สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง
สรุป 4 สัญญาณ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตามหาจังหวะลงทุนหุ้น US
ลงทุนแมน x BBLAM
ถ้าพูดถึงตลาดการลงทุน ที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ก็แน่นอนว่าต้องเป็น “สหรัฐอเมริกา”
ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนแบบนี้
คนที่สนใจลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกา ก็ยิ่งต้องติดตามหลายประเด็นในโลกการลงทุน ทั้งภาพรวมเศรษฐกิจที่ผ่านมา รวมไปถึงสัญญาณเศรษฐกิจต่าง ๆ
อังคารที่ 10 สิงหาคม ที่ผ่านมา ลงทุนแมนได้ชวนผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จากกองทุนบัวหลวง
มาพูดคุยกันเกี่ยวกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจและสถานการณ์ของตลาดการลงทุนในสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อเรื่อง “สรุป 4 สัญญาณ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตามหาจังหวะลงทุนหุ้น US”
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตอนนี้เป็นอย่างไร
แล้วลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกา เราต้องดูอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
มาเริ่มกันที่ สรุปภาพรวมเศรษฐกิจโลกช่วงที่ผ่านมา
บรรดาประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและยุโรป ดูจะรับมือกับโควิด 19 ได้ดี ด้วยความพร้อมเรื่องวัคซีน และความพร้อมทางการแพทย์และเครื่องมือแพทย์ที่ดี
สำหรับสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดี เนื่องมาจากมีการอัดฉีดทั้งในนโยบายการคลัง และนโยบายการเงินแบบจัดหนัก
ในไตรมาส 2 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 7.7% ส่วนการนำเข้า-ส่งออกสุทธินั้นติดลบ ซึ่งหักลบกันแล้ว GDP ไตรมาส 2 สหรัฐอเมริกา เติบโต 6.5% ดีต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1
อย่างไรก็ตาม GDP ในไตรมาส 3 ของสหรัฐอเมริกา อาจจะชะลอความร้อนแรงในการเติบโตลง
โดยมี 3 ปัจจัยที่กดดัน ได้แก่
1. โควิด 19 สายพันธุ์ Delta ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น
2. ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (FED) น่าจะเริ่มส่งสัญญาณเข้มงวดทางการเงินมากขึ้น
3. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงทองคำมีแนวโน้มปรับตัวลดลง กดดันตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ
คำถามสำคัญก็คือ จบปีนี้ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จะเป็นอย่างไร ?
ถ้าอ้างอิงจากการประมาณการล่าสุดของ IMF เมื่อ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา IMF คงประมาณการว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2021 จะเติบโต 6% เช่นเดียวกับการประเมินครั้งก่อนหน้า
แต่ที่น่าสนใจก็คือ IMF ปรับประมาณการ GDP สหรัฐอเมริกา จะเติบโตในอัตราสูงขึ้น จากเดิมที่ 6-6.5% มาเป็น 7% ขณะที่ฝั่งเอเชียหลาย ๆ ประเทศรวมถึงจีน โดนปรับลดประมาณการการเติบโตลง
สาเหตุเพราะ IMF มองว่าสหรัฐอเมริกาควบคุมโควิด 19 ได้ดีขึ้น และสภาคองเกรสสามารถอนุมัตินโยบายสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนต่าง ๆ ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นได้เร็ว
เราเห็นภาพรวมเศรษฐกิจโลก และตัวเลข GDP ของสหรัฐอเมริกาช่วงที่ผ่านมากันแล้ว
คำถามสำคัญสำหรับผู้สนใจลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกาก็คือ
ในมุมของการลงทุน เรามองแค่ GDP ได้หรือไม่ ?
เพื่อตอบคำถามนี้ เราต้องลองมาดูความสัมพันธ์ระหว่าง GDP สหรัฐอเมริกา กับดัชนี S&P 500 ที่ถือเป็นตัวแทนตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
เราจะเห็นว่า ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา GDP สหรัฐอเมริกา กับดัชนี S&P 500 เริ่มมีการเคลื่อนไหวต่างทิศทางกัน ไม่เหมือนช่วงก่อนหน้านั้น
ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลให้เป็นแบบนี้ ก็มาจากปัจจุบันหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีครองสัดส่วนใน S&P 500 เกือบ 30% แต่เทียบกับ GDP กลุ่มเทคโนโลยีมีสัดส่วนใน GDP ประมาณ 6% เท่านั้น
นอกจากนั้นกลุ่มการแพทย์ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย ที่มีน้ำหนักมากรองลงจากกลุ่มเทคโนโลยี ในดัชนี S&P 500 ก็ไม่ได้มีสัดส่วนมูลค่าที่สูงนักใน GDP ของสหรัฐอเมริกา เพราะ GDP ของสหรัฐอเมริกาถูกขับเคลื่อนด้วยน้ำหนักของกลุ่มการเงิน
เพราะฉะนั้น สรุปคือ GDP อาจไม่สามารถอธิบายตลาดหุ้นได้เสียทีเดียว หรืออธิบายไม่ได้ทั้งหมด เพราะน้ำหนักหรือสัดส่วนของเซกเตอร์ใน GDP กับตลาดหุ้น มีความแตกต่างกัน
คำถามต่อมาก็คือ เมื่อดูเพียง GDP ไม่ได้ แล้วต้องดูอะไรบ้าง ?
ก็จะมี สัญญาณสะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา “4 ตัว” ซึ่งเราสรุปเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ก็คือ
1. นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ FED
หลังเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกา ปี 2008 ก็มีการเปลี่ยนประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาหรือ FED บ่อยขึ้น ทำให้เริ่มเห็นว่าท่าทีของนโยบายการเงิน มีเรื่องของปัจจัยทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง
จุดเปลี่ยนสำคัญหลังจากวิกฤติปี 2008 คือนโยบายการเงินสหรัฐอเมริกา มีความสุดโต่งขึ้นมาก มีการทำ QE อัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจผ่านการซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างหนัก จนสภาพคล่องล้นเข้ามาอยู่ในตลาดทุน
จึงเป็นที่มาว่า ทำไมนักลงทุนควรติดตามนโยบายของ FED ว่าจะปรับขึ้นหรือลดดอกเบี้ยตอนไหน และจะเพิ่มหรือชะลอการอัดฉีดเงินเข้าสู่สินทรัพย์ต่าง ๆ ช่วงไหนบ้าง
2. อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกา
ปกติแล้ว FED จะพยายามคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบ 2%
แต่ตอนนี้ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกากำลังมีความต้องการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มสูงมาก จากการที่คนกลับมาจับจ่ายใช้สอยกันหลังเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น
ซึ่งประธาน FED ก็ชี้แจงว่า เงินเฟ้อที่ดีดสูงในช่วงนี้ เป็นเพียงปรากฏการณ์ระยะสั้น และเป็น “เรื่องชั่วคราว” ที่ต้องปล่อยให้เกิดไป เพราะเป็นอัตราเงินเฟ้อที่มาจากความอัดอั้นของการบริโภคช่วงก่อนหน้านี้
3. ตัวเลขอัตราการว่างงาน และการจ้างงาน
ตัวเลขการจ้างงานและอัตราการว่างงาน ถือเป็น Lagging Indicator หรือก็คือ “ตัวชี้วัดตาม” ที่จะสะท้อนว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว ขยายตัวได้ดีจริง ๆ แล้วหรือยัง
โดย FED ต้องการให้ตัวชี้วัดนี้ ฟื้นตัวให้เต็มที่ก่อน แล้วค่อยคิดเรื่องปรับดอกเบี้ยขึ้น
ตัวเลขที่น่าสนใจติดตามคือ U.S. Nonfarm Payrolls หรือตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐอเมริกา ที่จะประกาศทุกวันศุกร์แรกของเดือน
สำหรับตัวเลขที่ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา U.S. Nonfarm Payrolls เพิ่มขึ้นมา 9 แสนกว่าตำแหน่ง ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์
ถ้าฟื้นตัวในอัตราเท่านี้ต่อไป ก็คาดว่าในอีก 8-10 เดือน การจ้างงานของสหรัฐอเมริกาจะกลับไปอยู่ในระดับก่อนเกิดวิกฤติโควิด 19
เมื่อการจ้างงานกลับไปที่เดิม เราจะเริ่มเห็นอะไร ? เราก็อาจจะเริ่มเห็นการปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้น เช่น ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น ชะลอการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ
ดังนั้นหลังจากนี้ ก็ต้องจับตาว่า FED จะเริ่มให้ความชัดเจนเรื่องปรับนโยบายการเงินในช่วงไหน ซึ่งคาดว่าปลายปีนี้ FED อาจต้องเริ่มพูดแล้ว
อย่างไรก็ตาม การทำ QE Tapering หรือที่แปลว่าการชะลอหรือดูดสภาพคล่องออกจากระบบเศรษฐกิจนั้น ไม่ได้แปลว่าต้องลดการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบในทันที
เพราะคำว่า Tapering หมายความถึงการ “คงระดับ” การอัดฉีดไว้ ไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น ก็ได้เช่นกัน
และถ้าเราลองเปิดดูข้อมูลย้อนหลังในช่วงที่ผ่านมา กว่าที่ FED จะเริ่ม “ลด” การอัดฉีดสภาพคล่องลง ก็จะต้องรอให้อัตราดอกเบี้ยค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้นไประยะหนึ่งก่อน
สรุปคือ กว่าที่ FED จะทำการ “ลดการอัดฉีด” เงินเข้าสู่ระบบนั้น มันก็มีขั้นมีตอนในการทำ และต้องอาศัยเวลาพอสมควร ไม่ใช่ทำได้ในทันทีที่ประกาศ
ตลาดหุ้นก็อาจจะตอบสนองไปก่อนแน่นอน หลังจากรู้สัญญาณการปรับนโยบายของ FED
อีกประเด็นที่น่าสนใจเรื่องการจ้างงานก็คือ
ถ้า Supply ของแรงงานปรับตัวไม่ทันความต้องการของตลาด เช่น ทักษะแรงงานไม่เหมาะสมกับความต้องการของนายจ้าง แรงงานอาจเติมเต็มในระบบได้ช้าลง ตัวเลขการว่างงานอาจจะสูงต่อไปอีกระยะ
เพราะฉะนั้นถ้าเกิดมีประเด็นนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือทำ QE Tapering ก็อาจขยับเวลาออกไปก่อน เพราะนโยบายการเงินที่ดี ควรรอให้ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ขยายตัวให้ครบก่อน
4. ความคืบหน้าของการผ่านร่างนโยบายการคลัง
ในแต่ละนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา นำโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองสภาคือ สภาผู้แทนราษฎร (House) และ วุฒิสภา (Senate)
ซึ่งนโยบายล่าสุดที่ได้รับการอนุมัติไปก็คือ The American Rescue Plan Act นโยบายต่อสู้กับวิกฤติโควิด 19 ที่มีงบประมาณกว่า 63 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีนโยบายอีกหลายตัวของฝั่งรัฐบาลไบเดนที่น่าจับตามอง
ก็คือ United States Innovation and Competition Act ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการแข่งขันของประเทศโดยจะเน้นไปที่ กลุ่มของเซมิคอนดักเตอร์
และอีก 2 นโยบาย ที่กำลังผลักดันก็คือ Infrastructure Investment and Jobs Act ที่สนับสนุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยล่าสุดได้ผ่านการอนุมัติจากทางฝั่งวุฒิสภาเรียบร้อยแล้ว และ American Family Act ที่สนับสนุนด้านการศึกษา ที่กำลังรอการพิจารณาต่อไป
ซึ่งหากนโยบายทั้ง 3 นี้ผ่านหมด จะมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้ประโยชน์ เช่น กลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มก่อสร้าง
และยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมย่อย ที่จะได้รับผลประโยชน์ และจะสามารถช่วยกระตุ้นการจ้างงานได้อีกมาก จากนโยบายต่าง ๆ เหล่านี้
ทั้งหมดนี้ จึงกลายเป็นการสรุปภาพรวม 4 สัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ที่เราควรต้องติดตามกันก็คือ
- นโยบายการเงินของ FED
- อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา
- ตัวเลขอัตราการว่างงานและตัวเลขการจ้างงาน
- ความคืบหน้าของการผ่านร่างนโยบายการคลัง
ท่ามกลางวิกฤติทั่วโลก หนึ่งในประเทศที่มีการฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วก็คือ สหรัฐอเมริกา
ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า 4 สัญญาณสำคัญนี้ของสหรัฐอเมริกา จะเป็นไปในทิศทางไหนต่อไป..
imf u.s. gdp 在 君子馬蘭頭 - Ivan Li 李聲揚 Facebook 的最佳貼文
[貨幣101—美匯指數]兼講金本位,同簡明貨幣制度史
繼續事忙(好快忙完!過埋生日啦),出啲簡單文教學。反正上個post 反應都不錯(https://bit.ly/3fgSP1i),話見到美股,同美金美匯指數,基本上係反向咁行。
TL:DR — 你日日見到嘅美匯指數,係1973年嘅產物,咁多年冇update過。而美匯指數出現,正係因為美元本位金本位收皮。
1. 但,好似都未講咩係美匯指數,其實唔難,Google就得。但都解下。照計細細個都會諗(我有啦下,你冇好奇心係你嘅事),世界上咁多貨幣,我細個年代甚至仲有咩西德馬克法國法郎意大利里拉之類,咁咪好多唔同嘅匯率?同埋,你講西德馬克強勢,係指對乜先?瑞士法郎?日圓?古巴披索?定乜呢?
2. 當然大個咗就知,Pax Americana嘛,美國美元獨大,所有嘢以對美國為準。英鎊弱,就係講對美元。日圓強,亦係指對美元。至於AUD/JPY呢啲咁niche嘅cross rate,就用嚟寫文嘅(*)
3. 但,咁,講美金強弱呢?點算?對乜好?其中一個方法係講相對於黃金,「屌,咪即係金價咯」。咁另一方法,對返其他貨幣,「屌,咪即係EURO掉轉」,又唔多好喎,想對晒咁多隻。
4. 於是乎,就有所謂嘅「美匯指數」,Dollar Index,DXY,有時又會就咁叫「美金」「美匯」「greenback」。就係對返一籃子貨幣,不同比重。
5. 呢度就有問題啦,到底用咩貨幣呢?同埋比重點計?
6. 留意呢個「美匯指數」,可以直接拎嚟炒,有期貨賭,仲有ETF,有期權。而入面啲成份,係極之咁化學同兒嬉嘅。
7. 答案就係,歐元佔差不多六成,日圓十四巴仙,英鎊十二巴仙,加元九巴仙,剩返係瑞典克郎同瑞士法郎。
8. 人民幣呢?冇噃。咁當然啲網友梗係講人民幣點廢點乜。Fine,你覺得開心啲嘅,隨你。但,印度盧比呢?一樣冇。親,印度有民主啦掛,印度經濟規模大過英國添。瑞士瑞典都有,印度冇?仲有巴西韓國,全部唔見影。瑞典老幾呀?GDP細過泰國,好快就伊朗尼日利亞都大過佢
9. 明顯地,呢個美匯指數,係反映「舊世界」秩序。
10. 呢度講遠少少歷史,希望唔悶。可能有聽過Bretton Woods system,布列頓森林體系,亦可能冇。但冇都好,應該聽過「金本位制」,以前美好嘅年代,你阿爺嘅年代,好好的,貨幣背後有黃金支持(不過冇得上Facebook,亦冇得一年去幾次日本)。你有幾多金就印幾多錢,冇得係咁印。
11. 金本位制已不復再,而家行嘅係fiat currency,法幣,講個信字,任印。貨幣嘅「intrinsic value」,等於零。港紙叫做有美金支持,但美金背後一樣講個信字。具體啲就係誰大誰惡誰正確, monopoly of the legitimate use of physical force 即主權,亦好多時包埋鑄幣權。當然有啲國家選擇用其他貨幣,係選擇。但一般嚟講,你在越南就要用越南紙,餐廳肯收美金係選擇,但亦可以堅持你畀越南盾,你唔畀就打柒你。就是咁簡單。
12. 而在金本位,過渡去到而家fiat currency,中間嗰三十年左右,就係呢個Bretton Woods system。係邊三十年?係1944-1973。叻嘅大約估到同乜有關,正係二次大戰。
13. 二次大戰後,歐洲英國等等元氣大傷,日本炸到稀巴爛,中國褲都未有著。基本上就係美國獨大,Pax Americana嘛。最後重建秩序,好多人只留意咩馬歇爾計劃呀,日本天皇去神化之類,完全冇諗金融秩序。你而家見嘅咩IMF 同 World Bank,都係二戰後搞出嚟的東西
14. 講返,二戰後,歐洲日本打到仆街,英國亦正式退下神壇,美國成為無可爭議嘅唯一大國。亦都因為咁,呢套Bretton Woods system,就係人人掛美金,唔準貶值,然後美金掛黃金,咁咯。因為美國拎住最多黃金嘛。
15. 但,呢度唔講太深啦,大家都估到呢啲固定匯率有乜問題(其實亦係香港盯住美元嘅問題),總有人各懷鬼胎想貶值。更大鑊係,總有人覺得固定匯率對自己唔著數(**),咁你保證我可以換金嘛,我就換金,於是美國嘅黃金都不停流失。
16. 結果你估到了,就係美國嘅黃金儲備都不停流失,等同擠提。然後當然係落閘,但唔使放狗。就係棄守呢樣嘢。美金再唔盯住黃金,其他貨幣亦唔盯住美金,全自由浮動。時為1973年,Bretton Woods system唔夠三十年後。點解係呢個時間?正因為歐洲經濟全面復蘇,同埋美國爆咗幾次危機。
17. 講到好遠,但,美匯指數,就正係Bretton Woods system收檔之後,1973年嘅產物。如果人人對美金固定匯率就唔使指數啦,日日一樣!而樓上講嘅「歐元佔差不多六成,日圓十四巴仙,英鎊十二巴仙,加元九巴仙」比重,正係嗰時定嘅!之後一路都冇郁過!死未,夠化學未?
18. 聰明嘅你又可以反駁,喂,1973年邊有歐元呀?冇錯,當時係冇的。當時係德國馬克法國法郎(唔知有冇意大利里拉西班牙比薩塔,懶查)。但,其實一樣。應該話,1973年之後,唯一再轉嘅一次,就係1999年,叫做歐元誕生,取替咗細細個屋村師奶炒嘅ECU歐洲貨幣單位(呢個詞好有歷史感)。
19. 打後咁多年,完全冇郁過。根本就係連1999年嗰次,亦只係將德國馬克法國法郎等等,加晒入去歐元。就所以,唔會見到人民幣,印度盧比,巴西雷亞爾,墨西哥披索等等東西。
20. 咁白痴都得?係咁的。所以早有人發明一個更與時並進嘅東西,叫TWEXB,Trade Weighted U.S. Dollar Index: Broad。唔複雜,就係用返而家美國嘅貿易額嚟做比重,加權咁計每一隻貨幣。同埋,可以每年update 一次,咁就當然有人民幣呀甚麼了
21. 不過,正如好早都寫過,美股道股係十分過時嘅東西,計法唔太科學,成份股又得三十隻。真係專業(***)嘅,當然講標普指數。亦好合理,因為道指已經百幾年前嘅產品。但,新聞好多時都仲係報道指為先,甚至「專業」嘅都會講。歷史嘅嘢,唔係咁易取代。「即係好似,明明電路中電子就係負極流向正極,但conventional current 電流都係當正極流向負極咁」
下篇會講埋,美匯指數同港股
(*)其實唔難,大約估到,AUD/JPY亦係量度「風險胃納」。後者係險避貨幣for some reason(唔記得有冇講過,第時再解),同美元同瑞士法郎一樣,但凡見兵荒馬亂,美金瑞郎日元都升。前者呢,澳元一般就係「冒險貨幣」,同韓WON印尼盾之類差不多。倒唔係因為地理,或者因為澳洲係新興市場。最主要係,其實澳元係China proxy,鐵礦石亦係,中國經濟差就全球都冇乜運行,澳元鐵礦銅價等等,多數都大插。
(**)想像下,歐元亦係同一個問題,意大利同德國用同一種貨幣,廢柴意撚當然覺得唔公平。以前意撚就話貶值救經濟,而家冇呢回事。但,又諗返,歐元咁撚廢嘅,就人人爭住退出啦。但你見事實係點?事實你見意大利西班牙之類根本唔想退出,反而係有事個個想加入。原因亦好簡單:因為歐盟有錢分畀意大利西班牙之類,仲有意大利西班牙人可以去德國打工。當然歐盟同歐元區係兩樣嘢,但,正路地,只可以入歐盟唔用歐元(瑞典,同埋以前英國等等),唔可以用歐元唔入歐盟(非歐盟嘅黑山同科索沃理論上都用歐元,但只係單方面,在歐央行並冇任何話事權)
(***)上次都有人挑機問何謂專業,係咪串人唔專業。咁只能答你,冇話專業一定叻,但就係講金融業界咯,基金經理,分析員之類。咁當然你唔著波砵都可以勁過美斯,理論上。
———————
版務:收費專欄已減價。支持埃汾高質文章。
一星期三篇,$175睇到6月22號,加埋過去兩個幾月所有文章。
請去呢度訂:bit.ly/2wVXndj
課程編號填: CC01
報完會有email通知,繳費後有Login及Password
逢一三五入去 homebloggerhk.com (入到去就睇到《事先張揚》)
亦睇得返以前嘅文。一般我都係會黃昏出文嘅。
imf u.s. gdp 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
เศรษฐกิจย่ำแย่ แต่หุ้นขึ้น /โดย ลงทุนแมน
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ธนาคารกลางประเทศอังกฤษคาดการณ์ว่า GDP ปีนี้
จะตกต่ำลงกว่า 14% ซึ่งถือเป็นการลงที่รุนแรงที่สุดในรอบ 300 ปี
300 ปี เป็นตัวเลขที่น่าสนใจเพราะยุคนั้นเป็นยุคของเซอร์ไอแซก นิวตัน
ผู้คิดค้นทฤษฎีแรงโน้มถ่วง หรือประเทศไทยก็คือ ยุคกรุงศรีอยุธยา..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่าวิกฤติในปีนี้ มีมูลค่าความเสียหายรุนแรง
ยิ่งกว่ายุคสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง และวิกฤติเศรษฐกิจทั้งหมดที่คนรุ่นเราพอจะนึกออก
นอกจากประเทศอังกฤษ อีกหลายประเทศก็กำลังเผชิญหน้า
กับเศรษฐกิจที่ย่ำแย่สุดในรอบประวัติศาสตร์ ไม่ต่างกัน
สัปดาห์ก่อน ประเทศสหรัฐอเมริการายงานตัวเลข
การว่างงานพุ่งทะลุ 20.5 ล้านคน ในเดือนเมษายน
รวมถึงมีรายงานว่าบริษัทอเมริกันยื่นล้มละลายไปแล้วกว่า 78 แห่ง
เรื่องนี้ส่งผลให้อัตราว่างงานชาวอเมริกันอยู่ที่ระดับ 14.7%
ซึ่งถือเป็นระดับที่ย่ำแย่ที่สุดในประวัติศาสตร์
นับตั้งแต่ Great Depression ในปี ค.ศ. 1929 หรือ 91 ปีก่อน
วิกฤติในครั้งนั้น ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา (Dow Jones)
ลดลงจากจุดสูงสุดที่ 381.17 จุด ตกลงมาสู่จุดต่ำสุดที่ 41.22 จุด
คิดเป็นการตกลงถึง 89% ภายในระยะเวลา 3 ปี
การตกลง 89% ของตลาดหุ้นในสหรัฐอเมริกาในตอนนั้นใกล้เคียงกับการตกลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย
จากจุดสูงสุดที่ 1,789 จุด ตกลงมาสู่จุดต่ำสุด 204 จุด ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ปี พ.ศ. 2540
ซึ่งในปีถัดมา GDP ประเทศไทย ติดลบ 7.6%
ในขณะที่ปีนี้ IMF คาดการณ์ว่า GDP ประเทศไทยปีนี้ จะติดลบ 6.7%
เท่ากับว่าวิกฤติปัจจุบัน ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยกำลังเผชิญกับเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงสุดครั้งหนึ่งในรอบประวัติศาสตร์
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับตลาดทุน
ทั้งในสหรัฐอเมริกา ไทย รวมถึงทั่วโลก
กลับไม่ได้ตกต่ำรุนแรงเหมือนในอดีต..
แล้วสถานการณ์ตอนนี้กับในอดีต ต่างกันอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ถ้าบอกว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่ย่ำแย่สุดในรอบประวัติศาสตร์
ทุกคนก็คงยอมรับ
แต่นโยบายทางการเงินที่ธนาคารกลางหลายประเทศทั่วโลก กำลังทำอยู่ตอนนี้
ก็ถือว่าเป็นนโยบายที่บ้าบิ่นที่สุดในประวัติศาสตร์เช่นกัน
เพราะตอนนี้ ธนาคารกลางในหลายประเทศหั่นอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง
รวมถึงอัดฉีดเงินเข้าระบบมหาศาล แบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
การอัดฉีดเงินเข้าระบบ หรือ Quantitative Easing (QE) เป็นนโยบายทางการเงิน
ที่เริ่มต้นมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาในยุควิกฤติซับไพรม์ ปี ค.ศ. 2008
ซึ่งใช้ได้ผลดี และทำให้สหรัฐอเมริกาฟื้นจากวิกฤติมาได้อย่างรวดเร็ว
และก็เหมือนคนเคยเจ็บป่วย กินยาหาย
เมื่อป่วยอีกก็อยากกินยานั้นอีกครั้ง..
ซึ่งรอบนี้ การอัดฉีดเงินในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้วิวัฒนาการเป็น Unlimited Quantitative Easing หรือ การพิมพ์เงินอัดเข้าไปพยุงสภาพคล่อง และธุรกิจไม่จำกัดวงเงิน ไม่จำกัดระยะเวลา
ถึงตอนนี้ธนาคารกลางประเทศสหรัฐอเมริกาอัดฉีดเงินเข้าระบบไปแล้วกว่า 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 58 ล้านล้านบาท คิดเป็นกว่า 3.6 เท่าเมื่อเทียบกับ GDP ประเทศไทยปีที่ผ่านมา
ทั้งหมดนี้สะท้อนไปยังความเชื่อมั่นในตลาดทุนที่ฟื้นกลับมาอย่างรวดเร็ว
แม้ว่าจะเกิด Circuit Breaker หลายครั้งในหลายประเทศตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา
การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วแบบนี้ สะท้อนให้เห็นว่าตอนนี้หลายคนยังมองวิกฤติโรคระบาด
มีแนวโน้มที่กำลังจะสิ้นสุดภายในไม่กี่เดือนที่จะถึงนี้ และนโยบายทางการเงินที่บ้าคลั่งกำลังจะรักษาวิกฤตินี้ได้
อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีใครรู้ว่า “สิ่งที่เราต้องจ่าย” จากการดำเนินนโยบายทางการเงินที่บ้าบิ่นขนาดนี้ จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในรูปแบบไหนบ้างในอนาคต
หากทุกอย่างกลับมาเป็นปกติโดยสมบูรณ์
ผู้คนเดินทางเป็นปกติ ไปเที่ยวเป็นปกติ
ความต้องการ กำลังซื้อของเรากลับมาที่จุดเดิม
เงินที่ล้นระบบจากนโยบายทางการเงินในวันนี้
ก็จะถูกทำให้ลดลงในอนาคต
และในวันนั้น
บุคคลที่ติดยา แต่ให้หยุดเสพ
เราก็จะได้รู้กัน ว่าอาการเป็นอย่างไร..
╔═══════════╗
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 5
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ.2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/p…/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.history.com/…/great-de…/great-depression-history
-https://www.thebalance.com/the-great-depression-of-1929-330…
-https://www.bloomberg.com/…/fed-slows-treasury-buying-again…
-https://www.investopedia.com/t…/a/asian-financial-crisis.asp
-https://www.britannica.com/event/Asian-financial-crisis
-tradingview.com
-investing.com
Economy is bad but stocks are up / by Investing Man.
A few days ago, the British Central Bank predicted GDP this year.
Going down 14 % which is the most severe down in 300 years.
300 years are interesting numbers because that era is Sir Isaac Newton era.
The inventor of gravity theory or Thailand is the era of Krungsri Ayutthaya..
╔═══════════╗
Blockdit Analytical Article Source
Deep content penetrating
Recently, a podcast feature has been published.
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
This reflects this year's crisis worth of severe damage.
Even more than the 2 world wars era and all economic crisis that our generation can imagine.
Apart from England, many other countries are facing.
With the worst economy in history, there is no difference.
Last week USA reported numbers
Unemployment surpassed 20.5 million people in April.
Including 78 American companies have been filed bankruptcy.
This resulted in the American unemployment rate at 14.7 % level.
Which is the worst level in history.
Since Great Depression in July Prof. 1929 or 91 years ago
Crisis at that time, U.S. stock market index (Dow Jones)
Dropped from 381.17th highs, fell to 41.22th lowest point.
Think about 89 % in 3 years.
A 89 % deal of U.S. stock market at that time was close to the agreement of the Thailand Stock Exchange Index.
From the highest point at 1,789 points, I fell to the lowest point of 204 points during the crisis. Tom Yum Kung Pip. B.E. 2540
GDP Thailand is 7.6 % negative.
While this year, IMF predicts GDP Thailand will be 6.7 % negative.
It's equal to the current crisis, countries around the world, including Thailand, are facing the most severe economic crash once in history.
But what happened to the capital market
Both in USA, Thailand and around the world.
Back to back, not as severe as in the past..
So what's the difference between now and past situation?
Investing man will tell you about it.
If we say we are now in the worst economic crisis in history
Everyone would accept it.
But the monetary policy that many central banks around the world are doing now.
It's considered the craziest policy in history too.
Because now, central banks in different countries cut interest rate policies down.
Including pumping money into the system like never before.
Pumping money into a system or Quantitative Easing (QE) is a monetary policy.
Starting from USA in subprime crisis era B.E. 2008
Which works well and quickly revives the U.S. crisis.
And it's like someone who has been sick. Take medicine to heal.
When I'm sick again, I want to take that pill again..
This time, the money pumping in USA evolves into Unlimited Quantitative Easing or printing money to support liquidity and business. Unlimited amount of money. No time limit.
Until now, the Central Bank of USA has pumped over 1.8 trillion USD or 58 trillion Baht. It's more than 3.6 times compared to GDP Thailand last year.
This all reflects confidence in rapidly reviving capital markets.
Despite the Circuit Breaker many times in different countries for the last 2 months.
A speedy recovery like this reflects that many people are still looking at the epidemic crisis.
It's likely to end within the next few months and insane monetary policies are going to cure this crisis.
However, no one knows what ′′ we have to pay ′′ from implementing this crazy financial policy will impact future economic system.
If everything is completely back to normal
People travel normally, go on a regular trip.
Our purchase demands are back at the same spot.
Money overflowing from monetary policy today
Will be dropped in the future
And on that day
A person who is addicted to drugs but stop using them.
We will know how the symptoms are..
╔═══════════╗
If you want to know the possibility of the world economy, you must understand the
World economy 1,000 years. 5th typing.
This book will talk about the world economic history from July. Prof. 1100 will keep chasing until July. B.E. 2019
Order at (Buy now and get 10 % discount from the cover price of 350 baht)
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee: https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
Follow to invest in man at
Website - longtunman.com
Blockdit-blockdit.com/longtunman
Facebook-@[113397052526245:274: lngthun mæn]
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram-instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.history.com/topics/great-depression/great-depression-history
-https://www.thebalance.com/the-great-depression-of-1929-3306033
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2020-05-08/fed-slows-treasury-buying-again-to-7-billion-a-day-next-week
-https://www.investopedia.com/terms/a/asian-financial-crisis.asp
-https://www.britannica.com/event/Asian-financial-crisis
-tradingview.com
-investing.comTranslated