Sean Parker อดีตแฮกเกอร์ ผู้เคยเป็นประธานบริษัท Facebook /โดย ลงทุนแมน
หากใครที่เคยรับชมภาพยนตร์ “The Social Network”
ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบริษัท Facebook
รวมถึงผู้ก่อตั้งวัยหนุ่มที่ชื่อว่า Mark Zuckerberg
คงไม่มีทางลืมตัวละครหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Sean Parker อย่างแน่นอน
ชายที่มีความยียวนกวนใจ แต่ก็แฝงไปด้วยความเฉลียวฉลาด
ซึ่งเขาคนนี้ เป็นคนที่ไม่ว่าจะพูดอะไร Mark Zuckerberg ก็เห็นดีเห็นงามไปหมด
ถึงขนาดที่ยกตำแหน่งประธานบริษัท Facebook ให้กับ Parker ไปเลย
แม้ว่าในช่วงเวลานั้นเขาจะมีอายุเพียง 24 ปีเท่านั้น
ซึ่งถ้าหากดูประวัติของ Sean Parker อย่างละเอียด
ก็คงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมชายคนนี้ถึงสามารถจูงใจ
และมีอิทธิพลต่อ Mark Zuckerberg อย่างมาก
แล้วประวัติของ Sean Parker น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Sean Parker เกิดที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1979
เมื่ออายุได้ 7 ขวบ พ่อของเขาทำให้เขาได้รู้จักอีกโลกหนึ่งนั่นคือ โลกของคอมพิวเตอร์
โดยพ่อของเขาได้สอนวิธีเขียนโปรแกรมบนเจ้าคอมพิวเตอร์รุ่น Atari 800
ตั้งแต่นั้นมา Sean Parker ก็ได้หลงรักและสามารถเขียนโคดเป็นตั้งแต่เด็ก
จากทักษะและความชอบสิ่งนี้ ส่งผลให้ชีวิตของ Sean Parker เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
เริ่มตั้งแต่ในช่วง 15 ปี Sean Parker ได้สร้างวีรกรรมที่โด่งดัง จน FBI ต้องสืบและตามจับ
โดยสิ่งที่เขาทำคือการแฮกฐานระบบข้อมูลของมหาวิทยาลัยและบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก
จริง ๆ แล้ว เขามักจะแฮกข้อมูลเป็นงานอดิเรกเพราะไม่มีใครตามจับได้
แต่ในที่สุดเขาก็ถูก FBI จับได้ ขณะที่กำลังแฮกข้อมูลบริษัทอื่นอยู่
และเหตุผลที่เขาโดน FBI ตามตัวจนพบ
ก็เพราะว่าพ่อของเขาเข้ามายึดคีย์บอร์ดไว้ เนื่องจากเห็นว่าลูกของตนเล่นคอมพิวเตอร์มากจนเกินไป ทำให้เขาไม่สามารถออกจากระบบได้ทันเวลา จึงส่งผลให้ FBI ตามสืบได้
แต่เนื่องจาก Sean Parker มีอายุเพียง 15 ปี
โทษที่เขาได้รับจึงเป็นเพียง การบำเพ็ญประโยชน์ให้กับชุมชนเท่านั้น
จากเรื่องนี้แม้สุดท้าย Sean Parker จะโดนจับได้
แต่ก็ทำให้เขาเริ่มมีชื่อเสียงในวงการนี้มากขึ้น
ทำให้เขาได้รู้จักกับชาวแฮกเกอร์วัยเดียวกันที่ชื่อว่า “Shawn Fanning”
ซึ่งคนนี้เองเป็นคนที่กำลังจะมีบทบาทสำคัญในอนาคตของเขา
ด้วยนิสัยใจคอและความชอบที่เหมือนกัน จึงทำให้ทั้งสองตัดสินใจทำธุรกิจร่วมกัน
โดยไอเดียธุรกิจแรกที่พวกเขาคิดคือ Crosswalk ที่จะเข้ามาช่วยป้องกันการโจมตีจากแฮกเกอร์
แต่เนื่องจากทั้งคู่ยังมีประสบการณ์ที่น้อย จึงยังไม่สามารถผลักดันให้กลายเป็นธุรกิจจริงได้
ทั้งสองจึงตกลงแยกย้ายกันไปฝึกทักษะและหาประสบการณ์เพิ่มเติม
เพื่อที่วันข้างหน้าจะได้กลับมาร่วมทำธุรกิจกันอีก
ปีต่อมาเมื่อ Sean Parker อายุ 16 ปี เขาก็ได้ทำโปรแกรมที่รวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ในยุคแรก ๆ ขึ้นมาสำเร็จ ส่งผลให้เขาได้รับรางวัลงานวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์แห่งรัฐเวอร์จิเนีย
และเป็นที่ถูกอกถูกใจของหน่วยงาน CIA เป็นอย่างมาก ถึงขนาดต้องการจ้างเขาเข้ามาทำงาน
แต่ Sean Parker ก็ได้ปฏิเสธเพราะตนสนใจเรื่องธุรกิจมากกว่า
จึงทำให้เขาเลือกทำงานกับเหล่าบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ
เช่น FreeLoader และ UUNet บริษัทผู้บุกเบิกการให้บริการทางอินเทอร์เน็ต
ในปีสุดท้ายของการศึกษาระดับชั้นมัธยมปลาย เขาสามารถสร้างเงินได้ถึง 2.5 ล้านบาท
ซึ่งเพียงพอที่จะโน้มน้าวให้พ่อแม่ของเขาปล่อยให้เขาเลือกที่จะไม่เรียนมหาวิทยาลัยต่อ
ช่วงเวลานี้เองที่ Shawn Fanning เพื่อนแฮกเกอร์คนสนิทของเขาก็ได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง
และเขาก็ได้เล่าถึงโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมา ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถแชร์ไฟล์เพลงบนโลกอินเทอร์เน็ตได้
Sean Parker เห็นว่าโปรแกรมนี้สามารถต่อยอดไปได้อีกไกล
จึงเกลี้ยกล่อมเพื่อนของเขาให้นำมาสร้างเป็นธุรกิจอย่างจริงจัง
ในที่สุดทั้งคู่ก็ได้ต่อยอดโปรแกรมดังกล่าวกลายมาเป็น “Napster”
แพลตฟอร์มที่ให้ผู้คนสามารถแชร์และดาวน์โหลดเพลงด้วยกัน
Napster ได้สร้างความฮือฮาให้กับอุตสาหกรรมวงการเพลงอย่างมาก
ทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตเพราะนี่ถือเป็นครั้งแรกที่ผู้คนส่วนใหญ่หันมาดาวน์โหลดเพลง
บนโลกอินเทอร์เน็ตแทนการซื้อเพลงแบบออฟไลน์ อย่างเช่น แผ่นเสียงและซีดี
เรื่องดังกล่าว เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้คนยุคหลังเปลี่ยนพฤติกรรมมาฟังเพลงบนโลกออนไลน์
และ Napster ยังสร้างสถิติผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มมากที่สุด มีจำนวนถึง 80 ล้านคนเลยทีเดียว
แต่ด้วยความที่ผู้คนนำเพลงมาแจกผ่านแพลตฟอร์มแบบนี้
ถือเป็นสิ่งที่ผิดลิขสิทธิ์และค่ายเพลงเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาล
จึงทำให้สุดท้าย Napster ถูกฟ้องร้องและต้องปิดตัวลงไป
แต่รู้หรือไม่ว่า จากกระแสที่มาแรงของ Napster ทำให้เกิดบริการหนึ่งในเวลาต่อมา
นั่นก็คือ iTunes ของ Apple เพราะ Steve Jobs เห็นแล้วว่าพฤติกรรมของผู้คนกำลังเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ซื้อแบบแผ่นเสียง แต่ตอนนี้กลับมาดาวน์โหลดผ่านโลกออนไลน์
เขาจึงตัดสินใจใช้โอกาสนี้ให้เกิดประโยชน์ ในการเข้าไปผูกมิตรกับค่ายเพลง
เพื่อที่ตนจะสามารถนำเพลงมาวางขายบน iTunes ได้อย่างถูกต้อง
และอย่างที่รู้กัน iTunes ก็ประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา
เรื่องนี้เองทำให้ Sean Parker ไม่พอใจอย่างมาก
แต่ตนก็ไม่สามารถทำอะไรได้ จึงตัดสินใจคิดหาธุรกิจตัวใหม่ขึ้นมา
โดยใช้ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากธุรกิจที่แล้ว
ทั้งเรื่องการเงิน กฎหมายธุรกิจต่าง ๆ และความเป็นผู้ประกอบการ
และแล้วก็ได้เกิดธุรกิจใหม่ที่มีชื่อว่า “Plaxo” ซึ่งเป็นบริการที่มาช่วยเหลือสำหรับขยายกลุ่มผู้ใช้งานบนเครือข่ายสังคมออนไลน์และบริการนี้เองมีส่วนช่วยให้ LinkedIn และ Facebook ประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา
เมื่อธุรกิจเริ่มดำเนินไปได้ดี Sean Parker กลับละเลยการทำงาน
ทำให้สุดท้ายเขาก็โดนเพื่อน ๆ ที่ร่วมก่อตั้งกันมาไล่ออกในที่สุด
และแล้วในช่วงหลังจากนี้เอง ที่เขาได้รู้จักกับเว็บไซต์
ที่ในช่วงนั้นกำลังเป็นกระแสที่ชื่อว่า “Facebook”
เขาทดลองเล่น พบว่าโซเชียลมีเดียตัวนี้ทำให้ตนเองติดมาก
จึงรีบหาช่องทางติดต่อกับ Mark Zuckerberg เพื่อมาพูดคุยสานความสัมพันธ์กัน
ซึ่ง Mark Zuckerberg ก็ตอบตกลงเพราะนับถือ Sean Parker เป็นดั่งไอดอลอยู่แล้ว
จากวีรกรรมแฮกฐานข้อมูล และการก่อตั้งบริษัทสุดเจ๋งอย่าง Napster
ในช่วงเวลานั้น Facebook ยังให้บริการเฉพาะนักศึกษาเท่านั้น
แต่ Sean Parker คิดว่า Facebook มีศักยภาพมากกว่านั้น
จึงแนะนำให้ Mark Zuckerberg ขยายฐานผู้ใช้งาน
และเขาก็เป็นคนแนะแนวทางให้ด้วยว่า
Facebook ยังไม่ต้องเร่งรีบหารายได้ ให้เพิ่มจำนวนผู้ใช้งานก่อน
เพราะถ้าหากหารายได้จะเกิดข้อจำกัดหลาย ๆ ด้าน
เช่น โฆษณาอาจจะอยู่รกเต็มบนเว็บไซต์ จนผู้ใช้งานหนีไปใช้ของคู่แข่งรายอื่น
นอกจากคำแนะนำแล้ว Sean Parker ก็ได้เข้ามาช่วย Facebook ตั้งแต่เรื่องการเจรจาขอเงินทุน
ทั้งจาก Peter Thiel ผู้ร่วมก่อตั้ง PayPal และ Accel Partners บริษัทร่วมลงทุน
เพราะแม้ว่าช่วงนั้น Facebook จะไปได้ดี มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น
แต่ก็ไม่มีใครร่วมลงทุนด้วย เนื่องจากไม่เห็นโอกาสทางธุรกิจ
แต่ Sean Parker กลับสามารถดึงดูดนักลงทุน
ด้วยวิสัยทัศน์ที่วาดไว้ให้กับ Facebook
จึงทำให้บริษัทสามารถคงอยู่รอดต่อไปได้
เริ่มตั้งแต่การกำหนดกลยุทธ์ของ Facebook ช่วงแรก
ที่เน้นตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานก่อนหารายได้
การผลักดันฟังก์ชันของ Facebook ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถลงรูปได้ นอกจากข้อความ
รวมถึงปุ่มแชร์ ที่อนุญาตให้ผู้ใช้อัปโหลดบทความข่าว วิดีโอ และเนื้อหาของบุคคลที่สาม
แต่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ Sean Parker ทำให้กับ Facebook คือ
การวางโครงสร้างองค์กรที่ทำให้ Mark Zuckerberg สามารถควบคุมบริษัท
ได้อย่างสมบูรณ์และถาวร โดยเขาใช้ประสบการณ์อันเจ็บปวดที่เคยได้รับจาก Plaxo
ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ จึงทำให้ Mark Zuckerberg
แต่งตั้ง Sean Parker เป็นประธานของบริษัท
แต่สุดท้ายเขาก็ถูกไล่ออกจากบริษัทอีกครั้ง หลังถูกจับได้ว่าเสพโคเคนในงานปาร์ตี..
แม้ว่าจะออกจาก Facebook ไปแล้ว
แต่ Sean Parker ยังคงให้คำแนะนำ Mark Zuckerberg
เกี่ยวกับกลยุทธ์และสรรหาผู้บริหารระดับสูงอย่าง Chamath Palihapitiya
หลังจากออกจาก Facebook เขาก็ไปเป็นหุ้นส่วนของ Founders Fund
กองทุนที่มีนโยบายลงทุนในธุรกิจ Startup โดยมีผู้ก่อตั้งคือ Peter Thiel
เวลาล่วงเลยผ่านไปหลายปี แต่ Sean Parker ก็ยังไม่หยุดคิดถึง Napster
แพลตฟอร์มสุดรักที่ตนสร้างขึ้น เขาจึงค้นหาบริษัทที่มีอุดมการณ์เช่นเดียวกัน
และแล้วก็ไปเจอกับสตรีมมิงที่ชื่อว่า Spotify
แม้ว่าเขาจะอยากลงทุนในบริษัทแห่งนี้มากเพียงใดก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถลงทุนได้
เนื่องจาก Spotify ได้รับเงินเพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Sean Parker จึงหาทางสนับสนุนทางอื่น หนึ่งในนั้นก็คือการโปรโมต Spotify ผ่าน Facebook
เพื่อช่วยให้แพลตฟอร์มสตรีมมิงจากยุโรปตัวนี้ เข้ามาตีตลาดเพลงในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตอนนั้นมี iTunes เป็นคู่แข่งหลัก รวมถึงเขาก็ยังได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง Spotify และค่ายเพลงอย่าง Warner และ Universal อีกด้วย
ทั้งหมดนี้ก็เพียงพอที่ทำให้เขาชนะใจคณะกรรมการของบริษัท Spotify
จนได้กลายมาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมลงทุนในที่สุด
ด้วยความที่ชื่นชอบเทคโนโลยีและธุรกิจ รวมถึงหลงใหลในความท้าทายตลอดเวลา
ทำให้ชีวิตหลังจากนั้น Sean Parker ก็ยังเป็นทั้งผู้ประกอบการและนักลงทุนอยู่เรื่อยมา
โดยปัจจุบัน เขามีมูลค่าทรัพย์สินที่ 90,000 ล้านบาท
และนี่ก็คือเส้นทางชีวิตของ Sean Parker อดีตแฮกเกอร์ และเป็นส่วนหนึ่งของเบื้องหลังความสำเร็จของ Facebook ที่ตอนนี้เป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดอันดับที่ 6 ของโลกไปแล้ว นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.businessinsider.com/sean-parker-life-career-napster-facebook-billionaire-pictures-2020-3#parker-is-also-a-philanthropist-and-a-friend-described-him-to-vanity-fair-as-one-of-the-most-generous-people-i-know-in-2015-he-donated-600-million-to-launch-the-parker-foundation-which-focuses-on-funding-programs-in-life-sciences-global-public-health-and-civic-engagement-20
-https://www.forbes.com/sites/stevenbertoni/2019/12/23/best-stories-of-the-decade-sean-parker-agent-of-disruption/?sh=6aa467237a01
-https://www.biography.com/business-figure/sean-parker
-https://www.forbes.com/profile/sean-parker/?sh=5c3413014b73
-https://www.rollingstone.com/culture/culture-news/itunes-10th-anniversary-how-steve-jobs-turned-the-industry-upside-down-68985/
-https://startuptalky.com/sean-parker-story/
instagram global engagement 在 美國在台協會 AIT Facebook 的最讚貼文
🎧 OneBeat是美國國務院的國際音樂交流計畫,旨在透過人民外交提倡音樂合作與社會參與。8月22日凌晨0點,OneBeat Live (https://reurl.cc/Ez79VK) 將邀請來自世界各地的交流計畫學友在家表演,來自台灣的學友吳修銘先生也會參與演出。吳修銘先生是一位聲音藝術家,他的跨界作品融合了聲音、數位影像、裝置與電子音樂,作品在台灣獲得廣泛好評。歡迎大家到OneBeat的Instagram (https://www.instagram.com/1beatmusic/) 上欣賞線上音樂會,音樂會後還有專訪喔!
🎼2020年8月22日凌晨0點 – 吳修銘 / 台灣
🎤https://www.instagram.com/1beatmusic/
🎧 OneBeat is an international music exchange program run by the U.S. Department of State that celebrates musical collaboration and social engagement through innovative people-to-people diplomacy. On August 22, midnight (00:00 AM), One Beat Taiwan alumni Wu Siou Ming will be featured on OneBeat Live, a series of intimate at-home performances from our global OneBeat alumni. Siou Ming is a sound artist whose multi-disciplinary works in sound, digital video, installation and electronic music have been widely presented across Taiwan. Please visit OneBeat’s Instagram page. Each set is accompanied by a short interview. For decades, people-to-people ties have bound American and Taiwanese people together. Thanks to Wu Siou Ming for being part of our story!
🎼 August 22, 2020, midnight (00:00 AM) – Wu Siou Ming / Taiwan
🎤https://www.instagram.com/1beatmusic/
instagram global engagement 在 方志恒 Brian Fong Facebook 的精選貼文
【#民間外交】話說最近個聯署行動,有人發現左Network DIPLO - 民間外交網絡呢個組織,走嚟問我「Brian你又搞乜鬼?你到底有幾多個組織?」即係咁,民間外交網絡其實喺2017已經成立,定位係公民外交智庫,對象係自由世界國家(領事館、外國政府和議會、外媒、外國智庫等等),全部活動、出版和社交媒體都係用英文,我又無刻意喺本地做宣傳,所以本地冇人識係好正常嘅(個Facebook LIKE數都唔夠二千)。
我嘅理念係,民間外交要有「政治動員」(political organizing)路線,例如組織僑民、發動集會、政治遊說;亦要有「政策智庫」(policy think-tank)路線,例如發表報告、出版通訊、辦簡報會。以台灣人嘅經驗嚟比照,台灣人公共事務會走「政治動員」路線,Global Taiwan Institute則走「政策智庫」路線。民間外交網絡基本上係參考後者,走公民外交智庫路線。
我哋現時嘅義工團隊近10人,有研究員做下研究、亦有英美手足做在地聯繫,主要係定期搞下簡報會、每月出版電子通訊、我耐唔耐周圍飛下咁樣樣。學者搞嘅嘢就梗係悶㗎嘞,唔怕悶就LIKE晒我哋嘅社交媒體啦。
🌐 wemaker.hk/diplo
👍 facebook.com/networkdiplohk
🐦 twitter.com/networkdiplohk
📷 instagram.com/networkdiplohk
📖 issuu.com/hongkongbrief
🔽🔽🔽🔽🔽🔽🔽🔽🔽🔽
🍎《香港蘋果日報》專訪:https://bit.ly/2UD6W8z
【人權法案】學者創智庫深耕民間外交 「中立自治打國際戰線」
武漢肺炎全球大爆發,香港反修例街頭運動也暫時緩和;如何維持內部運動動能,令國際社會不退場是重要課題。有份創立民間外交智庫的政治學者方志恒認為,香港在地運動進入深耕細作鞏固期,民間外交也要深化,「唔能夠再靠一下熱情爆發支撐國際線」,並形容香港人的自治是在不同強權間遊走下的相對自主性,「香港最好出路係維持地緣政治中立自治體」,冀把握中美新冷戰格局作香港主體建構論述,讓本地以至國際社會都不只視香港運動為中港民主運動,而是地緣政治下的經濟、戰略利益平衡。
反修例運動讓國際社會重新關注香港自治程度。3年前成立「民間外交網絡」的方志恒每半年便會向各國領事作簡報,介紹香港狀況及國際政策分析,他指最初每次只有十多個國家領事參與,至去年運動爆發後急增至20、30人,惟各國包括美國基於以往對華採取「接觸政策(engagement policy)」,「對香港問題比較低調,亦都唔會太多關注或者介入,以免北京有反彈」,直言不少外國官員都對特區政府充滿「幻想」,香港人耳熟能詳的港府赤化故事是他國難以理解的事,「例如好多時佢哋私底下嘅談論都話『咦,呢個政府都仲係公務員執政,點解似乎佢哋而家冇主權移交初期咁中立呢?』」
疫情爆發前,民間自發多次舉辦集會及網上行動,冀向外國展示香港民意,「美軍來了我帶路」、「Twitter要人」呼聲於運動期間屢見不鮮,方認為目前民間外交做法「好回應性」,難以持續,認為游說過程須組織及專職化,包括建立以香港為主體的論述,「分析畀佢聽個地緣政治形勢,中美關係角力情況、複雜政治形勢下,到底美國可以點樣支持香港」。而面對北京亦派出代理人進行游說,方強調更顯研究的重要性:「要研究對方論述弱點喺邊,然後攻破佢佢。」
香港出路是維持地緣政治中立性
對於外界認知國際線目的是建立全球制中網,方認為香港永遠無法擺脫任何強權的影響力,形容香港如同一間店舖,「打開門做生意,應該歡迎世界各地嘅人入嚟幫襯,對所有地方客人一視同仁、同一收費標準,唔會傾斜某一類客人」。
他對香港自治的想像不局限於某一政體,指中國需要香港集資,西方世界需要香港與中國接觸、作為中西方緩衝區,「香港無論未來政治發展係點都好,會唔會有民主、係唔係真正自治政體都好,其實要維持一種地緣政治中立性」,強調反修例運動不獨是中港問題,不獨是一場反中民主運動,希望港人從地緣政治角度思考,「我哋要認識地緣政治嘅複雜性,然後香港人有個主體性,從香港嘅角度出發,點樣喺唔同嘅強權之間遊走,去搵最大嘅空間」。
面對國際格局時刻變動,方志恒稱深化民間外交工作除了建構論述,透過研究增強說服力,游說前亦應做好功課,研習各國政治,「空槍上陣去做游說其實係好危險,因為你隨時講錯嘢」,他亦建議港人加入不同組織進行相關研究或參與系統化、組織化游說,有錢出錢,有力出力。
#民間外交網絡 #國際戰線 #國際線手足
------------------------------
Follow me in social media
------------------------------
1. Facebook: facebook.com/brianfonghk
2. Twitter: twitter.com/brianfonghk
3. Telegram: t.me/brianfonghk
4. Medium: medium.com/@brianfonghk
5. Instagram: instagram.com/brianfonghk