สรุปโอกาสและการลงทุนบน LiVE Exchange ตลาดหลักทรัพย์สำหรับ SMEs และ Startups
จากงาน LiVE Demo Day: The New Road to Capital Market
14 กันยายน 2564 ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสำนักงาน ก.ล.ต. และองค์กรพันธมิตรอีกกว่า 25 ราย จัดงาน “LiVE Demo Day: The New Road to Capital Market”
โดยถือเป็นการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ “LiVE Platform” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับให้ธุรกิจ SMEs และ Startups ได้เข้ามาเรียนรู้ และเตรียมความพร้อมสู่การระดมทุนผ่านกลไกตลาดทุน
และอีกหนึ่งส่วนที่น่าสนใจมากก็คือ “LiVE Exchange” ที่จะเป็นตลาดหลักทรัพย์สำหรับ SMEs และ Startups ซึ่งมีแผนจะเปิดให้บริการภายในปี 2021 นี้แล้ว
LiVE Exchange ตลาดหลักทรัพย์สำหรับ SMEs และ Startups มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจบ้าง ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
ด้วยแนวคิดที่ต้องการให้ SMEs และ Startups สามารถเข้าถึงแหล่งระดมเงินทุน ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ สำนักงาน ก.ล.ต. จึงมีการพัฒนากระดานซื้อขายใหม่ที่ชื่อว่า LiVE Exchange ขึ้นมา
โดยมีจุดประสงค์ก็เพื่อ ลดกฎเกณฑ์บางอย่างลง ให้ SMEs และ Startups สามารถเข้าถึงการระดมทุนผ่านกลไกตลาดทุนได้ง่ายขึ้น ภายใต้แนวคิด “Light Touch Supervision”
ซึ่งสำหรับบริษัท SMEs และ Startups ที่ต้องการจะเข้ามาระดมทุนใน LiVE Exchange ทางสำนักงาน ก.ล.ต. ก็ได้กำหนดคุณสมบัติหลัก ๆ เอาไว้ว่า
1. ต้องเป็นบริษัทมหาชน และประกอบกิจการธุรกิจในบริษัท ไม่ใช่บริษัท Investment Company ที่เน้นไปลงทุนในบริษัทอื่น
2. บริษัทต้องไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผิดกฎหมาย
3. กรรมการและผู้บริหารของบริษัท ต้องไม่อยู่ใน Blacklist หรือมีประวัติทำผิดกฎหมาย
4. บริษัทต้องมีมูลค่าระดมทุน 10 ล้านบาทขึ้นไป และต้องระดมทุนได้ 80% ของมูลค่าระดมทุนที่ตั้งไว้
5. หลังจากบริษัทเสนอขายหุ้นต่อนักลงทุนทั่วไปแล้ว ต้องเข้าจดทะเบียนบน LiVE Exchange
ส่วนทางฝั่งตลาดหลักทรัพย์ฯ เน้นเรื่องความพร้อมของตัวธุรกิจเป็นหลักสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย ความพร้อมในเรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของตลาดทุน และความพร้อมในด้านธุรกิจของตนเอง
ทำให้บริษัทที่จะเข้ามาระดมทุนได้ จึงจำเป็นต้องผ่านการอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดทุนเสียก่อน
ในเรื่องความพร้อมด้านธุรกิจ ของทางฝั่ง SMEs ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ จะใช้เกณฑ์รายได้ของธุรกิจมาเป็นตัวกำหนด
- ภาคบริการ ต้องมีรายได้ขั้นต่ำ 50 ล้านบาท
- ภาคการผลิต ต้องมีรายได้ขั้นต่ำ 100 ล้านบาท
ส่วนทางฝั่ง Startups ที่อาจจะมีรายได้ยังไม่มาก หรือค่อนข้างผันผวน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีเกณฑ์อื่นมาพิจารณา
คือหาก Startups ใดที่มี Private Equity หรือ Venture Capital เข้ามาลงทุนอยู่ก่อนแล้ว ก็จะสามารถเข้าระดมทุนผ่าน LiVE Exchange ได้
นอกจากนั้นแล้ว เพื่อให้ SMEs และ Startups สามารถเข้าระดมทุนผ่าน LiVE Exchange ได้ง่ายขึ้น
ทาง ก.ล.ต. จึงผ่อนผันอนุญาต ให้บริษัทแต่ละรายไม่จำเป็นต้องยื่นคำขออนุญาตจาก ก.ล.ต. และไม่จำเป็นต้องมีที่ปรึกษาทางการเงิน หรือ Financial Advisor (FA)
เพียงแต่ต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญ สำหรับให้นักลงทุนใช้พิจารณาประกอบการลงทุนได้
ซึ่งจะมีเนื้อหาหลัก ๆ อยู่ 4 ส่วนคือ
1. ลักษณะการประกอบธุรกิจ
2. ความเสี่ยงของธุรกิจ
3. งบแสดงฐานะการเงิน
4. รายละเอียดผู้บริหาร
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังได้พัฒนาระบบกระบวนการดิจิทัล เพื่อรองรับการระดมทุน การเสนอขาย ไปจนถึงการจดทะเบียน ที่ทำได้ครบจบบนช่องทางดิจิทัล
มีการพัฒนาระบบ SME Filing ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการประกอบการตัดสินใจให้กับผู้ลงทุน มีระบบจัดการข้อมูลที่เป็นระเบียบ สามารถจัดหมวดหมู่และแสดงผล ให้ผู้ลงทุนสามารถดูรายละเอียดของแต่ละบริษัทได้ง่าย เช่น ข้อมูลงบการเงิน ข่าวสารของบริษัท
พร้อมจัดทำระบบ Crowd Opinion ผ่านเว็บไซต์
ซึ่งจะเป็นช่องทางที่ให้ผู้ลงทุนสามารถสอบถามข้อมูลหรือข้อสงสัยไปยัง SMEs และ Startups หรือ ก.ล.ต. ได้ เรียกได้ว่าเป็น Two-way Communication ระหว่างนักลงทุนกับผู้ประกอบการนั่นเอง
คราวนี้มาดูในฝั่งของผู้ลงทุนกันบ้าง
ในเบื้องต้น ทาง ก.ล.ต. ได้อนุญาตให้ผู้ลงทุน 3 ประเภท ที่มีความรู้ความเข้าใจ และรับความเสี่ยงจากการลงทุนในธุรกิจ SMEs และ Startups สามารถลงทุนในกระดาน LiVE Exchange ได้ ประกอบด้วย
1. กลุ่มนักลงทุนที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น สถาบันการเงิน, Private Equity หรือ Venture Capital และบรรดา Angel Investor
2. กลุ่มผู้ลงทุนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการลงทุนและมีทรัพย์สินในระดับหนึ่ง ที่ทาง ก.ล.ต. พิจารณาเห็นสมควรแล้วว่าสามารถลงทุนใน LiVE Exchange ได้
3. กลุ่มคนที่คุ้นเคยกับกิจการ ตั้งแต่ตำแหน่งสูงสุดอย่าง ผู้บริหารและกรรมการ จนถึงตำแหน่งพนักงานทั่วไป
สำหรับผู้ที่ผ่านเกณฑ์จากตลาดหลักทรัพย์ฯ และสนใจลงทุนบริษัทต่าง ๆ บน LiVE Exchange
สามารถติดต่อผ่านบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ ได้โดยตรง ซึ่งขณะนี้มีบริษัทหลักทรัพย์ที่แสดงความสนใจเข้าร่วมแล้ว 25 ราย
สำหรับการเปิดบัญชีสำหรับซื้อขายหลักทรัพย์จะไม่แตกต่างจาก SET และ mai แต่รูปแบบการซื้อขายจะมีความแตกต่างกัน ในเบื้องต้นรายละเอียดคือ
1. เป็นการซื้อขายแบบ “Prepaid” คือฝั่งผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีหุ้นและเงินในบัญชีก่อน ถึงจะสามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้
2. LiVE Exchange ในช่วงแรก จะเปิดให้ซื้อขายเพียงวันละ 1 รอบ ในเวลา 09.30-11.00 น. ในรูปแบบ Auction
3. เป็นการชำระราคาและส่งมอบภายในวันนั้น (T) ทันที ซึ่งแตกต่างจาก SET และ mai ที่มีการชำระราคาและส่งมอบ T+2
โดยนักลงทุนสามารถสั่งซื้อขายได้ทั้งผ่านโบรกเกอร์ที่ใช้บริการ หรือผ่านระบบ Internet Trading เช่นเดียวกับซื้อขายหุ้นบน SET และ mai
ซึ่งโอกาสสำคัญ สำหรับเหล่านักลงทุนที่ใช้ LiVE Exchange
คือสามารถเป็นเจ้าของบริษัทที่ชื่นชอบ ได้ตั้งแต่ช่วงที่ธุรกิจยังมีขนาดเล็ก ซึ่งมีโอกาสเติบโตอย่างรวดเร็ว ต่างจาก SET และ mai ที่หลายบริษัทอาจจะใหญ่โตมากแล้ว
แต่อย่างที่เรารู้กันก็คือ “โอกาสมักจะมาพร้อมกับความเสี่ยงอยู่เสมอ” เนื่องจากธุรกิจระดับ SMEs และ Startups ยังถือว่ามีปัจจัยท้าทายอยู่มากพอสมควร
และอีกประเด็นคือ เนื่องจากบริษัทบน LiVE Exchange สามารถซื้อขายได้เพียงวันละ 1 รอบ และสภาพคล่องอาจไม่สูงเหมือนตลาดใหญ่อย่าง SET และ mai
ฉะนั้นนักลงทุนที่จะลงทุนใน LiVE Exchange จึงควรมองภาพการลงทุนในระยะยาว
ทั้งนี้กฎเกณฑ์และระบบต่าง ๆ ของ LiVE Exchange คาดว่าจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ภายในปลายปีนี้ และคาดว่าในช่วงต้นปีหน้า นักลงทุนจะสามารถเริ่มทำการซื้อขายหุ้นบนกระดาน LiVE Exchange ได้
นอกจากนั้น ภายในงานยังมี เวทีนำเสนอธุรกิจ “SMEs-Startups Showcase” ที่ให้บรรดาผู้ประกอบการ 21 บริษัท จากโครงการ LiVE Acceleration Program รุ่นที่ 1 ได้มาร่วมนำเสนอเป้าหมายการเติบโต และแผนการระดมทุนในอนาคตให้นักลงทุนได้รับชม
ประกอบไปด้วยบริษัทจาก 5 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ Wellness & Recreation, Healthy Food & Food Supply Chain, Digital Platform & E-commerce, Smart Living & Smart City และ EV & Green Energy
ซึ่งนักลงทุนท่านไหน หรือใครที่สนใจว่ามีธุรกิจอะไรบ้าง และแต่ละธุรกิจมีโมเดลธุรกิจอย่างไร มีแผนพัฒนาธุรกิจในอนาคตอย่างไร ก็สามารถเข้าไปรับชมย้อนหลังกันได้ในช่องทาง Facebook LiVE Platform
ทั้งหมดนี้ก็คือ รายละเอียดกฎเกณฑ์ และความน่าสนใจ ของ “LiVE Exchange”
ที่จะเข้ามาช่วยให้ SMEs และ Startups เข้าสู่การระดมทุนด้วยกลไกตลาดทุนได้สะดวกขึ้น และเสริมพลังสร้างการเติบโตในอนาคตต่อไป
และก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางการลงทุนที่น่าสนใจ
สำหรับนักลงทุนที่สนใจ และอยากลงทุนในธุรกิจ SMEs และ Startups สามารถติดตามข้อมูลกันได้ที่เว็บไซต์ www.live-platforms.com และ Facebook LiVE Platform
同時也有4部Youtube影片,追蹤數超過15萬的網紅豐富,也在其Youtube影片中提到,主持人:楊應超 第一季-第4集:你可以靠股票翻身嗎? 節目直播時間:週五 14點 本集播出日期:2020.10.02 ⏭ 章節: 00:00 頻道片頭 00:07 開場 00:29 節目片頭 00:47 你可以靠股票翻身嗎? 05:21 如何找到下一個特斯拉,蘋果,亞瑪遜 15:35 Q&A:回答...
「angel investor」的推薦目錄:
- 關於angel investor 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於angel investor 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於angel investor 在 美國在台協會 AIT Facebook 的精選貼文
- 關於angel investor 在 豐富 Youtube 的精選貼文
- 關於angel investor 在 Allen Cashflow Youtube 的最讚貼文
- 關於angel investor 在 Ceemeagain Youtube 的最佳解答
- 關於angel investor 在 How to become an angel investor: Angel investing basics 的評價
angel investor 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
สรุปประเด็นจากงาน LiVE Demo Day - โอกาสใหม่ของ SMEs และ Startups บนเส้นทางตลาดทุน
รู้ไหมว่า ปัจจุบันประเทศไทยมี SMEs และ Startups รวมกันแล้วมากกว่า 3 ล้านราย
ก่อให้เกิดการจ้างงานถึง 13 ล้านคน และสร้างมูลค่าถึง 1 ใน 3 ของ GDP ประเทศไทย
ซึ่งนับว่า ธุรกิจขนาดเล็กและกลาง เป็นกลไกที่สำคัญของเศรษฐกิจประเทศไทย เลยทีเดียว
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจ SMEs และ Startups เหล่านี้ ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอยู่มาก ทำให้ต้องอาศัยการกู้สถาบันการเงินหรือแหล่งเงินนอกระบบที่ให้วงเงินต่ำแต่ดอกเบี้ยสูง ซึ่งส่งผลให้บริษัทกลุ่มนี้เติบโตได้ลำบาก
นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้น ให้ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พัฒนา “LiVE Exchange” ซึ่งทำหน้าที่เป็นตลาดหลักทรัพย์สำหรับ SMEs และ Startups ที่ระดมทุนในวงกว้าง
และ “LiVE Platform” ที่ทำหน้าที่เป็น Education Platform ให้เหล่าผู้ประกอบการเริ่มต้นเข้ามาศึกษาหาความรู้ด้านธุรกิจและเตรียมความพร้อมในการระดมทุน
โดยมีเป้าหมายที่จะช่วยให้ธุรกิจ SMEs และ Startups มีช่องทางการระดมทุนใหม่ ผ่านกลไกตลาดทุน และเป็นตัวช่วยในการเตรียมความพร้อมพัฒนาธุรกิจอย่างรอบด้าน ให้กับทั้งผู้ประกอบการ SMEs และ Startups
แล้วรายละเอียดของ “LiVE Exchange” และ “LiVE Platform” เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปจากงาน LiVE Demo Day ให้ฟัง
หลายคนทราบกันดีว่า การที่จะนำบริษัทไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ว่าจะเป็นบนกระดาน SET หรือ mai นั้นต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน ใช้ทุนทรัพย์สูง และต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ หลายขั้นตอน
ทำให้การระดมทุนผ่านตลาดทุนนั้นกลายเป็นเรื่องยากสำหรับหลายบริษัท โดยเฉพาะบริษัทระดับ SMEs และ Startups
เพราะต้องบอกว่า ถึงแม้ว่าจะมีกระดาน mai ขึ้นมาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังถือว่ามีกฎเกณฑ์สำหรับเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ยากเกินไปสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก
เช่น บริษัทต้องทำบัญชีตามมาตรฐาน PAEs เป็นระยะเวลา 3 ปีติดต่อกัน ทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาทขึ้นไป และต้องมีกำไรไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
กฎเกณฑ์เหล่านี้ไม่ใช่แค่เป็นเรื่องที่ทำได้ยากเท่านั้น แต่ต้องใช้ระยะเวลาทำธุรกิจพอสมควร อย่างน้อย 4 ปีขึ้นไป จึงจะสามารถเข้าระดมทุนตามกฎเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่สูง
อย่างการทำบัญชีตามมาตรฐาน PAEs บริษัทต้องจ้างผู้ตรวจสอบบัญชี ปีละ 1-2 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาทางการเงินอีก 5 ล้านบาท ผู้จัดจําหน่ายหลักทรัพย์เก็บอีก 3% ของเงินที่ระดมทุน คิดรวมแล้วมีค่าใช้จ่ายจะถึง 10 กว่าล้านบาทเลยทีเดียว
จากเหตุผลเหล่านี้ ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ จำเป็นต้องพัฒนาแหล่งระดมทุนกระดานใหม่ขึ้นมา ที่มีชื่อเรียกว่า LiVE Exchange ซึ่งจะลดกฎเกณฑ์ ผ่อนปรนข้อกำหนดบางอย่างลง บนการดูแลนักลงทุนที่เหมาะสม
เช่น
- จากต้องทำบัญชีตามมาตรฐาน PAEs ถึง 3 ปี เหลือเพียงแค่ 1 ปี
- บริษัทมีทางเลือกว่าจะจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน Financial Advisor (FA) หรือไม่ก็ได้
เพื่อให้ SMEs และ Startups สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบตลาดทุนได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็พบปัญหาอีกว่า
บรรดาบริษัทขนาดเล็ก ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการทำระบบบัญชีให้เป็นมาตรฐาน ความรู้ด้านกฎหมาย การจัดการระบบข้อมูลในองค์กร
นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้เกิด “LiVE Platform”
โดย LiVE Platform ทำหน้าที่เป็น Education Platform ให้เหล่าผู้ประกอบการเริ่มต้นเข้ามาศึกษาหาความรู้ด้านธุรกิจ ตั้งแต่การทำบัญชีการเงิน การตลาด การจัดการ จนไปถึงการระดมทุน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลากหลายหลักสูตร และเปิดให้บริการเรียบร้อยแล้ว บนเว็บไซต์ https://www.live-platforms.com
และเมื่อบริษัทมีความต้องการในการเข้าระดมทุน ก็สามารถเข้าสู่ “Scaling Up Platform” ซึ่งเป็นโปรแกรมการเตรียมธุรกิจให้พร้อมสำหรับการระดมทุน โดยมี 4 กระบวนการที่คอยช่วยเหลือคือ
1. Advanced Courses หรือหลักสูตรอบรมเชิงลึกจากบริษัทที่เชี่ยวชาญ
เช่น เรื่องของบัญชี ก็จะได้ PwC หนึ่งใน Big 4 หรือบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีรายใหญ่ระดับโลก เข้ามาแนะนำและให้ความรู้โดยตรง หรืออยากรู้เรื่องกฎหมาย ก็มี Baker McKenzie มาทำหลักสูตรให้
2. สนับสนุนเครื่องมือและระบบต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อธุรกิจ
เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมากยิ่งขึ้น
เช่น บัญชี การควบคุมภายใน ระบบ ERP Back Office HR และอื่น ๆ อีกมากมาย
3. ให้คำปรึกษาต่าง ๆ ผ่านโครงการและแพลตฟอร์มต่าง ๆ
อย่างเช่น LiVE Acceleration Program โครงการที่ให้เหล่าธุรกิจเข้าร่วม เพื่อรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ และรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงได้เงินทุนสนับสนุนสูงสุด 1.5 ล้านบาทต่อบริษัท จากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) เพื่อจ้างที่ปรึกษาหรือปรับปรุงระบบงาน
โดยตัวอย่างบริษัทที่เคยเข้าร่วมคือ “Specialty Natural Products (SNP)” ซึ่งเป็น SMEs ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมจากสมุนไพรไทย
และ “Shippop” ซึ่งเป็น Startups ผู้ให้บริการจองขนส่ง เทียบราคาขนส่ง และจัดการการขนส่งพัสดุออนไลน์ครบวงจร
ผู้ประกอบการจากทั้งสองบริษัทเล่าให้ฟังว่า หลังจากเข้าร่วม LiVE Acceleration Program ก็ไม่เพียงแต่ได้รับความรู้และเงินสนับสนุนในการเตรียมความพร้อมเท่านั้น แต่ยังได้พันธมิตรมาเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจตนเองด้วย
4. สนับสนุนการพบปะเจรจากับผู้บริหารบริษัทรุ่นใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว เพื่อเปิดโอกาสในการต่อยอดธุรกิจร่วมกัน หรือสร้างความร่วมมือด้วยกัน
นอกจากนี้ LiVE Platform ยังได้ร่วมมือกับอีกหลายหน่วยงาน
เช่น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้ทำ MOU ร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดตัวโครงการ Embryo Incubation Program ที่ช่วยให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการระดมทุนใน LiVE Exchange
นอกจากนั้นยังมีการร่วมมือกับอีกหลายองค์กรพันธมิตร ทั้งจากภาครัฐและเอกชน มากกว่า 25 ราย
เช่น สภาวิชาชีพบัญชีฯ, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย Baker Mckenzie และองค์กรชั้นนำอื่น ๆ อีกมากมาย
อีกเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ ก็คือ บริการทั้งหมดบนเว็บไซต์ LiVE Platform นั้น “ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น”
เมื่อธุรกิจ SMEs และ Startups เตรียมความพร้อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว และต้องการระดมทุนผ่านกลไกตลาดทุน ก็จะถูกส่งต่อไปที่ LiVE Exchange ตลาดสำหรับ SMEs และ Startups เพื่อระดมทุนในวงกว้าง ซึ่งจะเปิดให้บริการภายในปี 2021 นี้
ในเบื้องต้น ทางสำนักงาน ก.ล.ต. ได้อนุญาตให้นักลงทุน 5 ประเภท ที่มีความรู้ความเข้าใจ และรับความเสี่ยงจากการลงทุนในธุรกิจ SMEs และ Startups สามารถลงทุนในกระดาน LiVE Exchange ได้
โดยนักลงทุน 5 ประเภท ประกอบด้วย
1. ผู้ลงทุนสถาบัน
2. Venture Capital (VC) หรือธุรกิจเงินร่วมลงทุน
3. Angel Investor
4. Qualified Investor ตามเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นสมควรว่า สามารถรับความเสี่ยงได้และมีทักษะการลงทุนที่เพียงพอ ซึ่งจะดูจากขนาดสินทรัพย์ที่มี หรือรายได้ต่อปี หรือพอร์ตการลงทุน
5. กลุ่มคนคุ้นเคยของบริษัท เช่น พนักงาน
ซึ่งตรงนี้ต้องหมายเหตุเอาไว้ด้วยว่า ทางสำนักงาน ก.ล.ต. จะมีการประกาศรายละเอียด กฎเกณฑ์ในการพิจารณาผู้ลงทุนอย่างชัดเจนเต็มรูปแบบในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งทางลงทุนแมนก็จะสรุปมาเล่าให้ฟังกันอย่างแน่นอน
สรุปแล้ว LiVE Platform คือ ศูนย์รวมความรู้ด้านธุรกิจที่หลากหลาย สำหรับผู้ประกอบการ SMEs และ Startups ตั้งแต่การทำบัญชี การตลาด การจัดการ ไปจนถึงการเตรียมความพร้อมสู่การระดมทุนผ่านกลไกตลาดทุน
ส่วน LiVE Exchange คือ ตลาดสำหรับ SMEs และ Startups ที่ต้องการระดมทุนในวงกว้าง และช่วยเปิดโอกาสให้ธุรกิจ SMEs และ Startups สามารถยกระดับธุรกิจของตนให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และเติบโตพร้อมระดมทุนต่อไป ใน SET หรือ mai
ซึ่งทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เชื่อว่าทั้ง LiVE Platform และ LiVE Exchange จะสร้างองค์ความรู้ เตรียมความพร้อม เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อการพัฒนา SMEs และ Startups ให้เป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ เติบโตอย่างเข้มแข็ง และเป็นกลไกของเศรษฐกิจไทย
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs และ Startups หรือนักลงทุน ที่สนใจในโครงการดี ๆ แบบนี้ ลองเข้าไปชมเว็บไซต์ www.live-platforms.com กันได้เลย
angel investor 在 美國在台協會 AIT Facebook 的精選貼文
許多初創企業可能得祈禱有天使來相助,幫他們的生意拉一把,這便是angel investor(天使投資人)一詞的來源。天使投資者是指具有財力並願意提供資金,幫助一個新的公司跨出第一步的人,通常如果生意成功了便可分享到利潤。
Many start-ups may be praying for an angel to come help their business. This is where we get the term ANGEL INVESTOR from. ANGEL INVESTORS are wealthy individuals who provide money for a new business to get started, usually for a share of the profits if the business succeeds. #EnglishForBusiness #AmericanEnglish
angel investor 在 豐富 Youtube 的精選貼文
主持人:楊應超
第一季-第4集:你可以靠股票翻身嗎?
節目直播時間:週五 14點
本集播出日期:2020.10.02
⏭ 章節:
00:00 頻道片頭
00:07 開場
00:29 節目片頭
00:47 你可以靠股票翻身嗎?
05:21 如何找到下一個特斯拉,蘋果,亞瑪遜
15:35 Q&A:回答上期債券的問題
24:23 Q&A:新手如何學習投資知識
30:15 請繼續提問:你活著不是為了工作,希望大家早日達到財務自由
32:29 節目片尾
📝 名詞補充:
1. Leverage:桿杆,以小博大
2. Option:選擇權
3. Call Option and Put Option:看漲期權; 看跌期權
4. Future:期貨
5. Private Equity:私幕基金
6. Venture Capital:風險投資
7. Pre-IPO:上市前股票
8. Accredited Investor:合格的投資人
9. Angel Investor:天使投資者
10. 10 bagger:可以漲10倍的股票 https://pse.is/wdrke
11. Motley Fool:https://www.fool.com/
12. Investment Newsletter:投資信函
13. Time Deposit; Certificate of Deposit:銀行定存
14. NAV:Net Asset Value,每股淨值
15. Investment Grade Bond:投資評等債券
16. YTM (Yield to Maturity):到期收益率
17. Bond Coupon:債券票息
18. Structured Note:衍生性產品
📽 建議電影:
1.Big Short 《大賣空》
2.Wall Street 《華爾街》
3.Too Big to Fail《大到不能倒》
4.The Wolf of Wall Street 《華爾街之狼》
5.Margin Call 《黑心交易員的告白》
📚 參考書訊:《財務自由的人生:跟著首席分析師楊應超學華爾街的投資技巧和工作效率,40歲就過FIRE的優質生活》 https://eslite.me/w24ad
#楊應超 #財務自由 #FIRE
-----
訂閱【豐富】YouTube頻道:https://www.youtube.com/c/豐富
按讚【豐富】FB:https://www.facebook.com/RicherChannel
angel investor 在 Allen Cashflow Youtube 的最讚貼文
休息是為了走更長遠的路,在大量繁忙的工作中適量的補眠適量個休息是很重要的!Tim Ferriss的書籍跟自律就是自由有提到的休息方式,分享給你。
這個頻道與你分享如何演講、行銷(銷售)、建立品牌,如果你也是熱愛學習成長的朋友記得訂閱我的頻道。
訂閱我的頻道 → https://goo.gl/PQvfb2
#FitForLife #Episode05 #瘦身
angel investor 在 Ceemeagain Youtube 的最佳解答
Please Subscribe:
http://Youtube.com/chatpawee
http://Facebook.com/chatpawee
http://Twitter.com/ceemeagain
http://Google.com/+ceemeagainchatpawee
ติดต่อโฆษณากับรายการ : Sociallab.co.ltd 091-819-7925
--------------------------------------------------
angel investor 在 How to become an angel investor: Angel investing basics 的推薦與評價
... <看更多>