ทำไม เนเธอร์แลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง เกษตรกรรมล้ำสมัย? /โดย ลงทุนแมน
เนเธอร์แลนด์ ประเทศที่มีพื้นที่เพียง 41,850 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าประเทศไทย 12 เท่า
และเล็กเป็นอันดับที่ 131 ของโลก
แต่ประเทศเล็กๆ แห่งนี้ กลับมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรกรรม มากเป็นอันดับ 2 ของโลก
เกษตรกรชาวดัตช์ส่งออกดอกไม้มากที่สุดในโลก
ส่งออกผลิตภัณฑ์นมเป็นอันดับ 2
และส่งออกพืชผักเป็นอันดับ 3 ของโลก
หากย้อนกลับไปเมื่อ 500 ปีที่แล้ว ราวศตวรรษที่ 15
ดินแดนแห่งนี้ยังมีพื้นที่กว่า 1 ใน 3 อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
จนเป็นที่มาของคำว่าเนเธอร์แลนด์ ที่แปลว่า “แผ่นดินต่ำ”
อะไรที่ทำให้ชาวดัตช์ พลิกฟื้นแผ่นดินเล็กๆ ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก
ให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในวงการเกษตรกรรมของโลก
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ.2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม เนเธอร์แลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง เกษตรกรรมล้ำหน้า?
“กังหันลม” คือสัญลักษณ์ของประเทศเนเธอร์แลนด์
ซึ่งเป็นตัวแทนของการต่อสู้กับธรรมชาติของชาวดัตช์มาตั้งแต่ยุคโบราณ
เนเธอร์แลนด์เป็นดินแดนเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปยุโรป ริมชายฝั่งทะเลเหนือ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีลมแรง และเกิดพายุบ่อยครั้ง
เพื่อป้องกันน้ำท่วมซ้ำซาก และขยายพื้นที่เพาะปลูก ชาวดัตช์จึงทำการปรับพื้นที่ด้วยการสร้างเขื่อน ทางระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำจำนวนมาก โดยเขื่อนแห่งแรกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1320
ชาวดัตซ์ยังได้พัฒนากังหันลมแบบต่างๆ เพื่อใช้งานตามที่ต้องการ โดยเฉพาะกังหันลมเพื่อสูบน้ำออก ทำให้เกิดพื้นดินที่เกิดจากการถมทะเล เรียกว่า Polder ซึ่งใช้ในการเพาะปลูกและอยู่อาศัย
ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ปากแม่น้ำไรน์ ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญของยุโรป
เนเธอร์แลนด์ค่อยๆ เติบโตขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางการค้า ดึงดูดพ่อค้าและนายธนาคารให้มาตั้งรกราก โดยเฉพาะในกรุงอัมสเตอร์ดัม
จนเมื่อเกิดการปฏิรูปศาสนาคริสต์ เหล่าพ่อค้าส่วนใหญ่เปลี่ยนมานับถือนิกายโปรเตสแตนต์
เหตุผลหนึ่งเพราะไม่ต้องการจ่ายภาษีบำรุงให้ศาสนจักรคาทอลิก
ในเวลานั้น เนเธอร์แลนด์ยังไม่ใช่ดินแดนเอกราช แต่ยังเป็นอาณานิคมของสเปนซึ่งเป็นอาณาจักรที่นับถือคาทอลิก
ด้วยความขัดแย้งทางศาสนาเป็นชนวนสำคัญ ชาวดัตช์จึงรวมตัวกันขับไล่สเปน
โดยมีผู้นำ คือ วิลเลิมแห่งออเรนจ์ (William of Orange) ผู้ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็น
บิดาของเนเธอร์แลนด์ จนในที่สุดก็สามารถก่อตั้งสาธารณรัฐดัตช์ได้สำเร็จ
ในเวลานั้นมีชาวเมืองไลเดิน (Leiden) เมืองเล็กๆ ทางตอนใต้ของกรุงอัมสเตอร์ดัม เป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการต่อสู้กับสเปน วิลเลิมแห่งออเรนจ์จึงอยากมอบของขวัญให้กับชาวเมือง โดยให้เลือกระหว่าง “การลดภาษี” กับ “มหาวิทยาลัย”
แล้วชาวเมืองไลเดินก็เลือกมหาวิทยาลัย..
นับเป็นจุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยแห่งแรกของเนเธอร์แลนด์ คือ มหาวิทยาลัยไลเดิน (Universiteit Leiden) ที่ถูกก่อตั้งในปี ค.ศ. 1575
มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นที่ตั้งของสวนพฤกษศาสตร์แห่งไลเดิน, Hortus Botanicus Leiden
ซึ่งเป็นสวนพฤกษศาสตร์สมัยใหม่แห่งแรกของโลก ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1590 โดยนักพฤกษศาสตร์ Carorus Clusius ซึ่งมีจุดประสงค์แรกเพื่อใช้เพาะปลูกพืชสมุนไพร และเริ่มมีการพัฒนาการปลูกพืชในเรือนกระจกเพื่อใช้ปลูกพืชเขตร้อนในปี ค.ศ. 1599
หลังจากขับไล่อิทธิพลของสเปนออกไปได้ ก็เปิดฉากยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในศตวรรษที่ 17
พ่อค้าชาวดัตช์ก็เริ่มออกเดินเรือไปทำการค้าขายทั่วโลก รวมถึง “กรุงศรีอยุธยา” ที่รู้จักชาวดัตช์ภายใต้ชื่อ
“ชาวฮอลันดา” โดยมีผู้นำคือบริษัทดัตช์ อีสต์ อินเดีย หรือ VOC
ซึ่งเหล่าพ่อค้าของ VOC ก็ได้เก็บตัวอย่างพืชเขตร้อนกลับมาไว้ในเรือนกระจกของสวนพฤกษศาสตร์ไลเดินด้วย
มหาวิทยาลัยไลเดินจึงนับเป็นสถาบันเพื่อการศึกษาทางพฤกษศาสตร์แห่งแรกของยุโรป
มีการพัฒนาการศึกษาในเรื่องต้นไม้อย่างเป็นระบบ ทั้งการเก็บตัวอย่างส่วนประกอบของพืช การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การทำสวน ไปจนถึงการดูแลดอกไม้
เมื่อมีการนำเข้าดอกทิวลิปมาจากจักรวรรดิออตโตมัน สวนพฤกษศาสตร์แห่งไลเดินก็สามารถทำให้ดอกทิวลิปแพร่พันธุ์ได้โดยใช้เวลาไม่นาน
ดอกไม้สีสันสดใสรูปร่างประหลาดไปเตะตานักลงทุนเข้า ทำให้มีการเก็งกำไรหัวทิวลิปในราคาสูง และสุดท้ายก็ราคาร่วงลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งนับเป็น “ฟองสบู่แรกของมนุษยชาติ”
องค์ความรู้ด้านการปลูกพืชในเรือนกระจกที่ทำให้อุณหภูมิภายในสูงขึ้น ทำให้เนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศเขตหนาวสามารถเพาะปลูกพืชเขตอบอุ่นได้ เช่น ส้ม และสับปะรด
แต่อย่างไรก็ตาม ผลผลิตทางการเกษตรยังคงจำกัดอยู่ในสถาบันและพ่อค้าที่ร่ำรวย
จนเมื่อมีการก่อตั้งวิทยาลัยเกษตรแห่งชาติ ในเมืองวาเคอนิงเงิน ในปี ค.ศ. 1876
ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยวาเคอนิงเงิน (Wageningen University & Research)
ก็ได้เริ่มให้ความสำคัญกับการปศุสัตว์ และพัฒนากระบวนการเพาะปลูกมากขึ้น โดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับ
นอกจากการเพาะปลูกแล้ว ชาวดัตช์ยังพัฒนาการจัดการและการกระจายสินค้าเกษตร
ด้วยการริเริ่มสิ่งที่เรียกว่า “การประมูลดอกไม้”
ในปี ค.ศ. 1911 เกษตรกรในเมืองอัลสเมียร์ ทางตอนใต้ของกรุงอัมสเตอร์ดัม ได้รวมกันริเริ่มประมูลราคาดอกไม้ในคาเฟ่เล็กๆ
ต่อมาเมื่อมีการเปิดใช้งานสนามบินนานาชาติสคิปโฮล (Amsterdam Airport Schiphol)
ซึ่งเป็นสนามบินหลักที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากเมืองอัลซเมียร์
ทำให้อัลซเมียร์เริ่มกลายเป็นศูนย์กลางการขนส่งและประมูลดอกไม้ของยุโรป และมีการจัดตั้งตลาดอัลซเมียร์ เพราะการค้าไม้ดอกนั้นจำเป็นต้องขนส่งทางอากาศเพื่อรักษาความสดใหม่
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนากิจการประมูลดอกไม้
ด้วยการรวมผู้ปลูกดอกไม้หลายพันรายทั่วเนเธอร์แลนด์เข้าไว้ด้วยกัน
วางระบบตรวจสอบคุณภาพของดอกไม้จากผู้ปลูก
จัดโกดังขนาดใหญ่ไว้จัดเก็บดอกไม้ พัฒนาระบบโลจิสติกส์
ทั้งการขนส่งดอกไม้จากสนามบินมาเก็บไว้ที่โกดัง และส่งไปยังสนามบิน
รวมถึงคิดค้น “การประมูลแบบดัตช์ (Dutch Auction)” สำหรับการประมูลดอกไม้โดยเฉพาะ
ซึ่งเป็นการประมูลที่ต้องทำโดยใช้เวลาน้อยที่สุดเพื่อรักษาความสดของดอกไม้
โดยจะเริ่มขานจากราคาที่สูงที่สุด เช่น ดอกกุหลาบช่อละ 20 ยูโร และค่อยๆ ลดระดับราคาลงมาเรื่อยๆ จนกว่าจะมีผู้ซื้อที่สู้ราคาไหว และการขานรับจะทำเพียงครั้งเดียว
กระบวนการนี้ต่างจากการประมูลทั่วไป ที่มีการขานราคาใหม่เพิ่มไปเรื่อยๆ และใช้เวลานาน
ด้วยการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการประมูล ระบบโลจิสติกส์ และการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า ทำให้ตลาดอัลซเมียร์ ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ทั้งเกษตรกร และเจ้าของกิจการร้านดอกไม้ จนเมืองอัลซเมียร์ได้รับสมญานามว่าเป็น “เมืองหลวงดอกไม้ของโลก”
โดยมีบริษัท Royal FloraHolland เป็นผู้ควบคุมการประมูลดอกไม้ และการบริหารโลจิสติกส์ในตลาดอัลซเมียร์
แต่การให้ความสำคัญกับไม้ดอกไม้ประดับมากเกินไป ทำให้เนเธอร์แลนด์เกิดปัญหาขาดแคลนพืชอาหารในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
Sicco Mansholt รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของเนเธอร์แลนด์ในช่วงปี ค.ศ. 1945 - 1958
ออกนโยบายเปลี่ยนแนวทางการเกษตรให้เป็นไปในเชิงธุรกิจ และให้ความสำคัญ
กับความยั่งยืนของผลผลิตอาหารมากขึ้น
ในปี ค.ศ. 1963 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์จัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตร
โดยมีเป้าหมายคือการช่วยเหลือตั้งแต่การเริ่มต้นอาชีพ ขายสินค้า ไปจนถึงการให้ทุนวิจัยและพัฒนาการทำเกษตรกรรมที่มีประสิทธิภาพและให้ผลผลิตได้มากขึ้น
โดยมีมหาวิทยาลัยวาเคอนิงเงินเป็นผู้นำในการวิจัยและพัฒนา และร่วมมือกับภาคเอกชนในการนำงานวิจัยมาปรับใช้ ทั้งการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การปลูกพืชในเรือนกระจก
การเปลี่ยนแปลงจากการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลงมาสู่เกษตรอินทรีย์
ไปจนถึงการปรับปรุงพันธุ์ในระดับโมเลกุล
ความร่วมมืออย่างแนบแน่นระหว่างภาครัฐและเอกชน
ทำให้เกิดบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการเกษตรมากมายในเนเธอร์แลนด์
ทั้ง Koppert Biological Systems ผู้นำด้านการควบคุมศัตรูและโรคพืชด้วยชีววิธี
มีผลิตภัณฑ์ เช่น ตัวอ่อนแมลงเต่าทองที่คอยกำจัดเพลี้ย
Duijvestijn Tomaten ผู้นำด้านการปลูกมะเขือเทศในเรือนกระจกโดยใช้ระบบไฮโดรโปนิกส์ หรือการปลูกพืชแบบไร้ดิน ที่ช่วยลดการใช้น้ำลงจากการเพาะปลูกแบบปกติ และมีการควบคุมอุณหภูมิในเรือนกระจกด้วยพลังงานความร้อนใต้พิภพ
AgroExact บริษัทเทคโนโลยีผู้สร้างระบบตรวจสอบและเฝ้าติดตามคุณภาพดิน และสภาพอากาศสำหรับเกษตรกรในราคาไม่แพง
ด้วยองค์ความรู้ด้านการเกษตรที่เข้มแข็ง
การให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐ
ความร่วมมือกันระหว่างภาควิชาการกับเอกชน
ประกอบกับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ทำให้เนเธอร์แลนด์สามารถส่งออกผลผลิตหลากหลายในปริมาณมากเป็นอันดับ 2 ของโลก
โดยใช้ทรัพยากรน้อยกว่า ควบคุมปัจจัยในการเพาะปลูกได้โดยไม่ต้องกังวลว่าดินฟ้าอากาศจะเป็นเช่นไร
และด้วยทำเลที่ดี ความเชี่ยวชาญด้านการค้ามานาน ทำให้เนเธอร์แลนด์สามารถต่อยอดมูลค่าของสินค้า จากต้นน้ำ คือการเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตร มาสู่การให้บริการปลายน้ำ
คือเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก
ในวันนี้ กังหันลมหลายแห่งไม่ได้ทำหน้าที่เดิมแล้ว
แต่ยังคงตั้งตระหง่านเพื่อเป็นประจักษ์พยาน
ถึงความพยายามเกือบพันปีของเกษตรกรชาวดัตช์
ผู้พัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรอันล้ำหน้า ที่ไม่ต้องมานั่งรอฟ้าหรือดินลิขิต
แต่เลือกกำหนดชะตาชีวิตด้วยสมอง และสองมือของตัวเอง
เนเธอร์แลนด์..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=696&year=2018&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://www.hortusleiden.nl/en/the-hortus/history
-https://edepot.wur.nl/5462
-https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=31
-http://vegansustainability.com/dutch-horticulture-industry-leads-the-world/
-https://www.nationalgeographic.com/magazine/2017/09/holland-agriculture-sustainable-farming/
-https://www.weforum.org/agenda/2019/11/netherlands-dutch-farming-agriculture-sustainable/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
koppert 在 Malaysian Chef Norman Musa Facebook 的最佳貼文
Can’t wait for the new cooking show to be out now. Here I cooked with @ericmiete at @koppertcress - so happy that Eric and Koppert Cress have agreed to be part of the show, so as 12 other guests for all the episodes. They cooked something Dutch and I introduced the Malaysian dishes. The show will be out on the Malaysian TV and I will update once the date is confirmed! So blessed to be given this opportunity to work on this show! ❤️
koppert 在 一級嘴砲技術士 Facebook 的最讚貼文
越南大叻,木頭層架配栽培條的高架草莓,東西看起來很簡陋,但在外商的督軍下,整個栽培技術已經慢慢追上先進國家。
(photo by Koppert Biological Systems)