พลานุภาพของเกม กับพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิก 2021
.
หลังจากที่เตรียมการมานานหลายปี ผ่านการตัดสินใจอย่างยากลำบากที่จะเลื่อนออกไปหนึ่งปีเนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ในที่สุดมหกรรมการแข่งขันกีฬานานาชาติ โตเกียวโอลิมปิก 2021 ก็เปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564
.
พิธีเปิดครั้งนี้มีไฮไลท์ที่น่าจดจำมากมาย แม้ว่าบนอัฒจันทร์จะว่างเปล่าปราศจากคนดู เนื่องด้วยมาตรการเคร่งครัดช่วงโควิด-19 แต่ในบรรดาไฮไลท์ทั้งหมดนั้น ไม่น่ามีอะไรที่ทำให้คอเกมตื่นเต้น ตื้นตัน และประทับใจเท่ากับการบรรเลงเมดเลย์ดนตรีประกอบจากเกมยอดนิยมของญี่ปุ่น เป็นเซาน์ด์แทร็กประกอบการเดินพาเหรดเข้ามาในสนามของทัพนักกีฬาจากประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมชิงชัยในโตเกียวโอลิมปิก
.
ย้อนกลับไปที่พิธีปิดโอลิมปิกเกมส์ครั้งก่อน ห้าปีที่แล้วในกรุง ริโอ เดอ จาไนโร เมืองหลวงบราซิล ชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ทำเซอร์ไพรส์คนดูทั้งสนามด้วยการแต่งตัวเป็น ซุปเปอร์มาริโอ พระเอกจากซีรีส์เกมยอดฮิตของค่ายนินเทนโด รับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งต่อไป
.
จากจุดนั้นคงไม่มีใครสงสัยว่า “เกม” จะเป็นส่วนสำคัญของพิธีเปิดโอลิมปิกที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ แต่ไม่มีใครคาดคิดว่า เจ้าภาพจะ “จัดเต็ม” ขนาดนี้
.
พิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ 2021 ในโตเกียว ไม่มีมาริโอแล้ว (และก็ไม่มีเกมไหนสักเกมจากค่ายนินเทนโดด้วย) แต่เราได้ยินดนตรีประกอบคุ้นหูในเกมชื่อดังของแดนอาทิตย์อุทัยอย่างเต็มอิ่มสิบกว่าเกม และเมดเลย์นี้ก็ไม่ได้มาเล่นๆ แต่ถูกเรียบเรียงและบรรเลงโดยวงออเคสตราเต็มวง และเกมที่เลือกดนตรีมาเล่นนั้นก็ครอบคลุมประวัติศาสตร์เกม ตั้งแต่ Gradius เกมตู้ชื่อดังปี 1985 กว่าสามทศวรรษที่แล้ว เรื่อยมาจนถึงเกมสมัยใหม่อย่าง NieR และ Monster Hunter ในศตวรรษที่ 21
.
การประพันธ์เพลงและดนตรีประกอบเกมแบบ “จัดเต็ม” เป็นส่วนสำคัญของวงการเกมญี่ปุ่นมาช้านาน เกมเมอร์จำนวนมากเป็นแฟนพันธุ์แท้ของนักประพันธ์ดนตรีประกอบเกมชื่อดัง คอยติดตามผลงานอย่างติดหนึบไม่แพ้เพลงของนักร้องคนโปรด และในญี่ปุ่นเองก็มีการจัดคอนเสิร์ตดนตรีประกอบเกม (ดูแหล่งข้อมูลเช่น https://ultimatepopculture.fandom.com/wiki/Orchestral_Game_Music_Concerts) มาแล้วหลายครั้ง
.
แต่แน่นอนว่า การใช้ออเคสตราบรรเลงเมดเลย์ที่เรียงร้อยดนตรีประกอบเกม 14 เกม ต่อหน้าผู้ชมผ่านจอหลายล้านคนทั่วโลก ในพิธีเปิดมหกรรมการแข่งขันที่โด่งดังที่สุดของมวลมนุษยชาติ ยาวนานเป็นชั่วโมงๆ ต้องนับเป็นจุดสูงสุดครั้งหนึ่งที่ต้องจารึกในประวัติศาสตร์เกมเลยทีเดียว
.
ด้วยความที่ญี่ปุ่นคือญี่ปุ่น จะทำอะไรต้องผ่านการคิดใครครวญอย่างรอบคอบมาก่อนเสมอ เราลองมาไล่เรียงดนตรีจากเกมแต่ละเกมที่เลือกมาบรรเลงออเคสตราในพิธีเปิดโอลิมปิกกัน (ฟังเรียงเพลงได้จาก https://www.classicfm.com/discover-music/periods-genres/video-game/tokyo-2020-opening-ceremony/)
.
(ตัวเลขในวงเล็บ บอกลำดับของการเล่นเพลงนั้นๆ ในพาเหรดนักกีฬา)
.
1. Dragon’s Quest – Overture: Roto’s Theme (1)
เมดเลย์ประกอบพาเหรดนักกีฬาเปิดฉากด้วยเพลงติดหู Roto’s Theme จากเกม Dragon Quest ภาคแรก และธีมนี้ก็ปรากฎในเกมทุกเกมในซีรีส์เดียวกัน เพลงนี้ฟังดูยิ่งใหญ่ เชิดชูฮีโร่ เสียงกลองปลุกความฮึกเหิม สมกับใช้เปิดฉากพาเหรดนักกีฬาโอลิมปิก
.
2. Final Fantasy - Victory Fanfare (2), Main Theme: Prelude (13)
เพลงหลักสองเพลงในซีรีส์ Final Fantasy ที่คุ้นหูคอเกมเป็นอย่างดี โนบูโอะ อุเอมัตสึ ผู้ประพันธ์ Main Theme: Prelude เคยให้สัมภาษณ์ว่า ถ้าทั้งชีวิตของเขาจะมีคนจำผลงานเขาได้เพียงชิ้นเดียว เขาอยากให้เป็น Prelude นี่เอง เพลงเพราะเพลงนี้ครบเครื่องทุกรสชาติ ทั้งฮึกเหิม บุกตะลุย เศร้าโศก โรมานซ์ และอ้อยอิ่ง เหมือนกับทั้งเรื่องราวในซีรีส์เกมมหากาพย์ และเรื่องราวความเป็นมนุษย์ที่ฉายผ่านโอลิมปิกเกมส์
.
เวอร์ชันที่เลือกมาเรียบเรียงและให้ออเคสตราบรรเลงในพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิกมาจาก Final Fantasy VII เกมที่ได้รับความนิยมสูงสุดในซีรีส์ และดังนั้นจึงน่าจะติดหูคนมากที่สุด
.
3. Tales Of Zestiria - Sorey's Theme (The Shepherd) (3), Royal Capital ( 8 )
โมโตอิ ซากุราบะ นักประพันธ์ดนตรีประกอบเพลง อยู่เบื้องหลังเพลงติดหูในซีรีส์เกมมากมาย อาทิ Dark Souls, Mario Golf และ Star Ocean แต่ผลงานที่สร้างชื่อให้กับเขาที่สุดคือดนตรีประกอบซีรีส์ Tales จากค่าย Bandai Namco ด้วยความไพเราะและ “จัดเต็ม” เหมาะกับการเล่นแบบออเคสตราเต็มวง
.
4. Monster Hunter - Proof of Hero (4), Wind of Departure (9)
ธีมหลักของเกมซีรีส์ Monster Hunter ทุกเกม ปลุกเร้าให้ตื่นเต้น ฮึกเหิม และลุ้นระทึกในคราวเดียว บรรเลงระหว่างการต่อสู้กับสัตว์ประหลาดและเตรียมตัวก่อนออกเดินทางไปผจญภัย เฉกเช่นนักกีฬาที่กำลังจะเข้าสู่สังเวียนประลองกำลัง
.
5. Kingdom Hearts - Olympus Coliseum (5), Hero’s Fanfare (15)
ดนตรีบรรเลงจากสนามกีฬาโอลิมปิกในเกม Kingdom Hearts เกมแรก (และก็ใช้ในเกมต่อๆ มาในซีรีส์นี้ด้วย) นับว่าเหมาะเจาะกับพิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์โดยไม่ต้องตีความใดๆ โดยเฉพาะในเมื่อ โยโกะ ชิโมมูระ ผู้ประพันธ์เกมนี้ นำแรงบันดาลใจจากกรีกโบราณมาใช้ในการรังสรรค์ผลงานชิ้นนี้
.
6. Chrono Trigger - Frog's Theme (6), Robo’s Theme (10)
เชื่อว่าคอเกมรุ่นเก๋าหลายคนน่าจะได้น้ำตาซึมเมื่อได้ยินดนตรีจาก Chrono Trigger เกม JRPG คลาสสิกขึ้นหิ้ง บรรเลงคลอพาเหรดนักดนตรี หลายคนคงหวนนึกถึงตอนที่เจอ Frog (กบ) อัศวินร่างกบที่เราได้มาเป็นพวกในช่วงแรกๆ ของเกม เพราะ Frog’s Theme คือเพลงประจำตัวของเขา ส่วน Robo’s Theme ก็เป็นเพลงคึกจังหวะสนุกอีกเกมที่ฟังครั้งเดียวก็ติดหูเลย เกม Chrono Trigger ทั้งเกมมีเพลงเพราะยอดนิยมมากมาย และทีมงานประพันธ์เมดเลย์ก็บรรเลงให้เราฟังอย่างจุใจด้วยการสอดแทรกธีมนี้ในหลายจุดของเมดเลย์
.
7. Ace Combat - First Flight (7)
ครึ่งทางของเมดเลย์ ออเคสตราสลับฉากออกจากเกมแนว JRPG (เกมสวมบทบาทแบบญี่ปุ่น) มาทางเกมแนวอื่นๆ บ้าง เริ่มจากเกมเพราะจากซีรีส์ Ace Combat เกมขับเครื่องบินรบสไตล์เกมตู้จากค่าย Bandai Namco เพลงนี้อาจไม่คุ้นหูคอเกมเท่ากับเพลงจากซีรีส์ JRPG ยอดฮิตทั้งหลาย แต่พอใส่มาในเมดเลย์ช่วงครึ่งทาง เพลงต่อสู้เร้าใจจากเกมนี้ก็เหมาะเจาะเลยทีเดียว
.
8. Sonic The Hedgehog - Starlight Zone (11)
จากความเร้าใจของ Ace Combat สลับฉากมาเป็นจังหวะชิลๆ ของเพลงจาก Sonic the Hedgehog เกมแอ็กชั่น 2D คลาสสิกค้างฟ้าจากค่าย SEGA ติดหูคอเกมมาตั้งแต่เจ้าเฮดจ์ฮอกจอมซ่า คู่แข่งมาริโอ ปรากฎตัวครั้งแรกในปี 1991 มาซาโตะ นาคามูระ นักประพันธ์เพลง วันนี้ผันตัวมาเน้นการแต่งเพลงประกอบโฆษณาโทรทัศน์และภาพยนตร์มากกว่าเกมแล้ว แต่ผลงานที่เขาฝากไว้ในเกมพิภพก็จะติดหูไปอีกนานแสนนาน
.
9. Winning Eleven - eFootball Walk-On Theme (12)
เกมเด่นจาก Winning Eleven ซีรีส์เกมฟุตบอลชื่อดัง (วันนี้เปลี่ยนชื่อเป็น eFootball) ทั้งเพราะและเหมาะสมด้วยความที่เป็นเกม “กีฬา” เกมเดียวในเมดเลย์ชุดนี้
.
10. Phantasy Star Universe – Guardians (14)
เกมเพราะจาก Phantasy Star ซีรีส์ JRPG ที่ดังเป็นพลุแตกในญี่ปุ่น แต่นอกประเทศคนไม่รู้จักเท่า Chrono Trigger และ Final Fantasy ดึงอารมณ์คนฟังเข้าสู่แดนผจญภัย แม้อาจฟังดูไม่ยิ่งใหญ่และครบรสเท่ากับเพลงจาก JRPG ช่วงแรกในเมดเลย์
.
11. Gradius - 01 ACT I-1 (16)
เซอร์ไพรส์ที่ผู้เขียนบทความนี้ชอบมากเป็นการส่วนตัว การเลือกเสียงเปียโนจังหวะสนุกๆ จากเกมตู้คลาสสิกของ Konami มาอยู่ในเมดเลย์ออเคสตราที่บรรเลงประกอบพาเหรดนักกีฬา นับเป็นการให้เกียรติเกมตู้ (arcade) จากยุคที่ “เกม” ยังถูกมองว่าเป็น “เรื่องไร้สาระ” หรือ “อบายมุข” (ซึ่งผ่านมาหลายทศวรรษแล้วบางสังคมก็ยังมีทัศนคติแบบนี้อยู่)
.
12. NieR - Song of The Ancients (17)
เพลงเพราะจาก NieR ซีรีส์ action RPG ชื่อดัง ซีรีส์นี้มีเพลงเพราะหลายเพลง แต่ที่น่าสนใจคือทีมประพันธ์เมดเลย์เลือกเพลง Song of the Ancients ซึ่งกลายเป็นเพลงเดียวในเมดเลย์นี้ที่ไม่ได้มีแต่เสียงดนตรีอย่างเดียว แต่มี “เนื้อร้อง” ด้วย เวอร์ชันในเกมขับร้องโดย เอมิโกะ อีวานส์ และประพันธ์โดย เคนิอิชิ โอกาเบะ
.
เนื้อร้องของเพลงนี้ไม่ใช่ภาษาใดๆ ที่ใครจะฟังออกเลย เพราะเขียนในภาษาปลอมที่ไม่มีอยู่จริงในโลก เรื่องราวของเกมบอกว่าภาษานี้คือ Chaos เกิดจากการผสมภาษาต่างๆ ในโลกเข้าด้วยกัน
.
การเลือกเพลงนี้จึงคล้ายจะสื่อว่า การเล่นกีฬานั้นเป็น “ภาษาสากล” ของคนทุกชาติในโลก ไม่ว่าจะแตกต่างกันมากเพียงใด
.
13. SaGa - The Minstrel's Refrain (เมดเลย์ฉบับปี 2016) (18)
ผลงานเด่นอีกชิ้นของ โนบุโอ อุเอมัตสึ นักประพันธ์ที่ดังเป็นพลุแตกจากเพลงที่เขาแต่งให้กับซีรีส์ Final Fantasy แต่ Romancing SaGa (ซึ่งจริงๆ ก็เป็นเกมที่เริ่มต้นจากการแตกแขนงมาจาก Final Fantasy) ก็เป็น JRPG อีกหนึ่งซีรีส์ที่มีเพลงเพราะๆ มากมายที่ อุเอมัตสึ ฝากผลงานเอาไว้ เวอร์ชันที่ออเคสตราบรรเลงในพิธีเปิดคือเวอร์ชันเมดเลย์ปี 2016 ที่ “จัดเต็ม” ในเกมด้วยวงออเคสตราเช่นกัน
.
14. SoulCalibur - The Brave New Stage of History (19)
เหมาะสมกับการเป็นเพลงปิดเมดเลย์ประกอบพาเหรดนักกีฬาด้วยประการทั้งปวง ผลงาน จูนิชิ นาคัทซึรุ เพลงนี้เป็นธีมหลักของ SoulCalibur VI เกมต่อสู้จากค่าย Bandai Namco เพลงให้อารมณ์ชวนออกไปผจญภัยเกมนี้บรรเลงประกอบฉากเลือกคู่ต่อสู้ 2 คน ที่จะมาประมือกันในสนามประลอง ราวกับจะบอกเราว่า ขอเชิญรับชมการประลองฝีมือของนักกีฬาจากทั่วโลก ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป!
.
เมดเลย์ดนตรีประกอบเกมญี่ปุ่นที่บรรเลงแบบ “จัดเต็ม” โดยวงออเคสตรา ไม่เพียงป่าวประกาศให้โลกรู้ว่า ญี่ปุ่นเป็น “ชาติมหาอำนาจ” เพียงใดในวงการเกมโลก หากแต่ยังเป็นการแสดงไมตรีจิตและความคารวะต่อเกม นักออกแบบเกม และการยกย่องเกมในฐานะสื่อสมัยใหม่ที่เป็นส่วนสำคัญในชีวิตของคนหลายล้านคนทั่วโลก
.
รวมถึงแสดงพลานุภาพของ “เกม” ในการเป็นเครื่องมือที่สามารถผนึกความสมัครสมานสามัคคี มิตรภาพที่เบ่งบานระหว่างการต่อสู้หรือขับเคี่ยวแข่งขัน สะท้อนความมุมานะไม่เลิกราของมนุษย์ และชวนให้ขบคิดถึง “ความเหมือน” มากกว่า “ความต่าง” ระหว่างคนชาติต่างๆ
.
“เกม” ทั้ง 14 เกมที่ถูกเลือกดนตรีมาบรรเลงในพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิก และเกมอีกมากมาย มีจุดร่วม “กีฬาโอลิมปิก” ในแง่นี้เอง
同時也有47部Youtube影片,追蹤數超過1萬的網紅translation,也在其Youtube影片中提到,#'93年にコナミが発売した、アクション作であり、悪魔城ドラキュラシリーズシリーズ通算10作目。FCD版初代ドラキュラを踏襲したステージクリア型のシステムで、ステージは11。城内のみだけでなく、街中、墓場など屋外ステージも多く飽きさせない。ゲーム内には様々な救済措置もあり、アクションが苦手な人でもク...
overture 5 在 Facebook 的最佳貼文
根據BBC報導,美國聯合航空預計跟新創公司「Boom Supersonic」購買15架名為"Overture"的超音速客機,到時巴黎飛紐約或是倫敦飛紐約的航程時間都僅需要3.5小時,洛杉磯或舊金山飛東京也只需要6小時左右,目前規畫將於2029年就會執行載客服務。
說到超音速客機,就不能不提到"協和號",首架以載客為需求的超音速客機當時真的是不得了,曾創下倫敦飛紐約不用三小時的驚人紀錄,可惜當時因成本實在太高,票價也驚人,導致協和號計畫一直處於虧損的狀態,最後在發生一場空難後,大家對協和號越來越沒信心,就漸漸地結束了協和號計畫,如今超音速客機有機會捲土重來,航空迷們應該都很期待。
圖片為協和號 (取自維基)
overture 5 在 喜愛日本 Like Japan Facebook 的最讚貼文
【#LikeJapan娛樂】有心的安排 打動人的真誠:SKE48女性限定 免費劇場公演 現場經驗分享
看到這個體驗,編輯深深體驗到怎樣才算是打動人的誠意。
稍前跟大家報導過SKE48會在5月29日 (星期選)舉行女性限定的免費劇場公演,希望以此吸引從未進入劇場與偶像的朋友。在星期六後,編輯得知表演得到正評,因此我們就找了當日去了現場體驗的居日朋友,了解當日情況。
當日的觀眾入場方法分為兩種,一是有事前抽籤拿票 (坐位),二是到現場排隊 (站位),那位朋友就是後者。就她所見,現場的觀眾,有高中少女、有打扮時髦的年輕人,還有媽媽級的也有,年齡層很廣。據了解有很多人也真的是第一次去,有獨自一人也有結伴成行。她也感到現場氣氛很好,大家都很開心。
因為防疫關係,站位只可以有15個人,因為排隊的人太多,所以工作人員就以「每組看15分鐘」的方法分流。以我們詢問的居日朋友為例,她進場兩次,共看了七首歌的表演。而且官方也說明可以拍照與上傳,是相當好的安排。 (*只有一首歌的時間)
然後這一部份,真的要跟大家好好講解,因為營運方真的太有心了。在公演之前,工作人員會派發問卷給觀眾,讓各位提供表演的意見,另外還有彩色、有相片的出場名單,給新手觀眾認人之用。在公演之後,官方派發了生寫還有大合照 (抽中門券的朋友才有),另外還有朱古力,實在把觀眾是照顧得完美,如果我在現場的話也一定會感到滿滿的暖意。
本日公演的成員也是誠意十足,先有ACE古畑奈和,然後有即將畢業的惣田紗莉渚與當晚辦生誕的荒井優希和青木詩織。然後Kll副隊長北野瑠華與表演能力出色的九期生岡本彩夏,擅長無厘頭話題的太田彩夏和以中日龍大粉絲為著名的日高優月。
SKE48將在6月8日再舉行另一場女性免費公演,今次是由TeamE演出,演出成員有稍前因為學習廣東話而令不少香港人認識的佐藤佳穂,真希望可以去呢...(其實編輯是男的,就算在日本也去不到w)
感謝居日粉絲提供體驗內容與相片,還有Zest的官方相片。
《最終ベルが鳴る》
公演日期:2021年5月29日
出演成員:青木詩織・荒井優希・太田彩夏・岡本彩夏・北野瑠華・惣田紗莉渚・日高優月・古畑奈和
演出曲目:
overture
01. マンモス
02. 最終ベルが鳴る
03. ボーイフレンドの作り方
04. 偉い人になりたくない
05. Stand up
06. Coolgirl
07. 回遊魚のキャパシティ
08. 会いに行こう (拍照時間)
Encore01. シャムネコ
Encore02. メロスの道
Encore03. 恋落ちフラグ
Encore04. 夏よ、急げ!
Encore05. 支え
by #Likejapan_Owen
==========
日本製科研新品 首創「會溶化的淡斑精華貼」:
https://rebrand.ly/da239f
@cosme殿堂級品牌 新推大熱夏天誕生石色系彩妝:
https://rebrand.ly/eb3e59
LikeJapan編輯新YouTube頻道「曉月 Aki」,請訂閱支持:
www.youtube.com/channel/UCcmxbMtnF94e_2whlyT2jsg
overture 5 在 translation Youtube 的精選貼文
#'93年にコナミが発売した、アクション作であり、悪魔城ドラキュラシリーズシリーズ通算10作目。FCD版初代ドラキュラを踏襲したステージクリア型のシステムで、ステージは11。城内のみだけでなく、街中、墓場など屋外ステージも多く飽きさせない。ゲーム内には様々な救済措置もあり、アクションが苦手な人でもクリアに辿り着きやすくなっている。
また、所々に、FCディスク版、呪いの封印、悪魔城伝説など過去作へのオマージュと言えるシーンが刷新され取り入れられているのも楽しめる。
BGMはコナミのサウンドスタッフが作曲、ギターサウンドを中心とし、それぞれのキャラクター性を重視した曲もあり新たな方向性を見せ始めたつくり。
作曲:荘司朗(あきろぴと)氏、中村圭三氏、斎藤幹雄氏、佐野朋子さん
ギター・ソロ:古川もとあき氏
Manufacturer: 1993.10.29 konami
Hardware: CD-ROM
computer: PC-ENGINE(CD-ROM2)
Guitar solo: Motoaki furukawa
Composer: Akira Souji、keizou nakamura、mikio saito、tomoko sano
-------------------------------------------------
00:00 01.Konami Logo (コナミロゴ *psg)
00:05 02.Overture (オープニング・リヒターのテーマ)
01:09 03.Requiem (鎮魂歌/ネームエントリー)
02:47 04.Opposing Bloodlines (乾坤の血族/1ステージ )
05:47 05.Poison Mind ( *psg)
06:40 06.Stage Clear (ステージクリア *psg)
06:48 07.Vampire Killer (2ステージ表面)
08:33 08.Cross a Fear (2ステージ裏面)
11:15 09.Bloody Tears (血の涙/3ステージ表面)
12:58 10.Cemetery (3ステージ裏面)
15:30 11.Beginning (4ステージ表面)
17:59 12.Slash (4ステージ裏面)
21:40 13.Picture of a Ghost Ship (幽霊船の絵/5ステージ表面)
24:07 14.Opus 13 (5ステージ裏面)
25:32 15.Den (巣窟/7ステージ)
28:48 16.Preparation for Boss Fight (ボス戦前 *psg)
30:57 17.Dancing in Phantasmic Hell (獄幻界乱舞/ボスのテーマ)
32:28 18.Illusionary Dance (幻想的舞曲/8ステージ・ドラキュラのテーマ)
34:12 19.All Clear (オールクリア)
34:18 20.March of the Holy Man (聖者の行進/リヒター・エンディング)
38:21 21.Mary Samba (マリア・エンディング)
42:36 22.Player Death (ミス *psg)
42:40 23.Game Over (ゲームオーバー *psg)
42:48 24.Stopwatch (ストップウォッチ *psg)
-------------------------------------------------
履歴
2021-04-03 抜けていた「Dancing in Phantasmic Hell」を追加した. (情報協力:sin12 様)
2019-11-02 initial upload
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/vSXGWO39HF0/hqdefault.jpg)
overture 5 在 translation Youtube 的精選貼文
#'89年にコナミが開発・発売した、FDS用ACT作であり、ドラキュラII 呪いの封印(FC)の続編。ストーリー上では1作目の前日談になる。
ゲームデザインは再び初代同様のステージクリア型になり、ロムカセットでの発売という事から新規プレイヤー向けにストーリーが初代ドラキュラより昔の設定になり、同じシチュエーションも取り入れられた。
特定のステージではクリア時にルート分岐があり、全15ブロックと大幅にステージも増加。
仕掛けも前作以上に多彩で、プレイヤーの技量が試される。
また、パートナーを3人から1人同行加入可能で、場面によりいつでも交代が可能。
シリーズ通しての難易度も相変わらずだが、FCでここまでやるか、と思わせた作品であり、FC版ドラキュラ三部作の最後を飾るにふさわしい一作。
BGMは矩形波倶楽部の船橋氏、森本さん、前沢氏、古川氏による共同作・編曲。
グラフィック面のみならず、音源も拡張可能なROMバンクコントロールチップVRC6が搭載されたため、矩形波2ch、のこぎり波1chと音源が拡張、FCとは思えぬ次元を超えた楽曲が作られ、本作BGMの数々は以後のシリーズで何度もアレンジされて使われている。
また北米・欧州とはBGMも含め若干仕様が変更されている。
作・編曲:コナミ矩形波倶楽部 (船橋淳氏、森本幸恵さん、前沢秀憲氏、古川もとあき氏)
Year: 1989.12.22(J),1990.10.01(U),1992.12.10(EU)
Manufacturer: konami
Hardware: RP2A03(APU),VRC6 (VRC VI)
computer: family computer
Composer & Arranger: kukeiha club (Jun Funahashi,Yukie Morimoto,Hidenori Maezawa,Motoaki Furukawa)
--------------------------------------------------------------------------------------------
00:00 01.Prelude (タイトルデモ)
01:44 02.Epitaph (パスワード)
04:00 03.Prayer (スタートデモBGM)
04:12 04.Beginning (ステージ1/教会、町、墓場ステージ)
07:20 05.Boss Fight (各ボス)
09:35 06.Block Clear (パターンクリア)
09:42 07.Destiny (Path Selection) (分岐)
10:47 08.Cloclwork (ステージ2/時計台ステージ)
13:47 09.Mad Forest (ステージ3/森ステージ)
16:54 10.Anxiety ([上ルート]ステージ4/幽霊船ステージ)
20:10 11.Rising ([上ルート]ステージ5/塔ステージ)
22:49 12.Stream (上ルート]ステージ6/水道橋ステージ)
25:27 13.game over (ゲームオーバー)
25:37 14.Dead Beat ([下ルート]ステージ4/沼地ステージ)
28:45 15.Nightmare ([下ルート]ステージ5/地下道ステージ)
31:52 16.Encounter (メンバー参加デモ)
33:42 17.Aquarius ([下ルート]ステージ6/水没都市ステージ(前半)
33:42 18.Pressure ([下ルート]ステージ6/水没都市ステージ(後半)
37:41 19.Demon Seed ([下ルート]ステージ6/ドラキュラ城地下水路)
40:32 20.Dejavu -Vampire Killer- ([後半共通ルート]ステージ8/ドラキュラ城本館 *原曲「Vampire Killer」/悪魔城ドラキュラ FDS)
43:38 21.Riddle ([後半共通ルート]ステージ9/ドラキュラ城塔内)
46:38 22.Overture (最終ステージボス)
48:41 23.Big Battle 1 (Dracula's 2nd Form) (最々終ボスBGM)
51:19 24.All Clear (オールパターンクリア)
51:30 25.Evergreen (エンディング・ストーリー)
52:39 26.Flash Back (エンディング・名場面集)
53:53 27.Boss 3 / Big Battle 2 (Dracula's 2nd Form) (最々終ボス第二形体BGM)
56:11 28.Player Lose a Life (ミス)
-------------------------------------------------------------------------------------------
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/kt8WyCKEyzI/hqdefault.jpg)
overture 5 在 translation Youtube 的精選貼文
#コナミ開発二部が開発、コナミが発売した、MSX2用スナッチャーのリメイクとなるRPG作品。
キャラがSD化され、オリジナル版では存在しなかった最終章であるACT.3が追加、シナリオはPCE版よりも濃密になった。
SD化されてはいるもののシリアスな展開が続き、終盤に登場するある人物が一気にこの物語の真相を30分以上にわたり語りだす。
BGMはコナミのサウンドスタッフらによる共同作曲。
効果音:上原和彦氏
作曲:碇子正広氏、泉陸奥彦氏、古川もとあき氏、山根ミチルさん、竹ノ内裕治氏、上高治巳氏、倉橋裕子さん、冨田朋也、関戸剛氏、上原和彦氏、他1名
Manufacturer: 1990.04.27 konami / konami 2DP
computer: msx2
Hardware: AY-3-8910,SCC-I (2312P001)
Sound Effect: Kazuhiko Uehara
composer: Masahiro Ikariko,mutsuhiko izumi,motoaki furukawa,michiru yamane,Yuji Takenouchi,harumi uekou,yuko kurahashi,tomoya tomita,tsuyoshi sekito,kazuhiko uehara
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
00:00:00 01.STRANGE OVERTURE (オープニング1/ファーストコンタクト)
00:02:27 02.ANOTHER BAD ACCIDENT (オープニング2/プロローグ)
00:03:56 03.SFX "Fire"
00:03:59 04.DIFFICULT MOVE (オープニング3/ネオコウベシティ夜景)
00:06:23 05.MODERN CRUSADE (オープニング4/大惨事)
00:08:50 06.KASUGA (本部 1)
00:10:28 07.THE FIRST LEAD (ノーマル 1)
00:12:59 08.SFX "Bunder"
00:13:25 09.STRESS (埠頭での調査~脱出)
00:14:48 10.SFX "Detection"
00:14:52 11.SFX "Timebomb Counter"
00:14:59 12.SFX "Timebomb Explosion"
00:15:05 13.EXCLUSION (緊迫 2)
00:16:20 14.RESISTANCE (バトル)
00:17:43 15.BIO SYNDROME (緊迫 3)
00:19:31 16.A POTENT POWER (ボス 1)
00:20:46 17.MISFORTUNE (ゲームオーバー)
00:21:43 18.THEME OF KATHERINE #1 (カトリーヌのテーマ 1)
00:22:49 19.THEME OF KATHERINE #2 (カトリーヌのテーマ 2)
00:24:14 20.FACTORY PLACE (工場跡)
00:26:14 21.RECONCILIATION (センタープラザ店)
00:27:46 22.SFX "Theater Bell"
00:27:50 23.DESTRUCTION (映画館8)
00:28:16 24.SFX "Amusement Park"
00:28:45 25.SFX "Credit"
00:28:49 26.PERCUSSION HEAD (スナッチャー叩き)
00:30:09 27.HIGH TIDE (スナッチャー叩き~ハイスコア)
00:30:14 28.LOW TIDE (スナッチャー叩き~NOTハイスコア)
00:30:20 29.THE GATES OF HELL (アウターヘヴン店内)
00:31:45 30.FOR M.M. (ノーマル 2)
00:33:52 31.EPICUREAN (ダイスシェーカー)
00:35:53 32.HEARTBEAT (緊迫 4)
00:37:25 33.WARNING (ランダムデモ 1)
00:38:39 34.LET'S GO DOWNTOWN (ノーマル 3)
00:40:13 35.PRELUDE NO.1 (ヤハウエの教会 1)
00:42:05 36.PRELUDE NO.2 ヤハウエの教会 2)
00:43:32 37.JUNKER HQ (本部 2)
00:45:18 38.AN AWFUL FELLOW (悲しみ)
00:46:57 39.THE PEACEFUL AVENUE (励まし)
00:48:40 40.FUNNY (市長デモ)
00:50:19 41.BODY SNATCHERS (地下道)
00:51:34 42.AMAZED (パンダランダム)
00:51:45 43.DECADENCE BEAT (ジョイディビジョン店内)
00:53:07 44.HIGH PRESSURE (緊迫 5)
00:54:37 45.MYSTERIOUS CLUE (ノーマル 4)
00:56:37 46.HARRY'S RETROSPECTION (回想 1)
00:58:08 47.THE MERRY-GO-ROUND (シドガーデン 1)
00:59:06 48.THE DAY DREAM (シドガーデン 2)
00:59:57 49.JIM & HILDA (ジム&ヒルダ病院~マッドナーデモ)
01:04:45 50.VANITY (マジカルハウス)
01:06:21 51.NORTH DOWNTOWN (ノーマル 5)
01:08:29 52.RECKLESS (最終基地 1)
01:10:07 53.WILD TIMES (ランダムデモ)
01:11:04 54.CASE CLOSED (エリア回想)
01:12:57 55.IN DANGER (最終基地 2)
01:14:00 56.HEART BREAK (死亡デモ)
01:15:02 57.DEAR JAIME (マスタースナッチャー会話デモ)
01:16:26 58.MASTER SNATCHER (マスタースナッチャー 1)
01:17:41 59.PROPAGANDA (マスタースナッチャー 2)
01:19:42 60.TRIUMPHAL ARCH (脱出デモ)
01:21:34 61.SUNRISE (エピローグ)
01:24:18 62.CODA (エンディング)
01:28:02 63.BGM #54
01:29:53 64.BGM #71
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/qMjCiHZZXYM/hqdefault.jpg)