ความปลอดภัยในการบริโภค "แอสปาแตม" สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล
(มีนักข่าวจะมาขอสัมภาษณ์วันนี้ เกี่ยวกับเรื่องของความปลอดภัยของแอสปาแตม เลยหาข้อมูลมาสรุปไว้เผื่อเป็นประโยชน์)
ปัจจุบัน กระแสการบริโภคอาหารที่ปราศจากน้ำตาลทราย (sugar free) กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และ แอสปาแตม (aspartame) ก็เป็นสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลตัวหนึ่ง ที่นิยมนำมาใส่ในอาหารและเครื่องดื่มแทบจะทุกชนิด ยกเว้นแต่พวกเบเกอรี่ ขนมอบ เพราะมันจะสลายได้เมื่อถูกความร้อนสูง และจะสูญเสียความหวานไป
แอสปาแตม ถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1965 และผ่าน อ.ย. ของสหรัฐอเมริกาในปี 1981 โดยมันมีโครงสร้างทางเคมีเป็น เมทิลเอสเทอร์ (methyl ester) ของไดเปปไทด์ระหว่างกรดแอสปาร์ติกและฟีนีลอะลานีน (aspartic acid/phenylalanine dipeptide)
แอสปาร์แตมเป็นสารให้ความหวานกลุ่มที่ไม่ใช่น้ำตาลจริง แต่มีความหวานเหมือนกับน้ำตาลทราย (ซูโคลส) แต่จะหวานคาปากนานกว่า และมีระดับความหวานสูงกว่าน้ำตาลทราย ถึง 180-200 เท่า ดังนั้น แม้ว่าจริงๆ แล้วมันจะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม แต่ปริมาณที่ใส่ลงไปในอาหารให้เกิดความหวานนั้น ใช้เพียงแค่เล็กน้อยก็หวานแล้ว จึงมักจะถือกันว่า แทบจะไม่ต้องนับแคลอรี่ที่แอสปาร์แตมให้กับอาหารนั้น
#ปริมาณที่กินได้ต่อวัน
สำหรับเรื่องความปลอดภัยในการบริโภคแอสปาร์แตมนั้น มันเป็นสารปรุงแต่งอาหารที่ได้รับการทดสอบอย่างเข้มข้นมากที่สุดแล้วตัวหนึ่ง และได้รับการยอมรับว่ามีความปลอดภัยในการบริโภคของมนุษย์จากองค์กรด้านอาหารและยาทั่วโลกกว่า100 แห่ง ทั้งในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ รวมถึงประเทศไทย
คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญขององค์การอาหารโลกและองค์การอนามัยโลก (The Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives (JECFA)) รวมทั้งคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ด้านอาหารของคณะกรรมาธิการยุโรป (the European Commission's Scientific Committee on Food) ได้กำหนดให้ระดับของการบริโภคแอสปาร์แตมต่อวันไว้ที่ไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม ขณะที่ อย. ของสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ที่ 50 mg/kg นั้นคือ ถ้าคนที่น้ำหนักตัว 75 กิโลกรัม ดื่มน้ำอัดลมไดเอ็ตขนาด 355 มิลลิลิตร ที่ใส่แอสปาร์แตมไป 0.18 กรัม ก็จะดื่มได้ถึง 21 กระป๋องต่อวัน !
#ผลต่อน้ำหนักตัว
มีรายงานตีพิมพ์ในปี 2017 ในวารสาร Canadian Medical Association Journal (CMAJ) ที่รีวิวทบทวนงานวิจัยทางการแพทย์ต่างๆ เกี่ยวกับการใช้แอสปาร์แตม บริโภคแทนน้ำตาลทราย สรุปว่าแอสปาร์แตมสามารถลดปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับ และลดน้ำหนักตัว ของทั้งผู้ใหญ่และเด็กได้ (สนใจรายละเอียด อ่านได้ที่ https://www.cmaj.ca/content/189/28/E929)
#ผลต่อระดับสารในร่างกาย
มีรายงานในปี 2018 ในวารสาร Critical Reviews in Food Science and Nutrition ที่รีวิวงานวิจัยถึงผลกระทบทางเมตาบอลิซึมจากการบริโภคแอสปาร์แตม ก็ยืนยันว่า มันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด อินซูลิน คลอเรสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ ปริมาณแคลอรี่ที่่ร่างกายได้รับ หรือน้ำหนักตัว แถมยังช่วยเพิ่มระดับของ HDL (high-density lipoprotein หรือคลอเรสเตอรอลตัวที่ดีต่อร่างกาย) อีกด้วย (สนใจรายละเอียด อ่านได้ที่ https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/10408398.2017.1304358)
#ผลต่อมะเร็ง
มีหลายบทความรีวิว ที่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างแอสปาร์แตมกับมะเร็ง ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรทางอาหารของหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป โดยระบุว่าแอสปาร์แตมนั้นปลอดภัยต่อการบริโภค
#อันตรายต่อผู้ที่เป็นโรคPKU
แต่แอสปาร์แตมก็มีอันตรายต่อคนบางคนได้ นั่นคือ คนที่เกิดมาเป็นโรคฟีนีลคีโตนูเรีย (phenylketonuria หรือ PKU) ซึ่งเป็นโรคพันธุกรรมที่ค่อนข้างหาได้ยาก โดยร่างกายจะไม่สามารถย่อยสลายกรดอะมิโนฟีนีลอะลานีนได้ และต้องควบคุมปริมาณอาหารที่มีฟีนีลอะลานีน ซึ่งก็ร่วมถึงแอสปาร์แตมด้วยนั่นเอง ... ดังจะเห็นได้ว่า ข้างของบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ใส่แอสปาร์แตมเพิ่มความหวาน จะต้องมีคำเตือนสำหรับผู้ที่เป็นโรค PKU ไว้ด้วย
#ซูคราโลส
แถมนิดนึงว่า หลังๆ จะเริ่มเห็นอาหารและเครื่องดื่มที่เปลี่ยนจากการใช้แอสปาร์แตม มาเป็นสารตัวอื่นที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลทราย ได้แก่ ซูคราโลส (sucralose) ที่มีข้อดีกว่าแอสปาร์แตม ตรงที่ยังคงความหวานไว้ได้ แม้ว่าจะถูกนำไปให้ความร้อนสูงกว่าตาม แถมมีอายุการเก็บรักษาที่นานกว่าแอสปาร์แตมถึง 2 เท่า ในขณะที่ก็เป็นสารที่ได้รับการรับรองว่าสามารถนำมาบริโภคได้อย่างปลอดภัยเช่นกันครับ
สรุปๆ คือ แอสปาร์แตม เป็นสารทดแทนความหวานของน้ำตาลทราย ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ว่าปลอดภัยในการนำมาบริโภคในปริมาณปรกติ .. ส่วนที่ใครบอกว่ากินอาหารที่ใส่แอสปาร์แตมแล้ว ก็ยังคงอ้วนอยู่ดี อันนั้นคงต้องไปปรับพฤติกรรมการกินของแต่ละคนเองนะครับ
ข้อมูลจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Aspartame
sucralose wiki 在 Jennis BNK48 Facebook 的精選貼文
วันนี้แอดก็จะมาเล่าถึงเรื่องของ #สารให้ความหวาน ทั้งในแง่ของการใช้งานและความปลอดภัยนะครับ
เนื่องจากว่าหลายๆคนนั้นมีความกังวลในการบริโภคสารให้ความหวานเทียม (Artificial Sweeteners) น่ะครับ เพราะว่ากระแสข่าวและงานวิจัยต่างๆก็มีทั้งแสดงถึงข้อดี/และข้อเสียของสารให้ความหวานเหล่านี้ ทั้งในแง่ของรสชาติที่ได้รวมไปถึงผลต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและยาวด้วย
ซึ่งสารให้ความหวานนี้สามารถแบ่งออกมาได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆนั่นก็คือ
1.) สารให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น น้ำตาลทราย (Sucrose)/ ฟรุกโตส (Fructose)/ กลูโคส (Glucose) และน้ำตาลแอลกอฮอลล์ (Sugar alcohol) ชนิดต่างๆน่ะครับ ซึ่งตรงนี้แอดก็จะขอกล่าวถึงเฉพาะน้ำตาลแอลกอฮอลล์น่ะครับ
โดยที่น้ำตาลแอลกอฮอลล์ที่มีการใช้งานนั้น ได้แก่ Sorbitol, Mannitol, Xylitol, Isomalt, Maltitol, Lactitol และ Tagalose น่ะครับ
สารให้ความหวานเหล่านี้จะให้พลังงานเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของน้ำตาลแท้คือให้พลังงานเพียง 2 กิโลแคลอรี่/กรัมเท่านั้น สามารถถูกดูดซึมได้ช้าและไม่ทำให้ฟันผุน่ะครับ ซึ่งการที่มันถูกดูดซึมช้านี่เอง ก็เลยเป็นสาเหตุทำให้การเกิดการท้องเสียได้เมื่อรับประทานมากเกินไป
โดยที่ xylitol นั้นจะถูกดูดซึมช้าสุด ก็จะทำให้ท้องเสียได้มากที่สุด ในขณะที่ sorbitol นั้นจะถูกดูดซึมมากที่สุด จึงทำให้เกิดอาการท้องเสียน้อยที่สุดน่ะครับ
https://en.wikipedia.org/wiki/Sugar_alcohol
2.) สารให้ความหวานที่ไม่ให้คุณค่าทางโภชนาการ หรือที่เราเรียกว่า “น้ำตาลเทียม” นั่นเอง โดยที่ทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) /และกระทรวงสาธารณสุขของไทยนั้นมีการรับรองให้ใช้ได้อย่างปลอดภัยนั้นจะมีอยู่ 6 ชนิด นั่นก็คือ
2.1) Aspartame ซึ่งสามารถบริโภคได้ไม่เกิน 40-50 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันน่ะครับ โดยที่ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยนั้นได้แก่ Equal, Slimma เป็นต้น
ซึ่งเจ้า Aspartame นี้จัดว่าเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งดังนั้นมันจึงให้พลังงานเท่ากับ 4 กิโลแคลอรี่/กรัม เท่ากับน้ำตาลปกติและโปรตีนทั่วไปเลย แต่ด้วยความที่เค้ามีความหวานประมาณ 180-200 เท่าของน้ำตาลทราย ทำให้สามารถใช้ในปริมาณที่น้อยมาก จนถือว่าเป็นสารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานเลย
Aspartame นั้นประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 2 ชนิด คือ Aspartic acid และ Phenylalanine น่ะครับ และสามารถสลายตัวในความร้อนได้เป็นสารที่มีรสขม จึงทำให้ไม่สามารถที่จะใช้ปรุงอาหารได้ในขณะที่หุงต้มเลย
และห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะ Phenylketonuria น่ะครับ เนื่องจากว่าผู้ป่วยนั้นจะไม่มีเอนไซม์ที่ใช้ย่อย Phenylalanine ได้น่ะครับ
https://en.wikipedia.org/wiki/Aspartame
2.2) Saccharin หรือที่บางทีเราเรียกว่า “ขัณฑสกร” นั่นเอง ซึ่งสามารถบริโภคได้ไม่เกิน 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันน่ะครับ
ซึ่งตรงนี้คุณ @Jirawat Ngoenmuang ได้ชี้แจงว่า แต่ก่อนขัณฑสกรนั้นได้มาจากต้นไม้ แต่คนเข้าใจผิดใช้เรียกแทน saccharin ดังลิงก์นี้นะครับ
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx…
โดยที่ Saccharin นั้นจะให้ความหวานเป็น 300 เท่าของน้ำตาลทราย แล้วก็ไม่ให้พลังงานเลย และทนความร้อนสูงได้ดี จึงมีการใช้ผสมในน้ำเชื่อมต่างๆที่ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มต่างๆน่ะครับ
และด้วยข่าวลือที่ว่าเจ้า Saccharin นั้นสามารถที่จะทำให้เกิดมะเร็งในหนูได้เมื่อใช้ขนาดสูง ทั้งๆที่ยังไม่พบว่าจะทำให้เกิดอันตรายในคนได้ในปริมาณการใช้งานที่เหมาะสม ก็เลยทำให้ความนิยมในการใช้งานนั้นลดลงอย่างมากด้วย
อันที่จริงปริมาณที่ให้ความหวานที่เหมาะสมนั้นถ้าเทียบกับน้ำตาลนั้นจะทำให้ใช้น้อยกว่าปกติถึง 1/300 เท่าของน้ำตาลทราย แถมเมื่อใช้มากนั้นจะทำให้เกิดรสหวานติดขมด้วยซ้ำ จึงเป็นไปได้ยากมากที่จะทำให้บริโภคมากกว่าปริมาณที่กำหนดได้ด้วย
แต่อย่างไรก็ตามการใช้ Saccharin ในสตรีมีครรภ์ ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน เนื่องจากว่ามีการศึกษาบางส่วนที่เคลมว่า มันสามารถที่จะผ่านรกเข้าไปในเนื้อเยื่อของทารกในครรภ์ได้ จึงควรต้องระมัดระวังในการใช้ในสตรีมีครรภ์ด้วย
https://en.wikipedia.org/wiki/Saccharin
2.3) Acesulfame potassium ซึ่งสามารถบริโภคได้ไม่เกิน 15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันน่ะครับ โดยที่ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยนั้นได้แก่ Sweet tasty (Giffarine) เป็นต้น
สารกลุ่มนี้จะให้ความหวานเป็น 200 เท่าของน้ำตาลทราย และทนความร้อนสูงได้ดี มักจะใช้ร่วมกับ Aspartame เพื่อลดความขมที่เกิดขึ้น โดยที่การใช้สารให้ความหวานร่วมของ Aspartame และ Acesulfame ร่วมกัน จะนิยมใส่ในน้ำอัดลมที่เคลมกันว่ามีพลังงาน 0 กิโลแคลอรี่ เช่นพวก Pepsi Max, Coke Zero เพื่อให้ได้รสหวานที่เป็นธรรมชาติขึ้น เป็นต้น
และเนื่องจากว่าสารให้ความหวานกลุ่มนี้สามารถทนความร้อนได้ดี จึงมักจะมีการใส่ในขนมอบ (Bakery) ที่ต้องการความหวานแต่ไม่ต้องการพลังงานมากจากน้ำตาลได้ด้วย
https://en.wikipedia.org/wiki/Acesulfame_potassium
2.4) Sucralose ซึ่งสามารถบริโภคได้ไม่เกิน 15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันน่ะครับ โดยที่ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยนั้นได้แก่ Fitne sweet เป็นต้น
สารกลุ่มนี้จะให้ความหวานเป็น 600 เท่าของน้ำตาลทราย ไม่ให้พลังงานเลย และทนความร้อนสูงได้ดี มีความคงตัวสูง สามารถให้รสชาติหวานใกล้เคียงกับน้ำตาลทรายมาก ไม่มีรสติดขม หรือว่าติดเฝื่อนปลายลิ้นน่ะครับ จึงสามารถใช้ทดแทนน้ำตาลทรายได้ดีเลย ทั้งในอาหารกระป๋องต่างๆ เบเกอรี่ ซอส และเครื่องดื่มต่างๆ เป็นต้น
https://en.wikipedia.org/wiki/Sucralose
2.5) Neotame ซึ่งสามารถบริโภคได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันน่ะครับ ซึ่งจัดว่าเป็นสารให้ความหวานที่อนุญาตให้ใช้ในปริมาณน้อยที่สุด แต่ด้วยความหวานประมาณ 800-1300 เท่าของน้ำตาลทรายนั้นจึงทำให้ปริมาณที่ใช้นั้นก็ต่ำมากๆลงไปด้วยเช่นกัน
สามารถทนความร้อนได้สูงและสามารถใช้ปรุงอาหารขณะหุงต้มได้ สามารถใช้กับอาหารและเครื่องดื่มได้ทุกประเภทเลยน่ะครับ
https://en.wikipedia.org/wiki/Neotame
2.6) สารสกัดจากหญ้าหวาน (stevia) ที่มีชื่อทางพฤษศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni โดยสารที่ให้ความหวานของหญ้าหวานก็คือ Stevioside นั่นเอง ซึ่งสามารถบริโภคได้ไม่เกิน 4 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันน่ะครับ
Stevioside เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่า 200-300 เท่าของน้ำตาล และสามารถทนความร้อนได้ดี ให้ความหวานช้าแต่ทนกว่าความหวานจากน้ำตาลทราย แต่จะให้ความหวานติดขมเล็กน้อยหากกว่าใช้มากเกินไปน่ะครับ
https://en.wikipedia.org/wiki/Steviol_glycoside
ซึ่งได้มีการศึกษาของ Rolls ในปี 1966 พบว่าน้ำตาลเทียมทั้งสามชนิดที่ทำการศึกษา ได้แก่ Aspartame, Saccharin และ Acesulfame นั้นก็พบว่าไม่มีผลต่อความหิว/ ความอยากอาหาร/ และน้ำหนักตัวเลยครับ
ซึ่งปัจจุบันได้พบว่าน้ำตาลเทียมเหล่านี้สามารถใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ทำให้อ้วนและไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดน่ะครับ
อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรทานเกินค่า ADI (Acceptable daily intake levels) ของสารให้ความหวานแต่ละชนิด เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้า Aspatame ควรหลีกเลี่ยงที่จะใช้งานกับผู้ป่วย Phenylketonuria ด้วยน่ะครับ เนื่องจากอาจจะเป็นอันตรายต่อสมองและทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน (Mental retardation) ได้น่ะครับ
สุดท้ายนี้แอดก็ขอขอบคุณรูปประกอบบทความจากลิงก์ต่างๆตามรายชื่อยี่ห้อด้วยนะครับ
#หวานอย่างปลอดแคลอรี่
#วันนี้เรื่องย้าวยาว 😅😅😅