Minecraft ธุรกิจเกม 7 หมื่นล้าน ที่เกิดขึ้นจากงานอดิเรก /โดย ลงทุนแมน
Minecraft เกมสุดดังที่ไม่ว่าใครจะเคยเล่นหรือไม่
แต่อย่างน้อย เราก็น่าจะจดจำลักษณะของตัวละคร
โครงสร้างและสิ่งของต่าง ๆ ในเกม ที่ล้วนมีรูปทรงเป็นเหลี่ยม
อีกสิ่งที่โดดเด่นสำหรับเกมนี้ก็คือ
ผู้เล่นสามารถเล่นและออกแบบโลกได้อย่างอิสระ
จึงทำให้เกมนี้กลายเป็นเกมขวัญใจของใครหลายคน
จนกลายเป็นเกมที่มียอดผู้เล่นมากถึง 100 ล้านบัญชีต่อเดือน
และในปีล่าสุด ทางบริษัทก็มีรายได้มากถึง 12,900 ล้านบาท
แต่รู้หรือไม่ว่า Minecraft ที่ฮิตติดตลาดทั่วโลกนั้น
มีจุดเริ่มต้นมาจากชาวโปรแกรมเมอร์คนหนึ่ง
ที่ใช้เพียงเวลาหลังจากเลิกงานในการพัฒนาเกมนี้ขึ้นมา
แล้วเรื่องราวของ Minecraft น่าสนใจขนาดไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Minecraft เป็นเกมที่ให้ผู้เล่นรวบรวมทรัพยากรมาสร้างสิ่งต่าง ๆ
เพื่อเอาตัวรอดจากศัตรู และการสำรวจโลกอันกว้างใหญ่อีกด้วย
ซึ่งตัวเกมมีโหมดที่หลากหลายตามสไตล์ของผู้เล่น
ให้เลือกไว้เมื่อเริ่มเกมใหม่ในแต่ละเกม
ซึ่งทำให้ผู้เล่นได้สัมผัสกับการผจญภัยที่แตกต่างกัน
เช่น
หากเราอยากสัมผัสชีวิตการเอาตัวรอดในแต่ละวัน เลือกโหมด Survival
หากเราต้องการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ โดยไม่มีข้อจำกัด เลือกโหมด Creative
หากเราต้องการผจญภัย สมจริง เลือกโหมด Adventure
โดยที่เรายังสามารถเลือกได้ว่าจะเล่นแบบคนเดียวหรือออนไลน์
นั่นจึงทำให้ Minecraft เปรียบเสมือนอีกโลกหนึ่ง
ที่ผู้เล่นมีอิสระทำอะไรก็ได้ตามใจนึกและสามารถเชื่อมต่อกับผู้เล่นคนอื่นได้ด้วย
Minecraft จึงกลายมาเป็นกระแสและฮิตติดตลาดอย่างรวดเร็ว
แล้วใครเป็นคนสร้างเกมนี้ขึ้นมา ?
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2009 หรือ 12 ปีก่อน ที่ประเทศสวีเดน
จุดเริ่มต้นของ Minecraft เกิดขึ้นจากงานอดิเรกยามว่างหลังจากเลิกงานประจำ
ของโปรแกรมเมอร์ชาวสวีเดน ที่ชื่อว่า Markus “Notch” Persson
เขาเกิดแนวคิดอยากสร้างเกมหนึ่งขึ้นมา
โดยมีกฎเกณฑ์ว่า เกมจะต้องสนุกและคนทุกเพศ ทุกวัยเข้าถึงได้
นอกจากนี้ ตัวเกมต้องเข้าใจได้ง่ายโดยที่ไม่ต้องมีคู่มือสอนการเล่น
และต้องเป็นเกมที่สามารถเล่นได้อย่างไม่มีสิ้นสุดหรือไม่มีจุดจบเกม
ที่สำคัญที่สุด คือ ผู้เล่นสามารถออกแบบโลกของตัวเองได้อย่างอิสระ
เขาได้ใช้กฎเกณฑ์ที่คิดเหล่านี้ผสมกับหลายเกมที่เขาเคยเล่น เช่น
- Dwarf Fortress เกมจำลองการก่อสร้างและการจัดการ
- Dungeon Keeper เกมที่ผู้เล่นได้รับบทปีศาจเฝ้าสมบัติในดันเจี้ยน
- Infiniminer เกมรูปแบบเดียวกับ Minecraft แต่มีข้อจำกัดที่มากกว่า
สุดท้ายจึงออกมาเป็นเกมที่เรารู้จักคือ Minecraft
โดยไอเดียที่เล่ามาทั้งหมดนี้ Persson ก็ได้ใช้เวลาเพียงแค่ 1 สัปดาห์
ในการสร้างและพัฒนาเกมเวอร์ชันแรกขึ้นมาสำหรับการทดสอบ
Minecraft เวอร์ชันแรกเปิดตัวเมื่อ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2009
โดยเขาได้โพสต์เชิญชวนผู้คนบน TIGSource Forums บอร์ดสำหรับชาวเกมอินดี
ซึ่งช่วงแรก Persson ก็เปิดทดลองให้คนเข้ามาเล่นได้แบบฟรี
แต่ในเดือนต่อมา
ระหว่างที่เขาพัฒนาฟังก์ชันภายในเกมทีละนิดทีละหน่อย
เขาสังเกตว่า Minecraft มีกระแสการตอบรับที่ดี
จึงตัดสินใจเปลี่ยนเป็นรูปแบบเสียเงินในราคาประมาณ 300 บาท
เมื่อ Persson เห็นว่าโปรเจกต์ Minecraft เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
เขาก็ได้ตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อมาสานต่อโปรเจกต์ให้สำเร็จ
โดยเชิญชวนเพื่อนอีกสองคนมาร่วมกันก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า Mojang Studios
คือ Carl Manneh ซีอีโอจากบริษัทที่ตนเองออกมา และ Jakob Porser อดีตเพื่อนร่วมงาน
สำหรับการทำธุรกิจเกมนั้น Persson มองว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องเสียเงินค่าทำการตลาด
ในเมื่อมี Reddit ชุมชนสังคมออนไลน์ ที่คอยกระจายข่าวสารต่าง ๆ ที่น่าสนใจอยู่แล้ว
ดังนั้นเขาจึงมุ่งเน้นสร้างอารมณ์แก่ผู้เล่น ให้มีความตื่นเต้นอยู่ตลอดเวลา
โดยการพัฒนาและอัปเดตคุณสมบัติภายในเกมออกมาอยู่เสมอ
ซึ่งต่างจากเกมทั่วไปส่วนใหญ่ที่สร้างครั้งเดียวแล้วจบ
ทำให้ธุรกิจ Minecraft ดำเนินไปได้ดีอย่างมาก
ทั้งจากการขายเกมโดยตรงและสินค้าที่เกี่ยวข้อง
จากเรื่องนี้ส่งผลให้มีบริษัทมากมายสนใจเข้ามาร่วมทุนด้วย
สุดท้ายบริษัทเหล่านั้นก็ถูกปฏิเสธข้อเสนอไป
เพราะ Mojang Studios ไม่ได้ต้องการเงิน
อย่างไรก็ตาม ในปี 2014 Persson กลับเกิดความคิดอยากขายบริษัทของตัวเอง
เนื่องจากเขาเบื่อหน่ายกับคำวิจารณ์จากผู้เล่นบางส่วนที่ไม่พึงพอใจในตัวเกม
นั่นจึงทำให้เขาตัดสินใจทวีตข้อความถามหาบริษัทที่สนใจซื้อบริษัทของเขา
ซึ่งก็มีหลายบริษัทที่สนใจ เช่น EA, Activision Blizzard รวมถึง Microsoft
เมื่อมีบริษัทที่ให้ความสนใจอย่างมากมาย
Persson จึงตัดสินใจเลือกบริษัท
โดยคัดจาก “วิธีการที่บริษัทนั้น ๆ ใช้ในการผลิตเกม”
ถ้าหากเป็นวิธีการที่เขาไม่ชอบ จะตัดรายชื่อออกทันที
และผู้ที่ทำให้ Persson ประทับใจมากที่สุด
ก็คือ Microsoft ที่เข้ามาซื้อกิจการ ด้วยมูลค่าถึง 77,800 ล้านบาท
ส่งผลให้ Persson กลายเป็นมหาเศรษฐีหมื่นล้านบาท ภายในชั่วข้ามคืน
แม้ว่าความเป็นเจ้าของ Minecraft จะถูกเปลี่ยนมือไป
แต่ Minecraft ก็ยังคงถูกพัฒนาและเพิ่มลูกเล่นต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา
เกมยังถูกขยายให้ผู้เล่นสามารถเล่นได้หลากหลายคอนโซลและแพลตฟอร์ม
เช่น Xbox, PlayStation, Nintendo หรือแม้แต่ในรูปแบบสมาร์ตโฟนก็ตาม
นอกจากนี้ Minecraft ใช้วิธีการขยายแฟรนไชส์ของตัวเอง
เหมือนกับ Mario ที่ทาง Nintendo ได้ทำเอาไว้
เช่น การแตกภาคต่าง ๆ ออกตามมา
อย่าง Minecraft: Story Mode และ Minecraft Dungeons
หรือแม้แต่ในรูปแบบของภาพยนตร์ Minecraft: The Movie ที่มีกำหนดฉายปี 2022
จากการที่พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใจที่ Minecraft ยังคงเป็นเกมที่ใคร ๆ หลงรักและเล่นอยู่เสมอ
หากถามว่า Minecraft ฮิตขนาดไหน
ก็คงต้องมาดูที่จำนวนผู้เล่นที่ผ่านมา
จำนวนผู้เล่นในแต่ละเดือน
ปี 2018 จำนวนผู้เล่นรายเดือน 75 ล้านคน
ปี 2019 จำนวนผู้เล่นรายเดือน 91 ล้านคน
ปี 2020 จำนวนผู้เล่นรายเดือน 131 ล้านคน
รายได้จากยอดขายของ Minecraft ที่ผ่านมา
ปี 2017 รายได้ 11,500 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 15,600 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 11,700 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 12,900 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า แม้ Minecraft จะถูกวางขายมาอย่างยาวนานแล้ว
แต่ก็ยังสามารถรักษาระดับยอดขายได้ที่หลักหมื่นล้านบาททุกปี
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ ทำให้เราสรุปได้ว่า
บางครั้งไอเดียทางธุรกิจของเราก็อาจจะมาจากงานอดิเรก
ที่ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ก็สามารถกลายมาเป็นธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ได้เหมือนกัน
อย่างในกรณีของ Minecraft ที่มีจุดเริ่มต้น
มาจากงานอดิเรกหลังเลิกงานของ Persson
ก็ได้กลายมาเป็นธุรกิจระดับ 7 หมื่นล้านบาท
อีกเรื่องที่เราได้เรียนรู้และสามารถนำมา
ปรับใช้กับธุรกิจของเราได้ก็คือ การคิดและลงมือทำทันที
อย่างตอนที่ Persson พอรู้ว่ามีไอเดียอะไร
เขาก็ใช้เวลาสร้างมันเพียง 1 สัปดาห์และปล่อยสู่ตลาด
หลังจากนั้นก็ค่อยเก็บฟีดแบ็กจากผู้เล่นและพัฒนาไปตามสิ่งที่ผู้เล่นต้องการ
ซึ่งวิธีนี้ก็อาจจะเป็นหนึ่งในเคล็ดลับที่ทำให้ Minecraft กลายมาเป็นอีกเกม
ที่แม้จะไม่ได้มีกราฟิกโดดเด่น แต่กลายเป็นแบรนด์ที่ฐานผู้เล่นเหนียวแน่น
และยังคงเติบโต จนมีผู้เล่นทะลุ 100 ล้านคนต่อเดือนไปแล้ว นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.redbull.com/se-en/history-of-minecraft
-https://root-nation.com/en/games-en/games-articles-en/en-history-of-minecraft/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Stardew_Valley
-https://www.businessofapps.com/data/minecraft-statistics/
-https://www.thescienceacademystemmagnet.org/2019/12/20/the-history-of-minecraft/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「tigsource」的推薦目錄:
- 關於tigsource 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於tigsource 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
- 關於tigsource 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於tigsource 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於tigsource 在 TIGSource - 首頁 的評價
- 關於tigsource 在 TIGSource | Indie game art, Cool writing, Pixel art - Pinterest 的評價
- 關於tigsource 在 TIGSource - YouTube 的評價
- 關於tigsource 在 Dvergar/TIGJam-Versus: Entry for the Versus TIGSource Jam 的評價
tigsource 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
tigsource 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
tigsource 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
tigsource 在 TIGSource | Indie game art, Cool writing, Pixel art - Pinterest 的推薦與評價
May 20, 2016 - Tig Source – Indie Game Development Logs http://www.tigsource.com. ... <看更多>
tigsource 在 TIGSource - YouTube 的推薦與評價
AboutPressCopyrightContact usCreatorsAdvertiseDevelopersTermsPrivacyPolicy & SafetyHow YouTube worksTest new features. © 2021 Google LLC ... ... <看更多>
tigsource 在 TIGSource - 首頁 的推薦與評價
TIGSource 。 4153 個讚。 ... Top Indie Games of 2011 (According to the TIGSource Forums) ... Voting has begun on the TIGSource Versus Competition! ... <看更多>