เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ประเภทต่างๆ
ในช่วงนี้ ที่เริ่มมีการนำเอาวัคซีนโควิด-19 ออกมาใช้ในวงกว้างในหลายๆ ประเทศแล้ว (ส่วนบ้านเรารอไปก่อน) เราลองมาทำความรู้จักเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตวัคซีนแบบต่างๆ กันดีกว่าครับ
**********
- วัคซีนคืออะไร
ก่อนจะอธิบายว่าวัคซีนแต่ละประเภททำมาจากอะไรกันบ้าง เรามาทำความรู้จักหลักการคร่าวๆ ของวัคซีนกันก่อน โรคที่เกิดจากไวรัสทุกโรคนั้น ไม่มียารักษา ที่เป็นเช่นนี้มีเหตุผลคร่าวๆ หลายประการ เนื่องจาก
1. ไวรัสนั้นไม่ได้มีชีวิตอยู่แล้ว จึงเป็นการยากที่จะฆ่าสิ่งที่ไม่ได้มีชีวิตตั้งแต่แรก และแม้ว่าเราจะสามารถ "ฆ่า" ไวรัสที่อยู่บนพื้นผิวได้ง่าย เช่นด้วยการล้างเปลือกไขมันออกไปด้วยสบู่ธรรมดา แต่เป็นการยากที่จะออกแบบยาฆ่าไวรัสที่ทำงานได้ในร่างกายมนุษย์โดยที่ไม่ได้ฆ่ามนุษย์ไปด้วย
2. ไวรัสนั้นต้องอาศัยภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในการเพิ่มจำนวน โดยเริ่มจากการจับเข้ากับตัวจับยึดที่เยื่อหุ้มเซลล์เพื่อฉีดสารพันธุกรรมลงไป จากนั้นจึงใช้สารพันธุกรรมเพื่อบังคับให้เซลล์ผลิตโปรตีนและเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรมซึ่งเป็นองค์ประกอบของไวรัส ก่อนที่จะระเบิดออกมาเป็นไวรัสจำนวนมากในภายหลัง ดังนั้นต่อให้เรามียา "ต้านไวรัส" ที่สามารถยับยั้งการทำงานของไวรัสในกระแสเลือดได้ แต่เราก็ไม่สามารถเข้าไปกำจัดไวรัสที่หลบเข้าไปอยู่ในเซลล์ของเรา เช่นเดียวกับยาต้านไวรัส HIV ที่ทำได้เพียงแค่กำจัดเชื้อที่หลุดออกมาจากเซลล์ แต่ก็เป็นยาที่ต้องกินไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิต และทำได้เพียงควบคุมจำนวนไวรัสให้อยู่ในปริมาณที่ต่ำ ไม่มีวันหายขาด
3. ไวรัสนั้นมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ต่างจากแบคทีเรียซึ่งมีองค์ประกอบใกล้เคียงกัน ดังนั้นยาที่มีผลต่อผนังเซลล์ของแบคทีเรียตัวหนึ่ง อาจจะมีผลกับแบคทีเรียที่ใกล้เคียงกัน จึงสามารถใช้เป็น "ยาปฏิชีวนะ" ที่สามารถกำจัดแบคทีเรียหลายๆ ชนิดไปพร้อมๆ กันได้ แต่ไวรัสนั้นมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ยาต้านไวรัสชนิดหนึ่งจึงมักจะไม่สามารถใช้กับโรคอื่นได้ จึงไม่ค่อยคุ้มทุนที่จะพัฒนายาต้านไวรัสขึ้นมา
แต่นอกไปจากนี้ สาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ไม่ค่อยมีใครผลิตยาต้านไวรัสก็คือ ปรกติแล้วโรคที่เกิดจากไวรัสก็จะหายไปด้วยตัวเอง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของเรานั้นสามารถที่จะตรวจพบโมเลกุลแปลกปลอมของไวรัส และออกแบบแอนติบอดี้เพื่อมาทำลายไวรัสนั้น และจะจดจำลักษณะนั้นเอาไว้ตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้คนที่เคยเป็นอีสุกอีใสไปแล้วจึงจะไม่กลับมาเป็นอีก
ดังนั้นแนวทางหลักๆ ในการรักษาโรคที่เกิดจากไวรัส เช่น ไข้หวัด ก็คือการประวิงอาการ และรักษาตามอาการ ประคับประคองร่างกายให้อยู่ได้นานพอ จนกว่าระบบภูมิคุ้มกันของเราจะออกแบบแอนติบอดี้และกำจัดไวรัสด้วยตัวมันเองได้สำเร็จ แค่นั้นก็เป็นอันเสร็จสิ้น
ซึ่งแม้กระทั่งโรค COVID-19 ทุกวันนี้เราก็ใช้หลักการในการรักษาเช่นเดียวกัน นั่นก็คือประคองอาการและยื้อชีวิตเอาไว้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 แต่แม้กระนั้นก็ตามในหลายๆ กรณี อาการที่เกิดขึ้นนั้นหนักเกินกว่าที่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ทัน จึงเป็นเหตุให้เกิดผู้เสียชีวิต
ด้วยเหตุนี้จึงมีการผลิตวัคซีนขึ้นมา หลักการทำงานของวัคซีนก็คือ การนำสิ่งแปลกปลอมจากไวรัสมาใส่ให้กับตัวคนโดยตั้งใจ เพื่อให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสนั้นเอาไว้ก่อนที่จะต้องเจอกับไวรัสจริงๆ โดยหลักการแล้วเราสามารถไปเกลือกกลิ้งกับผู้ป่วยอีสุกอีใส เพื่อให้ร่างกายเราสร้างภูมิคุ้มกันต่ออีสุกอีใสได้ และเราก็จะไม่เป็นโรคนั้นอีกต่อไป แต่การได้รับเชื้อจริงนั้นก็นำมาเช่นกันด้วยความเสี่ยงที่อาจจะเสียชีวิตเพราะตัวโรคนั้นเสียเอง ในการผลิตวัคซีนเราจึงต้องการจะนำสารแปลกปลอมที่ปลอดภัยกว่าตัวโรคเสียเอง แต่ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อโรคที่ต้องการป้องกันได้
ซึ่งสำหรับโรค COVID-19 นั้น เป้าหมายสำคัญสำหรับวัคซีนส่วนมาก ก็คือส่วนของ spike protein ที่ล้อมรอบไวรัสโคโรนา และเป็นตัวที่ไปจับกับเซลล์ร่างกายของมนุษย์เพื่อเข้าไปจู่โจมภายในและแบ่งตัว เนื่องจากไวรัสต้องการใช้ spike protein นี้ในการเข้าไปในเซลล์ของมนุษย์ การที่เราสามารถกระตุ้นให้ร่างกายเกิด antibody ต่อ spike protein เหล่านี้จึงเป็นวิธีที่ดีในการออกแบบวัคซีน
ซึ่งกลไกและเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันดังกล่าว ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็นวิธีหลักๆ อยู่สี่วิธี
**********
1. Whole Virus
ในกรณีนี้จะแบ่งออกได้อีกเป็น live attenuated virus หรือไวรัสเชื้อเป็น ที่นำไวรัสมาทำให้อ่อนแรงลง ยังคงความสามารถในการแบ่งจำนวนได้อยู่ แต่ในอัตราที่ต่ำกว่าและไม่ทำให้เกิดโรค หรือสร้างความเสียหายให้กับร่างกายเท่าที่ควร อีกวิธีหนึ่งก็คือ inactivated virus ซึ่งได้จากการเอาไวรัสมาทำลายสารพันธุกรรม จึงเหลือแต่เปลือกเปล่าๆ ที่ไม่สามารถแบ่งจำนวนได้อีก
ข้อดีของสองวิธีนี้ก็คือ เนื่องจาก live attenuated virus ใช้ตัวเปลือกที่แท้จริงของไวรัสที่สามารถเพิ่มจำนวนได้ จึงสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ค่อนข้างดี เนื่องจากเป็นการจำลองการติดเชื้อไวรัสจริงๆ และมีองค์ประกอบของเปลือกไวรัสจริงทุกประการ และกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันนั้นเกี่ยวข้องกับเซลล์เม็ดเลือดขาวเช่นเดียวกับการติดเชื้อจริงๆ ในทุกกรณี ในขณะที่ inactivated virus นั้นแม้ว่าจะมีเปลือกสมบูรณ์ แต่ไม่สามารถแบ่งตัวได้จึงอาจจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในระดับที่ต่ำกว่า จึงมักจะมีการเพิ่ม adjuvant ลงไปด้วย นอกจากนี้วิธีนี้ยังสามารถผลิตได้ค่อนข้างง่าย เพียงการใช้ cell culture ไข่ไก่ ฯลฯ ในการเพิ่มจำนวนไวรัส จากนั้นไวรัสจำนวนมากจึงสามารถนำมาทำให้อ่อนแรงลงได้พร้อมๆ กัน
ส่วนข้อเสียหนึ่งของไวรัสนี้ ก็คือ live attenuated virus นั้นอาจจะไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องอยู่แล้ว ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการติดเชื้อรุนแรงได้ นอกไปจากนี้การนำเชื้อไวรัสที่สามารถแบ่งตัวและทำให้เกิดโรคได้จริงๆ มาทำเป็นวัคซีนนั้นก็นำมาซึ่งความเสี่ยงที่เชื้ออาจจะไม่ "ตายสนิท" และกลับกลายเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโรคนั้นเสียเอง อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีในการผลิตไวรัสด้วยวิธีนี้นั้นเป็นโทคโนโลยีที่มีมานานแล้วตั้งแต่ยุคแรกๆ ของการทำวัคซีน เราจึงมีความเข้าใจในกระบวนการทำให้ไวรัสอ่อนแรงและการ inactivate ค่อนข้างดี โอกาสที่เชื้อเป็นจะกลับมาเป็นเชื้อเต็มรูปแบบจึงต่ำกว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างมาก
โรคที่มีวัคซีนปัจจุบันที่ใช้วิธีนี้: โปลิโอ โรคหัด คางทูม ไข้เหลือง บาดทะยัก (แบคทีเรีย)
บริษัทที่กำลังผลิตวัคซีนโควิด-19 ด้วยวิธีนี้: Sinovac, Sinopharm, Beijing Institute
2. Protein Subunit
วิธีนี้ จะใช้เพียงโปรตีนบางส่วนที่เป็นส่วนประกอบของไวรัส ที่ต้องการให้เกิดภูมิคุ้มกัน ซึ่งสำหรับกรณีเชื้อ SARS-CoV-2 (ที่ทำให้เกิดโรค Covid-19) ก็มักจะเป็นส่วนของ spike protein โดยการสร้างส่วนของ spike protein ภายในห้องทดลอง แล้วฉีดเข้าไปเพื่อให้ร่างกายเกิดภูมิคุ้มกันแทน
ข้อดีของวิธีนี้ก็คือ ค่อนข้างปลอดภัย เนื่องจากสารแปลกปลอมนั้นเป็นเพียงโปรตีนส่วนเดียวของไวรัส จึงไม่มีโอกาสทำให้เกิดการติดเชื้อได้ เนื่องจากเราเลือกโปรตีนมาเพียงส่วนเดียว เราจึงสามารถเลือกและออกแบบเฉพาะส่วนที่ต้องการให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ จึงสามารถจำกัดผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้และปลอดภัยสำหรับผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง นอกจากนี้เนื่องจากตัววัคซีนเองนั้นมีแต่ส่วนของโปรตีน จึงค่อนข้างทนทานและอาจจะไม่ต้องใช้การจัดเก็บที่อุณหภูมิต่ำได้
แต่ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือ การผลิตออกมาเพียงเฉพาะส่วนของโปรตีนบางส่วนนั้นอาจจะไม่กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันเท่าที่ควร จึงต้องมีการใส่ adjuvant ลงไป และอาจจะต้องใช้ booster shot อีกเข็มหนึ่ง การออกแบบโปรตีนที่ต้องการเลือกมาให้เกิดภูมิคุ้มกัน และเลือก adjuvant ให้เหมาะสมอาจจะต้องใช้เวลานาน และกระบวนการผลิตนั้นจะต้องอาศัยเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่นในการผลิตโปรตีนที่ต้องการ ซึ่งต้องอาศัยการตัดต่อพันธุกรรม และการควบคุมเซลล์ที่ทำการผลิตโปรตีนที่อาจจะมีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน
โรคที่มีวัคซีนปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีนี้: ไวรัสตับอักเสบ B
บริษัทที่กำลังผลิตวัคซีนโควิด-19 ด้วยวิธีนี้: Novavax, Clover Biopharmaceuticals, Sanofi, GlaxoSmithKline
3. Viral Vector
อีกวิธีหนึ่งในการนำสารแปลกปลอมเข้าไปในร่างกายเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันก็คือ... การใส่สารพันธุกรรมลงไปให้ร่างกายของเราเป็นผู้ผลิตสารแปลกปลอมนั้นเอง ซึ่งเราสามารถทำได้เนื่องจากสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลกนั้นใช้สารพันธุกรรมเดียวกันทั้งหมด ต่างกันแค่เพียงลำดับพันธุกรรมเพียงเท่านั้น ซึ่งนี่เป็นวิธีที่ไวรัสสามารถบังคับให้เราผลิตเปลือกไวรัสให้เราได้นั่นเอง แต่ปัญหาอย่างหนึ่งของการใส่สารพันธุกรรมก็คือ สารพันธุกรรมนั้นมีขนาดโมเลกุลใหญ่เกินกว่าที่จะสามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปได้ก่อน
วิธี Viral Vector นี้จึงอาศัยกลไกหนึ่งในธรรมชาติที่เรารู้ว่าสามารถนำสารพันธุกรรมเข้าไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ นั่นก็คือ... ไวรัสนั่นเอง แต่อาศัยเปลือกของไวรัสชนิดอื่นเป็นตัวพาส่วนหนึ่งของสารพันธุกรรมที่สร้างโปรตีนเข้าไป เนื่องจากสารพันธุกรรมนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของไวรัส และเปลือกไวรัสที่ใช้นั้นเป็นไวรัสคนละชนิด จึงไม่มีความเสี่ยงที่ตัววัคซีนจะสามารถเพิ่มจำนวนจนทำให้เกิดโรคได้เสียเอง
ข้อดีของวิธีนี้ก็คือ เนื่องจากวิธีนี้มีกลไกในการติดเชื้อไวรัสครบทุกประการ ตั้งแต่การจับกับเยื่อหุ้มเซลล์ ไปจนถึงการผลิตโปรตีนออกมา จึงสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ค่อนข้างดี และเนื่องจากเปลือกไวรัสที่ใช้นั้นมักจะมาจากพวก adenovirus ที่ทำให้เกิดไข้หวัดธรรมดา เป็นตัวที่เรามีงานวิจัยมาพอสมควรและรู้จักได้ค่อนข้างดี บวกกับตัวไวรัสเองนั้นไม่มีสารพันธุกรรมที่สามารถทำให้เพิ่มจำนวนได้ จึงค่อนข้างปลอดภัย
ข้อเสียของวิธีนี้ เนื่องมาจากก่อนที่เซลล์จะสามารถผลิตโปรตีนที่ต้องการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกัน เปลือก adenovirus จะต้องสามารถเข้าไปสู่ภายในเซลล์ได้เสียก่อน ดังนั้นสำหรับบางคนที่บังเอิญมีภูมิคุ้มกันต่อ adenovirus อยู่แล้วอาจจะกำจัดตัววัคซีนนี้ไปก่อนที่จะเกิดกระบวนการผลิต spike protein ได้ จึงทำให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เรียกว่า "anti-vector immunity" ซึ่งอาจจะทำให้การฉีดเข็มที่สองของวัคซีนนี้ซับซ้อนไปอีก นอกไปจากนี้วิธีนี้ยังค่อนข้างมีข้อจำกันในการเพิ่มสเกลในการผลิตเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการผลิตไวรัสที่เป็นเปลือกนั้นจำเป็นจะต้องใช้เซลล์ที่ยึดติดกับ substrate ที่ค่อนข้างซับซ้อน
โรคที่มีวัคซีนปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีนี้: อีโบล่า
บริษัทที่กำลังผลิตวัคซีนโควิด-19 ด้วยวิธีนี้: AstraZeneca, Johnson & Johnson, CanSino Biologics, U. of Oxford, Gamaleya Research Institute, Merck & Co.
4. mRNA
mRNA นั้นเป็นวัคซีนประเภทสารพันธุกรรม คล้ายๆ กับ viral vector ต่างกันตรงที่ว่ารหัสสารพันธุกรรมที่ผลิต spike protein นั้นจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของ mRNA (messenger RNA) ซึ่งเป็นขั้นตอนปรกติของการถอดรหัสพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตและไวรัสเพื่อเข้าไปสู่ขั้นตอนการผลิตโปรตีน mRNA นี้นั้นไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องกังวลในเรื่องของการเพิ่มจำนวน อย่างไรก็ตาม mRNA นั้นไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้เช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องอาศัยกลไกในการลำเลียงเข้าไปในเซลล์ ซึ่งสำหรับเทคโนโลยีนี้นั้นมักจะนิยมการใช้พวกเปลือกไขมัน ที่สามารถรวมตัวกับเยื่อหุ้มเซลล์และนำ mRNA ภายในเข้าไปในเซลล์ได้
ข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดของวิธีนี้ ก็คือความรวดเร็วในการพัฒนา แทบจะทันทีที่รหัสพันธุกรรมของไวรัสชนิดใหม่ถูกถอดรหัสขึ้นมา เราสามารถที่จะเลือกรหัสพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง spike protein และออกแบบมาเป็นวัคซีนได้ สำหรับโรค COVID-19 นี้บริษัท Moderna สามารถนำวัคซีนชนิดนี้เข้าสู่ช่วง trial ได้ภายในเวลาเพียงสองเดือนหลังจากที่รหัสพันธุกรรมของ SARS-CoV-2 ได้ถูกตีพิมพ์ออกมา นอกจากนี้วิธีนี้ยังเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งในการผลิต เนื่องจากสารพันธุกรรมนั้นสามารถเพิ่มจำนวนได้โดยวิธีปฏิกิริยาทางเคมีทั่วๆ ไป โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยเซลล์ของสิ่งมีชีวิต และเนื่องจากวิธีนี้นั้นไม่มีส่วนประกอบใดๆ ที่มีชีวิต (หรือแบ่งตัวได้แบบสิ่งมีชีวิต) จึงมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ แต่เช่นเดียวกับวัคซีนประเภท protein subunit และ viral vector ที่มุ่งเพียงแต่จะนำ spike protein เข้าไปในร่างกาย
ข้อเสียของวิธีนี้ ก็คือตัว mRNA เองนั้นบอบบางเป็นอย่างมากและเสียสภาพได้ง่าย จึงต้องอาศัยการจัดเก็บที่อุณหภูมิต่ำมาก นอกจากนี้ วัคซีนชนิดนี้นั้นผลิตเพียงแค่ส่วนของ spike protein จึงอาจจะจำเป็นต้องมีตัว booster เพื่อกระตุ้นซ้ำอีกรอบหนึ่ง ทำให้ต้องได้รับโดสที่สอง และอีกข้อเสียหนึ่งก็คือเนื่องจากวิธีนี้นั้นเป็นวิธีที่ใหม่มาก จึงยังไม่เคยมีวัคซีนประเภทนี้ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการมาก่อน
โรคที่มีวัคซีนปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีนี้: ยังไม่มี
บริษัทที่กำลังผลิตวัคซีนโควิด-19 ด้วยวิธีนี้: Moderna, BioNTech, Pfizer, CureVac
5. DNA Plasmid
วัคซีนประเภทสารพันธุกรรมที่กำลังมีการพัฒนาอีกอันหนึ่ง ก็คือใช้ DNA ที่อยู่ในรูปของ plasmid พวก plasmid นี้เป็น DNA ที่ขดเป็นวงและสามารถนำแทรกเข้าไปในสิ่งมีชีวิตได้ เราใช้เทคโนโลยีเดียวกันนี้ในการทำ gene therapy และนำยีนที่ต้องการเข้าไปในผู้ป่วยที่มีโรคทางพันธุกรรมบางกรณี ซึ่งเราสามารถนำมาดัดแปลงเพื่อใส่สารพันธุกรรมในการสร้าง spike protein เพื่อเป็นวัคซีนในลักษณะคล้ายกับ mRNA อย่างไรก็ตาม การนำพลาสมิดเข้าไปในเซลล์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และปัจจุบันสามารถทำได้โดยการ electroporation หรือใช้กระแสไฟฟ้าทำให้เซลล์เปิดให้ plasmid เข้าไปภายในเพื่อผลิต spike protein ได้
ข้อดี: ผลิตได้ง่าย เนื่องจากเป็นสารพันธุกรรม
ข้อเสีย: กระบวนการฉีดค่อนข้างซับซ้อน เนื่องจากต้องฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อและใช้เครื่องช๊อตไฟฟ้าควบคู่กันไป เนื่องจากกระบวนการช๊อตด้วยไฟฟ้านั้นยังไม่ผ่านการรับรอง จึงทำให้การผลิตวัคซีนชนิดนี้ค่อนข้างล่าช้าไปอีก นอกจากนี้การเพิ่มจำนวนของพลาสมิดนั้นต้องอาศัยแบคทีเรียในการเพิ่มจำนวน จึงค่อนข้างซับซ้อนกว่า นอกจากนี้ยังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ จึงมีความเข้าใจในกระบวนการค่อนข้างน้อย
โรคที่มีวัคซีนปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีนี้: ยังไม่มี
บริษัทที่กำลังผลิตวัคซีนโควิด-19 ด้วยวิธีนี้: Inovio
**********
ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งหมดเหล่านี้เป็นเพียงหลักการทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน COVID-19 ที่กำลังมีการพัฒนาในปัจจุบัน ในความเป็นจริงนั้นมีปัจจัยอื่นที่ซับซ้อนกว่านี้อีกมาก ในการจะระบุว่าวัคซีนใดมีประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกัน หรือทำให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์มากที่สุด เช่น การเลือก adjuvant ให้เหมาะสม วิธีในการลำเลียงวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย ความเข้มข้นของโดสยา จำนวนโดสที่ได้รับ ฯลฯ ดังนั้นผลที่ได้จากการทดลองจริงจึงควรจะเป็นตัวเลขที่สำคัญที่สุด และตัวเลขเปอร์เซนต์นั้นอาจจะไม่ใช่ปัจจัยเพียงปัจจัยเดียวในการเลือกพิจารณาใช้ แต่เราอาจจะต้องพิจารณาถึงราคาที่ต้องจ่าย ผลข้างเคียง (และที่สำคัญที่สุด คือถึงเวลาเข้าจริงๆ แล้วเราจะเลือกอะไรได้ไหม?)
อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์ของโพสต์นี้เพียงต้องการจะอธิบายประกอบถึงหลักการทางเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ของการผลิตวัคซีนประเภทต่างๆ เผื่อบางทีเมื่อเราอ่านข่าวเกี่ยวกับวัคซีนตัวใหม่อีกตัวที่ใช้เทคโนโลยีหนึ่งในที่กล่าวไปแล้ว เราอาจจะเข้าใจอะไรเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับหลักการทำงานและข้อจำกัดของมัน
อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://www.biopharmadive.com/news/coronavirus-vaccine-pipeline-types/579122/
[2] https://www.gavi.org/vaccineswork/there-are-four-types-covid-19-vaccines-heres-how-they-work
inovio vaccine 在 文茜的世界周報 Sisy's World News Facebook 的最讚貼文
0929紐約時報
*【隱藏的記錄顯示川普長期虧損,多年避稅】
川普當選總統當年繳納了750美元的聯邦所得稅。在白宮的第一年,他又支付了750美元。在過去15年中的10年,他根本沒有繳納任何所得稅-主要是因為他財報損失的錢比他賺的錢還多。
https://www.nytimes.com/…/…/09/27/us/donald-trump-taxes.html
*【對川普和拜登來說,第一場辯論是風格和理念的高風險衝突】
#拜登與川普總統的首場辯論於週二晚上在克里夫蘭舉行,雖然民調落後,但這是川普總統扳回的最好機會之一。
#大多數共和黨人對川普避稅一事表示沉默。共和黨議員周一對《紐約時報》的一項調查幾乎完全保持沉默,該調查顯示,川普總統在2016年和2017年僅繳納了750美元的聯邦所得稅,並且管理著一個負債累累,虧損數億美元的企業集團。
#參議員Kamala Harris說,任命Amy Coney Barrett到最高法院,將損害醫療保健和墮胎權。
#川普總統在大選日之前,積極向最高法院增加保守派大法官,並沒有幫助他在賓州,獲得多大的助益。
https://www.nytimes.com/…/09/28/us/trump-vs-biden-elections…
*【全球新冠死亡人數超100萬】
在過去10個月裡,新冠病毒奪去的生命超過了愛滋病毒,超過了痢疾,超過了瘧疾、流感、霍亂和麻疹的總和。它可能已經超過肺結核和肝炎,成為世界上最致命的傳染病,而且與所有其他疾病不同,在給全球各地的日常生活造成破壞的同時,這種疾病還在迅速蔓延。
https://www.nytimes.com/…/28/wo…/covid-1-million-deaths.html
*【冠毒疫情實時更新】
在抗疫過程一度呈現令人鼓舞的跡象之後,紐約州週一宣布,新病例的發病率激增,包括紐約市及其北部郊區的病例增加。市長白思豪表示,該市的陽性檢測結果比率達到1.93%,高於一周前該市報告的1.5%。
#根據無黨派研究組織刑事司法委員會的最新分析,今年夏天,美國27個城市的兇殺案數量比2019年大流行前的夏季高出53%。
#FDA推遲了Inovio的疫苗試驗。賓州Inovio Pharmaceuticals的首席執行官於3月向川普總統吹噓說,該公司是冠狀病毒疫苗的全球領導者。但週一宣布,將推遲下一階段的疫苗測試,Inovio第一階段使用的是一種DNA技術,該技術可以刺激人的冠狀病毒某些基因的免疫系統。但這種遺傳方法遠遠落後,與Inovio相比,已經有超過十二種冠狀病毒疫苗進入了較晚的測試階段。
#眾議院議員周一宣布2.2兆美元的冠狀病毒救助法案,該法案將為美國家庭,企業,學校,餐館和航空工作者提供援助。
#CDC的一項新分析表明,該病毒在青少年中比在幼兒中更常見。
#川普宣布計劃分發1.5億個快速抗原測試。
#在英國,違反隔離規定者將面臨最高10,000英鎊的罰款。
#印度疫情破600萬例。印度的病案數量僅次於美國,位居世界第二,在過去24小時內,印度至少有95,540人死亡,其中1,039例死亡。
https://www.nytimes.com/…/2020/09/28/…/covid-19-coronavirus…
*【中國的新冠疫苗豪賭:風險未知,數萬人已接種】
儘管目前尚未有疫苗被證明有效,中國政府正在給許多人注射三種國產候選疫苗。未經檢驗的疫苗可能產生有害副作用;接種過程中的知情同意問題也引發質疑。
https://cn.nytimes.com/…/20200928/china-coronavirus-vaccine/
*【從珠寶到汽車:中國消費者開啟“買買買”模式】
北京車展人潮湧動;昂貴的珠寶賣到脫銷;餐館、酒店、機場和電影院再次變得擁擠起來……在經歷了疫情中長時間的沉寂之後,中國的有錢人與中產階級家庭開始恢復了消費。但與此同時,並非所有的消費者都能這麼做。許多低收入工人和大學畢業生還處於失業狀態,許多內陸城市的企業和消費者也在苦苦掙扎,在經濟增長引擎全速運轉之前,中國似乎需要其不太富裕的人群增加消費。
https://www.nytimes.com/…/china-consumers-beijing-auto-show…
*【中國建設熱潮推動全球金屬價格飆升】
隨著中國重啟工業活動,全球鐵礦石和銅等金屬價格正在上漲。經濟學家預計,中國今年將成為20國集團中唯一不會遭受經濟衰退的國家,全球經濟也可能從中受益。
https://cn.nytimes.com/…/commodities-metals-prices-china-c…/
*【觀點:美國遏制中共的戰略視窗期究竟有多長】
時評家鄧聿文認為,以中國今天的實力,未來五年對美國遏制中共非常關鍵。但如何在升級圍堵中和不給美國造成大麻煩之間平衡,也是一個棘手問題。
https://cn.nytimes.com/…/us-containment-strategy-against-c…/
*【觀點:中國無法用“黑材料”影響澳洲人】
消息稱一家中國公司對數萬名澳洲名人進行了秘密的資料畫像分析。對此,《衛報》澳洲版專欄作者Van Badham撰文稱,但澳洲這個透明、平等、無偏見的國家,“黑材料”不會起作用。
https://cn.nytimes.com/…/20200…/australia-zhenhua-data-leak/
*【日本嘗試將生產線從中國搬回國內,它能做到嗎】
隨著疫情暴露出在各類商品上過分依賴中國的風險,日本決策者在多年走走停停之後,正通過發放補貼、加大馬力刺激企業在國內和其他國家展開製造。然而,對於依賴中國巨大的市場、廉價但訓練有素的勞力和高效的基礎設施的企業來說,中國的誘惑力依然難以抵擋。對於東京來說,更好的選擇似乎是管理中日關係中的風險,而不是策劃一場“經濟離異”。
https://www.nytimes.com/…/…/26/business/japan-onshoring.html
*【巴基斯坦政壇風波】
該國前總統Asif Ali Zardari 週一被控參與一宗洗錢案。他的支持者認為,這項指控是出於政治動機,目的是向總理伊姆蘭•汗的反對者施壓。
https://www.nytimes.com/…/pakistan-asif-ali-zardari-imran-k…
inovio vaccine 在 พ่อบ้านเยอรมัน Facebook 的最讚貼文
หุ้นบริษัทผลิตวัคซีนของเยอรมันพุ่งทะยานฟ้า!!!
เป็นที่ฮือฮาไม่น้อยเมื่อหุ้นของบริษัท Curevac ที่น่าจะทำให้เป็นที่รู้จักกับหลายๆ คนในนามของหนึ่งในบริษัทที่ผลิตวัคซีนต้านเจ้าไวรัสโควิด19 ที่กำลังป่วนโลกในขณะนี้ ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของ USA ในวันศุกร์ที่ผ่านมาแล้วพบว่าราคาเปิดนั้นสูงกว่าที่คาดไว้ถึง
250%
โดยจากที่คาดการณ์เอาไว้ว่าหุ้นที่เปิดตัวนั้นน่าจะมีมูลค่าประมาณ 14 - 16 US Dollar แต่กลับสร้างเซอร์ไพรซ์ในการเปิดตัวที่ราคา 44 US Dollar
และยังไม่พอ!!! ยังมีแรงซื้อเข้ามาลงทุน + เกร็งกำไรกันอย่างมหาศาลจนทำให้ราคาพุ่งสูงสุดไปถึงเกือบ 80 US Dollar ซึ่งเกินจากที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ไม่น้อยเลยทีเดียว
เป็นที่แน่นอนว่าด้วยราคาที่พุ่งปานจรวดขนาดนี้ จึงทำให้บริษัท Curevac มีมูลค่าตลาดแซงหน้าบริษัทคู่แข่งอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน อย่างเช่น Inovio Pharmaceuticals และ Novavax ไปเรียบร้อย
ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนี้จึงทำให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท อย่าง Dietmar Hopp หรือที่เรารู้จักกันในนามของเจ้าของ SAP และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ของบริษัท อย่างเช่นมูลนิธิ Bill and Melinda Gates Foundation น่าจะยิ้มออกเลยหล่ะครับ แต่อย่างไรก็
"ทุกการลงทุนมีความเสี่ยงนะจ๊ะ"
#พ่อบ้านเยอรมัน #เยอรมัน #เยอรมนี #Germany #German
ที่มาของข่าว:
https://www.forbes.com/sites/jimcollins/2020/08/18/curevac-is-incredibly-overvalued-and-perfectly-captures-the-insanity-of-the-us-stock-market-in-2020/?fbclid=IwAR1E2Ay4HK9g-h3OjVQaRWc8dlbuwJgNvzzzMH1fyu4UkvSGdzv793STF18#16d125972510
https://www.fool.com/investing/2020/08/19/meet-the-hot-new-coronavirus-vaccine-stock-thats-a/