Cookie Run เกมขนมปังขิง คืนชีพ /โดย ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปในปี 2014 หรือราว 6 ปีก่อน Line Cookie Run
ถือเป็นหนึ่งในเกมยอดฮิตบนสมาร์ตโฟนของคนไทย
ฮิตในระดับที่ว่า ปีนั้น Line มีผู้ใช้งานชาวไทยราว 33 ล้านราย
ในขณะที่ Line Cookie Run มียอดดาวน์โหลดในไทย 10 ล้านครั้ง
คิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ใช้งาน Line ทั้งหมดในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม Line Cookie Run ก็ได้ยุติการให้บริการในประเทศไทยไปในปี 2018
ซึ่งเหตุผลที่เป็นไปได้ ก็มีตั้งแต่ตัวเกมได้รับความนิยมน้อยลง ไม่มีคนเติมเงิน
หรืออาจจะเป็นเพราะสัญญาระหว่างผู้พัฒนา และผู้ให้บริการ ที่หมดลง
แต่ในปีนี้ Cookie Run ก็เหมือนจะกลับมาคืนชีพอีกครั้ง
เพราะบริษัทผู้พัฒนาเกมอย่าง Devsisters มีมูลค่าพุ่งขึ้นมากถึง +142% ในเดือนที่ผ่านมา
ดันมูลค่าบริษัททะลุหมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ไปแล้วเรียบร้อย
ก่อนหน้านี้ Cookie Run หายไปไหน
แล้ววันนี้ Cookie Run กลับมาอย่างไร?
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่น เรามารู้จักบริษัท Devsisters
เจ้าของเกม Cookie Run กันก่อน
บริษัท Devsisters ก่อตั้งโดยชาวเกาหลีใต้
ที่ชื่อว่า คุณลี จี ฮุน ในปี 2007 หรือราว 13 ปีก่อน
คุณลี จี ฮุน ได้รุกเข้าสู่ธุรกิจเกมบนสมาร์ตโฟนในปี 2009
หลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ Edutainment
หรือ ซอฟต์แวร์การเรียนการสอน ที่ให้ความรู้และความเพลิดเพลิน
จริงๆ แล้ว ธุรกิจเกมบนสมาร์ตโฟน ถือว่าใหม่มากในสมัยนั้น
ใหม่ในระดับที่ว่า ปีนั้น Apple เพิ่งเปิดตัว iPhone 3GS
ในขณะที่ App Store มีอายุเพียงปีเดียว
ทั้งหมดที่พูดถึงนี้ ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก ในประเทศเกาหลีใต้
อย่างไรก็ตาม คุณลี จี ฮุน ก็ได้เปิดตัวเกมแรกได้สำเร็จ
เกมนั้นก็คือ OvenBreak
เกมดังกล่าวโฟกัสไปที่กลุ่มผู้ใช้งานในประเทศที่มีบริการ App Store
ซึ่ง OvenBreak ถือเป็นหนึ่งในเกมยุคบุกเบิก ที่ประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
OvenBreak ขึ้นแท่นอันดับ 1 เกมที่มียอดดาวน์โหลดสูงสุด
ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย และอีก 16 ประเทศทั่วโลก
ภายในปีเดียวหลังการเปิดตัว
โดยเกม OvenBreak ที่พูดถึงนี้
ก็คือต้นแบบของ Line Cookie Run ในบ้านเรา
ที่มีมาสคอตเป็นขนมปังขิง ชื่อว่า “GingerBrave”
สำหรับคอนเซปต์ของเกม อธิบายง่ายๆ ก็คือ
เราจะเล่นเป็น ตัวละครคุกกี้ ที่ต้องวิ่งหนีเตาอบของแม่มดร้าย
ซึ่งระหว่างทาง ก็ต้องคอยเก็บขนมเพื่อทำคะแนน
และต้องคอยหลบหลีกอุปสรรคเพื่อวิ่งไปให้ไกลที่สุด
ด้วยความที่ตัวละครมีเอกลักษณ์ เข้าใจง่าย
จึงทำให้เกมนี้เข้าถึงกลุ่มคนได้อย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ ตัวเกมก็ยังมีระบบกระดานคะแนนให้เราแข่งขันทำคะแนนกับผู้เล่นรายอื่น
สิ่งเหล่านี้ทำให้ Cookie Run เติบโต จนบริษัทผู้พัฒนาเกมอย่าง Devsisters
ก็ได้กลายมาเป็นบริษัทเนื้อหอมของนักลงทุน ที่สนใจเข้ามาระดมทุน
เริ่มจาก Com2uS ได้เข้ามาระดมทุน 27 ล้านบาทในปี 2010
และในปีถัดมา SoftBank Venture และ MVP Capital
ก็ได้เข้ามาร่วมระดมทุนอีก 107 ล้านบาท
หลังจากได้รับเงินระดมทุน Devsisters ก็ได้เข้าไปทำตลาดในประเทศบ้านเกิดอย่างเกาหลีใต้
โดยร่วมมือกับเจ้าของแอปแช็ต Kakao ให้บริการเกม Cookie Run for Kakao
ต่อจากนั้น ก็ได้ขยายมายังฐานผู้ใช้งาน Line ซึ่งนั่นก็เป็นที่มา
ของ Line Cookie Run ในประเทศไทยที่เราเล่นกันนั่นเอง
ซึ่งเกมดังกล่าว ก็ถือว่าได้รับกระแสตอบรับถล่มทลาย
จากการเติบโตแบบก้าวกระโดด
Devsisters ก็ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ KOSDAQ
หรือตลาดหุ้นสำหรับบริษัทเทคโนโลยีในประเทศเกาหลีใต้ ได้สำเร็จ
แต่จุดนี้เองกลับกลายมาเป็นจุดสูงสุดของบริษัทในรอบ 5 ปี..
เพราะหลังจากนั้น Devsisters ก็ประสบปัญหากับการพัฒนาเกม Cookie Run ตัวใหม่
ซึ่งไม่ว่าจะออกมาอีกกี่เกม ก็กลับไม่ฮิตเหมือนที่เคย
ประกอบกับตัวเกมเรือธงอย่าง OvenBreak ที่เริ่มได้รับความนิยมน้อยลง
ผู้เล่นเริ่มไม่เติมเงิน ผู้พัฒนาเกมค่ายอื่นเริ่มเข้ามาแข่งขัน
รวมถึงสัญญาการให้บริการที่ร่วมกับเจ้าของแอปแช็ตอย่าง Line ได้สิ้นสุดลงในปี 2018
ทั้งหมดนี้ ก็ได้สะท้อนไปยังผลประกอบการของบริษัท Devsisters
ปี 2016 รายได้ 408 ล้านบาท ขาดทุน 264 ล้านบาท
ปี 2017 รายได้ 460 ล้านบาท ขาดทุน 501 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 956 ล้านบาท ขาดทุน 483 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 1,007 ล้านบาท ขาดทุน 357 ล้านบาท
จากตรงนี้ จะเห็นได้ว่าแม้ทางบริษัทจะมีรายได้เพิ่มขึ้น
แต่ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่สูงมาก
จนทำให้บริษัทขาดทุนมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
กดดันให้มูลค่าบริษัทเหลือเพียง 1,400 ล้านบาท
คิดเป็นการลดลงจากจุดสูงสุดถึง -85%
อย่างไรก็ตาม เกมตัวใหม่ของบริษัทอย่าง Cookie Run: Kingdom ที่เพิ่งเปิดตัวในปีนี้ มีแนวโน้มจะกลายมาเป็นเครื่องต่อลมหายใจให้กับ Devsisters อีกครั้ง
เพราะดูเหมือนว่า Cookie Run: Kingdom ทำการบ้านมาดี และรู้ว่าผู้เล่นกำลังมองหาอะไร
เริ่มต้นจากตัวเกม ที่มีส่วนผสมของเกมที่ประสบความสำเร็จและมี Life Cycle ยาวนาน หลายเกมมาผสมกัน
เริ่มต้นจากการให้เราสร้างอาณาจักร และสร้างแหล่งทรัพยากรของเราขึ้นเอง
โดยที่เราสามารถสร้าง และปรับแต่งรูปแบบได้อย่างอิสระ
ตรงนี้จะคล้ายกับเกม Clash of Clans และ Hay Day ซึ่งปัจจุบัน ก็ยังมีฐานผู้เล่นที่เหนียวแน่น
อีกส่วนก็คือ การดำเนินเนื้อเรื่อง
ที่มีลักษณะตะลุยด่านเก็บดาว คล้ายกับ Candy Crush Saga
แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ จะใช้ตัวละครคุกกี้ในการกำจัดมอนสเตอร์ กับบอส เพื่อเคลียร์ภารกิจตามเรื่องราวไปเรื่อย ๆ
ซึ่งคอนเทนต์ กับตัวละครของ Cookie Run ก็ถือว่าขายได้ และมีฐานผู้เล่นที่คุ้นเคย
และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ “โมเดลการสุ่มกาชาปอง”
ที่ถือเป็นสูตรสำเร็จในการทำรายได้ของเกมในยุคนี้
ซึ่งแน่นอนว่ากาชาปองในเกม Cookie Run: Kingdom ก็จะเป็นการลุ้นตัวละคร หรือไอเทมหายาก
เรียกได้ว่าตัวเกม ถูกออกแบบมาให้ “เล่นฟรีก็เล่นได้ แต่ถ้ายอมจ่ายก็จะเก่งขึ้น”
ซึ่งเท่าที่ติดตามมา ก็ดูเหมือนว่ามีผู้เล่นทั้งสองแบบ
นอกจากการสุ่มกาชาปองแล้ว ช่องทางรายได้ส่วนอื่นก็ยังมี
เช่น การขายสกุลเงินในเกม และการขาย Stamina ที่ใช้ในการดำเนินภารกิจ
ด้วยส่วนผสมเหล่านี้ รวมกับตัวละครที่เราคุ้นเคยจาก Cookie Run ก็ดูเหมือนว่า เกมนี้ได้กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง หลังจากที่หายหน้าหายตาไปหลายปี
การกลับมาครั้งนี้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าติดตาม
ซึ่งนักลงทุนก็ดูเหมือนจะรู้ และมองในมุมเดียวกันว่า Cookie Run: Kingdom น่าจะกลายมาเป็นก้าวสำคัญที่จะคืนชีพให้กับบริษัท Devsisters
สะท้อนไปยังมูลค่าของบริษัท Devsisters
ที่ได้พุ่งขึ้นสูงถึง +142% หลังการเปิดตัวเกมใหม่ไม่กี่วัน
จนดันมูลค่าบริษัทให้สูงถึง 11,630 ล้านบาท
ซึ่งถือเป็นระดับที่ทะลุจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท ไปแล้วเรียบร้อย
ถึงตรงนี้ ก็น่าติดตามกันต่อไปว่า Cookie Run จะกลับมาคืนชีพ และพลิกกลับมาทำกำไร พร้อมกับเติบโตในระยะยาวได้ตามมูลค่า ที่นักลงทุนคาดหวังไว้หรือไม่
หากทำได้สำเร็จ Devsisters ก็น่าจะเป็นอีกบริษัท
ที่น่าจับตามองไม่น้อย เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/Devsisters#cite_note-pocketgamer20130730-6
-https://www.devsisters.com/en/story/history/
-https://www.pocketgamer.biz/asia/news/52659/after-conquering-korea-devsisters-signs-a-deal-to-bring-top-grossing-game-cookie-run-to-china/
-http://www.thebell.co.kr/free/content/ArticleView.asp?key=201406050100005760000333&svccode=00&page=1&sort=thebell_check_time
-https://www.venturesquare.net/2651
-https://www.investing.com/equities/devsisters-corp-earnings
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「store capital corp」的推薦目錄:
store capital corp 在 諗sir網 收息債券 Facebook 的最佳解答
巴菲特組合中最高派息選擇
巴菲特持有的前十大股票按收益率計算
第一名來自兩隻消費品防守性領域的 The Kraft Heinz Co卡夫亨氏公司(5.06%派息)。同類型有可口可樂公司(3.27%)
排名第二是唯一的房地產行業代表 STORE Capital Corp(4.94%)
第三名和第五名到第九名是六隻金融服務代表。排在第三位的是美國銀行。其餘五項金融服務分別是: M&T Bank Corp 、PNC金融服務集團、摩根大通、 Bank of New York Melon Corp和Synchrony financial
最後,來自能源行業的唯一代表Suncor energy獲得第四名
store capital corp 在 彭博商業周刊 / 中文版 Facebook 的最佳解答
【即時頭條】巴菲特的押注露端倪 零售物業並非榮枯與共
巴菲特的投資顯示,他認為在亞馬遜時代,某些類型的零售物業會比其他類型的物業境況更好。
巴菲特的巴郡公司收購了Store Capital Corp. 9.8%的股權,推動這家房地產投資信託的股價6月26日大漲。消費者從線下轉移至線上導致不少零售物業持有公司面臨壓力,但和這些房地產公司不同,Store Capital專注於所謂的服務性質的物業:學前教育設施、健康俱樂部、提供座上用餐服務的電影院和寵物護理場所。其投資組合中只有不到五分之一投資於傳統零售業——即使這些,該公司也認為能夠抵禦網絡入侵,包括傢俱店、興趣愛好和手工藝中心,以及狩獵、釣魚和露營商店。
「Store並不在傳統領域競爭,」瑞穗證券美國公司分析師Haendel St. Juste表示,「他們瞄準的是那些更加強調使用者親身體驗的零售領域,試圖針對風險構築緩衝。」
由於亞馬遜等網商使得消費者網購衣物、玩具等商品更加便利,導致零售REIT大受打擊。但巴菲特長期以來一直對房地產投資表達了信心,不僅可以產生長期收入,也可以在美元貶值情況下實現保值。他說過,無論是建築物還是農場,這樣的押注通常比黃金或債券更安全。
Store Capital6月26日公告稱,將以每股20.25美元的價格,向巴郡公司定向增發1860萬股。該股6月23日收盤價20.77美元。在這筆3.77億美元的投資之前,巴郡公司還同意出手襄助加拿大的Home Capital Group Inc.,不僅提供授信,還承諾投資入股。
「巴郡公司的投資鞏固了Store Capital的地位,為持續增長打下基礎,」這家REIT的行政總裁Christopher Volk在聲明中說,「歷史上最受敬仰的投資者之一投資我們公司,代表了信心投票。」
2017年截至6月23日,Store Capital股價下跌16%。6月26日該股最高上漲了11%,創下該公司2014年IPO以來的最大漲幅。在巴郡公司同意入股之前,Home Capital跌幅更大;在巴郡公司入股之後,Home Capital股價當天上漲了27%。(撰文:Sarah Mulholland、Noah Buhayar)
#巴郡 #巴菲特 #亞馬遜