[148641] 15441. 王冠:奧丁"The Crown" Olding (2019)★★__Benjamin Caron
[148642] 15442. 王冠:瑪格麗特學"The Crown" Margaretology (2019)★★★__Benjamin Caron
[148643] 15443. 王冠:艾伯凡"The Crown" Aberfan (2019)★★★__Benjamin Caron✚
[148644] 15444. 王冠:布比金斯"The Crown" Bubbikins (2019)★★★__Benjamin Caron
[148645] 15445. 王冠:政變"The Crown" Coup (2019)★★__Christian Schwochow
[148646] 15446. 王冠:威爾斯親王"The Crown" Tywysog Cymru (2019)★★★__Christian Schwochow
[148647] 15447. 王冠:月塵"The Crown" Moondust (2019)★★__Jessica Hobbs
[148648] 15448. 王冠:擺盪的人"The Crown" Dangling Man (2019)★★__Samuel Donovan
[148649] 15449. 王冠:糾葛"The Crown" Imbroglio (2019)★★__Samuel Donovan
[148650] 15450. 王冠:呼求"The Crown" Cri de Coeur (2019)★★__Jessica Hobbs
[148651] 15451. 阿雞:面對中國武漢肺炎,一位饒舌歌手在台南致敬台灣防疫人員並對譚德塞說… (2020)
[148652] 15452. Trainer, Big Soto & Jeeiph - Lírica (Remix) (2018)★★
[148653] 15453. Tabitha Nauser - Bulletproof (2017)★★
[148654] 15454. Tabitha Nauser & SonaOne - Body Language (2017)★★
[148655] 15455. Castlebeat - Heart Still Beats (2017)★★
[148656] 15456. Castlebeat - Rope (2016)★★
[148657] 15457. Why? - One Mississippi (2017)★★__R. Massey
[148658] 15458. Two Crooks & F1rstman - Op En Neer (2016)★★
[148659] 15459. Ghost - He Is (2015)★★__Zev Deans
[148660] 15460. Glen Hansard & Markéta Irglová - Falling Slowly (2006)★★ⓡ
[148661] 15461. SEBii - Too Many Thoughts (2017)★★
[148662] 15462. Son Little - Mad About You (2017)★★
[148663] 15463. Oddly Shrugs - Apathy (2017)★★‒
[148664] 15464. Shakewell & Mikey The Magician - Savannah Smiles (2017)★★
[148665] 15465. Swervy, TreyBandz & Lil Bean - Man Hunt (2017)★★
[148666] 15466. Tha God Fahim & Mach-Hommy - Jesse James (2017)★★★
[148667] 15467. Rotimi & Kranium - Want More (2017)★★
[148668] 15468. Toosii - Karma (2018)★★
[148669] 15469. T Classic & Mayorkun - Fall In Love (FIL) (2018)★★
[148670] 15470. St. Lucia - Elevate (2013)★★
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「imbroglio」的推薦目錄:
- 關於imbroglio 在 stu sis Facebook 的最佳解答
- 關於imbroglio 在 หนังโปรดของข้าพเจ้า Facebook 的最讚貼文
- 關於imbroglio 在 หนังโปรดของข้าพเจ้า Facebook 的最佳解答
- 關於imbroglio 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
- 關於imbroglio 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於imbroglio 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於imbroglio 在 How to Pronounce Imbroglio? (CORRECTLY) - YouTube 的評價
- 關於imbroglio 在 Imbroglio Productions - Home | Facebook 的評價
imbroglio 在 หนังโปรดของข้าพเจ้า Facebook 的最讚貼文
The Crown ซีซั่น 3 (สามารถดูได้ใน Netflix)
นับเฉพาะซีรีส์ที่ได้ดู ขอบอกเลยว่าเป็นซีรีส์เรื่องเดียวที่ขนาดผ่านไป 3 ซีซั่นแล้วยังคงรักษาคุณภาพระดับเกรด A เอาไว้ได้ ในซีซั่น 3 เล่าช่วงกลางถึงปลายยุค 60's เศรษฐกิจของอังกฤษตกต่ำถึงขั้นวิกฤติ พรรคแรงงานชนะการเลือกตั้งได้ครั้งแรกในรอบหลายสิบปี มหาอำนาจในโลกเปลี่ยนมือไปเป็นการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ กับโซเวียตที่พัฒนาเทคโนโลยีและแข่งขันกันสำรวจอวกาศ ความยิ่งใหญ่ของเครือจักรภพเริ่มหมดสิ้น ภายในสถาบันกษัตริย์มีความหวาดระแวงจะถูกต่อต้านทั้งจากกระแสประชาชนที่เริ่มวิจารณ์การใช้จ่ายของราชวงศ์ รวมถึงในหมู่นักการเมืองก็มีบางกลุ่มสนับสนุนการเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ดังนั้นในซีซั่นนี้จึงได้เห็นเนื้อหาการเล่าเรื่องที่แตกต่างออกไปจากเดิมอยู่สักหน่อย
.
ไม่แน่ใจว่าเพิ่งมาสังเกตหรือเป็นมาตั้งแต่ทั้ง 2 ซีซั่นก่อนหน้า ซีซั่นนี้บทซีรีส์ที่เขียนโดยปีเตอร์ มอร์แกน แล้วกระจายไปให้ผู้กำกับหลายคนมากำกับนั้นดูจะมีการตีความอารมณ์และโทนแต่ละตอนออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น อย่างตอน Imbroglio เป็นช่วงรัฐบาลประกาศลดการจ่ายไฟพอดี งานถ่ายภาพยิ่งออกมาเป็นโทนครอบครัวตัวร้ายเขย่าขวัญ, หรืออย่างตอนสุดท้าย Cri de Coeur นี่ก็เหมือนหนังรักรสขม ที่มีโทนสดใสซาบซ่ามาร์กาเร็ตเจอหนุ่มใหม่ที่เด็กกว่าสามี ตัดกับโทนหม่น ๆ ในช่วงท้าย, และในตอน Moondust ก็ให้ความรู้สึกเหมือนดูหนังที่เล่นกับการค้นหาคำตอบของพระเจ้าผ่านความท้าทายของการได้ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์และศรัทธาต่อศาสนาที่ค่อย ๆ หมดสิ้น
.
สิ่งหนึ่งที่เด่นขึ้นมากอีกอย่างคืองานกำกับภาพ ซีซั่นนี้มีหลายช็อตที่ประทับใจมาก ๆ อย่างตอน Imbroglio มีทั้งช็อตที่ชาร์ลส์รู้สึกตัวเองเป็นคนนอก สายตาของครอบครัวพร้อมกับการถ่ายนี่ให้โทนครอบครัวตัวร้าย หรือตอนแอนน์ถูกเรียกตัวไปถามถึงความรักของพี่ชายก็ช่างน่าสะพรึงเหลือเกิน ผิดกับสมัยที่เราดูเนื้อหาแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นกับมาร์กาเร็ตยังถ่ายโทนไม่ออกชัดขนาดนี้ อีกอย่างคือแคสต์นักแสดงมาเทพมาก เทพของเรานอกเหนือจากทักษะการแสดงแล้ว คนแคสต์และแต่งหน้าทำผมแต่ละคนออกมาให้มีความต่อเนื่องจาก 2 ซีซั่นก่อนหน้าชนิดที่แทบไม่ผิดเพี้ยน ทั้งบุคลิกและตัวนักแสดงเนียนจนบางทียังรู้สึกว่าเป็นนักแสดงเก่าที่แก่ขึ้นมาจริง ๆ ไม่มีขัดใจเลย
.
ซีซั่นนี้มีหลายตอนที่น่าพูดถึงแบบเน้น ๆ แม้ซีรีส์ดูจะประนีประนอมกับราชวงศ์ในเนื้อหาที่หมิ่นเหม่ แต่ยังรู้สึกได้ว่าความเป็นข้อเท็จจริงผสมเรื่องแต่งยังเปิดช่องให้มองได้สองแง่มุมเสมอ ขึ้นอยู่กับวิธีคิดของคนดูที่มีต่อสถาบัน เหมือนที่คนในอังกฤษดูอาจจะรู้สึกเป็นโฆษณาชวนเชื่อเพราะเขาเกี่ยวข้องตรง ๆ แต่ชาติอื่นดูอาจจะชื่นชมความแกรนด์อะไรประมาณนั้น เคยเขียนถึง The Queen เอาไว้ที่กระทู้นี้ https://pantip.com/topic/31696713 การปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ 'อนุรักษ์นิยม' ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งมีความคล้ายกับ The Crown อย่างหนึ่งคือเป็นการใช้สื่อภาพยนตร์สร้างภาพลักษณ์ได้อย่างชาญฉลาด
.
ในตอน Margaretology เป็นการเปรียบเปรยถึงคนที่ตกเป็นรองคนที่สถานะโดดเด่นกว่าได้อย่างยอดเยี่ยม บทของมาร์กาเร็ตเป็นคนที่อยู่รองจากควีนเอลิซาเบ็ธมาตลอดชีวิต ถูกกำหนดสถานะมาตั้งแต่วัยเด็ก กลายเป็นปมที่ต้องการพื้นที่ให้ตัวเองได้เฉิดฉาย ซีรีส์เล่าเส้นเรื่องอังกฤษพยายามขอกู้เงินจากสหรัฐฯ ไปคืน IMF สลับกับความเจิดจรัสของมาร์กาเร็ตระหว่างทัวร์อเมริกา แล้วตบเข้าหาการได้ไปงานเลี้ยงที่ทำเนียบขาวได้คมกริบ ชัยชนะของมาร์กาเร็ตอาจจะไม่ได้รางวัลอย่างที่เธอคาดหวัง(ของานเพิ่ม) แต่อย่างน้อยก็ทำให้เห็นว่าบุคลิกของเธอสามารถเล่นบทบาทที่นอกเหนือจากมารยาททางการทูตตามธรรมเนียมนิยมได้เหมือนกัน ซึ่งเป็นบทบาทที่ควีนเอลิซาเบ็ธไม่สามารถทำได้ จะว่าไปก็แสดงให้เห็นความอิจฉาระหว่างพี่น้องแบบที่เคยดูมาตลอด 2 ซีซั่น และได้เห็นความกลัวของพี่สาวที่กังวลว่าน้องตัวเองจะโดดเด่นกว่าหากเพิ่มบทบาทให้
.
ตอน Aberfan ก็เป็นอีกตอนที่ดีในแง่ของการแก้ต่างแทนควีนเอลิซาเบ็ธ จะมีสื่อชิ้นไหนที่สามารถแก้ไขภาพลักษณ์ชวนเชื่อได้งดงามแบบภาพยนตร์ เป็นตอนที่พูดถึงเหตุเหมืองถล่มจนมีเด็กถูกดินโคลนทับตายเป็นร้อยศพ ทั้งนายกฯ ทั้งบางคนในวังอย่าง โทนี่ (สามีมาร์กาเร็ต) รีบรุดไปที่เกิดเหตุ แต่ควีนเอลิซาเบ็ธตั้งใจอย่างเดียวคือสถานะของเธอควรจะไปเยี่ยมที่โรงพยาบาลเท่านั้น ออกแอ็คชั่นล่าช้ากว่าจะเริ่มเคลื่อนไหวคือกังวลกระแสสังคมต่อต้าน ในช่วงที่บางคนในรัฐบาลวางแผนจะเบี่ยงเบนกระแสประชาชนให้ไปด่าสถาบันที่นิ่งเฉยแทนตัวเอง สุดท้ายเรายังมองว่าตอนนี้คือการแก้ต่างแทนน่ะแหละ ด้วยการตบท้ายมาว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่ควีนเอลิซาเบ็ธเสียใจมากที่สุดในชีวิต
.
Bubbikins ก็เป็นอีกตอนที่ดี เปิดมาด้วยเจ้าชายฟิลิป ซึ่งแต่งงานกับควีนเอลิซาเบ็ธ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่รวยที่สุดในโลก แต่สามีของเธอกลับบ่นออกรายการโทรทัศน์ที่สหรัฐฯ ว่าตัวเองไม่ได้ปรับขึ้นเงินเลย ต้องใช้จ่ายรัดกุม อดเล่นโปโล อาจต้องย้ายไปอยู่วังเล็กลง ทั้งที่ในห้วงเวลานั้นเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรกำลังย่ำแย่ จนทำให้หนังสือพิมพ์เขียนบทความวิจารณ์อย่างรุนแรง แม้กระทั่งในกลุ่มรัฐบาลที่มาจากพรรคแรงงานก็มีบางคนที่เคยเป็นกลางกับสถาบันเริ่มสองจิตสองใจ ทำให้ในวังเริ่มวางแผนตอบโต้ด้วยการสร้างความนิยมกับประชาชน แผนการของเจ้าชายฟิลิปคือ การให้โทรทัศน์เข้ามาถ่ายทำสารคดีว่าคนในวังทรงงานหนักขนาดไหน (ต้องเลี้ยงแขก, จัดเลี้ยงหรูหรา, ต้อนรับทูต) และสร้างภาพความเป็นครอบครัวพร้อมหน้าพร้อมตา
.
สิ่งที่น่าตลกคือในเวลานั้นผู้คนสนับสนุนสถาบันเพราะราชพิธีสืบทอดยาวนานและความลึกลับท่ามกลางความโจ่งแจ้งที่ประชาชนเห็นภายนอก ไม่ใช่ต้องการเห็นสถาบันเป็นคนธรรมดามาปิ้งบาบีคิวหรือดูโทรทัศน์พร้อมหน้ากันในครอบครัว (ปลอมมาก) การดำรงอยู่ของสถาบันจึงกลายเป็นอะไรที่ประชาชนมองเป็นแบบอย่างได้ เหมือนเป็นมนุษย์ในอุดมคติที่ไม่มีรอยด่างพร้อย ทั้งที่ความจริงแล้วพวกในวังก็เป็นคนธรรมดาเหมือนเรา ไม่ได้เป็นสมมติเทพ ซ้ำร้ายยังดำรงอยู่ด้วยเงินภาษีจากประชาชนอย่างเราอีก อย่างราชวงศ์อังกฤษปี 1967 คือใช้เงินต่อวันเป็น 4 เท่าของรายได้เฉลี่ยประชาชนต่อปี พูดง่าย ๆ ว่าชาวบ้านตาดำ ๆ ทำงาน 4 ปียังมีเงินไม่เท่าที่ราชวงศ์ผลาญไปในวันเดียว ยิ่งตอกย้ำความปลอมและความสุรุ่ยสุร่ายของสถาบันมากขึ้นไปอีก
.
ส่วนตัวชอบจุดพลิกผันใน Bubbikins อย่างหนึ่งคือในขณะที่เจ้าชายฟิลิปพยายามสร้างภาพด้วยสารคดีจอมปลอมขนาดไหน สุดท้ายสิ่งที่สะกิดใจนักข่าวที่โจมตีสถาบันคือเรื่องราวของแม่เจ้าชายฟิลิปนั่นเอง ทั้งการต้องเร่ร่อนจากการปฏิวัติในกรีซ ความบกพร่องทางการได้ยินในวัยเด็ก ถูกส่งไปรักษาตัวทางจิตแบบที่รุนแรงถึงขั้นช็อตไฟฟ้า/ฉีดยา แต่แทนที่เธอจะโกรธเกรี้ยวเกลียดชังโลก เธอกลับทำในสิ่งที่แสนวิเศษเมื่อหนีออกมาได้คือการอุทิศตัวให้ศาสนามาอย่างยาวนานและเรียกร้องความยุติธรรม รวมถึงทำงานการกุศลบริการสาธารณะ อันนี้คือความเหน็ดเหนื่อยและคู่ควรให้ศรัทธามากกว่าเรื่องสตอเบอร์แหลที่พยายามถ่ายทำสารคดีเสียอีก
.
หรืออย่างในตอน Coup ที่หลายคนชอบมากเพราะเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร ในช่วงที่เศรษฐกิจย่ำแย่จนรัฐบาลต้องประกาศลดค่าเงินปอนด์ สิ่งที่รัฐบาลในเวลานั้นพยายามทำคือลดรายจ่าย เริ่มต้นด้วยการปลดผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่ไม่ยอมอ่อนข้อให้กับการลดงบกระทรวงกลาโหม อันนำมาสู่แผนการรัฐประหารที่เป็นความร่วมมือระหว่างสื่อหนังสือพิมพ์, คนในแวดวงการเงิน, และลอร์ดเมานธ์แบตเตน อดีตผบ.ทบ.ที่มีตำแหน่งในราชวงศ์ด้วย
.
ในประเทศเล็ก ๆ การทำรัฐประหารอาจจะไม่ยากเย็นสักเท่าไร ใช้ทหารแค่หลักร้อยหลักพันคนก็สามารถยึดอำนาจได้แล้ว แต่ในสหราชอาณาจักรที่เคลมตัวเองว่าสังคมประชาธิปไตยสูงส่งนั้นย่อมแตกต่างออกไป เพราะต้องควบคุมสื่อ, ควบคุมเป้าหมายในคณะปกครอง, ควบคุมเศรษฐกิจ, ต้องอาศัยความจงรักภักดีของทุกเหล่าทัพ ซึ่งประเทศใหญ่แบบสหราชอาณาจักรจำเป็นต้องยึดอำนาจทั้งรัฐสภา, ศูนย์ราชการ, กระทรวงกลาโหม, สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ต้องวางแผนปิดขนส่งทั้งสนามบิน/รถไฟ/, แถมยังต้องระวังการต่อต้านจากตำรวจอีก เรียกว่าต้องใช้ทหารหลายหมื่นคนแบบไม่มีแตกแถวจึงจะประสบความสำเร็จ แล้วยังต้องมีความชอบธรรมในการรัฐประหาร(ข้ออ้างที่ฟังขึ้น) เพื่อจะได้โน้มน้าวสถาบันเก่าแก่ต่าง ๆ อย่างเช่นศาลยุติธรรม เรียกว่าความหวังในการทำรัฐประหารให้สำเร็จริบหรี่มาก ยกเว้นแต่ได้รับการสนับสนุนจากควีนเอลิซาเบ็ธ ที่เวลานั้นเศรษฐกิจแย่แค่ไหนก็ยังวุ่นวายกับการแข่งม้า
.
เราค่อนข้างเห็นต่างกับหลายคนเรื่องควีนเอลิซาเบ็ธปกป้องประชาธิปไตย เพราะเรามองว่าในเวลานั้นควีนกำลังปกป้องตัวเองมากกว่า ข้ออ้างที่บอกว่าปกป้องนายกรัฐมนตรี, ปกป้องรัฐธรรมนูญ, เพื่อปกป้องประชาธิปไตยเป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวสถาบันเริ่มถูกโจมตีเรื่องการใช้จ่ายต่าง ๆ มีประชาชนและคนในรัฐบาลที่เริ่มสองจิตสองใจ อย่าลืมว่าคนส่วนใหญ่เป็นอนุรักษ์นิยม ไม่ได้ชื่นชอบความเปลี่ยนแปลงยกเว้นแต่หมดความอดทนจริง ๆ ดังนั้นในช่วงที่ก้ำกึ่งจะแตกหักได้ การอยู่เฉย ๆ ลอยตัวเหนือปัญหาปากท้องของประชาชนดูจะเป็นทางออกที่เสียหายต่อตัวเองน้อยกว่า
.
ในช่วงเวลาที่สถาบันเสื่อมความนิยม พร้อมกับคำขู่ของนายกฯ ที่จะเข้าร่วมกับกลุ่มนิยมสาธารณรัฐ (เปลี่ยนประมุขของประเทศเป็นประธานาธิบดี) การที่ควีนเอลิซาเบ็ธตัดสินใจขัดขวางการรัฐประหารอันนำโดยคนในราชวงศ์จึงดูเป็นทางเลือกเพื่อปกป้องตัวเองเป็นหลัก เพราะหากการรัฐประหารเกิดขึ้น ไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว มันไม่ได้มีอะไรรับรองความปลอดภัยของสถาบันเลย ทั้งการลุกฮือของประชาชนที่เจริญแล้ว, และกลุ่มคนในรัฐบาลที่อาจถือโอกาสนี้ใช้เป็นข้ออ้างโจมตีสถาบันที่เข้ามายุ่งเกี่ยวการเมืองด้วยการชวนเชื่อถึงสาธารณรัฐ ชั่งน้ำหนักดูแล้วการขัดขวางรัฐประหารจึงเป็นทางที่ปลอดภัยที่สุด ทั้งถูกต้องตามหลักการ ไม่เปลืองตัว แล้วรอให้ประชาชนเลือกรัฐบาลของพวกเขาเอง
.
ในตอน Tywysog Cymru ก็ดูจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ช่วงที่ต้องเรียนภาษาเวลส์ ชอบการเปรียบเทียบตัวเองกับชาติเวลส์ในแง่ของการถูกเมิน/ไม่มีตัวตน/ถูกมองข้าม จากอังกฤษ/ครอบครัว สะท้อนผ่านสปีชเรียกร้องให้เคารพตัวตนของกันและกัน เพราะทุกคนมีความปรารถนา มีอัตลักษณ์ มีสิทธิ์มีเสียง ที่ไม่ควรถูกใครควบคุม โดยเฉพาะจากคนที่ไม่มีความเข้าใจในความแตกต่าง ซึ่งที่ชอบอีกอย่างคือมันไปรับกับตอนอื่น ๆ ของชาร์ลส์ที่ต้องหาคนรักมาเสริมให้ตัวเขามีความมั่นใจ และการได้แรงสนับสนุนจากเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดหล่อหลอมให้เขากล้าเป็นตัวของตัวเองโดยไม่ยอมอ่อนข้อให้ครอบครัวง่าย ๆ
ทั้งหมดในซีซั่นนี้ยังคงคู่ควรกับการเป็นซีรีส์เกรดเอของเราเช่นเคย
Creators: Peter Morgan, Edward Hemming
10 Episodes (เฉลี่ยตอนละ 55 นาที)
A
#หนังโปรดxซีรีส์Netflix
imbroglio 在 หนังโปรดของข้าพเจ้า Facebook 的最佳解答
The Crown ซีซั่น 3 (สามารถดูได้ใน Netflix)
นับเฉพาะซีรีส์ที่ได้ดู ขอบอกเลยว่าเป็นซีรีส์เรื่องเดียวที่ขนาดผ่านไป 3 ซีซั่นแล้วยังคงรักษาคุณภาพระดับเกรด A เอาไว้ได้ ในซีซั่น 3 เล่าช่วงกลางถึงปลายยุค 60's เศรษฐกิจของอังกฤษตกต่ำถึงขั้นวิกฤติ พรรคแรงงานชนะการเลือกตั้งได้ครั้งแรกในรอบหลายสิบปี มหาอำนาจในโลกเปลี่ยนมือไปเป็นการแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ กับโซเวียตที่พัฒนาเทคโนโลยีและแข่งขันกันสำรวจอวกาศ ความยิ่งใหญ่ของเครือจักรภพเริ่มหมดสิ้น ภายในสถาบันกษัตริย์มีความหวาดระแวงจะถูกต่อต้านทั้งจากกระแสประชาชนที่เริ่มวิจารณ์การใช้จ่ายของราชวงศ์ รวมถึงในหมู่นักการเมืองก็มีบางกลุ่มสนับสนุนการเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ดังนั้นในซีซั่นนี้จึงได้เห็นเนื้อหาการเล่าเรื่องที่แตกต่างออกไปจากเดิมอยู่สักหน่อย
.
ไม่แน่ใจว่าเพิ่งมาสังเกตหรือเป็นมาตั้งแต่ทั้ง 2 ซีซั่นก่อนหน้า ซีซั่นนี้บทซีรีส์ที่เขียนโดยปีเตอร์ มอร์แกน แล้วกระจายไปให้ผู้กำกับหลายคนมากำกับนั้นดูจะมีการตีความอารมณ์และโทนแต่ละตอนออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น อย่างตอน Imbroglio เป็นช่วงรัฐบาลประกาศลดการจ่ายไฟพอดี งานถ่ายภาพยิ่งออกมาเป็นโทนครอบครัวตัวร้ายเขย่าขวัญ, หรืออย่างตอนสุดท้าย Cri de Coeur นี่ก็เหมือนหนังรักรสขม ที่มีโทนสดใสซาบซ่ามาร์กาเร็ตเจอหนุ่มใหม่ที่เด็กกว่าสามี ตัดกับโทนหม่น ๆ ในช่วงท้าย, และในตอน Moondust ก็ให้ความรู้สึกเหมือนดูหนังที่เล่นกับการค้นหาคำตอบของพระเจ้าผ่านความท้าทายของการได้ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์และศรัทธาต่อศาสนาที่ค่อย ๆ หมดสิ้น
.
สิ่งหนึ่งที่เด่นขึ้นมากอีกอย่างคืองานกำกับภาพ ซีซั่นนี้มีหลายช็อตที่ประทับใจมาก ๆ อย่างตอน Imbroglio มีทั้งช็อตที่ชาร์ลส์รู้สึกตัวเองเป็นคนนอก สายตาของครอบครัวพร้อมกับการถ่ายนี่ให้โทนครอบครัวตัวร้าย หรือตอนแอนน์ถูกเรียกตัวไปถามถึงความรักของพี่ชายก็ช่างน่าสะพรึงเหลือเกิน ผิดกับสมัยที่เราดูเนื้อหาแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นกับมาร์กาเร็ตยังถ่ายโทนไม่ออกชัดขนาดนี้ อีกอย่างคือแคสต์นักแสดงมาเทพมาก เทพของเรานอกเหนือจากทักษะการแสดงแล้ว คนแคสต์และแต่งหน้าทำผมแต่ละคนออกมาให้มีความต่อเนื่องจาก 2 ซีซั่นก่อนหน้าชนิดที่แทบไม่ผิดเพี้ยน ทั้งบุคลิกและตัวนักแสดงเนียนจนบางทียังรู้สึกว่าเป็นนักแสดงเก่าที่แก่ขึ้นมาจริง ๆ ไม่มีขัดใจเลย
.
ซีซั่นนี้มีหลายตอนที่น่าพูดถึงแบบเน้น ๆ แม้ซีรีส์ดูจะประนีประนอมกับราชวงศ์ในเนื้อหาที่หมิ่นเหม่ แต่ยังรู้สึกได้ว่าความเป็นข้อเท็จจริงผสมเรื่องแต่งยังเปิดช่องให้มองได้สองแง่มุมเสมอ ขึ้นอยู่กับวิธีคิดของคนดูที่มีต่อสถาบัน เหมือนที่คนในอังกฤษดูอาจจะรู้สึกเป็นโฆษณาชวนเชื่อเพราะเขาเกี่ยวข้องตรง ๆ แต่ชาติอื่นดูอาจจะชื่นชมความแกรนด์อะไรประมาณนั้น เคยเขียนถึง The Queen เอาไว้ที่กระทู้นี้ https://pantip.com/topic/31696713 การปรับตัวของสถาบันกษัตริย์ 'อนุรักษ์นิยม' ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งมีความคล้ายกับ The Crown อย่างหนึ่งคือเป็นการใช้สื่อภาพยนตร์สร้างภาพลักษณ์ได้อย่างชาญฉลาด
.
ในตอน Margaretology เป็นการเปรียบเปรยถึงคนที่ตกเป็นรองคนที่สถานะโดดเด่นกว่าได้อย่างยอดเยี่ยม บทของมาร์กาเร็ตเป็นคนที่อยู่รองจากควีนเอลิซาเบ็ธมาตลอดชีวิต ถูกกำหนดสถานะมาตั้งแต่วัยเด็ก กลายเป็นปมที่ต้องการพื้นที่ให้ตัวเองได้เฉิดฉาย ซีรีส์เล่าเส้นเรื่องอังกฤษพยายามขอกู้เงินจากสหรัฐฯ ไปคืน IMF สลับกับความเจิดจรัสของมาร์กาเร็ตระหว่างทัวร์อเมริกา แล้วตบเข้าหาการได้ไปงานเลี้ยงที่ทำเนียบขาวได้คมกริบ ชัยชนะของมาร์กาเร็ตอาจจะไม่ได้รางวัลอย่างที่เธอคาดหวัง(ของานเพิ่ม) แต่อย่างน้อยก็ทำให้เห็นว่าบุคลิกของเธอสามารถเล่นบทบาทที่นอกเหนือจากมารยาททางการทูตตามธรรมเนียมนิยมได้เหมือนกัน ซึ่งเป็นบทบาทที่ควีนเอลิซาเบ็ธไม่สามารถทำได้ จะว่าไปก็แสดงให้เห็นความอิจฉาระหว่างพี่น้องแบบที่เคยดูมาตลอด 2 ซีซั่น และได้เห็นความกลัวของพี่สาวที่กังวลว่าน้องตัวเองจะโดดเด่นกว่าหากเพิ่มบทบาทให้
.
ตอน Aberfan ก็เป็นอีกตอนที่ดีในแง่ของการแก้ต่างแทนควีนเอลิซาเบ็ธ จะมีสื่อชิ้นไหนที่สามารถแก้ไขภาพลักษณ์ชวนเชื่อได้งดงามแบบภาพยนตร์ เป็นตอนที่พูดถึงเหตุเหมืองถล่มจนมีเด็กถูกดินโคลนทับตายเป็นร้อยศพ ทั้งนายกฯ ทั้งบางคนในวังอย่าง โทนี่ (สามีมาร์กาเร็ต) รีบรุดไปที่เกิดเหตุ แต่ควีนเอลิซาเบ็ธตั้งใจอย่างเดียวคือสถานะของเธอควรจะไปเยี่ยมที่โรงพยาบาลเท่านั้น ออกแอ็คชั่นล่าช้ากว่าจะเริ่มเคลื่อนไหวคือกังวลกระแสสังคมต่อต้าน ในช่วงที่บางคนในรัฐบาลวางแผนจะเบี่ยงเบนกระแสประชาชนให้ไปด่าสถาบันที่นิ่งเฉยแทนตัวเอง สุดท้ายเรายังมองว่าตอนนี้คือการแก้ต่างแทนน่ะแหละ ด้วยการตบท้ายมาว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่ควีนเอลิซาเบ็ธเสียใจมากที่สุดในชีวิต
.
Bubbikins ก็เป็นอีกตอนที่ดี เปิดมาด้วยเจ้าชายฟิลิป ซึ่งแต่งงานกับควีนเอลิซาเบ็ธ ผู้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่รวยที่สุดในโลก แต่สามีของเธอกลับบ่นออกรายการโทรทัศน์ที่สหรัฐฯ ว่าตัวเองไม่ได้ปรับขึ้นเงินเลย ต้องใช้จ่ายรัดกุม อดเล่นโปโล อาจต้องย้ายไปอยู่วังเล็กลง ทั้งที่ในห้วงเวลานั้นเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรกำลังย่ำแย่ จนทำให้หนังสือพิมพ์เขียนบทความวิจารณ์อย่างรุนแรง แม้กระทั่งในกลุ่มรัฐบาลที่มาจากพรรคแรงงานก็มีบางคนที่เคยเป็นกลางกับสถาบันเริ่มสองจิตสองใจ ทำให้ในวังเริ่มวางแผนตอบโต้ด้วยการสร้างความนิยมกับประชาชน แผนการของเจ้าชายฟิลิปคือ การให้โทรทัศน์เข้ามาถ่ายทำสารคดีว่าคนในวังทรงงานหนักขนาดไหน (ต้องเลี้ยงแขก, จัดเลี้ยงหรูหรา, ต้อนรับทูต) และสร้างภาพความเป็นครอบครัวพร้อมหน้าพร้อมตา
.
สิ่งที่น่าตลกคือในเวลานั้นผู้คนสนับสนุนสถาบันเพราะราชพิธีสืบทอดยาวนานและความลึกลับท่ามกลางความโจ่งแจ้งที่ประชาชนเห็นภายนอก ไม่ใช่ต้องการเห็นสถาบันเป็นคนธรรมดามาปิ้งบาบีคิวหรือดูโทรทัศน์พร้อมหน้ากันในครอบครัว (ปลอมมาก) การดำรงอยู่ของสถาบันจึงกลายเป็นอะไรที่ประชาชนมองเป็นแบบอย่างได้ เหมือนเป็นมนุษย์ในอุดมคติที่ไม่มีรอยด่างพร้อย ทั้งที่ความจริงแล้วพวกในวังก็เป็นคนธรรมดาเหมือนเรา ไม่ได้เป็นสมมติเทพ ซ้ำร้ายยังดำรงอยู่ด้วยเงินภาษีจากประชาชนอย่างเราอีก อย่างราชวงศ์อังกฤษปี 1967 คือใช้เงินต่อวันเป็น 4 เท่าของรายได้เฉลี่ยประชาชนต่อปี พูดง่าย ๆ ว่าชาวบ้านตาดำ ๆ ทำงาน 4 ปียังมีเงินไม่เท่าที่ราชวงศ์ผลาญไปในวันเดียว ยิ่งตอกย้ำความปลอมและความสุรุ่ยสุร่ายของสถาบันมากขึ้นไปอีก
.
ส่วนตัวชอบจุดพลิกผันใน Bubbikins อย่างหนึ่งคือในขณะที่เจ้าชายฟิลิปพยายามสร้างภาพด้วยสารคดีจอมปลอมขนาดไหน สุดท้ายสิ่งที่สะกิดใจนักข่าวที่โจมตีสถาบันคือเรื่องราวของแม่เจ้าชายฟิลิปนั่นเอง ทั้งการต้องเร่ร่อนจากการปฏิวัติในกรีซ ความบกพร่องทางการได้ยินในวัยเด็ก ถูกส่งไปรักษาตัวทางจิตแบบที่รุนแรงถึงขั้นช็อตไฟฟ้า/ฉีดยา แต่แทนที่เธอจะโกรธเกรี้ยวเกลียดชังโลก เธอกลับทำในสิ่งที่แสนวิเศษเมื่อหนีออกมาได้คือการอุทิศตัวให้ศาสนามาอย่างยาวนานและเรียกร้องความยุติธรรม รวมถึงทำงานการกุศลบริการสาธารณะ อันนี้คือความเหน็ดเหนื่อยและคู่ควรให้ศรัทธามากกว่าเรื่องสตอเบอร์แหลที่พยายามถ่ายทำสารคดีเสียอีก
.
หรืออย่างในตอน Coup ที่หลายคนชอบมากเพราะเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร ในช่วงที่เศรษฐกิจย่ำแย่จนรัฐบาลต้องประกาศลดค่าเงินปอนด์ สิ่งที่รัฐบาลในเวลานั้นพยายามทำคือลดรายจ่าย เริ่มต้นด้วยการปลดผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่ไม่ยอมอ่อนข้อให้กับการลดงบกระทรวงกลาโหม อันนำมาสู่แผนการรัฐประหารที่เป็นความร่วมมือระหว่างสื่อหนังสือพิมพ์, คนในแวดวงการเงิน, และลอร์ดเมานธ์แบตเตน อดีตผบ.ทบ.ที่มีตำแหน่งในราชวงศ์ด้วย
.
ในประเทศเล็ก ๆ การทำรัฐประหารอาจจะไม่ยากเย็นสักเท่าไร ใช้ทหารแค่หลักร้อยหลักพันคนก็สามารถยึดอำนาจได้แล้ว แต่ในสหราชอาณาจักรที่เคลมตัวเองว่าสังคมประชาธิปไตยสูงส่งนั้นย่อมแตกต่างออกไป เพราะต้องควบคุมสื่อ, ควบคุมเป้าหมายในคณะปกครอง, ควบคุมเศรษฐกิจ, ต้องอาศัยความจงรักภักดีของทุกเหล่าทัพ ซึ่งประเทศใหญ่แบบสหราชอาณาจักรจำเป็นต้องยึดอำนาจทั้งรัฐสภา, ศูนย์ราชการ, กระทรวงกลาโหม, สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ต้องวางแผนปิดขนส่งทั้งสนามบิน/รถไฟ/, แถมยังต้องระวังการต่อต้านจากตำรวจอีก เรียกว่าต้องใช้ทหารหลายหมื่นคนแบบไม่มีแตกแถวจึงจะประสบความสำเร็จ แล้วยังต้องมีความชอบธรรมในการรัฐประหาร(ข้ออ้างที่ฟังขึ้น) เพื่อจะได้โน้มน้าวสถาบันเก่าแก่ต่าง ๆ อย่างเช่นศาลยุติธรรม เรียกว่าความหวังในการทำรัฐประหารให้สำเร็จริบหรี่มาก ยกเว้นแต่ได้รับการสนับสนุนจากควีนเอลิซาเบ็ธ ที่เวลานั้นเศรษฐกิจแย่แค่ไหนก็ยังวุ่นวายกับการแข่งม้า
.
เราค่อนข้างเห็นต่างกับหลายคนเรื่องควีนเอลิซาเบ็ธปกป้องประชาธิปไตย เพราะเรามองว่าในเวลานั้นควีนกำลังปกป้องตัวเองมากกว่า ข้ออ้างที่บอกว่าปกป้องนายกรัฐมนตรี, ปกป้องรัฐธรรมนูญ, เพื่อปกป้องประชาธิปไตยเป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวสถาบันเริ่มถูกโจมตีเรื่องการใช้จ่ายต่าง ๆ มีประชาชนและคนในรัฐบาลที่เริ่มสองจิตสองใจ อย่าลืมว่าคนส่วนใหญ่เป็นอนุรักษ์นิยม ไม่ได้ชื่นชอบความเปลี่ยนแปลงยกเว้นแต่หมดความอดทนจริง ๆ ดังนั้นในช่วงที่ก้ำกึ่งจะแตกหักได้ การอยู่เฉย ๆ ลอยตัวเหนือปัญหาปากท้องของประชาชนดูจะเป็นทางออกที่เสียหายต่อตัวเองน้อยกว่า
.
ในช่วงเวลาที่สถาบันเสื่อมความนิยม พร้อมกับคำขู่ของนายกฯ ที่จะเข้าร่วมกับกลุ่มนิยมสาธารณรัฐ (เปลี่ยนประมุขของประเทศเป็นประธานาธิบดี) การที่ควีนเอลิซาเบ็ธตัดสินใจขัดขวางการรัฐประหารอันนำโดยคนในราชวงศ์จึงดูเป็นทางเลือกเพื่อปกป้องตัวเองเป็นหลัก เพราะหากการรัฐประหารเกิดขึ้น ไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว มันไม่ได้มีอะไรรับรองความปลอดภัยของสถาบันเลย ทั้งการลุกฮือของประชาชนที่เจริญแล้ว, และกลุ่มคนในรัฐบาลที่อาจถือโอกาสนี้ใช้เป็นข้ออ้างโจมตีสถาบันที่เข้ามายุ่งเกี่ยวการเมืองด้วยการชวนเชื่อถึงสาธารณรัฐ ชั่งน้ำหนักดูแล้วการขัดขวางรัฐประหารจึงเป็นทางที่ปลอดภัยที่สุด ทั้งถูกต้องตามหลักการ ไม่เปลืองตัว แล้วรอให้ประชาชนเลือกรัฐบาลของพวกเขาเอง
.
ในตอน Tywysog Cymru ก็ดูจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ช่วงที่ต้องเรียนภาษาเวลส์ ชอบการเปรียบเทียบตัวเองกับชาติเวลส์ในแง่ของการถูกเมิน/ไม่มีตัวตน/ถูกมองข้าม จากอังกฤษ/ครอบครัว สะท้อนผ่านสปีชเรียกร้องให้เคารพตัวตนของกันและกัน เพราะทุกคนมีความปรารถนา มีอัตลักษณ์ มีสิทธิ์มีเสียง ที่ไม่ควรถูกใครควบคุม โดยเฉพาะจากคนที่ไม่มีความเข้าใจในความแตกต่าง ซึ่งที่ชอบอีกอย่างคือมันไปรับกับตอนอื่น ๆ ของชาร์ลส์ที่ต้องหาคนรักมาเสริมให้ตัวเขามีความมั่นใจ และการได้แรงสนับสนุนจากเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดหล่อหลอมให้เขากล้าเป็นตัวของตัวเองโดยไม่ยอมอ่อนข้อให้ครอบครัวง่าย ๆ
ทั้งหมดในซีซั่นนี้ยังคงคู่ควรกับการเป็นซีรีส์เกรดเอของเราเช่นเคย
Creators: Peter Morgan, Edward Hemming
10 Episodes (เฉลี่ยตอนละ 55 นาที)
A
#หนังโปรดxซีรีส์Netflix
imbroglio 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
imbroglio 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
imbroglio 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
imbroglio 在 Imbroglio Productions - Home | Facebook 的推薦與評價
Imbroglio Productions. 6495 likes · 1 talking about this. Our production house seeks to hone the skills of talented young minds & provide them with a... ... <看更多>
imbroglio 在 How to Pronounce Imbroglio? (CORRECTLY) - YouTube 的推薦與評價
This video shows you How to Pronounce Imbroglio (From Italian), pronunciation guide.Learn how to say PROBLEMATIC WORDS better: ... ... <看更多>