“Rolls-Royce” แบรนด์รถหรูอังกฤษ ที่บริษัทรถยนต์เยอรมัน แย่งกันซื้อ /โดย ลงทุนแมน
Rolls-Royce ถือเป็นแบรนด์รถยนต์หรูสัญชาติอังกฤษ ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานเกินกว่าร้อยปี
ซึ่งคู่แข่งของแบรนด์นี้ ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน นั่นก็คือ Bentley แบรนด์รถหรูที่มีต้นกำเนิดจากประเทศเดียวกัน
รู้หรือไม่ว่าทั้ง Rolls-Royce และ Bentley เคยถูกควบรวมเข้ามาอยู่ในบริษัทเดียวกัน
แต่ปัจจุบันแบรนด์รถหรูทั้ง 2 แบรนด์ ต่างมีเจ้าของเป็นบริษัทรถยนต์เยอรมัน
โดย BMW เป็นเจ้าของ Rolls-Royce และ Volkswagen เป็นเจ้าของ Bentley
กว่าจะมาเป็นวันนี้ Rolls-Royce เกิดขึ้นได้อย่างไร
แล้วทำไม Rolls-Royce ถึงไปอยู่ภายใต้ BMW ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Rolls-Royce ก่อตั้งโดย ชาวอังกฤษ 2 คน ที่มีความหลงใหลในรถยนต์
คนแรกชื่อว่า Frederick Henry Royce เขาคนนี้เป็นผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรม
และด้วยความที่ Royce ไม่พอใจกับรถยนต์แบรนด์ฝรั่งเศสที่เขาใช้อยู่ในขณะนั้น
เขาจึงได้ตัดสินใจผลิตรถยนต์เป็นของตัวเองชื่อว่า “Royce 10hp”
ในปี ค.ศ. 1904 Royce ได้เจอกับผู้ที่คลั่งไคล้รถยนต์เช่นเดียวกับเขาชื่อ Charles Stewart Rolls ซึ่งเขาทำธุรกิจนำเข้ารถยนต์จากฝรั่งเศส แต่ต้องการขยายธุรกิจ ให้เป็นมากกว่าบริษัทนำเข้ารถยนต์
และเมื่อ Rolls ได้เห็นรถยนต์ของ Royce เขาก็รู้ทันทีว่านี่คือสิ่งที่เขาตามหา
หลังจากนั้น เขาก็ได้ตกลงที่จะร่วมมือกันในการจัดจำหน่ายรถคุณภาพสูงสัญชาติอังกฤษไปทั่วประเทศ
ทั้งคู่จึงได้ก่อตั้ง “Rolls-Royce” ขึ้นมาและออกจำหน่ายรถยนต์รุ่นแรกในปีเดียวกัน ซึ่งผลงานที่สร้างชื่อของแบรนด์ Rolls-Royce คือ การทดสอบวิ่งระยะไกลแบบต่อเนื่องของรถรุ่น 40/50 หรือฉายา Silver Ghost ด้วยระยะทางกว่า 23,000 กิโลเมตร
จากผลงานดังกล่าว ก็ได้ทำให้ Silver Ghost ถูกขนานนามว่าเป็นรถยนต์ที่ดีที่สุดในโลก
ในภายหลัง Silver Ghost ยังถูกเอามาติดตั้งเกราะหนาและปืนกลเพื่อเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 อีกด้วย
ต่อมาในปี ค.ศ. 1925 ก็เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ทำให้ยอดขายตกต่ำลงอย่างมาก
Rolls-Royce ต้องเอาตัวรอดด้วยการขายทรัพย์สินบางส่วนไปเพื่อที่จะรักษากิจการให้ผ่านช่วงวิกฤติไปให้ได้
แต่ดูเหมือนว่าด้วยวิกฤติเดียวกันนี้ คู่แข่งที่เทียบคู่กันมาอย่าง Bentley ไม่สามารถแบกรับภาระหนี้ที่มีอยู่ไหว จนสุดท้าย Bentley ก็ได้ขายกิจการให้กับ Rolls-Royce ในปี ค.ศ. 1931
ด้วยความที่ทั้ง 2 แบรนด์เป็นแบรนด์รถหรูทั้งคู่และได้มาอยู่ใต้ชายคาเดียวกัน จึงทำให้ช่วงหนึ่งรถของทั้ง Rolls-Royce และ Bentley มีรูปลักษณ์ที่คล้ายกันมาก ถึงขนาดที่ว่ารถบางรุ่นผู้คนเห็นความต่างกันแค่ตะแกรงหน้ารถเท่านั้น
ในช่วงเวลานี้เอง Rolls-Royce ได้เริ่มการผลิตรถยนต์ที่ออกแบบตามการดีไซน์ร่วมกับลูกค้าซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่
ทำให้ราคาขายของรถไม่มีตัวเลขตายตัวอีกต่อไป เพราะราคาจะขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า
ในปี ค.ศ. 1939 สายการผลิตรถยนต์ของ Rolls-Royce ต้องหยุดลงเพื่อไปผลิตเครื่องยนต์ของอากาศยานให้กับกองทัพในช่วงสงครามโลก และด้วยประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ที่บริษัทผลิต เครื่องบินรบของกองทัพอังกฤษได้ถูกกล่าวขานว่ามีเครื่องยนต์ที่แข็งแกร่งที่สุดในสงคราม เลยทีเดียว
จุดนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของ Rolls-Royce ที่ได้ขยายธุรกิจจากรถยนต์ สู่เครื่องยนต์อากาศยานในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1971 Rolls-Royce กลับมีปัญหาทางด้านการเงินอย่างหนักและถูกบังคับให้ล้มละลาย แต่ด้วยความที่ Rolls-Royce ยังเป็นแบรนด์ในความต้องการของเหล่าเศรษฐี และราชวงศ์ทั่วโลก
เมื่อบริษัทมีปัญหา บริษัทแห่งนี้จึงยังคงมีคุณค่าและเป็นเป้าหมายการเข้าซื้อกิจการจากหลายบริษัท
เริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1980 Vickers บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรมเครื่องยนต์
ได้เข้าซื้อกิจการผลิตรถยนต์ของ Rolls-Royce
อย่างไรก็ตาม Vickers ได้ซื้อไปเพียงธุรกิจยานยนต์และความเป็นเจ้าของโรงงานผลิตเท่านั้น
สำหรับสิทธิในการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและโลโกยังคงอยู่กับบริษัท Rolls-Royce
ณ ตอนนั้น บริษัทจึงเหลือเพียงแค่สิทธิ์ของแบรนด์และกิจการผลิตเครื่องยนต์อากาศยาน
ในปี ค.ศ. 1998 เหล่าผู้ถือหุ้นของ Vickers ก็ได้ตัดสินใจขายธุรกิจยานยนต์ดังกล่าวให้กับ Volkswagen
แต่ในการขายกิจการยานยนต์ของ Vickers ไปให้ Volkswagen นั้น ยังมีผู้ผลิตยานยนต์อีกราย
นั่นก็คือ BMW ที่เข้าร่วมประมูลราคาเพื่อซื้อ Rolls-Royce เช่นกัน แต่ก็ต้องแพ้ประมูลไป
ที่ผ่านมา BMW เป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ให้กับ Rolls-Royce หลายรุ่นและการประมูลดังกล่าว
หลายฝ่ายก็ประเมินกันว่า BMW จะได้เป็นเจ้าของ Rolls-Royce อย่างแน่นอน
และเมื่อ BMW พ่ายแพ้การประมูล ทางบริษัทจึงไม่พอใจและได้ประกาศยกเลิกการผลิตเครื่องยนต์
ให้กับ Rolls-Royce ทันที และเรื่องนี้ก็สร้างความปวดหัวให้กับ Volkswagen ไม่น้อย
แต่ BMW ที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ Rolls-Royce มาอย่างยาวนานรู้ว่าสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าอยู่กับอีกบริษัท BMW จึงไม่รอช้าและรีบเจรจาขอซื้อสิทธิ์ดังกล่าว
หลังจากเข้าซื้อสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าสำเร็จแล้ว BMW ก็ได้ออกมาประกาศทันทีว่า Volkswagen จะสามารถใช้ชื่อแบรนด์ “Rolls-Royce” ได้จนถึงปี ค.ศ. 2002 เท่านั้น
และก็ดูเหมือนว่า BMW จะเป็นฝ่ายได้เปรียบในทันทีที่ถือสิทธิ์ในชื่อ Rolls-Royce
เพราะหลังจากที่บริษัทประกาศเรื่องดังกล่าวออกไป มันก็ได้ส่งผลกระทบไปยังยอดจองรถของ Rolls-Royce และ Bentley ที่ปรับตัวลดลงถึง 30% ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์
จุดนี้ ก็ได้สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคให้ความสำคัญกับแบรนด์เป็นอย่างมาก
โดยผู้บริหารของ Volkswagen เองก็ไม่อยากเสี่ยงกับการขายรถ Rolls-Royce
ที่ไม่มีโลโก ไม่มีแบรนด์ของ Rolls-Royce ติดอยู่ นั่นจึงทำให้ในเวลาต่อมา
Volkswagen ยอมเปิดโต๊ะเจรจากับ BMW และก็จบลงที่ว่า Volkswagen
จะขายสิทธิบัตรและสิทธิอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Rolls-Royce ให้ BMW ทั้งหมด
แต่ก็มีข้อแม้ว่า BMW จะต้องดำเนินการผลิตเครื่องยนต์ของ Rolls-Royce ไปจนถึงปี ค.ศ. 2002 และ Bentley ในบางรุ่นตลอดอายุสัญญา
โดยโรงงานผลิตจะตกเป็นของ Volkswagen และจะต้องปรับสายการผลิตทั้งหมดเพื่อผลิตรถ Bentley เพียงอย่างเดียว และ Volkswagen จะได้ครอบครองแบรนด์ Bently
จุดนี้เองก็ถือเป็นทางแยกของทั้ง Rolls-Royce และ Bentley ที่อยู่ร่วมกันมากว่า 70 ปี
ในขณะเดียวกัน บริษัท Vickers ที่เป็นผู้ซื้อกิจการยานยนต์ของ Rolls-Royce ในตอนแรก
ก็ได้ถูกซื้อกิจการโดย Rolls-Royce ฝั่งที่เป็นธุรกิจเครื่องยนต์อากาศยาน
จากนั้น BMW ก็ได้ก่อตั้งบริษัทผลิตรถยนต์ ภายใต้แบรนด์ Rolls-Royce ขึ้นมาใหม่
ซึ่งในปัจจุบันรถยนต์ Rolls-Royce มียอดจำหน่ายราว 3,000 ถึง 5,000 คันต่อปี
ในขณะที่ ราคาของรถยนต์ก็มีตั้งแต่หลักสิบล้าน ไปจนถึงหลักหลายร้อยล้านบาท
จนถึงตอนนี้ Rolls-Royce เป็นแบรนด์ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 117 ปี
ผ่านสงครามโลกมาแล้วถึง 2 ครั้ง
และสามารถพลิกฟื้นจากกิจการที่ถูกสั่งให้ล้มละลายมาได้
ทั้งหมดนี้ จึงถือเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ว่า Rolls-Royce เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่แข็งแกร่งระดับโลก..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
Charles Rolls หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Rolls-Royce มีความชื่นชอบในด้านการบินอย่างมาก
เขาเคยได้ลองขึ้นบินกับสองพี่น้องตระกูลไรต์ และได้ซื้อเครื่องบินกลับมาด้วย 1 ลำ
ซึ่งเขายังเป็นคนแรกที่สามารถบินข้ามช่องแคบอังกฤษแบบไป-กลับ โดยไม่หยุดพักอีกด้วย
แต่สุดท้ายแล้ว Charles Rolls ก็ได้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เครื่องบินตกในปี ค.ศ. 1910 ถือเป็นชาวอังกฤษคนแรกที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางการบิน ทำให้เขาอยู่คู่กับ Rolls-Royce เพียงแค่ 6 ปี เท่านั้น..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.youtube.com/watch?v=MIUB5BhEkR0
-https://www.youtube.com/watch?v=q1nCH7bFDdA
-https://www.bangkoksupercar.com/content/5880/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-rolls-royce
-https://www.southcoasttoday.com/article/19980704/news/307049965
-https://www.cbsnews.com/news/bmw-buys-rolls-royce-brand-name/
-https://www.nytimes.com/1998/07/29/business/international-business-bmw-to-get-rolls-royce-after-all-by-acquiring-the-name.html
-https://en.wikipedia.org/wiki/Charles_Rolls#cite_note-BBC-6
-https://www.fleetnews.co.uk/news/1998/8/5/bmw-buys-rolls-royce-name-from-vw/3744/
volkswagen wiki 在 蔡依橙的閱讀筆記 Facebook 的最佳貼文
【陪你看國際新聞】立陶宛回贈疫苗,這事情怎麼看?
立陶宛捐給我們 2 萬劑 AZ 疫苗,數量雖不大,但意義卻很大。
首先是,立陶宛人口只有 280 萬,染疫比例約 10%,因疫死亡約 0.16%。
台灣人口 2300 萬,染疫比例 0.06%,因疫死亡約 0.0025%。
- Reported Cases and Deaths by Country / Worldometer
https://www.worldometers.info/coronavirus/
怎麼看都應該是立陶宛疫情比較嚴重,也更需要疫苗。
但因為我們曾在歐洲疫情發展最快速時,送給他們正需要的 10 萬片口罩,品質也很不錯,人家銘記在心。
即使立陶宛自己也很需要疫苗,在得知臺灣「政治疫情」嚴峻的時候,依然撥出了 2 萬劑給我們。
- 立陶宛宣布捐贈台灣 2 萬劑 AZ 疫苗報答 10 萬口罩援助 9 月底前抵達 / 上報
https://bit.ly/3wOKjA1
-【陪你看國際新聞】美國大送疫苗,表示臺灣情勢很險峻?
https://bit.ly/3xC4cKu
送禮,最重要的是時機。
我們送立陶宛是這樣,日本送我們是這樣,美國送我們是這樣,立陶宛回贈,也是這樣。
而立陶宛怎麼會知道我們「政治疫情」嚴峻呢?他們是個怎樣的國家,有著怎樣的歷史記憶?
記得前陣子 UFC 的新聞嗎?立陶宛裔的美國選手羅斯,在賽前說明立陶宛的反共歷史、被蘇聯欺壓的過去,喊著 Better dead than red(寧死勿紅),果斷 KO 了中國選手張偉麗。
- 美籍立陶宛裔MMA選手「寧死不紅」KO中國冠軍 猶記曾祖父為獨立而死 / 信傳媒
https://www.cmmedia.com.tw/home/articles/27070
立陶宛曾經被蘇聯併吞並殖民近 50 年,好不容易在 1991 年獨立。
臺灣則是被中國國民黨「接收」並殖民 50 年,好不容易在 1996 年全民總統直選。
兩個國家,都還在後殖民議題中努力,如:轉型正義、價值選擇、殖民殘存影響等。
-【專欄】立陶宛的轉向 / 民報
https://bit.ly/3wMUODO
到現在,臺灣面對中共的併吞威脅,其地緣政治依然險惡。
立陶宛很懂,在紅色共產政權旁邊生活,會遇到怎樣的政治滲透,以及各種反自由民主的煽動。
Better dead than red.
這次的口罩-疫苗互惠,就是替兩個小國,建立起友誼的橋樑。
回到一開始,臺灣之所以能夠快速地捐出口罩,正是因為政府整合了願意協助的口罩廠商,成立口罩國家隊,迅速以保證價格徵用,與協助取得原料等方式,互利互惠。
在臺灣大致夠用後,迅速援助世界各國。內政顧好,也顧外交。
這就是關鍵。
在兵荒馬亂之際,有人視野有限,有人卻能穩住陣腳,同時注意國內與國際。
- [討論] 捐1000萬片口罩 徐巧芯怒:台灣人活該?/ PTT
https://bit.ly/3j3wHgk
- 葉毓蘭批捐口罩「凱子外交」 / 民視
https://bit.ly/3zME3KN
去年大家也實際感受到了,那個口罩奇缺的時間並不長,政府迅速整合資源,把握機會,並在 2020 年 4 月就送達對方手中,很不容易。
- 各國政要就我國捐贈防疫物資及醫療援助案表達感謝統計表 / 外交部
https://bit.ly/35Iw0AX
同樣的十萬片,現在送,跟去年 4 月送,意義是天壤之別,創造出的價值也是天壤之別。
但口罩國家隊,畢竟也是廠商,人家也要生活的,政府怎麼回報呢?
答案是:以品質管控,推行口罩雙鋼印。以及公布口罩國家隊名單,讓消費者指名選購。
- 台灣國家隊雙鋼印口罩怎麼分!三種版本一次看懂 / NOWnews
https://bit.ly/3wQbjPs
我自己許多朋友,買口罩就是指明雙鋼印,或甚至指定幾家口罩國家隊廠商購買。
這是一個善的循環,政府這種國家機器,在人類歷史上,可以暴力為惡,但也可以依法為善,為人民創造更好的生活環境。
臺灣選民理性選出的民選政府,選擇扮演好整合跟協調的角色,請廠商幫忙,但也彼此互惠。然後放大臺灣的口罩製造能量,照顧民眾,也把握機會做好外交。
同樣的,這次台積電與政府合作,也是巧妙的運用德國需要車用晶片,去跟德國做疫苗談判。
你知道嗎?德國很特別的是,他們的政府是可以入股車廠的喔,例如下薩克森邦,就擁有福斯集團 11.8% 的股份,與 20% 的投票權!
- Volkswagen Group / Wikipedia
https://en.wikipedia.org/wiki/Volkswagen_Group
這些細微的關係,正是有可能翹動疫苗採購的關鍵。
而台積電與政府的合作,並不是第一次了,之前三次代表總統前往 APEC,負擔社會責任,持續吸引傑出人才,以及政府積極發展綠電,都是互利互惠。
- 台積代工蘋果 全數用綠電 / 創睿 / 經濟日報
https://bit.ly/3gTW15z
這些都是在合法的狀況下,秉持善意的合作,一起讓台灣更好。
別以為,這些都是理所當然。研究要有對照組,才能看出差異。
以柯文哲市長的北市府來說,他們對待協助生下 30-40% 新生兒的禾馨醫療集團,明顯就採取了一個不一樣的態度。
- 禾馨是全台灣最大的婦產科連鎖,現在把他們的疫苗合約資格拔掉,受害的就只是孕婦與新生兒而已 / 詹姆士的訐譙時間
https://bit.ly/3d0EU0Y
我們常說,臺灣的國內政治,幾乎都是國際政治的延伸。
但相對的,我們也能將良好的國內治理,延伸成優質的外交關係。
我們早就不是那個聯合國常任理事國的中華民國了。也不該是那個用威權、用槍斃、用偶像崇拜與權謀治國的時代了。
國內治理、外交政策,都應該如此。
以既有的能力做好整合發揮,讓世界知道,這是一個民主、自由、溫暖、友善、有技術能力的中型國家:臺灣!
volkswagen wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
การขาดแคลนชิป ปัญหาใหญ่ ของอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลก /โดย ลงทุนแมน
ก่อนหน้านี้ บริษัทรถยนต์หลายแห่งคงกำลังดีใจ
ที่เศรษฐกิจหลายประเทศเริ่มฟื้นตัวได้
จากการควบคุมโรคระบาดที่ทำได้ดีขึ้น จนความต้องการซื้อรถยนต์เริ่มฟื้นตัวกลับมา
แต่หลังจากดีใจได้ไม่นาน ค่ายรถยนต์หลายแห่งทั่วโลกก็ต้องเจอกับปัญหาใหม่อีกครั้ง
นั่นคือ ปัญหาขาดแคลนชิปซึ่งเป็นหนึ่งชิ้นส่วนสำคัญในรถยนต์
จนค่ายรถยนต์หลายแห่งต้องสั่งหยุดการผลิตรถยนต์ หรือหลายแห่งผลิตได้ไม่เต็มที่ตามต้องการ
ปัญหาขาดแคลนชิป กระทบอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกมากแค่ไหนในตอนนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ถ้าถามว่า ส่วนประกอบสำคัญที่เป็นเหมือนสมองของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ตโฟน โทรทัศน์ เครื่องเล่นเกม รวมถึง รถยนต์ คืออะไร ?
คำตอบนั้นก็คือ “ชิปประมวลผล”
สำหรับรถยนต์ ชิปถือเป็นส่วนประกอบสำคัญในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ภายในตัวรถ เช่น หน้าจอแสดงผล และระบบส่งกำลัง
ปีที่ผ่านมาหลายอุตสาหกรรมทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการเกิดโรคระบาด แต่หนึ่งในอุตสาหกรรมที่เติบโตสวนกระแสก็คือ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกรวมกันอยู่สูงกว่า 13 ล้านล้านบาท เติบโต 5.1% จากปีก่อนหน้า
ที่เป็นแบบนี้ก็เนื่องจาก ช่วงที่โควิด 19 ระบาดหนัก
ความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นเพิ่มขึ้นสูงมาก อย่างเช่น แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
จากการที่คนต้องเปลี่ยนมาทำงานจากที่บ้านกันทั่วโลก
แต่การเติบโตของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ กลับก่อให้เกิดปัญหาชิปขาดแคลน
และปัญหานี้ ก็กำลังส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์
ซึ่งนับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของสภาพเศรษฐกิจทั่วโลก
สำหรับในสหรัฐอเมริกา อุตสาหกรรมยานยนต์มีการจ้างงานรวมกันประมาณ 3 ล้านคน สร้างมูลค่าต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกากว่า 16 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณ 2.5% ของมูลค่า GDP ประเทศ
ในประเทศไทย อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์นั้น มีการจ้างงานรวมกันกว่า 850,000 คน สร้างมูลค่าต่อเศรษฐกิจประเทศไทยกว่า 1.7 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็นกว่า 10% ของมูลค่า GDP ประเทศ
ย้อนกลับไปช่วงกลางปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่โควิด 19 กำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก โรงงานผลิตชิปหลายแห่งต้องปิดตัวลงชั่วคราว จนไม่สามารถส่งมอบชิปอย่างเพียงพอ
กำลังซื้อรถยนต์ของคนทั่วโลกที่ชะลอตัวลงในช่วงเวลานั้น บังคับให้บริษัทรถยนต์หลายแห่งต้องปรับลดกำลังการผลิต ทำให้หลายค่ายรถยนต์ ต้องยกเลิกคำสั่งซื้อชิปจำนวนมากตามไปด้วย
อย่างกรณีของ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลกจากไต้หวันก็ถูกยกเลิกคำสั่งซื้อชิปจากบริษัทรถยนต์หลายแห่ง
แต่พอความต้องการรถยนต์เริ่มฟื้นตัวกลับมาอีกครั้ง
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ TSMC หันไปผลิตชิปให้ลูกค้าในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ไปแล้ว
และอีกด้านหนึ่งคือ การเพิ่มกำลังการผลิตชิปนั้นไม่สามารถทำได้ในทันที เนื่องจากต้องใช้เวลาและต้นทุนจำนวนมหาศาล อย่างเช่น ต้องใช้งบประมาณและเวลาในการขยายโรงงานการผลิต
และปัจจุบัน TSMC นั้นกำลังผลิตชิปเทคโนโลยีสูง โดยใช้กำลังการผลิตกว่า 90% ซึ่งเกือบจะเต็มกำลังอยู่แล้ว
ก็เลยกลายเป็นว่า ในตอนนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ต้องไปต่อคิวต่อจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีความต้องการชิปด้วยเช่นกัน
จึงทำให้บริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่หลายแห่งนับจากต้นปี ต้องประกาศลดกำลังการผลิตลงในช่วงที่ผ่านมา
- General Motors สั่งหยุดสายการผลิตทั้งหมดที่โรงงาน 4 แห่งในอเมริกาเหนือ
รวมทั้งยังลดการผลิตที่โรงงานในเกาหลีใต้ 2 แห่งลงครึ่งหนึ่ง
และคาดว่าจะกระทบกับกำไรของบริษัทมากกว่า 60,000 ล้านบาท
- Honda Motor จำเป็นต้องปรับลดการผลิตรถยนต์ที่โรงงานในภาคกลางของญี่ปุ่นลงประมาณ 4,000 คันต่อเดือน
- Volkswagen ประกาศลดกำลังการผลิตที่โรงงานผลิตในจีน ยุโรป และอเมริกาเหนือ ในไตรมาสแรก
ซึ่งการขาดแคลนชิป จนทำให้บริษัทรถยนต์หลายแห่งต้องลดกำลังการผลิตลงนั้น อาจส่งผลให้อุตสาหกรรมรถยนต์จำเป็นต้องลดปริมาณการจ้างงานลงด้วย
และสุดท้ายเรื่องนี้ก็จะกระทบกับการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน
ซึ่งผลกระทบดังกล่าว น่าจะส่งผลกระทบมายังประเทศไทยด้วย
เนื่องจากไทยก็ถือเป็นหนึ่งในฐานการผลิตรถยนต์ของหลาย ๆ แบรนด์ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
มูลค่าการส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไปต่างประเทศ ในปี 2563 ที่ผ่านมาของไทย มีมูลค่ากว่า 917,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 13% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด
ซึ่งถ้าสถานการณ์นี้ลากยาวไปเรื่อย ๆ
ก็คงไม่ใช่เรื่องดี ต่ออุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ในประเทศไทยด้วยเช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.bangkokpost.com/business/2066755/semiconductor-shortage-takes-toll
-https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/916328
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://www.climatescorecard.org/2020/07/thailand-government-has-yet-to-respond-to-requests-to-help-automobile-industry-hurt-by-covid-19
-https://www.statista.com/statistics/276474/automotive-industry-employees-in-the-united-states-by-sector/
-https://en.wikipedia.org/wiki/TSMC
-https://www.mreport.co.th/news/industry-movement/226-Chip-Shortage-hits-Car-Productions
-https://driving.ca/features/feature-story/what-the-global-chip-shortage-means-for-the-auto-industry-and-car-buyers
-https://www.prachachat.net/world-news/news-614737
-https://www.mmthailand.com/semiconductor-hot-shortage/
-http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx