|NEWS|一隻手錶可消除 35 個廢置膠樽?TOM FORD OCEAN PLASTIC WATCH 推出全新配色 時尚環保兼備
每年有高達 800 多萬噸的塑膠廢料流入海洋,這樣算下來,到了2050 年,海洋的塑膠廢料可能還比魚還多。設計師 TOM FORD 幾年前意識到海洋污染問題便開始轉用金屬吸管,到上年更在個人品牌中推出以 100% 海洋廢棄物製成的手錶,最近迎來多款新色供大家選擇。
TOM FORD OCEAN PLASTIC 手錶是第一款使用海洋塑膠廢棄物而製成的奢華手錶,一隻錶就可以讓 35 個膠樽獲得新生,賣出1,000 隻手錶就相當於清除了約 490 磅的塑膠廢棄物。近日 TOM FORD 推出三款全新配色腕錶,分別是黑色、深藍色和亮黃色的可替換錶帶。
TOM FORD OCEAN PLASTIC 手錶配備 40MM 的錶盤,而錶殼是由藍寶石玻璃水晶製成,不銹鋼錶扣更加以啞光黑色塗層處理,以搭配同色系的黑色錶盤,具有現代機能感,是個環保而時尚的選擇。
#MINGS #MINGSHK #TOMFORD #OCEANPLASTIC
相關文章:
➜全英音樂獎 2021 巨星大展時尚穿搭:TAYLOR SWIFT 一抹紅唇配 MIU MIU 閃亮裙裝;HARRY STYLES 復古髮型配 GUCCI ARIA 西裝https://bit.ly/3fh1Vgh
➜「這是一個不分男女的彩妝系列」:M.A.C 與 HARRY STYLES 設計師 HARRIS REED 推出聯乘彩妝系列 https://bit.ly/3w7Fd13
_________________________________
FOLLOW US NOW
➜ WEBSITE www.mings.hk
➜ INSTAGRAM www.instagram.com/mings.hk
➜ YOUTUBE www.youtube.com/mpwmings
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過2,810的網紅蔓蔓?蔓時尚 Slow Vashion,也在其Youtube影片中提到,有人說淨灘是你丟我撿的活動,垃圾永遠都沒有撿完的一天,那為什麼還要淨灘? 一起來分析海洋垃圾的5大來源,再來決定要不要淨灘吧! - 影片中的環保大尖兵們: 💙PackAge+ 配客嘉 https://www.facebook.com/packageplus.tw/ 💙寶島淨鄉團 https://ww...
ocean plastic news 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
เลิกใช้หลอดพลาสติก ช่วยโลกได้มากแค่ไหน ? /โดย ลงทุนแมน
ช่วงไม่กี่ปีมานี้ คนทั่วโลกต่างกระตือรือร้น ที่จะช่วยกันลดการใช้พลาสติก
โดยเฉพาะประเภทที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง อย่างเช่นหลอดพลาสติก
เพื่อลดปริมาณขยะที่ถูกทิ้งลงทะเล เพราะนอกจากพลาสติกเหล่านี้จะทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว
มันยังทำร้ายสัตว์ทะเลอีกด้วย
แล้วเราเคยสงสัยไหมว่า หลอดพลาสติกที่เราช่วยกันใช้ให้น้อยลงนี้
จะส่งผลกระทบมากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับปริมาณขยะพลาสติกทั้งหมดบนโลก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในปี 2015 หรือ 6 ปีก่อน มีคลิปวิดีโอหนึ่งที่ถูกแชร์และพูดถึงกันไปทั่วโลก
เป็นคลิปวิดีโอที่นักชีววิทยาทางทะเล ได้ช่วยเหลือเต่าที่หายใจติดขัด
เพราะมีหลอดพลาสติกเข้าไปติดในจมูก
ซึ่งนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ขยะจากฝีมือมนุษย์ได้ไปทำร้ายสัตว์ทะเล
เพราะจริง ๆ แล้ว ยังมีกรณีร้ายแรงถึงขั้นทำให้สัตว์เสียชีวิต
อย่างเช่น เต่าทะเลที่เห็นถุงพลาสติกลอยน้ำอยู่
จึงเข้าใจว่าเป็นแมงกะพรุน เลยกินเข้าไป
จนถุงพลาสติกไปอุดหลอดลมจนเสียชีวิต
จากคลิปวิดีโอนั้นเอง ก็ได้เป็นเหมือนแรงกระเพื่อมทางสังคม
ที่กลายมาเป็นต้นกำเนิดของการร่วมกันรณรงค์ให้เลิกใช้หลอดพลาสติกทั่วโลก
เพื่อช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเล
โดยนำเสนอให้เราหันมาใช้หลอดที่สามารถล้างและใช้ซ้ำได้ หรือหากเป็นหลอดใช้แล้วทิ้ง
ก็เลือกใช้หลอดที่ทำจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายกว่า
เช่น หลอดกระดาษ ที่ใช้เวลาย่อยสลาย 2 ถึง 6 สัปดาห์
ในขณะที่หลอดพลาสติกใช้เวลาย่อยสลายถึง 200 ปี หรือนานกว่าหลอดกระดาษ 1,740 เท่า
โดยแรงกระเพื่อมในครั้งนี้ ยังสั่นสะเทือนไปถึงผู้ประกอบการรวมถึงภาครัฐ
ที่ต่างก็ร่วมกันออกนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณการใช้พลาสติกลง
เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกาที่เริ่มแบนการใช้หลอดพลาสติกในปี 2018 อย่างเป็นทางการในหลายรัฐ
หรืออย่าง Starbucks และ McDonald’s ก็ประกาศว่าจะทยอยเลิกใช้หลอดพลาสติกไปจนครบทุกสาขา
ซึ่งข้อมูลจากการประเมินโดยนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล
ระบุว่าหลอดพลาสติกที่กลายเป็นขยะลงสู่ทะเลต่อปี มีจำนวน 8,300 ล้านชิ้น
หรือคิดเป็นน้ำหนักที่รวมกันกว่า 2,000 ตัน
แล้วปริมาณที่ว่านี้ ถือว่าเยอะขนาดไหน ?
เราลองมาดูข้อมูลเหล่านี้ ที่ถูกประมาณการไว้ เป็นจำนวนตันต่อปี
หลอดพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเล 2,000 ตัน
พลาสติกทั้งหมดที่ถูกทิ้งลงทะเล 8,000,000 ตัน
ในขณะที่ขยะพลาสติกทั้งหมดมี 275,000,000 ตัน
จะเห็นได้ว่า ขยะจากหลอดพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเลนั้น คิดเป็น 0.025% ของขยะพลาสติกทั้งหมด
ที่ถูกทิ้งลงทะเล และเป็น 0.0007% ของขยะพลาสติกทั้งหมด
ตัวเลขเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าหลอดพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเล
แท้จริงแล้วคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเลทั้งหมด
โดยข้อมูลระบุว่า กว่า 46% ของขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเลทั้งหมดนั้น
ส่วนใหญ่ก็คือแหตกปลา และที่เหลือ ส่วนใหญ่ก็มาจากอุปกรณ์ประมง
ที่ทำจากพลาสติก สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่าในการจับปลาทูนาน้ำหนัก 1 หน่วย
จะมีอุปกรณ์ประมงที่กลายเป็นขยะพลาสติกในทะเลถึง 2 หน่วย
ซึ่งแหและอุปกรณ์ประมงเหล่านี้ ก็ส่งผลร้ายไม่ต่างจากขยะพลาสติกชนิดอื่น ๆ
เพราะมีหลายกรณีเช่นกัน ที่สัตว์ทะเลเข้าไปติดอยู่กับแหที่จมอยู่
แล้วได้รับบาดเจ็บ หรือหนีไปไหนไม่ได้ จนกระทั่งเสียชีวิต
หากเป็นแบบนี้แล้ว วิธีการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทร
ที่สามารถส่งผลอย่างมีนัยสำคัญได้ ควรเป็นอย่างไร ?
ในประเด็นของการปล่อยอุปกรณ์ประมงลงทะเล หลายฝ่ายต่างเสนอให้ออกบทลงโทษที่ชัดเจน และให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
แต่ที่สำคัญไม่แพ้กัน คือขั้นตอนในการป้องกัน “ไม่ให้ขยะจากฝั่งลงสู่ทะเล” ซึ่งข้อเสนอต่างก็เป็นไปในทางเดียวกัน ก็คือเรื่องของ “กระบวนการจัดการและกำจัดขยะ”
ประเทศที่ทำให้เกิดขยะพลาสติกในทะเลมากที่สุดในโลก หรือกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณทั้งหมด
ก็คือประเทศจีน รองลงมาคืออินโดนีเซีย ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ เวียดนาม และศรีลังกา
โดย 19 อันดับแรกของประเทศที่ปล่อยขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุด เป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่โครงสร้างพื้นฐานด้านระบบจัดการและกำจัดขยะยังคงขาดประสิทธิภาพและไม่เพียงพอ
หากประเทศเหล่านี้ หันมาให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบจัดการและกำจัดขยะ
ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้ 50% จะช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก
ที่ถูกทิ้งลงทะเลทั่วโลกได้ถึง 1 ใน 4 เลยทีเดียว
ในด้านของประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่
แม้ประเทศเหล่านี้จะมีระบบจัดการขยะที่ลงสู่ทะเลมีประสิทธิภาพเพียงพอ
แต่ปริมาณขยะพลาสติกต่อคน ยังถือว่าสูงมาก มากกว่าประเทศกำลังพัฒนา
ที่ปล่อยขยะลงสู่ทะเลในปริมาณมากเหล่านั้นเสียอีก
สำหรับการแก้ปัญหานี้ นอกจากการลดการใช้พลาสติกแล้ว ยังรวมไปถึงกระบวนการแยกขยะ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ทั้งการรียูสและรีไซเคิล เพราะทุกวันนี้ ขยะพลาสติกที่ถูกนำไปรีไซเคิลมีเพียงแค่ 9% เท่านั้น
นั่นหมายความว่า นอกจากเราจะช่วยกันลดปริมาณขยะพลาสติกจากการใช้งานแล้ว
สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ กระบวนการแยกขยะ และกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่
พร้อมทั้งการวางรากฐานและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบจัดการขยะไม่ให้ลงสู่ทะเล
แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นมุมมองจากด้านมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากพลาสติกเท่านั้น
เพราะหากพิจารณาถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในด้านอื่น ๆ
จะพบว่าในกระบวนการผลิตพลาสติก
ถุงกระดาษจะใช้ทรัพยากรและปล่อยมลพิษมากกว่าถุงพลาสติก 43 เท่า
และถ้าเราพูดถึงกระบวนการผลิตถุงผ้านั้น
ถุงผ้าก็จะใช้ทรัพยากรและปล่อยมลพิษมากกว่าถุงพลาสติก 20,000 เท่า
หรือก็คือ เมื่อไม่ใช้ถุงพลาสติก 1 ถุง แล้วใช้ถุงกระดาษแทน
ถุงกระดาษนั้นต้องถูกนำมาใช้ซ้ำ 43 ครั้ง หรือถ้าเป็นถุงผ้า ต้องถูกนำมาใช้ซ้ำราว 55 ปี
ถึงจะเท่าเทียมกัน ในมุมของมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิต
นอกจากนี้ การผลิตพลาสติกยังก่อมลพิษทางอากาศ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้อยกว่ากระบวนการผลิตกระดาษและผ้าคอตตอนอีกด้วย
สุดท้ายแล้ว นี่ก็คงเป็นเหมือนกับหลาย ๆ สิ่ง
ที่เรายังไม่สามารถตัดสินแบบชี้ชัดได้ว่าอะไรดีกว่ากัน
เพราะทุกอย่างต่างก็มีทั้งปัจจัยที่ดีและไม่ดีปะปนกันไป
และมุมมองเหล่านั้น ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา
ย้อนกลับไปในปี 1888 หรือเมื่อ 133 ปีก่อน
มนุษย์มีหลอดใช้ครั้งแรก ซึ่งเป็นหลอดทำจากกระดาษ
จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มนุษย์ได้รู้จักพลาสติกเป็นครั้งแรก
จึงทำให้ในปี 1969 ต่างก็หันมาผลิตหลอดจากพลาสติกแทน
เพราะดีกว่าหลอดกระดาษในด้านความคงทน ความสะดวกในการใช้งาน และมีราคาถูกกว่า
แต่ 50 ปีหลังจากนั้น หรือในวันนี้ คุณสมบัติของความคงทนที่ทุกคนชื่นชอบ
ก็ได้กลายมาเป็นประเด็นต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม
ทั้งจากการย่อยสลายยากและได้กลายเป็นขยะลอยอยู่ในทะเล
จนเราต้องหวนกลับไปใช้หลอดกระดาษ
ที่แม้จะด้อยกว่าในเรื่องการใช้งาน แต่ก็ดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า
ท้ายที่สุดแล้ว แม้ว่าปริมาณหลอดพลาสติกที่เราช่วยกันลด
อาจไม่ได้คิดเป็นสัดส่วนที่มากเท่าไร เมื่อเทียบกับขยะพลาสติกบนโลก
แต่อย่างน้อย มันก็เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด
ที่เราสามารถช่วยให้โลกของเราดีขึ้นได้บ้าง แม้มันจะเป็นส่วนเล็ก ๆ ก็ตาม..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bloomberg.com/opinion/articles/2018-06-07/plastic-straws-aren-t-the-problem
-https://www.nationalgeographic.com/environment/article/news-plastic-drinking-straw-history-ban
-https://www.wri.org/blog/2018/08/banning-straws-and-bags-wont-solve-our-plastic-problem
-https://earth.stanford.edu/news/do-plastic-straws-really-make-difference#gs.ytna1y
-https://theconversation.com/eight-million-tonnes-of-plastic-are-going-into-the-ocean-each-year-37521
-https://www.nbcnews.com/news/us-news/banning-plastic-straws-will-not-be-enough-fight-clean-oceans-n951141
-https://www.rubicon.com/blog/paper-straws-better-environment/
-https://science.sciencemag.org/content/347/6223/768
ocean plastic news 在 蔓時尚 Slow Vashion Facebook 的精選貼文
有人說淨灘是你你丟我撿的活動,垃圾永遠都沒有撿完的一天,那為什麼還要淨灘?
一起來分析海洋垃圾的5大來源,再來決定要不要淨灘吧!🐹
影片中的環保大尖兵們:
PackAge Plus
寶島淨鄉團
環還購
||||||||||||||||||||🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢
📷Instagram: @slow_vashion
🔗https://www.instagram.com/slow_vashion/
👩🏻YouTube: 蔓時尚 Slow Vashion
🔗https://www.youtube.com/watch?v=qPxJYbrA_Dw&t=74s
||||||||||||||||||||🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢
[1]How many birds die from plastic pollution? https://www.wwf.org.au/news/blogs/how-many-birds-die-from-plastic-pollution
[2] 海洋垃圾捕集方法: 台灣社會企業Micropc
https://www.micropctw.com
[3]【淨灘專欄】你我都可能是海廢的原兇
https://blog.zerozero.com.tw/24372/green_column/
[4] Monitoring multi-year macro ocean litter dynamics and backward-tracking simulation of litter origins on a remote island in the South China Sea
https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1748-9326/aaaf21/meta
關於掩埋場:https://teia.tw/zh-hant/recent/news/19705
[5] 海洋廢棄物治理平台
https://www.epa.gov.tw/SWM/5919C0B615518E4D
ocean plastic news 在 蔓蔓?蔓時尚 Slow Vashion Youtube 的最讚貼文
有人說淨灘是你丟我撿的活動,垃圾永遠都沒有撿完的一天,那為什麼還要淨灘?
一起來分析海洋垃圾的5大來源,再來決定要不要淨灘吧!
-
影片中的環保大尖兵們:
💙PackAge+ 配客嘉
https://www.facebook.com/packageplus.tw/
💙寶島淨鄉團
https://www.facebook.com/FormosaCountyBeauty/
💙環還購
https://www.ecoshoptw.com/Topics?TopicId=1026
||||||||||||||||||||🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢
📷Instagram: @slow_vashion
🔗https://www.instagram.com/slow_vashion/
👩🏻Facebook: 蔓時尚 Slow Vashion
🔗https://www.facebook.com/slow.vashion/
||||||||||||||||||||🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢🁢
[1]How many birds die from plastic pollution? https://www.wwf.org.au/news/blogs/how-many-birds-die-from-plastic-pollution
[2] 海洋塑膠碎片/微粒捕集方法: 台灣社會企業Micropc
https://www.micropctw.com
[3]【淨灘專欄】你我都可能是海廢的原兇
https://blog.zerozero.com.tw/24372/green_column/
[4] Monitoring multi-year macro ocean litter dynamics and backward-tracking simulation of litter origins on a remote island in the South China Sea
https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1748-9326/aaaf21/meta
關於掩埋場:https://teia.tw/zh-hant/recent/news/19705
[5] 海洋廢棄物治理平台
https://www.epa.gov.tw/SWM/5919C0B615518E4D
ocean plastic news 在 Ocean Rubbish - Behind the News - YouTube 的推薦與評價
... <看更多>