สรุปเรื่อง M&A การควบรวมกิจการ คืออะไร? ครบจบในโพสต์เดียว /โดย ลงทุนแมน
ยุคสมัยนี้ การแข่งขันในโลกธุรกิจ ทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าอดีตอย่างมาก
หลายบริษัทเจอความท้าทายต่าง ๆ
ทั้งเศรษฐกิจที่ผันผวน และการเพิ่มขึ้นของคู่แข่งในอุตสาหกรรม
บริษัทจำนวนไม่น้อย จึงเลือกที่จะใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า Mergers and Acquisitions หรือ “M&A” เพื่อความอยู่รอด หรือแม้แต่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจตนเอง
M&A คืออะไร และมีความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจปัจจุบัน มากแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
M&A ย่อมาจาก 2 คำ คือ “Mergers and Acquisitions”
โดย Mergers นั้นหมายถึง การที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป ทำการควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน
เป็นผลให้ทั้งบริษัทเหล่านั้น ถูกยุบรวมและเหลือเพียงแค่บริษัทใหม่เกิดขึ้น และบริษัทเดิมทั้งสอง (หรือมากกว่า 2) ก็จะเป็นเจ้าของบริษัทใหม่ร่วมกัน
ซึ่งตัวอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาก็คือ การควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทย และธนาคารธนชาต จนกลายมาเป็น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB
ส่วนคำว่า Acquisitions นั้นหมายถึง การที่บริษัทหนึ่งเข้าไปซื้อกิจการของอีกบริษัทหนึ่ง
กรณีแรกคือ Share Acquisition คือผู้ที่เข้ามาซื้อ
จะได้หุ้นของบริษัทที่ถูกซื้ออาจจะบางส่วนหรือทั้งหมด
ซึ่งผู้ซื้อจะได้มาซึ่งสิทธิ์ในการออกเสียงในการประชุม หรือพูดง่าย ๆ ว่ามีสิทธิ์ควบคุมการตัดสินใจของกิจการที่ถูกซื้อ อย่างเช่น การเข้าซื้อหุ้น INTUCH ของ GULF
อีกกรณีคือ ผู้ซื้อจะได้มาซึ่งทรัพย์สิน, หน่วยธุรกิจบางส่วนหรือทั้งหมด ของกิจการที่ถูกซื้อ ซึ่งกรณีนี้เราเรียกว่า Asset Acquisition หรือ Business Acquisition
ซึ่งตัวอย่างที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ก็เช่น กรณีที่ MAKRO รับโอนกิจการทั้งหมดของ LOTUS แล้วออกหุ้นเพิ่มทุนให้กับเจ้าของเดิมที่เป็นบริษัทในเครือซีพี เพื่อชำระเป็นค่าโอนกิจการ
ทีนี้ลองมาดูกันว่ามีเหตุผลสำคัญอะไรบ้าง ที่ทำให้บริษัทส่วนใหญ่นิยมหยิบกลยุทธ์ M&A มาใช้
- เสริมการเติบโตให้กับบริษัท
เมื่อธุรกิจของบริษัทเติบโตมาถึงจุดหนึ่ง การที่จะผลักดันให้ธุรกิจเติบโตมากขึ้นถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก เช่น หากธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่ขนาดตลาดเริ่มไม่เติบโตแล้ว การจะขยายส่วนแบ่งตลาดอาจทำได้ลำบาก
กรณีนี้บริษัท ก็จะต้องพึ่งการเข้าไปควบรวมกิจการคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันนั้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้ทันที โดยไม่ต้องไปเสียเวลาลงทุนพัฒนาสินค้า ทดลองตลาด หรือจ้างพนักงานเพิ่ม
หรือแม้แต่ถ้าธุรกิจเดิมของบริษัทนั้นเริ่มอิ่มตัว การเข้าไปควบรวมกิจการกับบริษัทอื่นที่อยู่ในธุรกิจใหม่ ก็สามารถสร้างการเติบโตจากภายนอกกิจการ หรือ Inorganic Growth ได้เช่นกัน
- เพิ่มอำนาจ และผลประโยชน์ร่วมทางธุรกิจ ให้กับบริษัท
เมื่อบริษัทมีการควบรวมกิจการกันเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้เพิ่มอำนาจและผลประโยชน์ทางธุรกิจได้ เพราะบริษัทที่ควบรวมสามารถใช้ทรัพยากร รวมไปถึงจุดแข็งของแต่ละบริษัทร่วมกัน ทั้งยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมให้ลดลงอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น การควบรวมกันของธุรกิจค้าปลีก
ที่สามารถเพิ่มอำนาจซื้อและต่อรองกับซัปพลายเออร์ จนอาจได้รับส่วนลด และช่วยให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานลดลง
- เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป มีหลายบริษัทที่ปรับตัวไม่ทัน ต้องประสบปัญหา บางบริษัทขาดสภาพคล่อง เข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็ก หรือบริษัทที่กำลังประสบปัญหา
ดังนั้น เราจึงเห็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนสูงพยายามเข้าไปควบรวมกิจการกับบริษัทขนาดเล็กหลายแห่งที่ยังมีโอกาสเติบโตในอนาคต แต่กำลังประสบปัญหาอยู่
ซึ่งการควบรวมกับธุรกิจขนาดใหญ่ จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่กำลังประสบปัญหานั้นมีโอกาสอยู่รอดสูงขึ้น
และหากมองในมุมของ รูปแบบการควบรวม เราก็สามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ
1. การควบรวมกิจการแบบแนวนอน (Horizontal Integration)
เป็นการควบรวมกิจการที่ทำธุรกิจเหมือนกัน หรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งผลประโยชน์จากการควบรวมแบบนี้คือ เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale)
จากการที่สามารถเพิ่มกำลังการผลิต เพิ่มส่วนแบ่งตลาด ลดคู่แข่ง รวมไปถึงการเกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจเพิ่มขึ้น และเพื่อให้เกิดจากการแชร์เทคโนโลยี ทรัพยากร และบุคลากรร่วมกัน
ตัวอย่างดีลแบบนี้ ก็เช่น The Walt Disney ที่มีส่วนธุรกิจผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์รายใหญ่ ได้เข้าซื้อกิจการของ 21st Century Fox สตูดิโอผลิตภาพยนตร์ชื่อดัง ด้วยมูลค่ากว่า 2.3 ล้านล้านบาท ในปี 2019
2. การควบรวมกิจการแบบแนวตั้ง (Vertical Integration)
เป็นการควบรวมของธุรกิจที่มีห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เดียวกัน เพื่อลดต้นทุนการผลิต และจัดการกระบวนการผลิตได้ง่ายขึ้น
เช่น ในปี 2012 Google ได้เข้าซื้อกิจการของ Motorola Mobility ที่แยกตัวออกมาจาก Motorola และเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาสมาร์ตโฟน Android ด้วยมูลค่ากว่า 406,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามดีลนี้ของ Google ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก เพราะตลาดโทรศัพท์มือถือมีการแข่งขันกันที่รุนแรง
3. การควบรวมกิจการที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน (Conglomerate Integration)
เป็นการควบรวมของธุรกิจที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง
ทั้งนี้เพื่อ สร้างการเติบโตจากธุรกิจใหม่ รวมไปถึงความต้องการที่จะกระจายความเสี่ยงเพื่อไม่ให้กิจการมีรายได้หลักมาจากธุรกิจเดิมเท่านั้น
ตัวอย่างของบริษัทที่เกิดจาก Conglomerate Integration เช่น กลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น หรือ TCC Group ของคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี
ที่มีการควบรวมกิจการต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องมาอยู่ในเครือมากมาย เช่น ธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ ประกัน การเงิน และธุรกิจการเกษตร
ทั้งหมดนี้ก็คือ สรุปกลยุทธ์ M&A
ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญในทางธุรกิจ ที่ทำให้เราเข้าใจว่า
เรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกธุรกิจที่ผ่านมา มันจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง M&A ในหลายเรื่อง
และในอนาคต เราก็จะได้เห็นการ M&A ของธุรกิจต่าง ๆ อยู่เป็นระยะ ตราบใดที่บนโลกนี้ยังมีการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย แนวคิดทุนนิยม..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.investopedia.com/ask/answers/why-do-companies-merge-or-acquire-other-companies/
-https://www.set.or.th/th/market/files/mna/Final_MnA.pdf
-https://www.investopedia.com/ask/answers/051315/what-difference-between-horizontal-integration-and-vertical-integration.asp
-https://www.npr.org/2019/03/20/705009029/disney-officially-owns-21st-century-fox
-https://en.wikipedia.org/wiki/Motorola_Mobility
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_largest_mergers_and_acquisitions
merge acquire 在 Betty 貝蒂的行銷.商業.交易 Facebook 的最佳貼文
旅遊市場一片看好,趁著現在市場相當熱,旅遊新創們應把握機會「搶錢」,因為市場、景氣、經濟,可能不會一直維持著如此高檔的表現!
#kkday #klook #travelstartup #merge #acquire
merge acquire 在 Eric's English Lounge Facebook 的最佳解答
[托福和雅思單字表+mp3] Business and Commerce
Audio file: https://www.dropbox.com/s/o6p57ufhkkpr66l/business%20and%20commerce.mp3
Desktop file: http://vocaroo.com/i/s1lrfdY58oh1
Use the audio file to improve your pronunciation of these words. The file can also be used as a simple listening and spelling test!
老師雖然每次在提供單字表時都會附上中文解釋(課堂上補充搭配的片語),但這只是方便學生更快知道這個單字最通用的意思,不代表是它最完整的涵義及用法。除此之外,有心的同學應該進一步使用其它工具查詢,最好是單字,配詞與句子一起背 (死背一個單字是無用的),再透過經常使用單字的方式,加強自己對單字的認知和應用。當然,你也可以利用老師或字典提供的單字音檔,進而增加自己對單字的辨識能力和發音!
學習單字的方式:
英文單字學習 I: https://www.dropbox.com/s/tq2ym9m3ihsbuy6/vocabI.pdf
英文單字學習 II: https://www.dropbox.com/s/eu51xclk7qxb211/vocabII.pdf
Free Online Dictionaries 免費線上字典和辭典: http://tinyurl.com/kzctz56
account (n.) 帳目;帳單;帳戶
accountable (adj.) 負責的
accountant (n.) 會計師
acquire (v.) 獲得
administrative (adj.) 行政的
advertising (n.) (總稱)廣告
agenda (n.) 議程
agreement (n.) 同意;協定
alternative (adj.) 可供選擇的事物、方式
announce (v.) 宣佈;宣告;公諸於眾
approach (n.) 方法
approval (n.) 贊成;同意
assess (v.) 評估(財產價值);評定
asset (n.) 有用的東西;優點;長處
assign (v.) 分配
attorney (n.) 律師
audit (n./v.) 審計
balance sheet (n.) 資產負債表
balance (n.) 餘額;差額
bankrupt (a.) 破產的;倒閉的
bankruptcy (n.) 破產
benchmark (n.) 基準;水準點;標準
bid (v.) 出價;投標;喊價
board (n.) 理事會;委員會;董事會
bond (n.) 債券
brainstorm (v.) 腦力激蕩,集思廣益
break a contract (v. phr.) 違約
breakthrough (n.) 突破;重大進展
bureaucracy (n.) 官撩主義
buyout/buy out (n./v.)買進全部產權;收購全部
capital (n.) 資本; 資金
carry out (v.) 執行;貫徹;
commerce (n.) 貿易
commercial (adj.) 商業化;商用的
commodity (n.) 商品;農產品
competitor (n.) 競爭者;對手
compromise (v) 妥協; 折衷;和解
concede (v.) 容忍;容許;讓步
conclusive (a.) 決定性的;勿庸置疑的
conference (n.) 會議;協商;討論會
conglomerate (n.) 企業集團
consensus (n.) 一致的意見;共識
consolidate (v.) 結合;合併;強化
consumer (n.) 消費者;顧客
contract (n.) 契約;合同
contractor (n.) 立契約人;承包商
contribute (v.) 貢獻
convention (n.) 慣例;常規;大會
converse (v.) 談話;交談
convince (v.) 使信服
corporate (adj.) 企業的; 團體的
corporation (n.) 公司
cost-effective (a.) 符合成本效益的
credibility (n.) 信譽
credible (adj.) 可信的;可靠的
credit (n.) 信用;信譽;功勞
criterion (n. / pl. = criteria) 規範;標準
currency (n.) 貨幣;流通;通用
cut down (v. phr.) 削減;縮短
dealer (n.) 商人;業者
debit card (n.) 存款戶持有的借方卡
debt (n.) 債;債務
decision making (phr.) 決策
decline (n.) 衰落;衰退 (v.) 下降
deductible (n./adj.) adj.=可抵扣/n.= (保險)扣除條款
deduction (n.) 扣除;扣除額
default (n.) 不履行, 違約, 拖欠
deficit (n.) 赤字;虧損額
demand (v.) 要求 (n.) 需求
demonstration (n.) 示範;實證
deposit (n.) 付押金;付保證金
devaluation (n.) 貶值
diplomacy (n.) 外交手腕;交際手段
discrepancy (n.) 差異;不同;不一致
dispute (n.) 爭端;爭執;糾紛;
dissuade (v.) 勸阻
due (a.) 應付的;到期的;該發生的
earnings (n.) 薪水;工資;收益
embezzle (v.) 盜用;挪用;侵佔(公款等)
employee (n.) 僱員
employer (n.) 雇主
endorse (v.) 背書;支持;贊同
enterprise (n.) 企業
entrepreneur (n.) 企業家;主辦人
estimate (v.) 估計;估價
evaluation (n.) 評價
exempt from (v. phr.) 被免除的;豁免的
expand (v.) 擴張;擴大
expenditure (n.) 消費;開銷
expense (n.) 消耗;消費
export (v.) 輸出;出口
finance (n.) 財政學;財政; 財源
firm (n.) 公司;商行
fiscal (a.) 財政的;會計的
fluctuation (n.) 波動;起伏;漲落
advertising (n.) (總稱)廣告
franchise (n.) 〔經營某公司商品或服務的〕特許經營權
forward (v.) 送到,轉號
franchise (n.) 經銷權;加盟權
free ride (n.) 搭便車
fund (n.) 基金;專款
gross (adj.) 總共的;全部的
haggle (v.) 討價還價
hedge fund (n.) 對沖基金(也稱避險基金或套利基金)
headquarter (n.) 總公司;總部;司令部
holding (n.) 土地;財產(常用複數)
import (v.) 輸入;進口
in exchange for (phr.) 換取
influential (adj.) 有影響
integrate (v.) 統合;整合
internship (n.) 實習
inventory (n.) 詳細目錄;清單;存貨
invoice (n.) 發票; 發貨清單
joint venture (n.) 合資投機活動; 企業
launch (v.) 開辦;展開;發起;開始
lease (v./n.) 租約, 租契, 租賃
long-range (a.) 長期的;遠程的
marketing (n.) 市場營銷
merge (v.) 合併;併吞
monopoly (n.) 壟斷;獨佔;專賣
negotiate (v.) 談判
obligation (n.) 義務
on behalf of (phr.) 代表
order (v.) 匯單;訂貨;訂單;匯票
organization (n.) 組織
outsourcing (n.) 外包
overdue (a.) 過期未付的
patent (n.) 專利 (v. =取得…的專利)
payment (n.) 支付;付款
pending (adj.) 未決定的;待決定的;
pension (n.) 養老金
persuade (v.) 說服;勸服
petition (n. / v.= petition for) 請願
phase (n.) 階段
postpone (v.) 延遲;延期
preliminary (a.) 初步的,開始的
premise (n.) 前提
procedure (n.) 程序
profit (n.) 利潤;收益;營利
propose (v.) 提議;建議
proposition (n.) 提案;建議;計畫
prospect (n.) 展望;期望
prospectus (n.) 計畫書;說明書
prosperity (n.) 繁榮;成功;興隆
purchase (v./n.) 購買
quota (n.) 定量;定額;配額
quote (v.) 報價
R&D (n.) 研發
reach consensus(phr.) 達成共識
real estate (n.) 房地產
receipt (n.) 收據
reconcile (v.) 調和;調解
remuneration (n.) 報酬;酬勞
rent (n.) 租金,租費 (v. ) 租用
retail (n.) 零售; (adj.) 零售的
return (v./n.) 回報
revenue (n.) 收益;歲入;稅收
rewarding (adj.) 獎勵的
rival (n.) 競爭者;對手;匹敵者
salary (n.) 薪資
scheme (n.) 設計;圖謀 (v.) 計畫
seminar (n.) 研討會;討論課;講習會
settlement (n.) 協議;支付
shareholder (n.) 股東
shipment (n.) 一批貨
skills and expertise (n.) 技能和專門知識
social security (n.) 社會保障
solution (n.) 解決方案
statement (n.) 聲明;陳述
stock (n.) 公債;證券;股票
stockbroker (n.) 證券和股票經紀人
strategy (n.) 戰略
subsidiary (n.) 子公司
supply (n.) 供應品;供應物;庫存
surplus (n.) 盈餘 (adj.) 過剩的量
tariff (n.) 關稅
tax (n.) 稅 (v.) 向……課稅
temp work (n.) 臨時工作
thrive (v.) 茂盛;興旺;繁榮
trade (n.) 貿易; 交易;商業 (v.) 交換;進行交易
trademark (n.) 注冊商標
undervalue (v.) 低估價值;看輕
voucher (n.) 保證人;憑證;折價券
warehouse (n.) 倉庫;貨價;大商店
withdraw (v.) 收回;取回;撤回;提款
yield (v.) 產生(效果,收益等)(n.) 產量;收穫量;收益
Related Words 相關詞彙:
Office 辦公室詞彙音檔: http://tinyurl.com/n584mo6
Business Idioms 1: http://tinyurl.com/lcjs5g7
Ancient Trade: http://tinyurl.com/m38ahxx
Complete List 完整托福和雅思單字表+mp3: http://tinyurl.com/lk3fglc