Tropicana แบรนด์น้ำส้มพร้อมดื่ม รายแรกของโลก /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า เมื่อ 70 กว่าปีก่อน เรายังไม่สามารถหาซื้อน้ำส้มพร้อมดื่มที่มียี่ห้อในตลาดทั่วไปได้
เพราะน้ำส้มสมัยก่อนจะนิยมขายแบบเข้มข้น ที่ต้องเอามาผสมน้ำอีกทีถึงจะดื่มได้
จนกระทั่ง Tropicana เป็นผู้คิดค้น “น้ำส้มพร้อมดื่ม” บรรจุกล่องขึ้นมา
เรื่องราวนี้มีความเป็นมาอย่างไร และใครเป็นเจ้าของ Tropicana ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Tropicana เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำผลไม้ จากประเทศสหรัฐอเมริกา
ก่อตั้งขึ้นในปี 1947 หรือ 74 ปีที่แล้ว โดยคุณ Anthony T. Rossi
คุณ Rossi เป็นชาวอิตาลี ที่อพยพมาอยู่สหรัฐฯ ตอนอายุเพียง 21 ปี โดยช่วงแรก เขาอาศัยอยู่ในเมืองนิวยอร์ก ทำงานเป็นคนขับรถแท็กซี่และขายของชำ
ต่อมา เขาย้ายไปอยู่รัฐฟลอริดา เนื่องจากมีอากาศอบอุ่นคล้ายกับบ้านเกิดในอิตาลี และหันมาทำธุรกิจร้านอาหาร แต่ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จสักเท่าไร
อย่างไรก็ตาม คุณ Rossi ได้เล็งเห็นว่า รัฐฟลอริดามีชื่อเสียงเรื่องผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มและมะนาว จึงตัดสินใจก่อตั้งบริษัทชื่อว่า Fruit Industries เพื่อขายผลไม้บรรจุกล่อง
ในระหว่างที่ธุรกิจขายผลไม้ กำลังไปได้สวย
คุณ Rossi ก็พบว่า มีส้มผลเล็ก ๆ เหลืออยู่จำนวนมาก เพราะไม่ถึงเกณฑ์ที่จะไปบรรจุในกล่องได้ ซึ่งเขาไม่ต้องการทิ้งไปเฉย ๆ จึงลองนำมาผลิตเป็นน้ำส้มแบบเข้มข้น ขายเสริมรายได้อีกช่องทางหนึ่ง
ต้องบอกก่อนว่า น้ำส้มที่วางขายตามร้านค้าทั่วไปในสมัยก่อน จะนิยมทำเป็นน้ำผลไม้เข้มข้นที่ยัง “ไม่พร้อมดื่มในทันที” เพราะต้องนำมาผสมน้ำให้เจือจางก่อนบริโภค โดยมีผู้นำตลาด คือ แบรนด์ Minute Maid
ส่วนน้ำส้มคั้นธรรมชาติ จะถูกจำหน่ายในพื้นที่จำกัดเท่านั้น ไม่มีแบรนด์ที่แพร่หลายในวงกว้าง เพราะเก็บเอาไว้ได้เพียงไม่กี่วัน
ซึ่งตรงจุดนี้ คุณ Rossi มองว่า หากสามารถพัฒนา “น้ำส้มคั้นแบบพร้อมดื่ม” ที่เก็บไว้นานได้ มันก็น่าจะมีตลาดที่ใหญ่มากรอคอยอยู่
จนในปี 1954 เขาก็ศึกษากระบวนการพาสเจอไรซ์น้ำส้มคั้น และนำมาลองใช้ได้สำเร็จ ทำให้ยืดอายุการเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 3 เดือน โดยที่รสชาติยังคงเดิม
ทำให้บริษัทของเขา เป็นเจ้าแรกของตลาด ที่วางขายน้ำส้มพร้อมดื่มบรรจุกล่อง ตามชั้นสินค้าของร้านทั่วไปได้ โดยใช้ชื่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์ว่า “Tropicana Pure Premium”
ทั้งนี้ บริษัทได้มีการออกแบบตัวการ์ตูนบนกล่องน้ำส้ม เป็นเด็กผู้หญิงถือถาดส้มบนศีรษะ ชื่อว่า Tropic-Ana ซึ่งทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้อย่างรวดเร็ว
ส่งผลให้ น้ำส้ม Tropicana Pure Premium ทำยอดขายถล่มทลาย จนบริษัทมุ่งเน้นธุรกิจน้ำส้มเป็นหลัก และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Tropicana Products, Inc.
ในเวลาต่อมา เมื่อมีความต้องการซื้อมากขึ้น โดยเฉพาะจากรัฐอื่น ทำให้ Tropicana ต้องเจอความท้าทายในด้านการขนส่งสินค้า
ช่วงแรก บริษัทใช้บริการขนส่งทางรถบรรทุก แต่พอเริ่มมีปริมาณคำสั่งซื้อจากเมืองที่อยู่ห่างไกล จึงเริ่มส่งสินค้าทางเรือด้วย
แต่ในปี 1971 บริษัทก็ตัดสินใจลงทุนระบบขนส่งแบบที่ไม่มีเจ้าไหนเคยทำมาก่อน นั่นคือ การซื้อขบวนรถไฟขนส่งสินค้าหลายร้อยตู้ และบริหารจัดการการเดินรถด้วยตัวเอง
ซึ่งทำให้กระจายสินค้าได้รวดเร็วขึ้น และยิ่งส่งสินค้าทีละมาก ๆ ก็ยิ่งมีต้นทุนต่อหน่วยถูกลง โดยผู้คนในวงการตั้งชื่อเล่นให้กับขบวนรถไฟของ Tropicana ว่า The Great White Juice Train
นอกจากนั้น Tropicana ยังขึ้นชื่อว่าเป็น บริษัทน้ำส้มพร้อมดื่มรายแรกที่สร้างโรงงานผลิตขวดพลาสติก เพื่อบรรจุผลิตภัณฑ์ของตัวเองอีกด้วย
ซึ่งนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ Tropicana คิดค้นขึ้นนั้น ได้เป็นต้นแบบการทำธุรกิจให้กับผู้เล่นรายอื่นในตลาด จนอุตสาหกรรมน้ำผลไม้พร้อมดื่ม เติบโตมาถึงทุกวันนี้
แล้วปัจจุบันใครเป็นเจ้าของ Tropicana ?
หลังจากน้ำส้ม Tropicana ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ก็มีผู้สนใจในตัวแบรนด์มาเทกโอเวอร์บริษัท จนเจ้าของธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงแทบทุก 10 ปี เลยก็ว่าได้
ปี 1969 บริษัท Tropicana Products จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก เป็นบริษัทมหาชน
ปี 1978 คุณ Rossi ผู้ก่อตั้งตกลงขายกิจการให้กับ Beatrice Foods บริษัทอาหารสัญชาติอเมริกัน
ปี 1988 แบรนด์ Tropicana ถูกขายต่อให้กับ Seagram’s บริษัทเครื่องดื่มสัญชาติแคนาดา
ปี 1998 แบรนด์ Tropicana ถูกขายต่อให้กับ PepsiCo บริษัทอาหารและเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของโลก ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ดังอย่าง Lay’s และ Pepsi
ภายใต้การบริหารของ PepsiCo ก็ช่วยส่งเสริมให้ Tropicana กลายเป็นผู้นำตลาดน้ำส้มพร้อมดื่มของสหรัฐอเมริกา โดยครองส่วนแบ่งตลาด 33% นำหน้าคู่แข่งอย่าง Minute Maid ซึ่งเป็นแบรนด์ในเครือของ Coca-Cola ที่ครองส่วนแบ่งตลาด 24%
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนสิงหาคม 2021 ที่ผ่านมา
PepsiCo ก็ตัดสินใจขาย Tropicana และแบรนด์เครื่องดื่มอื่น ๆ ให้กับ PAI Partners บริษัทเอกชนจากฝรั่งเศส ในราคา 1.1 แสนล้านบาท
โดย PepsiCo และ PAI Partners ไปก่อตั้งบริษัทใหม่ร่วมกันในลักษณะกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ซึ่ง PepsiCo จะยังถือหุ้นในบริษัทใหม่อยู่ 39%
จากเรื่องราวนี้จะเห็นได้ว่า
หากจะเอาตัวรอด และประสบความสำเร็จในธุรกิจได้
มันก็ต้องพัฒนาต่อยอดการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้นตลอดเวลา
เหมือนกรณีของน้ำส้ม Tropicana
ที่ตอนแรกขายน้ำส้มเข้มข้น แบบเดียวกับผู้เล่นรายอื่นในตลาด
แต่พวกเขาก็ไม่หยุดคิดต่อไปข้างหน้าว่า
จะทำอย่างไร ให้ลูกค้าได้ดื่มน้ำส้มราวกับเพิ่งคั้นใหม่สด ๆ
จะทำอย่างไร ให้ลูกค้าในเมืองห่างไกล ได้ดื่มน้ำส้มอร่อย ๆ อย่างทั่วถึง
ซึ่งการแก้โจทย์เหล่านั้น ทำให้ Tropicana เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่มน้ำผลไม้ของผู้บริโภค นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://www.fundinguniverse.com/company-histories/tropicana-products-inc-history/
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Tropicana_Products
-https://www.cnbc.com/2021/08/03/pepsico-to-sell-tropicana-and-other-juice-brands-for-3point3-billion.html
pepsico brands 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
รู้จัก Yum! Brands เจ้าของแบรนด์ KFC และ Pizza Hut /โดย ลงทุนแมน
เชื่อว่าคนไทยเกือบทุกคน ต้องคุ้นเคย และคุ้นชื่อ
ไก่ทอด KFC และ Pizza Hut กันอยู่แล้ว
แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า เจ้าของแบรนด์ KFC และ Pizza Hut คือบริษัทเดียวกัน
บริษัทนั้นชื่อว่า “Yum! Brands”
เรื่องราวของ Yum! Brands น่าสนใจอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนจะมาเป็น Yum! Brands
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ มาจาก PepsiCo
บริษัทเจ้าของน้ำอัดลมเป๊ปซี่ และขนมเลย์ ที่เราก็คุ้นเคยกันดี
ในช่วงปี 1977 ธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดกำลังได้รับความนิยมในสหรัฐฯ
ทำให้ PepsiCo ที่มีธุรกิจหลักคือผลิตเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว
เกิดสนใจและอยากที่จะรุกเข้าหาธุรกิจร้านอาหาร
PepsiCo เริ่มไล่ซื้อแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดังมาเป็นเจ้าของ
ซึ่งสามแบรนด์เด่นที่เข้ามาอยู่ในพอร์ตของ PepsiCo
คือ KFC, Pizza Hut และ Taco Bell
แต่เมื่อทำธุรกิจนี้ไปได้ 20 ปี
PepsiCo ก็ตัดสินใจถอยออกมาจากวงการร้านอาหาร
เพราะอยากกลับไปโฟกัสธุรกิจหลักของตัวเองให้เต็มที่เหมือนเดิม
ทำให้ในปี 1997 ธุรกิจส่วนร้านอาหารของ PepsiCo
ถูกแยกออกมาเป็นบริษัทใหม่ มีชื่อว่า “Tricon Global Restaurants”
โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองลุยส์วิลล์ รัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา
โดยที่มาของชื่อ Tricon ก็เพราะมี 3 แบรนด์หลักคือ KFC, Pizza Hut และ Taco Bell
ทั้งสามแบรนด์ร้านฟาสต์ฟู้ดในเครือ Tricon Global Restaurants
ได้รับความนิยมมากขึ้น จนขยายสาขามากขึ้นเรื่อยๆ ในสหรัฐฯ
ในปี 2002 Tricon Global Restaurants ก็เปลี่ยนชื่อเป็น “Yum! Brands”
และจดทะเบียนเพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก
ภายใต้ชื่อบริษัท Yum! Brands, Inc.
หลังจากระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
ทั้ง KFC, Pizza Hut และ Taco Bell
ก็เริ่มขยายสาขามากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในสหรัฐฯ และออกไปยังต่างประเทศ
โดยเฉพาะ KFC ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
ในปี 2013 Yum! Brands มีร้านอาหารทั่วโลกรวมกันถึง 40,000 สาขา
และในประเทศจีน ร้านอาหารเครือ Yum! Brands เติบโตอย่างรวดเร็ว
จนต้องแยกเป็นอีกบริษัทเพื่อดูแลตลาดจีนโดยเฉพาะ
ปี 2016 Yum China Holdings จดทะเบียนแยกออกมาจาก Yum! Brands
โดยมีอิสระในการบริหารแบรนด์ในเครือ Yum! และทำตลาดด้วยตัวเองในจีน
ณ สิ้นปี 2019 Yum! Brands มีร้านทั่วโลก 50,170 สาขา แบ่งเป็น
KFC 24,104 สาขา
Pizza Hut 18,703 สาขา
Taco Bell 7,363 สาขา
ที่น่าสนใจก็คือ Yum! Brands บริหารร้านด้วยตัวเองเพียง 2% เท่านั้น
ที่เหลืออีก 98% คือร้านในรูปแบบ “แฟรนไชส์”
โดยผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในการบริหารร้านอาหารในแฟรนไชส์
เราจะเรียกว่า “แฟรนไชซี”
ซึ่งแฟรนไชซีจะมีหน้าที่บริหารร้านอาหาร และเป็นเจ้าของร้านเพียงเท่านั้น
ไม่ได้เป็นเจ้าของแบรนด์ KFC, Pizza Hut หรือ Taco Bell แต่อย่างใด
โดย Yum! Brands จะเรียกเก็บส่วนแบ่งยอดขายประมาณ 5%
และค่าธรรมเนียมอื่นในการส่งเสริมแบรนด์จากแฟรนไชซี
ผลประกอบการ ปี 2019 ของ Yum! Brands, Inc.
รายได้ 176,585 ล้านบาท
กำไรสุทธิ 40,826 ล้านบาท
โดยรายได้ทุก 100 บาท มาจาก
ยอดขายของสาขาที่ Yum! Brands บริหารเอง 28 บาท
รายได้จากส่วนแบ่งยอดขายจากแฟรนไชซี 48 บาท
ค่าธรรมเนียมอื่นที่เก็บจากแฟรนไชซี 24 บาท
ทีนี้ลองมาดูในประเทศไทย..
จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของ Yum! Brands
ณ สิ้นปี 2019 ในไทยมีร้าน KFC, Pizza Hut และ Taco Bell รวมทั้งหมด 858 สาขา
แบ่งเป็น KFC 717 สาขา, Pizza Hut 140 สาขา และ Taco Bell 1 สาขา
โดยรูปแบบการดำเนินงานในประเทศไทย
ทุกสาขาเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ทั้งหมด
โดยมี บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล และบริหารแบรนด์ ทั้ง KFC, Pizza Hut และ Taco Bell ในประเทศไทย
ส่วนหน้าที่การบริหารร้านค้าและการบริการภายในร้าน
เป็นหน้าที่ของแฟรนไชซี ที่ได้รับสิทธิ์บริหารร้านในประเทศไทย
ตัวอย่างเช่น แฟรนไชซีที่บริหารร้าน KFC ทั้ง 717 สาขา ในไทย มี 3 กลุ่มบริษัท คือ
บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (บริษัทเครือไทยเบฟ)
บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์กรุ๊ป จำกัด (บริษัทเครือเซ็นทรัล)
ทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของเจ้าของแบรนด์ KFC, Pizza Hut และ Taco Bell
ที่ต่อจากนี้ เราจะได้รู้ว่า ไม่ว่าจะเลือกกินอาหารร้านไหนจาก 3 ชื่อนี้
สุดท้ายแล้วเราก็กำลังเป็นลูกค้าของบริษัทเดียวกัน
บริษัทที่ชื่อว่า “Yum! Brands”..
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-Yum! Brands 2019 Annual Report.
-https://www.yum.com
-https://ir.yumchina.com/
-https://thestandard.co/who-owns-kfc-in-thailand/
pepsico brands 在 陳陳味道 Chanchanchannel Facebook 的最佳解答
PepsiCo, Wal-Mart Stores and Starbucks on Friday confirmed that they have also suspended their advertising on YouTube after the Wall Street Journal found Google's automated programs placed their brands on five videos containing racist content........
pepsico brands 在 List of Brands PepsiCo Owns | How Big is PepsiCo - YouTube 的推薦與評價
Pepsico #PepsicoBrands PepsiCo brands met that mark, including: Pepsi, Diet Pepsi, Mountain Dew, Lay's, Gatorade, Tropicana, 7 Up, Doritos, ... ... <看更多>