การเพิ่มขึ้นของ Bond Yield จะกระทบเศรษฐกิจไทยอย่างไร ? /โดย ลงทุนแมน
การปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล หรือ Bond Yield ในช่วงที่ผ่านมา
โดยเฉพาะ Bond Yield ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปี กำลังเป็นปัจจัยทำให้เกิดความผันผวนอย่างมากต่อตลาดหุ้นทั่วโลก
และหลายคนก็อาจกำลังสงสัยว่า
เรื่องนี้จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะมาวิเคราะห์ให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
สำหรับ Bond Yield ที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจ
คือ Bond Yield ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปี
ในทางทฤษฎีนั้น การปรับตัวเพิ่มขึ้นของ Bond Yield มักเป็นการส่งสัญญาณว่า อัตราดอกเบี้ยระยะยาวในตลาดการเงิน กำลังจะปรับตัวสูงขึ้น จากการที่เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมา
ซึ่งสาเหตุหนึ่งก็เพราะรัฐบาลสหรัฐอเมริกา มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ให้เดินหน้าจากวิกฤติให้เร็วที่สุด
อย่างเช่น มาตรการก่อนหน้านี้ที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา นำมากระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ก็เป็นเม็ดเงินสูงถึง 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นกว่า 59 ล้านล้านบาท
โดยมีทั้งการนำเงินไปช่วยคนตกงาน สนับสนุนเงินช่วยเหลือแก่ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ หน่วยงานต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกาที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้
เมื่อประชาชนมีเงินในมือหรือได้รับการช่วยเหลืออุดหนุน จึงทำให้มีการคาดกันว่า ชาวอเมริกันจะออกมาจับจ่ายใช้สอย ท่องเที่ยว หลังจากอัดอั้นมานาน จนทำให้เศรษฐกิจเติบโตในปีนี้
แต่การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยจำนวนเงินที่มากขนาดนี้ อีกด้านหนึ่งทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่า เงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา จะปรับเพิ่มขึ้นมากในอนาคตอันใกล้
และพอเป็นแบบนั้น สุดท้ายธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา ก็จะต้องตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดกั้นการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ
นักลงทุนที่คาดการณ์แบบนี้ และกำลังถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปีอยู่ จึงเริ่มพากันเทขายพันธบัตรดังกล่าวออกมา เพราะคาดว่าพันธบัตรรุ่นที่จะออกมาใหม่ในอนาคต จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรชุดปัจจุบันตามการปรับตัวขึ้นของดอกเบี้ยนโยบาย
การเทขายพันธบัตรรัฐบาลรุ่นปัจจุบัน จึงทำให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริการุ่นอายุ 10 ปีนั้นลดลง และทำให้อัตราผลตอบแทน ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสวนทางกันตามกลไกของพันธบัตร
- สิ้นปี 2563 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปี อยู่ที่ประมาณ 0.916%
- มีนาคม 2564 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปี อยู่ที่ประมาณ 1.674%
การเทขายพันธบัตร แล้วหันกลับมาถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐ
หมายความว่า ความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐกำลังกลับมาเพิ่มขึ้น
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD Index) ปรับเพิ่มขึ้น
ซึ่งหมายความว่า เงินดอลลาร์สหรัฐ กำลังแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น
- สิ้นปี 2563 ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD Index) อยู่ที่ประมาณ 89.894
- มีนาคม 2564 ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD Index) อยู่ที่ประมาณ 92.714
การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เงินบาทนั้นอ่อนค่าลงในเชิงเปรียบเทียบ
โดยค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เมื่อช่วงต้นปี อยู่ที่ประมาณ 29.87 บาท
ในวันนี้ ค่าเงินบาทปรับตัวมาอยู่ที่ประมาณ 31.32 บาท
หรืออ่อนค่าลงมาแล้ว ประมาณ 4.9%
แน่นอนว่า เมื่อรวมกับการที่เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด 19 การอ่อนค่าของเงินบาท ก็จะส่งผลดีต่อภาคการส่งออก และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทย
เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยในปี 2563 สัดส่วนมูลค่าการส่งออกของไทยมีสัดส่วนกว่า 7.2 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 45% ของมูลค่า GDP
ค่าเงินที่อ่อนค่ายังจะส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยเฉพาะการเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะมองว่าการท่องเที่ยวไทยมีต้นทุนที่ต่ำลง เมื่อเงินบาทอ่อนค่าลง
แม้ว่าตอนนี้ประเทศไทยจะยังไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวได้เต็มที่เหมือนช่วงก่อนหน้านี้ แต่ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดี ที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศเริ่มฟื้นตัว ในช่วงเวลาเดียวกับที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง
สรุปแล้ว การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น จนทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น และเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมา จะช่วยทำให้ภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยได้รับผลบวกตามไปด้วย
แต่รู้ไหมว่า เมื่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา รุ่นอายุ 10 ปีปรับตัวสูงขึ้น เรื่องนี้ก็ส่งผลทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี
โดยจากสิ้นปีที่ประมาณ 1.165% มาวันนี้ ปรับขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 1.733%
ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี มักเป็นปัจจัยที่ใช้กำหนดแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยระยะยาว
นั่นหมายความว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี มีแนวโน้มที่จะทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวของไทยนั้นปรับตัวสูงขึ้นไปด้วย
แล้วเรื่องนี้จะกระทบอะไรกับเราบ้าง ?
สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนปรับตัวสูงขึ้น
ทำให้หากรัฐบาลไทยหรือบริษัทเอกชนไทย ต้องการจะออกหุ้นกู้ระยะยาว ก็จะมีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น
งบประมาณของภาครัฐ รวมทั้งงบประมาณของภาคเอกชน ที่จะนำไปใช้เพื่อการลงทุนก็อาจลดลง เนื่องจากงบประมาณบางส่วนต้องถูกแบ่งไปชำระภาระหนี้ในอนาคตที่เพิ่มสูงขึ้น
แต่ที่ดูแล้วน่าเป็นห่วงที่สุด น่าจะเป็นภาคครัวเรือนไทย
ปัจจุบันหนี้สินของภาคครัวเรือนไทย พุ่งไปถึง 87% ของมูลค่า GDP
หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 14 ล้านล้านบาท
ซึ่งถ้าอัตราดอกเบี้ยระยะยาวเริ่มปรับเพิ่มขึ้น ภาระหนี้สินของครัวเรือนไทยก็จะปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
พอภาระของภาคครัวเรือนมีมากขึ้น ก็จะมีกำลังมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ไม่เต็มที่ ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลที่มากเพียงพอในวันนี้และในอนาคต
สรุปแล้ว การเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แม้จะดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวพวกเรา
แต่เมื่อลองมาวิเคราะห์กันดูแล้ว กลับเป็นเรื่องใกล้ตัวพวกเราและเศรษฐกิจไทย ไม่น้อยเลยทีเดียว...
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.investing.com/currencies/us-dollar-index
-https://www.investing.com/rates-bonds/u.s.-10-year-bond-yield-historical-data
-https://kasikornbank.com/th/k-expert/knowledge/articles/savings/Pages/Invest_A125.aspx#
-https://www.cnbc.com/2021/01/11/forex-markets-dollar.html
-http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=TradeBalanceMonthly&Lang=Th
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=409&language=TH
-https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=615
-https://th.investing.com/rates-bonds/thailand-10-year-bond-yield
u.s. dollar index 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
กรณีศึกษา เมื่อเงินดอลลาร์สหรัฐ กำลังอ่อนค่าลง /โดย ลงทุนแมน
ในช่วงที่ผ่านมาเงินดอลลาร์สหรัฐ เริ่มกลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง
ทำไมเงินดอลลาร์สหรัฐจึงกลับมาอ่อนค่า
แล้วมันส่งผลกระทบอย่างไร
ลงทุนแมนจะมาวิเคราะห์ให้ฟัง
╔═══════════╗
สัมผัสเทคโนโลยีรูปแบบใหม่จากสตาร์ตอัปไทย Blockdit
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า เงินดอลลาร์สหรัฐ มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกมากแค่ไหน
รู้ไหมว่า ปัจจุบัน ทุนสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลกนั้นประกอบไปด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีสัดส่วนสูงกว่า 60%
ดังนั้นเราจึงบอกได้ว่า เงินดอลลาร์สหรัฐยังมีความสำคัญต่อทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคารกลางในแต่ละประเทศ
ขณะที่ในด้านการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้น กว่า 87% ของมูลค่าการซื้อขายทั้งหมดเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ
2 เรื่องทำให้เราบอกได้ว่า เงินดอลลาร์สหรัฐจะยังคงเป็นเงินสกุลหลักของโลกอยู่ในปัจจุบัน และน่าจะเป็นต่อไปอีกในอนาคต
อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเงินสกุลหลักที่เป็นที่ต้องการของโลก แต่มูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
ที่น่าสนใจคือ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา มูลค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐกลับลดลงมาเรื่อยๆ หรือพูดง่ายๆ ว่า เงินดอลลาร์สหรัฐกำลังอ่อนค่า
หนึ่งในตัวชี้วัดที่นักการเงินและนักเศรษฐศาสตร์นิยมใช้ในการวัดการอ่อนค่าหรือแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ คือ US Dollar Index โดยจะนำเงินดอลลาร์สหรัฐ มาเทียบกับเงินสกุลหลักของโลกเช่น เงินยูโร เงินเยน เงินปอนด์ เงินดอลลาร์แคนาดา เงินโครนาสวีเดน เงินฟรังก์สวิส
ถ้า US Dollar Index มีค่าลดลงแสดงว่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินหลักของโลก
ถ้า US Dollar Index มีค่าเพิ่มขึ้นแสดงว่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินหลักของโลก
รู้ไหมว่า ในช่วงเดือนมีนาคม 2563 US Dollar Index เคยขึ้นไปสูงสุดถึง 102.82 ก่อนที่จะลดลงมาเหลือ 93.39 ในปัจจุบันเท่านั้น นั่นหมายว่า เพียงระยะเวลาไม่กี่เดือน เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงไปแล้วกว่า 9%
แล้วเรื่องนี้มันเกิดจากสาเหตุอะไร?
ให้เราลองนึกภาพว่าเงินนั้นเหมือนสินค้าชนิดหนึ่ง
โดยธรรมชาติแล้ว ถ้าสินค้าไหนมีปริมาณมากกว่าความต้องการ มูลค่าของมัน ก็มักจะลดลง ตามหลัก Demand & Supply
ซึ่งปริมาณของเงินก็อยู่ในข่ายนี้เช่นกัน..
การระบาดของ Covid-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ว่ามูลค่า GDP ของสหรัฐฯ จะลดลงกว่า 8% หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 53 ล้านล้านบาท ซึ่งมูลค่านี้มากกว่า GDP ของประเทศไทยถึง 3 เท่า
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จึงออกมาประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) โดยไม่จำกัดวงเงิน และไม่จำกัดเวลา ซึ่งเป็นมาตรการทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคและธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องจากผลกระทบของ Covid-19
รวมไปถึงการแจกเงินเยียวยาให้กับประชาชนของภาครัฐในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ ก็ทำให้ประชาชนมีเงินในมือมากขึ้น ซึ่งสำหรับบางคนอาจจะได้รับเงินมากกว่าช่วงที่ทำงานเสียอีก
เรื่องนี้ส่งผลทำให้ปริมาณเงินในระบบ (Money Supply) ของสหรัฐอเมริกานั้นปรับเพิ่มขึ้น
ซึ่งปริมาณเงินที่ว่านี้ มีตั้งแต่เหรียญ ธนบัตร เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำ ที่อยู่ในมือของประชาชนและภาคธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง
เดือนมีนาคม 2563 ปริมาณเงินในระบบของสหรัฐอเมริกาเท่ากับ 496 ล้านล้านบาท
เดือนมิถุนายน 2563 ปริมาณเงินในระบบของสหรัฐอเมริกาเท่ากับ 570 ล้านล้านบาท
ในระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้นถึง 74 ล้านล้านบาท ทั้งๆ ที่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การที่ปริมาณเงินในระบบของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นด้วยจำนวนเท่านี้ ปกติจะใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี
ปริมาณเงินในระบบที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง จึงทำให้นักลงทุนที่ถือเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งก็เปรียบเสมือนสินทรัพย์ชนิดหนึ่ง ต้องขายเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อไปลงทุนในสินทรัพย์อย่างอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นราคาของสินทรัพย์หลายชนิดนั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ไม่ว่าจะเป็น หุ้นหรือทองคำ
ลองมาดูตัวอย่างของสินทรัพย์บางอย่างที่ปรับเพิ่มขึ้น ในช่วงที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าลง นับแต่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ประกาศใช้มาตรการ QE ในรอบนี้
ราคาทองคำทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เพิ่มสูงกว่า 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อทรอยออนซ์
ผลตอบแทนของทองคำเพิ่มขึ้น 36% นับจากต้นปี
ตลาดหุ้นสหรัฐอย่าง Nasdaq ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ปิดสูงกว่า 11,000 จุด
ผลตอบแทนของตลาดหุ้น Nasdaq เพิ่มขึ้น 23% นับจากต้นปี
จากเดิมที่คนคิดว่า Cash is King ในช่วงเวลาวิกฤติ
แต่เมื่อเห็นเป็นอย่างนี้แล้ว
นักลงทุนอเมริกัน อาจมองว่า Cash is Trash ก็เป็นได้..
╔═══════════╗
สัมผัสเทคโนโลยีรูปแบบใหม่จากสตาร์ตอัปไทย Blockdit
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/Reserve_currency
-https://fxssi.com/top-5-most-traded-currencies-in-the-world
-https://en.wikipedia.org/wiki/U.S._Dollar_Index
-https://www.imf.org/en/Publications/WEO/Issues/2020/06/24/WEOUpdateJune2020
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://tradingeconomics.com/united-states/money-supply-m2
-https://www.investopedia.com/terms/q/quantitative-easing.asp
-https://markets.businessinsider.com/commodities/gold-price
u.s. dollar index 在 君子馬蘭頭 - Ivan Li 李聲揚 Facebook 的精選貼文
[貨幣101—美匯指數]兼講金本位,同簡明貨幣制度史
繼續事忙(好快忙完!過埋生日啦),出啲簡單文教學。反正上個post 反應都不錯(https://bit.ly/3fgSP1i),話見到美股,同美金美匯指數,基本上係反向咁行。
TL:DR — 你日日見到嘅美匯指數,係1973年嘅產物,咁多年冇update過。而美匯指數出現,正係因為美元本位金本位收皮。
1. 但,好似都未講咩係美匯指數,其實唔難,Google就得。但都解下。照計細細個都會諗(我有啦下,你冇好奇心係你嘅事),世界上咁多貨幣,我細個年代甚至仲有咩西德馬克法國法郎意大利里拉之類,咁咪好多唔同嘅匯率?同埋,你講西德馬克強勢,係指對乜先?瑞士法郎?日圓?古巴披索?定乜呢?
2. 當然大個咗就知,Pax Americana嘛,美國美元獨大,所有嘢以對美國為準。英鎊弱,就係講對美元。日圓強,亦係指對美元。至於AUD/JPY呢啲咁niche嘅cross rate,就用嚟寫文嘅(*)
3. 但,咁,講美金強弱呢?點算?對乜好?其中一個方法係講相對於黃金,「屌,咪即係金價咯」。咁另一方法,對返其他貨幣,「屌,咪即係EURO掉轉」,又唔多好喎,想對晒咁多隻。
4. 於是乎,就有所謂嘅「美匯指數」,Dollar Index,DXY,有時又會就咁叫「美金」「美匯」「greenback」。就係對返一籃子貨幣,不同比重。
5. 呢度就有問題啦,到底用咩貨幣呢?同埋比重點計?
6. 留意呢個「美匯指數」,可以直接拎嚟炒,有期貨賭,仲有ETF,有期權。而入面啲成份,係極之咁化學同兒嬉嘅。
7. 答案就係,歐元佔差不多六成,日圓十四巴仙,英鎊十二巴仙,加元九巴仙,剩返係瑞典克郎同瑞士法郎。
8. 人民幣呢?冇噃。咁當然啲網友梗係講人民幣點廢點乜。Fine,你覺得開心啲嘅,隨你。但,印度盧比呢?一樣冇。親,印度有民主啦掛,印度經濟規模大過英國添。瑞士瑞典都有,印度冇?仲有巴西韓國,全部唔見影。瑞典老幾呀?GDP細過泰國,好快就伊朗尼日利亞都大過佢
9. 明顯地,呢個美匯指數,係反映「舊世界」秩序。
10. 呢度講遠少少歷史,希望唔悶。可能有聽過Bretton Woods system,布列頓森林體系,亦可能冇。但冇都好,應該聽過「金本位制」,以前美好嘅年代,你阿爺嘅年代,好好的,貨幣背後有黃金支持(不過冇得上Facebook,亦冇得一年去幾次日本)。你有幾多金就印幾多錢,冇得係咁印。
11. 金本位制已不復再,而家行嘅係fiat currency,法幣,講個信字,任印。貨幣嘅「intrinsic value」,等於零。港紙叫做有美金支持,但美金背後一樣講個信字。具體啲就係誰大誰惡誰正確, monopoly of the legitimate use of physical force 即主權,亦好多時包埋鑄幣權。當然有啲國家選擇用其他貨幣,係選擇。但一般嚟講,你在越南就要用越南紙,餐廳肯收美金係選擇,但亦可以堅持你畀越南盾,你唔畀就打柒你。就是咁簡單。
12. 而在金本位,過渡去到而家fiat currency,中間嗰三十年左右,就係呢個Bretton Woods system。係邊三十年?係1944-1973。叻嘅大約估到同乜有關,正係二次大戰。
13. 二次大戰後,歐洲英國等等元氣大傷,日本炸到稀巴爛,中國褲都未有著。基本上就係美國獨大,Pax Americana嘛。最後重建秩序,好多人只留意咩馬歇爾計劃呀,日本天皇去神化之類,完全冇諗金融秩序。你而家見嘅咩IMF 同 World Bank,都係二戰後搞出嚟的東西
14. 講返,二戰後,歐洲日本打到仆街,英國亦正式退下神壇,美國成為無可爭議嘅唯一大國。亦都因為咁,呢套Bretton Woods system,就係人人掛美金,唔準貶值,然後美金掛黃金,咁咯。因為美國拎住最多黃金嘛。
15. 但,呢度唔講太深啦,大家都估到呢啲固定匯率有乜問題(其實亦係香港盯住美元嘅問題),總有人各懷鬼胎想貶值。更大鑊係,總有人覺得固定匯率對自己唔著數(**),咁你保證我可以換金嘛,我就換金,於是美國嘅黃金都不停流失。
16. 結果你估到了,就係美國嘅黃金儲備都不停流失,等同擠提。然後當然係落閘,但唔使放狗。就係棄守呢樣嘢。美金再唔盯住黃金,其他貨幣亦唔盯住美金,全自由浮動。時為1973年,Bretton Woods system唔夠三十年後。點解係呢個時間?正因為歐洲經濟全面復蘇,同埋美國爆咗幾次危機。
17. 講到好遠,但,美匯指數,就正係Bretton Woods system收檔之後,1973年嘅產物。如果人人對美金固定匯率就唔使指數啦,日日一樣!而樓上講嘅「歐元佔差不多六成,日圓十四巴仙,英鎊十二巴仙,加元九巴仙」比重,正係嗰時定嘅!之後一路都冇郁過!死未,夠化學未?
18. 聰明嘅你又可以反駁,喂,1973年邊有歐元呀?冇錯,當時係冇的。當時係德國馬克法國法郎(唔知有冇意大利里拉西班牙比薩塔,懶查)。但,其實一樣。應該話,1973年之後,唯一再轉嘅一次,就係1999年,叫做歐元誕生,取替咗細細個屋村師奶炒嘅ECU歐洲貨幣單位(呢個詞好有歷史感)。
19. 打後咁多年,完全冇郁過。根本就係連1999年嗰次,亦只係將德國馬克法國法郎等等,加晒入去歐元。就所以,唔會見到人民幣,印度盧比,巴西雷亞爾,墨西哥披索等等東西。
20. 咁白痴都得?係咁的。所以早有人發明一個更與時並進嘅東西,叫TWEXB,Trade Weighted U.S. Dollar Index: Broad。唔複雜,就係用返而家美國嘅貿易額嚟做比重,加權咁計每一隻貨幣。同埋,可以每年update 一次,咁就當然有人民幣呀甚麼了
21. 不過,正如好早都寫過,美股道股係十分過時嘅東西,計法唔太科學,成份股又得三十隻。真係專業(***)嘅,當然講標普指數。亦好合理,因為道指已經百幾年前嘅產品。但,新聞好多時都仲係報道指為先,甚至「專業」嘅都會講。歷史嘅嘢,唔係咁易取代。「即係好似,明明電路中電子就係負極流向正極,但conventional current 電流都係當正極流向負極咁」
下篇會講埋,美匯指數同港股
(*)其實唔難,大約估到,AUD/JPY亦係量度「風險胃納」。後者係險避貨幣for some reason(唔記得有冇講過,第時再解),同美元同瑞士法郎一樣,但凡見兵荒馬亂,美金瑞郎日元都升。前者呢,澳元一般就係「冒險貨幣」,同韓WON印尼盾之類差不多。倒唔係因為地理,或者因為澳洲係新興市場。最主要係,其實澳元係China proxy,鐵礦石亦係,中國經濟差就全球都冇乜運行,澳元鐵礦銅價等等,多數都大插。
(**)想像下,歐元亦係同一個問題,意大利同德國用同一種貨幣,廢柴意撚當然覺得唔公平。以前意撚就話貶值救經濟,而家冇呢回事。但,又諗返,歐元咁撚廢嘅,就人人爭住退出啦。但你見事實係點?事實你見意大利西班牙之類根本唔想退出,反而係有事個個想加入。原因亦好簡單:因為歐盟有錢分畀意大利西班牙之類,仲有意大利西班牙人可以去德國打工。當然歐盟同歐元區係兩樣嘢,但,正路地,只可以入歐盟唔用歐元(瑞典,同埋以前英國等等),唔可以用歐元唔入歐盟(非歐盟嘅黑山同科索沃理論上都用歐元,但只係單方面,在歐央行並冇任何話事權)
(***)上次都有人挑機問何謂專業,係咪串人唔專業。咁只能答你,冇話專業一定叻,但就係講金融業界咯,基金經理,分析員之類。咁當然你唔著波砵都可以勁過美斯,理論上。
———————
版務:收費專欄已減價。支持埃汾高質文章。
一星期三篇,$175睇到6月22號,加埋過去兩個幾月所有文章。
請去呢度訂:bit.ly/2wVXndj
課程編號填: CC01
報完會有email通知,繳費後有Login及Password
逢一三五入去 homebloggerhk.com (入到去就睇到《事先張揚》)
亦睇得返以前嘅文。一般我都係會黃昏出文嘅。
u.s. dollar index 在 What is US Dollar Index? | How it Impacts Indian Market? 的推薦與評價
... <看更多>