“ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560”
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารในระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีสาระที่สำคัญ ดังนี้
1.ที่มาของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร
1.1 ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)กับวุฒิสภา (ส.ว.)
ส.ส.มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จำนวน 500 คนแบ่งเขต 350 คน บัญชีรายชื่อจำนวน 150 คน โดยใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวทั้งแบบแบ่งเขตกับแบบบัญชีรายชื่อ
ส่วน ส.ว. มีที่มาอยู่ 2 ระยะ คือ ระยะ 5 แรก กับระยะ 5 ปีหลัง
ในระยะ 5 ปีแรก ในบทเฉพาะกาลได้กำหนดไว้ในกรณี 5 ปีแรก ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง มาจากการแต่งตั้งของคสช.จำนวน 250 คน (ม.269 )
ข้อสังเกต ส.ว. มีที่มาจากการแต่งตั้ง จากบุคคลกลุ่มต่างๆ 244 คน กับบุคคลที่ดำรงแหน่งผู้บัญชากองทัพกับตำรวจ 6 คน
ข้อสังเกต ส.ว. มีอำนาจร่วมพิจารณานายกรัฐมนตรีร่วมกับ ส.ส. (ม.272)
ในระยะ 5 ปีหลังมาจากจากการสรรหา (ม.107-113) จากกลุ่มบุคคลต่างๆ หลากหลายอาชีพ จำนวน 200 คน ทำหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายและมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้เช่นเดียวกับส.ส. แต่ไม่มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ ปัจจุบันได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 83 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมา จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้ใช้ บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบละ 1 ใบ คือ หนึ่งใบแบบแบ่งเขต เขตเดียวเบอร์เดียวกับ อีก 1 ใบ แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งผ่านการพิจารณาของรัฐสภา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 รอทิ้ง ไว้ 15 วันและให้นายกฯส่งทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมภิไธย ตามมาตรา 81
1.2 ฝ่ายบริหาร
หัวหน้าฝ่ายบริหารต้องมาจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือ นายกรัฐมนตรีมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอชื่อ ซึ่งเป็น ส.ส.หรือไม่เป็น ส.ส.ก็ได้ แต่ต้องไม่เป็น ส.ว. (ม.88) (มาตรา 159) และเลือกรัฐมนตรี อื่นไม่เกิน 35 คน รวมเป็นคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน กล่าวคือ และรัฐบาลมาจากความไว้วางใจของ ส.ส.เริ่มต้นด้วยการให้ประชาชนเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อได้ ส.ส. ครบถ้วนแล้ว (ม.83-ม.106) สภาก็จะให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งฝ่ายบริหาร โดยมอบให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง (ม.158 - ม.159) เพื่อจัดตั้งฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรีหรือเรียกว่า “รัฐบาล”)
ข้อสังเกต ที่ 1 ในระยะ 5 ปี แรก ส.ว. พิจารณาเลือก นายกรัฐมนตรี กับ ส.ส.
ข้อสังเกต ที่ 2 ในกรณีสมัยแรกถ้าไม่สามารถหาได้นายกรัฐมนตรี อาจรัฐสภา (ส.ส. กับ ส.ว.) เสนอบุคคลที่ไม่ได้เสนอตาม ม.88 (ม.272)
2.การถ่วงดุลอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร
ในระบบรัฐสภาของประเทศไทย ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ได้กำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) มีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร (รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี) เนื่องจากฝ่ายบริหารมาจากความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ฝ่ายนิติบัญญัติจึงมีอำนาจควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารได้ เรียกว่า “อำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน” บนรากฐานของ “ความไว้วางใจของสภา” (Parliament’s confidence) ดังนี้
1)ฝ่ายบริหารที่จัดตั้งขึ้นเสร็จแล้วต้องแถลงนโยบายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ (ม.162)
2) การตั้งกลไกกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบ กล่าว สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือคณะกรรมาธิการร่วมกันตามมาตรา 137 เพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ๆ และรายงานให้สภาทราบ (มาตรา 129)
3) สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติ (สมาชิกรัฐสภา) สามารถตั้งกระทู้ถาม (Question) ซึ่งอาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามสด หรืออาจจะเป็นการตั้งกระทู้ถามทั่วไปก็ได้(ม.150)ต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในปัญหาที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินหรือปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
4)การเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ (Vote of no Confidence) ทั้งคณะ(เป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี) หรือรัฐมนตรีรายบุคคล (ม.151) ซึ่งเป็นการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงมติโดยสภาผู้แทนราษฎรกับเปิดอภิปรายไม่ไว้วางแบบไม่ลงมติ (ม.152)
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม้ไว้วางใจตามมาตรา 151 เป็นมาตรการขั้นเด็ดขาดขั้นสุดท้ายที่จะควบคุมฝ่ายบริหาร
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ถือ เป็นไม่ไว้วางใจทั่งคณะ ถ้านายกรัฐมนตรีก็ต้องพ้นทั้งคณะ
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบลงมติ จะต้อง ส.ส. เท่านั้น
ข้อสังเกต การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจแบบไม่ลงมติ เป็น ส.ส. หรือ ส.ว. ก็ได้
5) เมื่อกรณีฝ่ายบริหารออกพระราชกำหนด ภายใต้เงื่อนไข มาตรา 172 มาตรา 174 และเมื่อเข้าสู่สมัยประชุมการสภานิติบัญัติ (สมัยการตรากฎหมาย) ฝ่ายบริหารต้องนำพระราชกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติอนุมัติ
6) ฝ่ายบริหารจะดำเนินการ เช่น ที่เกี่ยวกับสัญญาที่มีผลเกี่ยวอาณาเขตของรัฐ อำนาจอธิปไตยของรัฐ การประกาศสงคราม เป็นต้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ
7) ฝ่ายบริหารก็มีอำนาจควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ ได้คือ การเสนอให้พระมหากษัตริย์ (ประมุขของรัฐ) ยุบสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเลือกตั้งใหม่ (ม.103)
ข้อสังเกต การยุบสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส) ถือเป็นการถ่วงดุลของฝ่ายบริหารที่มีต่อฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ฝ่ายนิติบัญญัติกลัวที่สุด
สรุป ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา ของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีประเด็นปัญหาที่ไม่เป็นระบอบประชาธิปไตย ใน 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ
1.เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่มีจารีตประเพณีที่ว่า นายกรัฐมนตรี ต้องมาจากพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงมาก คือ ได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด สามารถจัดคั้งรัฐบาลและผู้ที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง แต่รัฐธรรมนูญ2560 นี้ได้ทำลายหลักการนี้ไปแล้ว คือ
1.1 นายกฯมาจากผู้ที่พรรคการเมืองเสนอ 3 รายชื่อ เป็น ส.ส.หรือไม่ก็ตาม และไม่จำเป็นต้องเป็นพรรคการเมืองที่มี จำนนวน ส.ส. มาก เป็นผู้มีสิทธิ ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองที่สามารถรวบรวม ส.ส.มากกว่ากัน และมิหนำซ้ำ ในกรณี 5 ปีแรกในบทเฉพาะกาลที่ให้มี ส.ว. ที่มาจากการแต่ตั้ง คสช. (องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) สามารถเลือกนายกฯร่วมกับ ส.ส. ได้ ไม่จำเป็นต้องมีการรวบรวม ส.ส.มาก แต่ถ้ารวมกับ กับ ส.ว. อีก 250 คนได้ มากกว่า ก็เป็นนายกฯได้แล้ว ตัวอย่างเช่น
ส.ส. 500 คน ได้เสียง ส.ส. 126 คน รวมกับ ส.ว.250 คน ก็สามารถเลือกนายกฯ ได้แล้ว ถือเป็นการทำลายหลักประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ที่ว่า ผู้ปกครองที่บริหารประเทศต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจจากประชาชน ด้วยการเลือกตั้งที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ ในระบบประขาธิปไตยทางผู้แทน คือ เสียง ส.ส. ที่ประชาชนเลือกตั้ง
1.2 ในกรณีที่ไม่สามารถหานายกฯได้ ในบทเฉพาะกาล กำหนดว่า ให้ รัฐสภา (ส.ส.กับ ส.ว.) เลือกบุคคลที่ไม่อนู่ในรายชื่อ 3 รายชื่อ ที่พรรคการเมืองเสนอให้ประชาชนเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกพรรคและเลือก ส.ส. ใช้บัตรใบเดียวกันทั้งประเทศ ดังนั้น นายกฯก็ต้องมาจาก บุคคลที่ พรรคการเมืองเสนอ จะให้เป็นบุคคลที่ไม่อยู่ในรายชื่อเสนอให้กัยประขาขนเลือก ถือ เป็นการทำลายหลักประชาธิปไตย ที่ว่า ระบอบการปกครองของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน
2. ที่มาของ ส.ว. ในระยะ 5 ปี ที่มาจากการแต่งตั้ง จาก คสช.( องค์ชั่วคราวที่มาจากการรัฐประหารเป็นผู้แต่งตั้ง) โดยเฉพาะจากผู้นำเหล่าทัพ ถือ เป็นสืบทอดอำนาจเผด็จการ สืบทอดอำนาจที่มาจากการรัฐประหาร เพราะ คสช. ก็คือ กองทัพ ที่สนับสนุน รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร อีกส่วนหนึ่งก็มาจากข้าราชการทหาร ตำรวจ แบะบุคคลที่เป็นเครือข่ายของคณะรัฐประหาร ดังนั้นที่มา ส.ว. ในระยะ 5 ปี ไม่ได้มาจากประขาชนหรือตัวแทนประชาชนที่แท้จริง
3. จากที่มาของนายกฯหัวหน้าฝ่ายบริหาร กับที่มา ส.ว. ที่เป็นพวกหรือกลุ่มเดียวกัน การตรวจสอบ หรือการถ่วงดุลฝ่ายบริหารของฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถทำได้เลย หรือทำได้ยากมาก วุฒิสภา คือ จึงเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารที่ทรงพลังเป็นอย่างมากถือ เป็นการใช้อำนาจที่ไม่ยึดโยงจากประชาชนตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยภายใต้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาที่นานาอารยประเทศใช้กันอยู่
วุฒิสภา 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答
"วัคซีนโควิดฉีดเด็ก ไฟเซอร์ vs ชิโนฟาร์ม"
สัปดาห์ก่อน ก็เคยโพสต์เรื่องนี้ไปทีนึงแล้ว (https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2276971732433448&id=100003619303769) แต่ก็ยังมีผู้ปกครองส่งมาถามกันเรื่อยๆนะครับว่า
จะเลือกฉีดวัคซีนโควิดอะไรให้ลูกหลานดี ?
ระหว่างฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (ที่รัฐบาลจัดหาให้ ได้รับการรับรองจาก อย. และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยแล้ว )
กับ วัคซีนชิโนฟาร์ม (ที่ยังไม่ได้รับการอนุญาตจาก อย. แต่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขออาสาสมัครเด็ก 1 แสนคนทั่วประเทศ มารวมการทดลอง)
ซึ่งขอตอบซ้ำอีกครั้ง สั้นๆ ว่า ผมใช้หลัก "ขอเลือกวัคซีนแบบที่อเมริกาฉีด" คือ mRNA วัคซีนของไฟเซอร์ (และอีกไม่นาน คงรวมถึงโมเดอร์น่าด้วย) ซึ่งผ่านการฉีดเด็กมาแล้วหลายล้านโดสทั่วโลก ... ในขณะที่เพื่อนหมอบางคนเขาเลือกวัคซีนเชื้อตาย อย่างชิโนฟาร์ม มากกว่า เพราะน่าจะปลอดภัยกว่า
วันนี้อ่านเจอข่าวให้สัมภาษณ์ของคุณหมอเฉลิมชัย (นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา) ชี้แจงไว้ค่อนข้างละเอียดดี ก็ลองเอาเป็นแนวทางในการตัดสินใจกันดูนะครับ
-------
(รายงานข่าว)
1. ถาม : ถ้าไม่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด แล้วไปโรงเรียน จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากน้อยเพียงใด
ตอบ : มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก แต่ถ้านักเรียนรวมทั้งคุณครูและบุคลากรฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมาก นักเรียนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนก็จะมีโอกาสติดเชื้อน้อยลง
2. ถาม : ถ้าเด็กนักเรียนติดเชื้อแล้ว จะมีอาการรุนแรงมากน้อยเพียงใด เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือไม่
ตอบ : เด็กเมื่อติดเชื้อแล้ว มักจะไม่แสดงอาการ ในส่วนน้อยที่แสดงอาการก็ไม่ค่อยรุนแรง และมีเด็กที่เสียชีวิตจากโควิดน้อยมาก
เมื่อเทียบกับผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวจะเสียชีวิต 90-95% ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด ส่วนอายุน้อยกว่า 60 ปีไม่มีโรคประจำตัว เสียชีวิตเพียง 5-10% ส่วนในเด็กเสียชีวิตน้อยมากไม่ถึง 1%
3. ถาม : วัคซีนชนิดใดมีความปลอดภัยเหมาะสมที่จะฉีดในเด็กบ้าง
ตอบ : วัคซีนทุกชนิดที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไทย (อย.) ถือว่ามีความปลอดภัยที่จะฉีดได้ทั้งสิ้น
4. ถาม : วัคซีนที่ได้รับการอนุมัติแล้วให้ฉีดในเด็กได้ มีอะไรบ้าง
ตอบ : อย.ไทยได้อนุมัติแล้วสองชนิด สำหรับฉีดเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปคือ Pfizer กับ Moderna และอยู่ในระหว่างกำลังพิจารณาอนุมัติให้กับ Sinopharm
ในระดับโลก อนุมัติให้ฉีด Pfizer และ Moderna ในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปได้
ส่วนที่ประเทศจีนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้มีการให้ฉีดวัคซีนเชื้อตายคือ Sinopharm ในเด็กอายุตั้งแต่สามขวบขึ้นไป
ส่วนคิวบา อนุมัติให้ฉีดวัคซีนโปรตีนเป็นฐานตั้งแต่สองขวบขึ้นไป
5. ถาม : วัคซีนที่อนุมัติแล้วให้ฉีดในเด็กได้ มีข้อมูลความปลอดภัยหรือผลข้างเคียงเป็นอย่างไรบ้าง
ตอบ : Sinopharm ซึ่งเป็นวัคซีนเทคโนโลยีเชื้อตาย มีแนวโน้มที่จะสร้างความสบายใจมากกว่า เพราะใช้ผลิตวัคซีนในเด็กมานานนับ 10 ปี เช่น ไอกรน โปลิโอ ตับอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ และการฉีดในเฟสหนึ่งและสองที่ประเทศจีน รวมทั้งเฟสสามในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็พบว่าปลอดภัยดี
ส่วนวัคซีน Pfizer ซึ่งเป็น เทคโนโลยี mRNA ณ ปัจจุบัน ก็ถือว่าปลอดภัยในการฉีดเด็ก แต่ในระยะยาวนานนับปี ยังจะต้องติดตามผลเรื่องความปลอดภัยหรือผลข้างเคียงกันต่อไป
6. ถาม : วัคซีนของ Pfizer ที่ฉีดในเด็กอายุ 12-17 ปีแล้วนั้น มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง
ตอบ : วัคซีน Pfizer ถือว่ามีผลข้างเคียงในเด็กค่อนข้างน้อย สามารถฉีดได้ แต่ในผลข้างเคียงที่รุนแรงแม้พบน้อยมากที่ควรสนใจประกอบด้วย
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในทุกอายุพบ 12.6 รายต่อ 1 ล้านโดส โดยในเด็กจะพบมากกว่าในผู้ใหญ่ตั้งแต่ 1.2-27.3 เท่า โดยในเด็กชายจะพบมากกว่าเด็กหญิง 7.7 เท่า และพบในวัคซีน Pfizer พบมากกว่า Moderna 2.5 เท่า เด็กอายุ 12-15 ปี พบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 21 รายต่อ 1 ล้านโดส อายุ 16-17 ปี พบ 34 รายต่อ 1 ล้านโดส แพ้รุนแรงแบบช็อก (Anaphylaxis) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 19 เท่าหรือ 95% และพบใน Pfizer มากกว่า Moderna ประมาณสองเท่า คือ 4.7 ราย เทียบกับ 2.5 ราย ต่อ 1 ล้านโดส
7. ถาม : วัคซีน Sinopharm มีผลข้างเคียงมากน้อยอย่างไร
ตอบ : ยังไม่มีตัวเลขรายงานทางวิชาการอย่างเป็นทางการ แต่จากกรณีศึกษาทั้งในประเทศจีนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พบว่ามีความปลอดภัยดี และมีประสิทธิผลในการป้องกันโรคสูง
8. ถาม : ขณะนี้ประเทศไทยมีวัคซีนที่พร้อมฉีดในเด็กและได้รับการอนุมัติแล้วกี่ตัว
ตอบ : วัคซีนที่พร้อมฉีดและได้รับการจดทะเบียนแล้วคือ Pfizer ส่วนที่ได้รับการอนุมัติแล้ว กำลังรอวัคซีนเข้ามาคือ Moderna และวัคซีนที่มีพร้อมฉีดและกำลังรอการอนุมัติจาก อย.คือ Sinopharm
9. ถาม : จากข้อมูลทั้งหมด ควรตัดสินใจอย่างไรดี
ตอบ : จากข้อมูลทั้งหมด คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองก็พอจะประเมินได้ว่า ครอบครัวของท่านเป็นผู้ที่ให้น้ำหนักความกังวลต่อผลข้างเคียงของวัคซีนมาก หรือความกังวลต่อการติดเชื้อแล้วมีอาการรุนแรงมาก ซึ่งแต่ละครอบครัว ก็คงจะแตกต่างกันไป และในครอบครัวที่ตัดสินใจจะฉีดวัคซีน ก็คงต้องพิจารณาระหว่าง Pfizer ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ส่วน Sinopharm อยู่ระหว่างกำลังอนุมัติ
ข่าวจาก
วุฒิสภา 在 Facebook 的最佳解答
สมาชิกวุฒิสภา ติดโควิดครับ เพิ่งเข้าประชุม ทั้งที่ประชุม สว. และประชุมร่วม สว.กับ สส.พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ด้วย …
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด
13 กย.64 นายศุภชัย สมเจริญ รองประธานวุฒิสภา ยอมรับว่า นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ สมาชิกวุฒิสภา ติดเชื้อโควิด-19 จริง โดยเพิ่งได้ทราบเมื่อคืนวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา และทราบว่าติดมาจากที่อื่น ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบว่าติดตั้งแต่วันไหน และมี ส.ว.คนใดอยู่ในวงหนึ่ง หรือวงสองบ้าง เนื่องจากเพิ่งมีการประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อวันที่ 10 กันยายน
นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกวุฒิสภา และประธานคณะกรรมาธิการเพื่อรองรับสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 วุฒิสภา กล่าวว่า นายอภิชาติ มาประชุมร่วมรัฐสภา (สส.กับ สว.) เมื่อวันที่ 10 กันยายน ยังปกติ แต่พอกลับไปเหมือนมีอาการไข้ จึงได้ตรวจ ATK และพบว่าติดเชื้อ แต่ไม่มีอาการอะไรมาก โดยเข้าพักรักษาตัวที่ Hospitel แล้ว หลังจากนี้จะดำเนินการติดตามไทม์ไลน์อย่างละเอียดจากนายอภิชาติอีกครั้ง
นพ.เจตน์กล่าวต่อว่า ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า นายอภิชาติ เข้าร่วมประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 6-8 กันยายน และเข้าประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 10 กันยายน ซึ่งได้ร่วมลงมติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม และอยู่ร่วมการประชุมร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรรม โดยแสดงตนเป็นองค์ประชุม ในจำนวน 355 คน ก่อนที่องค์ประชุมจะล่มด้วย
นพ.เจตน์กล่าวด้วยว่า ได้ประสานสภาผู้แทนราษฎรในเบื้องต้น เพื่อแจ้งให้ทราบแล้ว จะได้ตรวจสอบและระมัดระวังตัว แต่เท่าที่ทราบไม่ค่อยกระทบกับฝั่งสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากนายอภิชาตินั่งอยู่ในวง ส.ว.
วุฒิสภา 在 Senate Channel - YouTube 的推薦與評價
นำเสนอภาระกิจ วุฒิภา ด้านการติดตามการปฏิรูปประเทศ. 53:00 Now playing · วุฒิสภารายสัปดาห์ 07 05 66 · Senate Channel. Senate Channel. 106 views10 days ago. ... <看更多>
วุฒิสภา 在 มติชน บันทึกประเทศไทย ปี 2556 - Google 圖書結果 的推薦與評價
ต่อมาวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๖ มี การประชุมวุฒิสภา โดยมีวาระการเลือก รองประธานวุฒิสภาคนที่ ๒ แทนที่นาง พรทิพย์ ทั้งนี้ มีผู้เสนอตัวลงชิงตําแหน่ง ๔ คน ได้แก่ ๑. ... <看更多>
วุฒิสภา 在 วุฒิสภา - Facebook 的推薦與評價
วุฒิสภา, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. ถูกใจ 168157 คน · 1269 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้ · 15991 คนเคยมาที่นี่. กระบวนการนิติบัญญัติ, ควบคุมการบริ. ... <看更多>