เศรษฐีรวยสุดในเอเชีย มีน้องชาย เป็นบุคคลล้มละลาย ได้อย่างไร ? /โดย ลงทุนแมน
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า Mukesh Ambani เจ้าของ Reliance Industries กลุ่มธุรกิจที่ใหญ่สุดในอินเดียและเป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในเอเชีย มีน้องชายชื่อ Anil Ambani
สำหรับน้องชายของมหาเศรษฐีคนนี้ ก็เป็นเจ้าของธุรกิจที่แยกตัวออกมาจาก Reliance Industries ของพี่ชาย มีชื่อบริษัทว่า Reliance ADA Group
ในปี 2008 Mukesh Ambani มีทรัพย์สิน 1.4 ล้านล้านบาท รวยเป็นอันดับ 5 ของโลก
ในขณะที่ Anil Ambani ตามมาติด ๆ ด้วยทรัพย์สิน 1.37 ล้านล้านบาท และรวยเป็นอันดับ 6 ของโลก
โดยในปีนั้น เศรษฐี 4 อันดับแรกของโลก ได้แก่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ (อเมริกัน), คาร์ลอส สลิม (เม็กซิโก),
บิลล์ เกตส์ (อเมริกัน) และลักษมี นิวาส มิตตัล (อินเดีย)
หลังจากผ่านไป 13 ปี Mukesh Ambani มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านล้านบาท
กลายมาเป็นมหาเศรษฐีรวยสุดในอินเดียและเอเชีย และรวยเป็นอันดับ 10 ของโลก
แต่ในปี 2019 Ambani คนน้องกลับมีทรัพย์สิน เพียง 5.6 หมื่นล้านบาท
จนล่าสุด มีหลายคนกล่าวว่าความมั่งคั่งตอนนี้ของ Ambani คนน้อง ลดลงจนเกือบเป็นศูนย์
แล้วมันเกิดอะไรขึ้นกับน้องชาย ของคนที่รวยสุดในเอเชีย ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในปี 1948 หรือเมื่อ 73 ปีก่อน ชายชาวอินเดียวัย 16 ปี
ที่ชื่อ Dhirubhai Ambani ได้ตัดสินใจเดินทางออกจากบ้านเกิดไปทำงานที่ประเทศเยเมน
ผ่านไป 10 ปี Dhirubhai กลับมาที่อินเดียพร้อมกับเงินเก็บ เพื่อมาเริ่มสร้างธุรกิจเอง
Dhirubhai เริ่มจากการนำเข้าเส้นใยสังเคราะห์และส่งออกเครื่องเทศ ก่อนจะเริ่มทำธุรกิจสิ่งทอ ซึ่งก็เติบโตอย่างรวดเร็ว จน Dhirubhai ได้ขยายกิจการไปในอุตสาหกรรมอื่น และเปลี่ยนมาใช้ชื่อบริษัทว่า “Reliance Industries” ในปี 1973
Reliance Industries สามารถ IPO ได้ในปี 1977 ซึ่งหุ้นของบริษัทก็มีชาวอินเดียสนใจลงทุนเป็นจำนวนมาก ถึงขนาดเคยจัดประชุมผู้ถือหุ้นที่สเตเดียม
ตั้งแต่ที่กิจการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว Dhirubhai ก็เริ่มให้ลูกชายทั้ง 2 คนของเขา เข้ามาช่วยบริหารงานที่บริษัท
Mukesh Ambani ลูกชายคนโต เป็นประธาน
Anil Ambani ลูกชายคนรอง เป็นกรรมการผู้จัดการ
แต่แล้วในปี 2002 Dhirubhai ได้เสียชีวิตลงและได้ทิ้งกิจการ Reliance Industries ไว้กับลูกชายทั้ง 2 คน
Dhirubhai ที่จากโลกนี้ไปไม่ได้ทำพินัยกรรมและข้อตกลงแบ่งกิจการให้กับลูกแต่ละคนไว้ ซึ่งเขาก็คงไม่คิดว่า จะเกิดปัญหาตามมา
โดยปัญหาที่ว่านั้นเริ่มเกิดขึ้นเพราะลูกชายทั้ง 2 คน ที่เริ่มเข้าทำงานและมีบทบาทในบริษัทมาพร้อม ๆ กัน
กลับตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะเป็นเจ้าของและใครจะดูแลและรับผิดชอบบริษัทไหนบ้าง
สุดท้ายแล้ว ในช่วงปี 2004 ถึง 2005 ผู้เป็นแม่ต้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหา
โดยการจ้างบุคคลที่ 3 ให้เข้ามาจัดการเรื่องการแยกบริษัทออกจากกันไปเลย
Mukesh Ambani คนพี่ได้ธุรกิจหลักคือปิโตรเลียม ซึ่งเขามีบทบาทสำคัญในการขยายกิจการในส่วนนี้มาตั้งแต่แรก และยังได้ธุรกิจอื่น ๆ อย่างเช่นปิโตรเคมี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจยุคเก่า โดยกลุ่มบริษัทของ Mukesh ใช้ชื่อว่า Reliance Industries
Anil Ambani คนน้องได้ธุรกิจหลักคือ Reliance Communications ธุรกิจโทรคมนาคมที่เพิ่งเริ่มกิจการได้ไม่นาน แต่ก็กลายเป็นบริษัทเทเลคอมที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในอินเดีย ซึ่งแม้ว่า Mukesh จะมีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่ต้น แต่ Anil ก็อยากได้ธุรกิจนี้เช่นกัน
นอกจากธุรกิจเทเลคอมแล้ว กิจการอื่นที่ Anil Ambani ได้รับไปดูแลอีกก็อย่างเช่น ธุรกิจพลังงาน และบริการทางการเงิน ซึ่งส่วนมากจะเป็นธุรกิจยุคใหม่ โดยกลุ่มธุรกิจของ Anil Ambani ใช้ชื่อว่า “Reliance ADA Group”
หลังจากจบเรื่องการแบ่งธุรกิจแล้ว แต่ละคนก็เริ่มต่อยอดธุรกิจตามเส้นทางของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น
Mukesh Ambani เริ่มทำธุรกิจค้าปลีกในปี 2006 จน Reliance Retail กลายมาเป็นธุรกิจค้าปลีกที่ใหญ่สุดในอินเดีย
ในขณะที่ Anil Ambani ก็ได้ต่อยอดทำธุรกิจบันเทิง อย่างเช่นในปี 2005 ได้ซื้อบริษัท Adlabs Films ที่เป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์ Big Cinemas ซึ่งกลายมาเป็นโรงภาพยนตร์ที่มีสาขามากสุดในอินเดียในอีก 3 ปีถัดมา
ในปี 2008 Reliance Entertainment ของ Anil Ambani ก็ได้เซ็นสัญญากับบริษัทผลิตภาพยนตร์ DreamWorks ของผู้กำกับ Steven Spielberg ซึ่งได้ร่วมผลิตภาพยนตร์ที่ได้รางวัลมากมาย อย่างเช่น The Help และ Lincoln
และปีเดียวกันนี้ Anil Ambani ก็ได้นำบริษัทพลังงานอย่าง Reliance Power จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ด้วยมูลค่าการระดมทุนที่สูงเป็นประวัติการณ์ในขณะนั้น
ผ่านไป 6 ปีหลังจากการเสียชีวิตของ Dhirubhai
ดูเหมือนว่าลูกชายของเขาทั้งคู่ก็ต่อยอดกิจการไปได้อย่างสวยงาม
จนทำให้ในปี 2008 Mukesh มีทรัพย์สิน 1.4 ล้านล้านบาท รวยเป็นอันดับ 5 ของโลก และ Anil มีทรัพย์สิน 1.37 ล้านล้านบาท รวยเป็นอันดับ 6 ของโลก
แต่หลังจากนั้น เส้นทางความมั่งคั่งของพี่น้องคู่นี้ กลับเริ่มมีทิศทางที่สวนทางกัน
คนพี่รวยขึ้น ส่วนคนน้องความมั่งคั่งหายไปเกือบหมด
แล้วมันเกิดอะไรขึ้น ?
เรื่องทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นมาจากเงินที่บริษัท Reliance Power ของ Anil Ambani ได้มาจากการ IPO มีแผนจะใช้สร้างโรงไฟฟ้าที่ส่วนใหญ่จะผลิตจากก๊าซ
โดยก๊าซที่ Reliance Power ใช้ ก็มาจากบริษัทก๊าซธรรมชาติในเครือ Reliance Industries ของ Mukesh นั่นเอง
ซึ่งในตอนที่แยกบริษัทกัน สองพี่น้องก็ได้เซ็นสัญญาว่าบริษัทก๊าซของ Mukesh Ambani จะขายก๊าซให้โรงไฟฟ้าของน้องชายที่ราคาหนึ่ง
แต่ในวันที่โรงไฟฟ้าสร้างใกล้จะเสร็จและถึงเวลาที่พี่ชายจะขายก๊าซให้กับน้อง ราคาก๊าซในตลาดโลกกลับเพิ่มสูงขึ้นไปเกือบเท่าตัว
Anil Ambani จึงต้องการซื้อก๊าซในราคาที่ตกลงกัน เพื่อที่จะไม่ต้องเผชิญต้นทุนก๊าซที่สูงขึ้น
แต่ทาง Mukesh Ambani ไม่สามารถขายก๊าซตามราคาที่ตกลงกันไว้ได้เพราะบริษัทของเขาจะขาดทุน
แต่แทนที่จะเจรจาตกลงกัน Anil Ambani กลับเลือกที่จะยื่นฟ้องบริษัทพี่ชายในปี 2010 เพื่อให้ซื้อก๊าซได้ในราคาเดิมที่เคยตกลงกัน
แต่ศาลก็ได้มีคำสั่งให้ Anil Ambani ซื้อก๊าซในราคาใกล้เคียงกับราคาตลาดโลก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายราคาก๊าซของประเทศ
สุดท้ายแล้ว Anil Ambani ที่ต้องแบกรับต้นทุนก๊าซเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จึงไม่สามารถจัดหาก๊าซเพื่อไปใช้ผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าที่สร้างรอไว้แล้วได้
Reliance Power จึงกลายเป็นบริษัทที่มีหนี้มหาศาล จนต้องขายทรัพย์สินและกิจการบางส่วนออกไป เพื่อเอามาใช้หนี้ ซึ่งรวมถึงกิจการโรงภาพยนตร์ Big Cinemas ที่ซื้อมาเมื่อปี 2008 ด้วย
แต่ความผิดพลาดทางธุรกิจของ Anil Ambani ยังไม่ได้จบลงแค่นี้ เพราะเรื่องราวที่ร้ายแรงกว่านั้น เกิดขึ้นกับธุรกิจโทรคมนาคมอย่าง Reliance Communications (RCom)
ในปี 2002 ซึ่งเป็นช่วงที่ RCom เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ RCom เลือกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่เรียกว่า CDMA ซึ่งใช้เงินลงทุนน้อยกว่า ขณะที่บริษัทคู่แข่งอย่างเช่น Airtel เลือกใช้เทคโนโลยีที่ชื่อ GSM
แม้เทคโนโลยีทั้ง 2 แบบจะใช้ได้ดีกับ 2G และ 3G เหมือนกัน แต่ปัญหาก็คือ CDMA ที่ RCom เลือกใช้ ไม่สามารถรองรับ 4G และ 5G ได้แบบ GSM ที่เหล่าคู่แข่งเลือกใช้
นั่นจึงทำให้ช่วงเวลาที่ทั่วโลกเปลี่ยนผ่านจาก 3G มาเป็น 4G อย่างรวดเร็ว RCom เลยตามคนอื่นไม่ทัน จน RCom กลายเป็นบริษัทที่เริ่มมีหนี้มากขึ้น
และจุดพลิกผันครั้งใหญ่ของ RCom รวมไปถึงทั้งอุตสาหกรรมเทเลคอมของอินเดีย ก็เกิดขึ้นในปี 2016
เมื่อ Mukesh Ambani ได้ก่อตั้งบริษัทย่อยของ Reliance Industries ในชื่อ “Jio” ซึ่งเป็นบริษัท
ที่เน้นบริการด้านเทคโนโลยี รวมถึงการให้บริการโทรคมนาคมแบบเดียวกับ RCom ด้วย
ด้วยชื่อเสียงของ Reliance Industries ก็ทำให้ Jio มีจำนวนผู้ใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กำไรของบริษัทที่เป็นหนึ่งในผู้นำตลาดอย่าง Airtel ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และทำให้อีก 2 บริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดรองลงมาอย่าง Vodafone และ Idea ต้องควบรวมกิจการกัน
ในเวลาต่อมาบริษัท Jio ของ Mukesh Ambani ก็กลายมาเป็นบริษัทเทเลคอมที่ใหญ่สุดในอินเดีย ส่วน RCom ของ Anil ที่ย่ำแย่อยู่แล้ว ก็หายไปจากการแข่งขันในตลาดเทเลคอม จนทำให้บริษัทขาดทุนและกลายเป็นหนี้มหาศาล
RCom ต้องยอมขายสินทรัพย์ของกิจการบางส่วนให้กับ Jio เพื่อลดหนี้
แต่นั่นก็ยังไม่ช่วยให้สถานการณ์ของ RCom ดีขึ้น
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2013 RCom ได้ทำข้อตกลงกับ Ericsson โดยจ้างให้ Ericsson มาเป็นผู้บริหารเครือข่ายในบริเวณทางเหนือและตะวันตกของอินเดีย แต่ผลจากการขาดทุนต่อเนื่องก็ทำให้ RCom ไม่มีเงินจ่ายให้ Ericsson ตั้งแต่ปี 2016
RCom ติดหนี้ Ericsson 2.46 พันล้านบาท ซึ่ง RCom ก็ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามกำหนด และขอเลื่อนเวลาการจ่ายหนี้ออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งสุดท้ายแล้ว RCom จ่ายหนี้ได้เพียง 528 ล้านบาท นำไปสู่การถูกฟ้องร้องในเวลาต่อมา
ศาลสูงสุดจึงมีคำตัดสินว่า ถ้าภายใน 1 เดือน RCom ยังจ่ายหนี้ให้ Ericsson ไม่ได้ Anil จะต้องถูกจำคุก 3 เดือน
สุดท้ายแล้วพี่ชายของ Anil Ambani อย่าง Mukesh ก็เข้ามาช่วย
โดยการจ่ายหนี้ที่เหลือ มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาทให้
ในขณะที่ บริษัท RCom ก็ต้องยื่นล้มละลาย
แต่เรื่องราวยังไม่จบแค่นั้น เพราะ RCom ยังมีหนี้ก้อนใหญ่อีกก้อน ที่กู้ยืมมาจาก 3 ธนาคารขนาดใหญ่ของจีน ทั้ง ICBC, China Development Bank และ EXIM Bank of China เป็นมูลค่า 2.3 หมื่นล้านบาท
ทั้ง 3 ธนาคารจึงยื่นฟ้อง RCom และ Anil Ambani..
ช่วงต้นปี 2020 ที่ผ่านมา ซึ่ง Anil ได้พูดระหว่างพิจารณาคดีออนไลน์กับศาลของประเทศอังกฤษว่า เขาไม่มีเงินใช้หนี้ เพราะความมั่งคั่งของเขาตอนนี้ใกล้จะเป็นศูนย์แล้ว.. ซึ่งจนถึงตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าเขาจะหาเงินจากไหนมาใช้หนี้
จากความขัดแย้งเพื่อแย่งกิจการกันเองในครอบครัว บวกกับการบริหารธุรกิจที่ผิดพลาด การทุ่มเงินลงทุนขนาดใหญ่แต่ได้ผลลัพธ์แย่กว่าที่คาด ทำให้บริษัทก่อหนี้ก้อนโต
ทั้งหมดนี้ก็ได้ส่งผลไปยังทรัพย์สินของผู้ที่เคยรวยติดอันดับ 6 ของโลกอย่าง Anil Ambani ได้หายไปเกือบหมด ในขณะที่พี่ชายที่เติบโตมาพร้อมกัน กลับเดินสวนทางกัน เพราะประสบความสำเร็จในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นเศรษฐี ที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย นั่นเอง
ถ้าใครเชื่อว่าชีวิตของเราถูกกำหนดมาแล้วตั้งแต่เกิด
เกิดมาในครอบครัวที่รวย ก็ย่อมมีแรงส่งให้พวกเขารวยขึ้น
ซึ่งมันก็เป็นจริงในหลายกรณี
แต่ในบางกรณี มันก็อาจเป็นตรงกันข้าม
ซึ่งอย่างน้อย มันก็เกิดขึ้นแล้วกับ Anil Ambani น้องชายของ มหาเศรษฐี ที่รวยสุดในเอเชีย นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.businessinsider.in/thelife/personalities/news/anil-ambanis-journey-from-42-billion-net-worth-to-claiming-poverty/articleshow/74028627.cms
-https://www.scmp.com/magazines/style/celebrity/article/3093874/mukesh-vs-anil-why-did-one-ambani-brother-go-bankrupt
-https://economictimes.indiatimes.com/industry/telecom/telecom-news/from-glory-to-dust-an-ambani-brands-journey-to-bankruptcy/articleshow/67837769.cms?from=mdr
-https://www.businesstoday.in/latest/economy-politics/story/anil-ambani-road-to-bankruptcy-how-the-brother-of-indias-richest-man-lost-his-way-271119-2020-08-25
-https://www.moneycontrol.com/news/business/a-timeline-of-reliance-communications-versus-ericsson-case-3661261.html
-https://youtu.be/dBH0E20kc30
-https://www.forbes.com/forbes/2008/0324/080.html?sh=3e185f910f2e
-https://en.wikipedia.org/wiki/Reliance_Industries
-https://en.wikipedia.org/wiki/Reliance_Group
同時也有40部Youtube影片,追蹤數超過160萬的網紅ブライトサイド | Bright Side Japan,也在其Youtube影片中提到,世界の交通に関する様々な豆知識をご紹介!親友や大学教授にこっそり教えてしまいましょう。まるで手品のように彼らを驚かせること請け合いです。皆さんの旅を楽しいものにする、トリビア集をご覧ください! #ブライトサイド #交通のトリビア 視覚素材: https://creativecomm...
「road wiki」的推薦目錄:
- 關於road wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於road wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於road wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於road wiki 在 ブライトサイド | Bright Side Japan Youtube 的最讚貼文
- 關於road wiki 在 Thanasut Youtube 的最讚貼文
- 關於road wiki 在 Dream Delivery Youtube 的精選貼文
- 關於road wiki 在 GitHub: Where the world builds software · GitHub 的評價
- 關於road wiki 在 Miley Cyrus - Midnight Sky (Official Video) - YouTube 的評價
road wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
รู้จัก G7 ขั้วมหาอำนาจโลก ที่กำลัง แลกหมัดกับจีน /โดย ลงทุนแมน
1,228 ล้านล้านบาท คือ GDP ในปีที่ผ่านมา ของ 7 ประเทศ ในกลุ่ม G7 รวมกัน
2,620 ล้านล้านบาท คือ GDP ในปีที่ผ่านมา ของทุกประเทศในโลกรวมกัน
เท่ากับว่าขนาดเศรษฐกิจของเพียงแค่ 7 ประเทศในกลุ่มนี้
คิดเป็น “เกือบครึ่ง” ของขนาดเศรษฐกิจโลกในปีที่ผ่านมา
ทั้ง ๆ ที่มีประชากรรวมกันแค่ประมาณ 773 ล้านคน หรือประมาณ 10% ของประชากรโลกเท่านั้น
กลุ่ม G7 มีประเทศอะไรบ้าง เกิดขึ้นมาอย่างไร
แล้วทำไมถึงบอกว่ากำลังแลกหมัดกับจีน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
แคนาดา
ฝรั่งเศส
เยอรมนี
อิตาลี
ญี่ปุ่น
สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
นี่คือรายชื่อ 7 ประเทศ ที่รวมตัวกันเป็น “Group of Seven” หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า กลุ่ม G7
ซึ่งถ้าเราลองไปเปิดดูตัวเลข GDP ของแต่ละประเทศ ทั้ง 7 รายชื่อนี้ จะอยู่ใน Top 10 ของประเทศที่ GDP มากสุดในโลก
และถ้าเอา GDP ของ 7 ประเทศมาบวกรวมกัน
ก็จะคิดเป็น 47% ของขนาดเศรษฐกิจโลก
นอกจากจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กันทุกประเทศแล้ว
รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรในประเทศเหล่านี้
ก็ล้วนแล้วแต่อยู่แนวหน้าของโลกทั้งสิ้น
พูดง่าย ๆ ว่า นี่คือสมาคมประเทศร่ำรวย อย่างแท้จริง..
แล้วประเทศเหล่านี้ มารวมตัวกันได้อย่างไร ?
จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มนี้อย่างเป็นทางการ ต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 1973
ช่วงนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น นั่นคือ วิกฤติการณ์น้ำมัน หรือ “Oil Shock”
สรุปเหตุการณ์แบบคร่าว ๆ ก็คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ไปมีปัญหากับกลุ่ม OPEC ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก
ปัญหาที่ว่าก็คือ 4 ประเทศนี้ ไปสนับสนุนอิสราเอล ที่กำลังทำสงครามกับกลุ่มชาติอาหรับ ที่ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นสมาชิกกลุ่ม OPEC
พอเรื่องเป็นแบบนี้ กลุ่ม OPEC จึงระงับการส่งออกน้ำมันไปยังประเทศที่สนับสนุนอิสราเอล ทำให้ประเทศเหล่านี้เจอวิกฤติขาดแคลนน้ำมัน และราคาน้ำมันพุ่งสูงหลายเท่าตัวในช่วงเวลาไม่นาน ซึ่งทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศ ไปจนถึงระดับทวีป และระดับโลก เป็นปัญหาลูกโซ่ตามมา
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เริ่มลุกลามเป็นวงกว้างไปในระดับโลก
ทำให้ 6 ประเทศมหาอำนาจในตอนนั้น
ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี (สมัยนั้นยังเป็น เยอรมนีตะวันตก), ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น และอิตาลี
จัดการประชุมร่วมกันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในปี 1975
เพื่อหาทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกไปข้างหน้า
และตกลงกันว่า “เราจะมาร่วมหารือกันแบบนี้ทุก ๆ ปีต่อจากนี้”
อีกหนึ่งปีต่อมา มีอีกชาติมหาอำนาจเข้าร่วมกลุ่ม นั่นก็คือ แคนาดา
เป็นอันสรุปว่า Group of Seven หรือ G7 ครบองค์ประชุมตั้งแต่ปี 1976 เป็นต้นมา..
ในช่วงแรก ตัวแทนของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมประชุม ยังเป็นเพียงแค่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
แต่หลัง ๆ มาเรื่องที่ประชุมกันแต่ละปี ไม่ได้จำกัดอยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจเท่านั้น
ยังรวมไปถึงเรื่องความมั่นคงทางการทหาร, โรคระบาด, สุขอนามัย, การศึกษา ไปจนถึงปัญหาความยากจน และเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นระดับโลกในแต่ละปี
ทำให้ต่อมา ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำประเทศ จะเป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม
โดยในแต่ละปี กลุ่ม G7 ก็มักจะเชิญหลายประเทศนอกกลุ่ม และตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศอย่าง EU, World Bank และ IMF ให้มาเข้าร่วมการประชุม ตามวาระที่สำคัญของช่วงเวลานั้น
เช่น ในปี 2008 มีการเชิญตัวแทนประเทศในเอเชียอย่าง เกาหลีใต้และอินโดนีเซีย ให้เข้าร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์เศรษฐกิจในเอเชีย
หรือในปี 2011 ที่มีการเชิญหลายประเทศในทวีปแอฟริกาอย่าง กินี, ไนเจอร์, โกตดิวัวร์ และตูนิเซีย ให้มาร่วมพูดคุยเรื่องปัญหาความยากจนในแอฟริกา
และล่าสุด การประชุม G7 ในปีนี้ ก็เพิ่งจัดขึ้นเมื่อ 11 มิถุนายน ที่ผ่านมาที่สหราชอาณาจักร
โดยสมาชิกในกลุ่มก็มีข้อตกลงร่วมกันในหลายเรื่อง อย่างเช่น
- ตกลงจะร่วมกันมอบวัคซีนอย่างน้อย 1,000 ล้านโดส ให้ประเทศรายได้ต่ำที่ต้องการวัคซีนเร่งด่วน
- เริ่มต้นผลักดันประเทศในกลุ่มและนอกกลุ่ม ให้มีการเก็บภาษีขั้นต่ำ 15% กับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เพื่อยุติปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีผ่านการนำบริษัทไปจดทะเบียนในประเทศที่เก็บภาษีอัตราต่ำ
แต่เรื่องที่เป็นไฮไลต์สุดของการประชุมครั้งนี้
คือการเปิดตัวโครงการ “Build Back Better World” หรือ B3W
โครงการที่สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรในกลุ่ม G7 ใช้เป็นคำประกาศกร้าวว่า
จะไม่ยอมให้คู่แข่งคนสำคัญอย่าง “จีน”
ก้าวขึ้นมามีอิทธิพล หรือก้าวมาเป็นอีกขั้วมหาอำนาจโลกได้ง่าย ๆ
ก่อนหน้านี้เราได้ยินกันมาตลอด ว่าจีนมีโครงการ “Belt and Road Initiative” หรือ BRI
ซึ่งเป็นเหมือนการขยายอิทธิพลและสร้างพันธมิตรผ่านการไปร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศต่าง ๆ ตามเส้นทางสายไหมที่เคยรุ่งเรืองในอดีต จากตะวันออกของโลกคือจีน ไปสู่ฟากโลกตะวันตก
ส่วนโครงการ B3W ของสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร G7 ก็จะเน้นเข้าไปมีส่วนร่วมและสนับสนุนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศรายได้น้อยถึงรายได้ปานกลาง ตั้งแต่ตะวันตก ลากยาวไปตะวันออก
และ G7 เคลมว่า B3W ของพวกเขา พิเศษกว่า BRI ของจีน
เพราะของที่สร้างโดยการสนับสนุนของ G7 จะมีคุณภาพกว่า
มีกระบวนการสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกว่า
ไม่มีทุจริตคอร์รัปชัน สนับสนุนภาคเอกชนให้มีส่วนร่วม
ไม่มีเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน สนับสนุนความเท่าเทียม และที่สำคัญคือสนับสนุนโดยกลุ่มนิยมประชาธิปไตย อย่าง G7..
ขณะที่โฆษกสถานทูตจีนประจำกรุงลอนดอน
ก็โต้กลับมติประชุมของกลุ่ม G7 ทันทีว่า
ให้เลิกกล่าวอ้าง กล่าวหาจีนในเรื่องต่าง ๆ เสียที
และยังโต้กลับในทำนองที่ว่า “มันหมดยุคที่โลกถูกนำโดยบางกลุ่มประเทศไปแล้ว”
จะเห็นว่า 2 ขั้วอำนาจโลกในตอนนี้ กำลังปล่อยหมัดหนักแลกใส่กันไปมา อย่างไม่มีใครยอมใคร
เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายครองอำนาจโลกแต่เพียงผู้เดียวได้โดยง่าย
ฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มมหาอำนาจโลกเดิมอย่าง G7
ที่ยังคงมีความสำคัญมากกับทั้งโลก ไม่ว่าจะเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และขนบธรรมเนียมโลกแบบเดิมที่ทั่วโลกคุ้นชินมาหลายทศวรรษ
ส่วนอีกฝ่ายคือจีน ที่เป็นประเทศคู่ค้าของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศในกลุ่ม G7 เอง และขนาดเศรษฐกิจของจีนกำลังจะขึ้นแท่นเบอร์ 1 ของโลกแซงหน้าสหรัฐอเมริกาในเร็ว ๆ นี้
ในขณะเดียวกันจีนก็กำลังเดินหน้าท้าชิงความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม
และเดินหน้าสร้างพันธมิตร สร้างอิทธิพลตามแผนที่วางไว้
ปิดท้ายด้วยเรื่องที่น่าสนใจ
ในอดีต G7 เคยขยายเป็น G8 โดยอีกประเทศที่เพิ่มเข้ามาคือ รัสเซีย ที่เข้าร่วมตั้งแต่ปี 1997
แต่หลังจากที่รัสเซียทำการผนวกไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ในปี 2014
ก็ทำให้ประเทศสมาชิกที่เหลือไม่พอใจ และไม่เชิญรัสเซียเข้าร่วมการประชุมอีกเลย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://statisticstimes.com/economy/projected-world-gdp-ranking.php
-https://www.g7uk.org/what-is-the-g7/
-https://en.wikipedia.org/wiki/1973_oil_crisis
-https://www.blockdit.com/posts/60c89d166ea44e0c5adf9455
-https://thestandard.co/g7-summit-summary/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Group_of_Seven
-https://www.whitehouse.gov/briefing-room/statements-releases/2021/06/12/fact-sheet-president-biden-and-g7-leaders-launch-build-back-better-world-b3w-partnership/
-https://www.ndtv.com/world-news/small-groups-dont-rule-the-world-china-cautions-g7-2462751
road wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
เมื่อขั้วโลกเหนือ กำลังท้าทาย คลองสุเอซ /โดย ลงทุนแมน
เหตุการณ์เรือขนส่งสินค้า Ever Given เกยตื้นขวางคลองสุเอซ
ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญของโลก เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ได้จุดประเด็นให้หลายฝ่ายต้องตระหนักว่า การค้นหาเส้นทางเดินเรือใหม่ ๆ น่าจะช่วยป้องกันความสูญเสียมูลค่ามหาศาลที่อาจเกิดขึ้นเช่นนี้ได้
ไม่กี่วันหลังจากเหตุการณ์นั้น มหาอำนาจโลกตะวันออกอย่างประเทศจีน
ก็เริ่มมีการพูดถึง เส้นทางเดินเรือใหม่
เส้นทางที่ว่านี้ คือการเดินเรือผ่าน “ขั้วโลกเหนือ”
เส้นทางนี้เป็นอย่างไร แล้วจีนเข้าไปเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร
ทั้งที่ไม่มีพื้นที่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนือหรือภูมิภาคอาร์กติกเลย ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เพื่อให้เห็นภาพรวมของเรื่องนี้ เราต้องมารู้จักภูมิภาคอาร์กติก ที่เป็นพื้นที่สำคัญของเรื่องนี้กันก่อน
อาร์กติก เป็นภูมิภาคที่อยู่ตรงขั้วโลกเหนือ
โดยถ้าเรามองแผนที่โลกโดยให้ขั้วโลกเหนือเป็นศูนย์กลางนั้น ภูมิภาคอาร์กติก จะมีพื้นที่คล้ายวงกลม โดยมีจุดศูนย์กลางตรงขั้วโลกเหนือ และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 14.1 ล้านตารางกิโลเมตร
โดยดินแดนของอาร์กติกนั้น ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของประเทศต่าง ๆ ประกอบด้วย รัสเซีย, ฟินแลนด์, สวีเดน, นอร์เวย์, ไอซ์แลนด์, เดนมาร์ก, แคนาดา และสหรัฐอเมริกา
ประเทศที่มีความยาวชายฝั่งในอาร์กติกมากที่สุด คือ “รัสเซีย” ที่มีความยาวตามแนวชายฝั่ง 24,140 กิโลเมตร ซึ่งคิดเป็น 44% ของความยาวชายฝั่งทั้งหมดในอาร์กติก
พื้นที่บริเวณอาร์กติกนี้ ยังถือเป็นแหล่งขุมทรัพย์ของรัสเซีย โดยนํ้ามันดิบกว่า 60% และก๊าซธรรมชาติกว่า 95% ของรัสเซีย ได้มาจากพื้นที่ในเขตนี้
ส่วนมหาอำนาจแห่งโลกตะวันตกอย่าง สหรัฐอเมริกา
มีความยาวตามแนวชายฝั่งในภูมิภาคอาร์กติกเพียงแค่ประมาณ 4,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ของรัฐอะแลสกา มีประชาชนที่อาศัยในเขตขั้วโลกนี้ประมาณ 7 หมื่นคน ซึ่งน้อยกว่ารัสเซียที่มีมากถึง 2 ล้านคน
พูดได้ว่า รัสเซีย ถือเป็นประเทศที่มีอิทธิพลค่อนข้างมากในแถบอาร์กติก
และเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นสนใจของพื้นที่ในภูมิภาคนี้ ก็คือ “เส้นทางเดินเรือ”
โดยจุดสำคัญของเส้นทางการเดินเรืออาร์กติกนี้ คือช่องแคบเบริง (Bering)
ซึ่งถ้าหากเรากางแผนที่โลกออกมา ช่องแคบเบริงนี้ ก็คือบริเวณที่คั่นตรงกลางระหว่างพื้นที่ ที่ใกล้กันที่สุดของทวีปอเมริกาและเอเชีย
ช่องแคบนี้จะมีเกาะ Diomede ใหญ่ (Big Diomede) ที่อยู่ในเขตประเทศรัสเซีย และ Diomede น้อย (Little Diomede) ที่อยู่ในเขตของสหรัฐอเมริกาบริเวณรัฐอะแลสกา ซึ่งทั้งสองเกาะมีความห่างกันแค่ 3.8 กิโลเมตรเท่านั้น
โดยเส้นทางเดินเรือขั้วโลกนี้จะขึ้นเหนือผ่านทะเลแบเร็นตส์ตอนเหนือของรัสเซีย แล้วมาโผล่ที่ทะเลนอร์เวย์ทางตอนเหนือของนอร์เวย์ แล้วลงใต้ไปยังเมืองท่าสำคัญของยุโรป
ซึ่งมีการเก็บข้อมูลจากเรือขนส่งที่ใช้เส้นทางนี้ว่าสามารถย่นระยะการเดินเรือ ได้เกือบ 40%
ตัวอย่างเช่น
ถ้าเรือออกจากท่าเรือในโยโกฮามะจากประเทศญี่ปุ่น เดินทางไปยังท่าเรือในอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
- ถ้าใช้เส้นทางผ่านทะเลจีนใต้ ผ่านช่องแคบมะละกา ทะเลอาหรับ คลองสุเอซ ช่องแคบยิบรอลตาร์ และช่องแคบอังกฤษ
เส้นทางนี้ จะมีระยะทางประมาณ 20,618 กิโลเมตร
- แต่ถ้าใช้เส้นทางเดินเรือที่ขึ้นเหนือ ไปพาดผ่านภูมิภาคอาร์กติก ผ่านช่องแคบเบริง ทะเลแบเร็นตส์ และผ่านทะเลนอร์เวย์
เส้นทางนี้ จะมีระยะทางเพียงแค่ประมาณ 12,982 กิโลเมตร เท่านั้น
จะเห็นได้ว่า เส้นทางการเดินเรือจากโลกตะวันออกไปสู่โลกตะวันตก ผ่านภูมิภาคอาร์กติก ช่วยลดระยะทางลงได้มากเลยทีเดียว
หลายปีที่ผ่านมา เส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าผ่านทะเลอาร์กติกมีความสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 2016 มีเรือขนส่งใช้เส้นทางนี้ 297 ลำ
และปี 2020 มีเรือขนส่งใช้เส้นทางนี้ประมาณ 400 ลำ หรือเพิ่มขึ้นกว่า 35%
โดยมีการขนส่งสินค้ากว่า 32 ล้านตัน ซึ่งกว่า 18 ล้านตันเป็นการขนส่งก๊าซธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม จำนวนเรือที่ใช้เส้นทางนี้ก็ยังถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับเส้นทางจากตะวันออกไปตะวันตกผ่านคลองสุเอซ ที่มีเรือขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางประมาณ 19,000 ลำ ตลอดปี 2020 ที่ผ่านมา
ที่เป็นแบบนี้ เพราะเส้นทางบริเวณอาร์กติก ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งที่ทำให้การเดินเรือทำได้ยากลำบาก ต้องอาศัยเรือทลายน้ำแข็ง (Icebreaker Ships) ในการนำหรือสร้างเส้นทางให้เรือขนส่งสินค้า
ทีนี้ หลายคนคงกำลังสงสัย แล้วจีนมาเกี่ยวอะไรกับพื้นที่นี้
ทำไมช่วงที่ผ่านมา กลายเป็นจีน ที่ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับเส้นทางการเดินเรือผ่านขั้วโลกเหนือ ?
ต้องบอกว่าแม้จีนจะไม่ได้มีพื้นที่ประเทศในเขตอาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือ
แต่จีนก็เป็นหนึ่งในประเทศ ที่ใช้บริการเส้นทางแถบอาร์กติกเป็นประจำในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
จีนอาศัยความใกล้ชิดกับพันธมิตรอย่างรัสเซีย และใช้เส้นทางดังกล่าวในการขนส่งสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ไปยังทวีปยุโรป สอดคล้องกับนโยบาย One Belt One Road ของจีน
ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ นโยบายและแผนงานของรัฐบาลจีนในช่วง 4-5 ปีหลัง จีนมีแผนลงทุนในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งมีพื้นที่อยู่ในอาร์กติก
เช่นปี 2018 มีแผนเช่าซื้อสนามบินใน Kemijärvi ในประเทศฟินแลนด์
นอกจากนั้นจีนยังมีแผนการลงทุนทำเหมืองแร่ที่เกาะกรีนแลนด์ ที่ตั้งอยู่กลางมหาสมุทรอาร์กติก
และในปีเดียวกันนั้น รัฐบาลจีนได้จัดทำ “นโยบายพัฒนาขั้วโลกเหนือ” เนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านทรัพยากร และเป็นเส้นทางการขนส่งสำคัญ
สรุปคือ จีนก็พยายามเข้ามามีบทบาทและสร้างอิทธิพลในแถบอาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือ ผ่านการเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย และการลงทุนในหลายประเทศแถบอาร์กติก ด้วยเช่นกัน
ส่วนทางฝั่งยักษ์ใหญ่แห่งซีกโลกตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา ที่แม้จะมีรัฐอะแลสกาอยู่ในภูมิภาคอาร์กติก แต่ก็เป็นส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับทางรัสเซีย
ในปี 2019 รัฐบาลของประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์ ก็พยายามขอซื้อเกาะกรีนแลนด์ โดยเสนอแพ็กเกจส่งเสริมการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 370 ล้านบาท แต่สุดท้ายถูกปฏิเสธจากเจ้าของพื้นที่อย่างรัฐบาลเดนมาร์ก
หมายความว่า สหรัฐอเมริกา ก็มีความพยายามที่จะขยายอิทธิพลในแถบนี้ให้มากขึ้น จากที่ตอนนี้มีดินแดนที่คาบเกี่ยวอยู่ในเขตอาร์กติกเพียงแค่รัฐอะแลสกาเท่านั้น
อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ “เรือตัดนํ้าแข็ง”
ที่เป็นพาหนะสำคัญในเรื่องการเดินเรือในเส้นทางสายขั้วโลกเหนือ
ซึ่งปัจจุบันประเทศที่เชี่ยวชาญและครอบครองเรือแบบนี้มากที่สุด ก็คือ รัสเซีย
รัสเซีย มีเรือตัดนํ้าแข็งมากถึงเกือบ 60% ของจำนวนทั้งหมดในโลก และยังมีแผนต่อเรือรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีใหม่ขึ้นทุกปี อย่างเช่น เรือตัดน้ำแข็งพลังงานนิวเคลียร์ ที่ทรงประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ
มากไปกว่านั้น การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเรื่อย ๆ แบบนี้
ก็คาดกันว่า น้ำแข็งขั้วโลกจะละลายเร็วและมากขึ้น
ทำให้การเดินเรือผ่านเส้นทางนี้สะดวกและเร็วขึ้นด้วย
เท่ากับว่า ในอนาคตถ้าอุณหภูมิโลกสูงขึ้นจนน้ำแข็งขั้วโลกละลายไปมาก
รวมถึงเทคโนโลยีเรือตัดน้ำแข็งพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ
เส้นทางเดินเรือผ่านขั้วโลกเหนือ ก็น่าจะก้าวขึ้นมามีบทบาทกับการเดินเรือจากโลกตะวันออกไปตะวันตกได้มากขึ้น และก็น่าจะสร้างความท้าทายที่มากขึ้นให้กับเส้นทางเดินเรือที่เป็นที่นิยมในตอนนี้อย่าง คลองสุเอซ
อีกเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือเราจะเห็นว่าหลายประเทศพยายามเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลในพื้นที่อาร์กติกกันมากขึ้น
ทั้งรัสเซีย ที่ถือเป็นผู้ทรงอิทธิพลจากการมีดินแดนส่วนมากในอาร์กติก
จีน ที่อาศัยความใกล้ชิดกับรัสเซีย และการเข้าไปลงทุนในแถบอาร์กติกเพื่อหวังจะได้ประโยชน์จากทรัพยากรในภูมิภาคอันหนาวเหน็บแห่งนี้
และสหรัฐอเมริกา ที่แม้จะมีดินแดนส่วนน้อยในอาร์กติก แต่ก็น่าจะอาศัยการเป็นพันธมิตรที่สนิทสนมกับแคนาดาและประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ ในการเข้ามามีอิทธิพลในพื้นที่เช่นกัน
ก็ต้องบอกว่า แม้ภูมิภาคอาร์กติก จะปกคลุมด้วยน้ำแข็งและความหนาวเหน็บ
แต่ดูแล้ว การแข่งขันกันมีอิทธิพลในพื้นที่นี้ กำลังร้อนระอุขึ้นเรื่อย ๆ เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://thehill.com/changing-america/sustainability/infrastructure/547041-alaska-gov-warns-china-and-russia-are-taking
-https://www.statista.com/chart/24511/vessels-and-net-tonnage-transiting-the-suez-canal/
-https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81
-https://www.thenewslens.com/article/131668
-https://www.thenewslens.com/article/125068
-https://insideclimatenews.org/news/03122018/national-security-arctic-icebreaker-funding-emergency-climate-change-coast-guard-military-readiness/
-https://www.chinatimes.com/newspapers/20210405000097-260301?chdtv
-https://newtalk.tw/news/view/2021-04-08/560400
-http://www.thousandreason.com/post12272361026323
road wiki 在 ブライトサイド | Bright Side Japan Youtube 的最讚貼文
世界の交通に関する様々な豆知識をご紹介!親友や大学教授にこっそり教えてしまいましょう。まるで手品のように彼らを驚かせること請け合いです。皆さんの旅を楽しいものにする、トリビア集をご覧ください!
#ブライトサイド #交通のトリビア
視覚素材:
https://creativecommons.org/licenses/by/2.0: Former New South Wales Department of Road: By Alexander Cunningham, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=93555548 MOF102 - Metro Cammell-bodied Guy Arab IV: By Mikey, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=25747069 This is the official map of the New York City Subway: By Metropolitan Transportation Authority of the State of New York, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=26599545 CC BY 3.0 https://creativecommons.org/licenses/by/3.0/deed.en: MAGNETIC LEVITATION: By Kauko Helavuo, https://commons.wikimedia.org/wiki/File:MAGNETIC_LEVITATION_(HD1080p).webm CC BY-SA 2.5 https://creativecommons.org/licenses/by-sa/2.5: Double decker AEC Regent III bus in Sydney, Australia: By Adam.J.W.C., https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=9004460 Author: Dr. Michael Solvie, Germany Taken by author in Summer 2005: By Msolvie, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=607618 CC BY-SA 2.0 https://creativecommons.org/licenses/by-sa/2.0: DSTunitedOAK: By Bill Larkins, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=29362653 A couple of old buses now with the Cavan and Leitrim Railway in the Republic of Ireland: By P L Chadwick, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=18521113 Britten-Norman Islander owned by Loganair taxiing at Papa Westray: By Mark Longair/Flickr, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=46603934 CC BY-SA 3.0 https://creativecommons.org/licenses/by-sa/3.0: Relief map of the Orkney Islands: By Nilfanion, created using Ordnance Survey data, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=17529705 A norry or nori is an improvised rail vehicle from Cambodia: By BluesyPete, https://en.wikipedia.org/wiki/File:TrainDeBambou.ogv Norry being disassembled, Battambang: By Henry Flower, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=16232620 Broad Street Station entrance opposite of the New York Stock Exchange: By Daniel Schwen, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=15730 A BHP Billiton Iron Ore train: By Bahnfrend, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=19383361 Map of the Mauritanian Railway: By Vuxi, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=9503433 Antonov An-225 at Arlanda airport, Stockholm: By Larske, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=17941773 Cars from the Lane Motor Museum A 1959 Scootacar: By Philip (flip) Kromer, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=3730042 CC BY-SA 4.0 https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0: Viking Sky departing Tallinn: By Pjotr Mahhonin, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=61290793 NYPD Transit Police District 34: By Tdorante10, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=64428491 One of the few "normal" entrances to the 47th–50th Streets: By Tdorante10, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=68172482 Antonov An-225 with Soviet space shuttle Buran on top: By Vasiliy Koba, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=36873169 Peel Engineering P50 at Techno Classica 2018, Essen: By Matti Blume, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=67926180 Interior of Cinema Astara: By Kasir, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=75654656
アニメーション:
Bright Side
ストックマテリアル (写真、動画など):
https://www.depositphotos.com
https://www.shutterstock.com
https://www.eastnews.ru
エピデミックサウンド https://www.epidemicsound.com/
ブライトサイドのチャンネル登録 https://goo.gl/31w525
-------------------------------------------------------------------------------------------
声の提供
さくらい声優事務所
road wiki 在 Thanasut Youtube 的最讚貼文
Podcast #พอดแคสต์ พ่อลูก กะหนูกะนิ้ง EP. 18 คุยกันเรื่องเพลงของ 2 รุ่น
00:00 - Intro
00:40 - เข้าเนื้อหา
01:10 - คุณพ่อหนู พูดถึงเพลง ที่ร้องว่า “Where’s your mama gone” วงดนตรีชื่อ “Middle Of The Road” ชื่อเพลง “Chirpy Chirpy Cheep Cheep” (ปี 1971)
https://www.youtube.com/watch?v=HSNSTerj2Kc
02:10 - คุณพ่อหนู พูดถึงเพลง “I’d Like To Teach The World To Sing” (1972) วง “The New Seekers” https://www.youtube.com/watch?v=ZWKznrEjJK4
นำไปใช้ในโฆษณาเครื่องดื่ม https://www.youtube.com/watch?v=ib-Qiyklq-Q
02:45 - เพลงตอนที่นิ้งเด็กมากๆ 1
03:50 - วงโปรดของนิ้ง
04:20 - เพลงตอนที่นิ้งเด็กมากๆ 2
05:25 - เพลงตอนคุณพ่อหนูเป็นวัยรุ่น
07:20 - เพลงตอน ม.ต้น ของนิ้ง
08:18 - เทป 8 Track - https://en.wikipedia.org/wiki/8-track_tape
08:48 - K Pop ของนิ้ง
10:50 - คุยเรื่องวง “Big Bang” https://en.wikipedia.org/wiki/Big_Bang_(band)
12:55 - เพลงช่วงวัยรุ่นของคุณพ่อหนู
13:40 - คุยกันเรื่องวง “Queen” https://en.wikipedia.org/wiki/Queen_(band)
16:30 - คุยกันเรื่องวง “Led Zeppelin” https://en.wikipedia.org/wiki/Led_Zeppelin
17:20 - สไตล์การฟังของนิ้งเปลี่ยนไปไหม
20:25 - แนวเพลงที่คุณพ่อหนูชอบ
21:50 - Vitas - The 7th Element - https://www.youtube.com/watch?v=B5-X_3_Kpww
22:10 - สไตล์การฟังของคุณพ่อหนูเปลี่ยนไปไหม
23:40 - เกริ่นเรื่อง “Auto-Tune” https://en.wikipedia.org/wiki/Auto-Tune
24:25 - ก่อนจบรายการ
24:55 - Bloopers (หลุดๆ)
หนู ธนาสุทธิ์ วุฒิวิชัย กว่า 30 ปี ที่ได้ร่วมงานอ่านสปอตโฆษณา ตัวอย่างหนัง Video Presentation ฯลฯ ให้
กับบริษัทชั้นนำมากมาย
? I help to build a distinctive voice for your brand
? 30 years in #voiceover with the top companies in Thailand
? Co-Founder of @coffeepuppy https://coffeepuppy.com
Website: https://thanasut.com
Instagram: https://instagram.com/thanasut.vudthivichai
TikTok: https://www.tiktok.com/@thanasut
Line: @thanasut (@ นำหน้า)
Facebook: https://www.facebook.com/thanasut.vudthivichai
LinkedIn: https://www.linkedin.com/in/thanasut/
Pinterest: https://www.pinterest.com/thanasut_vudthivichai
Twitter: https://twitter.com/noovoiceover
road wiki 在 Dream Delivery Youtube 的精選貼文
หากสังเกตดูแล้วลูนี่ตูนนั้นจะดำเนินเรื่องไปด้วยตัวเอกที่เป็นตัวละครสัตว์ที่ยืนสองขาซะส่วนใหญ่ ซึ่งก็มีตัวละครที่เราสามารถมองออกได้ง่ายอยู่แล้วว่าเป็นสัตว์ชนิดไหน หรืออีกประเภทที่เราไม่มั่นใจว่ามันคือสัตว์ที่มีชื่อว่าอะไรกันแน่ วันนี้เราจะไปหาคำตอบกันว่าใครเป็นสัตว์อะไรบ้างใน Loonytunes
อ้างอิง :https://looneytunes.fandom.com/wiki/Main_Page
ติดต่องานโฆษณา
➤ E-mail : dreambarcodework@gmail.com
➤ IG : https://goo.gl/WpRcbt (Dreambarcode)
➤ Twitter : https://twitter.com/TitipanP
➤Fanpage : https://www.facebook.com/CartoonDBC
road wiki 在 GitHub: Where the world builds software · GitHub 的推薦與評價
GitHub is where over 73 million developers shape the future of software, together. Contribute to the open source community, manage your Git repositories, ... ... <看更多>