上星期四早上,我喺有線嘅《交易所直播室》節目入面向大家預警:今次美股嘅調整,it’s so different from before,唔可以掉以輕心,後市仲有得跌。
當時我指出:第一、標普500指數嘅50天線係趨勢支持,當日為計,已經連失三日。第二、指數已經連續11個月未曾調整超過5%,而當日亦未達標。
策略方面,我當日明言失50天線已經可以開一注淡;待指數自高位確認回落5%則可再加一注,嚟迎接美股嘅較深調整。我諗,今晚可能係關鍵時刻。
散戶個個都話美股點點點好,港股點點點衰,卻不知道花無百日紅,任何野都會物極必反。美股要大跌,原因可以好簡單,就係unwind QE、tapering!
證人:Running Season 黃合秀
🌝
#美股 #也會見頂
qe tapering 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
เมื่อ Bill Gross ราชาแห่งพันธบัตร กำลังบอกว่า พันธบัตรคือขยะ /โดย ลงทุนแมน
เราอาจแปลกใจถ้ามีคนพูดว่า “การลงทุนในพันธบัตรคือ การลงทุนในขยะ”
แต่เราคงตกใจยิ่งกว่านั้น เมื่อรู้ว่าคนที่พูดประโยคนั้นคือ หนึ่งในนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ที่มีชื่อว่า บิลล์ กรอสส์ เจ้าของฉายา “ราชาแห่งพันธบัตร”
พันธบัตรเป็นหนึ่งตัวแทนของสินทรัพย์ทางการเงิน
ที่หลายคนมองว่าปลอดภัย และมีความเสี่ยงต่ำ
แต่ทำไมตอนนี้ บิลล์ กรอสส์ ถึงมองว่า การลงทุนในพันธบัตร คือการลงทุนในขยะ..
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ถ้าพูดถึงนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ในตลาดหุ้น หลายคนคงนึกถึง วอร์เรน บัฟเฟตต์
แต่ถ้าพูดถึงนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ในตลาดพันธบัตร เราจะต้องพูดถึง บิลล์ กรอสส์ (Bill Gross)
บิลล์ กรอสส์ เป็นผู้จัดการกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ และประสบความสำเร็จ จนได้รับฉายาว่า “Bond King” หรือ “ราชาแห่งพันธบัตร”
เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทจัดการลงทุน
ที่ชื่อว่า Pacific Investment Management Company หรือเรียกสั้น ๆ ว่า PIMCO ซึ่งปัจจุบัน เป็นหนึ่งในบริษัทจัดการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
PIMCO มีการลงทุนที่หลากหลายตั้งแต่ ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ กองทุน ETF กองทุนเฮดจ์ฟันด์ และไพรเวทอิควิตี้
จากจุดเริ่มต้นของ PIMCO ที่มีทรัพย์สินภายใต้การบริหารไม่ถึง 400 ล้านบาท ในปี 1971 ก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนสูงกว่า 72 ล้านล้านบาท ในปี 2020
โดยการลงทุนที่สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเขาในฐานะผู้จัดการกองทุนอย่างมาก คือการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้
ในปี 2010 Morningstar องค์กรที่ให้บริการข้อมูลและจัดอันดับเปรียบเทียบกองทุนรวมทั่วโลก ระบุว่า “ไม่มีผู้จัดการกองทุนคนไหนอีกแล้ว ที่จะสามารถทำเงินจากการลงทุนในตราสารหนี้ ได้มากกว่า บิลล์ กรอสส์”
แต่ประเด็นน่าสนใจที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ คือ
บิลล์ กรอสส์ ได้ออกมาบอกว่า
“การลงทุนในพันธบัตรคือ การลงทุนในขยะ”
ทำไมราชาแห่งพันธบัตร ถึงพูดแบบนี้ ?
เราลองมาทำความเข้าใจกับ ลักษณะที่สำคัญของตราสารหนี้ ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้เอกชนกันก่อน
ตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” อย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
หรือพูดอีกมุมหนึ่งคือ ผู้ที่ลงทุนในตราสารหนี้ จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ที่ออกตราสารหนี้นั้น
จุดเด่นสำคัญของตราสารหนี้ คือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับหุ้น
ยิ่งถ้าผู้ที่ออกตราสารดังกล่าว เป็นรัฐบาลที่มีเครดิตดี และโอกาสน้อยมากที่จะผิดนัดจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ถือตราสาร ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ก็ยิ่งต่ำ
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่ำ ก็ไม่ได้แปลว่า ไม่มีความเสี่ยง
เพราะนอกจากความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้แล้ว การลงทุนในตราสารหนี้ ยังมีความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ “ความเสี่ยงจากดอกเบี้ยที่กำลังจะปรับตัวเพิ่มขึ้น”
อธิบายกลไกของตราสารหนี้ง่าย ๆ คือ
ความสัมพันธ์ของราคาตราสารหนี้กับอัตราดอกเบี้ยจะสวนทางกัน
หมายความว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ราคาตราสารหนี้จะเพิ่มขึ้น และเมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ราคาตราสารหนี้จะลดลง
ทีนี้ย้อนกลับมาถึงในสิ่งที่ บิลล์ กรอสส์ พูดไว้ข้างต้น ซึ่งเขามองว่า การลงทุนตราสารหนี้เริ่มไม่น่าสนใจ เนื่องจาก
- นโยบายอัดฉีดเงินเข้าระบบผ่านการเข้าซื้อสินทรัพย์โดยทางธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) หรือที่เรียกว่าการทำ QE กำลังจะลดขนาดลง
การปรับตัวขึ้นของราคาสินทรัพย์ทางการเงินหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ หรือแม้แต่สินทรัพย์ทางเลือกอย่างคริปโทเคอร์เรนซีในช่วงหลายปีที่ผ่านนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากการอัดฉีดเงิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องตลาดการเงินของสหรัฐอเมริกา
โดย Fed ทำการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อจำนองค้ำประกันของ Fed รวมกันเดือนละประมาณ 3.9 ล้านล้านบาท อย่างต่อเนื่อง
เรื่องนี้ทำให้ราคาพันธบัตรเหล่านี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐอเมริกา อายุ 10 ปี นั้นลดลง ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่งอัตราผลตอบแทนดังกล่าวเคยลดลงไปเหลือเพียง 0.5% ในช่วงกลางปี 2020
อย่างไรก็ตาม การที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ Fed เริ่มส่งสัญญาณลดการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบลง หรือที่เรียกว่า QE Tapering
ซึ่งเม็ดเงินที่ลดลงนี้ หมายความว่า ปริมาณการซื้อตราสารหนี้มีแนวโน้มจะลดลง จนทำให้ความน่าสนใจในตราสารหนี้ ลดลงไปด้วย
- แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
เราอยู่ในจุดที่อัตราดอกเบี้ยนั้นต่ำมาเป็นเวลานานพอสมควร ธนาคารกลางหลายประเทศปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปอยู่ที่ 0% หรือแม้แต่ติดลบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวกลับมาเติบโตเหมือนเดิม
แต่สิ่งหนึ่งที่มักมาพร้อมกับการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจคือ “เงินเฟ้อ” ซึ่งหากเงินเฟ้อมีการปรับตัวขึ้นเร็วจนเกินไป ก็จะส่งผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ
เพราะฉะนั้น ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ อย่างเช่น Fed ก็ต้องมีมาตรการมาควบคุม ไม่ให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเร็วจนเกินไป
หนึ่งในวิธีที่ทำกันมานาน ก็คือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อให้ดอกเบี้ยในภาพรวมของประเทศปรับตัวสูงขึ้น เพื่อให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจและชะลอเงินเฟ้อได้
ขณะเดียวกัน นักลงทุนหรือคนที่ถือพันธบัตรอยู่ในปัจจุบัน พอเห็นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น พวกเขาก็จะเริ่มทยอยขายพันธบัตรที่ถืออยู่ออกมา เพื่อนำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ชุดใหม่ ๆ ที่จะให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า หรือเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า
เมื่อมีการขายตราสารหนี้ออกมาจำนวนมาก ก็จะทำให้ราคาตราสารหนี้นั้นปรับตัวลดลง จนทำให้ผู้ที่ถือตราสารหนี้ โดยเฉพาะยิ่งเป็นตราสารหนี้ระยะยาวอาจจะขาดทุนหนักได้
นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อ ยังทำให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินหักด้วยอัตราเงินเฟ้อ) จะยิ่งลดลงไป ซึ่งหมายความว่า อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจากการถือตราสารหนี้ ลดลงไปอีก
เมื่อเป็นแบบนี้ ก็จะทำให้มีแรงเทขายตราสารหนี้ออกมาในปริมาณมาก จนอาจทำให้หลายคนที่ลงทุนในตราสารหนี้อยู่ ต้องขาดทุนอย่างหนักมากกว่าเดิมก็เป็นได้
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า สิ่งที่ บิลล์ กรอสส์ คาดการณ์ไว้เช่นนี้ จะเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน
แต่ก็ต้องยอมรับว่า นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ กำลังจะต้องเจอความท้าทายจากอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่กำลังจะปรับตัวขึ้นหลังจากนี้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-09-01/bill-gross-says-bonds-are-investment-garbage-just-like-cash
-https://www.investopedia.com/terms/w/william-h-gross.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Bill_H._Gross
-https://www.ft.com/content/f1a48ac2-36fb-4e7f-8d23-71477f1fc0a4
-https://www.sunsigns.org/famousbirthdays/d/profile/bill-gross/
qe tapering 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง
เปิดสูตรเฟ้นหา หุ้นอนาคตในอเมริกาเข้าพอร์ตระยะยาว
BBLAM x ลงทุนแมน
อังคารที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา ลงทุนแมนได้ชวนผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, Head of Investment Strategy กองทุนบัวหลวง
มาพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นการเฟ้นหาหุ้นอนาคตในอเมริกาเข้าพอร์ตระยะยาว
โดยเริ่มตั้งแต่อัปเดตสถานการณ์ล่าสุดในสหรัฐอเมริกา ที่เริ่มเปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจในช่วงเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ไปจนถึงผลประกอบการของบริษัทต่าง ๆ ในไตรมาสที่ 2
ตัวเลขเหล่านี้กำลังส่งสัญญาณอะไร ?
เราจะมีวิธีการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง..
มาเริ่มต้นกันที่ สรุปภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐอเมริกา เกิดอะไรบ้างในช่วงที่ผ่านมา ?
ที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกา มีการทำ QE หรือ การซื้อสินทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ เพื่อให้ระบบมีเงินหมุนเวียนมากขึ้น ทำให้ภาพรวมตลาดหุ้นสามารถดำเนินต่อไปได้
โดยประเด็นหลักที่ตลาดยังคงจับตามองในปีนี้คือ การลดขนาดการเข้าซื้อสินทรัพย์ หรือที่เรียกว่า QE Tapering ซึ่งประธาน FED ออกมาพูดว่า การทำ Tapering จะเริ่มขึ้นในปีนี้ และเป็นการตัดสินใจแยกกันกับ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
หมายความว่า หากเริ่มทำ Tapering ดอกเบี้ยก็ไม่จำเป็นจะต้องปรับขึ้นในทันที
นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาจะยังใช้นโยบายการเงินที่ค่อนข้างผ่อนคลายต่อไป ทำให้ตลาดสหรัฐอเมริกา กลับมาเป็นขาขึ้น และเงินก็จะวิ่งเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง
ซึ่งทางกองทุนบัวหลวงคาดว่า FED จะค่อย ๆ ลดการทำ QE ลงโดยจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือน และ FED มีแนวโน้มจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในปี 2024 แต่ก็ยังเป็นอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ
ดังนั้น นโยบายโดยรวม จึงยังเอื้ออำนวยให้การลงทุนในตลาดหุ้นยังให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าสินทรัพย์อื่น ๆ ไปอีกสักระยะ
แต่ก็ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้ FED ชะลอการทำ QE Tapering ได้ เช่น ตัวเลขการจ้างงาน ที่ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ไปมาก
อีกหนึ่งประเด็นที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง คือ เงินเฟ้อ ที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 5.4%
ถึงแม้ว่า ราคา สินค้าโภคภัณฑ์บางตัว ลดลงมาแล้ว เช่น ราคาไม้ ทองแดง แต่ราคาบ้านและค่าเช่าบ้านในสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่ลดลงมา ก็อาจทำให้เงินเฟ้อยังคงสูงได้
แล้วโหมดการลงทุนช่วงนี้ต้องปรับ หรือจับสัญญาณต่ออย่างไรดี ?
กองทุนบัวหลวงก็เชื่อว่าในระยะสั้น เงินจะยังไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และเงินยังอยู่ในหุ้นสหรัฐอเมริกา
โดยในเดือนที่ผ่านมา ผู้จัดการกองทุนหลายรายในสหรัฐอเมริกาเข้าลงทุนกลุ่ม Healthcare มากที่สุด
จากความต้องการหาการลงทุนในเชิงคุณภาพ และหุ้นใหญ่ที่ปลอดภัย และที่ผ่านมากลุ่ม Healthcare ยังถือเป็นกลุ่มที่ Laggard หรือเติบโตได้ช้า เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น
แต่ถ้าหากดูกลุ่มที่ผู้จัดการกองทุนมีการถือครองมากที่สุด ก็ยังคงเป็นกลุ่มเทคโนโลยี
ถ้าเทียบระหว่างเทคโนโลยีที่เป็น Hypergrowth อย่างเช่น หุ้น Tesla, Roku, Shopify กับ ดัชนี Nasdaq ที่ เป็นหุ้นเทคโนโลยีใหญ่ ๆ เช่น Microsoft, Facebook, Amazon ก็จะเห็นว่าในภาพรวม เงินไหลออกจากกลุ่ม Hypergrowth มาเข้าฝั่ง Nasdaq
ซึ่งปริมาณเงินส่วนที่ไหลเข้ามาในตลาด Nasdaq ยังอยู่ที่ประมาณค่าเฉลี่ย ซึ่งหมายความว่า ไม่น่าเกิดฟองสบู่หุ้นเทคโนโลยี อย่างที่หลายคนกังวล
โดย Nasdaq ให้ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีเพิ่มมา 18% ประกอบกับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ยังมีผลกำไรที่ยังเติบโตต่อเนื่อง
กองทุนบัวหลวงมองว่า หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีได้ต่อไป แต่อาจต้องใช้วิธี Active Management หรือการบริหารพอร์ตเชิงรุก เพื่อหาบริษัทที่มูลค่ายังไม่สูงเกินไป
นอกจากนั้น กองทุนบัวหลวงยังมองว่าในสามเดือนสุดท้ายของปีนี้ เงินจะยังอยู่ในฝั่งตลาดพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น เนื่องจากมีความสามารถในการบริหารจัดการโควิด 19 ได้ดี และมีอัตราการฉีดวัคซีนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เศรษฐกิจกลับคืนสู่ภาวะปกติได้เร็ว
สำหรับรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ผ่านมา ถือว่าเติบโตได้ดีมาก
ผลกำไรภาพรวมของตลาด ออกมาสูงกว่าตลาดคาดการณ์ไว้
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความเสี่ยงและความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ จากห่วงโซ่การผลิตที่มีปัญหาและค่าจ้างที่สูงขึ้น ซึ่งกองทุนบัวหลวงมองว่า เป็นเพียงระยะสั้น และจะคลี่คลายในระยะปานกลางจนกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
คำถามต่อมาคือ S&P 500 จะสามารถไปได้ต่ออีกหรือไม่ และแพงไปแล้วหรือยัง ?
ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นมา ตามกำไรของบริษัทที่ปรับตัวดีขึ้นมาต่อเนื่อง และนักวิเคราะห์มีการปรับประมาณการเป้าหมาย S&P 500 เป็น 4,600 (ตอนนี้อยู่ที่ราว ๆ 4,500) หมายความว่า ดัชนี S&P 500 จะยังคงไปต่อได้
อีกทั้งสหรัฐอเมริกายังเป็นตลาดการเงินที่สภาพคล่องสูงที่สุดในโลก รวมไปถึงมีบริษัทที่มีคุณภาพดีมากที่สุดในโลก ทำให้ P/E ที่ 20 เท่า ก็ยังสามารถลงทุนได้
แล้วควรลงทุนเมื่อไร ดอกเบี้ยขึ้น จับจังหวะอย่างไร ?
ถ้าเราลองย้อนไปดูสถิติ 12 เดือนก่อนที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ย จะเห็นว่าตลาดสามารถปรับตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถปรับตัวขึ้นได้อีกหลังจากที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นครั้งแรก
โดยกองทุนบัวหลวง แนะนำหนึ่งเทคนิคที่น่าสนใจ คือให้เข้าสะสมแบบมีวินัย ลงทุนแบบสม่ำเสมอ หรือ DCA เนื่องจากการจับจังหวะตลาดสหรัฐอเมริกา หรือไม่ว่าตลาดไหน ๆ เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
ทีนี้หลายคนคงกังวลว่า เงินทุนเริ่มไหลออกจากกลุ่ม Hypergrowth แล้วเงินส่วนนี้ย้ายไปอยู่ที่ไหน ?
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือปัจจุบัน เงินทุนไหลออกจากหุ้นในกลุ่ม Hypergrowth แต่ปรากฏว่าดัชนี Nasdaq นั้นยังคงปรับตัวสูงขึ้น ที่เป็นแบบนี้เพราะเงินกำลังไหลไปยังบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ๆ นั่นเอง
หลายคนอาจมองว่า บริษัทเหล่านี้น่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 แต่กลับกลายเป็นว่า จากวิกฤตินี้ทำให้คนหันมาพึ่งเทคโนโลยีกันมากขึ้น
โดยสังเกตได้จากรายได้ของบริษัทเทครายใหญ่ ที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเรื่องของแผนในอนาคตที่น่าจับตามอง ทำให้นักลงทุนยังคงให้ความสนใจ
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Facebook และ Microsoft
Facebook เป็นบริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, WhatsApp ที่มีรายได้หลักมาจากค่าโฆษณาออนไลน์
โดยจุดเด่นของ Facebook คือ ความสามารถในการยิงโฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากกว่าคู่แข่งรายอื่น ๆ พร้อมทั้งยังมีโอกาสเติบโตไปกับอุตสาหกรรมสื่อออนไลน์อีกมาก เนื่องจากโควิด 19 ก็เป็นตัวเร่งที่ทำให้คนหันมาพึ่งเทคโนโลยีกันมากขึ้น
สำหรับแผนในอนาคตของ Facebook นั้นยังคงเป็นเรื่องของแผนการปรับตัวให้บริษัทเป็น บริษัท “Metaverse” หรือโลกแห่งการผสมผสาน ระหว่างโลกจริงและโลกเสมือน อย่างเต็มตัว
โดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก CEO ของ Facebook มองว่า โลกของ Metaverse จะกลายเป็นอนาคตของโลกอินเทอร์เน็ต โดยล่าสุดก็ได้มีการเปิดตัว Horizon Workrooms ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปประชุมได้แบบเสมือนจริง ผ่านตัวละคร Avatar
มาต่อกันที่บริษัทซอฟต์แวร์ที่เราคุ้นเคยกัน อย่าง “Microsoft” ซึ่งในปีที่ผ่านมายังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุน โดยมูลค่าบริษัทยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก ผลประกอบการในไตรมาสที่ผ่านมา ที่ยังคงเติบโต 17% จากบริการ Intelligence Cloud ที่เติบโตได้ดี
แต่ที่น่าสนใจคือเรื่องของแผนในอนาคต อย่างการทำโลกเสมือน หรือที่ทาง Microsoft เรียกว่า Digital Twin ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการทำ Metaverse ของ Facebook แต่จะเป็นการก๊อบปี้ของจริงมาไว้บนโลกออนไลน์แทน เช่น จำลองสถานที่ จำลองตึก เพื่อนำมาใช้ทดสอบการบินของโดรนก่อนเอาออกไปใช้งานจริง
ทั้งนี้ในส่วนของ Theme โลกเสมือนนั้น อาจมีความเสี่ยง เรื่องที่จะต้องใช้เวลาอีกไม่น้อย กว่าที่เราจะได้สัมผัสแบบเต็ม ๆ
แต่นี่เป็นเหมือนการส่งสัญญาณว่าบริษัทเทคโนโลยีหลายรายกำลังตื่นตัวกับการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และมีการเตรียมพร้อม มองหาช่องทางการเติบโตใหม่ ๆ หรือที่เรียกว่า New S-Curve อยู่ตลอดเวลา
มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่า แล้วกระแสเงินลงทุนที่ดูมีการเปลี่ยนทิศเปลี่ยนทางเช่นนี้ จะมีผลกระทบกับกองทุน B-USALPHA และ B-FUTURE แค่ไหน ?
สำหรับกองทุน B-USALPHA นั้น หลายคนอาจจะคิดว่ากองนี้มีแต่ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอย่างเดียว
แต่ถ้ามาดูสัดส่วนของหุ้นในพอร์ตการลงทุนนั้นจะพบว่า กองทุนพยายามให้ความสมดุลระหว่างหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี กับกลุ่มวัฏจักรในสหรัฐอเมริกา โดยกองทุนนี้มีแบ่งส่วนการลงทุนด้วยกันหลัก ๆ 3 อย่าง คือ
1. กลุ่ม Digital Advertising เช่น Facebook, Pinterest, Snap
2. กลุ่ม สถาบันการเงิน เช่น Morgan Stanley, PayPal, Square
3. กลุ่ม Technology Enabled หรือก็คือ ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสร้างนวัตกรรม เช่น Deere & Company, Freeport-McMoRan, Zillow Group
ทั้งกลุ่ม Digital Advertising และ Technology Enabled นั้นยังมีโอกาสเติบโตไปพร้อมกับการเปิดเมือง
ส่วนการลงทุนในกลุ่มสถาบันการเงิน จะช่วยสร้างสมดุล และลดความเสี่ยงของพอร์ตในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับตัวสูงขึ้น ที่ทำให้กลุ่มของธุรกิจสถาบันการเงินนั้นได้รับประโยชน์ไปด้วย จากอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับสูงขึ้น
ส่วนกองทุน B-FUTURE นั้น มีการกระจายลงทุนในธุรกิจ 3 กลุ่มคือ เทคโนโลยี Hypergrowth, อุตสาหกรรม และกลุ่มธุรกิจ Theme เปิดเมือง
โดยในส่วนของกลุ่ม Hypergrowth นั้น ทางผู้จัดการของกองทุน ก็ได้เน้นอย่างมาก กับการลงทุนในหุ้นที่ยังมี Valuation ไม่สูงจนเกินไป
นอกจากนี้ ทางกองทุนยังเน้นการลงทุนใน Theme อนาคต ไม่ได้เจาะจงในประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยมีผู้จัดการกองทุนที่คอยปรับพอร์ตตามสถานการณ์การลงทุนต่าง ๆ
ด้วยนโยบายการบริหารแบบ Active Management ทำให้ B-FUTURE สามารถปรับเปลี่ยนพอร์ตให้เข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา
เช่น หากมองว่าในระยะยาว หุ้นกลุ่มเอเชียหรือจีน ยังมีโอกาสเติบโตมาก ความกดดันของรัฐบาลจีนคลี่คลายลง แล้วยังมี Valuation ที่ไม่สูงเกินไป ทางกองทุนก็สามารถปรับน้ำหนักพอร์ตมาลงในหุ้นเอเชียหรือจีนเพิ่มขึ้นได้
ทำให้เห็นว่า B-FUTURE นั้นเป็นกองทุนที่สามารถทยอยสะสมเข้าได้เรื่อย ๆ และเหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลามาก แต่อยากลงทุนในหุ้นแห่งอนาคต
สำหรับใครที่กำลังมองหาโอกาสในการลงทุน จากหุ้นในสหรัฐอเมริกา หรือหุ้นใน Theme อนาคต
ทั้งกองทุน B-USALPHA และ B-FUTURE ก็ยังเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ ที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทน ได้โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล พร้อมคอยปรับพอร์ตการลงทุนให้ในระยะยาว ซึ่งการใช้กลยุทธ์ DCA ทยอยลงทุนทุกเดือนก็เป็นวิธีการที่น่าสนใจ
คำเตือน
การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้นผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
qe tapering 在 持相對寬鬆的政策絕對影響市場情 - Facebook 的推薦與評價
聯儲控制收益率的願望便會更低,而討論QE tapering的時點或會更早。 (2)如果短期內美債收益率加速上行並進入1.8%-1.9%區間,超出本輪疫情前貨幣寬鬆期間的利率水準, ... ... <看更多>
qe tapering 在 What Is It, and Should Investors Prepare for a Taper Tantrum? 的推薦與評價
The Federal Reserve has started dropping hints it's going to begin tapering the quantitative easing that has been going on since March 2020 ... ... <看更多>