關於傳值(Pass by value),以及傳參(Pass by reference),其實,是常見於C++圈子的名詞,曾在Java圈嘈嚷過一段時間,而沉寂一陣之後,近來,我發現類似的爭議,在JavaScript圈復出了。
於是,此時又引出了一個更古老的名詞Call by sharing說選我正解,但這不是用明朝的劍斬清朝的官嗎?
「java call by reference call by value」的推薦目錄:
java call by reference call by value 在 โปรแกรมเมอร์ไทย Thai programmer Facebook 的最佳解答
จากวิชาสอนเขียนโปรแกรมของเด็กม.1 เรื่องการเปลี่ยนค่าตัวแปรในโปรแกรม มีประเด็นน่าสนใจดีนะครับ
ในหลายภาษาเขียนโปรแกรม การเปลี่ยนค่าตัวแปร รวมทั้งการส่งค่าอากิวเมนต์ไปให้พารามิเตอร์ของฟังก์ชั่น (เวลาเรียกฟังก์ชั่น) จะมี 2 คอนเซปต์ได้แก่
1) ก็อปปี้ค่า (value) จากตัวแปรหนึ่งไปให้อีกตัวแปรโดยตรง
2) ก็อปปี้ค่า reference (หรือ pointer) จากตัวแปรหนึ่ง ไปให้อีกตัวแปรโดยตรง ...ส่งผลทำให้ตัวแปรทั้งสองชี้ไปยังข้อมูลก้อนเดียวกัน (อ็อบเจ็กต์)
(ถ้าเป็นการส่งค่าอากิวเมนต์ไปให้พารามิเตอร์ของฟังก์ชั่น ก็จะเรียกว่า pass by value กับ pass by reference ตามลำดับนั่นเอง)
คราวนี้ถ้าไปดูในตำราม.1 บทที่ 3 สอน Python ภาษานี้จะมองทุกอย่างเป็นอ็อบเจ็กต์หมด เช่น ตัวเลข ก็มองเป็นอ็อบเจกต์ เมื่อตัวแปรเก็บค่าตัวเลข ตัวแปรนั้นก็จะชี้ไปยังอ็อบเจ็กต์ตัวเลข เป็นต้น
**** ใน Python จึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปร โดยการก็อปปี้ value แต่จะเป็นก็อบปี้ object reference (เติมคำว่า object นำหน้า)
การเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปรทุกๆ อย่างใน Python จะเป็นการก็อปปี้ค่า object reference ไปให้ รวมทั้งตอนส่งค่าอากิวเมนต์ไปให้พารามิเตอร์ของฟังก์ชั่น (เวลาเรียกฟังก์ชั่น) ก็จะเป็นการก็อปปี้ค่า object reference ไปให้เช่นกัน
ซึ่ง Python เขาจะเรียกการส่งค่าอากิวเมนต์ไปให้ฟังก์ชั่นว่าเป็น "Call by Object Reference" มากกว่า ไม่ว่าจะส่งข้อมูลเป็นชนิดอะไรก็ตาม ถือเป็นอ็อบเจ็กต์หมด (ไม่ได้มีคอนเซปต์ pass by value กับ pass by reference แบบภาษาอื่น)
เพื่อให้เห็นภาพลองดูบทเรียนของเด็กม .1 ในบทที่ 3 กันดีกว่า (ตามที่เห็นในรูป)
##################
>>> c = 16 # บรรทัด 1
>>> print(c) # บรรทัด 2
16
>>> d = c # บรรทัด 4
>>> print(d) # บรรทัด 5
16
>>> d= 15 # บรรทัด 7
>>> print(d) # บรรทัด 8
15
###################
😁 จะขออธิบายคำสั่งข้างบนกัน
👉 บรรทัด 1-2:
c=16 คำสั่งนี้จะสร้างตัวแปร c แล้วกำหนดให้ชี้ไปยังจำนวนเต็ม 16 จากนั้นแสดงผลด้วยคำสั่ง print(c) ได้ตัวเลข 16 ออกมา
👉 บรรทัด 4-5:
d=c คำสั่งนี้จะสร้างตัวแปร d แล้วชี้ไปที่ตัวแปร c จึงทำให้ตัวแปร d ชี้ไปยังจำนวนเต็ม 16 จากนั้นแสดงผลด้วยคำสั่ง print(d) ได้ตัวเลข 16 ออกมา
**** ถึงตอนนี้ ตัวแปร c กับ d ชี้ไปยังเลข 16 ก้อนเดียวกัน (ใครที่เคยศึกษาภาษาอื่นมา อาจแปลกใจนิดหนึ่ง)
👉 บรรทัด 7-8:
d=15 คำสั่งนี้จะกำหนดให้ตัวแปร d ชี้ไปยังจำนวนเต็ม 15 เมื่อแสดงด้วยคำสั่ง print(d) จะแสดง 15 ออกมา
ตอนนี้ตัวแปร c กับ d ชี้ไปยังข้อมูลคนละก้อนกันแล้ว
----
ถ้าดูภาพประกอบจากหนังสือเรียนม.1 อธิบายชัดเจนดี
แต่ทว่าในตำราไม่ได้พูดเรื่องก็อปปี้ค่าด้วย value หรือ reference อะไรพวกนี้หรอกนะครับ แต่น้องๆ ก็รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม
เพราะถ้าน้องๆ ไปเขียนภาษาอื่น เช่น java , c, c++ จะมีคอนเซปต์ดังกล่าว จะแตกต่างจาก python ในตำราเรียนนะครับ
อย่างในตำราเรียนเขียนว่า
"ค่าที่เก็บในตัวแปร" อาจพูดว่า "ค่าที่ตัวแปรชี้อยู่" เช่น
>>> a = 100
100 คือค่าที่เก็บในตัวแปร หรือพูดอีกอย่างว่า 100 คือค่าที่ตัวแปรชี้อยู่
(ความหมายเดียวกัน)
+++ข้อมูล++++
หนังสือ "วิทยาการคำนวณ" ชั้น ม .1 บทที่ 3