กรณีศึกษา Gmail ยอมขาดทุน เพื่อใหญ่กว่าเดิม /โดย ลงทุนแมน
ในหนึ่งวัน มนุษย์รับส่งอีเมลกัน 293,000 ล้านฉบับ
หรือเฉลี่ย 38 ฉบับต่อคน
ธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มอีเมล จึงมีความสำคัญต่อโลกในยุคนี้เป็นอย่างมาก
ถ้าถามว่า คนใช้อีเมลอะไรมากที่สุด
เมื่อ 20 ปีที่แล้ว คงจะเป็น Hotmail ของ Microsoft
แต่ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่หันมาใช้ “Gmail” ของ Google กันแทน
เพราะอะไร Gmail ถึงแย่งส่วนแบ่งตลาดมาจาก Hotmail ได้สำเร็จ
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
Google เริ่มศึกษาธุรกิจอีเมลมาตั้งแต่ปี 1999
ซึ่งขณะนั้น ผู้นำตลาดคือ Hotmail ของ Microsoft มีสมาชิกอยู่ราว 30 ล้านบัญชี
ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน 2004 Google ก็ได้เปิดตัวบริการอีเมลฟรี ชื่อว่า “Gmail”
ตอนแรกผู้คนต่างคิดว่าเป็นเรื่องโกหกฉลองวัน April Fool’s Day
เพราะสิ่งที่ Google นำเสนอ มันดูน่าเหลือเชื่อมากสำหรับยุคนั้น
โดย Gmail ให้พื้นที่เก็บข้อมูลถึง 1,000 MB หรือ 1 GB
สูงกว่าผู้เล่นรายอื่นที่ให้แค่ประมาณ 4 MB
ทำให้สมาชิกไม่ต้องคอยลบอีเมลอยู่บ่อยครั้ง
ถือว่าแก้ปัญหา pain point ของคนที่ใช้อีเมลในยุคนั้นได้อย่างดี
นอกจากนี้ Gmail ยังได้มุ่งเน้นพัฒนาระบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้อีเมล
ไม่ว่าจะเป็น การใช้ฟีเจอร์คล้ายเว็บไซต์ Google ค้นหาข้อมูลภายในอีเมลได้ละเอียด
จากเดิมที่เราค้นหาอีเมลยาก
มาตอนนี้เราสามารถหาอีเมลด้วยระบบ algorithm ที่ฉลาดของ Google
และการพัฒนาต่อมาก็คือ การเชื่อมต่อเข้ากับแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Google Drive ช่วยให้รับส่งไฟล์ และทำงานสะดวกขึ้น
จนในปัจจุบัน Google ได้เริ่มใช้ Machine Learning ของ AI มาคาดเดาประโยคที่เรากำลังจะพิมพ์เลยทีเดียว
ด้วยคุณภาพของแพลตฟอร์ม ที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้อีเมล
จึงทำให้ Gmail ได้รับความนิยม จนมีจำนวนสมาชิกแซงหน้า Hotmail และครองส่วนแบ่งตลาดในที่สุด
ปี 2011
Gmail มีสมาชิก 220 ล้านบัญชี
Hotmail มีสมาชิก 360 ล้านบัญชี
ปี 2019
Gmail มีสมาชิก 1,500 ล้านบัญชี
Outlook (แพลตฟอร์มใหม่แทนที่ Hotmail) มีสมาชิก 400 ล้านบัญชี
อ่านถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะสงสัย
ว่าทำไม Microsoft ถึงไม่พัฒนาฟีเจอร์ของ Hotmail ให้เป็นเช่นนั้น ทั้งที่บริษัทก็มีทรัพยากรมากมายที่จะมาแข่งขันกับ Google
คำตอบคือ 2 บริษัทนี้ ใช้กลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจอีเมลแตกต่างกัน
ธุรกิจ Hotmail สามารถสร้างรายได้ให้ตัวเอง
โดยเงินที่ใช้พัฒนาธุรกิจ ก็จะมาจากค่าโฆษณาบนหน้าแพลตฟอร์มของ Hotmail
แต่ Google สร้าง Gmail ให้เป็นส่วนหนึ่งของภาพใหญ่
ไม่ได้ให้ Gmail หารายได้โดยตรง
Google เก็บข้อมูลผู้ใช้อีเมล แล้วนำไปวิเคราะห์เพื่อการโฆษณาบนที่อื่น เช่น Search Engine ของตนเอง
เพราะพวกเขามองว่า คนจะกดดูโฆษณาตอนค้นหาข้อมูล มากกว่าตอนเช็กอีเมล
ดังนั้น Gmail จะสร้างมูลค่าเพิ่มต่อแพลตฟอร์มหลักของบริษัท มากกว่าตัวมันเอง
ทำให้ Google พัฒนา Gmail ได้เต็มที่ ทั้งให้เนื้อที่จำนวนมาก และไม่มีโฆษณา โดยไม่ถูกจำกัดว่าผลิตภัณฑ์นี้จะขาดทุนหรือไม่ เพราะบริษัทมีรายได้จากค่าโฆษณาใน Search Engine มหาศาลอยู่แล้ว
และถึงแม้ต่อมา คู่แข่งรายอื่นจะเสนอฟีเจอร์ต่างๆ ขึ้นมาทัดเทียมกัน ก็ไม่อาจดึงดูดคนไปจาก Gmail ได้ เพราะคนคุ้นชิน และไม่มีเหตุผลจูงใจมากพอในการเปลี่ยนไปอีกแพลตฟอร์มหนึ่ง
ในทางทฤษฎี เราสามารถสมัครอีเมลใหม่ได้ทุกเมื่อ
แต่ในทางปฏิบัติ เราคงไม่ได้เปลี่ยนอีเมลกันบ่อยๆ เพราะเราได้ใช้มันเป็นบัญชีในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นมากมายไปแล้ว ทำให้ธุรกิจนี้มี Barriers to Entry อยู่พอสมควร
ในขณะที่คู่แข่งรายอื่นก็ไม่สามารถยอมขาดทุนได้แบบ Google เพราะเขาเหล่านั้นไม่มีแพลตฟอร์มหลักในการหารายได้
อย่างไรก็ตาม การเก็บข้อมูลส่วนตัวจากอีเมล ส่งผลให้เกิดประเด็นถกเถียงด้านความเหมาะสม
จนเมื่อปี 2017 นั้น Google ก็ได้ประกาศยุติใช้ข้อมูลจาก Gmail มาวิเคราะห์เพื่อการโฆษณา
ในตอนนี้ Google จึงเน้นให้ Gmail เป็นหน้า portal นำไปสู่การใช้ผลิตภัณฑ์อื่นของ Google เช่น การซื้อเนื้อที่เพิ่มจาก Google Drive หรือ การใช้ Docs, Sheets, Slides และในช่วงหลังรายได้จากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ที่เรียกว่า Cloud ก็เติบโตได้ดีเช่นกัน
จากเรื่องนี้ ทำให้เห็นว่า
ในบางครั้ง มูลค่าเชิงธุรกิจของผลิตภัณฑ์
ไม่ได้อยู่ที่ว่า ตัวมันเอง สร้างผลตอบแทนเป็นตัวเงินเท่าไหร่
แต่มูลค่าที่แท้จริงอาจซ่อนอยู่ ซึ่งสร้างประโยชน์ในภาพรวมให้เราได้มากกว่า
แนวคิดนี้ Google ยังนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์อื่น ไม่ใช่เฉพาะ Gmail
ตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดก็คือ Google Maps
เคยสงสัยไหม ว่าเราใช้แผนที่ของ Google ฟรี แล้ว Google ได้อะไร
คำตอบคือ Google ไม่มีรายได้โดยตรง
แต่มูลค่ามหาศาลที่ซ่อนอยู่ก็คือ
ข้อมูลว่าเราไปไหนบ้างในแต่ละวัน
ถ้าวันนี้มีบางอย่างที่ตัวเรารู้สึกว่า เราทำไปแล้วไม่ได้อะไร
ลองคิดดูดีๆ
สิ่งนั้นมันอาจจะมีประโยชน์ต่อเราในภาพรวมก็เป็นได้
ยอมขาดทุนสิ่งหนึ่ง เพื่อสิ่งใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-https://www.express.co.uk/…/Gmail-account-Google-app-Micros…
-https://www.cnbc.com/…/how-gmail-and-google-beat-yahoo-and-…
-https://en.wikipedia.org/wiki/Gmail
-https://finance.yahoo.com/quote/GOOG/
-https://www.lifewire.com/how-many-emails-are-sent-every-day…
-https://variety.com/…/n…/google-gmail-ads-emails-1202477321/
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過75萬的網紅เสกสรร ปั้น Youtube,也在其Youtube影片中提到,https://sekyoutube.com/ จะเกิดอะไรขึ้นกับช่องยูทูปเด็ก เมื่อเจอกฎใหม่ FTC ช่องเด็กจะสามารถหารายได้ได้ต่อไปไหม เนื่องจากยูทูปได้ทำผิดกฎของคณะกรรมาธิกา...
google ads machine learning 在 Dek Jew Chill Out Facebook 的最佳解答
เกิดอะไรขึ้นกับ YouTube ช่องเด็ก❓
หรือว่ามาถึงทางตันของสายเด็กบน YouTube แล้ว⁉️
วันนี้ขอมาเขียนยาวๆ อธิบายให้คนที่ได้รับผลกระทบตรงนี้เข้าใจ หรืออาจไม่ได้รับผลกระทบแต่อยากรู้ก็อ่านได้นะคะ 😉
หลายคนคงเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงบน YouTube ตั้งแต่วันที่ 11/11 ที่ผ่านมา "ทุกคน" ที่ Upload clip ขึ้น YouTube จะต้องระบุว่าคลิปของตัวเองนั้นเป็นคลิปที่ "สร้างมาสำหรับเด็ก" รึเปล่า (Made for Kids หรือคน YouTube เรียกย่อๆว่า MFK) ไม่ใช่เฉพาะสายเด็กเท่านั้นที่ต้องระบุ แต่ทุกคน ทุกคลิปต้องระบุ ซึ่งการระบุนั้น สามารถทำได้ในระดับคลิป และ ระดับช่อง คือ
1. ถ้าเรามั่นใจว่าทุกคลิปในช่องเรา เป็น MFK เราระบุที่ระดับช่องได้เลยว่าช่องนี้ MFK นะจ๊ะ แบบนี้ทุกคลิปที่ upload ในช่องนี้ก็จะถูกระบุว่าเป็น MFK โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมานั่งระบุทีละคลิป
2. ถ้าเรามั่นใจว่าทุกคลิปในช่องเราไม่เป็น MFK ทุกคลิปของเราไม่ได้ทำมาเพื่อเด็กดู เราก็สามารถระบุที่ระดับช่องได้เลยเหมือนกัน
3. ช่องเรามีทั้ง 2 แบบ ก็สามารถเลือกระบุเป็นคลิปๆไปได้ ว่าคลิปนี้ MFK คลิปนั้นไม่ MFK
ซึ่งจุดนี้ ถ้าเราไม่ได้ระบุ หรือเรามีคลิปเก่าๆมากมายหลายพันคลิป เราไม่ต้องตามไประบุ เพราะ YouTube จัดการระบุให้เราเสร็จ ด้วย Machine Learning System เค้ามี AI ที่ฉลาดมากๆ ที่จะระบุให้ได้ ซึ่งก็อาจมีข้อผิดพลาดได้บ้าง ถ้า AI ระบุผิด YouTube ก็มีปุ่มให้กดโต้แย้งได้ ซึ่งถึงตอนนี้ก็จะเป็นคนที่เข้ามาดูและพิจารณาให้เรา แต่...ถ้าเราตั้งใจบิดเบือนข้อมูลว่าคลิปเราไม่เป็น MFK ทั้งๆที่มันเป็น คุณก็จะโดนอะไรสักอย่างจาก YouTube ซึ่งตอนนี้ยังไม่มี Policy ที่แน่ชัดออกมาว่าจะโดนอะไรร้ายแรงแค่ไหน แต่ YouTube บอกว่าจะจัดการคนที่ทำแบบนี้แน่นอนค่ะ 😱
คลิปที่เป็น MFK หรือคลิปที่ "สร้างมาสำหรับเด็ก" (Made for Kids) คืออะไร? ก็แปลตรงตัวเลยว่ามันคือคลิปที่สร้างมาเพื่อให้เด็กดูนั่นเอง เด็กในที่นี้ ก็ยึดตามอเมริกาว่า ต่ำกว่า 13 ขวบก็คือเด็ก
แล้วเราจะรูได้ไงว่าคลิปเราเข้าข่ายนี้มั๊ย ทาง YouTube ก็มีลิสต์มาให้เช็คง่ายๆ ถ้าคลิปคุณมีคุณสมบัติเหล่านี้ ก็เข้าข่าย MFK
1. เนื้อหาสาระของคลิปเป็นคลิปเพื่อเด็ก เช่น สื่อการสอนของเด็กน้อยก่อนวัยเข้าเรียน
2. คลิปคุณตั้งใจทำมาให้เด็กดู หรือกลุ่มคนดูจริงๆของคุณเป็นเด็ก
3. คลิปคุณมีเด็กมาแสดงในคลิปด้วย
4. คลิปคุณมีตัวการ์ตูน คนดัง หรือของเล่นที่ดึงดูดใจเด็ก เช่น เอลซ่า หางนางเงือก สไลม์ กสุชชี่
5. ภาษาที่ใช้ในคลิปเป็นภาษาที่ใช่สื่อสารกับเด็กโดยเฉพาะ รวมไปถึงการทำเสียงสองให้น่ารักๆ แบบที่เวลาเราคุยกับเด็กน้อยด้วย
6. กิจกรรมในคลิป เป็นกิจกรรมที่ดึงดูดใจเด็ก เช่นการละเล่นต่างๆ เพลงเด็ก เกม หรือกิจกรรมของเด็กน้อยอนุบาล
7. คลิปเพลงเด็ก นิทาน เรื่องราว หรือบทกลอนสำหรับเด็ก
8. อื่นๆ ใดๆ นอกเหนือจากนี้ที่มันชี้ว่าคลิปคุณนั้นเป็นคลิปทำมาให้เด็กดู
จะเกิดอะไรขึ้นกับคลิปหรือช่องที่ถูกระบุว่าเป็น MFK 😢
1. YouTube จะไม่เก็บข้อมูลของผู้ชมคลิปที่เป็น MFK (ปกติ YouTube จะเก็บข้อมูลของผู้ชมคลิปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น location เพศ อายุ หรือความสนใจ)
2. คนดูจะไม่สามารถ comment ใต้คลิปได้
3. โฆษณาประเภท Personalized Ads จะไม่ขึ้นที่คลิป MFK (ข้อนี้สำคัญที่สุดเลยจ้า) 😭😭😭
4. Features หลายอย่างจะหายไป นอกจาก comment แล้ว ก็ยังมี Info Cards และ End Screens ที่จะไม่มีให้ใช้ด้วย
5. และถ้าทั้งช่องถูกระบุว่าเป็นช่อง MFK ช่องนั้นก็จะไม่มี Stories, Community Tab (ชุมชน), กระดิ่งแจ้งเตือน และคนดูจะไม่สามารถกดปุ่ม Save to watch later หรือ เพิ่มลงใน playlist ได้
สาเหตุที่ YouTube ต้องเปลี่ยนนโยบาย และวิธีปฏิบัติครั้งใหญ่ครั้งนี้
ย้อนกลับไปเมื่อราว 2 ปีก่อน มีคนไปแจ้ง FTC (Federal Trade Commission หรือ คณะกรรมการการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา) ว่า YouTube นั้นทำ “ผิดกฎหมาย COPPA (Children’s Online Privacy Protection Act) แปลง่ายๆ ว่าเป็นกฎหมายพิทักษ์ความเป็นส่วนตัวของเด็กบนโลกออนไลน์” 🙁
เรื่องก็คือ YouTube นั้นเก็บข้อมูลทุกอย่างบนโลก online ของคนที่เข้ามาดูคลิป YouTube อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ สถานที่ดูคลิป ใช้อุปกรณ์อะไรดูคลิป เข้ามาดูคลิปด้วยวิธีการไหน รวมไปถึงความสนใจของคนดูคลิปด้วย
ฉะนั้น YouTube ก็จะมีข้อมูลมหาศาลของคนดูเหล่านี้อยู่ในมือ เวลามีคนมาซื้อโฆษณาใน YouTube ก็จะสามารถยิงตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ เช่น ช่วงที่เราจะไปเที่ยวญี่ปุ่น เราหาข้อมูลต่างๆใน google เกี่ยวกับญี่ปุ่น พอเราเข้า YouTube ดูอะไรก็ตาม เราจะเห็นโฆษณาสายการบินที่มีตั๋วไปญี่ปุ่น หรือโฆษณาการท่องเที่ยวญี่ปุ่น หรือโปรโมชั่น International Roaming เพราะผู้ลงโฆษณาเหล่านั้น ระบุกับ YouTube ให้ยิงโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายที่กำลังสนใจเรื่องราวท่องเที่ยวญี่ปุ่นแบบเราอยู่นั่นเอง
เด็กก็เหมือนกัน จะโดนเก็บข้อมูลพฤติกรรมความสนใจต่างๆ ถ้าเด็กคลิกดูคลิปบาร์บี้รัวๆ Mattel ก็จะยิงโฆษณามาที่เด็กคนนี้ ซึ่งตามกฎหมายแล้วมันผิด!! คือผิดตั้งแต่เก็บข้อมูลของเด็กแล้ว ข้อนี้ทำให้ YouTube โดนฟ้องและถูกปรับไปแล้วเป็นเงิน $170 ล้าน หรือเป็นเงินไทยราว ห้าพันกว่าล้านบาท!!! นี่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่พวกเราเหล่า Content Creator และ YouTube เอง กำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ 😩
เมื่อโดนฟ้องและโดนปรับขนาดนี้ YouTube เองก็ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง และบอกกับ FTC ว่าชั้นผิดไปแล้ว ชั้นจะปรับปรุงตัวและแก้ไขนะ โดยการ
1. ไม่เก็บข้อมูลเด็กๆที่เข้ามาดูคลิป - แล้ว YouTube จะรู้ได้ไงว่าคนที่มาดูคลิปคนไหนเป็นเด็ก เพราะเด็กใช้ Account พ่อแม่ปู่ย่าตายายเข้ามาดู เด็กต่ำกว่า 13 ไม่มี gmail ไม่สามารถ login เข้ามาดูได้อยู่แล้ว หรือบางคนก็ดูคลิปด้วยการไม่ login ก็มี คำตอบคือ YouTube ใช้วิธีตัดสินจากว่า ถ้าใครดูคลิปที่เป็น MFK ก็ถูกเหมาว่าเป็นเด็กหมด ฉะนั้น YouTube จะไม่เก็บข้อมูลคนดูคลิป MFK ตามที่เล่าไปแล้วตั้งแต่ต้น
2. ตัด Feature ต่างๆในคลิปที่เป็น MFK ออกไปเพื่อปกป้องเด็ก เช่น Comment เพื่อป้องกันข้อความ Cyber Bully ข้อความ Harassment หรืออื่นๆที่ไม่พึงประสงค์สำหรับเด็ก (บางคนถามว่าบาง Feature ที่โดนตัดไปเช่น Info Cards หรือ End Screens ไม่เห็นจะเกี่ยว หรือมีผลเสียอะไร แต่คำตอบของ Engineer ของ YouTube คือมันมีผลเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลคนดูด้วย เลยจำต้องเอาออกไปด้วยจ้า)
3. ที่สำคัญที่สุดคือ จะไม่ยิงโฆษณาเฉพาะเจาะจง หรือ Personalized Ads ไปที่คลิป MFK ซึ่ง Personalized Ads ก็คือโฆษณาที่ระบุกลุ่มเป้าหมายในการยิงโฆษณา เช่น Adidas มาซื้อโฆษณา YouTube แล้วบอกว่าจะยิงโฆษณาไปยังคนดูที่อายุ 18-45 เท่านั้นนะ และเอาพวกที่ชอบเรื่องกีฬาเท่านั้นนะ อาจจะเลือกว่าให้ยิงโฆษณาในประเทศไหน ไม่ยิงในประเทศไหนก็ได้ นี่คือ Personalized Ads แต่ไม่ใช่ว่าคลิป MFK จะไร้ซึ่งโฆษณาเลย จะยังมีโฆษณาเฉพาะที่เป็นโฆษณาแบบ Non Personalized Ads ที่ไม่ระบุอะไรเลยตอนซื้อโฆษณา คือยิงไปที่ไหน ใครก็ได้ ซึ่งมันน้อยยยยมาก โฆษณาส่วนใหญ่บน YouTube นั้นเป็น Personalized Ads จ้า มีคนโน้นคนนี้ประเมิณว่าอาจจะเป็นจำนวน 60-90% ของโฆษณาทั้งหมดบน YouTube ก็ได้ แต่คน YouTube เอง ก็ยังไม่สามารถระบุตัวเลขที่แน่ชัดให้ได้ บอกได้แค่มันเป็น “ส่วนใหญ่” แค่นั่นเอง
ผลกระทบหลักกับช่องเด็ก หรือคลิปเด็กใน YouTube คือ รายได้จากโฆษณาลดลงแบบตกจากฟ้าลงไปในเหวกันเลยทีเดียว😱😱😱 อย่างที่บอกว่าไม่รู้ว่ากี่ % แต่เยอะแน่นอน เราจะรู้ตัวเลขแน่ชัดก็ต่อเมื่อนโยบายนี้เริ่มมีผลหลังวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
บางคนถามว่าทำไม YouTube ไม่ช่วยช่องเด็กเลย มีทางออกอื่นๆอีกมั๊ย คำตอบคือ YouTube นั้นพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องนี้กันภายในมาเป็นระยะเวลา 2 ปีแล้ว พยายามหาทางออกที่ดีที่สุด จนได้คำตอบออกมาอย่างที่เห็น ขนาดช่องใหญ่ๆมากๆที่อเมริกา ไม่ว่าจะเป็น Walt Disney, Sesame Street ก็ต้องทำตามนโยบายนี้เพราะมันเป็นกฎหมาย COPPA 😥
ช่องเด็กควรทำยังไง ปรับตัวยังไง เพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
1. ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้เป็นเนื้อหาผู้ใหญ่ดู บางช่องดังๆที่อเมริกา อย่าง Ryan’s Toys Review ก็เปลี่ยนเป็น Ryan’s World ปรับเนื้อหาเป็น Lifestyle เป็นท่องเที่ยว พ่อแม่พาลูกเที่ยว อะไรไป ซึ่งบางคลิปก็ยังอาจจะโดน MFK แต่คลิปที่รอดก็มี
2. ทำงานกับ Brand รับงาน Sponsor รับรีวิวสินค้า
3. ขายของ พวกเรามีฐานคนดู ฐานแฟนอยู่แล้ว เรามีช่องทางประชาสัมพันธ์สินค้าของเราอยู่แล้ว
4. กระจายความเสี่ยงไปอยู่ Platform อื่นๆบ้าง
เขียนมายืดยาว ปะป๊าถามว่าใครจะอ่านเนี่ย..แต่ก็คิดว่าน่าจะมีคนอ่านจบ โดยเฉพาะคนที่จะโดนผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เพราะมันสำคัญมากๆ มันหมายถึงชีวิตที่จะเปลี่ยนไป บ้านที่เพิ่งผ่อน รถที่เพิ่งซื้อ พ่อแม่พี่น้อง ครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดู ถึงเวลาที่ต้องปรับเปลี่ยนและก้าวข้ามผ่านกันแล้วค่ะ
สู้ๆนะคะทุกคน ค่อยๆคิด ค่อยๆทำ ปรับเปลี่ยนไป ทุกอย่างมีทางออกเสมอ เป็นกำลังใจให้นะคะ 😉
Helpful Resources:
The Children's Online Privacy Protection Rule (“COPPA”)
https://www.ftc.gov/…/childrens-online-privacy-protection-r…
FTC open comment period (feedback on the COPPA regulation can be filed through Dec. 9, 2019)
https://www.federalregister.gov/…/request-for-public-commen…
YouTube Help: Determining if your content is made for kids
https://support.google.com/youtube/answer/9528076
YouTube Help: Set your channel or video’s audience
https://support.google.com/youtube/answer/9527654
google ads machine learning 在 Betty 貝蒂的行銷.商業.交易 Facebook 的精選貼文
今天被公司派去聽由 HubSpot 所舉辦的 Inbound Taiwan 2019 集客式行銷 先行者論壇 活動,可惜早上被臨時抓去與 Salesforce Global 開會而錯過早上的場次,下午場先開箱分享由 Google 大中華區行銷客戶經理 Eddie 的內容!
1. 台灣消費者熱愛線上購物 (72%用線上購物)
.
2. Google 搜尋量60%來自平板手機
.
3. 每天有15%關鍵字是前所未見的,所以根本無法預測
.
4. 消費者的搜尋習慣在改變:從關鍵字到自然對話
.
5. 用圖片搜尋資訊 by using Google Lens:資訊量變大怎麼應對?
.
6. Cisco: 82% 預計2021觀看影片流量會佔全球網站的流量,因為人對動的東西有吸引力
a) Google > Youtube > Facebook > Baidu
b) 2018 臺灣YouTube元年,每次的觀看人數首次超越電視,且重度用戶不斷地在成長,全球很多熱門電視節目搬上了YouTube
c) 臺灣21%網路使用者研究品牌和產品資訊的平台,並在平台上學習語言、技能
.
7. 行動趨勢、影片趨勢正在上升,我們應該要:
a) 分類與掌握目標受眾
b) 提高成效
c) 目標受眾
.
8. 5年前只要掌握人口統計資料,現在要掌握時間、裝置、搜尋詞、時區、所在地、收入、人生大事、
a) 曝光期:性別年齡、興趣愛好、自定義愛好(下載的APP, 搜尋什麼網站)
b) 考慮期:人生大事、潛在客戶期
c) 行動期:潛在客戶期、自定義客戶群
.
各位可以進到 Google Chrome 查看自己被 Google 貼的標籤(講者特別告誡,開啟網頁時最好自己看,因為他的同事一打開顯示的標籤是 P 開頭 XD)
.
9. 現在用戶訊號、評估分析、分類,需要即時發生呈現給客戶
.
10. 星巴克平均願意花2萬元獲得一位客戶,而一位客戶的 LTV 也是約兩萬,所以只要消費者願意消費到高於2萬,星巴克就會獲利 e.g. 靠周邊商品
.
11. 可以用一站式廣告平台打到 TA
.
12. 成效優化
先搞清楚正確的評估指標,要知道你的轉換目標是什麼,並追蹤轉換(當客戶進到你的網站,你期待消費者做什麼?)
.
e.g. 熱融膠客戶,Google 在網站上幫忙加上以下三點,單量開始源源不絕:
1. 點擊聯絡電話(埋代碼,掌握用戶)
2. 瀏覽時間(區隔客戶分層)
3. 瀏覽超過三頁以上
正確掌握廣告成效,快速進行優化調整,不再只靠猜測(Google ads 初宗轉換、Google Analytics 網站流量監測)
.
13. 把握 AI 人工智能趨勢 >> 智慧型廣告
支離破碎的意願時刻是人力無法負荷的巨量資料
e.g. 飯店業,同時三個人在搜尋,飯店要如何同時滿足這三人的需求?
1) 智慧型廣告 = Audience Data + Machine Learning
回應式多媒體廣告,系統智能地打中TA
可以把很多個不同的廣告標題、文案,自動針對不同的用戶做排列組合,顯示給受眾看 e.g. 一號標題+三號文案
2) 動態搜尋廣告
網站有很多內容,可以做全網的爬蟲,並排列組合客戶可能會喜歡的
3) 智慧型出價
智慧廣告素材與智慧出價,適合彼此搭配
即使在睡覺,廣告系統也能AI自動跑
.
14. 提升用戶網站體驗,速度為王
15.3s 行動網頁平均載入時間、每延遲一秒,流失轉換量20%
測試網站速度小工具:https://www.thinkwithgoogle.com/intl/zh-tw/feature/testmysite/
Google Trend 可以變成螢幕保護程式!超方便!!
https://trends.google.com/trends/hottrends/visualize?nrow=4&ncol=4&pn=p12
#googleads #googleanalytics #inboundmarketing #marketing #youtube #googletrends #googlesearchconsole #googlechrome #machinelearning #smartmarketing
google ads machine learning 在 เสกสรร ปั้น Youtube Youtube 的最讚貼文
https://sekyoutube.com/ จะเกิดอะไรขึ้นกับช่องยูทูปเด็ก เมื่อเจอกฎใหม่ FTC ช่องเด็กจะสามารถหารายได้ได้ต่อไปไหม
เนื่องจากยูทูปได้ทำผิดกฎของคณะกรรมาธิการการค้าสหรัฐหรือ FTC
คือ มีการเก็บข้อมูลผู้ใช้ยูทูปที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี
โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครอง
ทำให้ Youtube โดนปรับไปเป็นเงินมากกว่า 170 ล้านดอลล่าร์
Youtube จึงออกกฎใหม่ขึ้นมาเพื่อป้องกันปัญหาในส่วนนี้
1. ลงโฆษณา Google ads จะเลือก interest ที่เป็นเนื้อหาเด็กเลย จะทำไม่ได้
2. บังคับใช้ทั่วโลก
3. ให้เวลา 4 เดือน ในการเรียนรู้และปรับตัว น่าจะใช้ปีหน้า
4. Youtube รู้ได้อย่างไร ว่าเนื้อหาไหนสำหรับเด็ก
- มีการสอบถามใน Youtube studio ว่าเนื้อหาเราเกี่ยวกับเด็กหรือเปล่า
- ใช้ machine learning ตรวจสอบ โดนตรวจสอบเยอะ
5. ถ้าเราพยายามหลีกเลี่ยงว่าไม่ใช่ของเด็ก อาจมีผลต่อช่อง
6. ฟังก์ชั่นบางอย่างของคลิปที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็ก จะโดนปิด เช่น comment
===========================================
Ebook คู่มือยูทูปเบอร์
https://sekyoutube.com/ebook-youtuber/
เสกสรร ปั้น Youtube
ครูสอนทำการตลาดออนไลน์ด้วยวีดีโอ
? ไม่พลาดคลิปความรู้ดีๆ กดติดตามได้เลยเด้อ
http://www.youtube.com/smileprovideo?sub_confirmation=1
✅ ถามตอบปัญหาเกี่ยวกับวีดีโอ
https://know.sekyoutube.com/
? ฟัง Podcast
https://sekyoutube.podbean.com/
ประวัติเสกสรร ปั้น Youtube
https://sekyoutube.com/ทำความรู้จัก/
===========================================