【創業大冒險】SDGs分享—2024巴黎奧運的兩大創新
🎯環保永續
讓奧運成為「零浪費、100%可再生能源、碳中和的運動會」
預計實現比2012年倫敦奧運會減少55%的碳足跡
以下介紹3項已經釋出的方案:
♻95%使用現有運動場館或臨時場地,減少對環境的負擔
♻持有奧運門票的觀眾可以免費使用奧運期間推出的零排放公共汽車
♻建築採用100%可再生能源,比賽場館靠近選手村,減少交通成本
🎯社企奧運
舉辦奧運將產生建造選手村,餐飲及交通等相關服務,透過讓社會企業參與,推動社會企業發展
巴黎奧運和中介組織(Yunus Centre、Les Canaux)聯手打造「社企奧運」
👉「向所有人公開招標」
包括微型企業、中小企業、社會企業等,讓這些公司提供至少25%的奧運服務
👉「推出平台」
巴黎市政府及奧運籌備組織與多家企業合作推出#entreprises2024平台
每當有新的奧運公開招標時,在平臺上註冊的企業都會收到即時通知
也會及時傳遞中央或地方相關活動訊息
讓我們一起期待2024巴黎奧運吧✨✨✨
詳細資訊看這裡:
https://pse.is/3n9qw3
https://pse.is/3mwrq8
https://entreprises2024.fr/
追蹤 #社會創新平台 #有ㄗㄜˊ商行 關注更多社會創新議題
#SDGs #社會創新 #環境永續
【Start-up Adventure】Paris 2024: creating an innovative Olympic Games
Paris 2024 commits to staging economically and socially responsible Olympic Games
🎯ENVIRONMENTAL AMBITION
Paris 2024 will reduce emissions linked to the event by 50 per cent compared to previous editions of the Games.
The initiatives:
♻Actively minimise environmental impact by using 95% existing or temporary venues.
♻Visitors holding tickets can use the zero-emission buses for free.
♻Using 100% renewable energy during the Games. The competition venue is close to the contestant village, reducing transportation costs.
🎯INTEGRATING THE SOCIAL AND SOLIDARITY ECONOMY
Hundreds of contracts directly linked to the Games will be created in sectors ranging from construction to events, private security, catering and hospitality.
To ensure that the Games also benefit firms in the social and solidarity economy, specific support measures will be put in place for them via the Paris 2024 solidarity platform.
#SDGs #SustainableDevelopment #SocialInnovation #EnvironmentalSustainability
「paris 2024 venues」的推薦目錄:
paris 2024 venues 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
โอลิมปิกที่ปารีส อาจเป็นครั้งแรก ที่คนจัดไม่ขาดทุน /โดย ลงทุนแมน
ประเทศญี่ปุ่นเพิ่งจะปิดฉากกีฬาโอลิมปิก 2020 ลงอย่างสวยงาม แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าเงินลงทุนทั้งหมด ถูกใช้ไปสูงถึง 6 แสนล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการแบกรับต้นทุน
จากการเลื่อนจัดงานมา 1 ปีเพราะวิกฤติโรคระบาด
แต่ก็ดูเหมือนว่าเจ้าภาพ ก็ได้จัดงานจนจบลงได้สำเร็จและก็ได้ส่งไม้ต่อให้กับปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่จะเป็นเจ้าภาพครั้งถัดไปในปี 2024
เราเคยสงสัยไหมว่าที่ผ่านมา
งบประมาณและค่าใช้จ่ายในโอลิมปิกของแต่ละประเทศเจ้าภาพเป็นอย่างไร
แล้วโอลิมปิกครั้งต่อไปที่จะจัดขึ้นที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
มีการวางงบประมาณและเตรียมพร้อมอะไรไปแล้วบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ถ้าไปดูที่ปัญหาที่ตามมาจากการจัดกีฬาโอลิมปิก
ปัญหาแรกเลยก็คือ “เรื่องค่าใช้จ่ายบานปลาย”
เกินกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ ซึ่งก็เกิดกับหลายประเทศที่เป็นเจ้าภาพก่อนหน้านี้ เช่น
ปี 2008 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน
งบประมาณ 6.3 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 1.4 ล้านล้านบาท
ปี 2012 ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
งบประมาณ 1.6 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 5.7 แสนล้านบาท
ปี 2016 ที่รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล
งบประมาณ 4.4 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 6.3 แสนล้านบาท
ในขณะที่โตเกียวมีงบประมาณ 4.6 แสนล้านบาท แต่ค่าใช้จ่ายจริงถูกคาดการณ์ไว้สูงถึง 6 แสนล้านบาท
โดยค่าใช้จ่ายสำคัญสำหรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ก็คือ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ ทั้งที่พักอาศัย ระบบขนส่ง และการรักษาความปลอดภัยให้พร้อมที่จะรองรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจำนวนมาก
ในขณะเดียวกัน ก็มีบางโครงการที่ลงทุนไปแล้วแต่เมื่อจบงานกลับเกินความจำเป็นสำหรับคนในประเทศ อย่างเช่น สนามกีฬาราคาแพงที่ถูกสร้างแต่ไม่ได้ถูกนำไปใช้งานต่อ
นอกจากเรื่องของปัญหาค่าใช้จ่ายแล้ว ในมุมของรายได้หลักจากการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกจะมาจากค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด ค่าสปอนเซอร์ และค่าตั๋วเข้าชม
หากเราย้อนกลับไปโอลิมปิก 4 ครั้งล่าสุด ทุกประเทศเจ้าภาพมีรายได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่าย
ปี 2008 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน
รายได้ 1.7 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 1.4 ล้านล้านบาท
ปี 2012 ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
รายได้ 2.5 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 5.7 แสนล้านบาท
ปี 2016 ที่รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล
รายได้ 2.9 แสนล้านบาท
ค่าใช้จ่ายจริง 6.3 แสนล้านบาท
ในขณะที่โอลิมปิกครั้งล่าสุดที่ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นงานโอลิมปิกที่เจ็บหนักกว่ารายอื่น ๆ
เพราะประเทศญี่ปุ่นเลือกที่จะจัดงานแบบไร้คนดู จึงทำให้ขาดทุนมหาศาล
และผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อการขาดทุน ก็คือประชาชนทั้งประเทศ
นั่นก็เพราะว่าค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ภาครัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบ
แล้วประเทศฝรั่งเศสมีกลยุทธ์สำหรับการจัดโอลิมปิกอย่างไร ไม่ให้ขาดทุน ?
เริ่มจากงบประมาณในการจัดการงานที่ตั้งเป้าไว้ที่ 1.5 แสนล้านบาท
ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา
แต่ที่น่าสนใจกว่าคือ โครงสร้างของงบประมาณโอลิมปิกที่ปารีส ถูกแบ่งออกเป็น
- เงินสนับสนุนจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล คิดเป็น 31%
- พาร์ตเนอร์จากหลากหลายแบรนด์ดัง คิดเป็น 28%
- สัมปทานในการจำหน่ายตั๋วเข้าชมการแข่งขัน คิดเป็น 30%
- อื่น ๆ เช่น ภาครัฐและการบริจาค คิดเป็น 11%
จะเห็นได้ว่างานโอลิมปิกที่จะเกิดขึ้นที่ปารีส จะถูกขับเคลื่อนโดยภาคเอกชนเป็นหลัก
ต่างจากโอลิมปิกก่อนหน้านี้ ในหลายประเทศที่จะมีภาครัฐเป็นผู้นำ
หมายความว่างานโอลิมปิกครั้งถัดไป จะถือเป็นงานโอลิมปิกที่ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่เข้ามาหารายได้จากการแข่งขัน ไปจนถึงค่าใช้จ่ายที่กลุ่มบริษัทต้องเข้ามารับผิดชอบทั้งหมด
โดยอีกปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นกับประเทศเจ้าภาพโอลิมปิกมาโดยตลอดก็คือ “สิ่งก่อสร้างที่เกินความจำเป็น” ที่ในภายหลังจากงานเสร็จสิ้นมักจะถูกทิ้งร้างและไม่ได้นำไปใช้ต่อ
เรื่องดังกล่าวจึงทำให้สถานที่จัดงานที่ปารีสกว่า 95% ถูกคัดสรรมาจากสถานที่เดิมที่มีอยู่แล้วและนำมาปรับปรุงซ่อมแซมให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ โอลิมปิกปารีสก็ยังได้มีการวางแผนสร้างสนามแข่งขันชั่วคราวขึ้นตามจุดต่าง ๆ ของเมือง ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงไปมาก เพราะไม่ต้องลงทุนในงานก่อสร้างมูลค่าสูง รวมไปถึงช่วยลดการลงทุนในระบบการขนส่ง เพราะสถานที่ต่าง ๆ มีระบบขนส่งที่ถูกวางไว้เรียบร้อยแล้ว
โดยสนามแข่งขันชั่วคราวที่สร้างขึ้นนอกจากจะใช้เพื่อการแข่งขันกีฬาแล้ว
ยังเป็นเครื่องมือโปรโมตสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ทั่วปารีสไปในตัวอีกด้วย
อย่างเช่น สนามแข่งวอลเลย์บอลชายหาดที่ตั้งอยู่หน้าหอไอเฟล
หรือสนามแข่งขันกีฬาขี่ม้า ณ สวนพระราชวังแวร์ซาย
โดยเฉพาะพิธีเปิดและปิดการแข่งขันที่จะจัดขึ้นที่กลางแม่น้ำแซน (La Seine) แม่น้ำสายหลักของปารีส ต่างจากรูปแบบเดิมที่จัดในสนามกีฬาขนาดใหญ่ ซึ่งอาจจะต้องเสียงบประมาณมหาศาลเพื่อหาสถานที่ดังกล่าว
อย่างเช่น สนาม Japan National Stadium ที่ใช้ในพิธีเปิดและปิด ซึ่งผลาญงบประมาณกว่า 5 หมื่นล้านบาทในการปรับปรุงสนามเพื่อการจัดโอลิมปิก
และประเด็นถัดมาก็คือ สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสที่แม้ในอีก 3 ปีข้างหน้าอาจจะยุติลงแล้ว แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็อาจจะยังทำให้เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวยังไม่กลับมาเป็นแบบเดิม
แต่ด้วยโมเดลโครงสร้างเงินทุนของปารีสที่มีภาคเอกชนเป็นหลัก
แถมยังมีงบประมาณในการจัดที่ต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศเจ้าภาพโอลิมปิกที่ผ่านมา
หากมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในตอนแรก
ก็ยังสามารถพึ่งพางบประมาณจากภาครัฐมาช่วยสนับสนุนได้
เพราะภาครัฐเองแทบจะไม่ได้ใช้งบประมาณใด ๆ เลยตั้งแต่แรก
ด้วยโมเดลใหม่ ๆ และประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้จากเจ้าภาพในอดีต
ก็เป็นที่น่าติดตามว่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส จะออกมาเป็นอย่างไร
ทั้งในเชิงการจัดการแข่งขันกีฬาและการจัดสรรควบคุมงบประมาณ
หากทั้งหมดนี้เป็นไปได้ด้วยดี ก็ไม่แน่เหมือนกันว่ากลยุทธ์ในการจัดโอลิมปิกปารีสอาจกลายเป็นต้นแบบสำหรับเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งต่อ ๆ ไปในอนาคต ก็เป็นได้
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.paris2024.org/en/the-games-finance-themselves/
-https://www.nytimes.com/2021/08/06/sports/olympics/paris-2024-olympics-pandemic.html
-https://press.paris2024.org/folders/olympic-venues-5f10-7578a.html
-https://www.longtunman.com/14138
-https://www.facebook.com/longtunman/posts/1085349435330997/
-https://olympics.com/en/olympic-games/paris-2024
-https://www.statista.com/statistics/1101349/japan-reconstruction-cost-breakdown-national-stadium/
-https://www.thehindubusinessline.com/data-stories/data-focus/will-the-tokyo-olympics-be-profitable-despite-the-pandemic/article35681634.ece