🌻
美國聯準會(Fed)在美東時間22日下午2時(台灣23日凌晨2時)宣布利率維持在趨近零的水準,但暗示升息可能會比預期來得快一些,同時也大幅下修今年的經濟展望。
https://udn.com/news/story/6811/5764746
🌻Adobe(ADBE)電話會議內容讀後感
ADBE前兩天發表財報了.
這次ADBE在財報後下跌, 主要是兩個原因(如下). 不過個人覺得是瑕不掩瑜:
1. 因為之前已經漲了不少(投資人期望太高)
2. 因為Digital Marketing這部分的業務受到季節性的影響, 所以表現不是很突出(沒有比預期高出很多)
a. net new Digital Media ARR (3% beat vs guide, vs 15% beat in 2Q21 vs 35% beat in 3Q20).
b. 有分析師在問(“Maybe just -- can we double-click on the seasonality commentary in the quarter? Because if we look at the beat versus guidance on net new digital media ARR, it looks, at the same time you had the weakest beat, but then the strongest guide in the last three years, which kind of speaks to and confirm some of those seasonality comments that you made.)
i. 高層對此的回答是, 主要是疫情後, 加上正值夏季, 大家的日子回復到正常&放假外出, 所以這部分的業務有受到影響(I think going into the quarter, we had expected that the consumer with a little bit more return to normalcy as what's happening in the environment.)
ii. 高層又說了一些話, 不過重點就是他不認為這是甚麼大事”So, net-net, I would say that the growth prospects for that particular business and the growth drivers remain intact. But again, very much in line. And this is what we feel good about the insights that we're getting on the business.”
iii. 也提到, Q4通常會是digital marketing業務的旺季(表現會不俗的意思)
另外, 覺得這次令我印象深刻的是, 當高層與分析師提到這些事情:
• 常在一些公司的電話會議中提到omnichannel這個字(疫情後, 更明顯了). 這次高層也有提到. ADBE可說是omnichannel概念股:
o “I mean, a big part of that is more and more companies are thirdly doing the multi-channel omnichannel, whatever they want to call it. And I think that's only going to continue to be a driver of our Digital Experience Solutions. Because today that stable stakes and so we just look at it and say whether you're shopping in-store over they are shopping online. You need a solution that treats you like a customer that we know of.”
• 網路上影片(video)的興起, 以及串流影音, 有提高了Adobe的營收天花板(用句分析師的術語, 就是TAM (total addressable market) expansion.
• 當使用者製作了越來越多的內容, 內容管理(content management)的能力就越顯重要, 內容上的流程管理(workflow)也越顯重要. Adobe的產品能夠幫內容製作者解決這樣的問題.
• 而Adobe各產品間的相容性, 標準化, 整合能力, 是它的競爭優勢之一:
o And one of the things we did really well is what we called our named user deployment and how, you know, when we have these enterprise licensing agreements, we offer enterprises the ability to download and distribute within the companies. And the more we do training and evangelism of the products, that leads to adoption. So, I would say there's an element of standardization, there's an element of more content.
而最近ADBE有個新聞, 引起了我的注意, 就是它即將在自己的平台上, 提供付款服務(payment service). 根據之前研究SHOP的經驗, 這有可能會對股價造成一定的漲幅:
On Sept. 15, Adobe announced that it will add payment services to its e-commerce platform this year to help merchants accept credit cards and other ways of paying. The move will deepen Adobe's rivalry with e-commerce firm Shopify (SHOP).
For the service, Adobe has partnered with PayPal (PYPL), which will process a variety of payment types, including credit and debit cards as well as PayPal's own payment and buy-now-pay-later offerings.
https://www.investors.com/news/technology/adbe-stock-adobe-beats-fiscal-q3-targets/
接下來該怎麼辦? 對於基本面良好的公司如ADBE, 我能說的就是buy the dip(逢低買進)了. 供參.
🌻The Facebook Files
一個星期前, WSJ上面有個關於FB的大篇幅調查報導. 有興趣的可以看看.
The Facebook Files
https://www.wsj.com/articles/the-facebook-files-11631713039
這篇文章挺長, 也沒有看到華爾街中文版本的完整翻譯, 不過可以看看這篇:
https://on.wsj.com/2ZmFimp
"《華爾街日報》的相關調查顯示,這家社交媒體巨頭心知肚明,其平台會傷害用戶,而且是以該公司常常完全了解的方式造成傷害。目前,全球近半數人口都是Facebook旗下平台的用戶。其中一些證據尤其令人不安:據《華爾街日報》報導,Facebook的內部研究顯示,在報告稱有過自殺念頭的青少年中當中,有13%的英國用戶和6%的美國用戶把這種念頭歸結於Instagram。"
另一篇相關新聞:
https://www.thenewslens.com/article/156683
"《華爾街日報》於13日揭露Facebook的XCheck系統,也就是內部系統中的VIP名單,數百萬名人、政治人物與記者等知名公眾人物都在特別的一份「白名單」之內。"
"這些「貴賓」在社群上發布的內容可以躲過一般的審查系統,即使發布明顯的不當內容,也不會立即被刪除。《衛報》報導,Facebook的獨立監督委員會表示,在閱讀該篇報導後,決定要審查XCheck系統,並要求Facebook對其進行報告與解釋。"
🌻我喜歡的Apple TV影集, "Ted Lasso", 是這次艾美獎的大贏家, 很多主要演員都得獎了.
很高興這兩年, 因為有這部戲的陪伴, 讓我撐過了疫情, 家人離世, 以及一些烏煙瘴氣的事情.
前幾天看演員的得獎影片, 一位娛樂記者問得獎的男配角(也是編劇之一)說, 你覺得這部片的核心思想是甚麼. 他說, be curious, not judgemental.
就像得獎的女演員在劇中一開始是很鴨霸很壞心的球隊主人, 但這樣做是因為被前夫傷透了心, 所以想要弄垮離婚後分到的財產(也是前夫的最愛--球隊); 外表看起來永遠陽光燦爛做啦啦隊的男主角, 在青少年時父親自殺, 造成了他心裡永遠的痛&障礙(讓他在球賽時, 會有突發恐懼症).
我們每個人其實都有很多面, 很多個故事. 尤其在社群, 大家都是萍水相逢, 對彼此的了解都是非常片面的; 而有時候在社群裡, 看到有人會因為只看到一個面向, 就去下斷語. 這其實是人之常情很難避免, 所以我們需要常用第二層思考去提醒自己. 社群裡需要更多的同理心.
“Be curious, not judgmental” – Walt Whitman(惠特曼)(美國詩人)
Picture來源:
https://www.apple.com/newsroom/2021/09/apples-global-hit-comedy-series-ted-lasso-sweeps-the-2021-primetime-emmy-awards-scoring-history-making-win-for-outstanding-comedy-series/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「history of e commerce」的推薦目錄:
history of e commerce 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
Tiki อีคอมเมิร์ซ เวียดนาม ที่ใกล้เป็นยูนิคอร์น /โดย ลงทุนแมน
จากข้อมูลเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ที่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าไปใช้งานมากที่สุดในปี 2020
อันดับที่ 1 และ 2 คือ Shopee และ Lazada จากสิงคโปร์
อันดับที่ 3 และ 4 คือ Tokopedia และ Bukalapak จากอินโดนีเซีย
อันดับที่ 5 และ 6 คือ Thegioididong และ Tiki จากเวียดนาม
สำหรับ Shopee และ Lazada คนไทยน่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี
ส่วน Tokopedia และ Bukalapak ของอินโดนีเซียหลายคนคงคุ้นหู
แต่หลายคนอาจไม่คุ้นหูกับชื่อ Thegioididong และ Tiki
นั่นก็เพราะว่าทั้ง 2 แบรนด์นี้เป็นอีคอมเมิร์ซจากเวียดนาม
ที่แม้จะยังไม่ได้เข้ามาทำธุรกิจในไทย
แต่ก็ขึ้นมาติดอันดับอีคอมเมิร์ซระดับภูมิภาค
แล้วอีคอมเมิร์ซเวียดนาม มีหน้าตาเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ประเทศเวียดนาม ยังคงเป็นประเทศที่ใช้เงินสดเป็นหลัก
โดยมีเพียง 1 ใน 3 ของประชากร ที่มีบัญชีธนาคาร
และมีเพียง 5% ของประชากร ที่มีบัตรเครดิต
การซื้อของออนไลน์ ที่มักรับชำระเงินโดยไม่ใช้เงินสด จึงยังได้รับความนิยมไม่มากนัก
โดยสัดส่วนการซื้อของผ่านทางออนไลน์ ยังคิดเป็นเพียง 3% ของยอดค้าปลีกทั้งหมด
ซึ่งนับเป็นสัดส่วนที่น้อย เมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน
หรือเทียบกับประเทศไทย ที่มีสัดส่วนนี้อยู่ที่ประมาณ 8%
แต่ด้วยตลาดอีคอมเมิร์ซที่เริ่มต้นช้ากว่าคนอื่น และขนาดตลาดที่ยังเล็กอยู่ในปัจจุบัน
อีคอมเมิร์ซในประเทศเวียดนามจึงจัดว่าอยู่ในช่วงต้นของการเติบโต
ซึ่งรัฐบาลเวียดนามเองก็ผลักดันอีคอมเมิร์ซและสังคมดิจิทัลเป็นอย่างมาก
โดยตั้งใจให้สัดส่วนของอีคอมเมิร์ซขยับขึ้น
จาก 3% เป็น 10% ของยอดค้าปลีกรวม ภายในปี 2025
แล้วผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซในเวียดนามตอนนี้เป็นใครกันบ้าง ?
จากจำนวนคนที่เข้าไปใช้งานต่อเดือนบนเว็บไซต์เวียดนาม ในไตรมาสแรกของปี 2021
เว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานสูงสุดก็คือ
อันดับที่ 1 Shopee มีผู้ใช้งาน 63.7 ล้านครั้งต่อเดือน
อันดับที่ 2 Thegioididong มีผู้ใช้งาน 29.3 ล้านครั้งต่อเดือน
อันดับที่ 3 Tiki มีผู้ใช้งาน 19.0 ล้านครั้งต่อเดือน
อันดับที่ 4 Lazada มีผู้ใช้งาน 17.9 ล้านครั้งต่อเดือน
หากไม่นับ Thegioididong ที่เป็นช่องทางขายสินค้าออนไลน์
ของร้านค้าปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ในเครือบริษัท Mobile World
ที่คล้ายกับ Com7 ของไทย
ผู้เล่นที่น่าจับตามองก็คือ “Tiki” แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสัญชาติเวียดนาม
ที่เฉือนเอาชนะ Lazada และกำลังท้าชิง Shopee เจ้าตลาดแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ด้านยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน
Tiki ก็ตามมาเป็นอันดับ 3 เป็นรองเพียง Shopee และ Lazada
สำหรับเจ้าตลาดอย่าง Shopee ได้เริ่มเข้ามาให้บริการในประเทศเวียดนามในปี 2016
โดยเริ่มต้นใช้กลยุทธ์แบบเดียวกับในประเทศอื่น
นั่นก็คือเน้นที่ตลาดผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer หรือ C2C)
ก่อนที่ภายหลังจะมีบริการ Shopee Mall ซึ่งเป็นช่องทางการขายระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer หรือ B2C)
จุดเด่นที่ใช้ดึงดูดลูกค้า นอกจากเรื่องการไม่คิดค่าส่งสินค้า
และค่าธรรมเนียมที่ต่ำแล้ว Shopee ยังมีระบบนิเวศอื่นเข้ามาเสริม
ให้การซื้อขายทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น อย่างเช่น E-wallet
ในขณะที่ Tiki อีคอมเมิร์ซสัญชาติเวียดนาม
ที่ก่อตั้งเมื่อปี 2010 เริ่มจากการใช้กลยุทธ์ B2C
เหตุผลสำคัญก็เพื่อต้องการควบคุมคุณภาพสินค้าให้ได้ก่อน
หลังจากนั้นค่อยเริ่มขยายมาให้บริการแบบ C2C ด้วย
ซึ่งทาง Tiki ก็เข้มงวดกับการคัดกรองผู้ขาย เพราะต้องการเน้นที่คุณภาพของสินค้า
และการสร้างความพึงพอใจให้ผู้ซื้ออยู่เหมือนเดิม
หากได้รับคำร้องจากลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพสินค้าไม่ตรงกับตอนขาย
หรือได้รับของปลอม Tiki จะถอดผู้ขายรายนั้นออกทันทีหากตรวจสอบแล้วว่าผู้ขายนั้นผิดจริง
และเพื่อเพิ่มความประทับใจให้กับผู้ที่ซื้อสินค้าผ่านทาง Tiki มากขึ้นไปอีก
Tiki ได้เน้นลงทุนไปกับระบบการจัดการโลจิสติกส์แบบครบวงจร
ตั้งแต่คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า ไปจนถึงการจัดส่งถึงมือผู้รับ
ที่เริ่มจากโฟกัสลูกค้าในเมืองใหญ่ ๆ ก่อน
แล้วค่อยขยายพื้นที่บริการออกไปตามนอกเมืองมากขึ้น
ที่สำคัญมากไปกว่านั้นก็คือ ระบบทั้งหมดนี้ เป็น Smart Logistics
ซึ่ง Tiki ก็ได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ อย่างเช่น AI และหุ่นยนต์
เข้ามาช่วยจัดการภายในคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า เพื่อช่วยลดเวลาลงในทุกขั้นตอน
การวางระบบ Smart Logistics ทั้งหมดนี้ ดูแลโดยคุณ “Henry Low”
ผู้มีประสบการณ์ในการบริหารห่วงโซ่อุปทานในบริษัทอีคอมเมิร์ซระดับโลก
จากทั้ง Amazon ที่สหรัฐอเมริกา และ Coupang ที่เกาหลีใต้
ซึ่งความรวดเร็วจากการจัดการด้วยระบบ Smart Logistics
ก็ได้ทำให้ Tiki สามารถให้บริการที่ใช้ชื่อว่า TikiNOW ได้สำเร็จ
โดย TikiNOW เป็นบริการที่ลูกค้าจะได้รับสินค้าหลังจากสั่งซื้อภายใน 2 ถึง 3 ชั่วโมงเท่านั้น
ซึ่งก็ได้เริ่มให้บริการสำหรับผู้ซื้อในเขตเมือง เช่น ฮานอย โฮจิมินห์ และดานังก่อน
ด้วยความสะดวกรวดเร็ว บริการนี้ก็ได้กลายมาเป็นจุดเด่น
และจุดขายหลักของ Tiki ที่ได้รับความนิยมสูงมากจากลูกค้า
มาถึงตรงนี้ หากจะมองว่า Tiki เปรียบเสมือน Amazon ของเวียดนาม ก็คงไม่แปลกนัก
ซึ่งความคล้ายคลึงกันนั้น นอกจากเรื่องการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่มีระบบขนส่งครบวงจรแล้ว
จุดเริ่มต้นของ Tiki ยังมาจากการขายหนังสือ เหมือนกับจุดกำเนิดของ Amazon อีกด้วย
คำถามต่อมาก็คือ แล้วผู้ก่อตั้ง Tiki คือใคร ?
คุณ Tran Ngoc Thai Son หรือคุณ Son ผู้เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์
และจบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านอีคอมเมิร์ซจากออสเตรเลีย
เขาคนนี้ได้เริ่มก่อตั้ง Tiki ในปี 2010 จากการเขียนโคดเพื่อสร้างเป็นแพลตฟอร์มสำหรับขายหนังสือภาษาอังกฤษในเวียดนาม
สมัยนั้นในเวียดนามยังแทบไม่มีหนังสือภาษาอังกฤษขายเลย คุณ Son จึงมองว่านี่เป็นโอกาส
คุณ Son มีเงินทุนตั้งต้นราว 180,000 บาท เริ่มจากซื้อหนังสือภาษาอังกฤษมาจาก Amazon
และใช้ห้องนอนตัวเองเป็นทั้งห้องทำงานเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม
โกดังเก็บสต็อกหนังสือ และห้องบรรจุสินค้าพร้อมส่ง
เมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อหนังสือ คุณ Son จะขับมอเตอร์ไซค์ไปส่งสินค้าเอง
เรียกได้ว่าในระยะแรก ต้องลงมือทำเองทุกขั้นตอน ซึ่งที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า
คุณ Son ไม่ได้มีผู้ร่วมก่อตั้ง และยังมีเงินทุนไม่เพียงพอสำหรับจ้างพนักงาน
หลังจากทำธุรกิจพร้อมกับเริ่มสร้างทีมเล็ก ๆ ไปได้ 2 ปี
Tiki ก็สามารถระดมทุนครั้งแรกได้สำเร็จ
จนมาถึงในปัจจุบัน Tiki ระดมทุนไปแล้วกว่า 5,996 ล้านบาท
จาก JD.com, Temasek Holdings, Sumitomo รวมถึง VNG ยูนิคอร์นบริษัทแรกของเวียดนาม
ซึ่ง Tiki ก็ยังคงมุ่งเน้นลงทุนในระบบ Smart Logistics ต่อเนื่อง
เพื่อขยายขนาดคลังสินค้า และกระจายศูนย์กระจายสินค้า
ให้ครอบคลุมหลายพื้นที่มากขึ้น
รวมไปถึงพัฒนานวัตกรรมเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต
ปัจจุบัน นอกจากสินค้ากลุ่มหนังสือแล้ว
Tiki มีสินค้าครอบคลุมกว่า 26 หมวด
ตั้งแต่เครื่องสำอาง สินค้าแฟชั่น และเครื่องเขียน
ไปจนถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
และ Tiki ยังเริ่มต่อยอดไปในธุรกิจอื่นที่ยังคงเกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซ เช่น
ในปี 2019 Tiki ได้เข้าซื้อกิจการ Ticketbox บริการจำหน่ายตั๋วออนไลน์
ในปี 2020 Tiki ได้ออกบัตรเครดิตร่วมกับธนาคารท้องถิ่นที่ชื่อ Sacombank
แม้ว่ามูลค่าบริษัทของ Tiki จะยังไม่ถูกเปิดเผย
แต่หลายฝ่ายก็จัดให้ Tiki อยู่ในกลุ่มมีแนวโน้ม
ที่จะมีมูลค่ากิจการในระดับยูนิคอร์น
ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า
ต่อจากยูนิคอร์นตัวแรกของเวียดนามอย่าง VNG แล้ว
ยูนิคอร์นตัวต่อไปของเวียดนามอาจจะเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
ที่ชื่อว่า Tiki ก็เป็นได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://asia.nikkei.com/Business/Business-Spotlight/Alibaba-and-Shopee-clash-in-Vietnam-as-ASEAN-e-commerce-war-rages
-https://www.scmp.com/news/asia/southeast-asia/article/3135716/vietnams-booming-e-commerce-sector-sparks-feeding-frenzy
-https://theconomics.net/ecommerce-c-c-or-b-c-business-case/
-https://iprice.vn/insights/mapofecommerce/en/
-https://www.bain.com/insights/e-conomy-sea-2020/
-https://www.vietchallenge.org/post/the-history-of-tiki-vn-an-amazon-of-vietnam
-https://e.vnexpress.net/news/business/data-speaks/vietnam-dominates-list-of-top-southeast-asian-e-commerce-sites-4249599.html
-https://www.crunchbase.com/organization/tiki-vn
history of e commerce 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
วิวัฒนาการ NBA จากลีกบาสเกตบอลไม่มีคนดู สู่ธุรกิจ 2 ล้านล้าน /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงลีกการแข่งขันบาสเกตบอลที่ใหญ่ที่สุดในโลก
คงหนีไม่พ้น “NBA” ลีกบาสเกตบอลของสหรัฐอเมริกา
ที่ก่อตั้งมายาวนานกว่า 72 ปี
รู้หรือไม่ว่าฤดูกาลแข่งขันปี 2019/2020 NBA มีรายได้ 2.4 แสนล้านบาท
เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เมื่อเทียบกับเมื่อ 9 ปีที่แล้ว แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ Forbes ยังได้ประเมินว่าทีมบาสเกตบอล
ที่อยู่ในการแข่งขัน NBA ทั้ง 30 ทีม มีมูลค่าตลาดรวมกันเกือบ 2 ล้านล้านบาท
แล้ว NBA มีกลยุทธ์อย่างไร
และปัจจัยใดที่ทำให้ความนิยมของ NBA
เพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
NBA ย่อมาจาก National Basketball Association ก่อตั้งขึ้นในปี 1949
โดยเป็นการรวมตัวกัน ระหว่างลีกบาสเกตบอลของสหรัฐอเมริกา 2 ลีก
คือ Basketball Association of America (BAA) ก่อตั้งในปี 1946
และ National Basketball League (NBL) ก่อตั้งในปี 1937
แม้ในปัจจุบัน NBA จะมีทีมบาสเกตบอลถึง 30 ทีม
แต่ในช่วงเริ่มแรกนั้น NBA มีทีมบาสเกตบอลทั้งหมดเพียง 17 ทีม
แถมในช่วงเริ่มต้น NBA ก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก
เพราะในปี 1955 มีทีมบาสเกตบอลแข่งขันกันเพียง 8 ทีมเท่านั้น
แต่สิ่งที่ทำให้ NBA กลับมาเป็นที่นิยม และกลับมาเติบโตได้
มาจากการปรับโครงสร้างการแข่งขันขึ้นใหม่
เริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาการแข่งขัน
ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มเขตทำคะแนน 3 แต้ม
จากเดิมที่มีการทำคะแนนได้เพียง 2 แต้มต่อการชูตลง 1 ลูกเท่านั้น
ซึ่งลูก 3 แต้มนี้ทำให้เกิดความหลากหลายและรูปแบบการเล่นใหม่เข้ามาในเกม
หรืออีกกฎที่เพิ่มเข้ามาคือ การเพิ่มระบบ “Shot Clock”
ที่กำหนดเวลาในการครอบครองบอลของแต่ละฝั่ง
ทำให้แต่ละทีมต้องรีบทำคะแนนภายในเวลาที่กำหนด
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้เกมการแข่งขันมีความรวดเร็ว
มีรูปแบบที่กระตุ้นให้นักกีฬาต้องแข่งกันทำแต้มตลอดเวลา
ส่งผลให้เกมดูสนุกและตื่นเต้นมากขึ้น และผู้ชมก็เริ่มให้ความสนใจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ อีกหนึ่งในโครงสร้างของ NBA ที่แตกต่างจากลีกกีฬาอื่น
คือรูปแบบโมเดลธุรกิจของ NBA ที่สร้างความมั่นคงให้กับทุกทีมที่มีส่วนร่วม
และลดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบระหว่างกัน
เช่น การเลือกตัวนักกีฬาหน้าใหม่เข้าทีมหรือการดราฟต์
ด้วยระบบที่เน้นให้โอกาสกับทีมที่ทำผลงานได้ไม่ดี
มีโอกาสในการคว้าตัวนักกีฬาอันดับต้น ๆ ในระบบดราฟต์ มากกว่าทีมที่มีผลงานดี
โดยปัจจุบัน 3 ทีมที่มีผลงานแย่สุด จะมีโอกาสเท่ากันที่ 14% ที่จะคว้าสิทธิ์ดราฟต์อันดับ 1
ซึ่งสิทธิ์ดราฟต์ที่แต่ละทีมได้มา สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจาแลกเปลี่ยน
ตัวนักกีฬาระหว่างทีมได้อีกด้วย
นอกจากการรักษาสมดุลระหว่างผู้เล่นในแต่ละทีม
NBA ก็ยังได้กำหนดเพดานค่าจ้างนักกีฬาของแต่ละทีม
โดยมีระบบการคำนวณมาจากรายได้รวมของลีก
ทำให้แต่ละทีมมีเพดานสำหรับการจ่ายค่าจ้างเท่ากัน และหากทีมใดจ้างนักกีฬาเกินเพดานที่กำหนด
จะต้องเสียภาษีเพดานค่าจ้างในอัตราที่สูงมาก ระบบนี้จึงกลายมาเป็นการป้องกันการซื้อตัวนักกีฬาดังไม่ให้ไปอยู่รวมกันภายในทีมเดียวมากเกินไป
อีกระบบที่สำคัญไม่แพ้กันคือ ระบบการคำนวณรายได้มวลรวมของลีก
เป็นระบบที่ช่วยการกระจายรายได้ของแต่ละทีม
โดยทุกทีมจะต้องนำรายได้ส่วนหนึ่งมารวมกันและเฉลี่ยไปยังทีมอื่นเท่า ๆ กัน
เพื่อเป็นการปรับช่องว่างรายได้ ระหว่างทีมที่อยู่ในตลาดขนาดเล็กและใหญ่
เช่น LA Lakers ที่อยู่ในเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีประชากรเกือบ 4.0 ล้านคน
กับทีม Phoenix Suns ที่อยู่ในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา ซึ่งมีประชากรเพียง 1.6 ล้านคน
จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ทีม อยู่ในเมืองที่มีฐานประชากรห่างกันมาก และส่งผลต่อรายได้ของทีม
แต่ระบบของ NBA จะทำให้ทีมที่มีรายได้น้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับเงินอุดหนุนจำนวนหนึ่ง
จากทีมที่มีรายได้มากกว่าเกณฑ์
ทั้งนี้ทีมขนาดเล็กก็ต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 70% ของรายได้เฉลี่ยที่แบ่งกันในแต่ละทีม จึงจะสามารถรับส่วนแบ่งได้เต็มอัตรา เพื่อเป็นการจูงใจและผลักดันให้ทีมขนาดเล็กปรับปรุงและพัฒนาทีมอยู่ตลอดเวลา
เมื่อองค์ประกอบทุกอย่างถูกสร้างสรรค์และออกแบบมาอย่างดีแล้ว
ก็ส่งผลให้ความนิยมและรายได้ของ NBA เพิ่มขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา
ทีนี้เรามาดูกันว่าการหารายได้ของ NBA เป็นอย่างไร ?
NBA เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของความหลากหลายของช่องทางการหารายได้
ซึ่งก็คือการกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพารายได้เพียงไม่กี่ช่องทาง
โดยรายได้หลักของ NBA มาจาก 4 ช่องทางด้วยกันคือ
1. ค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด
รายได้ส่วนนี้ ถือเป็นรายได้หลักของ NBA ซึ่งในปี 2016 NBA ได้มีการเซ็นสัญญากับสื่อกีฬายักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง ESPN และ Turner Sports ด้วยสัญญา 9 ปี มูลค่าราว 720,000 ล้านบาท
หรือเฉลี่ยปีละ 80,000 ล้านบาท สำหรับการถ่ายทอดสดการแข่งขันของ NBA
โดยสัญญานี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 180% จากสัญญาเดิมที่ได้ 29,000 ล้านบาทต่อปี
และแต่ละทีมสามารถเซ็นสัญญาถ่ายทอดสดกับสื่อท้องถิ่นได้อีกด้วย
นอกจากนี้ NBA ยังมีระบบสตรีมมิง ชื่อว่า NBA League Pass ที่ให้ผู้ชมสามารถเลือกซื้อได้ทั้งแบบ รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี ทำให้ผู้ชมทั่วโลกสามารถรับชมการแข่งขันได้แบบถูกลิขสิทธิ์
2. ลิขสิทธิ์ทางด้านสินค้าและการสนับสนุนจากสปอนเซอร์
ถึงแม้จะไม่ใช่รายได้ที่มีสัดส่วนที่มาก แต่ก็มีสินค้าหลากหลายแบรนด์ที่พร้อมจะร่วมสนับสนุนกับ NBA
อย่างเช่น การซื้อป้ายโฆษณาบนเสื้อนักกีฬา ซึ่งป้ายดังกล่าวมีขนาดประมาณบัตรประชาชนเท่านั้น แต่กลับมีมูลค่าที่สูงมาก
ในปี 2019 ป้ายแบรนด์เหล่านี้ทำรายได้ให้กับ NBA กว่า 4,500 ล้านบาท
อย่างเช่น Rakuten แบรนด์ E-commerce จากญี่ปุ่น ที่ยอมจ่ายถึง 600 ล้านบาทต่อปี
ให้กับทีม Golden State Warriors เพื่อซื้อโฆษณาบนเสื้อดังกล่าว
หรือจะเป็นสัญญากับ Nike แบรนด์เสื้อผ้ากีฬาอันดับหนึ่งของโลก
ที่ยอมจ่าย 30,000 ล้านบาทให้กับ NBA เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการผลิตและจัดจำหน่ายชุดบาสเกตบอลของ NBA ทั้ง 30 ทีมเป็นระยะเวลา 8 ปี ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าของสัญญาเดิมที่เคยทำร่วมกับ Adidas
และ Nike จะต้องจ่ายค่าเครื่องแต่งกายของนักกีฬาใน NBA เป็นมูลค่ากว่า 3,750 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคาดว่ามากกว่าที่ Adidas เคยจ่ายให้ถึงเท่าตัว เช่นกัน
3. รายได้จากการจำหน่ายตั๋วเข้าชมในสนาม
น่าแปลกใจที่รายได้ส่วนนี้กลับไม่ใช่รายได้หลักของแต่ละทีม เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ชมสามารถรับชมผ่าน ระบบออนไลน์ได้ทุกที่ แต่มีรายงานว่าในฤดูกาล 2019/2020 ค่าใช้จ่ายในการเข้าชมการแข่งขัน 1 เกมสำหรับครอบครัว 4 คน ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายหลัก ๆ เช่น ค่าตั๋ว ค่าที่จอดรถ และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตกเฉลี่ยเกมละ 13,000 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.5% จากฤดูกาลก่อนหน้า
4. รายได้จากต่างประเทศ
NBA ได้มีการขยายตลาดไปยังต่างประเทศมาหลายปีแล้ว และได้กลายมาเป็นรายได้สำคัญของลีก โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งมีการประเมินว่า NBA มีรายได้จากประเทศจีนปีละกว่า 15,000 ล้านบาท ตัวเลขนี้รวมถึงดีลระหว่าง NBA กับ Tencent บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนด้วยสัญญา 5 ปี 45,000 ล้านบาท
ในการเป็นพาร์ตเนอร์ที่ได้รับสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดการแข่งขันจาก NBA เพียงรายเดียวในจีน
และกลยุทธ์สำคัญที่ผลักดันให้ NBA สามารถขยายไปยังต่างประเทศได้
ก็คือการเปิดรับนักกีฬาต่างชาติเข้ามาในลีกมากขึ้น โดยในฤดูกาล 2019/2020 มีจำนวนนักกีฬาที่ไม่ได้ถือสัญชาติอเมริกันกว่า 108 คน จาก 38 ประเทศ ซึ่งคิดเป็น 4 เท่าของฤดูกาล 1994/1995
กลยุทธ์นี้ได้ช่วยเพิ่มฐานคนดูของ NBA ในต่างแดน เพราะสำหรับบางประเทศที่กีฬาบาสเกตบอลยังไม่เป็นที่นิยม และไม่มีทีมที่คุ้นเคยไว้ตามเชียร์ คนดูก็สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการเชียร์นักกีฬาของประเทศตัวเอง
ถึงตรงนี้ก็คงบอกได้ว่า NBA คือองค์กรที่มีโมเดลธุรกิจที่หลากหลาย
เป็นตัวอย่างขององค์กรที่พร้อมเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า
และกระตุ้นให้มีการแข่งขันกันเองภายในลีกอยู่ตลอดเวลา
นำมาซึ่งผลงานที่น่าประทับใจแก่คนดูและเจ้าของทีมเอง
ก็เป็นที่น่าติดตาม ว่าถ้าหาก NBA เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
จะมีมูลค่าเท่าไร และในอนาคตจะมีอะไรใหม่ ๆ มาให้เราได้ศึกษา
แต่ดูเหมือนว่าทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
นอกจากจะทำให้ผู้ชื่นชอบบาสเกตบอลสนุกขึ้นแล้ว
มันก็ยังได้กลายมาเป็นโครงสร้างที่แข็งแกร่ง จน NBA สามารถเติบโต
จากวันที่เหลือเพียง 8 ทีมในปี 1955 จนกลายมาเป็นธุรกิจ
ที่มีมูลค่าตลาด 2 ล้านล้านบาทไปแล้ว นั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
Joseph Tsai ผู้ร่วมก่อตั้งและรองประธานบริหารของ Alibaba Group
ได้เข้าซื้อทีม Brooklyn Nets ในปี 2019 ด้วยจำนวนเงิน 70,500 ล้านบาท
ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่าที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์การซื้อทีมกีฬาของสหรัฐอเมริกา..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.investopedia.com/articles/investing/070715/nbas-business-model.asp
-https://www.investopedia.com/articles/personal-finance/071415/how-nba-makes-money.asp#citation-9
-https://www.forbes.com/sites/kurtbadenhausen/2021/02/10/nba-team-values-2021-knicks-keep-top-spot-at-5-billion-warriors-bump-lakers-for-second-place/?sh=2ea4a89645b7
-https://www.statista.com/statistics/193467/total-league-revenue-of-the-nba-since-2005/
-https://www.nba.com/news/nba-rosters-feature-108-international-players-2019-20
-https://bleacherreport.com/articles/1039092-nba-revenue-sharing-small-market-teams-to-benefit-from-new-sharing-structure
-https://nba.nbcsports.com/2015/06/10/nike-to-replace-adidas-as-official-maker-of-nba-uniforms-apparel/related/
-https://www.netsdaily.com/2019/8/15/20806783/with-joe-tsai-purchase-confirmed-nets-incredible-summer-continues
-https://www.history.com/this-day-in-history/nba-is-born