ใครคือผู้ก่อตั้ง TSMC ผู้ผลิตชิป ให้คนครึ่งโลก /โดย ลงทุนแมน
แม้ว่าระบบปฏิบัติการ iOS ของแอปเปิลและ Android ของกูเกิล จะเรียกได้ว่าเป็นคู่ปรับตลอดกาล
แต่รู้หรือไม่ว่า ชิปเซต หรือ สมองของสมาร์ตโฟนที่อยู่บนสมาร์ตโฟน เช่น ชิป A-Series ของแอปเปิล หรือชิป Snapdragon หลายรุ่นบน Android กลับถูกผลิตขึ้นโดยบริษัทเดียวกันที่ชื่อว่า Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC
ซึ่งนอกจากชิปบนสมาร์ตโฟนแล้ว TSMC ยังมีส่วนแบ่งการตลาดชิปเซตทั้งหมดบนโลกมากถึง 55.6% หรือเรียกได้ว่าชิปเกินกว่าครึ่งโลก ถูกผลิตขึ้นจากบริษัทแห่งนี้
ปัจจุบัน TSMC มีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านล้านบาท เป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกและมีมูลค่าเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชีย เป็นรองเพียง Saudi Aramco บริษัทน้ำมันแห่งชาติซาอุดีอาระเบีย
แล้ว TSMC มีที่มาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สำหรับผู้ก่อตั้งบริษัท TSMC ก็คือ “Morris Chang”
Morris Chang หรือ มอร์ริส จาง เกิดที่เมือง Ningbo
ซึ่งเป็นเมืองทางตะวันออกของประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1931
แม้จางจะเรียกได้ว่าเติบโตมาในครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง แต่ชีวิตในวัยเด็กของเขากลับไม่ได้สุขสบายมากนัก นั่นก็เพราะว่าเขาต้องเจอกับสงครามถึง 3 ครั้งด้วยกัน ได้แก่
- สงครามกลางเมืองในจีน ช่วงปี ค.ศ. 1927 ถึง 1949
- สงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่สอง ช่วงปี ค.ศ. 1937 ถึง 1945
- สงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงปี ค.ศ. 1939 ถึง 1945
ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ครอบครัวของเขาต้องทำการย้ายไปมาอยู่บ่อยครั้ง
จนในปี ค.ศ. 1948 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามกลางเมืองในจีน กำลังร้อนระอุ
จางในวัย 17 ปี พร้อมกับครอบครัว จึงได้ตัดสินใจย้ายไปอยู่ ฮ่องกง
แม้ในช่วง 17 ปีแรกของชีวิต จางจะได้รับผลกระทบจากสงครามเป็นอย่างมาก
แต่สิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากสงคราม ก็คือ เขาต้องขยันและทำงานหนัก โดยสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อของเขาคอยสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่ ก็คือ “เรื่องการเรียน” ด้วยเหตุนี้ จางจึงสามารถเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Harvard ได้สำเร็จ
หลังจากเข้าเรียนได้เพียง 1 ปี เขาก็ได้ย้ายไปเรียนที่ Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT และเขาก็ได้จบการศึกษาในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
งานแรกของ มอร์ริส จาง เริ่มต้นขึ้นที่ Sylvania Semiconductor เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้กับบริษัทแม่ Sylvania Electric Products อีกทีหนึ่ง
แต่หลังจากทำงานได้ 3 ปี เขารู้สึกว่าแนวทางของบริษัทในอนาคต ไม่ได้เป็นแบบที่เขาคิด
แนวทางของบริษัทคือ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ชนิด
ซึ่งต่างจากเป้าหมายของจางที่ต้องการโฟกัสไปที่ การพัฒนาตัวเซมิคอนดักเตอร์เป็นหลัก
เรื่องดังกล่าว จึงทำให้จางตัดสินใจออกจากบริษัท Sylvania Semiconductor เพื่อมาเริ่มงานใหม่ที่ Texas Instruments ในปี ค.ศ. 1958 และด้วยความสามารถของเขาทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมของบริษัท ภายในระยะเวลาเพียง 3 ปี
หลังจากนั้น เขาได้ไต่เต้าขึ้นมาเรื่อย ๆ จนได้รับตำแหน่ง รองประธานในการดูแลฝ่ายเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมด แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ในช่วงปี ค.ศ. 1980
บริษัท Texas Instruments ต้องการที่จะขยายธุรกิจเข้าไปสู่ลูกค้ารายย่อยมากขึ้น
โดยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะรุ่น TI-99/4
ซึ่งเดิมทีโมเดลธุรกิจหลักของ Texas Instruments คือเป็นซัปพลายเออร์ให้กับบริษัทอื่น
ไม่ได้ทำการค้าขายกับลูกค้ารายย่อยโดยตรง ซึ่งทางบริษัทก็ได้มอบหมายหน้าที่การขายสู่ลูกค้ารายย่อยให้กับจาง
หลังจากใช้เวลาไป 2 ปีครึ่ง ผลงานภายใต้การบริหารของจางกลับไม่ได้เป็นไปตามที่บริษัทคาดหวังเนื่องจากในช่วงนั้นมีผลิตภัณฑ์จากคู่แข่งที่แข็งแกร่งมากมาย เช่น คอมพิวเตอร์ Apple 2 ในยุคของ สตีฟ จอบส์
แม้ตำแหน่งในบริษัทของเขายังคงเป็นรองประธานก็ตาม
แต่จากผลงานที่ค่อนข้างแย่ เขาจึงถูกทางบริษัทลดตำแหน่งลง
เหตุการณ์นี้เอง ก็ได้สร้างความผิดหวังให้กับจางเป็นอย่างมาก
เพราะที่ผ่านมา เขาได้สร้างผลงานมากมายให้บริษัทเป็นเวลายาวนานกว่า 20 ปี
ในปี ค.ศ. 1983 จางในวัย 52 ปี จึงตัดสินใจลาออกจาก Texas Instruments
ซึ่งทันทีหลังจากที่เขาลาออก ก็ได้มีหลายบริษัทติดต่อเขาให้เข้าไปทำงานมากมาย
หนึ่งในนั้นคือ General Instrument Corporation หรือ GIC
บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเชี่ยวชาญในด้านเซมิคอนดักเตอร์และเคเบิลทีวี
ซึ่งเขาได้เลือกทำงานในบริษัทนี้ ในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ
ด้วยเหตุผลที่ว่า GIC ก็ถือเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ แม้จะไม่เท่า Texas Instruments
แต่ก็ตรงกับเป้าหมายของเขา ที่อยากเป็น CEO ของบริษัทระดับโลก
แต่หลังจากเข้าทำงานที่ GIC ได้ไม่ถึง 1 ปี เขาพบว่า
GIC เป็นบริษัทที่มีแนวทางการเติบโต จากการควบรวมกิจการอื่น ๆ
ต่างจากแนวทางการเติบโตแบบ Organic Growth ที่เขาตั้งใจไว้
ทำให้ระยะเวลาไม่นาน จางจึงได้ตัดสินใจลาออกอีกครั้ง
และแล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ. 1985
ในช่วงนั้น รัฐบาลไต้หวันต้องการเสริมสร้างความสามารถในการผลิตสินค้าของประเทศ
ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะสินค้าไอที
และหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ถูกผลักดัน ก็คือ “อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์”
สิ่งที่รัฐบาลไต้หวันทำในตอนนั้นคือ
มีการจัดสรรเงินทุนเพื่อก่อตั้ง “สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม”
หรือ Industrial Technology Research Institute (ITRI)
สิ่งที่ยังขาดไปสำหรับ ITRI ของไต้หวัน คือ “ผู้นำ” ที่จะพาให้โครงการนี้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง
และด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของจาง เขาจึงได้รับข้อเสนอจากทางรัฐบาลไต้หวัน ให้เข้ารับตำแหน่งประธานของ ITRI ด้วยเหตุผลที่ว่า ต้องการความสามารถของเขาในการพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ
หลังจากที่เขาตกลงรับข้อเสนอในครั้งนี้ ทางรัฐบาลไต้หวันได้ให้โจทย์กับเขาว่า
ต้องการยกระดับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน ผ่านการตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา
จางจึงได้เริ่มวิเคราะห์ โมเดลธุรกิจที่จะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ
ซึ่งเขาพบว่าไต้หวันในตอนนั้นมีจุดอ่อนเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยและพัฒนา
การออกแบบ และการตลาด ไต้หวันไม่มีความสามารถมากพอ
ที่จะสู้กับทาง Intel หรือ Texas Instruments ซึ่งเป็นเจ้าตลาดอยู่ได้เลย
จุดแข็งเดียวที่พอมี คือ “การผลิต” และจากการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง
ทำให้คำตอบของโจทย์นี้ออกมาเป็น “จัดตั้งบริษัทรับจ้างผลิตให้กับบริษัทอื่น”
แม้ความคิดนี้จะโดนคัดค้านในตอนแรก เนื่องจากในตอนนั้นยังไม่มีบริษัทที่มีโมเดลแบบ Fabless หรือ ไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง เช่น Apple หรือ Nvidia ในปัจจุบัน จึงทำให้ไม่มีตลาดรองรับ
แต่จากประสบการณ์ทำงานในวงการมาอย่างยาวนานเกือบ 30 ปี เขาสังเกตเห็นว่า
ทุก ๆ ปี จะมีพนักงานหลายคนของ Texas Instruments หรือ Intel ที่มีความคิด อยากออกมาสร้างธุรกิจเกี่ยวกับ ชิปเซตเป็นของตัวเอง
แต่ทุกครั้งความคิดนี้ต้องล้มเลิกไป เพราะการที่จะสามารถดำเนินธุรกิจ ชิปเซต ได้นั้น จำเป็นต้องมีโรงงานการผลิตเป็นของตัวเอง
ทำให้ยุคนั้นยังไม่มีบริษัทไหนที่ทำโมเดลธุรกิจรับจ้างผลิตเลย เพราะการสร้างโรงงานจำเป็นต้องใช้เงินทุนมหาศาล ซึ่งต้นทุนในการสร้างโรงงานใหม่ถ้าคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันอยู่ที่หลักแสนล้านบาทเลยทีเดียว
ในปี ค.ศ. 1987 Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้นมา
ซึ่งมีโมเดลการดำเนินธุรกิจ รับจ้างผลิตชิปเซตให้กับบริษัทอื่นโดยไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง ซึ่งนับเป็นบริษัทแรกของโลกที่มีโมเดลแบบนี้เกิดขึ้น
โดยในช่วง 3 ปีแรก บริษัทมีลูกค้าเพียงไม่กี่ราย ส่วนใหญ่มาจากภายในประเทศ
แต่หลังจากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา สิ่งที่จางคิดไว้ในตอนแรกก็เริ่มเป็นจริง
เพราะเริ่มมีบริษัทที่ต้องการชิปเซตเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากแต่ไม่มีทุนสร้างโรงงานผลิต
บริษัทเหล่านี้จึงได้กลายมาเป็นลูกค้าของ TSMC และได้ทำให้บริษัทเติบโตขึ้น
เหตุผลที่ทำให้หลายบริษัทเข้ามาเป็นลูกค้าของ TSMC เพราะบริษัทมีเทคโนโลยีในการผลิตที่มีความซับซ้อนสูง สามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งเป็นผลจากนโยบายการลงทุนในเรื่องการวิจัยและพัฒนา ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ในปี ค.ศ. 2020 TSMC มีมูลค่าในการวิจัยและพัฒนาสูงถึง 1.2 แสนล้านบาท คิดเป็น 8.5% เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งบริษัท ซึ่งมากกว่า Apple หนึ่งในเจ้าแห่งนวัตกรรมที่มีสัดส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 6.8% เสียอีก
โดย TSMC มีลูกค้ารายใหญ่คือ Apple, Nvidia และ Qualcomm และมีส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ มากถึง 55.6% เลยทีเดียว
ปัจจุบัน TSMC มีมูลค่าบริษัท สูงถึง 20 ล้านล้านบาท มากกว่า Intel ที่มีมูลค่า 7 ล้านล้านบาท และ AMD ที่มีมูลค่า 4 ล้านล้านบาท ซึ่งนับเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมดทั่วโลกอีกด้วย
จากเรื่องทั้งหมดนี้จึงทำให้ตัวเจ้าของบริษัทอย่าง มอร์ริส จาง มีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 93,000 ล้านบาท ขึ้นแท่นเป็นมหาเศรษฐีอันดับ 15 ของไต้หวัน
ถ้าถามว่าแนวคิดอะไร ที่ทำให้จางประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้
เราน่าจะสรุปได้เป็น 2 ข้อ
1. มีเป้าหมายที่ชัดเจน
จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า มอร์ริส จาง เป็นคนที่มีเป้าหมายชัดเจนมาก
หากเขารู้สึกว่างานที่เขาทำอยู่ไม่ได้อยู่ในเส้นทางที่เขาต้องการ
เขาก็พร้อมออกมาเพื่อตามหาสิ่งที่ตรงกับเป้าหมายของเขาเสมอ อย่างเช่น ตอนที่เขาออกจาก Sylvania Semiconductor และ GIC เพราะเขาต้องการงานที่โฟกัสไปที่การพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์เป็นหลัก
2. ความไม่ยอมแพ้
แม้หลายคนจะไม่เห็นด้วยกับการก่อตั้ง TSMC ให้เป็นบริษัทรับจ้างผลิตชิป แต่เขาก็ไม่ยอมแพ้และเชื่อมั่นในแนวคิดของตนเอง ก่อนที่จะก่อตั้งบริษัทจนสำเร็จ
จากการมีเป้าหมายที่ชัดเจนบวกกับการไม่ยอมแพ้ของจาง จึงไม่แปลกใจเลยที่ในวันนี้เขาสามารถพา TSMC ให้ประสบความสำเร็จจนมีมูลค่าบริษัท 20 ล้านล้านบาท ขึ้นแท่นเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกไปแล้ว นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://en.wikipedia.org/wiki/TSMC
-https://en.wikipedia.org/wiki/Morris_Chang
-https://www.longtunman.com/27349
-https://www.longtunman.com/27702
-https://sahilbloom.substack.com/p/the-amazing-story-of-morris-chang
-https://www.yourtechstory.com/2018/08/16/morris-chang-chip-industry-tsmc/
-https://www.semi.org/en/Oral-History-Interview-Morris-Chang
-https://www.forbes.com/profile/morris-chang/?sh=7eb878d45fc4
-https://en.wikipedia.org/wiki/Sylvania_Electric_Products
-https://www.investopedia.com/articles/markets/012716/how-taiwan-semiconductor-manufacturing-makes-money-tsm.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Semiconductor_fabrication_plant
-https://en.wikipedia.org/wiki/Texas_Instruments
-https://www.counterpointresearch.com/global-smartphone-share/
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過1萬的網紅梁丸,也在其Youtube影片中提到,希望這部影片,能夠讓大家更了解『台積電 分紅』,如果有什麼看法,歡迎在底下留言。 -- [參考] 1.片頭-曾博恩 x DJ Hauer -【TAIWAN】| Official Music Video 2.wiki 3.大學同學 4.ptt 5.自由時報 6.蘋果新聞 7.中時電子報 8.片尾-曾博...
tsmc wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
MediaTek ผู้มีบทบาทสำคัญ ในระบบ 5G แทนที่ Huawei /โดย ลงทุนแมน
ตั้งแต่ที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา สั่งแบน Huawei ในปี 2019
และบริษัทอเมริกันถูกห้ามไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับ Huawei
เรื่องนี้ก็สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการ ชิปรับสัญญาณ 5G
จากเดิมที ที่ชิปตระกูล Kirin ของ Huawei เคยเป็นผู้เล่นคนสำคัญ
กลับต้องตกที่นั่งลำบาก เพราะโดนสหรัฐอเมริกาแบน
ซึ่งอานิสงส์จากเรื่องนี้ ก็ตกมาที่บริษัทออกแบบชิป 5G รายอื่น ๆ
หนึ่งในนั้นก็คือ “MediaTek”
MediaTek เป็นใคร ทำไมถึงก้าวขึ้นมาเป็นผู้เล่นคนสำคัญ ในวงการชิป 5G
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
MediaTek ก่อตั้งเมื่อปี 1997 ทำธุรกิจออกแบบ และจัดจำหน่ายชิปสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
โดย MediaTek เป็นบริษัทลูกของ UMC (United Microelectronics Corporation) หนึ่งในบริษัทผลิตชิปยักษ์ใหญ่ในไต้หวัน
เดิมที MediaTek มีหน้าที่หลักคือรับออกแบบชิป
และให้บริษัทแม่อย่าง UMC เป็นผู้ผลิตชิปที่ออกแบบ
โดยเริ่มจากการผลิตชิปควบคุมการทำงานของแผ่น CD, DVD, Blue-ray แล้วต่อมาจึงได้เริ่มหันเข้าสู่ธุรกิจผลิตชิปควบคุมการทำงานของทีวีดิจิทัล
จนในปี 2017 MediaTek เริ่มเข้าสู่ธุรกิจผลิตชิปสำหรับสมาร์ตโฟน
คือชิปตระกูล Helio เพื่อมาเจาะตลาดชิปสำหรับแบรนด์สมาร์ตโฟนต่าง ๆ นอกเหนือจากตลาดเจ้าเดิม อย่าง Snapdragon ของ Qualcomm และ Exynos ของ Samsung
จุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้ MediaTek กลายเป็นผู้เล่นคนสำคัญในตลาดนี้
คือการเข้ารับตำแหน่งของ CEO คนปัจจุบัน ที่ชื่อว่าคุณ Rick Tsai
คุณ Rick Tsai อดีตเคยเป็น COO ของ TSMC บริษัทรับผลิตชิปรายสำคัญของโลกสัญชาติไต้หวัน
สิ่งแรกที่เขาทำหลังเข้ามารับตำแหน่งคือ
ลดการพึ่งพาบริษัทแม่อย่าง UMC ที่ก่อนหน้านี้ เป็นผู้ผลิตชิปรายหลักให้กับ MediaTek
เขามองว่า เทคโนโลยีและประสิทธิภาพในการผลิตชิปของ UMC ยังไม่สามารถเทียบเคียงกับ TSMC ได้
คุณ Rick Tsai จึงหันไปเลือกใช้บริการ TSMC ให้เป็นผู้ผลิตชิปหลัก ให้กับ MediaTek แทน
อีกจุดเปลี่ยนสำคัญตามที่ได้เกริ่นไปตอนต้นเรื่องก็คือ การที่สหรัฐอเมริกาแบน Huawei
ซึ่งมาตรการที่ออกมา ส่งผลให้สมาร์ตโฟนของ Huawei มียอดขายที่ลดลง
จากเดิม Huawei ครองส่วนแบ่งตลาดสมาร์ตโฟน อันดับ 3 รองจาก iPhone และ Samsung
กลายเป็นว่า ต้องเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับแบรนด์สมาร์ตโฟนมาแรงจากจีนรายอื่น อย่างเช่น Xiaomi, Oppo, Vivo, Realme
ประเด็นก็คือ สมาร์ตโฟนแบรนด์ Xiaomi, Oppo, Vivo ใช้ชิปประมวลผล ที่ออกแบบโดย 3 บริษัทคือ MediaTek, Qualcomm และ Samsung ซึ่งครองส่วนแบ่งในตลาดชิปออกแบบ รวมกันกว่า 60%
MediaTek ยังเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีสื่อสารของไต้หวัน
ที่ได้เข้าร่วมโครงการ Clean Network ของสหรัฐอเมริกา
ซึ่งโครงการ Clean Network คือโครงการที่ทางสหรัฐอเมริกาเคลมว่า ช่วยส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการสื่อสารที่ปลอดภัย ให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นส่วนตัวกับผู้ใช้งาน
นอกจากนั้น MediaTek ยังเป็นบริษัทออกแบบชิปเจ้าแรก ๆ
ที่ร่วมมือกับ HiSilicon ซึ่งเป็นบริษัทที่ออกแบบชิปของ Huawei ในการพัฒนาชิปสำหรับอุปกรณ์ส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตในระบบ 5G ทำให้ MediaTek ได้องค์ความรู้ในเรื่องพัฒนาชิป 5G มาพัฒนาต่อ
การเข้าสู่ยุคของการสื่อสารระบบ 5G
ทำให้มีความต้องการที่จะเปลี่ยนมาใช้สมาร์ตโฟนรุ่นใหม่มากขึ้น
ซึ่งจากจุดนี้ ก็เป็นตัวผลักดันให้เกิดการขายชิปสมาร์ตโฟน ตระกูล Dimensity ของ MediaTek สำหรับเป็นส่วนประกอบของสมาร์ตโฟน ตั้งแต่ระดับกลาง ไปจนถึงระดับสูง
ที่น่าสนใจคือ แบรนด์สมาร์ตโฟนสัญชาติจีนอย่าง Xiaomi, Oppo, Vivo ที่ส่วนใหญ่เลือกใช้ชิปของทั้ง MediaTek และ Qualcomm ก็กำลังมียอดขายเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
ทำให้ยอดขายชิปของทั้ง MediaTek และ Qualcomm ขยายตัวตามไปด้วยเช่นกัน
ซึ่งทาง MediaTek มีข้อได้เปรียบในเรื่องราคาขายชิป กว่า Qualcomm อยู่เล็กน้อย
เพราะ MediaTek ขายชิประบบ 5G ในราคาไม่ถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีราคาถูกกว่า ชิปตระกูล Snapdragon ของ Qualcomm ที่กำหนดราคาอยู่ที่ประมาณ 120-140 ดอลลาร์สหรัฐ
เรื่องนี้ทำให้ไตรมาสแรกปี 2021 ที่ผ่านมา
MediaTek ทำยอดขายชิปสมาร์ตโฟนเบียดเอาชนะ Qualcomm ได้สำเร็จ
โดยจากข้อมูล Counterpoint Research
ไตรมาสแรก ปี 2021 MediaTek ครองส่วนแบ่งในตลาดส่งมอบชิปสมาร์ตโฟน 37% ตามด้วย Qualcomm 31%
อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ Qualcomm เลือก Samsung เป็นผู้ผลิตชิปให้
ส่วนทางด้าน MediaTek นั้นเลือก TSMC ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงกว่า เป็นผู้ผลิตชิปให้
เราจะเห็นได้ว่า การที่ MediaTek เปลี่ยนมาใช้บริการ TSMC ให้มาเป็นผู้ผลิตชิปรายหลักให้ จากเดิมที่ใช้บริการบริษัทแม่อย่าง UMC ถือเป็นหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้ MediaTek มีข้อได้เปรียบในเรื่องศักยภาพการแข่งขันในตลาดชิป 5G
ผลประกอบการ ย้อนหลัง 3 ปี ของ MediaTek
ปี 2018 รายได้ 238,057 ล้านบาท กำไร 23,632 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 280,281 ล้านบาท กำไร 26,219 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 366,708 ล้านบาท กำไร 46,577 ล้านบาท
โดยที่ปี 2020 รายได้และกำไรของ MediaTek เติบโตอย่างก้าวกระโดด
ปัจจัยสำคัญก็เพราะ ยอดขายของบรรดาสมาร์ตโฟนอย่าง Xiaomi, Oppo, Vivo ที่เพิ่มสูงขึ้นมากมาแทนที่ Huawei ที่โดนทางสหรัฐอเมริกาแบน ซึ่งสมาร์ตโฟนแบรนด์เหล่านี้ ก็เป็นลูกค้าที่สั่งซื้อชิป รายสำคัญของ MediaTek
แต่ความท้าทายของผู้ออกแบบชิปอย่าง MediaTek และอีกหลาย ๆ รายในตอนนี้
ก็คงหนีไม่พ้น ความต้องการชิปที่เพิ่มขึ้นมากจากทั่วโลก จนเกิดปัญหาชิปขาดแคลน
จนซัปพลายเออร์คนสำคัญของ MediaTek ในตอนนี้อย่าง TSMC ก็มีออร์เดอร์อยู่ล้นมือ จนผลิตกันไม่ทันแล้ว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://tips.thaiware.com/1449.html
-https://www.bnext.com.tw/article/60653/5g-stock-industry-cellphone-december
-https://news.sina.com.tw/article/20200104/33899734.html
-https://www.bnext.com.tw/article/62681/MediaTek-ap-soc-37-percent-predict
-https://www.gvm.com.tw/article/60781
-https://qooah.com/2021/04/22/dimensity-2000-will-be-released-at-the-end-of-the-year-and-may-be-the-worlds-first-4nm-process-processor/
-https://money.udn.com/money/story/5612/5336387
-https://www.moneydj.com/kmdj/wiki/wikiviewer.aspx?keyid=80b24902-5be8-4232-bfcd-d80a4db156a2
-https://corp.MediaTek.tw/news-events/press-releases/MediaTek-unveils-new-m80-5g-modem-with-support-for-mmwave-and-sub-6-ghz-5g-networks
tsmc wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ทำไม แบรนด์อิเล็กทรอนิกส์ญี่ปุ่น ได้รับความนิยม ลดลง /โดย ลงทุนแมน
ย้อนกลับไปในช่วง 10 ถึง 20 ปีก่อน
ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นเจ้าแห่งการสร้างสรรค์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ที่ได้สร้างความฮือฮาให้กับทั่วโลกไว้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น
เครื่องเล่นเทปคาสเซตต์แบบพกพา หรือ Walkman
เครื่องเล่นแผ่นซีดีและดีวีดี
เครื่องเล่นเกมอย่าง Game Boy และ PlayStation
เครื่องคิดเลขทางวิทยาศาสตร์อย่าง Casio
แต่ปัจจุบัน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะที่เป็นนวัตกรรมระดับโลก
อย่างเช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เติมคำว่าสมาร์ตเข้าไป
กลับถูกคิดค้นและพัฒนาโดยสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และจีน เป็นส่วนใหญ่
แล้วทำไมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นผู้นำเท่าเมื่อก่อน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ช่วงทศวรรษ 1970s ประเทศญี่ปุ่นเริ่มมาเป็นผู้นำด้านสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่โดดเด่นของโลก
โดยเริ่มมาจากการรับเทคโนโลยีจากชาติตะวันตกในช่วงสงคราม และพัฒนาต่อยอด
จนกลายมาเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีได้เอง อย่างเช่นตัวอย่างเหล่านี้
Sony ขายเครื่องเล่นเทปคาสเซตต์แบบพกพา หรือ Walkman เป็นเจ้าแรกของโลก
Toshiba และ Epson ขายแล็ปท็อปในตลาด Mass เป็นเจ้าแรกของโลก
Kyocera ขายโทรศัพท์มือถือที่มีกล้อง เป็นเจ้าแรกของโลก
หรือถ้าลองสังเกตจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รอบตัวเรา ก็มีเป็นแบรนด์จากญี่ปุ่นอยู่มากมาย
ยิ่งถ้าเป็นเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน ไอเทมนำสมัยที่ได้รับความนิยมสูงส่วนใหญ่ ก็เป็นแบรนด์จากญี่ปุ่นทั้งนั้น
แล้วอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร ?
ถ้าแบ่งผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสองกลุ่มใหญ่
จะแบ่งได้เป็น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
และวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตอย่างเซมิคอนดักเตอร์
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันในตลาดโลก ตัวอย่างเช่น
สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต เจ้าตลาดคือ Samsung และ Apple
แล็ปท็อป เจ้าตลาดคือ Lenovo และ HP
เครื่องซักผ้า เจ้าตลาดคือ Haier และ Whirlpool
ตู้เย็น เจ้าตลาดคือ Haier และ LG
โทรทัศน์ เจ้าตลาดคือ Samsung และ LG
ซึ่งแบรนด์ทั้งหมดที่ว่ามานี้ เป็นของประเทศสหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และจีน
หรือแม้แต่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของโลก ก็มีส่วนแบ่งตลาดหลัก ๆ มาจาก
TSMC ของไต้หวัน และ Samsung ของเกาหลีใต้
จะสังเกตได้ว่า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
เริ่มไม่เห็นชื่อแบรนด์จากประเทศญี่ปุ่นแล้ว
แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?
จากมุมมองของอดีตผู้บริหารและพนักงานระดับสูงของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในญี่ปุ่น
รวมไปถึงมุมมองจากนักวิเคราะห์ สามารถรวบรวมเป็นปัจจัย
ที่ทำให้ญี่ปุ่นเริ่มหายไปจากตำแหน่งผู้นำในตลาดอิเล็กทรอนิกส์ได้ 4 ปัจจัยหลัก
ปัจจัยแรก สินค้าคุณภาพสูง จนเกินความต้องการของผู้ซื้อ
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศญี่ปุ่น ขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพ
สะท้อนได้จากปรัชญาในการผลิตที่เรียกว่า “Monozukuri” หรือ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์
ที่มีคุณภาพสูงโดยใช้ทักษะและเทคโนโลยี
แต่คุณภาพของสินค้า ก็ต้องตามมาด้วยราคาขายที่สูงขึ้นตาม
ซึ่งคุณภาพบางอย่าง ก็สูงเกินความต้องการของผู้ใช้งานจริง
โดยที่หลายคนไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้องจ่ายแพง เพื่อให้ได้ฟังก์ชันการใช้งานเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น
Sony เป็นบริษัทแรก ๆ ของโลกที่ขายโทรทัศน์จอ LCD
ก่อนที่หนึ่งปีให้หลัง Samsung จะวางขายและใช้ชื่อว่าจอ LED แทน
ขณะที่ Sony ใช้กลยุทธ์สินค้าคุณภาพสูงมาก เทคโนโลยีหน้าจอสุดล้ำ
หน้าจอบางที่สุด ส่งผลให้ราคาขายก็สูงขึ้นตามไปด้วย
Samsung กลับเน้นการตั้งราคาแบบเข้าถึงคนส่วนใหญ่ มากกว่ากลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง
จึงคุมต้นทุนการผลิต โดยเลือกเฉพาะฟังก์ชันการใช้งานที่จำเป็นแทน และเน้นที่ดีไซน์
ซึ่งกลยุทธ์แบบ Samsung ก็สามารถครองส่วนแบ่งตลาดไปได้มากที่สุด
หรือในการแข่งขันของสมาร์ตโฟน ที่มี iPhone ของ Apple เป็นผู้บุกเบิก
Sony และ Samsung ต่างเข้ามาแข่งขันด้วย ซึ่งทั้งคู่ยังคงใช้กลยุทธ์แบบเดิม
Sony Xperia มีฟังก์ชันการใช้งานครบครัน ในขณะที่ Samsung Galaxy มีหลายรุ่นให้เลือก โดยยอมลดทอนฟังก์ชันการใช้งานลงมา เพื่อให้ตั้งราคาขายแบบเข้าถึงง่าย จึงยืนระยะได้นานและยังคงเป็นแบรนด์สมาร์ตโฟนอันดับต้น ๆ ของโลก
ปัจจัยที่สอง ให้ความสำคัญเรื่องการตลาดน้อยเกินไป
บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในญี่ปุ่น เน้นการแข่งขันด้วยเทคโนโลยี เช่น การคิดค้นสินค้ารุ่นใหม่ที่บางสุด มีขนาดเล็กที่สุด แต่ยังขาดปัจจัยที่มีผลโดยตรงกับลูกค้า นั่นคือดีไซน์ ความง่ายในการใช้งาน และวิธีการสื่อสารกับลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น
ปี 2004 Sony ขายอุปกรณ์อ่านอีบุ๊กที่ชื่อว่า Librie เป็นเจ้าแรกของโลก
ก่อนหน้าที่ Amazon จะขาย Kindle นานถึง 3 ปี
แต่เหตุผลที่ Kindle กลายมาเป็นเจ้าตลาดอุปกรณ์อ่านอีบุ๊ก
นอกเหนือจากการที่ใช้งานง่ายกว่าแล้ว
Amazon โฟกัสที่การขายอีบุ๊กมากกว่าตัวอุปกรณ์อ่าน
ในขณะที่ Sony โฟกัสที่การขายตัวอุปกรณ์อย่างเดียว
Kindle จึงเชื่อมโยงถึงผู้ซื้อได้มากกว่า
ในด้านของเหตุผลที่ว่าซื้ออุปกรณ์นี้ไปเพื่ออะไร
และกลายมาเป็นเจ้าตลาดในที่สุด
ปัจจัยที่สาม โดดเด่นในการพัฒนาฮาร์ดแวร์ แต่ไม่ถนัดพัฒนาซอฟต์แวร์
สินค้าที่แบรนด์จากญี่ปุ่นคิดค้นแล้วประสบความสำเร็จ มักเป็นการพัฒนาที่ตัวอุปกรณ์และเครื่องกล
อย่างเช่นเครื่องเล่น Walkman, เครื่องเล่นซีดี และเครื่องเล่นเกม ซึ่งได้รับความนิยมสูงมากในช่วงที่เริ่มวางขาย แต่สินค้าเหล่านี้ไม่ได้มีระบบปฏิบัติการ หรือระบบนิเวศที่ดึงให้ผู้ใช้งานยังคงใช้ฮาร์ดแวร์เหล่านั้นไปเรื่อย ๆ
ในขณะที่การคิดค้นระบบปฏิบัติการของ Apple เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำฮาร์ดแวร์ให้เป็นมากกว่าฮาร์ดแวร์
iOS และ macOS ได้เข้ามามีบทบาททำให้ธุรกิจซอฟต์แวร์เติบโตแบบก้าวกระโดด
โดยประเทศญี่ปุ่นซึ่งยังไม่ถนัดในเรื่องนี้ จึงไล่ตามประเทศที่เป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์อย่างสหรัฐอเมริกาไม่ทัน
ปัจจัยสุดท้าย มุ่งพัฒนาเทคโนโลยี ด้วยตัวเอง
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ก็คือผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำในญี่ปุ่น
ในทศวรรษ 1990s รู้หรือไม่ว่าบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง NEC ครองส่วนแบ่งตลาดเซมิคอนดักเตอร์
มากที่สุดในโลก และยังมี Toshiba กับ Hitachi ที่มีส่วนแบ่งตลาดรองลงมา
แต่ในทศวรรษ 2000s ผู้นำในตลาดเซมิคอนดักเตอร์กลายเป็น Intel จากสหรัฐอเมริกา
ขณะที่ Samsung จากเกาหลีใต้เริ่มไล่ตามมาติด ๆ
ปี 2002 Hitachi จึงจับมือกับ Mitsubishi ร่วมกันตั้งบริษัทผลิตชิปที่ชื่อว่า Renesas
เพื่อช่วยพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์ไปด้วยกัน และปกป้องตำแหน่งผู้นำในตลาด
ก่อนที่ NEC จะเข้ามาควบรวมในอีก 7 ปีถัดมา
แต่การร่วมมือกันคิดค้นเทคโนโลยีผลิตชิปด้วยตัวเอง มีจุดอ่อนที่สำคัญคือ ช้า
ขณะที่ช่วงนั้น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน ใช้กลยุทธ์แบบที่ญี่ปุ่นเคยทำในอดีต
นั่นคือเรียนรู้เทคโนโลยีจากประเทศอื่น
แล้วนำมาต่อยอด ซึ่งกลยุทธ์แบบนี้มีจุดแข็งที่สำคัญคือ ความเร็ว
นั่นจึงทำให้ปัจจุบัน TSMC จากไต้หวัน และ Samsung จากเกาหลีใต้
กลายเป็นผู้นำในการผลิตชิปได้ในที่สุด
และทั้งหมดนี้ คือปัจจัยหลัก ที่ทำให้แบรนด์จากประเทศญี่ปุ่น
เริ่มหายไปจากตำแหน่งผู้นำในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ยิ่งในช่วงหลังปี 2010 ที่สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตกลายมาเป็นสินค้าจำเป็น
และแบรนด์ที่เป็นเจ้าตลาดในสินค้าเหล่านั้น ก็พัฒนาสินค้าประเภทอื่น
จนเป็นผู้นำในตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปได้เกือบทุกประเภท
ขณะที่บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น กลับต้องผ่านช่วงล้มลุกคลุกคลาน
บางบริษัทต้องเผชิญการขาดทุนอย่างหนัก จนต้องหาทางอยู่รอดกันต่อไป ยกตัวอย่างเช่น
Sharp ขายกิจการให้ Foxconn ของไต้หวันไปแล้ว
Panasonic ควบรวมกับ Sanyo
ขณะที่บริษัทที่ได้ไปต่อ ก็ยังคงมีผลประกอบการที่ตามหลังคู่แข่ง ซึ่งเรื่องนี้ก็ส่งผลให้งบลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา มีน้อยลงไปด้วย การเร่งความเร็วในการไล่ตามคู่แข่ง จึงทำได้ไม่ง่ายนัก
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าแบรนด์อิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น
จะแก้เกมจนกลับสู่การเป็นผู้นำในตลาดโลกได้อีกครั้งหรือไม่
หรือจะเสียตำแหน่งไป แบบไม่มีวันทวงคืน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.wsj.com/articles/SB10000872396390444840104577551972061864692
-https://www.bbc.com/news/world-asia-21992700
-https://money.cnn.com/2017/05/04/technology/japanese-companies-fall-toshiba-olympus-sanyo-sharp/index.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Electronics_industry
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Japanese_inventions_and_discoveries#Audio_technology
-https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/appliances-market
-https://www.icinsights.com/news/bulletins/Lone-Japanese-Semiconductor-Supplier-Ranked-Among-Top-10-In-1H13/
-https://technology.inquirer.net/89835/from-sony-to-samsung-how-tech-leadership-migrated-from-japan-to-korea
tsmc wiki 在 梁丸 Youtube 的最讚貼文
希望這部影片,能夠讓大家更了解『台積電 分紅』,如果有什麼看法,歡迎在底下留言。
--
[參考]
1.片頭-曾博恩 x DJ Hauer -【TAIWAN】| Official Music Video
2.wiki
3.大學同學
4.ptt
5.自由時報
6.蘋果新聞
7.中時電子報
8.片尾-曾博恩 x DJ Hauer -【TAIWAN】| Official Music Video
--
若喜歡我的影片,記得訂閱、分享或按讚,你的支持就是我的動力,感謝你!❤❤❤
新影片不定期上架!
--
歡迎訂閱 ▶ http://bit.ly/2reFtOY
記得按右邊的鈴鐘🔔
有新的影片上傳會通知你
----
網誌圖文版▶https://bit.ly/3jUTYit
FB粉絲專頁▶https://www.facebook.com/TwoplayNews/
Twitter▶https://twitter.com/twoplay520
--
#台積
#台積電
#台GG
#tsmc
#TSM
#2330
#張忠謀
#分紅
tsmc wiki 在 Why Russia Can't Replace TSMC - YouTube 的推薦與評價
In late February 2022, Taiwan Semiconductor Manufacturing Company or TSMC announced that it would halt shipments to Russia per a new round ... ... <看更多>