ธุรกิจ New S-Curve ของ ปตท. คืออะไร ?
ปตท. x ลงทุนแมน
ในช่วงที่ผ่านมา เราจะเริ่มเห็นการดิสรัปชันในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลก
โดยเฉพาะในช่วงปีที่แล้วที่โรคระบาด ได้ทำให้หลายบริษัทเร่งปรับตัว
หากเรามาดูสถานการณ์ในประเทศไทยก็ไม่ต่างกัน
ด้วยผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ได้เร่งให้หลายบริษัทจำเป็นต้องมองหาธุรกิจใหม่
เพื่อโอกาสการเติบโตในอนาคตรวมถึงเพื่อกระจายความเสี่ยงในธุรกิจเดิม
ไม่เว้นแม้แต่ ปตท. บริษัทที่มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศไทย ก็มีสัญญาณการเข้าไปลงทุนทั้งในอุตสาหกรรมเดิม รวมถึงธุรกิจใหม่
สะท้อนให้เห็นจากในปีที่ผ่านมา ปตท. ได้มีการลงทุนในธุรกิจเดิมอย่างการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติ ต่อยอดไปเป็นศูนย์กลางการซื้อขายก๊าซธรรมชาติระดับภูมิภาค หรือ LNG Hub
รวมไปถึงการกระจายการลงทุนไปพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับ Life Science หรือวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและสุขภาพ เช่น ยา ฟิวเจอร์ฟู้ด และอุปกรณ์ทางการแพทย์และได้เข้าไปลงทุนใน Lotus Pharmaceutical บริษัทวิจัย และพัฒนายารักษามะเร็งที่ใหญ่สุดในไต้หวัน เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
แล้ว ปตท. ยังมีกลยุทธ์หาช่องทางการเติบโตกับธุรกิจอะไรอีกบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ปัจจุบัน ปตท. ยังมีโครงการที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อผลักดันธุรกิจใหม่และธุรกิจที่มีแนวโน้มจะสร้างการเติบโตในระยะยาวโดยเฉพาะ หรือที่เรียกกันว่าธุรกิจ New S-Curve แบ่งออกเป็น
1. Express Solutions Project หรือ ExpresSo
2. Booster Project
แล้วแต่ละโครงการ มีแนวทางการค้นหาธุรกิจ New S-Curve กันอย่างไร ?
เริ่มกันที่โครงการ “ExpresSo” ที่ก่อตั้งและเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 หรือราว 4 ปีก่อน
เป็นการรวมตัวกลุ่มคนรุ่นใหม่ของ ปตท. ที่จะเข้าไปค้นหาโอกาสในธุรกิจสตาร์ทอัพ ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีแนวโน้มจะเติบโตเป็นธุรกิจใหม่ได้ในอนาคต
โดยมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจ 3 กลุ่มหลัก แบ่งออกเป็น
กลุ่มแรก Corporate Venture Capital หรือ CVC เป็นธุรกิจที่จะค้นหาและเข้าไปลงทุนในกองทุน
หรือสตาร์ทอัพ ที่มีศักยภาพช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความสามารถในการแข่งขันของ ปตท. ควบคู่ไปกับการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน
ปัจจุบัน ExpresSo กระจายการลงทุนในกองทุนพลังงานและความยั่งยืน 7 กองทุน
และสตาร์ทอัพจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3 บริษัท ได้แก่
- HG Robotics สตาร์ทอัพไทย ผู้พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติหลากหลายรูปแบบ รวมถึงโดรนเพื่อการสำรวจ และ โดรนเพื่อการเกษตร
- Baania สตาร์ทอัพไทย ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพื่อใช้ในตลาดอสังหาริมทรัพย์
- Sunfolding สตาร์ทอัพจากสหรัฐอเมริกา ผู้คิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์ติดตามแสงอาทิตย์ในลักษณะแกนเดียว ใช้ระบบหัวขับลมมีตัวควบคุมความดันที่คำนวณและปรับแกนการเอนตัวแผ่นโซลาร์ตามทิศทางของดวงอาทิตย์
โดย ExpresSo มีธีมการลงทุนหลักให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของ ปตท. โดยมองหาสตาร์ทอัพผู้คิดค้น
และพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับพลังงานใหม่และการจัดการพลังงานเพื่อความยั่งยืน
นอกเหนือจากมุมการเป็นผู้ลงทุนแล้ว ExpresSo ก็ยังมีกลุ่มธุรกิจ Venture Builder หรือ VB
เป็นการจัดตั้งโครงการหรือบริษัทเพื่อทดสอบแนวคิดทางธุรกิจ และพัฒนาต้นแบบที่มีแนวโน้มจะกลายมาเป็นธุรกิจใหม่ให้กับ ปตท. ตัวอย่างเช่น
- Renewable Energy Acceleration Platform หรือ ReAcc ทำธุรกิจแพลตฟอร์มระบบบล็อกเชนเพื่อรองรับธุรกรรมเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนอย่างครบวงจรรายแรกในประเทศไทย ที่ช่วยให้บริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยให้เข้าถึงแหล่งพลังงานหมุนเวียน
- Swap & Go ธุรกิจให้บริการสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ
- Mekha Tech ธุรกิจให้บริการคลาวด์กับลูกค้าทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม ปตท.
- Smart Energy Platform: P2P โครงการทดลองการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างบุคคล โดยร่วมมือกับ Sertis GPSC และ VISTEC
ExpresSo ยังมีกลยุทธ์การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทอื่น ๆ ผ่านกลุ่มธุรกิจ Venture Partner หนึ่งในนั้นคือการร่วมมือกับ Elemental Excelerator องค์กร Nonprofit ด้าน Climate tech เพื่อสร้างความยั่งยืนในกับโลก ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยขับเคลื่อนเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 แบบยั่งยืนด้วยองค์ความรู้ระดับสากล
ทั้งหมดนี้ก็เป็นการดำเนินธุรกิจภายใต้โครงการ ExpresSo
ที่แบ่งกลยุทธ์การหาโอกาสการเติบโตใหม่ทั้งในรูปแบบการลงทุน
การจัดตั้งบริษัทขึ้นเอง และการเข้าไปเป็นพันธมิตรกับผู้อื่น
นอกจากโครงการ ExpresSo แล้ว ยังมีอีกโครงการที่เน้นการค้นหาโอกาสการเติบโตใหม่เหมือนกัน
แต่มุ่งเน้นไปที่ กลุ่ม Food Value Chain เป็นหลัก รวมถึงเป็นศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพให้กับโครงการนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วใน ปตท. และมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นธุรกิจใหม่ได้ โดยโครงการนี้ชื่อว่า “Booster Project” ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา
การดำเนินงานของ Booster จะเน้นไปที่การวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจของโครงการในด้านต่าง ๆ เช่น Strategic fit, market, business model และ financial model ตลอดจนค้นหาโอกาสการเติบโตของธุรกิจนั้น ๆ
ยกตัวอย่างเช่น โครงการ Fishery Technology & Innovation
ที่เป็นการพัฒนาให้ประมงไทยกลับมาโดดเด่นอีกครั้ง
โดยนำเทคโนโลยีนวัตกรรมและระบบการจัดการใหม่ มาพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงแบบครบวงจร
รวมทั้งการแปรรูป จำหน่าย และบริหารโลจิสติกส์ เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน
เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในไทยและต่างประเทศ ยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้แก่เกษตรกรไทย และสร้างโอกาสใหม่เพื่อการเติบโตทางธุรกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยได้คัดเลือกปลาเศรษฐกิจ 2 ชนิดมาเป็นโมเดลต้นแบบ ได้แก่
Sugi Model หรือ โมเดลปลาช่อนทะเล เป็นโครงการเพื่อพัฒนาปลาเศรษฐกิจในอนาคต
ซึ่งจะนำเทคโนโลยีและการจัดการแบบใหม่มาพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงในกระชังต้นแบบ
ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบกระบวนการเพาะเลี้ยง และการทดสอบเรื่องอาหาร
เพื่อเพิ่มคุณภาพเนื้อและสารอาหารในปลาให้ดีขึ้น
ตลอดจนวิจัยผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อให้สามารถใช้ผลผลิตทั้งหมดอย่างคุ้มค่าไม่มีของเหลือทิ้ง
และหาช่องทางจัดจำหน่ายแบบ online offline และ modern trade
โดยที่ผ่านมา ได้มีการจัดการแข่งขัน Sugi Hackathon
ที่เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาเข้ามาประกวดแผนธุรกิจและกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อนำแนวคิดของคนรุ่นใหม่ มาช่วยขับเคลื่อนแผนพัฒนาปลาเศรษฐกิจดังกล่าว
อีกหนึ่งปลาเศรษฐกิจที่ Booster มีส่วนร่วมพัฒนา คือ Gourami Model หรือ โมเดลปลาสลิด
ตั้งแต่การเพาะพันธุ์ เพาะเลี้ยงไปจนถึงการแปรรูป สร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค ว่าแต่ละกระบวนการเป็นไปตามมาตรฐานและตรวจสอบได้
ปัจจุบันก่อสร้างโรงงานแปรรูปแล้วเสร็จ 95% อยู่ระหว่างการทดสอบกระบวนการแปรรูป และเริ่มมีการติดตั้งระบบ IoT และระบบอัตโนมัติหรือ Automation สำหรับการผลิตภายในโรงงานแปรรูปเพื่อตรวจสอบและวัดผลตลอดกระบวนการแปรรูป โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นโรงงานผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อผู้บริโภค
โครงการ Fishery Technology & Innovation ยังมุ่งมั่นพัฒนาประมงไทย โดยใช้ระบบ IoT (internet of Things) ร่วมกับการจัดทำ mobile application เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรบันทึกข้อมูลการเพาะเลี้ยง ที่จะช่วยให้การเพาะเลี้ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในส่วนของผลิดภัณฑ์ และ คุณภาพ
รวมทั้งยังมีการพัฒนา Platform ให้มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)
โดยอาศัยเทคโนโลยีของ Blockchain ให้สามารถตรวจสอบได้ตลอด Supply Chain
ในอนาคตอันใกล้ จะมีการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้งานร่วมกับ AI (Artificial Intelligence) สำหรับกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทานในการออกแบบการผลิตให้เป็นไปความต้องการของตลาดได้ในอนาคต
นอกเหนือจากการสนับสนุนการพัฒนาประมงไทย โครงการ Booster ยังนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยยกระดับภาคการเกษตร โดยมุ่งเน้น สมุนไพรไทย ครอบคลุมทั้งกระบวนการ
ตั้งแต่การปลูก การสกัด การแปรรูป ไปจนถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์
ด้วยความตั้งใจที่จะส่งต่อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการสู่มือผู้บริโภค
จะเห็นได้ว่าแม้ ExpresSo และ Booster จะเป็นโครงการที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาได้เพียงไม่กี่ปี
แต่ทั้ง 2 โครงการมีลักษณะการดำเนินธุรกิจเฉพาะที่ชัดเจนและมีเป้าหมายร่วมกันคือ การมองหาโอกาสการเติบโตทั้งในรูปแบบของการเข้าไปลงทุนในสตาร์ทอัพ หรือการวิเคราะห์ตลาดและหาแนวโน้มในการเติบโตในอนาคตเพื่อนำเทคโนโลยีเข้าไปเสริมให้ธุรกิจ มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น
ก็น่าติดตามกันต่อไปว่าในระยะยาว ทั้ง 2 โครงการของ ปตท. จะสร้าง New S-Curve อะไรให้กับบริษัทได้บ้าง
แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนตอนนี้ คือ ปตท. พร้อมแล้วที่จะรุกเข้าสู่กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่
ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่เพียงคำว่าธุรกิจพลังงาน อีกต่อไป
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「lotus pharmaceutical」的推薦目錄:
lotus pharmaceutical 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ปตท. มีกลยุทธ์ในการเติบโต ท่ามกลางวิกฤติโควิด อย่างไร ?
ปตท. x ลงทุนแมน
ในปีที่ผ่านมา วิกฤติการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ร่วงลงไปจนมีมูลค่าติดลบอยู่ช่วงหนึ่ง ผลที่ตามมาก็คือความตกต่ำของราคาน้ำมันที่ลากยาวต่อจากนั้นไปอีกหลายเดือน
เรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงไปยังการขาดทุนสต็อกของบริษัทน้ำมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ แม้ว่าสถานการณ์โรคระบาดจะปรับตัวดีขึ้นแล้วในหลายประเทศทั่วโลก
แต่ในประเทศไทย เรากำลังอยู่ท่ามกลางการระบาดระลอกที่ 3 ที่สถานการณ์ผู้ติดเชื้อยังคงมีอยู่
และได้กดดันไปยังความต้องการใช้พลังงานที่ยังไม่ฟื้นกลับมา
แล้ว ปตท. บริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
มีกลยุทธ์การเติบโตภายใต้วิกฤติอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
หากเรามาดูผลประกอบการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
หรือ PTT ในปี 2563 จะพบว่า
รายได้ 1,615,665 ล้านบาท ลดลง 27.2%
กำไรสุทธิ 37,766 ล้านบาท ลดลง 59.4%
โดยสาเหตุสำคัญที่กำไรลดลงมากกว่ารายได้ ก็เพราะว่า
กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นของ ปตท. ได้รับผลกระทบจากการขาดทุน
สต็อกน้ำมันมูลค่าราว 19,000 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกัน
เป็นผลมาจากประสบปัญหาหลายอย่างตั้งแต่สงครามราคาน้ำมัน, สภาวะน้ำมันล้นตลาดในช่วงปิดเมือง และความต้องการใช้น้ำมันในช่วงโรคระบาดที่ลดลงกะทันหันตลอดทั้งปี
ย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ในช่วงที่สัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ร่วงลงไปติดลบ
ปตท. ได้ระบุว่าราคาน้ำมันดิบ WTI ไม่ได้ส่งผลกระทบกับราคาน้ำมันดิบของประเทศไทยมากนัก
โดยเฉพาะกับกลุ่ม ปตท. ที่มีการกระจายถือสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบหลายรูปแบบ ในขณะที่ประเทศไทยจะอิงราคาน้ำมันดิบดูไบเป็นหลัก ซึ่งมีการปรับตัวลดลงราว 33.5% ในปี 2563
อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ที่กลุ่ม ปตท. นำมาใช้เพื่อรับมือกับวิกฤติโควิด ก็คือการจัดตั้งทีม PTT Group Vital Center ขึ้นโดยเฉพาะเพื่อรับหน้าที่วางแผนและดำเนินกลยุทธ์ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ
ระยะสั้น คือการบริหารค่าใช้จ่ายที่ทำทันทีหลังวิกฤติ
ในขณะที่ระยะยาว คือการบริหารสินค้าคงคลัง
รวมไปถึงสภาพคล่องทางการเงิน, ลูกค้าและบุคลากรในองค์กร
แล้ววิกฤติโควิด กระทบเศรษฐกิจประเทศไทยขนาดไหน ?
จากการที่สภาพัฒน์ได้ออกมาประเมินว่า GDP ประเทศไทยปีนี้
จะปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 2.5 ถึง 3.5% แต่ก็เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้น
จากฐานที่ต่ำในปีที่ผ่านมา ที่ GDP ประเทศไทย -6.1%
ซึ่งถือเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 22 ปี ตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง
อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น เราอาจได้เห็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจประเทศไทยในปีนี้ที่ระดับ 1% หรืออาจจะต่ำระดับ 0% ได้เช่นกัน
ปตท. ได้ประเมินว่าปริมาณความต้องการน้ำมันและราคาน้ำมันจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
โดยมีการคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบอ้างอิงราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปี 2564
อยู่ที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้นมาราว 43% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ในขณะเดียวกัน ความเคลื่อนไหวของการกระจายวัคซีนทั่วโลกมีแนวโน้มจะทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกฟื้นตัว และท้ายที่สุดความต้องการใช้น้ำมันก็จะเพิ่มขึ้นตามการเดินทางที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ปตท. ได้มองว่าวิกฤติโรคระบาดในปีที่ผ่านมา
สามารถนำมามองให้เป็นโอกาสได้ในหลายมุม เช่นกัน
ปตท. ได้เล็งเห็นถึงกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก จึงมีการปรับกลยุทธ์เพื่อเร่งดำเนินธุรกิจใหม่ ที่ไม่ใช่เพียงการลงทุนในธุรกิจพลังงาน โดยได้ปรับพอร์ตการลงทุน เน้นไปที่ 6 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่
1. New Energy
2. Life Sciences
3. Mobility & Lifestyle
4. Specialty Materials
5. Logistics & Infrastructure
6. AI, Robotics & Digitalization
ปตท. มีการจัดตั้งบริษัท Innobic (Asia) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 เพื่อมุ่งดำเนินในธุรกิจ Pharmaceutical, Nutrition และ Medical Devices ซึ่งจะสามารถต่อยอดและขยายการลงทุนไปยังตลาดยาด้านมะเร็งวิทยาในภูมิภาคอาเซียน ช่วยให้ผู้ป่วยในภูมิภาคดังกล่าวเข้าถึงยาสามัญได้มากยิ่งขึ้น
ซึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ปตท. ก็เพิ่งประกาศว่าได้เข้าไปลงทุนใน Lotus Pharmaceutical บริษัทวิจัยและพัฒนายารักษามะเร็งที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน มูลค่าราว 1,560 ล้านบาท โดยเข้าไปถือหุ้นในสัดส่วน 6.66%
การลงทุนดังกล่าว ถือเป็นใบเบิกทางให้ทางบริษัทสามารถรุกเข้าสู่ธุรกิจวิจัยและพัฒนายาในระดับภูมิภาคอาเซียน
นอกจากจะเป็นกลุ่มธุรกิจใหม่ของทางบริษัทแล้ว การลงทุนในธุรกิจกลุ่มนี้จะทำให้ผู้ป่วยในระดับภูมิภาคเข้าถึงยารักษาโรคได้มากขึ้น
ในขณะเดียวกัน บริษัทก็ได้มีแผนก่อตั้งโรงงานยารักษามะเร็งกับองค์การเภสัชกรรมให้แล้วเสร็จในปี 2565 หรือในอีก 2 ปีข้างหน้า รวมถึงรุกเข้าสู่ธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าและวัสดุทางการแพทย์ ร่วมกับ IRPC ในรูปแบบบริษัทร่วมทุน
โดย ปตท. วางเป้าหมายให้ทั้ง 6 กลุ่มธุรกิจที่อยู่ในแผนการลงทุน จะสร้างกำไรเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 15% จากกำไรทั้งหมดของบริษัทภายในปี 2573
สำหรับมุมมองต่อธุรกิจพลังงานใน 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า ปตท. ระบุว่าทิศทางพลังงานในอนาคตแน่นอนว่าพลังงานหมุนเวียนจะกลายเป็นพลังงานหลักของโลก ซึ่งตอนนี้เรากำลังอยู่ในช่วงรอยต่อสำคัญและก๊าซธรรมชาติจะกลายมาเป็นพลังงานเปลี่ยนผ่านในช่วงนี้
ซึ่งบริษัทก็ได้ขยายขอบเขตธุรกิจจากเดิมที่เป็นผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติ
มุ่งเข้าสู่การเป็นตัวกลางในการจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติระดับภูมิภาค หรือ LNG Hub เช่นกัน
ในขณะเดียวกัน ก็ได้กำหนดทิศทางการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานระยะ 10 ปี ครอบคลุมตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2573 โดยคาดว่าจะลงทุนราว 1 ใน 5 ของพอร์ตการลงทุนทั้งหมดในพลังงานหมุนเวียน รวมถึงเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงาน เช่น ธุรกิจแบตเตอรี่, แท่นชาร์จรถไฟฟ้า เช่นกัน
lotus pharmaceutical 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
ปตท. ลงทุนใน Lotus บริษัทพัฒนายามะเร็ง พันล้าน /โดย ลงทุนแมน
เมื่อวานนี้ มีรายงานว่าปตท. บริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศไทย ได้ประกาศ
เข้าซื้อหุ้นบริษัท Lotus Pharmaceutical Company Limited หรือ “Lotus”
บริษัทแห่งนี้ไม่ใช่ห้างค้าปลีก Lotus ในประเทศไทย
แต่เป็นหนึ่งในบริษัทวิจัยและพัฒนายาที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน
ที่ปัจจุบันมีมูลค่าบริษัทราว 22,000 ล้านบาท
ซึ่งปตท. ได้เข้าไปลงทุนใน Lotus ผ่านบริษัทย่อยในเครือ
มูลค่าราว 1,560 ล้านบาท
โดยได้สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทที่ 6.66%
แล้วบริษัทแห่งนี้ ทำธุรกิจอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Lotus Pharmaceutical Company Limited เป็นบริษัทสัญชาติไต้หวัน ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1966
บริษัทแห่งนี้ ทำธุรกิจวิจัยและพัฒนายาในรูปแบบเม็ด, แคปซูลชนิดแข็ง รวมถึงซอฟต์เจลเป็นหลัก และเพิ่งจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน เมื่อปี 2019 หรือ 2 ปีที่แล้ว
เรามาดูผลประกอบการของบริษัท Lotus Pharmaceutical
ปี 2018 รายได้ 7,075 ล้านบาท กำไร 109 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 10,094 ล้านบาท กำไร 729 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 11,804 ล้านบาท กำไร 1,130 ล้านบาท
รายได้เติบโตเฉลี่ย 29% ต่อปี
กำไรเติบโตเฉลี่ย 220% ต่อปี
โดยรายได้ทั้งหมดของบริษัทมาจากประเทศในเอเชีย 62%
และที่เหลืออีก 38% เป็นการส่งออกไปยังประเทศนอกเอเชีย
แล้ว Lotus Pharmaceutical Company Limited วิจัยและพัฒนายาอะไรบ้าง ?
หากอ้างอิงตามสัดส่วนรายได้ ตามกลุ่มยาประเภทต่าง ๆ จะแบ่งออกเป็น
ยาเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง 36%
ยารักษาเกี่ยวกับโรคมะเร็ง 18%
ยาลดน้ำหนัก 10%
ยารักษาเกี่ยวกับโรคหัวใจและความดัน 10%
ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพผู้หญิง 7%
ยาเกี่ยวกับโรคไต 5%
และอื่น ๆ อีก 13%
ในขณะเดียวกัน Lotus Pharmaceutical ก็ยังเป็นผู้นำด้านการพัฒนายาที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ
ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยมีสัดส่วนรายได้ราว 36%
รวมถึงตัวยาลดน้ำหนักของบริษัทที่ชื่อว่า “Qsymia” ก็เป็นยาที่มีสัดส่วนรายได้
มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในประเทศเกาหลี และเป็นอันดับ 2 ของทั่วโลกอีกด้วย
นอกจากนี้ บริษัท Lotus ยังเป็นพันธมิตรกับผู้ผลิตยาอีกกว่า 130 แห่งทั่วทุกมุมโลก
และทางบริษัทก็ได้วางงบการลงทุนสำหรับปี 2021 ไว้ที่ 600 ล้านบาท
โดยจะแบ่งไปลงทุนทั้งในแล็บวิจัยพัฒนา และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับกักเก็บสินค้า
ถ้าหากดูกลยุทธ์สำหรับปี 2021 ที่บริษัท Lotus กำลังขยายฐานมาสู่กลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น
นี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ปตท.เข้าร่วมลงทุนในบริษัท Lotus เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโอกาสในครั้งนี้
ปัจจุบัน Lotus Pharmaceutical มีมูลค่าบริษัทราว 22,000 ล้านบาท
โดยสัดส่วนที่ปตท.ลงทุน คิดเป็นเพียง 6.6% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท Lotus เท่านั้น
แต่นี่ก็แสดงให้เห็นว่าปตท. เริ่มสนใจในอุตสาหกรรมอื่น
โดยครั้งนี้ก็เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนายา
ซึ่งก็ถือเป็นอีกความเคลื่อนไหวที่สำคัญ
ที่บริษัทที่มีมูลค่ามากสุดในประเทศไทยอย่าง ปตท.
เริ่มก้าวออกจากธุรกิจน้ำมัน และหันเข้าหาธุรกิจอื่น เพื่อกระจายความเสี่ยงของตัวเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://finance.yahoo.com/quote/1795.TW/financials?p=1795.TW
-https://www.lotuspharm.com/media/lotus-q420-earningsen-callfinalsent