เมื่อต้นสัปดาห์มีข่าวว่า Grab มีแผนที่จะ IPO ในปีนี้ มาดูกันค่ะ ว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง?
.
หากพูดถึงธุรกิจประเภท Ride Sharing ในต่างประเทศก็คงนึกถึง Uber ที่ดำเนินการอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แน่นอนว่าก็คือบริษัท Grab นั่นเอง
.
ทุกคนคงทราบข่าวกันแล้วว่า Grab กำลังวางแผนจะทำการ IPO(Initial Public Offering) หรือที่เราเรียกกันว่าการเสนอขายหลักทรัพย์ ในประเทศสหรัฐอเมริกาภายในปี 2021 ซึ่งก็คือปีนี้ คุยการเงินกับทีจะพามาดูสิ่งที่เกี่ยวข้อง สิ่งอาจจะเกิดขึ้น และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากแผนการ IPO นี้กัน
..
.
ก่อนอื่นเราขอแนะนำให้รู้จักคร่าวๆก่อนว่าผู้ลงทุนหลักของ Grab คือ SoftBank บริษัททางด้านโทรคมนาคมของญี่ปุ่น และเป็น Venture Capital(ธุรกิจเงินร่วมลงทุน) ให้แก่บริษัทสตาร์ทอัพต่างๆ โดยเฉพาะด้าน Sharing Economy
.
บางคนอาจจะสงสัยว่า Uber ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หายไปไหน บริษัทนี้ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในผู้ถือหุ้นหลักของ Grab นั่นเอง
.
อีกหนึ่งผู้ที่เคยลงทุนก็คือ Didi Chuxing บริษัททำแพลตฟอร์มเรียกรถยนต์เพื่อร่วมโดยสารยักษ์ใหญ่จากจีนซึ่งปัจจุบันได้ถูกควบรวมไปกับบริษัท Alibaba เมื่อในเดือนกันยายนปี 2020 ได้มีข่าวว่า ทาง Alibaba มีแผนที่จะลงทุนใน Grab 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
.
แน่นอนว่าหากแผนการระดมทุน IPO ดำเนินไปได้ ก็ถึงคราวที่ SoftBank จะได้รับความเชื่อมั่นใหม่อีกครั้ง หลังจากที่ต้องขาดทุนและเสียโอกาสการทำเม็ดเงินของธุรกิจประเภท Ride Sharing จากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส ที่ทำให้ธุรกิจหยุดชะงักไป
.
ในส่วนของ Uber ตัวบริษัทใหญ่ได้จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯเรียบร้อยแล้วได้เคยมีแผนที่จะถอนการลงทุนกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หาก Grab ไม่สามารถทำการ IPO ได้ภายในปี 2023 ซึ่งการที่ Grab มีแผนจะ IPO ในปีนี้นั้นนับว่าเป็นการตัดสินใจที่สำคัญอย่างมาก ท่ามกลางการระบาดของโคโรน่าไวรัส
.
และล่าสุดมีข่าวว่าทาง Alibaba ได้ถูกรัฐบาลจีนมีแผนที่จะยึดกิจการ หลังจากที่แจ็ก หม่า ได้วิจารณ์ระบบธนาคารกลางของจีน ข่าวนี้จะส่งผลต่อการทำ IPO ของ Grab หรือไม่?
.
ผู้บริหารของ Grab คุณ Anthony Tan ได้เคยให้สัมภาษณ์กับนักข่าว CNBC ในปี 2019 ไว้ว่า Grab จะไม่ทำการ IPO จนกว่าธุรกิจจะมีกำไร
.
แสดงว่าการวางแผนทำ IPO ภายในปีนี้ ผู้บริหารอาจจะเล็งเห็นถึงวิธีการที่จะนำเม็ดเงินเข้ามาในกระแสเงินสดของบริษัทเพิ่มขึ้น หรือจะมีกลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างไร คงต้องติดตามกัน
.
H. Nichakarn
#Grab #IPO #Startup #คุยการเงินกับที #หุ้น #การเงิน #การลงทุน
———————————
อ้างอิง:
https://asia.nikkei.com/Business/Startups/Grab-faces-2bn-payout-to-Uber-if-no-IPO-by-2023
https://www.pymnts.com/news/international/south-east-asia/2019/grab-ceo-no-ipo-until-business-shows-profits/
https://www.cnbc.com/2021/01/18/southeast-asias-grab-reportedly-considering-us-ipo-this-year.html
同時也有4部Youtube影片,追蹤數超過361萬的網紅Dan Lok,也在其Youtube影片中提到,Have You Ever Wondered What’s The Greatest Money Making Model In The 21st Century? It’s All About The “Network Effect.” Discover How To Build Your Net...
「sharing economy uber」的推薦目錄:
- 關於sharing economy uber 在 คุยการเงินกับที Facebook 的最讚貼文
- 關於sharing economy uber 在 KIM Property Live Facebook 的精選貼文
- 關於sharing economy uber 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於sharing economy uber 在 Dan Lok Youtube 的最讚貼文
- 關於sharing economy uber 在 風傳媒 The Storm Media Youtube 的最佳貼文
- 關於sharing economy uber 在 memehongkong Youtube 的精選貼文
sharing economy uber 在 KIM Property Live Facebook 的精選貼文
บิทคอยน์จะมาหรือเปล่าไม่รู้ แต่ที่แน่ ๆ บล็อกเชนคือของจริง!
ล่าสุดผมได้ Live พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางในอนาคตของเงินดิจิตอลกับพี่ซันเจ CEO ของ Cryptomind ที่เป็นสื่อออนไลน์ด้านคริปโตเคอเรนซี่และเป็นบริษัทที่ปรึกษาเกี่ยวกับบล็อกเชนให้กับองค์กรชั้นนำ
เรียกว่าได้อัพเดทสถานการณ์กูรูในวงการเลยทีเดียว สำหรับเพื่อน ๆ ที่กำลังสนใจเกี่ยวกับบิทคอยน์, คริปโตเคอเรนซี่หรือว่าบล็อกเชน บอกเลยครับว่าควรค่าแก่การรับชมอย่างยิ่งหรือถ้าคลิปยาวไปดูไม่ไหว วันนี้ผมสรุปมาให้อ่านกันครับ
เริ่มต้นที่ภาพรวมที่ผ่านมา มุมมองทางด้านของคริปโตเคอเรนซี่ถูกมองในด้านลบ โดยกูรูหลายคนมองว่าเป็นสิ่งที่หลอกลวงด้วยซ้ำ แต่ก็ต้องยอมรับว่าคริปโตเคอเรนซี่นั้นก็ยังคงอยู่ ผมสารภาพว่าตอนที่มันขึ้นไปที่เกือบ 20,000 เหรียญ แล้วมันก็ร่วงลงมานั้นผมคิดว่ามันจบแล้ว แต่ตอนนี้ก็ขึ้นมาที่กว่า 19,000 เหรียญ
บล็อกเชนมันดูเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ต่างจากทองคำที่คุณสัมผัสได้ หรือบริษัทที่มันยังมีสินค้าให้คุณเห็น แต่บิทคอยน์มันดูไม่มีตัวตน ไม่น่าเชื่อถือ
พี่ซันเจอธิบายว่า ก่อนอื่นต้องแยกคำว่า “บล็อกเชน” กับ “บิทคอยน์” ออกจากกันก่อน บล็อกเชนเปรียบเสมือนเทคโนโลยีที่เก็บข้อมูลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ สามารถตรวจสอบได้ สามารถ tracking ได้ว่าข้อมูลส่งไปทางไหนบ้าง
ส่วนถ้ากล่าวถึงประวัติของบิทคอยน์นั้นเกิดจากมีคนกลุ่มหนึ่งหรือองค์กรหนึ่งที่เห็นปัญหาเรื่องของการเงิน ที่รัฐบาลพิมพ์เงินมากมาย อุ้มแต่บริษัทใหญ่ จึงทำให้คนสนใจบิทคอยน์มากขึ้น เพราะว่าเชื่อในหลักการตัวมันเองที่บิทคอยน์จะมี 21 ล้านอัน เปลี่ยนแปลงไม่ได้ทุก ๆ 4 ปี และมีการขุดที่ยากขึ้นเมื่อใกล้จะหมด ไม่มีคนใดเข้าไปเปลี่ยนแปลงระบบมันได้
จุดเริ่มต้นการใช้บิทคอยน์แต่ก่อนเป็นตัวแลกเปลี่ยนสำหรับคนเล่นเกมส์ที่อยากซื้อของกันแต่พอใช้เงินจริงมันยุ่งยาก จึงแลกเปลี่ยนกันด้วยบิทคอยน์แล้วต่อมามีการใช้ในธุรกิจสีเทา เช่น คาสิโนออนไลน์ ซื้อขายอาวุธสงคราม เป็นต้น
หลายคนเคยบอกว่าบิทคอยน์นั้นจะไม่กลับมาแล้วตอนที่ร่วงไป 7,000 เหรียญ แต่พอมาถึงช่วงนึง มีคนใช้งานมันได้จริงและมีมูลค่าจริง ๆ เหมืองที่ขุดบิทคอยน์ก็ลงทุนไปหลายล้านเหรียญ รวมทั้งบริษัทยักษ์ใหญ่หลายบริษัทก็ซื้อบิทคอยน์เป็นทุนสำรองด้วย อาจจะเป็นการเก็งกำไรหรือเป็นการเก็บมูลค่าสินทรัพย์นั่นเอง
เมื่อบริษัทใหญ่ๆเริ่มเก็บบิทคอยน์แล้ว อาจมองได้ว่ารัฐบาลประเทศเล็ก ๆ อาจจะเก็บบิทคอยน์เป็นทุนสำรองเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศที่ค่าเงินของเขามีปัญหา เหมือนบิทคอยน์เป็นสินทรัพย์ของประเทศเขาเลย ถ้าเกิดแบบนั้นจริง ๆ มูลค่าของบิทคอยน์จะสูงมากและในปีนี้บล็อกเชนก็ได้ถูกยอมรับมากขึ้น
มาพูดถึงนักวิเคราะห์กันบ้างครับ ถ้าพูดถึงเรื่องบิทคอยน์นั้นก็มีความเห็นทั้ง 2 ด้าน ด้านที่เชื่อก็เชื่ออย่างสุดใจ เช่นโรเบิร์ต คิโยซากิ ที่เมื่อก่อนเขาจะเน้นให้เก็บทองคำและแร่เงิน แต่ปีนี้ได้ให้ค่ากับบิทคอยน์เยอะมาก แล้วบิทคอยน์จะมาเปลี่ยนธุรกรรมการเงินของปัจจุบันได้จริงไหม?
พี่ซันเจตอบว่าปัจจุบันเราได้เห็น Sharing Economy (เช่น Airbnb Uber Grab) กันเยอะ ถ้าในส่วนของบิทคอยน์ก็จะทำ peer to peer ช่วงแรกอาจจะเป็นการ payment ก่อน พอเราใช้กันสักพักก็รู้สึกว่าไม่ค่อยเวิร์คเนื่องจากราคามันไม่เสถียร แต่เป้าหมายหลักคือให้ถ่ายโอนกันง่ายขึ้นแค่นั้น
มุมมองของ เรย์ ดาลิโอ เขามองว่าบิทคอยน์หรือ Digital Currency อันอื่น ที่สร้างมาตรฐานของตัวเองได้ ภายใน 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีข้อดีบ้างข้อที่คล้าย ๆ ทองคำ คือมีการเก็บมูลค่าได้ ที่หลายคนยอมรับกันมากขึ้น เพราะเห็นว่าเหมือนว่าจะพังแต่ก็กลับมาได้ทุกครั้งและการถ่ายโอนก็เร็วขึ้น ศูนย์ซื้อขายก็เริ่มเยอะมากขึ้น
ปีนี้เปรียบเสมือนเป็นจุดเปลี่ยนของโลก เพราะเหตุการณ์หลายๆอย่างก็เกิดขึ้น อย่างเช่น ไวรัสโควิด19 แล้วคนก็หันมาสนใจสินทรัพย์ดิจิตอลมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ bitcoin อย่างเดียว คนก็จะศึกษากันมากขึ้นว่าใน Sector นี้ มีสิทธิ์ทรัพย์อะไรอีก อาจจะเป็น Ethereum ที่ทำเรื่อง Smart Contract
ทุกอย่างเริ่มมีนวัตกรรม อย่างเช่น แต่ก่อน Facebook นั้น เป็นเพียงแค่ Social Media ธรรมดา แต่พอช่วงหลังก็มีการ Live ขายของมากขึ้น จึงเกิดแนวคิดที่จะสร้าง Libra เพื่อเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยน ก็เป็นจุดเริ่มต้นของคนที่เห็นประโยชน์ของมีสกุลเงินต่าง ๆ
ในวงการอสังหาก็เช่นกัน ถ้ากองทุน REIT เปลี่ยนเป็น Digital Assets ก็สามารถซื้อขายผ่าน Exchange ได้เลย เช่นมีเหรียญตัวนึงที่สามารถมีมูลค่าเท่ากับสินทรัพย์นั้นได้เลยและมีปันผลตลอด อาจจะมีปันผลทุกวันเลยก็ได้ เพราะถ้าเป็น Digital Assets มันสามารถทำได้ทันที
แล้วถ้ารัฐบาลของแต่ละประเทศสร้างเหรียญดิจิตอลของตัวเอง จะมีผลกับการสร้างเหรียญดิจิตอลแบบดั้งเดิมไหม เพราะการสร้างเหรียญของรัฐบาลจะมีเสถียรกว่าทั้งที่อยู่ในเทคโนโลยีบล็อกเชนเหมือนกัน?
พี่ซันเจตอบว่าการที่แต่ละประเทศจะสร้างเหรียญมานั้น อย่างเช่น libra หรือ Digital หยวน กับเหรียญดิจิตอลแบบดั้งเดิม จะมีจุดยืนที่แตกต่างกัน คือการที่จะใช้เงินดิจิตอลของแต่ละประเทศ เป้าหมายคือการจับจ่ายใช้สอย ถ้าในส่วนของ Crypto นั้น จะเป็นส่วนของอุดมการณ์มากกว่า และเรื่องของการทำ platform เช่น Binance
มาถึงตอนนี้แล้ว เราไม่ต้องพูดถึงว่า บล็อกเชน นั้นจริงไม่จริงแล้วเพราะว่ารัฐบาลยังใช้เทคโนโลยีนี้มาใช้สร้างเหรียญของตนเองเลย หรือใช้เทคโนโลยีนี้มาสร้างแอพพลิเคชั่น ด้วยความโปร่งใสของมัน ความแก้ไขไม่ได้ของมัน ซึ่งมองว่าในอนาคตคนนั้นจะต้องกระจาย หมายถึง คนคนนึง อาจจะมีเหรียญไว้ใช้งานหลายเหรียญ เช่น ดิจิตอลหยวน เอาไว้ใช้แลกเปลี่ยนอย่างเดียว ส่วนตัว bitcoin นั้นก็เก็บไว้เพื่อลงทุนสร้างมูลค่าของมัน
ซึ่งตอนนี้ อาจมองได้ว่า ใครจะออกเหรียญของตัวเองก็ได้ แต่ต้องมี Network เป็นของตัวเองด้วย ไม่ใช่ออกมาแต่ไม่มีคนใช้ ก็ไม่มีค่าเช่นกัน บล็อกเชนหรือบิทคอยน์อาจจะมองเหมือนงานศิลปะที่คนมองไม่เหมือนกัน บางคนบอกว่ามันแพงแล้ว บางคนบอกว่ามันยังไปได้อีก แต่คนที่เข้าใจก็จะซื้อมัน ซึ่งบล็อกเชนนั้นอาจจะได้ใช้เฉพาะคนบางกลุ่ม แต่คนในกลุ่มนั้นมีความเชื่อร่วมกัน ก็ทำให้เหรียญนั้นมีค่าได้
โอกาสของบล็อกเชน สำหรับคนไทยเป็นยังไงบ้าง?
พี่ซันเจมองว่าโดยภาพรวมแล้วคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจบล็อกเชน จะมีแค่องค์กรใหญ่ ๆ อย่าง SCG ที่ใช้งาน
การใช้บล็อกเชนนั้น สามารถมาประยุกต์ใช้ได้หลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเรื่องการเงิน อสังหาฯ ประกัน ธุรกิจสื่อ การเลือกตั้ง ซึ่งจะไปสอดคล้องกับ Smart City ด้วย อาจเปรียบเทียบได้ว่า การมาของบล็อกเชนนั้น เหมือนกับช่วงที่เราใช้อีเมลช่วงเริ่มแรกด้วยซ้ำ สามารถต่อยอดได้อีกเยอะ จึงเป็นประโยชน์ต่อเรื่องพวกนี้ด้วย การสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ด้วยบล็อกเชนมาเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
สรุปสถานการณ์ปัจจุบัน สำหรับคริปโตเคอเรนซี่นั้นก็ยังคงต้องติดตามกันต่อไปว่าจะอยู่ในสถานะไหนในอนาคต
แต่สำหรับบล็อกเชน บอกได้เลยครับว่า “มาแน่ ๆ” เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับและนำมาประยุกต์ใช้จากองค์กรใหญ่ ๆ ทั้งรัฐและเอกชนทั่วโลก
เพราะฉะนั้นถ้าคุณต้องการหาโอกาสในอนาคต คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องชอบหรือลงทุนในบิทคอยน์และคริปโตเคอเรนซี่ แต่คุณจำเป็นต้องศึกษา “บล็อกเชน”
เพื่อน ๆ มีคิดความเห็นอย่างไรกันบ้างครับ
.
แอดปลา
แจ้งข่าว สัมมนารอบต่อไป
อสังหา 3in1 (อสังหาให้เช่า+อสังหาทางด่วน) รุ่น 10
วันที่ 9-10 มกราคม 2564
ดูรายละเอียดที่ลิงค์ในคอมเมนท์ครับ
sharing economy uber 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
Uber บริษัทที่มีคู่แข่งเกิดขึ้น เต็มไปหมด /โดย ลงทุนแมน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “Uber” เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจแพลตฟอร์มเรียกรถ
ที่เข้ามา DISRUPT รูปแบบบริการขนส่งให้เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่พวกเขาคิดค้นขึ้น ได้กลายเป็นต้นแบบให้อีกหลายบริษัท
พัฒนาแพลตฟอร์มในลักษณะเดียวกัน มาแข่งขันกับรุ่นพี่อย่างดุเดือด
จนตอนนี้ Uber มีคู่แข่งอยู่เต็มไปหมด
แล้วใครคือคู่แข่งของ Uber บ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เมื่อปี 2009 หรือ 11 ปีที่แล้ว
Uber สร้างแพลตฟอร์มเรียกรถ จากแนวคิด Sharing Economy ที่เชื่อมต่อระหว่างผู้มีรถกับผู้ต้องการใช้รถ
และด้วยระบบอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจนี้เติบโตต่อเนื่อง
ปัจจุบัน Uber มีผู้ใช้งาน 110 ล้านคน จาก 785 เมืองทั่วโลก
โดยบริษัทมีรายได้ 440,000 ล้านบาท และมูลค่าตลาดล่าสุดอยู่ที่ราว 1,420,000 ล้านบาท
จากตัวเลขดังกล่าว หลายคนอาจคิดว่า Uber สามารถครองโลกได้อย่างเบ็ดเสร็จแล้ว
แต่ความจริง พวกเขาต้องเผชิญกับสงครามแพลตฟอร์มเรียกรถ ในแทบทุกแห่งที่ไปทำธุรกิจ
จริงอยู่ที่ช่วงแรก Uber คือผู้นำที่เข้าไปสร้างตลาด Ridesharing
แต่พอเวลาผ่านไป ผู้เล่นรายอื่นที่เห็นโอกาส ก็พัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นมาเองบ้าง
เราลองมาดูตัวอย่างบริษัทที่ Uber ต้องแข่งขันด้วยในแต่ละพื้นที่
ประเทศสหรัฐอเมริกา: Lyft
จำนวนผู้ใช้งาน: 23 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 230,000 ล้านบาท
แพลตฟอร์ม Lyft ให้บริการอยู่ใน 656 เมือง ของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
มีส่วนแบ่งตลาด 29% สูงเป็นอันดับ 2 รองจาก Uber ที่ครองตลาดราว 70%
โดย Lyft ได้รับความนิยมขึ้น หลังจากหลายปีก่อน Uber มีข่าวอื้อฉาวเรื่องล่วงละเมิดทางเพศพนักงานหญิง
ทวีปยุโรป แอฟริกา: Bolt
จำนวนผู้ใช้งาน: 30 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 31,400 ล้านบาท
Bolt หรือชื่อเดิมคือ Taxify เป็นแพลตฟอร์มจากประเทศเอสโตเนีย
ให้บริการอยู่ใน 35 ประเทศ แถบยุโรป แอฟริกา อเมริกาเหนือ รวมถึงเอเชีย
ซึ่งการที่ Uber มีปัญหากับภาครัฐในยุโรปบ่อยครั้ง เช่น ไม่ได้รับต่ออายุใบอนุญาตในกรุงลอนดอน เพราะคนขับใช้ข้อมูลปลอม ทำให้ Bolt เข้าไปทำตลาดแทน
ภูมิภาคตะวันออกกลาง: Careem
จำนวนผู้ใช้งาน: 33 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 97,000 ล้านบาท
Careem เป็นแพลตฟอร์มจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ให้บริการกว่า 100 เมือง ใน 14 ประเทศบริเวณตะวันออกกลางและแอฟริกา
จุดแข็งของแบรนด์นี้คือ ความเข้าใจถึงปัญหาและพฤติกรรมผู้บริโภคท้องถิ่น มากกว่าต่างชาติ
ด้วยเหตุนี้ Uber จึงตัดสินใจซื้อกิจการทั้งหมดของ Careem แทนที่จะแข่งด้วย
ประเทศจีน: DiDi Chuxing
จำนวนผู้ใช้งาน: 550 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 1,570,000 ล้านบาท
แพลตฟอร์ม DiDi เริ่มให้บริการในจีนเมื่อปี 2012 และมีข้อได้เปรียบเรื่องความเชี่ยวชาญในสภาพตลาดของประเทศตนเอง
หลังจากสู้กันนาน 4 ปี Uber จึงยอมถอยทัพ ด้วยการขายธุรกิจในจีน แลกกับหุ้นสัดส่วน 20% ของ DiDi
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: Grab
จำนวนผู้ใช้งาน: 122 ล้านคน
มูลค่าบริษัท: 440,000 ล้านบาท
Grab ถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวมาเลเซีย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย
ซึ่ง Uber ไม่สามารถสู้ความเชี่ยวชาญของผู้เล่นท้องถิ่นรายนี้ได้
จึงตัดสินใจขายกิจการในภูมิภาค แลกกับหุ้นสัดส่วน 27.5% ของ Grab
ประเทศรัสเซีย: Yandex.Taxi
จำนวนผู้ใช้งาน: 36 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 116,000 ล้านบาท
Yandex เปรียบเสมือน Google แห่งรัสเซีย โดยบริษัทได้ขยายธุรกิจไปสู่แพลตฟอร์มเรียกรถ และให้บริการมากกว่า 1,000 เมือง ทั้งในรัสเซียและกลุ่มประเทศสหภาพโซเวียตเก่า
ในกรณีนี้ Uber ยอมขายธุรกิจทิ้งเช่นเดียวกัน เพื่อแลกกับการถือหุ้นสัดส่วน 36.6% ของ Yandex.Taxi
ประเทศอินเดีย: Ola Cabs
จำนวนผู้ใช้งาน: 150 ล้านราย
มูลค่าบริษัท: 314,000 ล้านบาท
แพลตฟอร์ม Ola Cabs เริ่มให้บริการในอินเดียตั้งแต่ปี 2010 ก่อนสร้างความลำบากใจให้ Uber ด้วยการขยายไปยังพื้นที่อื่น เช่น สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย รวมทั้งหมดกว่า 250 เมือง
หลังจากที่มีการแข่งขันทั้งด้านราคาและโปรโมชัน เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดในประเทศต่างๆ ส่งผลให้ธุรกิจ Ridesharing เริ่มอิ่มตัว และทำให้ Uber ต้องขยายบริการใหม่ ซึ่งได้แก่ การส่งอาหาร หรือ Food Delivery
แต่ในอุตสาหกรรมนี้ ก็มีการแข่งขันที่หนักหนาสาหัสไม่แพ้กัน
ทั้งจากผู้เล่นแพลตฟอร์มเรียกรถ ที่แทบทุกรายหันมาทำ Food Delivery ด้วย
หรือบริษัทที่ประกอบธุรกิจส่งอาหารโดยเฉพาะ เช่น Grubhub, Just Eat, Deliveroo, Meituan Waimai, Zomato, Amazon
ซึ่ง Uber ต้องยอมถอยออกจากบางตลาด ดังกรณีที่ขายกิจการส่งอาหารในอินเดียให้แบรนด์ Zomato
ส่วนเทคโนโลยีที่น่าจะผลักดันการเติบโตและลดต้นทุนในระยะยาว คือรถยนต์ไร้คนขับ
ก็มีผู้เล่นรายใหญ่ กำลังวิจัยพัฒนาอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Google, Apple, GM, Tesla
ดูเหมือนว่า สงครามแพลตฟอร์ม On-Demand นี้ จะยังดำเนินต่อไปอีกยาวนาน
และคงไม่มีใครสามารถคาดเดาถึงจุดจบของมันได้
แต่ที่แน่ๆ มันมีโอกาสสูง ที่จะมีผู้ได้รับบาดเจ็บหนัก หรือต้องล้มหายจากไป
ไม่เว้นแม้แต่ต้นแบบของอุตสาหกรรมอย่าง Uber
และรู้หรือไม่ จนถึงวันนี้ พวกเขายังไม่เคยทำกำไรได้เลย..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Uber
-https://investor.uber.com/…/Uber-Announces-Results-for-Fou…/
-https://mashable.com/2017/08/16/uber-global-rivals-didi/
-https://www.cnbc.com/…/uber-s-1-risk-factors-competitors-de…
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lyft
-https://techcrunch.com/…/profitability-expectations-ding-l…/
-https://www.statista.com/…/market-share-of-rideshare-compa…/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Bolt_(company)
-https://en.wikipedia.org/wiki/Careem
-https://en.wikipedia.org/wiki/DiDi
-https://edition.cnn.com/…/grab-softbank-singapore/index.html
-https://www.statista.com/…/grabtaxi-holdings-number-of-uni…/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Yandex.Taxi
-https://en.wikipedia.org/wiki/Ola_Cabs
sharing economy uber 在 Dan Lok Youtube 的最讚貼文
Have You Ever Wondered What’s The Greatest Money Making Model In The 21st Century? It’s All About The “Network Effect.” Discover How To Build Your Network And Become The Category King Or Queen In Your Niche TODAY: https://greatestmodel.danlok.link
What do big names like Uber, Facebook, or Airbnb have in common? They are leveraging the greatest money making model in the 21st century. Watch the video to find out what it is. Learned something new? Share this with a friend.
? SUBSCRIBE TO DAN'S YOUTUBE CHANNEL NOW ?
https://www.youtube.com/danlok?sub_confirmation=1
Check out these Top Trending Playlists -
1.) Boss In The Bentley - https://www.youtube.com/playlist?list=PLEmTTOfet46OWsrbWGPnPW8mvDtjge_6-
2.) Sales Tips That Get People To Buy - https://www.youtube.com/watch?v=E6Csz_hvXzw&list=PLEmTTOfet46PvAsPpWByNgUWZ5dLJd_I4
3.) Dan Lok’s Best Secrets - https://www.youtube.com/watch?v=FZNmFJUuTRs&list=PLEmTTOfet46N3NIYsBQ9wku8UBNhtT9QQ
Dan Lok has been viewed more than 1.7+ billion times across social media for his expertise on how to achieve financial confidence. And is the author of over a dozen international bestselling books.
Dan has also been featured on FOX Business News, MSNBC, CBC, FORBES, Inc, Entrepreneur, and Business Insider.
In addition to his social media presence, Dan Lok is the founder of the Dan Lok Organization, which includes more than two dozen companies - and is a venture capitalist currently evaluating acquisitions in markets such as education, new media, and software.
Some of his companies include Closers.com, Copywriters.com, High Ticket Closers, High Income Copywriters and a dozen of other brands.
And as chairman of DRAGON 100, the world’s most exclusive advisory board, Dan Lok also seeks to provide capital to minority founders and budding entrepreneurs.
Dan Lok trains as hard in the Dojo as he negotiates in the boardroom. And thus has earned himself the name; The Asian Dragon.
If you want the no b.s. way to master your financial destiny, then learn from Dan. Subscribe to his channel now.
★☆★ CONNECT WITH DAN ON SOCIAL MEDIA ★☆★
YouTube: http://youtube.danlok.link
Dan Lok Blog: http://blog.danlok.link
Dan Lok Shop: https://shop.danlok.link
Facebook: http://facebook.danlok.link
Instagram: http://instagram.danlok.link
Linkedin: http://mylinkedin.danlok.link
Podcast: http://thedanlokshow.danlok.link
#DanLok #BusinessModelOfThe21stCentury #TheNetworkEffect
Please understand that by watching Dan’s videos or enrolling in his programs does not mean you’ll get results close to what he’s been able to do (or do anything for that matter).
He’s been in business for over 20 years and his results are not typical.
Most people who watch his videos or enroll in his programs get the “how to” but never take action with the information. Dan is only sharing what has worked for him and his students.
Your results are dependent on many factors… including but not limited to your ability to work hard, commit yourself, and do whatever it takes.
Entering any business is going to involve a level of risk as well as massive commitment and action. If you're not willing to accept that, please DO NOT WATCH DAN’S VIDEOS OR SIGN UP FOR ONE OF HIS PROGRAMS.
This video is about The Greatest Money Making Model In The 21st Century.
https://youtu.be/4DpvD50BrKI
https://youtu.be/4DpvD50BrKI
sharing economy uber 在 風傳媒 The Storm Media Youtube 的最佳貼文
On Taiwan Hashtag hosted by Ross Feingold, we discuss the aftermath of
recent tragic deaths of UberEats and foodpanda drivers. Are the platform
providers partners permanent hires, contract hires or independent
contracts? Apparently even government agencies are unsure but due to
media pressure there is a rush to define drivers’ legal status for
purposes of insurance normally mandatory for permanent hires. Is it a
rush to judgment? Will it make the operating environment more
challenging for sharing economy companies notwithstanding government
programs to encourage start-ups and innovation? Is a repeat of the
challenges Uber’s ride hailing app has had in Taiwan that forced Uber to
leave once and almost leave a second time? Or is it all just electoral
politics? Watch Taiwan Hashtag to learn more especially if you do so
while eating food delivered via your favorite app.
✓Follow us on Twitter 【@TaiwanHashtag】
✓ 點我加入《風傳媒》Line 好友(ID:@dyp8323m) http://bit.ly/2hETgWE
✓ 點我訂閱《風傳媒》YouTube 頻道 http://bit.ly/2grkAJ6
✓ 點我追蹤《下班經濟學》IG頻道(ID:@worked_money) https://bit.ly/2WZ1Dnb
【Facebook粉絲團】
風傳媒►► https://www.facebook.com/stormmedia
風生活►► https://www.facebook.com/SMediaLife
下班經濟學►►https://www.facebook.com/workedmoney
sharing economy uber 在 memehongkong Youtube 的精選貼文
即時聊天室:http://goo.gl/ToDqof
謎米香港 www.memehk.com
Facebook:www.facebook.com/memehkdotcom