ลงทุนแมน x MQDC
เปิดตัวอภิมหาโปรเจคระดับโลก Metaverse Translucia โลกเสมือนที่เต็มไปด้วยจินตนาการ โดย T&B Media Global พร้อมประกาศพันธมิตรรายแรก MQDC Corporation บริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่
ด้วยความพร้อมจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ที่ทำให้สามารถขยายศักยภาพของการสร้างจินตนาการไร้ขอบเขตเชื่อมต่อโลกปัจจุบันสู่โลกเหมือนจริงทางดิจิทัล ดังที่บริษัทชั้นนำของโลกกำลังมุ่งสร้างโลกเสมือนจริงของตัวเองนั้น
ดร.ชวัลวัฒน์ อริยวรารมย์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) (T&B Media Global) บริษัท Entertainment รายใหญ่ที่มีความรู้ ความชำนาญ ด้านการสร้างสรรค์ที่ครอบคลุมหลายด้าน รวมถึงล่าสุดได้นำบริษัทลูกที่พัฒนาด้านเทคโนโลยีเข้าซื้อหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา (NASDAQ) ประกาศปักธงและทุ่มทุนสร้างอาณาจักรโลกเสมือน (Metaverse) "Translucia" ซึ่งเป็นโลกเสมือนสุดจินตนาการ ขึ้นเป็นรายแรกของไทย โดย Phase แรกเงินลงทุนจะไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท และจะพัฒนาต่อเนื่องจนสร้างมูลค่าอาณาจักรไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท
"Metaverse"เรียกได้ว่าเป็นเมกาเทรนด์ใหม่ของโลก ซึ่งตอนนี้เราได้เตรียมพร้อมที่จะนำเทรนด์นี้มาใช้ในภาคธุรกิจ และรวมถึงการพัฒนาสังคม และผมมั่นใจว่าจะทำให้โลกธุรกิจในอนาคตเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง เหมือนเป็นโลกแห่งเวทมนตร์ ที่เนรมิตทุกอย่างให้เป็นจริง ทุกคนจะมีความสุขที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม มีสุขภาพที่ดี มีโอกาสสร้างอาชีพใหม่ มีรายได้พอเพียงทำให้ครอบครัวมีความสุขอย่างยั่งยืนที่สร้างเองได้ และได้รับความตื่นตาตื่นใจในโลกเสมือนจริงนี้ เราเรียกมันว่า "Translucia" ซึ่งจะเป็นโลกเสมือนที่สร้างจากโลกที่หลายๆคนฝันให้เกิดขึ้นจริง"
"Translucia" จะเพิ่มมูลค่าให้กับสังคมและโลกธุรกิจ จะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อประสบการณ์การใช้ชีวิต จะมีการเชื่อมโยงกันระหว่างโลกจริงและโลกเสมือน (Virtual World) ที่สามารถส่งผลให้เกิดเป็นเศรษฐกิจรูปแบบใหม่
โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงที่หลากหลาย มาผสมผสาน กับจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างประสบการณ์ในรูปแบบใหม่ ที่สอดคล้องไลฟ์สไตล์ของทุกคน รวมถึงการทำงาน การสร้างสังคม ความบันเทิง และทำกิจกรรมต่างๆ แบบไร้รอยต่อ โดยอาศัย Metaverse เป็นประตูหรือ Gateway สู่สังคมที่เราตั้งใจพัฒนาให้เป็นสังคมแห่งคุณภาพอย่างยั่งยืน
สำหรับพันธมิตรรายแรกของ Translucia คือภาคอสังหาริมทรัพย์โดยบริษัทรายใหญ่ MQDC โดยคุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ถือว่าเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทย ที่พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์บน Metaverse
คุณทิพพาภรณ์ อริยวรารมย์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) เชื่อมั่นว่า "Metaverse" จะมาขับเคลื่อน และพลิกโฉมธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมในทุกวงการอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ Entertainment ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจรีเทล หรือแม้กระทั่งธุรกิจ Healthcare
โดยอุตสาหกรรมและธุรกิจต่างๆ จะสามารถใช้ "Metaverse" เป็นเครื่องมือที่จะสร้าง Division ธุรกิจใหม่ๆ สร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาด และสร้างโซลูชั่นต่างๆในทุกมิติรวมไปถึงการสร้างสรรสังคมที่ดี เกินกว่าที่เราจะจินตนาการได้
MQDC จะเป็น Property Developer รายแรกที่จะเข้ามาจับจองพื้นที่ใน Translucia และพัฒนาเมืองขึ้นมาในโลกเสมือนแห่งนี้ โดยเตรียมที่จะสร้างหน่วยงานใหม่ขึ้นมา คือ MQDC Metaverse เพื่อรับผิดชอบในการพัฒนาเมืองและโครงการอสังหาริมทรัพย์เหนือจินตนาการแห่งนี้
โดยกล่าวว่า " MQDC Metaverse จะเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์แห่งแรกของโลกที่จะมีการสร้างและพัฒนาการเชื่อมต่อระหว่างโครงการในโลกจริงและโลกเสมือน สิ่งที่โลกจริงไม่สามารถเกิดได้ จะเกิดขึ้นในโลกเสมือนแห่งนี้ เราตั้งใจที่จะทำให้โลกเสมือนนี้เป็นโลกที่งดงามไปด้วยจินตนาการ เต็มไปด้วยความสุข และเป็นสังคมที่ดี และเรายังสามารถใส่จินตนาการเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าและผู้ใช้บริการ ลูกค้าสามารถเป็นเจ้าของบ้านหรือคอนโดมิเนียมได้ทั้งโลกจริงและโลกเสมือน มีการเชื่อมต่อสิทธิประโยชน์ต่างๆ เข้าด้วยกัน สิ่งนี้จะทำให้เราสามารถสร้างโลกที่เป็น Happiness, Sustainovation และ Well Being ได้อย่างสมบูรณ์แบบ"
ทางบริษัท ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดตั้งบริษัทลูกคือ บริษัท ทรี รูทส์ เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ กรุ๊ป จำกัด (Tree Roots Entertainment Group) และสร้างทีม Venture builder ภายใต้ชื่อบริษัท วาซาบิ โกลบอล อินโนเวชั่น เวนเจอร์ส จำกัด (Wasabi Global Innovation Ventures) เพื่อทำหน้าที่พัฒนา Metaverse Translucia ต่อไป
สำหรับผู้ที่สนใจในพัฒนาการและความคืบหน้าเกี่ยวกับ Metaverse ทางบริษัทผู้พัฒนา Metaverse “Translucia” สามารถหาข้อมูลได้จาก www.metaversethailand.com, Facebook: TheMetaverseThailand
ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาอ่านข่าวสารและความเคลื่อนไหวต่างๆ ตลอดจนพัฒนาเป็นชุมชน Metaverse Community แห่งแรกในไทย
venture builder 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ธุรกิจ New S-Curve ของ ปตท. คืออะไร ?
ปตท. x ลงทุนแมน
ในช่วงที่ผ่านมา เราจะเริ่มเห็นการดิสรัปชันในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลก
โดยเฉพาะในช่วงปีที่แล้วที่โรคระบาด ได้ทำให้หลายบริษัทเร่งปรับตัว
หากเรามาดูสถานการณ์ในประเทศไทยก็ไม่ต่างกัน
ด้วยผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ได้เร่งให้หลายบริษัทจำเป็นต้องมองหาธุรกิจใหม่
เพื่อโอกาสการเติบโตในอนาคตรวมถึงเพื่อกระจายความเสี่ยงในธุรกิจเดิม
ไม่เว้นแม้แต่ ปตท. บริษัทที่มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศไทย ก็มีสัญญาณการเข้าไปลงทุนทั้งในอุตสาหกรรมเดิม รวมถึงธุรกิจใหม่
สะท้อนให้เห็นจากในปีที่ผ่านมา ปตท. ได้มีการลงทุนในธุรกิจเดิมอย่างการผลิตและส่งออกก๊าซธรรมชาติ ต่อยอดไปเป็นศูนย์กลางการซื้อขายก๊าซธรรมชาติระดับภูมิภาค หรือ LNG Hub
รวมไปถึงการกระจายการลงทุนไปพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับ Life Science หรือวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและสุขภาพ เช่น ยา ฟิวเจอร์ฟู้ด และอุปกรณ์ทางการแพทย์และได้เข้าไปลงทุนใน Lotus Pharmaceutical บริษัทวิจัย และพัฒนายารักษามะเร็งที่ใหญ่สุดในไต้หวัน เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
แล้ว ปตท. ยังมีกลยุทธ์หาช่องทางการเติบโตกับธุรกิจอะไรอีกบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ปัจจุบัน ปตท. ยังมีโครงการที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อผลักดันธุรกิจใหม่และธุรกิจที่มีแนวโน้มจะสร้างการเติบโตในระยะยาวโดยเฉพาะ หรือที่เรียกกันว่าธุรกิจ New S-Curve แบ่งออกเป็น
1. Express Solutions Project หรือ ExpresSo
2. Booster Project
แล้วแต่ละโครงการ มีแนวทางการค้นหาธุรกิจ New S-Curve กันอย่างไร ?
เริ่มกันที่โครงการ “ExpresSo” ที่ก่อตั้งและเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 หรือราว 4 ปีก่อน
เป็นการรวมตัวกลุ่มคนรุ่นใหม่ของ ปตท. ที่จะเข้าไปค้นหาโอกาสในธุรกิจสตาร์ทอัพ ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีแนวโน้มจะเติบโตเป็นธุรกิจใหม่ได้ในอนาคต
โดยมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจ 3 กลุ่มหลัก แบ่งออกเป็น
กลุ่มแรก Corporate Venture Capital หรือ CVC เป็นธุรกิจที่จะค้นหาและเข้าไปลงทุนในกองทุน
หรือสตาร์ทอัพ ที่มีศักยภาพช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความสามารถในการแข่งขันของ ปตท. ควบคู่ไปกับการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน
ปัจจุบัน ExpresSo กระจายการลงทุนในกองทุนพลังงานและความยั่งยืน 7 กองทุน
และสตาร์ทอัพจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3 บริษัท ได้แก่
- HG Robotics สตาร์ทอัพไทย ผู้พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติหลากหลายรูปแบบ รวมถึงโดรนเพื่อการสำรวจ และ โดรนเพื่อการเกษตร
- Baania สตาร์ทอัพไทย ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพื่อใช้ในตลาดอสังหาริมทรัพย์
- Sunfolding สตาร์ทอัพจากสหรัฐอเมริกา ผู้คิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์ติดตามแสงอาทิตย์ในลักษณะแกนเดียว ใช้ระบบหัวขับลมมีตัวควบคุมความดันที่คำนวณและปรับแกนการเอนตัวแผ่นโซลาร์ตามทิศทางของดวงอาทิตย์
โดย ExpresSo มีธีมการลงทุนหลักให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของ ปตท. โดยมองหาสตาร์ทอัพผู้คิดค้น
และพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับพลังงานใหม่และการจัดการพลังงานเพื่อความยั่งยืน
นอกเหนือจากมุมการเป็นผู้ลงทุนแล้ว ExpresSo ก็ยังมีกลุ่มธุรกิจ Venture Builder หรือ VB
เป็นการจัดตั้งโครงการหรือบริษัทเพื่อทดสอบแนวคิดทางธุรกิจ และพัฒนาต้นแบบที่มีแนวโน้มจะกลายมาเป็นธุรกิจใหม่ให้กับ ปตท. ตัวอย่างเช่น
- Renewable Energy Acceleration Platform หรือ ReAcc ทำธุรกิจแพลตฟอร์มระบบบล็อกเชนเพื่อรองรับธุรกรรมเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนอย่างครบวงจรรายแรกในประเทศไทย ที่ช่วยให้บริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยให้เข้าถึงแหล่งพลังงานหมุนเวียน
- Swap & Go ธุรกิจให้บริการสลับแบตเตอรี่สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบไม่ต้องรอชาร์จ
- Mekha Tech ธุรกิจให้บริการคลาวด์กับลูกค้าทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม ปตท.
- Smart Energy Platform: P2P โครงการทดลองการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ระหว่างบุคคล โดยร่วมมือกับ Sertis GPSC และ VISTEC
ExpresSo ยังมีกลยุทธ์การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัทอื่น ๆ ผ่านกลุ่มธุรกิจ Venture Partner หนึ่งในนั้นคือการร่วมมือกับ Elemental Excelerator องค์กร Nonprofit ด้าน Climate tech เพื่อสร้างความยั่งยืนในกับโลก ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยขับเคลื่อนเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 แบบยั่งยืนด้วยองค์ความรู้ระดับสากล
ทั้งหมดนี้ก็เป็นการดำเนินธุรกิจภายใต้โครงการ ExpresSo
ที่แบ่งกลยุทธ์การหาโอกาสการเติบโตใหม่ทั้งในรูปแบบการลงทุน
การจัดตั้งบริษัทขึ้นเอง และการเข้าไปเป็นพันธมิตรกับผู้อื่น
นอกจากโครงการ ExpresSo แล้ว ยังมีอีกโครงการที่เน้นการค้นหาโอกาสการเติบโตใหม่เหมือนกัน
แต่มุ่งเน้นไปที่ กลุ่ม Food Value Chain เป็นหลัก รวมถึงเป็นศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพให้กับโครงการนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วใน ปตท. และมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นธุรกิจใหม่ได้ โดยโครงการนี้ชื่อว่า “Booster Project” ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา
การดำเนินงานของ Booster จะเน้นไปที่การวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจของโครงการในด้านต่าง ๆ เช่น Strategic fit, market, business model และ financial model ตลอดจนค้นหาโอกาสการเติบโตของธุรกิจนั้น ๆ
ยกตัวอย่างเช่น โครงการ Fishery Technology & Innovation
ที่เป็นการพัฒนาให้ประมงไทยกลับมาโดดเด่นอีกครั้ง
โดยนำเทคโนโลยีนวัตกรรมและระบบการจัดการใหม่ มาพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงแบบครบวงจร
รวมทั้งการแปรรูป จำหน่าย และบริหารโลจิสติกส์ เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน
เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในไทยและต่างประเทศ ยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้แก่เกษตรกรไทย และสร้างโอกาสใหม่เพื่อการเติบโตทางธุรกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยได้คัดเลือกปลาเศรษฐกิจ 2 ชนิดมาเป็นโมเดลต้นแบบ ได้แก่
Sugi Model หรือ โมเดลปลาช่อนทะเล เป็นโครงการเพื่อพัฒนาปลาเศรษฐกิจในอนาคต
ซึ่งจะนำเทคโนโลยีและการจัดการแบบใหม่มาพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงในกระชังต้นแบบ
ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบกระบวนการเพาะเลี้ยง และการทดสอบเรื่องอาหาร
เพื่อเพิ่มคุณภาพเนื้อและสารอาหารในปลาให้ดีขึ้น
ตลอดจนวิจัยผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อให้สามารถใช้ผลผลิตทั้งหมดอย่างคุ้มค่าไม่มีของเหลือทิ้ง
และหาช่องทางจัดจำหน่ายแบบ online offline และ modern trade
โดยที่ผ่านมา ได้มีการจัดการแข่งขัน Sugi Hackathon
ที่เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาเข้ามาประกวดแผนธุรกิจและกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อนำแนวคิดของคนรุ่นใหม่ มาช่วยขับเคลื่อนแผนพัฒนาปลาเศรษฐกิจดังกล่าว
อีกหนึ่งปลาเศรษฐกิจที่ Booster มีส่วนร่วมพัฒนา คือ Gourami Model หรือ โมเดลปลาสลิด
ตั้งแต่การเพาะพันธุ์ เพาะเลี้ยงไปจนถึงการแปรรูป สร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค ว่าแต่ละกระบวนการเป็นไปตามมาตรฐานและตรวจสอบได้
ปัจจุบันก่อสร้างโรงงานแปรรูปแล้วเสร็จ 95% อยู่ระหว่างการทดสอบกระบวนการแปรรูป และเริ่มมีการติดตั้งระบบ IoT และระบบอัตโนมัติหรือ Automation สำหรับการผลิตภายในโรงงานแปรรูปเพื่อตรวจสอบและวัดผลตลอดกระบวนการแปรรูป โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นโรงงานผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อผู้บริโภค
โครงการ Fishery Technology & Innovation ยังมุ่งมั่นพัฒนาประมงไทย โดยใช้ระบบ IoT (internet of Things) ร่วมกับการจัดทำ mobile application เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรบันทึกข้อมูลการเพาะเลี้ยง ที่จะช่วยให้การเพาะเลี้ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในส่วนของผลิดภัณฑ์ และ คุณภาพ
รวมทั้งยังมีการพัฒนา Platform ให้มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)
โดยอาศัยเทคโนโลยีของ Blockchain ให้สามารถตรวจสอบได้ตลอด Supply Chain
ในอนาคตอันใกล้ จะมีการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้งานร่วมกับ AI (Artificial Intelligence) สำหรับกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทานในการออกแบบการผลิตให้เป็นไปความต้องการของตลาดได้ในอนาคต
นอกเหนือจากการสนับสนุนการพัฒนาประมงไทย โครงการ Booster ยังนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยยกระดับภาคการเกษตร โดยมุ่งเน้น สมุนไพรไทย ครอบคลุมทั้งกระบวนการ
ตั้งแต่การปลูก การสกัด การแปรรูป ไปจนถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์
ด้วยความตั้งใจที่จะส่งต่อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการสู่มือผู้บริโภค
จะเห็นได้ว่าแม้ ExpresSo และ Booster จะเป็นโครงการที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาได้เพียงไม่กี่ปี
แต่ทั้ง 2 โครงการมีลักษณะการดำเนินธุรกิจเฉพาะที่ชัดเจนและมีเป้าหมายร่วมกันคือ การมองหาโอกาสการเติบโตทั้งในรูปแบบของการเข้าไปลงทุนในสตาร์ทอัพ หรือการวิเคราะห์ตลาดและหาแนวโน้มในการเติบโตในอนาคตเพื่อนำเทคโนโลยีเข้าไปเสริมให้ธุรกิจ มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น
ก็น่าติดตามกันต่อไปว่าในระยะยาว ทั้ง 2 โครงการของ ปตท. จะสร้าง New S-Curve อะไรให้กับบริษัทได้บ้าง
แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนตอนนี้ คือ ปตท. พร้อมแล้วที่จะรุกเข้าสู่กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่
ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่เพียงคำว่าธุรกิจพลังงาน อีกต่อไป
venture builder 在 Facebook 的最佳貼文
即日起至 7/31 止,前往 Lyricist.ai 官方網站:https://www.kklab.com/lyricist,首次申請會員就能獲得 15 天免費體驗,輸入「KKLAB」推薦碼,還能額外獲得 30 天免費優惠,共計 45 天免費體驗,盡情感受 Lyricist.ai 帶來滿滿的創作靈感!
這裡點:https://www.prettyma3c.com.tw/blog/post/45085006
#KKBOX