่ว่า ตลาด Digital Transformation ในประเทศไทยปี 2564
ถูกคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่า 280,000 ล้านบาท และจะขยายตัวเป็น 442,000 ล้านบาทในอีก 4 ปีข้างหน้า
ภายใต้เทรนด์ Digital Transformation ที่กำลังเปลี่ยนโลกนี้เอง
เราจะได้เห็น Bluebik หรือ BBIK หุ้นที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ตัวแรกของประเทศไทย จะนำพาธุรกิจก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ด้วยจุดเด่นด้านบริการ End-to-End Consulting Firm และทีมบุคลากรคุณภาพระดับผู้บริหาร และระดับบุคลากรทำงาน
ซึ่งโอกาสเติบโตของ Bluebik หรือ BBIK หุ้นที่กำลังจะ IPO ในครั้งนี้ อาจจะกลายมาเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ ในตลาด Consulting Firm ระดับโลก ด้าน Digital Transformation ก็เป็นได้..
คำเตือน: บทความนี้ไม่ได้เป็นการชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นนี้แต่อย่างใด การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
Reference
- บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
「digital transformation mckinsey」的推薦目錄:
- 關於digital transformation mckinsey 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於digital transformation mckinsey 在 อ้ายจง Facebook 的最讚貼文
- 關於digital transformation mckinsey 在 McKinsey Taiwan Facebook 的最佳解答
- 關於digital transformation mckinsey 在 Is your digital transformation simply... - McKinsey & Company 的評價
- 關於digital transformation mckinsey 在 How McKinsey's 7S Model Can Enable Successful Digital 的評價
digital transformation mckinsey 在 อ้ายจง Facebook 的最讚貼文
เล่าเรื่องเมืองจีน ตอน สรุปเศรษฐกิจและตลาดจีนก่อนและหลังโควิดแบบพอสังเขป
.
ก่อนโควิด จีนยังคงเน้นการลงทุนในต่างประเทศ อย่างยิ่งในแถบทวีปแอฟริกา
.
Average annual outbound direct investment หรือ การลงทุนในต่างประเทศในแต่ละปีโดยเฉลี่ย ตั้งแต่ปี 1982 -2001 อยู่ที่ประมาณ 1.73พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดถึง 43.3เท่า ไปอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 7.5หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ปี 2002 -2018
.
เฉพาะในปี2018 การลงทุนในอุตสาหกรรมบริการของจีนในต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่า 8.42หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการลงทุนในต่างประเทศทั้งหมดของจีนในปีนั้น ประมาณ 1.29แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (เติบโตจากปีก่อนหน้า ประมาณ 4.2%) เรียกได้ว่า อุตสาหกรรมบริการ ครองสัดส่วนการลงทุนต่างประเทศของจีนมากที่สุด
.
การลงทุนในต่างประเทศของจีน จะชะงักเล็กน้อยในปี2019 ตามข้อมูลที่เพิ่งเผยแพร่โดยกระทรวงพาณิชย์จีน โดยการลงทุนโดยตรงของจีนในต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาคการเงิน (non-Financial ODI) ลดลง 6% เมื่อเทียบกับ 2018
.
สำหรับไทย ปี 2019 เป็นปีที่จีนก้าวมาแทนที่ประเทศญี่ปุ่น ที่ครองตำแหน่งนักลงทุนเบอร์1ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกใต้มาอย่างยาวนานราว5ทศวรรษ โดยข้อเสนอการลงทุนในไทยจากจีน คิดเป็นมูลค่า 2.62 แสนล้านบาท ซึ่งมากกว่า 50%ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด สำหรับญี่ปุ่นแชมป์เก่า ลงทุนมูลค่า 7.31หมื่นล้านบาท ตามมาด้วยฮ่องกง 3.63หมื่นล้านบาท
.
แต่ตั้งแต่จีนทำสงครามการค้าจีนอเมริกา การลงทุนและเม็ดเงินที่เกิดขึ้นจากการทำการค้าระหว่างประเทศของจีน มีการชะลอตัวและกลายเป็นแผลเรื้อรังมาจวบจนตอนนี้หลังจากทำสงครามการค้ากับอเมริกา มีการตั้งกำแพงภาษีของทั้งสองฝ่าย แม้จีนจะพยายามแสดงท่าทีออกมาว่า “ไม่มีปัญหา” แต่ต้องยอมรับว่า จีนเจ็บหนักทีเดียว
.
เมื่อเกิดสงครามการค้าจีนอเมริกา จีนเลยถือโอกาสพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ลุยเน้นเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ทั้งเร่งดำเนินนโยบาย Made in China 2025 สร้างเทคโนโลยีนวัตกรรมจีน เพื่อใช้ภายในประเทศและส่งออก ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของประเทศอื่นเป็นหลักดังเช่นอดีต โดยเฉพาะการพึ่งพาทางฝั่งอเมริกาและตะวันตก
.
ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ การยกเว้นและลดอัตราภาษีสำหรับธุรกิจผลิตชิป เพื่อกระตุ้นให้ผู้ผลิตจีน ทำชิปออกมาให้ทัดเทียมประเทศอื่น จะได้นำมาใช้ในสินค้าประเภทไอที อิเล็กทรอนิกส์ อย่างกรณี Huawei
.
“ดิจิทัล” มีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีน จีนเน้นลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะปัญญาประดิษฐ์ 5G (เริ่มวิจัย 6G แล้ว และวางเป้าใช้เชิงพาณิชย์ภายในปี 2030) หรือแม้แต่สกุลเงินดิจิทัล ก็เป็นสิ่งที่จีนโฟกัส การเติบโตของดิจิทัลในจีน ทำให้เมื่อจีนเจอกับโควิด เลยเป็นตัวกระตุ้นให้ Digital transformation เกิดขึ้นได้ไว ทุกภาคส่วนยินดีเต็มใจต้อนรับ Digital Transformation เกิดขึ้นกับพวกเขา
.
อย่างที่อ้ายจงเคยเล่าไปแล้วเมื่อก่อนหน้านี้เกี่ยวกับตลาด Luxury จีน การบริโภคสินค้าหรูในจีนช่วงโควิด ปี 2020 สร้างเม็ดเงิน 1.41 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
.
ตามข้อมูลจาก McKinsey เติบโตจากปีก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนหน้าร้านสินค้าแบรนด์เนมไปสู่บนโลกออนไลน์ และใช้ Livestreaming เป็นช่องทางการขายสำคัญ โดยสามารถกล่าวได้ว่า ช่วงระบาดหนักของโควิด มีตลาดจีนเพียงแห่งเดียวในโลก ที่ยังคงสร้างรายได้ให้กับสินค้าแบรนด์เนม ขณะที่ทั่วทั้งโลก ยิ่งในโซนยุโรปและสหรัฐอเมริกา ตลาดหรูซบเซา ด้วยผลกระทบจากโควิด
.
และเมื่อจีนเจอกับการแพร่ระบาดโควิดตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (2020) แน่นอนว่า การแพร่ระบาดโควิดส่งผลกระทบต่อประเทศจีน รวมถึงประเทศอื่นๆ (ไทยเองก็เช่นกัน)
.
สำหรับประเทศจีน ที่เห็นชัดเจนเลยคือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและนำเข้าส่งออก ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก แต่ ณ ปัจจุบัน เริ่มฟื้นตัว โดยมีการเปลี่ยนโมเดลธุรกิจเล็กน้อยจนถึงเปลี่ยนมาก
.
อย่างเช่น ธุรกิจท่องเที่ยว เน้นเที่ยวในประเทศเป็นหลัก ก่อให้เกิดสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆขึ้น และเกิดรูปแบบการเที่ยวแบบใหม่ในจีนที่มุ่งเน้นตามเขตเมืองชนบท ตามธรรมชาติ เริ่มมองสิ่งที่บ้านตนเองมีมากขึ้น เนื่องจากออกนอกประเทศไม่ได้
.
ธุรกิจนำเข้าส่งออก หรือผู้ผลิตสินค้า ก็เน้นผู้บริโภคในประเทศมากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส
.
คือนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดโควิด ทางการจีนมีการสื่อสารออกมาต่อประชาชนใน feel “สร้างความรักชาติมากขึ้น” คนจีนซึ่งให้ความสำคัญต่อการรักชาติ หรือชาตินิยมแบบแรงมากอยู่แล้ว เลยยิ่งเพิ่มระดับทวีคูณ มีผลโดยตรงจากการวางกลยุทธ์สื่อสารของรัฐบาลจีน เลยผลักดัน Demand การบริโภคให้เป็นแบบ บริโภคแบรนด์ในประเทศ แบรนด์ของจีน (Local brand) มากขึ้น เป็นการบริโภคแบบชาตินิยม
.
ข้อมูลล่าสุดจากการสำรวจของ Global Times สื่อกระบอกเสียงทางการจีน เมื่อเดือนมีนาคม 2021 ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็น “ผู้บริโภคชาวจีนพึงพอใจในการบริโภคสินค้า Local Brand มากขึ้น” แต่ รถยนต์ และ สินค้าความสวยความงาม-สกินแคร์ ยังคงพอใจ Foreign Brand มากกว่า Local
.
ทั้งนี้ ถ้าจะให้ผมยกประเภทธุรกิจอะไรสักอย่างเป็นหนึ่งในธุรกิจจีนที่เติบโตในยุคโควิด ผมขอยกให้ "ค้าปลีกออนไลน์"
ถือว่าเติบโตเป็นอย่างมากนะ สืบเนื่องมาตั้งแต่ก่อนโควิด ดูได้จากมูลค่าค้าปลีกออนไลน์เติบโตจาก 4.61 แสนล้านหยวน ในปี 2010 ใช้เวลาเพียง 10 ปี ทะลุหลัก10 ล้านล้านหยวน เมื่อปี 2020 ซึ่งการค้าปลีกออนไลน์แบบข้ามพรมแดน หรือ Cross Border E-commerce ถือว่าเป็นไฮไลท์ที่สร้างเม็ดเงินต่อการค้าออนไลน์จีนเป็นอย่างมาก เพิ่มขึ้นกว่า 31% สร้างมูลค่า 1.69 ล้านล้านหยวน แม้ปี 2020 จีนเจอโควิดกระทบหนัก
.
การค้าปลีกออนไลน์ หรือ E-commerce จีน ไม่ได้กระจุกอยู่ในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ของจีนอีกต่อไป แต่หลายปีมานี้ เมืองชั้นรอง Tier 3 และ Tier 4 กลายมาเป็นฐานหลักที่บริโภค จับจ่ายใช้สอยแบบออนไลน์
.
อย่างไรก็ตาม จีนยังคงมีงานต้องแก้ไขอีกเยอะในเรื่องของเศรษฐกิจ อย่างยิ่งการ "Balance" ระหว่างมาตรการการป้องกันและควบคุมโควิดอย่างเข้มงวด จนส่งผลต่อเศรษฐกิจจีนอยู่ไม่น้อย เพราะแม้จีนจะกลับมาเน้นการบริโภคอุปโภค หรือการสร้างเม็ดเงินแบบจีนทำจีนใช้ แต่นอกจีนก็ส่งผลต่อจีนอยู่มาก เป็นงานที่จีนกำลังวางแผนว่าจะจัดสมดุลอย่างไร เมื่อโควิดก็ต้องป้องกัน เศรษฐกิจก็ต้องรักษาบาดแผลที่มี (และมีมานาน ไม่ใช่เพิ่งมีตอนโควิด) และฟื้นฟูตนเองให้ผงาดเป็นมหาอำนาจโลกอย่างที่วาดหวังไว้
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
digital transformation mckinsey 在 McKinsey Taiwan Facebook 的最佳解答
We're very pleased to share this article published today in Commonwealth Magazine. This feature article offers a close-up, behind-the-scenes profile of the work we are doing at McKinsey Taiwan to help our clients undertake comprehensive, multi-year digital transformations for their businesses.
It tells of the major changes that McKinsey Taiwan has undertaken to become a true partner with its clients in the transformation of their businesses, and the enormous bottom-line impact as reflected in increased profits and boosted market valuation that our work is helping them to create.
It also discusses some of the less tangible but no less important ways we are having impact by helping our clients to create lasting and positive change in their organizations. We work hand-in-hand with our clients to drive innovation throughout all levels, from the CEO to frontline staff, of their organization. We provide extensive hands-on training and coaching in addition to the rigorous problem-solving and project management that are part and parcel of the way we help our clients achieve impact.
The article also tells the story of how Albert Chang, Senior Partner and Managing Partner of McKinsey Taipei, moved from the US to Taiwan several years ago because of his firm belief in the potential for Taiwan to become a global leader in the digitization of its economy, his confidence in the potential of Taiwan's deep pool of highly educated, hard-working talent, and, as the son of Taiwanese immigrants to the United States, his appreciation for his heritage.
Covid-19 has affected all of us in one way or another. We are grateful to our clients above all for the trust they have placed in us as performance partners in their business. We also appreciate the hard work that everyone at McKinsey Taiwan has put into making sure we continue to deliver impact to our clients with the utmost of professionalism.
And finally, thank you to the gifted writers and editors at Commonwealth for helping to tell our story.
digital transformation mckinsey 在 How McKinsey's 7S Model Can Enable Successful Digital 的推薦與評價
... <看更多>
digital transformation mckinsey 在 Is your digital transformation simply... - McKinsey & Company 的推薦與評價
... <看更多>