Unity แพลตฟอร์มที่ใช้สร้างวิดีโอเกม ครึ่งหนึ่งของโลก /โดย ลงทุนแมน
แม้ว่าโลกของเราจะมี เกมชื่อดังมากมาย เช่น Pokémon GO, League of Legends, Genshin Impact, Among Us, Garena Free Fire หรือ Overcooked
แต่รู้หรือไม่ว่าเกมที่ยกตัวอย่างมานี้ ถูกพัฒนาขึ้นจาก เกมเอนจิน หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างวิดีโอเกม
ที่ชื่อว่า “Unity” ซึ่งปัจจุบันครอบครองส่วนแบ่งเกินกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์พัฒนาเกมบนโลก
แล้วเรื่องราว Unity มีที่มาที่ไปอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ธุรกิจเกม ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจ ที่กำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด
ตลาดเกมทั่วโลกในปี 2005 มีมูลค่า 882,000 ล้านบาท
ตลาดเกมทั่วโลกในปี 2020 มีมูลค่า 5,810,000 ล้านบาท
คิดเป็นการเติบโต 6.6 เท่า หรือเติบโตเฉลี่ย 13.4% ต่อปี ตลอดช่วง 15 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งการเติบโตนี้ ก็มาจากเกมบนสมาร์ตโฟนเป็นหลัก ที่มีการเติบโตสูงสุดเมื่อเทียบกับเกมบนแพลตฟอร์มอื่นอย่างเช่น PC และเกมคอนโซล และปัจจุบันเกมบนสมาร์ตโฟนก็คิดเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดกว่า 45% ของเกมทั่วโลก
หนึ่งในบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของเกมบนสมาร์ตโฟนไปเต็ม ๆ ก็คือ “Unity Technologies” ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาเกมเอนจิน หรือแพลตฟอร์มที่ใช้พัฒนาวิดีโอเกม ที่ชื่อว่า “Unity” เพราะบริษัทแห่งนี้มีส่วนแบ่งตลาดซอฟต์แวร์พัฒนาเกมเกินกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าทั้งหมดบนโลก
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลอื่น ๆ อีก เช่น
- เกมที่ได้รับความนิยมสูงสุด 1,000 อันดับแรกบนสมาร์ตโฟน มี 710 เกมที่พัฒนาโดยใช้ Unity
- แอปพลิเคชันที่สร้างโดยใช้ Unity มียอดดาวน์โหลดรวมกันกว่า 5 พันล้านครั้งต่อเดือน
- คอนเทนต์ทุกรูปแบบที่สร้างโดยใช้ Unity มีผู้ใช้งานรวมกันกว่า 2.5 พันล้านคนต่อเดือน
พูดง่าย ๆ ว่าเราคงเคยผ่านการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ถูกสร้างโดยใช้ Unity มาบ้างแล้ว
Unity เป็นเกมเอนจิน ที่รองรับการใช้งานได้ทุกระบบปฏิบัติการ
ไม่ว่าจะเป็น macOS, Microsoft Windows และเว็บเบราว์เซอร์
ที่ทำภาพได้ทั้งแบบ 2D และจะโดดเด่นเรื่อง 3D เป็นพิเศษ
ในสมัยก่อน บริษัทพัฒนาเกมแต่ละแห่งจะนิยมสร้างเกมเอนจินเป็นของตัวเอง แต่สมัยนี้บริษัทพัฒนาเกมจะหันมาใช้เกมเอนจินมากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการประหยัดต้นทุน และความสะดวกรวดเร็ว สามารถปรับแต่งได้ง่าย
ถ้าให้นึกภาพแบบง่าย ๆ ตัวอย่างเช่น งานออกแบบกราฟิก ผู้ออกแบบจะนิยมใช้ซอฟต์แวร์ชื่อ Adobe Illustrator แต่สำหรับการพัฒนาเกมแล้ว Unity จะเป็นซอฟต์แวร์ ที่ผู้พัฒนาเกมนิยมใช้กัน
ผู้พัฒนาเกมที่ใช้งาน Unity ยังสามารถทำเกมออกมาเพียงครั้งเดียว แล้วนำไปใช้กับแพลตฟอร์มได้หลากหลายกว่า 20 แพลตฟอร์ม หรือเรียกว่า “Cross-Platform” โดยไม่ต้องเขียนโคดใหม่อีกรอบ ไม่ว่าจะเป็นเกมในเวอร์ชัน PC, Xbox, PlayStation, Nintendo Switch, iOS และ Android
ที่สำคัญก็คือ Unity เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่ายแต่ประสิทธิภาพสูง จนใครก็ตามที่อยากสร้างเกมเองสามารถใช้งานได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนโคดเป็น ไม่ต้องเป็นนักพัฒนามืออาชีพ ไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนก้อนใหญ่ นักพัฒนาเกมอินดี้หรือคนที่อยากทำเกมเป็นงานอดิเรกก็สามารถทำได้
ซึ่งจุดนี้ก็ทำให้ Unity ต่างไปจากคู่แข่งคนสำคัญอย่าง Unreal Engine ของบริษัท Epic Games ที่เลือกเจาะตลาดค่ายเกมขนาดใหญ่ ที่พัฒนาเกมคุณภาพกราฟิกสูง และเป็นเกมที่เล่นบน PC และเกมคอนโซลเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น เกม Fortnite และ PUBG
แล้ว Unity มีจุดเริ่มต้นอย่างไร ?
ย้อนกลับไปในปี 2002 หรือเมื่อ 19 ปีก่อน ที่เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
Nicholas Francis โปรแกรมเมอร์ชาวเดนมาร์ก ที่อาศัยอยู่ในเมืองโคเปนเฮเกน
และ Joachim Ante นักเรียนมัธยมปลาย ที่เรียนอยู่ในประเทศเยอรมนี
ทั้งคู่กำลังพัฒนาเกมเอนจินของตัวเอง และได้รู้จักกันผ่าน OpenGL ซึ่งเป็น API ที่เกี่ยวกับการใช้งานกราฟิก 2D และ 3D
Francis และ Ante พูดคุยกันถูกคอ เลยชวนกันมาพัฒนาระบบช่วยสร้างภาพ 3 มิติ ที่ใช้งานได้บนเกมเอนจินของเขาทั้งคู่ แต่ต่อมาเมื่อทั้งคู่ได้นัดพบและพูดคุยกัน ก็ตัดสินใจล้มเลิกแผนนั้น แล้วหันมาสร้างเกมเอนจินใหม่ด้วยกัน
ทั้งคู่เช่าแฟลตในเมืองโคเปนเฮเกนเพื่อร่วมกันพัฒนาเกมเอนจิน ซึ่งไม่ไกลจากแฟลตที่พวกเขาเช่า ก็คืออะพาร์ตเมนต์ที่เพื่อนของ Francis ที่ชื่อว่า David Helgason อาศัยอยู่
Helgason เป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ฟรีแลนซ์ เมื่อเขาได้พูดคุยและเห็นสิ่งที่ Francis และ Ante ร่วมกันทำอยู่หลายเดือน เขาจึงเริ่มสนใจและเข้ามาร่วมทีมด้วยในที่สุด
จนในปี 2004 Francis, Ante และ Helgason ใช้เงินเก็บและเงินจากพ่อของ Ante ราว 1 ล้านบาท มาร่วมกันก่อตั้งสตูดิโอทำเกมควบคู่ไปกับการพัฒนาเกมเอนจินคุณภาพสูง โดยใช้ชื่อบริษัทว่า “Over the Edge Entertainment (OTEE)”
หลังจากเปิดบริษัทไปได้สักพัก พวกเขาก็เปิดรับสมัคร CEO เพราะมองว่าเทคโนโลยีที่ดีอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการเติบโตของบริษัท ต้องมีผู้นำทางธุรกิจที่เก่งด้วย แต่สุดท้ายแล้วพวกเขาก็ไม่เจอคนที่ถูกใจและมีวิสัยทัศน์ตรงกัน
Helgason ซึ่งถูกลงความเห็นว่าเป็นคนที่เหมาะสมที่สุดในพวกเขา 3 คน จึงเป็น CEO ส่วน Francis เป็น COO และ Ante เป็น CTO
หลังจากพวกเขาพัฒนาเกมเอนจินสำเร็จ ก็ทดลองนำมาใช้สร้างเกม จนกระทั่ง OTEE ได้เปิดตัวเกมแรกที่ชื่อว่า GooBall ในเดือนมีนาคม ปี 2005
แต่เกม GooBall ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่ง Ante ก็ได้วิเคราะห์ว่าคงเพราะเกมเล่นยากเกินไป
แต่ความพยายามที่ผ่านมาก็ไม่ได้สูญเปล่า เพราะพวกเขาได้เห็นแล้วว่าเกมเอนจินที่ร่วมกันพัฒนามา มีศักยภาพสูงพอที่จะต่อยอดไปให้คนมากมายใช้งานได้
ทั้ง 3 คนเลยเปลี่ยนใจจากการทำเกม มาเป็นการพัฒนาเครื่องมือทำเกมแทน ซึ่งพวกเขาได้ใช้เงินที่ได้จากการขายเกม GooBall มาจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่ม
อีก 3 เดือนถัดมา OTEE ได้เปิดตัวเกมเอนจินที่ชื่อ “Unity” ในงาน Apple Worldwide Developers Conference (WWDC) ที่เริ่มจากเป็นเกมเอนจินที่มีเฉพาะใน MAC OS X และหลังจากนั้นไม่นานก็มีให้ใช้งานได้ใน Microsoft Windows และเว็บเบราว์เซอร์
ช่วงแรกที่เปิดตัว ผู้ใช้งานหลักของ Unity ก็คือคนที่ทำเกมเป็นงานอดิเรกและนักพัฒนาอินดี้แบบที่ทางบริษัทได้ตั้งใจไว้ โดย OTEE มีรายได้จากการเก็บค่า Subscription หรือค่าบริการรายเดือนหรือรายปี
ผ่านไป 2 ปี ในปี 2007 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Unity Technologies
ในปีเดียวกันนี้ บริษัท Apple ก็ได้เปิดตัว iPhone เป็นครั้งแรก
ซึ่งทำให้ Unity ได้เริ่มพัฒนาเป็นแอปพลิเคชันสำหรับใช้งานบน iPhone
แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ iPhone ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ตลาดเกมทั่วโลกเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากเกมบนสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต จนกลายมาเป็นจุดพลิกผันที่ทำให้ผู้ใช้งาน Unity เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปี 2009 Unity Technologies ได้ย้ายสำนักงานไปยังเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเมืองแห่งเทคโนโลยีที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการเติบโตของสตาร์ตอัป
จนในที่สุด Unity Technologies ก็สามารถระดมทุน Series A ได้จาก Sequoia Capital ซึ่งเป็น Venture Capital อันดับต้น ๆ ของโลก
แต่ในปี 2013 หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทอย่าง Francis ก็ขอลาออกจากตำแหน่ง COO ของบริษัท
หลังจากนั้นเพียงปีเดียว Helgason ก็ขอลงจากตำแหน่ง CEO แต่ยังคงเป็นกรรมการบริษัทอยู่ ซึ่งเขาให้เหตุผลว่าบริษัทเริ่มใหญ่ขึ้นแล้ว ปัจจุบันมีเพียง Ante ที่ยังคงเป็น CTO ต่อจนถึงปัจจุบัน
CEO ที่ได้รับความไว้วางใจให้มารับตำแหน่งต่อจาก Helgason ก็คือ “John Riccitiello” อดีต CEO ของ Electronic Arts (EA) โดย Helgason บอกว่า Riccitiello คือคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งนี้ที่สุด
และก็เป็นไปตามที่ Helgason พูด เพราะตั้งแต่ที่ Riccitiello เข้ามา ก็ได้ทำให้ Unity เป็นมากกว่าเกมเอนจิน
Unity เริ่มให้บริการอื่นเพื่อสนับสนุนผู้พัฒนาเกมในหลาย ๆ ด้าน ให้ครบวงจรมากขึ้น
โดยเฉพาะบริการที่ดูแลเรื่องการหารายได้จากเกมให้กับผู้พัฒนา
ยกตัวอย่างเช่น การเป็นพันธมิตรกับบริษัทโฆษณาขนาดใหญ่เพื่อดึงให้มาโฆษณาในเกม
ซึ่งก็จะทำให้ผู้พัฒนาเกมมีรายได้จากค่าโฆษณา และ Unity ก็ได้ส่วนแบ่งค่าโฆษณานั้นด้วย
และหนึ่งในจุดพลิกผันที่สำคัญที่สุด เกิดขึ้นในปี 2016 เมื่อเกม Pokémon GO ที่สร้างความฮือฮาด้วยการใช้ AR ในเกมบนสมาร์ตโฟน จนได้รับความนิยมแบบถล่มทลายไปทั่วโลก เป็นเกมที่พัฒนาโดยใช้ Unity
ความสำเร็จของ Pokémon GO ก็ทำให้ในปีนั้น Unity กลายเป็นสตาร์ตอัปเนื้อหอมที่ดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาระดมทุนอย่างรวดเร็ว จนบริษัทได้มีมูลค่าประเมินทะลุ 32,000 ล้านบาท กลายเป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์นทันที
ในที่สุด Unity ก็เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กในปลายปี 2020 ซึ่งปัจจุบันบริษัท Unity มีมูลค่า 1.2 ล้านล้านบาท
แล้วผลประกอบการที่ผ่านมาของ Unity เป็นอย่างไร ?
ปี 2018 รายได้ 12,400 ล้านบาท ขาดทุน 4,300 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 17,700 ล้านบาท ขาดทุน 5,300 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 25,200 ล้านบาท ขาดทุน 9,200 ล้านบาท
รายได้เติบโตได้ปีละกว่า 40% และบริษัทยังมีอัตรากำไรขั้นต้น หรือรายได้หักต้นทุนสินค้าและบริการสูงถึงเกือบ 80% แต่ที่บริษัทยังขาดทุนก็เพราะว่า Unity ใช้เงินไปกับการลงทุนวิจัยและพัฒนาที่สูงเช่นกัน
ซึ่งสูงในระดับที่เป็นสัดส่วนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้
สำหรับการคิดค่า Subscription ของ Unity จะเป็นระบบ Freemium คือมีทั้งแบบใช้งานได้ฟรีและแบบจ่ายเงิน ที่มีให้เลือก 3 แพ็กเกจ จากระดับราคาน้อยไปมาก คือ Pro, Premium และ Enterprise
Unity ยังกำหนดเพิ่มเติมว่า ผู้พัฒนาจะยังใช้บริการแบบฟรีได้
แต่ถ้ารายได้หรือเงินทุนของผู้พัฒนามากกว่า 3.2 ล้านบาท ใน 12 เดือนที่ผ่านมา จะต้องใช้แพ็กเกจระดับ Plus หรือสูงกว่า และถ้ารายได้หรือเงินทุนของผู้พัฒนามากกว่า 6.4 ล้านบาท ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จะต้องใช้แพ็กเกจระดับ Pro หรือ Enterprise
อย่างไรก็ตาม รายได้ที่มาจากค่า Subscription กลับไม่ใช่รายได้หลักของ Unity เพราะมีสัดส่วนเพียง 26.5% ของรายได้ทั้งหมด
แต่รายได้หลักของ Unity ที่เป็นสัดส่วนรายได้ 66.8% มาจาก Operate Solutions หรือบริการที่ช่วยสนับสนุนการทำเงินจากเกมให้กับผู้พัฒนาเกม เช่น ค่าโฆษณา ซึ่งเป็นส่วนที่ CEO อย่างคุณ Riccitiello เริ่มต่อยอดมาตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง
ส่วนรายได้อีก 6.7% มาจากบริการอื่น ๆ เช่น จาก Asset Store ที่เป็น Marketplace ให้ผู้ใช้งานไปซื้อขายงานและโคดกันได้
นอกจากวิดีโอเกมแล้ว Unity ยังกลายมาเป็นซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้กับงาน 3D ในงานอื่นด้วย อย่างเช่น งานออกแบบ 3D งานภาพยนตร์ งานออกแบบสถาปัตยกรรม หรืองานออกแบบรถยนต์
ยกตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ BMW ใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวจำลองเพื่อทดสอบระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ และ Honda ใช้ออกแบบรถ หรือในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ Disney ใช้ Unity ทำภาพแบ็กกราวนด์ในภาพยนตร์เรื่อง The Lion King เวอร์ชันปี 2019
แต่ที่น่าจับตามองที่สุด ก็คงเป็นเมกะเทรนด์อย่าง AR และ VR ซึ่งข้อมูลในปัจจุบันระบุว่ากว่า 60% ของคอนเทนต์ AR และ VR ทั้งหมด ทำโดยใช้ Unity
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Unity ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากการพัฒนาเครื่องมือสร้างวิดีโอเกมให้ใครก็ตามที่อยากสร้างเกมได้ใช้ และต่อยอดจนกำลังจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างโลกเสมือน
ซึ่งก็ไม่แปลกเลยที่ปัจจุบัน บริษัทแห่งนี้ได้กลายเป็นผู้อยู่เบื้องหลังวิดีโอเกม กว่าครึ่งหนึ่งของโลก เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://techcrunch.com/2019/10/17/how-unity-built-the-worlds-most-popular-game-engine/
-https://techcrunch.com/2009/08/14/interview-nicholas-francis-coo-of-unity-the-leading-iphone-game-development-platform/
-https://techcrunch.com/2020/09/10/how-unity-built-a-gaming-engine-for-the-future/
-https://theorg.com/insights/with-news-unity-technologies-is-going-public-the-org-looks-into-the-key
-https://www.cbinsights.com/research/game-engines-growth-expert-intelligence/
-http://web.wpi.edu/Pubs/E-project/Available/E-project-030614-143124/unrestricted/Haas_IQP_Final.pdf
-https://investors.unity.com/overview/default.aspx
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過2萬的網紅威宇 & 阿堯,也在其Youtube影片中提到,#記得打開字幕 美國大型基金每季都要繳交一份文件,說明他們這季的持股狀況,這就是今天要來介紹的 13F。 前投信研究員 podcast 訪談: ▶️ Apple Podcast:https://reurl.cc/629Z3V ▶️ Spotify:https://reurl.cc/8GzoAR ▶...
「sequoia capital」的推薦目錄:
- 關於sequoia capital 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於sequoia capital 在 Facebook 的精選貼文
- 關於sequoia capital 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於sequoia capital 在 威宇 & 阿堯 Youtube 的精選貼文
- 關於sequoia capital 在 Sequoia Capital - YouTube 的評價
- 關於sequoia capital 在 Sequoia Capital India - Home | Facebook 的評價
- 關於sequoia capital 在 Sequoia makes 44 times return on YouTube - Infrastructure ... 的評價
sequoia capital 在 Facebook 的精選貼文
Canva今年四月那輪估值150億美金,現在又募到新一輪估值暴衝至400億
這家公司就是我拿來做財報圖的網路工具
sequoia capital 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
รู้จัก Sequoia เจ้าพ่อ VC ที่สตาร์ตอัปทุกราย อยากเข้าหา /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงบริษัทจัดการลงทุนที่ประสบความสำเร็จระดับโลก หลายคนคงนึกถึง Berkshire Hathaway ของนักลงทุนระดับตำนานอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์
หรือ Bridgewater Associates ของผู้จัดการกองทุน Hedge Fund อย่าง เรย์ ดาลิโอ
แต่รู้หรือไม่ว่า มีอีกบริษัทที่ประสบความสำเร็จในโลกการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี หรือสตาร์ตอัป คือบริษัทที่ชื่อว่า “Sequoia Capital”
Sequoia Capital เป็นหนึ่งในผู้ให้เงินทุนสนับสนุนแก่บริษัทระดับโลกมากมาย เช่น Google, YouTube, Instagram, Cisco, PayPal และ Airbnb ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของบริษัท จนมีส่วนสำคัญให้บริษัทเหล่านี้ สามารถเติบโตจนยิ่งใหญ่ได้ในแบบทุกวันนี้
และผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จครั้งนี้ คือชายที่ชื่อว่า “Donald Thomas Valentine”
เขาคือผู้ก่อตั้ง Sequoia Capital ซึ่งช่วยผลักดันเหล่าบริษัทเทคโนโลยี ให้กลายเป็นยักษ์ตัวใหญ่ จนเขาได้รับฉายาว่าเป็น “หนึ่งในผู้สร้าง Silicon Valley” เลยทีเดียว..
เส้นทางของ Donald Valentine ในโลกการลงทุน เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วการลงทุนที่ประสบความสำเร็จของ Sequoia Capital มีอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Donald Thomas Valentine หรือ Don Valentine เกิดที่รัฐนิวยอร์ก เมื่อปี ค.ศ. 1932
เขาเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัย Fordham ในสาขาวิชาเคมี
ก่อนที่จะย้ายไปแคลิฟอร์เนีย ในช่วงปี ค.ศ. 1950 เพื่อเข้าทำงานที่ Raytheon Company หนึ่งในบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ซึ่งกำลังเติบโตได้ดีในช่วงนั้น
ในช่วงเริ่มต้นของการทำงาน คุณ Don เริ่มทำงานจากการเป็นวิศวกรฝ่ายขาย
จากนั้นช่วงปี ค.ศ. 1960 เขาได้ย้ายไปทำงานที่ Fairchild Semiconductor ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นบริษัทที่เป็นต้นกำเนิดของบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ ระดับโลกทั้งหลายในปัจจุบัน เช่น Intel, AMD จากการที่ผู้บริหารของบริษัท แยกตัวออกมาก่อตั้งบริษัทเองในภายหลัง
คุณ Don เขาได้สร้างผลงานที่โดดเด่น อย่างตอนที่ทำงานอยู่ที่ Fairchild Semiconductor ก็ได้สร้างทีมขายที่แข็งแกร่งขึ้นมา
ด้วยความที่บริษัท Fairchild Semiconductor มีบุคลากรที่มีความสามารถอยู่แล้ว เช่น Gordon Moore ผู้ก่อตั้งบริษัท Intel บวกกับความสามารถในการขายของคุณ Don ทำให้บริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในทุก ๆ ปี
จนในปี ค.ศ. 1966 บริษัทมียอดขายในส่วนของเซมิคอนดักเตอร์เป็นอันดับสองในสหรัฐอเมริกา เป็นรองเพียง Texas Instruments เท่านั้น
หลังจากทำงานที่ Fairchild Semiconductor ได้ 7 ปี เขาก็ย้ายงานออกมาทำงานที่ National Semiconductor ในตำแหน่งรองประธานฝ่ายขายและการตลาด
แม้จะเชี่ยวชาญในเรื่องการขายและการทำการตลาด
แต่ด้วยความที่ทำงานกับบริษัทเทคโนโลยี ได้คลุกคลีกับวงการธุรกิจนี้มานาน ทำให้เขาเริ่มเข้าใจว่า บริษัทเทคโนโลยีแบบไหนที่คาดว่าจะเติบโตได้ดี และดูมีอนาคต
นั่นทำให้อีกสิ่งหนึ่งที่คุณ Don ชอบและทำควบคู่กันมาตลอด คือการลงทุนในบริษัทต่าง ๆ โดยเฉพาะบริษัทที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
ซึ่งในระหว่างทำงานที่ National Semiconductor เขามีหน้าที่ ในการอธิบายการบริหารธุรกิจในส่วนของเซมิคอนดักเตอร์ให้กับผู้ลงทุนและบริษัทจัดการการลงทุนต่าง ๆ
นั่นทำให้ความสามารถของเขาในการวิเคราะห์ ความเข้าใจในธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ และความเข้าใจในธุรกิจเทคโนโลยี เป็นที่รู้จักของบริษัทและผู้จัดการกองทุนมากมาย
จนวันหนึ่งความสามารถในการขาย วิเคราะห์ และการลงทุนของเขาก็ไปสะดุดตาของ Capital Group หนึ่งในบริษัทด้านการเงิน การลงทุน ที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก ซึ่งถือเป็นผู้เบิกทางให้กับคุณ Don เลยก็ว่าได้
Capital Group ได้ยื่นข้อเสนอให้คุณ Don มาร่วมบริหารจัดการเงินลงทุน โดยทาง Capital Group จะเป็นผู้ช่วยจัดการในการก่อตั้ง และระดมทุนให้ในช่วงแรก
นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้คุณ Don สามารถก่อตั้ง Sequoia Capital ขึ้นมาได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1972
โดยมี Capital Group เป็นผู้ให้เงินทุนก้อนแรกกับคุณ Don เป็นมูลค่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 1974
คุณ Don เคยบอกไว้ว่า เขาเลือกใช้ชื่อ Sequoia Capital
ตามชื่อของต้น “Sequoia” ซึ่งเป็นต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ สามารถมีความสูงได้มากถึง 85 เมตร
โดยเขาต้องการให้กองทุนของเขายิ่งใหญ่เปรียบเสมือนต้น Sequoia
การลงทุนครั้งแรกของ Sequoia Capital เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1975 เป็นการลงทุนในบริษัท Atari ซึ่ง Atari เป็นบริษัทแรก ๆ ที่บุกเบิกวิดีโอเกม เครื่องเล่มเกม และเกมคอมพิวเตอร์ ในสหรัฐอเมริกา
ในปี ค.ศ. 1976 Atari ถูกขายให้กับ Warner Communications ดีลนี้มีมูลค่า 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าทำกำไรให้ Sequoia Capital ได้มาก
และนับว่าเป็นการลงทุนครั้งแรก ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จเลยทีเดียว สำหรับ Sequoia Capital
การลงทุนในครั้งนั้น ยังทำให้เขาได้พบกับ สตีฟ จอบส์ ซึ่งในเวลานั้นทำงานอยู่ที่ Atari เป็นเหตุให้คุณ Don ได้เข้าลงทุนกับ Apple ในปี ค.ศ. 1978 ด้วยเงินจำนวน 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งในตอนนั้น การลงทุนในบริษัท Apple ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง เนื่องจาก Apple เพิ่งก่อตั้งมาได้เพียง 2 ปี และยังไม่ได้มีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จมากอย่างทุกวันนี้
แต่การลงทุนใน Apple ดูจะเป็นการลงทุนที่ไม่ค่อยน่าประทับใจเท่าไรนัก เนื่องจาก Sequoia Capital ได้ถอนการลงทุนจาก Apple ในปี ค.ศ. 1979
แต่หลังจาก Sequoia Capital ถอนเงินลงทุนได้เพียงปีเดียว สตีฟ จอบส์ ก็สามารถพา Apple เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ได้สำเร็จ..
แม้คุณ Don จะพลาดโอกาสสร้างผลตอบแทนมหาศาลจาก Apple
แต่หลังจากนั้น เขาก็ยังคงมองหาบริษัทที่มีไอเดียที่ดี เพื่อเข้าลงทุนต่ออย่างต่อเนื่อง
จน Sequoia Capital มีผลงานที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีการลงทุนครั้งสำคัญ เช่น
Cisco Systems เป็นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอเมริกัน ที่เน้นการขายซอฟต์แวร์ อย่างเช่น โปรแกรมดูแลความปลอดภัยด้านไซเบอร์ และระบบคลาวด์
โดย Sequoia Capital เข้าลงทุนใน Cisco Systems เป็นเงินมูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ. 1987 หลังจากที่ Cisco ก่อตั้งได้เพียง 3 ปี หลังจากนั้นอีก 3 ปีต่อมา Cisco ก็สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ได้
จุดเปลี่ยนสำคัญของ Sequoia Capital ส่วนหนึ่งมาจากการเข้ามาของ Michael Moritz ในปี ค.ศ. 1986 และ Douglas Leone ในปี ค.ศ. 1988
ทั้งคู่เข้ามามีบทบาทในการช่วยเลือกบริษัทที่ Sequoia Capital จะเข้าไปลงทุน
ตัวอย่างผลงานที่ทั้งสองคนมีส่วนในการตัดสินใจ เช่น
YouTube ซึ่งนับเป็นการลงทุนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากครั้งหนึ่งของ Sequoia Capital
ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2005 Sequoia Capital เข้าลงทุนใน YouTube เป็นเงินประมาณ 462 ล้านบาท โดยแลกกับหุ้น 30%
และต่อมาในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2006 YouTube ก็ถูกซื้อกิจการทั้งหมดโดย Google ซึ่งดีลนี้มีมูลค่าราว ๆ 54,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าคูณตามสัดส่วน มูลค่าหุ้นที่ Sequoia Capital ขาย ก็น่าจะอยู่ในหลักหมื่นล้านบาท
ทั้ง Michael Moritz และ Douglas Leone ที่สามารถสร้างผลงานได้อย่างโดดเด่น
ทำให้ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1990 คุณ Don จึงได้ส่งไม้ต่อให้ทั้งคู่เข้ามามีบทบาทในการควบคุมและบริหารบริษัทต่อจากเขา
นอกจาก YouTube แล้ว Sequoia Capital ยังเป็นผู้ลงทุนในบริษัทที่เรารู้จักกันดีอีกหลายแห่งตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Instagram, PayPal, Electronic Arts และ LinkedIn
ด้วยความสำเร็จมากมายจากการลงทุนในบริษัทสตาร์ตอัปทั้งหลาย
ปัจจุบัน Sequoia Capital ถือเป็นหนึ่งใน Venture Capital
ที่บรรดาสตาร์ตอัปต่างเข้าหา และต้องการเงินทุนสนับสนุนจากพวกเขามากที่สุด
พูดได้ว่า หากเปิดดูข้อมูลการระดมทุนของบริษัทไหน แล้วเจอชื่อของ Sequoia Capital เข้าไปลงทุน
ก็จะเสมือนเป็นเครื่องหมายการันตีว่า สตาร์ตอัปนั้นมีอนาคตแน่นอน
และสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนรายอื่น ๆ ที่จะเข้ามาให้เงินสนับสนุนกับบริษัท ในระยะถัดไป
ตัวอย่างสตาร์ตอัป ที่ Sequoia Capital เข้าลงทุนตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ เช่น
- Airbnb แพลตฟอร์มจองและแชร์ที่พักที่มีเครือข่ายทั่วโลก
- DoorDash แพลตฟอร์มฟูดดิลิเวอรี เจ้าใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
- Snowflake บริษัทให้บริการเกี่ยวกับคลังข้อมูล และบริการ Cloud Computing
- Unity บริษัทเจ้าของเกมเอนจิน หรือเรียกง่าย ๆ ว่าแพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือสำเร็จรูปสำหรับสร้างเกม โดยมีตัวอย่างเกมที่สร้างโดยตัวแพลตฟอร์มนี้ เช่น Among Us, RoV
นอกจากการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกาแล้ว
ปัจจุบัน Sequoia Capital ยังมีกองทุนที่เปิดให้บริการนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกาด้วย ได้แก่
- Sequoia Capital China เน้นการลงทุนในประเทศจีน
- Sequoia Capital India เน้นการลงทุนในประเทศอินเดีย และโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- Sequoia Capital Israel เน้นการลงทุนในประเทศอิสราเอล
ซึ่งปัจจุบัน หากนับรวมมูลค่าบริษัทที่ Sequoia Capital เข้าไปร่วมลงทุนทั้งหมด จะมีมูลค่าบริษัทรวมกันคิดเป็นทั้งหมด 107 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว
ถึงแม้คุณ Don Valentine จะเสียชีวิตไปแล้วเมื่อปี ค.ศ. 2019
แต่ในวันนี้ต้น Sequoia ที่เขาปลูกไว้เมื่อ 49 ปีก่อน
ก็ได้เติบโตเป็นต้น Sequoia ที่ยิ่งใหญ่ ตามที่เขาตั้งใจไว้
และต้นไม้ต้นนี้ ก็ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ
ที่มีส่วนให้บริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ได้แจ้งเกิดและยิ่งใหญ่ขึ้นมา อย่างนับไม่ถ้วน นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.sequoiacap.com/article/remembering-don-valentine/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Sequoia_Capital
-https://www.blockdit.com/posts/60218f26a95fa30bb4f78b89
-https://en.wikipedia.org/wiki/Don_Valentine
-https://www.sequoiacap.com/company-story/cisco-story/
-https://www.longtunman.com/30858 -https://www.investopedia.com/articles/markets/113015/if-you-had-invested-right-after-ciscos-ipo.asp
-https://www.nytimes.com/2006/10/10/technology/10payday.html
-https://www.blockdit.com/posts/5eaa58139939070cacce1f93
-https://en.wikipedia.org/wiki/Fairchild_Semiconductor
-https://en.wikipedia.org/wiki/Sequoia_Capital
-https://www.quora.com/How-much-venture-capital-did-Apple-Computer-initially-raise
-https://golden.com/wiki/Sequoia_Capital_India-VWKKEBE
-https://golden.com/wiki/Sequoia_Capital_China-4NAE99X
-https://www.crunchbase.com/organization/sequoia-capital-israel
-https://www.sequoiacap.com/companies/
-https://pitchbook.com/news/articles/don-valentine-longtime-lion-of-silicon-valley-dies-at-87
-https://digitalassets.lib.berkeley.edu/roho/ucb/text/valentine_donald.pdf
sequoia capital 在 威宇 & 阿堯 Youtube 的精選貼文
#記得打開字幕
美國大型基金每季都要繳交一份文件,說明他們這季的持股狀況,這就是今天要來介紹的 13F。
前投信研究員 podcast 訪談:
▶️ Apple Podcast:https://reurl.cc/629Z3V
▶️ Spotify:https://reurl.cc/8GzoAR
▶️ Google Podcast:https://reurl.cc/oLp1og
Invest With The House:https://www.amazon.com/Invest-House-Hacking-Hedge-Funds-ebook/dp/B01A3L1VEO
這本書主要是回測 2000~2015 跟單可以超過大盤的經理人,有幾個在這幾年表現不好,大家還是要研究一下:
1. Berkshire Hathaway, Warren Buffett, and Charlie Munger
2. Appaloosa Management, David Tepper
3. Ariel Investments, John W. Rogers Jr.
4. Avenir Corporation, Charles Mackall Jr.
5. Barrow, Hanley, Mewhinney & Strauss
6. The Baupost Group, Seth Klarman
7. Chieftain Capital Management/Brave Warrior, Glenn Greenberg
8. Cobalt Capital Management, Wayne Cooperman
9. Eagle Capital Management, Ravenel Boykin Curry
10. Eminence Capital LLC, Ricky Sandler
11. Gardner, Russo, and Gardner
12. Greenlight Capital, David Einhorn
13. LSV Asset Management, Josef Lakonishok
14. PAR Capital Management, Paul A. Reeder III
15. Raiff Partners, Robert Raiff
16. Ruanne, Cuniff & Goldfarb, Sequoia Fund
17. SouthernSun Asset Management, Michael Cook
18. SPO Advisory Corp., John Scully
19. Third Point Management, Dan Loeb
20. Yacktman Asset Management, Donald Yacktman
📺 訂閱頻道看更多投資內容:https://www.youtube.com/channel/UCIBeH-s9UqWnWMUyqBGNqdA?sub_confirmation=1
---
關於威宇:
Facebook:http://bit.ly/fb_wylin
Instagram:https://www.instagram.com/wylin.tw/
網誌:https://wylin.tw/
財報狗:http://bit.ly/yt_statementdog
關於阿堯:
Facebook:http://bit.ly/fb_yao
網誌:http://bit.ly/blogs_yao
sequoia capital 在 Sequoia Capital India - Home | Facebook 的推薦與評價
Sequoia Capital India. 1928 likes · 6 talking about this. Sequoia India helps daring founders across India & Southeast Asia build legendary companies. ... <看更多>
sequoia capital 在 Sequoia makes 44 times return on YouTube - Infrastructure ... 的推薦與評價
US venture firm Sequoia Capital made a return of more than 40 times its initial investment in YouTube, the video sharing website sold to Google ... ... <看更多>
sequoia capital 在 Sequoia Capital - YouTube 的推薦與評價
We help the daring build legendary companies – from idea to IPO and beyond. ... <看更多>