#ถ้าเราต้องดูแล_ลูกที่ติดเชื้อเองที่บ้าน
.
#เป็นแค่เหตุการณ์สมมติที่อาจจะเกิดขึ้นได้จริง
เขียนเอาไว้ค่ะ
ในกรณีที่เราต้องดูแลลูกเราที่ติดเชื้อ COVID19
อาจจะเป็นช่วงรอเพื่อเข้ารับการรักษา
หรืออาจจะเป็น home isolation
(รวมถึงเชื้อก่อโรคทางเดินหายใจอื่นๆก็ใช้หลักการเดียวกัน)
หมอก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งในระบบให้บริการสาธารณสุข ก็คงต้องบอกว่า
ตอนนี้มันเลยขีดจำกัดของศักยภาพไปแล้วจริงๆ
อีกไม่นาน คงพบว่าการรักษาดูแลตัวเองที่บ้าน
จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นแน่นอน
(**แน่นอนว่า เด็กติดเชื้อ COVID19 ที่ได้รับอนุญาตให้ดูแลที่บ้านได้ คงต้องมีวิธีประเมินจากกุมารแพทย์ก่อน แต่หมอยังไม่เห็นระบบที่ชัดเจนนักในขณะนี้นะคะ คิดว่ากำลังเร่งดำเนินการกันอยู่**)
.
หมอในฐานะแม่คนหนึ่ง
และเป็นกุมารแพทย์ ย่อมเข้าใจดีว่า
การที่เด็กติดเชื้อสร้างความกังวลให้แก่ครอบครัวมากแค่ไหน หมอหวังว่าความรู้นี้ จะเป็นประโยชน์ในการดูแลเด็กเจ็บป่วย
และถ้าเราเตรียมพร้อมเอาไว้ก่อนเมื่อถึงเวลาเราจะได้คลายกังวลลงบ้าง
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
❤PART 1
#อุปกรณ์ที่จำเป็น
● ปรอทวัดไข้ และการจดบันทึก
(จะเป็นประโยชน์มาก ถ้าต้องเข้ารักษาที่รพ. แล้วให้ข้อมูลกับหมอเด็ก)
● ผ้าที่ใช้สำหรับเช็ดตัวลดไข้ กะละมังใส่น้ำ ผ้าเช็ดตัวสำหรับเช็ดตอนแห้ง (คิดว่าทุกบ้านมีอยู่แล้ว)
● นาฬิกาจับเวลา เอาไว้นับอัตราการหายใจ
(คิดว่าทุกบ้านก็คงเปิดมือถือมาจับเวลาได้)
● สมุดเอาไว้จดบันทึกความเป็นอยู่ ไม่ต้องถึงกับ บันทึกละเอียด เอาหลักๆ เช่น จะบันทึกเรื่องการ กิน นอน การเล่น อึ ฉี่ หายใจ
ตัวอย่าง กิน: ดูดนมได้ปกติไม่เหนื่อย กินได้ปริมาณปกติ
นอน: นอนหลับสนิทดี ไม่ตื่นบ่อย
เล่น: เล่นน้อยลง ดูเพลียๆ
อึและฉี่: ลักษณะปกติ ปริมาณปกติ
คือจดคร่าวๆทุกวัน #เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงหรืออาจจะติดตามสิ่งที่สำคัญ
เผื่อว่าต้องให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ จะได้รู้ว่าจุดที่อาการลูกเปลี่ยน
อยู่ตรงจุดไหนนะคะ
#ยาที่ต้องเตรียมไว้
● เด็กที่มีโรคประจำตัว
ให้เตรียมยาที่เค้าใช้ประจำให้พร้อม
ถ้าถึงวันนัดแล้วไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ ให้โทรไปแจ้งทางโรงพยาบาล หมอคิดว่าทุกโรงพยาบาล มีบริการส่งยาทางไปรษณีย์ให้ผู้ป่วยที่มีนัด
และมีประวัติรับยาต่อเนื่อง
● ยากลุ่มบรรเทาอาการ ได้แก่
ยาลดไข้ ยาแก้ไอ เกลือแร่ ORS (เด็กอาจจะมีถ่ายเหลวร่วมด้วยได้) ยาแก้อาเจียน
น้ำเกลือล้างจมูกขวดใหญ่ 1000 ซีซี
syringe 5 ซีซี สำหรับดูดน้ำเกลือหยดในจมูกในเด็กเล็ก
syringe 10 หรือ 20 ซีซี สำหรับล้างจมูกในเด็กโต
ยาลดผื่น ในเด็กที่มีผื่นร่วมด้วย (ปล.ผื่นจากไวรัสมักจะไม่ค่อยคัน แต่อย่างไรก็ตาม ผื่นจาก COVID มีหลายรูปแบบ) หมอแนะนำให้เตรียม ยาน้ำแก้คัน (atarax syrup) และยาสเตียรอยด์อ่อน เช่น TA cream เอาไว้ในกรณีที่มีผื่นร่วมด้วย
และพวก vapor rub (น้ำมันหอมระเหย เช่น วิก) ทาบางๆ จะช่วยให้เด็กหายใจโล่งขึ้น เน้นว่าบาง เพราะทามากเกินไประคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ
หมอแนะนำอ่าน link นี้เพิ่มเติม
https://www.facebook.com/drpambookclub/posts/620205658314131
● อุปกรณ์เสริม ที่ถ้ามีก็ดี
(ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไรใช้อาการสำคัญที่สุด)
เช่น เครื่องวัดระดับความอิ่มตัวออกซิเจนที่ปลายนิ้ว
• คนไข้ของหมอบางคนที่ต้องใช้ออกซิเจน เช่นโรคปอดเรื้อรัง ก็อาจจะต้องเตรียมให้พร้อมไว้เนิ่นๆ เพราะก็มีตัวอย่างให้ดูใน ตปท. ก็ขาดแคลนออกซิเจน
•** สำหรับคนไข้ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ที่บ้าน ให้โทรติดต่อผู้แทนไว้ แม้เครื่องจะไม่มีปัญหาใดๆ เพราะอย่าลืมว่า คนยุคใหม่เปลี่ยนเบอร์โทรบ่อยครั้ง บางครั้งเบอร์ที่เรามี เค้าไม่ใช้แล้ว จะได้โทรหาบริษัท ว่าเราต้องโทรหาใครถ้าเครื่องมือมีปัญหา
>>อุปกรณ์สำหรับป้องกันตัวเอง และคนในครอบครัว ได้แก่ แมสก์ ถุงมือยาง แอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อ ถุงขยะที่จะแยกขยะเอาไว้ ตะกร้าผ้าที่จะแยกผ้าเอาไว้
● เบอร์โทรหน่วยงานที่เราต้องขอความช่วยเหลือ + คนที่เราอาจจะต้องติดต่อเพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน เขียนให้ชัดเจน ตัวใหญ่ ติดไว้ในที่ที่มองเห็นได้ง่าย (#ถึงจะบันทึกไว้ในมือถือแล้วก็แนะนำให้เขียนเอาไว้ค่ะ...หมอเคยเจอพ่อแม่ที่เผชิญกับเหตุฉุกเฉินบ่อย หมอรู้ว่าภาวะสมองคิดอะไรไม่ออกมันเป็นอย่างไร)
==================================
PART 2: ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของเด็กที่ติดเชื้อ COVID19
#ความจริงเกี่ยวกับเด็กที่ติดเชื้อCOVID19
>> เด็กติดเชื้ด COVID19 โดยส่วนใหญ่มีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่ (ยกเว้นเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคหรือภาวะที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง กลุ่มนี้จะมีอาการรุนแรง)
>> เด็กที่ติดเชื้อนี้ มีไข้ประมาณ 50% (นั่นแปลว่าอีกครึ่ง ไม่มีไข้) ในจำนวนที่มีไข้ จะมีไข้สูงเกิน 39 C ประมาณ 10%
มีอาการไอได้ประมาณ 50%
อาการอื่นๆที่พบได้รองลงมา
ท้องเสีย อ่อนเพลีย มีน้ำมูก คัดจมูก ปวดหัว และอาการไม่เฉพาะเจาะจงอื่นๆ
ซึ่งต่างกับในผู้ใหญ่ที่มีอาการนำด้วยไข้บ่อยกว่า และไข้สูงกว่าเด็ก อาการไอในผู้ใหญ่ก็เจอได้มากกว่า (ผู้ใหญ่มีไข้และไอ ได้ถึง 80%)
>> ธรรมชาติของไวรัสที่ติดต่อทางเดินหายใจทั่วๆไป ไม่เฉพาะ COVID19
เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ ไวรัสก็จะต้องอยากอยู่รอด
ก็ต้องแบ่งจำนวนในเซลล์ร่างกายของเราทำให้เซลล์บริเวณนั้นเกิดการอักเสบก่อน
ก็คือบริเวณทางเดินหายใจ
ดังนั้น อาการช่วงแรก ก็อาจจะมีคัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น มีเสมหะ มีอาการไอ
ในขณะเดียวกัน ภูมิคุ้มกันของร่างกายก็ต้องส่งกองกำลังมากำจัดเชื้อ ก็เหมือนเกิดสงครามระหว่างภูมิคุ้มกัน กับไวรัสในร่างกายของเรา
มีการหลั่งสารต่างๆออกมาต่อสู้กัน
และสารเหล่านี้กระตุ้นให้เกิด “ไข้”ขึ้นมาได้ (ไม่ทุกคน)
ถ้าไวรัสแบ่งตัวได้เร็ว #ชนะกองกำลังภูมิคุ้มกันของร่างกาย
#ไวรัสก็จะเดินทางรุกรานทางเดินหายใจลึกไปเรื่อย
จากโพรงจมูก ไปที่คอหอย ไปที่หลอดลมใหญ่ ไปที่หลอดลมปอด
ไปถึงเนื้อปอด
**ดังนั้น คนไข้ก็จะเกิดอาการมากน้อย
แล้วแต่ความรุนแรงของการรุกรานของไวรัส
ในบางคน...การที่ภูมิคุ้มกันมาต่อสู้ แบบ overacting ก็อาจจะทำให้
เซลล์ของตัวเองบาดเจ็บไปด้วย เกิดการบาดเจ็บของเซลล์ในวงกว้าง
ก็เป็นเหตุผลว่า ทำไมแต่ละคนถึงมีอาการไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก
1.ปริมาณของเชื้อที่ได้รับ
2.ความร้ายกาจของเชื้อแต่ละสายพันธุ์
3.ความแข็งแรงของภูมิคุ้มกันผู้ที่ได้รับเชื้อ และการตอบสนองของภูมิคุ้มกันแต่ละคน
#ความเข้าใจที่ต้องมี
- ตั้งสติให้ดี แม้เราจะเห็นเคสรุนแรงมากมายจากการเสนอข่าว แต่อย่าลืมว่า เคสได้เป็นข่าวมักจะเป็นเคสที่รุนแรง ดังนั้น ถ้าพบว่าคนในครอบครัวเรา และ ลูกของเราติดเชื้อ อย่าเพิ่งสติแตก
เพราะจากข้อมูลของคนที่ติดเชื้อทั่วโลก
แม้โรคนี้จะเป็นโรคระบาดร้ายแรง แต่ก็มีคนที่หายจากโรคมาแล้วมากมายเป็นจำนวนมากกว่าคนที่มีอาการรุนแรง
(มองแง่ร้ายไปก็ไม่ดี แง่ดีไปก็ไม่ดี )
- ถ้าเราไม่ไหว ขอความช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัวมาช่วยดูแลเด็กได้ (แต่อาจจะเลี่ยงใช้คนกลุ่มเสี่ยง เช่นผู้สูงอายุ คนที่เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน) ถ้าเรายังพอดูแลลูกไหว ก็จะดีกับลูกมาก
เพราะเด็กป่วย ต้องการแม่เสมอ
สิ่งที่ต้องถามตอนดูแลลูก มี 2 คำถาม
1.เราให้การดูแลลูกตามอาการเต็มที่แล้วหรือยัง
2.อาการลูกตอนนี้ เรายังดูแลเองได้หรือไม่
ซึ่งทั้งสองข้อนี้ หมอจะเขียนวิธีสังเกตใน PART ต่อไป
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
PART 3
#ทักษะที่จำเป็นต้องมี
👉1. นับอัตราการหายใจของเด็กให้เป็น
วิธีคือ หายใจเข้าและหายใจออก
จะนับเป็นการหายใจ 1 ครั้ง
โดยนับตอนที่เด็กอยู่ในภาวะสงบ เช่นหลับ หรือไม่ได้ร้องไห้ให้นับจนครบ 1 นาที
****อัตราการหายใจที่มากกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มอายุนั้น เป็นอาการแสดงที่เร็วสุดในการติดเชื้อหายใจส่วนล่าง***
อายุน้อยกว่า 2 เดือน
ไม่ควรหายใจเกิน 60 ครั้ง/นาที
อายุ 2 เดือน – 1 ปี ไม่ควรหายใจเกิน 50 ครั้ง/นาที
อายุ 1-5 ปี ไม่ควรหายใจเกิน 40 ครั้ง/นาที
อายุมากกว่า 5 ปี ไม่ควรหายใจเกิน 30 ครั้ง/นาที
นอกจากอัตราการหายใจ รูปแบบการหายใจที่ผิดไปจากภาวะปกติ
ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญทั้งหมด
ถ้าตอนนี้เรายังไม่เคยสำรวจการหายใจของลูก ให้เริ่มตั้งแต่ตอนนี้เลย
เพราะจะรู้ว่าลูกหายใจผิดปกติ ก็ต้องจำให้ได้ก่อนว่า ตอนหายใจปกติเป็นอย่างไร
**ถ้าเด็กมีอัตตราการหายใจเร็ว หรือ รูปแบบการหายใจผิดปกติ แปลว่าเราต้องพาลูกไปตรวจเพิ่มเติม หรือถ้ามีระบบ telehealth ก็ต้องปรึกษาแพทย์พยาบาลเพื่อประเมิน**
👉2. การเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกต้อง
การเช็ดตัวลดไข้ ไม่ใช่ “การซับเบาๆ”
เหมือนเวลานางเอกพระเอกในละครทำ
แต่การเช็ดตัวลดไข้ มีวัตถุประสงค์
เพื่อทำให้ร่างกายระบายความร้อนได้ดีมากขึ้น
ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวขึ้น
วิธีคือ เอาผ้าชุบน้ำอุณหภูมิห้อง หรือจะอุ่นเล็กน้อยก็ได้ (27-37◦)
บิดให้หมาด จนไม่มีน้ำหยดลงมาก
จะเอาผ้าพันกับมือเรา หรือจะจับผ้าที่พับไว้ก็ได้
แล้วแต่ถนัด ตอนที่เช็ด ต้องสวนกับรูขุมขน
และ #ออกแรงกดขณะเช็ดพอสมควร
(ไม่ต้องแรงถึงขั้นหนังถลอก)
เพื่อให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนัง ขยายตัว และระบายความร้อนออกได้ดีขึ้น
ถ้าจะให้ดี มีผ้าสัก 2-3 ผืน เอาไว้ประคบที่ซอกคอ ซอกแขน แล้วเปลี่ยนเป็นระยะๆ
ในระหว่างที่เช็ด อย่าลืมปิดแอร์ ปิดพัดลม ตอนเช็ดด้วยนะคะ เดี๋ยวลูกจะสะท้าน
เช็ดเสร็จ ต้องเอาผ้าเช็ดตัวแห้งๆซับ (ครั้งนี้คือ ซับ)
ซับทั่วตัวให้แห้ง แล้วใส่ชุดให้เรียบร้อย
** การกินยาลดไข้ ต้องอาศัยเวลาออกฤทธิ์อย่างน้อยครึ่งชม.แต่การเช็ดตัว ลูกจะสบายตัวขึ้นทันที หลังเช็ด ดังนั้นเช็ดบ่อยได้เลย**
👉3.การล้างจมูกในเด็กเล็ก
เหตุผลคือ เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจ
อาการคัดจมูก จะทำให้เด็กไม่สุขสบาย
เพราะการบวมของเยื่อบุจมูกแม้เพียงเล็กน้อย
จะทำให้แรงต้านใจการหายใจเพิ่มขึ้นอย่างมาก
โดยเฉพาะในเด็กที่ยังดูดนม ตอนเค้าคัดจมูก หรือมีน้ำมูกมาก
เค้าจะดูดนมแล้วหายใจไม่ออก
ทำให้เด็กบางคน กินนมได้น้อยลง
(เพราะกินแล้วหายใจไม่สะดวกเลยไม่กิน)
บางคน อยากกิน แต่เวลากินหายใจไม่ออก จะร้องไห้โวยวาย
เพราะหิวนม แต่กินไม่ได้
บางคนกิน แล้วน้ำมูกที่หยดลงจมูกไปกระตุ้นให้ไอ
ไอแล้วอ๊อก ออกมาเป็นนมปนเสมหะ...ตกใจกันไปอีก
และที่สำคัญก็คือ *** ไม่ควรใช้ยากลุ่มยาลดน้ำมูก (anti-histamine เช่น เซอเท็ก ซีพีเอ็ม) ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ดังนั้น วิธีการที่จะช่วยให้กำจัดน้ำมูกได้ดี และลดการบวมของจมูกไปพร้อมๆกัน คือการล้างจมูก
>> เด็กเล็กที่ยังกินนม ให้เอาน้ำเกลือหยดจมูกและดูดน้ำมูกก่อนมื้อนม และก่อนนอน
>> เด็กโต ถ้าช่วงป่วย ล้างจมูกได้ 2-3 รอบ/วัน
>> เด็กที่ล้างเป็นอยู่แล้ว ถามความสมัครใจเค้าได้เลย เด็กบางคนรู้ตัวว่าคัดจมูกเค้าจะขอแม่ล้างเอง (ในบ้านที่ล้างจมูกอยู่แล้ว เด็กจะเรียนรู้เอง)
ซึ่งหมอแนะนำให้อ่านเพิ่มเติมใน link นี้นะคะ
https://www.facebook.com/drpambookclub/posts/484082528593112
และ
https://www.facebook.com/drpambookclub/photos/1253635244971166
4. การป้อนยา:
รู้ค่ะ ว่าเด็กบางคนกินยายากมาก แต่จุดนี้ คุณแม่ต้องพัฒนาตัวเองให้ได้ (ขอรวมการล้างจมูกไปด้วยเลย)
การกินยาของเด็ก เป็นความรับผิดชอบของเรา
ต้อง “kind but firm” เมตตา คือรู้ว่าเด็กร้องงอแง ไม่อยากกินยา ไม่อยากล้างจมูกเป็นเรื่องปกติ เราไม่ต้องใช้อารมณ์ ไม่ต้องไปหงุดหงิดกับลูก
แต่ต้อง firm คือ สอนให้เค้ารู้ว่า มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำก็ต้องทำ ลูกมีสิทธิ์ไม่ชอบ แต่แม่ก็ต้องทำ เพื่อประโยชน์ ถ้ากินแล้วบ้วนทันที ต้องป้อนซ้ำ
วิธี แล้วแต่เทคนิคของแต่ละบ้าน
>ยาลดไข้
โดยปกติถ้าเราใช้ที่วัดไข้แบบ digital
โดยส่วนใหญ่เค้ามีการปรับอุณหภูมิอยู่แล้ว ไม่ต้องไปบวกเพิ่มอะไร
หน้าปัดอ่านอย่างไรก็ตามนั้น ตามนิยามทางการแพทย์ อุณหภูมิที่เกิน 37.8 ◦C ถือว่ามีไข้ แต่ในเด็กก็มักจะถือเอาอุณหภูมิ ที่ 37.5 C เป็นต้นไป คำว่าไข้ต่ำๆ คือไข้ที่ไม่ถึง 38 C คุณแม่จะเช็ดตัว อย่างเดียวแล้วัดซ้ำหลังเช็ดตัวก็ได้ แต่ถ้าไข้สูง คือสูงกว่า 38 C ก็ให้กินยาพาราเซตตามอล
ขนาดยาคือ 10-15 มิลลิกรัม/ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ไปดูข้างกล่องก่อนว่ายานั้น มีตัวยาปริมาณเท่าไหร่ เช่น 120mg/5ml, 250 mg/5ml นั่นแปลว่า ถ้าลูกของเราหนัก 5 กิโลกรัม
เด็กต้องการยาประมาณ 50-75 mg ก็คือ แปลงเป็นยาที่เขียนไว้ 120 mg/5ml ประมาณ 2.5-3 ml
ให้กินได้ทุก 4-6 ชม. แต่ถ้าไข้ไม่สูงมาก หมอแนะนำทุก 6 ชม.นะคะ แต่ถ้าไข้สูง หรือเป็นเด็กที่เคยชักจากไข้สูง จะกินทุก 4 ชม.ก็ได้ค่ะ
>>ยาแก้ไอในเด็ก ไม่ว่ายี่ห้ออะไรก็ตาม
กลไกคือ ช่วยละลายเสมหะเท่านั้น ไม่ได้ช่วยให้หยุดไอนะคะ
ดังนั้น จะช่วยบรรเทา แต่ไม่ได้ทำให้หาย และ dose ยากว้าง
สามารถให้ยาได้ตามคำแนะนำข้างกล่องได้เลยค่ะ
หรือจะจำง่ายเป็นอายุ ถ้าอายุน้อยกว่า 5 ปี ก็ให้ได้ 2.5-3 ซีซี ต่อครั้ง ให้กิน 4 ครั้งต่อวัน ถ้าอายุมากกว่า 5 ปี ให้ครั้งละ 1 ช้อนช้า (5ซีซี) วันละ 4 ครั้ง
(** อย่าลืมให้เด็กๆดื่มน้ำเยอะๆด้วยนะคะ
ถ้าร่างกายขาดน้ำ เสมหะก็เหนียวอยู่ดี)
>> น้ำเกลือแร่ ORS ในกรณีที่ลูกมีถ่ายเหลวร่วมด้วย
แนะนำให้อ่าน link นี้ด้วย "#ถ้ายังไม่รู้จักน้ำเกลือแร่_ORSดีพอ_โปรดอ่าน"
https://www.facebook.com/drpambookclub/posts/576689112665786
ถ้าเด็กยังกินได้ เล่นได้ ปัสสาวะได้ปกติ นั่นแปลว่า
ภาวะขาดน้ำไม่มากนัก เราอาจจะกะดูปริมาณของอุจจาระที่ออกมา
แล้วชง ORS ให้จิบๆเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้เด็กขาดเกลือแร่ที่สำคัญบางตัว
แต่ถ้าเด็กเริ่มมีอาการของขาดน้ำ
เช่น ปากแห้ง ฉี่น้อยลง สีเข้มมาก แต่ยังกินพอกินได้
ลองคำนวนเอาน้ำหนักตัวลูก x 30 -50 เช่น น้ำหนัก 10 กิโลกรัม x 30 = 300 ซีซี เป็นต้น
จะเป็นจำนวนซีซีที่ต้องป้อนทั้งวัน
วิธีการป้อน คือการแบ่งป้อนครั้งละน้อยๆ อย่ากินรวดเดียว
ไม่เช่นนั้น จะถ่ายออกมาเป็น ORS
>> เรื่องยาสมุนไพร น้ำสมุนไพร เท่าที่หมอหาข้อมูล ยังไม่มีขนาดยาสำหรับเด็ก ถ้าเป็นน้ำต้มที่ให้กินเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น หมอคิดว่าไม่มีข้อเสีย แต่หากกินเป็นเม็ดแคปซูล แล้วกะปริมาณเอาเอง หมอไม่แนะนำนะ
🚑🚑#ถ้าเจอเหตุการณ์นี้_ให้โทร_1669🚑🚑
>> ลูกดูอาการหนักมากขึ้นเรื่อยๆสำหรับเรา
แม้เราจะดูแลเบื้องต้นไปหมดแล้ว
>> มีปัญหาเรื่องการหายใจลำบาก เช่น หายใจอกโป่งมากผิดปกติ หายใจแล้วเห็นรอยบุ๋มที่ซี่โครง หายใจปีกจมูกบาน หายใจติดขัดไม่สม่ำเสมอ...อะไรก็แล้วแต่ ที่เซนส์ของความเป็นแม่รับรู้ว่า “ไม่ปกติแล้วแบบนี้”
>>เจ็บหน้าอก
>>ตัวเย็น หรือ ตัวลาย หรือ ปากเขียวคล้ำ
>>ปวดท้องมาก หรือถ่ายเหลวออกมามากเกินกว่าที่เราจะให้ ORS ทดแทนได้ทัน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
PART 4
**ถ้าลูก confirm COVID19 แต่มีคนในบ้าน
ยังไม่มีอาการ หรือยังเสี่ยงต่ำ จะแยกอย่างไรดี
(ที่มา CDC)
1. ขอเพียง 1 คนที่ทำหน้าที่ดูแลเด็ก ที่เหลือ
ต้องจัดโซน แยกออกจากกันให้ชัดเจน
2. ถ้าเด็กอายุเกิน 2 ปี ถ้าเป็นไปได้ เด็กควรต้องใส่หน้ากากอนามัย เพราะการไอ จาม จะทำให้ไวรัสปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้มาก...จริงอยู่คนที่ดูแลเด็กยังไงก็เสี่ยงอยู่แล้ว หรือในบางกรณีแม่ก็ติดเชื้อเหมือนกัน แต่จำได้มั้ยว่า ถ้าเรารับเชื้อไวรัสไปเพิ่ม แทนที่จะดีขึ้น ร่างกายเราอาจจะรับไม่ไหว แล้วทรุดไปอีกคน ดังนั้น ถ้าเด็กโต ให้เค้าใส่หน้ากากจะดีที่สุด (ถ้าไม่ได้จริงๆ พยายามไม่ใกล้ชิดกันเกินไป) คนดูแลต้องใส่หน้ากากอยู่แล้ว ส่วนเด็กน้อยกว่า 2 ปี ไม่ต้องใส่หน้ากาก เพราะเสี่ยงต่อภาวะขาดอากาศ
3. ดีที่สุด คนติดเชื้อต้องแยกห้องน้ำกับผู้อื่น แต่ถ้าทำไม่ได้ ต้องเช็ดฆ่าเชื้อทำความสะอาดทุกครั้ง
4. ทุกคนในบ้าน ให้ล้างมือให้บ่อยที่สุด ล้างด้วยสบู่นานครั้งละ 20 วินาทีเป็นอย่างน้อย
5. ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อบริเวณที่สัมผัสร่วมกันบ่อยๆ เช่น ลูกบิดประตูที่ใช้ร่วมกัน สวิตซ์ไฟ รีโมทต่างๆ เป็นต้น
++++++++++++++++++++++++
**#แชร์ประสบการณ์จริงการดูแลเมื่อคนในบ้านติดเชื้อ
จากลูกเพจ (ขอขอบพระคุณค่ะ @夕ーナ ノース )
1.คนดูแลผู้ติดเชื้อ ต้องใส่ผ้าปิดปาก, face shield และถุงมือ หากผู้ป่วยมีอาการไอและจาม อุปกรณ์เหล่านี้ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งค่ะ
2.เว้นระยะห่างจากผู้ป่วยทุกครั้ง 2 เมตร ตลอดเวลา
เวลาส่งอาหารและน้ำ ให้ส่งแค่ที่หน้าประตูพอค่ะ ห้ามเข้าไป
หากผู้ป่วยยังสามารถลุกขึ้นดูแลตัวเองได้
3.หากผู้ป่วยเป็นเด็กเล็กๆ คนดูแลต้องดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
ควรใส่อุปกรณ์ป้องกัน คือ แมสก์ +/- face shield ให้รัดกุมและมิดชิดค่ะ และแยกตัวจากคนในครอบครัวด้วยค่ะ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
4.เสื้อผ้า เครื่องนอนควรซักให้บ่อย
เวลาซักให้ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อไปด้วยค่ะ ห้ามแช่ทิ้งไว้
5.บ้านต้องทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุกๆ 30 นาที - 1 ชม.ค่ะ
6.ห้องน้ำหากใช้รวมต้องแยกและกัน
หลังผู้ป่วยใช้เสร็จต้องเข้าไปทำความสะอาดฆ่าเชื้อทั้งห้องทันทีค่ะ
7.ผู้ป่วยโควิดจะขาดน้ำไม่ได้ค่ะ ดังนั้นน้ำสำคัญมากๆๆๆ ต้องบังคับให้ผู้ป่วยพยายามดื่มน้ำให้ได้วันละ 2 ลิตรค่ะ เพื่อป้องกันไม่ให้ไข้ขึ้นสูง เมื่อไข้ขึ้นสูงมากๆๆจะเอาไม่อยู่ อาการอื่นๆจะตามมาจนถึงไวรัสทำลายปอดค่ะ
8.ผู้ป่วยโควิดควรรับแสงแดดทุกวันวันละ 20 นาทีค่ะ ทำให้ได้จะดีมากๆๆ เนื่องจากวิตามินดี จะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงและสูงขึ้นค่ะ เป็นวิธีธรรมชาติที่ได้ผล (**เพิ่มเติมจากหมอแพม เนื่องจากคุณแม่อยู่ในประเทศอังกฤษ การได้ตากแดดเป็นสิ่งสำคัญ แต่สำหรับประเทศไทย เปิดหน้าต่าง รับแสง ให้แสงส่องถึงก็เพียงพอค่ะ)
9. vitamin C (ข้อนี้หมอขอเพิ่มเติมว่า กินอาหารให้ครบหมู่นะคะ vitamin C ก็กินได้เพราะเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ถ้าเกินความต้องการก็ฉี่ออกมา อาจจะช่วยบ้าง แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่เป็น meta-analysis รองรับว่าป้องกันการเจ็บป่วยนะคะ....อย่างไรก็ตาม หมอก็กิน 1000 mg วันละ 1 เม็ดค่ะ 😅)
10.ผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบ้านที่มีผู้ป่วยโควิด จะต้องกักตัวอยู่ในบ้านห้ามออกไปไหนค่ะ หากอยากได้อะไรต้องให้คนข้างนอกหรือหน่วยงานช่วยเหลือค่ะ
⭕ข้อนี้ยากมากเพราะรัฐบาลไม่มีแผนรองรับแต่ในต่างประเทศมีค่ะ ดังนั้น หากทำไม่ได้ก็ไม่เป็นไรค่ะ
❎ ▶️ หากจำเป็นต้องออกจากบ้านจริงๆเพื่อไปซื้อของใช้จำเป็น ให้ออกไปเพียงแค่คนเดียวเท่านั้น ใส่ถุงมือ หน้ากาก ให้ครบ ใช้ครั้งเดียวทิ้งค่ะ ใช้ antibacterial wiped เช็ดทุกอย่างก่อนจับค่ะ พอกลับถึงบ้านก็ให้ใช้สเปรย์พวก disinfectant ฉีดฆ่าเชื้อไวรัสทั้งตัว หัวจรดใต้รองเท้าค่ะ (ไวรัสมักติดมากับรองเท้าค่ะ) เข้าบ้านวางของที่ซื้อและห้ามทุกคนเข้าใกล้โดยเด็ดขาด จากนั้นพาตัวเองไปอาบน้ำ สระผมฆ่าเชื้อไวรัสทันที เมื่อเสร็จเรียบร้อย จึงมาจัดการค่ะ เพื่อป้องกันไวรัสกระจายค่ะ
11.ผู้ป่วยโควิดต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ ระวังเรื่อง mental health เพราะจะทำให้ร่างกายทรุดเพราะจิตใจที่วิตกกังวล หวาดกลัว เครียด คนดูแลต้องไม่แสดงอาการหวาดกลัว วิตกกังวลให้เห็น คอยให้กำลังใจตลอดเวลา เมื่อจิตใจเข้มแข็ง ร่างกายจะพร้อมสู้กับมันค่ะ
13.ผู้ป่วยโควิดต้องพักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ เนื่องจากไม่มียารักษา การที่ร่างกายพักผ่อนมากๆ เพียงพอ เป็นวิธีธรรมชาติที่ร่างกายสู้กับไวรัสค่ะ ภูมิคุ้มกันแข็งแรงบางคนเป็นแค่ 2-3 วันก็หาย บางคน 1 อาทิตย์ ในกลุ่ม mild symptoms ส่วนในกลุ่มที่เป็นมากหน่อย บางคนอาจ 12 อาทิตย์ค่ะ
14.ผู้ดูแล ควรสังเกตอาการค่ะ หากไข้สูงไม่ลงเลย สูงมากขึ้นเรื่อย ๆโทรฉุกเฉินทันทีค่ะ อย่ารอดูอาการ จะได้ถึงมือคุณหมอและปลอดภัย ช่วยเหลือได้ทันการ
สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับฆ่าเชื้อไวรัส
1. สเปรย์จำพวก dettol disinfectant spray
แบบ all in one ตัวนี้ดีมากๆค่ะ
2. พวก antibacterial wiped ค่ะ พกให้คู่กับแอลกอฮฮล์ล้างมือค่ะ
3. Dettol disinfectant liquid ซื้อทั้งสองตัวค่ะ ตัวหนึ่งทำความสะอาดพื้น อีกตัวใช้ทำความสะอาดพวก personal hygiene และ First aid เวลาใช้ดูให้ดีๆค่ะตราสัญลักษณ์จะไม่เหมือนกันค่ะ
4. Zoflora concentrated disinfectant
+++++++++++++++++++++++++++
สื่งที่หมออยากให้ทุกคนรู้ ก็คงมีเพียงเท่านี้
ขอบพระคุณลูกเพจที่น่ารักหลายๆท่าน ช่วยแชร์ประสบการณ์ เพิ่มเติมในสิ่งที่หมอตกหล่นไปด้วยค่ะ
สิ่งที่หมอเขียน คือความรู้พื้นฐานที่เราควรมี ถ้าเราเป็นผู้ดูแลหลัก
แต่เข้าใจว่า
ถ้าเราจัดระบบ Home isolation มันต้องมาคู่กับระบบtelemedicine หรือ telehealth จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ แต่แปลว่า
"เราซึ่งเป็นผู้ดูแลอยู่ที่บ้าน ต้องติดต่อกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ช่วยให้คำแนะนำให้กับเราได้ถ้าเกิดปัญหา หรือต้องมีระบบรองรับในกรณีที่ผู้ที่อยู่ในความดูแลแย่ลงและเราไม่สามารถรับหน้าที่นี้ได้ต่อไป"
.
หมอก็ได้แต่หวังว่า เราจะมองเห็นระบบที่ชัดเจน
และปัญหาสาธารณสุขจะคลี่คลายได้ในเร็ววันนะคะ
.
อย่างที่บอกค่ะ
เขียนเอาไว้ใช้ใน เหตุการณ์สมมติที่อาจเป็นจริง😬
.
ขอให้ทุกคนรักษาสุขภาพกายใจให้แข็งแรง
เป็นห่วงค่ะ
.
หมอแพม
ความรู้ที่หมอจะเขียนเรียบเรียงให้วันนี้
หมอจะแปะ link อ้างอิงไว้ใต้บทความนะคะ
และส่วนหนึ่งมาจากความคิดเห็นของหมอในฐานะ กุมารแพทย์โรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต ค่ะ
ที่มา
1. https://kidshealth.org/en/parents/coronavirus-child-is-sick.html
2. https://www.thaipediatrics.org/pages/Doctor/Detail/46/279
3. website ของ CDC
4. website ของ WHO
who telemedicine 在 Honeyz Facebook 的最佳解答
WhatsApp Doc???
We’ve listened to your concerns and feedback, noting that a home visit from our team might not always be the most accessible option. Many of you would prefer not to see a doctor while some of you simply don’t want to frighten your neighbours by having our team coming to your home all gowned up in PPE!
So I’m very happy to announce the next step in @rescusg’s journey…
Welcome to #Telemedicine Video Consultations!
The digital era is here, as are digital MCs!
You can now pick Dr. @BobbyStryker’s brains and have a video consultation through WhatsApp, tapping on 17 years of experience, without us having to physically come to you and vice versa!
As always, we promise absolute transparency with all our consultation rates and medicine delivery charges.
Consultation prices start from $20 and medicine prices start from $1. More details in this link - https://ilovebunny.net/2020/07/rescu-telemedicine-video-consultation-service.html
It’s a brave new world folks and it’s still changing every day so let’s continue to stay safe and look out for those who might not be able to look out for themselves. Take care!
📸: @sophleow
#rescusg #rescutotherescue
who telemedicine 在 The Chill Mom Michelle Hon Facebook 的最佳貼文
My acid reflux has been bothering me and I don’t really want to go to the clinic or hospital during this period. Who’s feeling the same way?🙋🏻♀️
So I’m really glad that with Speedoc, I’m able to speak with a Singapore-registered GP, from the comfort of my own home. No more queues and wasting time at the clinic’s waiting room.
It literally took minutes from the time I keyed in my request to my video-consultation with the doctor, all via the app. The video and audio quality was good and it really felt like I was talking to a friend.
Dr Tiffany Yeo who was attending to me was unhurried and friendly. She took the time to ask me about my conditions, gave me advice on how to manage acid reflux, and prescribed medications for me. She even followed-up and asked me whether I need a referral letter to a specialist!
The medication arrived at my doorstep within hours and I can only wish that I discovered the app sooner.
The video consultation service is available 7 days a week, 7am to 7pm and if you have urgent medical needs, #Speedoc’s house visit service is available 24/7.
And I found out, they can do vaccinations and blood tests at home too!
It’s a super convenient app for your medical needs. Download it now. https://speedoc.com/sg/
.
.
.
.
#speedoc #BringHospitalToHome #MobileMedicine #Healthcare #Telemedicine #sgmom #sgmummy #familysg #familyfirst #videoconsultation @ Singapore
who telemedicine 在 Framework for the Implementation of a Telemedicine Service ... 的推薦與評價
Moderator: Dr. D. Hans Abdon Eguía Ángeles SEMERGEN New Technologies Work Group. Medical Clinic Rudkøbing E. Langeland. Dinamarca. ... <看更多>