เจ้าของสตาร์ตอัปยูนิคอร์น ใหญ่สุดในโลก คือใคร ? /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงบริษัทเทคโนโลยีในจีน หลายคนคงนึกถึง Alibaba หรือ Tencent
แต่รู้หรือไม่ว่ายังมีอีกบริษัทเทคโนโลยีจากจีนที่กำลังมาแรง
ถึงขนาดที่ก้าวขึ้นมาเป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์น ที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้
บริษัทนั้น ก็คือ “ByteDance” เจ้าของแอปพลิเคชัน TikTok
ที่มีมูลค่าประเมินล่าสุดอยู่ที่ 14.0 ล้านล้านบาท
โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของยูนิคอร์นตัวนี้ คือ “จาง อี้หมิง”
แล้วกว่าจะมาเป็นวันนี้ จาง อี้หมิง และ ByteDance ผ่านอะไรมาบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จาง อี้หมิง เกิดในปี ค.ศ. 1983 ที่เมือง Longyan จังหวัด Fujian ประเทศจีน ปัจจุบันมีอายุ 38 ปี
แม้เขาจะเกิดและเติบโตในครอบครัวธรรมดา ฐานะปานกลาง แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือครอบครัวของจาง ค่อนข้างให้อิสระกับเขา ไม่ได้มีกฎเกณฑ์หรือมีระเบียบเคร่งครัด ต่างจากครอบครัวชาวจีนในสมัยนั้น
นอกจากนี้ ทั้งพ่อและแม่ของจางก็ยังสนับสนุนให้เขาลองผิดลองถูกอยู่เสมอ
เรื่องนี้เอง ก็ได้ทำให้เขาเติบโตมาพร้อมกับความคิดสร้างสรรค์
และมีความกล้าที่จะลองอะไรใหม่ ๆ ตลอดเวลา
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2001 เขาได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Nankai ในสาขา Microelectronics
ต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาศึกษาในสาขาวิชา Software Engineer
หลังจากจบการศึกษา จางก็ได้เริ่มธุรกิจของตัวเองเป็นครั้งแรก ร่วมกับรุ่นพี่ที่รู้จักกันจากมหาวิทยาลัย
โดยธุรกิจที่เขาก่อตั้งขึ้นนั้น เป็นธุรกิจที่ทำระบบจัดการข้อมูลและการเข้าถึงสำหรับองค์กร
แต่ในตอนนั้นด้วยความที่ยังไม่มีประสบการณ์ จึงทำให้เขาทำผิดพลาดในหลายเรื่อง
เช่น การวางตำแหน่งทางการตลาดที่ไม่ดี สุดท้ายเขาก็ต้องล้มเลิกกิจการไป ภายในระยะเวลาเพียงปีเดียว
ในปี ค.ศ. 2006 เขาได้เข้าทำงานกับสตาร์ตอัป Kuxun ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม ที่ให้บริการสำหรับการจองตั๋ว เช่น เครื่องบิน โรงแรม และรถไฟ คล้าย ๆ กับ Agoda, Booking, Traveloka
ในช่วงที่เขาได้เข้ามาทำงานที่นี่ บริษัทยังถือว่ามีขนาดเล็กและมีพนักงานเพียงไม่กี่คน
เล็กในระดับที่เขา เป็นพนักงาน Software Engineer คนแรกขององค์กร
หลังจากผ่านไปได้เพียง 2 ปี Kuxun ที่ตอนแรกเป็นเพียงสตาร์ตอัปขนาดเล็ก
ก็ได้เติบโตขึ้นกลายเป็นบริษัทที่มีพนักงานกว่า 40 คน
และด้วยความสามารถที่โดดเด่นของจาง ทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคนิค
แต่แน่นอนว่าตำแหน่งหัวหน้าย่อมต้องมีเรื่องการบริหารเข้ามาเกี่ยวข้อง
ด้วยความที่เขารู้สึกว่าตนเองยังไม่เก่งเรื่องการบริหารและทำได้ไม่ค่อยดี
เขาจึงอยากพัฒนาและต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารมากกว่านี้
เขาจึงมีเป้าหมายว่าต้องการเรียนรู้วิธีการบริหารจากบริษัทระดับโลก
ซึ่งนั่นก็นำไปสู่การเดินทางออกนอกประเทศบ้านเกิดในปี ค.ศ. 2008 เพื่อไปร่วมงานกับ Microsoft
แต่จางก็ทำงานที่นี่ได้ไม่นาน เพราะเขารู้สึกว่าบริษัทแห่งนี้ มีกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดเกินไป
หลังจากลองผิดลองถูกและสะสมประสบการณ์มาพอสมควร
เขาก็ได้ตัดสินใจลาออกจาก Microsoft เพื่อกลับไปลองก่อตั้งบริษัทของตนเองอีกครั้ง
ชื่อว่า “99fang” แพลตฟอร์มที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
หลังจากก่อตั้งได้เพียง 6 เดือน 99fang ก็สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานได้
จนแพลตฟอร์มของเขาเติบโตจนมีผู้ใช้งานมากถึง 1.5 ล้านบัญชี
และได้ก้าวขึ้นเป็นแพลตฟอร์มสำหรับอสังหาริมทรัพย์ของจีนอันดับต้น ๆ ในเวลานั้นเลยทีเดียว
ในขณะเดียวกัน เขาเริ่มเห็นว่าผู้คนมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนมากขึ้น
ทำให้เขามองว่าการใช้อินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนจะเติบโตขึ้นอีกมากในอนาคต
เขาจึงมองไปที่ตลาดที่ใหญ่กว่าตลาดในประเทศจีน นั่นก็คือ “ตลาดโลก”
จาง อี้หมิง ในวัย 29 ปี จึงได้ตัดสินใจจ้างผู้บริหารมารับไม้ต่อในการบริหาร 99fang
เพื่อที่เขาจะได้มาโฟกัสในธุรกิจใหม่ ในตอนนั้นเขาจึงก่อตั้ง “ByteDance” ขึ้นมา
โดยครั้งนี้เขาต้องการสร้าง แพลตฟอร์มโซเชียลที่ขับเคลื่อนด้วย AI เป็นหลัก
แม้จะมีไอเดียที่ดี แต่ในตอนนั้นแทบไม่มีใครเชื่อมั่น และให้เงินสนับสนุนกับเขาเลย
ถึงขนาดว่าในช่วงเริ่มต้น ByteDance ถูกปฏิเสธจาก Venture Capital หรือผู้ให้เงินระดมทุนกว่า 30 ครั้ง
ก็จะมีแต่ Susquehanna International Group ซึ่งเป็นบริษัทด้านการค้าและเทคโนโลยีระดับโลก
ที่ได้ให้เงินสนับสนุนกับจางราว 155 ล้านบาท
หลังจากที่ได้เงินสนับสนุนมา ในปีเดียวกันบริษัท ByteDance ได้เปิดตัว Toutiao ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม
ที่ให้บริการแจ้งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งจุดเด่นของ Toutiao คือจะนำเสนอเนื้อหาตามความชอบ
โดยใช้ AI ในการวิเคราะห์ หลังจากเปิดตัวได้ 2 ปีมีผู้ใช้งานสูงถึง 13 ล้านบัญชีต่อวัน
จุดนี้เอง ก็ได้เริ่มทำให้เหล่าบริษัทขนาดใหญ่เริ่มให้ความสนใจและให้เงินสนับสนุน
ไม่ว่าจะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง SoftBank รวมถึง Sequoia Capital ที่เคยปฏิเสธจางไปในครั้งแรก
ก็ได้กลับมาให้เงินสนับสนุนมากถึง 3,200 ล้านบาทในปี ค.ศ. 2014
ต่อมา จางยังได้สังเกตเห็นว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะดูคลิปวิดีโอสั้นมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่
นั่นจึงเป็นไอเดียที่ทำให้ในปี ค.ศ. 2016 ByteDance ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้นในจีน
ชื่อว่า “Douyin” หรือในเวอร์ชันสากลที่เรารู้จักกันคือ “TikTok” นั่นเอง
TikTok เป็นแพลตฟอร์มสำหรับสร้างและรับชมวิดีโอสั้น ซึ่งจะมีฟีเชอร์เสริมที่สามารถใส่เพลงประกอบได้
โดยในตอนแรกจะมีความยาวของวิดีโอเพียง 15 วินาทีเท่านั้น แต่ในภายหลังได้เพิ่มให้วิดีโอสามารถมีความยาวได้ถึง 3 นาที
และแน่นอนว่า TikTok ก็มีระบบแนะนำวิดีโอที่เราชอบหรืออาจจะสนใจ โดยการใช้ AI
ซึ่งเป็นจุดแข็งของบริษัท ซึ่ง TikTok ก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
เร็วในระดับที่หลังจากเปิดให้บริการได้เพียง 1 ปี TikTok มียอดผู้ใช้งานทั่วโลกสูงถึง 54 ล้านบัญชี
และเติบโตต่อเนื่อง จนปัจจุบันยอดผู้ใช้งานของ TikTok ได้กลายเป็น 732 ล้านบัญชีทั่วโลก
แล้วที่ผ่านมา ByteDance มีผลประกอบการเป็นอย่างไร ?
ปี 2018 มีรายได้ 230,000 ล้านบาท
ปี 2019 มีรายได้ 650,000 ล้านบาท
ปี 2020 มีรายได้ 1,200,000 ล้านบาท
รายได้เพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี ซึ่งถือเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด
และปัจจุบัน ByteDance ได้กลายเป็นบริษัทเนื้อหอม ที่มีแต่ผู้เข้ามาให้เงินระดมทุนมหาศาล
จนล่าสุดบริษัท ถูกประเมินมูลค่าอยู่ที่ 14.0 ล้านล้านบาท
และด้วยมูลค่าบริษัทที่เพิ่มขึ้นนี้เอง จึงทำให้ตัวเจ้าของอย่างจาง มีมูลค่าทรัพย์สินสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท
ขึ้นแท่นเป็นคนที่รวยที่สุดอันดับ 9 ของจีน และอันดับ 39 ของโลก
แล้วถ้าถามว่าเคล็ดลับความสำเร็จของจาง อี้หมิง คืออะไร ?
เราก็น่าจะนำมาสรุปแบ่งได้เป็น 2 ข้อ นั่นก็คือ
1. เขากล้าที่จะคิดในสิ่งใหม่ ๆ และลงมือทำอย่างจริงจัง
เหมือนตอนที่เขาตัดสินใจจ้างผู้บริหารใหม่มาดูแล “99fang” ทั้ง ๆ ที่บริษัทกำลังไปได้ดี
เพื่อจะมาทำตามความฝัน โดยการก่อตั้ง “ByteDance”
ที่ในตอนแรกแทบไม่มีใครเชื่อว่าเขาจะทำได้
2. เขายอมรับข้อเสียของตัวเอง เพื่อที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
เหมือนกับในช่วงที่เขาลาออกจาก Kuxun เพื่อที่จะเข้าไปเรียนรู้การบริหารในบริษัทที่ใหญ่กว่าอย่าง Microsoft และเมื่อกลางปีที่ผ่านมา จาง อี้หมิง เพิ่งประกาศว่าจะลงจากตำแหน่ง CEO ของ ByteDance โดยให้เหตุผลว่า “เขายังคงขาดทักษะบางอย่าง ในการเป็นผู้บริหารที่ดี”
แม้ว่าวันนี้ จาง อี้หมิง จะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากคนหนึ่ง
แต่เขายังคงถ่อมตน ไม่หลงตัวเอง คอยมองหาข้อผิดพลาดเพื่อที่จะแก้ไขและเรียนรู้อยู่เสมอ
ด้วยแนวคิดนี้ เราจึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไม ByteDance ภายใต้การบริหาร
ของจาง อี้หมิง ได้ก้าวขึ้นมาเป็น ยูนิคอร์นที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://en.wikipedia.org/wiki/Zhang_Yiming
-https://www.youtube.com/watch?v=kqxbO067y4g
-https://en.wikipedia.org/wiki/ByteDance
-https://www.businessinsider.com/bytedance-cofounder-zhang-yiming-steps-down-as-ceo-report-2021-5
-https://forbesthailand.com/news/global/zhang-yiming-เจ้าของแอปฮิต-tiktok-บริจาค-10.html
-https://www.forbes.com/profile/zhang-yiming/?sh=686eec81993c
-https://www.businessofapps.com/data/tik-tok-statistics/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Toutiao
-https://en.wikipedia.org/wiki/TikTok
-https://www.longtunman.com/31622
-https://2.flexiple.com/founders/zhang-yiming
-https://asia.nikkei.com/Business/36Kr-KrASIA/TikTok-creator-ByteDance-hits-425bn-valuation-on-gray-market#:~:text=BEIJING%20%2D%2D%20The%20valuation%20of,stakes%20for%20sale%20in%20ByteDance.
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「traveloka valuation」的推薦目錄:
- 關於traveloka valuation 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於traveloka valuation 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於traveloka valuation 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於traveloka valuation 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
- 關於traveloka valuation 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
- 關於traveloka valuation 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於traveloka valuation 在 Traveloka's Valuation Exceeds OVO, the Company is Ready ... 的評價
- 關於traveloka valuation 在 traveloka-在PTT/MOBILE01/Dcard上的毛小孩推薦資訊整理 的評價
- 關於traveloka valuation 在 traveloka-在PTT/MOBILE01/Dcard上的毛小孩推薦資訊整理 的評價
- 關於traveloka valuation 在 traveloka-在PTT/MOBILE01/Dcard上的毛小孩推薦資訊整理 的評價
- 關於traveloka valuation 在 List Of All Unicorn Startups in Indonesia (With ... - YouTube 的評價
- 關於traveloka valuation 在 Traveloka investors are betting on... - The Business Times 的評價
traveloka valuation 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ผู้สนับสนุน..
สตาร์ทอัพไทย จะเป็นยูนิคอร์นได้อย่างไร? / โดย ลงทุนแมน
ยูนิคอร์น คือ สตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 3 หมื่นล้านบาท
รู้ไหมว่าเพื่อนบ้านที่รายล้อมเราในอาเซียนต่างมีสตาร์ทอัพที่เป็นยูนิคอร์นกันทั้งหมด
อินโดนีเซีย มี GOJEK, tokopedia, traveloka, Bukalapak
เวียดนาม มี VNG
ฟิลิปปินส์ มี Revolution Precrafted
มาเลเซีย มี Grab
สิงคโปร์ มี SEA ที่สามารถระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ไปเรียบร้อยแล้ว
แต่ประเทศไทยยังไม่มียูนิคอร์น..
รู้ไหมว่าหนึ่งในเหตุผลหลักของเรื่องนี้ก็คือ
“คนรุ่นใหม่เก่งๆ” ในประเทศไทย โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี สนใจทำงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่มากกว่าที่จะผันตัวเองมาเป็นผู้ประกอบการในรูปแบบสตาร์ทอัพ
สาเหตุก็เป็นเพราะพวกเขามองเห็นโอกาสในอนาคตที่จะประสบความสำเร็จในประเทศไทยในฐานะสตาร์ทอัพ น้อยกว่าการทำงานอยู่ในบริษัทใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่เดิม หรือบริษัทใหญ่ที่เป็นยูนิคอร์นจากต่างประเทศ
ลองคิดตามว่า เด็กรุ่นใหม่เรียนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยชื่อดัง
ถ้าคนที่มาเสนองานมีบริษัท Google, Lazada, Grab, Agoda, Garena, KBank กับการก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพด้วยตนเอง คนไทยเหล่านั้นมักจะเลือกที่จะเริ่มทำงานกับบริษัทใหญ่มากกว่า
นอกจากเรื่องนี้แล้ว ก็ยังมีเรื่องเงินทุน เรื่องกฎหมาย และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือไม่รู้วิธีการที่จะพัฒนาธุรกิจให้เข้าถึงผู้ใช้งานจำนวนมากได้
จากปัญหาทั้งหมดนี้
แล้วสตาร์ทอัพไทยจะสามารถเป็นยูนิคอร์นได้อย่างไรบ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
โดยทั่วไป การระดมทุนของสตาร์ทอัพจะถูกแบ่งตามการประเมินมูลค่าของบริษัท (Valuation) ออกเป็น
ระยะเริ่มต้นเรียกว่า Seed
หลังจากนั้นก็จะไล่ระดับตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ เช่น Series A Series B Series C
แล้วเรารู้ไหมว่า.. จำนวนสตาร์ทอัพไทยเทียบกับเพื่อนบ้าน เป็นอย่างไร?
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Seed
อินโดนีเซีย 428 บริษัท
เวียดนาม 197 บริษัท
ไทย 170 บริษัท
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Series A
อินโดนีเซีย 101 บริษัท
เวียดนาม 52 บริษัท
ไทย 36 บริษัท
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Series B
อินโดนีเซีย 25 บริษัท
เวียดนาม 12 บริษัท
ไทย 9 บริษัท
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Series C
อินโดนีเซีย 13 บริษัท
เวียดนาม 8 บริษัท
ไทย 3 บริษัท
จากตัวเลขข้างต้นแสดงให้เห็นว่า จำนวนสตาร์ทอัพประเทศไทยน้อยกว่า ประเทศเพื่อนบ้านอย่างชัดเจนในทุกระดับการระดมทุน
และเมื่อดูถึงมูลค่าที่ระดมทุนได้
สตาร์ทอัพอินโดนีเซียและเวียดนาม สามารถระดมทุนได้มากกว่าสตาร์ทอัพไทย 22 และ 2 เท่า ตามลำดับ..
แน่นอนว่าปัญหาสำคัญของการก้าวเข้าสู่สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นก็คือ “ฐานจำนวนผู้ใช้งาน”
หากมองจากมุมนี้ ก็อาจเข้าใจได้ว่าประเทศไทยเสียเปรียบด้านจำนวนประชากรหากเทียบกับเวียดนาม และ อินโดนีเซีย
แล้วจะมีเครื่องมืออะไรบ้างที่เป็นตัวช่วยให้สตาร์ทอัพเข้าถึงคนเป็นจำนวนมากได้?
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากร 66 ล้านคน
โดยคนไทย 50 ล้านคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
ถ้าถามว่าคนไทยคุ้นเคยกับแอปพลิเคชันอะไรมากสุด
คำตอบคงหนีไม่พ้น แอปพลิเคชัน LINE
รู้ไหมว่า..
ปัจจุบัน คนไทยใช้งานแอปพลิเคชัน LINE กว่า 44 ล้านคน
คิดเป็นเกือบ 90% ของคนไทยที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟน
ในขณะที่ คนไทยเล่นอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนเฉลี่ยวันละ 216 นาที
ซึ่งกว่า 63 นาทีเป็นการใช้งานบนแอปพลิเคชัน LINE
นอกจากนี้ วิวัฒนาการของ LINE ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ทำให้ปัจจุบัน LINE ไม่ได้เป็นเพียงแอปแช็ต
แต่บริษัทสามารถขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
จนผู้ใช้งานสามารถทำทุกอย่างบน LINE ได้
ตั้งแต่การติดต่อสื่อสาร สั่งอาหาร ช้อปปิง รวมไปถึงธุรกรรมทางการเงิน
เรียกได้ว่าคนไทยทั้งประเทศกำลังใช้ LINE ในชีวิตประจำวันของพวกเขา
ซึ่งการที่สตาร์ทอัพจะถึงระดับยูนิคอร์นได้ก็คือต้องขยายขนาดธุรกิจ
การที่จะขยายธุรกิจได้ก็ต้องมีผู้ใช้งานหรือลูกค้ามากขึ้น
และ LINE เป็นแพลตฟอร์มเดียวในประเทศไทย ที่จะทำให้เข้าถึงคนจำนวนมากได้
คำถามต่อไปก็คือ
สตาร์ทอัพเหล่านี้จะใช้แพลตฟอร์ม LINE อย่างไรให้ได้เต็มศักยภาพที่สุด?
“โครงการ LINE ScaleUp” จึงถูกก่อตั้งขึ้นโดย LINE โดยมีจุดประสงค์ช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ผ่านการใช้เทคโนโลยีภายใต้แพลตฟอร์มของ LINE ให้ได้ดีที่สุด
ซึ่งในปีนี้ มี 6 สตาร์ทอัพไทยที่เข้ารอบ LINE ScaleUp 2019 จากผู้สมัคร 100 บริษัท คือ
1.Choco CRM แพลตฟอร์มระบบจัดการหน้าร้าน และพัฒนาความสัมพันธ์ลูกค้า
2.ClaimDi แพลตฟอร์มจัดหาผู้ช่วยสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น รถชน หรือเรียกตำรวจ
3.Finnomena แพลตฟอร์มผู้ให้บริการและคำปรึกษากับนักลงทุน
4.GoWabi แพลตฟอร์มจองบริการสปาและบริการเสริมความงาม
5.Seekster แพลตฟอร์มจัดหาผู้ให้บริการด้านความสะอาด
6.Tellscore แพลตฟอร์มจัดการ micro-influencer
ธุรกิจสตาร์ทอัพไทยเหล่านี้มีรายได้เฉลี่ยบริษัทละ 45 ล้านบาท มีพนักงานในบริษัทไม่ต่ำกว่า 80 คน และได้รับการประเมินมูลค่าบริษัทอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 360 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นสตาร์ทอัพระดับ Series A ที่เตรียมตัวจะขยาย และยกระดับขึ้นไปอีกขั้น
ดังนั้น การพยายามเข้าถึงลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสตาร์ทอัพที่อยู่ใน stage นี้ แต่ละบริษัทจึงเล็งเห็นความสำคัญในการปรับธุรกิจให้เข้ากับ LINE เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้แม่นยำ และเข้าใจกลุ่มลูกค้าเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ สตาร์ทอัพในโครงการ LINE ScaleUp ยังได้รับโอกาสในการพัฒนารากฐานสำคัญ 3 ส่วน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเติบโต แบ่งออกเป็น
1.ด้านพื้นฐานทั้งการสอนแบบกลุ่ม และตัวต่อตัว เช่น การให้ความรู้พื้นฐานด้านธุรกิจ เทคโนโลยี การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ การบริหารบุคลากร รวมถึงกฎหมายที่จำเป็น
2.ด้านการลงทุน เช่น การให้ความรู้ และเข้าถึงโอกาสได้รับการลงทุนจาก LINE Venture และผู้ลงทุนจากต่างชาติ
3.ด้านการเรียนรู้ความสำเร็จจากสตาร์ทอัพระดับโลก เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นกับบริษัทสตาร์ทอัพยูนิคอร์นตัวจริงผ่านการไปดูงานที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งรวมถึง NAVER บริษัทแม่ของ LINE
ซึ่งหลังการพัฒนารากฐาน จะทำให้สตาร์ทอัพทุกรายมีความพร้อมมากขึ้น และในก้าวต่อไป สตาร์ทอัพยังมีโอกาสได้เป็นพันธมิตรกับบริการต่างๆ ของ LINE ได้ เช่น
1.ความร่วมมือด้านธุรกิจ โดย LINE เปิดช่องทางมินิแอป (Mini App) บนแอปพลิเคชัน LINE โดย ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการของสตาร์ทอัพได้ทันทีผ่าน LINE ซึ่งปัจจุบันสามารถเข้าใช้บริการของ Seekster และ Finnomena ผ่านมินิแอปได้อย่างเต็มรูปแบบแล้ว
2.ความร่วมมือด้านพันธมิตรอย่างเป็นทางการ (Strategic Partnership) โดยตัวอย่างเช่น การเปิดให้ผู้ใช้งานเข้าถึงบริการทำความสะอาดของ Seekster ผ่านแพลตฟอร์ม LINE MAN ในเร็วๆ นี้ หรือ การเข้าถึงช่องทางคอนเทนต์ของ Finnomena และ Claimdi ผ่าน LINE TODAY และ LINE TV
3.ความร่วมมือแบบบูรณาการเชิงลึก (Deep Integration) ให้กับทั้ง 6 ทีม โดยเฉพาะบริษัท Choco CRM, Tellscore และ GOWABI ที่สามารถต่อยอดการพัฒนาบริการเชิงลึกผ่าน LINE API เพื่อให้บริษัทเหล่านี้สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้เป็นวงกว้างผ่านแพลตฟอร์ม LINE เช่น Tellscore สามารถทำการสมัครเป็น Influencer ได้ผ่าน LINE หรือ Choco CRM ที่ช่วยสร้างบัตรสะสมแต้มให้กับบริษัท และร้านค้าบน LINE
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า LINE ScaleUp เป็นหนึ่งในโครงการที่จะช่วยเร่งให้ธุรกิจสตาร์ทอัพประเทศไทยก้าวเข้าสู่ระดับยูนิคอร์นได้ในอนาคตโดยการใช้เทคโนโลยี และจำนวนผู้ใช้ของ LINE ซึ่งก็น่าติดตามว่าจะมีทีมไหนที่จะเข้าสู่จุดนั้น
และ LINE ScaleUp จะไม่ได้มีแค่ปีนี้เพียงปีเดียว
ซึ่ง LINE ได้วางแผนระยะยาว และเอาจริงกับวงการสตาร์ทอัพในประเทศไทย
โดยจะเปิดรับสมัคร LINE ScaleUp 2020 รุ่นใหม่ในช่วงต้นปีหน้าที่จะถึงนี้
หากสตาร์ทอัพไหนมี passion ในการทำธุรกิจ และ เชื่อว่าสักวันจะประสบความสำเร็จกลายเป็นยูนิคอร์นสัญชาติไทย ลองเตรียมตัวเข้าร่วมโครงการนี้ในปีหน้า ซึ่ง LINE ScaleUp อาจจะเป็นหนึ่งในคำตอบที่ทำให้เราก้าวสู่ยูนิคอร์นได้สำเร็จ เป็นครั้งแรกของประเทศไทย..
ติดต่อข่าวสารโครงการ LINE ScaleUp ได้ที่ https://scaleup.line.me/
traveloka valuation 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ผู้สนับสนุน..
สตาร์ทอัพไทย จะเป็นยูนิคอร์นได้อย่างไร? / โดย ลงทุนแมน
ยูนิคอร์น คือ สตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 3 หมื่นล้านบาท
รู้ไหมว่าเพื่อนบ้านที่รายล้อมเราในอาเซียนต่างมีสตาร์ทอัพที่เป็นยูนิคอร์นกันทั้งหมด
อินโดนีเซีย มี GOJEK, tokopedia, traveloka, Bukalapak
เวียดนาม มี VNG
ฟิลิปปินส์ มี Revolution Precrafted
มาเลเซีย มี Grab
สิงคโปร์ มี SEA ที่สามารถระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ไปเรียบร้อยแล้ว
แต่ประเทศไทยยังไม่มียูนิคอร์น..
รู้ไหมว่าหนึ่งในเหตุผลหลักของเรื่องนี้ก็คือ
“คนรุ่นใหม่เก่งๆ” ในประเทศไทย โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี สนใจทำงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่มากกว่าที่จะผันตัวเองมาเป็นผู้ประกอบการในรูปแบบสตาร์ทอัพ
สาเหตุก็เป็นเพราะพวกเขามองเห็นโอกาสในอนาคตที่จะประสบความสำเร็จในประเทศไทยในฐานะสตาร์ทอัพ น้อยกว่าการทำงานอยู่ในบริษัทใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่เดิม หรือบริษัทใหญ่ที่เป็นยูนิคอร์นจากต่างประเทศ
ลองคิดตามว่า เด็กรุ่นใหม่เรียนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยชื่อดัง
ถ้าคนที่มาเสนองานมีบริษัท Google, Lazada, Grab, Agoda, Garena, KBank กับการก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพด้วยตนเอง คนไทยเหล่านั้นมักจะเลือกที่จะเริ่มทำงานกับบริษัทใหญ่มากกว่า
นอกจากเรื่องนี้แล้ว ก็ยังมีเรื่องเงินทุน เรื่องกฎหมาย และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือไม่รู้วิธีการที่จะพัฒนาธุรกิจให้เข้าถึงผู้ใช้งานจำนวนมากได้
จากปัญหาทั้งหมดนี้
แล้วสตาร์ทอัพไทยจะสามารถเป็นยูนิคอร์นได้อย่างไรบ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
โดยทั่วไป การระดมทุนของสตาร์ทอัพจะถูกแบ่งตามการประเมินมูลค่าของบริษัท (Valuation) ออกเป็น
ระยะเริ่มต้นเรียกว่า Seed
หลังจากนั้นก็จะไล่ระดับตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ เช่น Series A Series B Series C
แล้วเรารู้ไหมว่า.. จำนวนสตาร์ทอัพไทยเทียบกับเพื่อนบ้าน เป็นอย่างไร?
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Seed
อินโดนีเซีย 428 บริษัท
เวียดนาม 197 บริษัท
ไทย 170 บริษัท
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Series A
อินโดนีเซีย 101 บริษัท
เวียดนาม 52 บริษัท
ไทย 36 บริษัท
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Series B
อินโดนีเซีย 25 บริษัท
เวียดนาม 12 บริษัท
ไทย 9 บริษัท
สตาร์ทอัพที่ระดมทุนในระดับ Series C
อินโดนีเซีย 13 บริษัท
เวียดนาม 8 บริษัท
ไทย 3 บริษัท
จากตัวเลขข้างต้นแสดงให้เห็นว่า จำนวนสตาร์ทอัพประเทศไทยน้อยกว่า ประเทศเพื่อนบ้านอย่างชัดเจนในทุกระดับการระดมทุน
และเมื่อดูถึงมูลค่าที่ระดมทุนได้
สตาร์ทอัพอินโดนีเซียและเวียดนาม สามารถระดมทุนได้มากกว่าสตาร์ทอัพไทย 22 และ 2 เท่า ตามลำดับ..
แน่นอนว่าปัญหาสำคัญของการก้าวเข้าสู่สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นก็คือ “ฐานจำนวนผู้ใช้งาน”
หากมองจากมุมนี้ ก็อาจเข้าใจได้ว่าประเทศไทยเสียเปรียบด้านจำนวนประชากรหากเทียบกับเวียดนาม และ อินโดนีเซีย
แล้วจะมีเครื่องมืออะไรบ้างที่เป็นตัวช่วยให้สตาร์ทอัพเข้าถึงคนเป็นจำนวนมากได้?
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากร 66 ล้านคน
โดยคนไทย 50 ล้านคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
ถ้าถามว่าคนไทยคุ้นเคยกับแอปพลิเคชันอะไรมากสุด
คำตอบคงหนีไม่พ้น แอปพลิเคชัน LINE
รู้ไหมว่า..
ปัจจุบัน คนไทยใช้งานแอปพลิเคชัน LINE กว่า 44 ล้านคน
คิดเป็นเกือบ 90% ของคนไทยที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟน
ในขณะที่ คนไทยเล่นอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนเฉลี่ยวันละ 216 นาที
ซึ่งกว่า 63 นาทีเป็นการใช้งานบนแอปพลิเคชัน LINE
นอกจากนี้ วิวัฒนาการของ LINE ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ทำให้ปัจจุบัน LINE ไม่ได้เป็นเพียงแอปแช็ต
แต่บริษัทสามารถขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
จนผู้ใช้งานสามารถทำทุกอย่างบน LINE ได้
ตั้งแต่การติดต่อสื่อสาร สั่งอาหาร ช้อปปิง รวมไปถึงธุรกรรมทางการเงิน
เรียกได้ว่าคนไทยทั้งประเทศกำลังใช้ LINE ในชีวิตประจำวันของพวกเขา
ซึ่งการที่สตาร์ทอัพจะถึงระดับยูนิคอร์นได้ก็คือต้องขยายขนาดธุรกิจ
การที่จะขยายธุรกิจได้ก็ต้องมีผู้ใช้งานหรือลูกค้ามากขึ้น
และ LINE เป็นแพลตฟอร์มเดียวในประเทศไทย ที่จะทำให้เข้าถึงคนจำนวนมากได้
คำถามต่อไปก็คือ
สตาร์ทอัพเหล่านี้จะใช้แพลตฟอร์ม LINE อย่างไรให้ได้เต็มศักยภาพที่สุด?
“โครงการ LINE ScaleUp” จึงถูกก่อตั้งขึ้นโดย LINE โดยมีจุดประสงค์ช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเอง ผ่านการใช้เทคโนโลยีภายใต้แพลตฟอร์มของ LINE ให้ได้ดีที่สุด
ซึ่งในปีนี้ มี 6 สตาร์ทอัพไทยที่เข้ารอบ LINE ScaleUp 2019 จากผู้สมัคร 100 บริษัท คือ
1.Choco CRM แพลตฟอร์มระบบจัดการหน้าร้าน และพัฒนาความสัมพันธ์ลูกค้า
2.ClaimDi แพลตฟอร์มจัดหาผู้ช่วยสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น รถชน หรือเรียกตำรวจ
3.Finnomena แพลตฟอร์มผู้ให้บริการและคำปรึกษากับนักลงทุน
4.GoWabi แพลตฟอร์มจองบริการสปาและบริการเสริมความงาม
5.Seekster แพลตฟอร์มจัดหาผู้ให้บริการด้านความสะอาด
6.Tellscore แพลตฟอร์มจัดการ micro-influencer
ธุรกิจสตาร์ทอัพไทยเหล่านี้มีรายได้เฉลี่ยบริษัทละ 45 ล้านบาท มีพนักงานในบริษัทไม่ต่ำกว่า 80 คน และได้รับการประเมินมูลค่าบริษัทอยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 360 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นสตาร์ทอัพระดับ Series A ที่เตรียมตัวจะขยาย และยกระดับขึ้นไปอีกขั้น
ดังนั้น การพยายามเข้าถึงลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสตาร์ทอัพที่อยู่ใน stage นี้ แต่ละบริษัทจึงเล็งเห็นความสำคัญในการปรับธุรกิจให้เข้ากับ LINE เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้แม่นยำ และเข้าใจกลุ่มลูกค้าเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ สตาร์ทอัพในโครงการ LINE ScaleUp ยังได้รับโอกาสในการพัฒนารากฐานสำคัญ 3 ส่วน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเติบโต แบ่งออกเป็น
1.ด้านพื้นฐานทั้งการสอนแบบกลุ่ม และตัวต่อตัว เช่น การให้ความรู้พื้นฐานด้านธุรกิจ เทคโนโลยี การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ การบริหารบุคลากร รวมถึงกฎหมายที่จำเป็น
2.ด้านการลงทุน เช่น การให้ความรู้ และเข้าถึงโอกาสได้รับการลงทุนจาก LINE Venture และผู้ลงทุนจากต่างชาติ
3.ด้านการเรียนรู้ความสำเร็จจากสตาร์ทอัพระดับโลก เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นกับบริษัทสตาร์ทอัพยูนิคอร์นตัวจริงผ่านการไปดูงานที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งรวมถึง NAVER บริษัทแม่ของ LINE
ซึ่งหลังการพัฒนารากฐาน จะทำให้สตาร์ทอัพทุกรายมีความพร้อมมากขึ้น และในก้าวต่อไป สตาร์ทอัพยังมีโอกาสได้เป็นพันธมิตรกับบริการต่างๆ ของ LINE ได้ เช่น
1.ความร่วมมือด้านธุรกิจ โดย LINE เปิดช่องทางมินิแอป (Mini App) บนแอปพลิเคชัน LINE โดย ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการของสตาร์ทอัพได้ทันทีผ่าน LINE ซึ่งปัจจุบันสามารถเข้าใช้บริการของ Seekster และ Finnomena ผ่านมินิแอปได้อย่างเต็มรูปแบบแล้ว
2.ความร่วมมือด้านพันธมิตรอย่างเป็นทางการ (Strategic Partnership) โดยตัวอย่างเช่น การเปิดให้ผู้ใช้งานเข้าถึงบริการทำความสะอาดของ Seekster ผ่านแพลตฟอร์ม LINE MAN ในเร็วๆ นี้ หรือ การเข้าถึงช่องทางคอนเทนต์ของ Finnomena และ Claimdi ผ่าน LINE TODAY และ LINE TV
3.ความร่วมมือแบบบูรณาการเชิงลึก (Deep Integration) ให้กับทั้ง 6 ทีม โดยเฉพาะบริษัท Choco CRM, Tellscore และ GOWABI ที่สามารถต่อยอดการพัฒนาบริการเชิงลึกผ่าน LINE API เพื่อให้บริษัทเหล่านี้สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้เป็นวงกว้างผ่านแพลตฟอร์ม LINE เช่น Tellscore สามารถทำการสมัครเป็น Influencer ได้ผ่าน LINE หรือ Choco CRM ที่ช่วยสร้างบัตรสะสมแต้มให้กับบริษัท และร้านค้าบน LINE
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า LINE ScaleUp เป็นหนึ่งในโครงการที่จะช่วยเร่งให้ธุรกิจสตาร์ทอัพประเทศไทยก้าวเข้าสู่ระดับยูนิคอร์นได้ในอนาคตโดยการใช้เทคโนโลยี และจำนวนผู้ใช้ของ LINE ซึ่งก็น่าติดตามว่าจะมีทีมไหนที่จะเข้าสู่จุดนั้น
และ LINE ScaleUp จะไม่ได้มีแค่ปีนี้เพียงปีเดียว
ซึ่ง LINE ได้วางแผนระยะยาว และเอาจริงกับวงการสตาร์ทอัพในประเทศไทย
โดยจะเปิดรับสมัคร LINE ScaleUp 2020 รุ่นใหม่ในช่วงต้นปีหน้าที่จะถึงนี้
หากสตาร์ทอัพไหนมี passion ในการทำธุรกิจ และ เชื่อว่าสักวันจะประสบความสำเร็จกลายเป็นยูนิคอร์นสัญชาติไทย ลองเตรียมตัวเข้าร่วมโครงการนี้ในปีหน้า ซึ่ง LINE ScaleUp อาจจะเป็นหนึ่งในคำตอบที่ทำให้เราก้าวสู่ยูนิคอร์นได้สำเร็จ เป็นครั้งแรกของประเทศไทย..
ติดต่อข่าวสารโครงการ LINE ScaleUp ได้ที่ https://scaleup.line.me/
traveloka valuation 在 traveloka-在PTT/MOBILE01/Dcard上的毛小孩推薦資訊整理 的推薦與評價
traveloka -在PTT/MOBILE01/Dcard上的毛小孩推薦資訊整理-2022-06(持續更新) ... Traveloka valuation-臉書推薦/討論/評價在PTT、Dcard、IG整理一次看. ... <看更多>
traveloka valuation 在 traveloka-在PTT/MOBILE01/Dcard上的毛小孩推薦資訊整理 的推薦與評價
traveloka -在PTT/MOBILE01/Dcard上的毛小孩推薦資訊整理-2022-06(持續更新) ... Traveloka valuation-臉書推薦/討論/評價在PTT、Dcard、IG整理一次看. ... <看更多>
traveloka valuation 在 Traveloka's Valuation Exceeds OVO, the Company is Ready ... 的推薦與評價
Research company CB Insights reports that the valuation of a digital-based tourism service provider or an online travel agent (OTA), Traveloka reaches US$ 3 ... ... <看更多>