คำนำ
หนังสือ “หลักคิดทั่วไปในทางกฎหมายมหาชน” เล่มนี้เกิดขึ้นจากที่ผู้เขียนได้ขอไปราชการศึกษาค้นคว้าเขียนตำราใช้ในการเรียนการสอนช่วงปิดเทอม เดือนมิถุนายน ขอคำชี้แนะจากอาจารย์หลาย ๆ ท่านด้วย ได้แก่ท่านอาอาจารย์ ศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร ในมุมมองในเรื่องของการกระทำทางกฎหมาย การกระทำทางปกครอง ว่าเหมือนกันแตกต่างกันอย่างไร ท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร. กมลชัย รัตนสกาววงศ์ ในมุมมองเรื่ององค์ความรู้ในการใช้การตีความกฎหมายเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ ในมุมมองเรื่องหลักการและเทคนิคการเขียนหนังสือตำราที่ต้องสื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจ ในมุมมองใหม่ ๆอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระ สุธีวรางกูร ในมุมมองเรื่องการมองนิติศาสตร์เชิงคุณค่าให้สอดรับกับการมองนิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริง และด้วยความตั้งใจอยากมีหนังสือ/ตำราพื้นฐานทางในทางกฎหมายมหาชนตามแนวคิดของตนเอง ซึ่งมีเหตุผลอยู่ 4 ประการ
ประการที่ 1 หนังสือตำราของอาจารย์หลาย ๆ ท่านที่เขียนมีตำราที่คลาสสิค เช่น ตำราของศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นตำราทางกฎหมายมหาชนที่มีคุณค่าทางวิชาการเป็นอย่างยิ่ง นับเป็นแรงบันดาลใจต่อผู้เขียนเป็นอย่างมากที่จะเขียนหนังสือ/ตำราพื้นฐานทางกฎหมายมหาชนตามแนวคิดของตนเอง
ประการที่ 2 ผู้เขียนได้เขียนตำราหลักกฎหมายมหาชน ก็ยังเห็นว่าตำราเล่มนี้ยังไม่เป็นตำราพื้นฐานทางด้านกฎหมายมหาชนที่แท้จริง เป็นตำราแบบกลาง ๆ ที่มีมุมมองนิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริงเป็นส่วนใหญ่ ขาดมุมมองนิติศาสตร์เชิงคุณค่า
ประการที่ 3 เป็นความตั้งใจของผู้เขียนที่จะให้ผู้ที่สนใจด้านกฎหมายได้เข้าถึงวิธีคิดเบื้องต้นหรือวิธีคิดพื้นทางกฎหมาย เพื่อที่จะนำไปสู่การคิดต่อยอดในศาสตร์ของกฎหมายแต่ละแขนงสาขาออกไป ด้วยปรัชญาแนวคิดของผู้เขียนที่ว่า “คนเราจะสามารถดำรงชีพด้วยวิชาชีพของตนต้องมีความรู้พื้น” เพราะชีวิตในวัยเด็กเป็นนักกีฬามวยเริ่มต้นการฝึกพื้นฐานของการชกมวยทั้งมวยไทย และมวยสากลสมัครเล่น กว่าที่จะขึ้นชกได้ต้องฝึกปรือ การชกพื้นฐานของมวยไทย มวยสากลสมัครเล่น ให้มีความช่ำชอง เมื่อเรามีเบสิคพื้นฐาน สามารถที่ปรับหรือพลิกแพลงกระบวนยุทธที่สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ ทางด้านมวยไทยสามารถเป็นยอดไอ้แอ๊ดระดับประเทศ มวยสากลสมัครเล่นสามารถติดทีมชาติและที่สำคัญกีฬาเป็นสิ่งเบิกทางให้ผู้เขียนได้รับทุนการศึกษาฟรีทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท ในฐานะ “นักกีฬาทุน” การที่เอาชนะคู่ชกทั้งมวยไทยและมวยสากลสมัครเล่น ก็ด้วยมาจากการที่มีเบสิคพื้นฐานที่ดี สามารถพลิกแพลงแก้ไขสถานการณ์สามารถได้ เมื่อผู้เขียนจบปริญญาโทด้านกฎหมายมหาชน
ประการที่ 4 เป็นความตั้งใจให้หนังสือ/ตำรา หลักคิดทางกฎหมายมหาชนเล่มนี้เป็นฐานต่อยอดการศึกษาในรายวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองและวิชากฎหมายปกครอง ที่ผู้เขียนได้เขียนใช้เพื่อประกอบการสอนและเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ
จากนักศึกษากฎหมายเปลี่ยนสถานะมาเป็นอาจารย์ผู้สอนกฎหมาย ในปี 2544 ถึงปัจจุบัน (2563) มีวิชาที่สอน ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย หลักกฎหมายมหาชน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายแพ่งลักษณะทั่วไป กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายปกครองท้องถิ่น และนิติปรัชญา เมื่อพิจารณาแล้วกฎหมายเหล่านี้ เมื่อสอนในแต่ละรายวิชามักจะเกี่ยวพันในแต่ละเรื่อง เพราะจะสอนวิชาอะไรก็ต้องย้อนไปพูดถึงหลักพื้นฐานแห่งกฎหมายตลอด ไม่ว่าในระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท
จากความตั้งใจใน 4 ประการข้างต้นจึงเกิดหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย 11 บท บทที่ 1 การกำเนิดกฎหมาย กล่าวถึง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกฎหมายและการเกิดขึ้นของกฎหมาย บทที่ 2 ความหมายและลักษณะของกฎหมาย กล่าวถึง ความหมายและลักษณะของกฎหมาย เป็นการศึกษาอธิบายความหมายของกฎหมายแต่ละสำนักกฎหมายที่นำอ้างถึงความชอบธรรมในการจัดทำกฎหมายมหาชน บทที่ 3 แนวคิดที่สนับสนุนรองรับกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม กล่าว แนวคิดเกี่ยวกับความจำเป็นต้องมีกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมที่มีมุมมองเชิงบวกแนวคิดเกี่ยวกับการไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมมุมมองเชิงลบ บทที่ 4 การแบ่งประเภทของกฎหมาย กล่าวถึง การแบ่งประเภทของกฎหมายเอกชน กับกฎหมายมหาชน ความแตกต่างระหว่างกฎหมาเอกชนกับกฎหมายมหาชนและประเภทของกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชน บทที่ 5 พัฒนาการกฎหมายมหาชน กล่าวถึง พัฒนาการของกฎหมายมหาชนของต่างประเทศและของประเทศไทย บทที่ 6 ที่มาและลำดับชั้นของกฎหมาย กล่าวถึง ที่มาของกฎหมายมหาชนที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่มีลำดับชั้นทางกฎหมายที่แตกต่างกัน กฎหมายที่ตำกว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่สูงกว่าไม่ได้ บทที่ 7 รากฐานของนิติวิธีทางกฎหมายมหาชน กล่าวถึง ในกระบวนการคิดวิเคราะห์ในทางกฎหมายมหาชน และปรัชญาแนวคิดรากฐานทางกฎหมายมหาชน บทที่ 8 นิติวิธีเชิงปฏิเสธ กล่าวถึง นิติวิธีทางกฎหมายมหาชน : ปฏิเสธกฎหมายเอกชน ด้วยเหตุผลที่ปรัชญาแนวคิดความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองมีความแตกต่างกัน บทที่ 9 กล่าวถึงนิติวิธีเชิงสร้างสรรค์ :นิติวิธีเพื่อการสร้างหลักกฎหมายมหาชนอยู่บนพื้นฐานการกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เกิดดุลยภาพกันในสังคม บทที่ 10 กล่าวถึง การใช้การตีกฎหมายมหาชน การใช้ การตีความกฎหมายมหาชนทั้งในกรณีที่มีบทบัญญัติแห่งแห่งกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร บทที่ 11 กล่าวถึงการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายมหาชน เป็นการปรับใช้ความกฎหมายมหาชนในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายมหาชนที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมมาใช้บังคับ
ตำราเล่มนี้นับว่าเป็นงานเขียนในมุมมองความคิดที่มาจากการสนทนาขอคำแนะนำจากอาจารย์หลาย ๆ ท่านที่กล่าวมาข้างต้น และที่สำคัญผู้เขียนต้องระลึกถึง “ครู” ของผู้เขียน 4 ท่านที่ทำให้ผู้เขียนได้เดินบนเส้นทางวิชาการ คือ “ครู” ผู้ให้แนวทางแสงสว่างทางวิชาการ แก่ผู้เขียน ดร.พีระพันธุ์ พาลุสุข ครูผู้ให้อนาคต เริ่มต้นนักวิชาการ ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร. วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ “ครู” ต้นแบบ กฎหมายมหาชน ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ “ครู” ผู้ให้ความมั่นใจการคิดด้วยตนเอง (ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์) และ ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร “ครู” ต้นแบบการดำเนินแบบอย่างของนักวิชาการกฎหมายที่ดีมีคุณธรรม
สุดท้ายนี้ผู้เขียนต้องขอบคุณภรรยา (เฟื่องนภา ศักดิ์แสง) ที่คอยเคียงข้างและสนับสนุนอยู่เสมอ
รองศาสตราจารย์ สิทธิกร ศักดิ์แสง
ณ บ้านสวนยายนวย อ.หลังสวน จ.ชุมพร
「กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ」的推薦目錄:
- 關於กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ 在 รายการห้องเรียนรัฐธรรมนูญ ตอนที่ 1 "รัฐธรรมนูญคืออะไร" - YouTube 的評價
- 關於กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ 在 มสธ. 33204 รายการที่ 3 หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ - Facebook 的評價
กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
"เคล็ดลับการเขียนผลงานทางวิชาการ/บริการวิชาการงานวิจัยสู่การเรียนการสอน"
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เคล็ดลับการเขียนผลงานวิชาการ เอกสารประกอบการสอน/ เอกสารคำสอน/ตำรา/หนังสือ/บทความทางวิชาการ/วิจัย ผมได้ทำมาตั้งแต่เริ่มต้นของการเป็นอาจารย์ โดยได้รับการเมตตาปรานีจาก อาจารย์ ดร. พีระพันธุ์ พาลุสุข (คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในขณะนั้น (ปี 2544) โดยอาจารย์ได้แปลคู่มือการเขียนตำรา ที่เป็นคู่มือภาษาฝรั่งเศส มาเป็นภาษาไทย โดยให้ผมจับจดขึ้นมาในเรื่องวิธีการเรียบเรียงและวิธีการเขียน ให้เป็นเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน/ตำรา/หนังสือ ขึ้นมา จนเกิดผลงานทางวิชาการและได้เป็นเคล็ดลับในการเขียนผลงานทางวิชาการ ดังนี้
1. เริ่มต้นด้วยการเขียน เอกสารประกอบสอน/เอกสารคำสอน ให้เรียบเรียงเอกสารให้เป็นระบบ ในแต่ละหัวข้อตามคำอธิบายรายวิชา ในแต่ละหลักสูตร เรียบเรียงหนังสือ ตำรา บทความ วิจัย/วิทยานิพนธ์ เอกสารการบรรยายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายวิขานั้นมารวบรวมให้เป็นระบบ แต่ถ้าเป็น "เอกสารคำสอน" มีการเรียบเรียง และมีการอ้างอิงให้เป็นระบบ โดยเน้นเรื่องที่สำคัญหรือเน้นเรื่องที่ตนถนัดหรือมีการคนเขียนเรื่องนี้มีน้อยหรือเขียนเพื่อให้เกิดแนวคิดใหม่ หรือ อธิบายขยายความ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน และที่สำคัญการเขียนนั้นต้องมีมุมมองใหม่ๆ ที่มาจากการค้นคว้างานวิจัยหรือบทความทางวิชาการ
ผมเริ่มต้นจากการเขียน เอกสารประกอบสอน เช่น วิชา หลักกฎหมายมหาชน นิติปรัชญา กฎหมายปกครอง กฎหมายแพ่งลักษณะทั้วไป ใข้สอนและค้นคว้าเพิ่มเติมพัฒนามาเป็น เอกสารคำสอน เช่น
- เอกสารประกอบการสอน วิชา กฎหมายรัฐธรรมนูญ พัฒนาเป็นเอกสารคำสอน เป็นกฎรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง และพัฒนาเป็นตำรา กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง
- เอกสารประกอบการสอน วิชากฎหมายปกครอง พัฒนามาเป็นเอกสารคำสอนกฎหมายปกครอง และพัฒนามาเป็นตำรา กฎหมายปกครองและวิธีพิจาณาคดีปกครอง เป็นต้น
2. เมื่อเขียนเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาเป็นตำรา หนังสือ ต่อไป ด้วยการเขียนบทความทางวิชาการ โดยนำหัวข้อในเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน ในแต่ละหัวข้อนำมาเขียนบทความวิชาการ ที่เป็นทฤษฎีนำมาวิเคราะห์ในประเด็นในทางวิชาการ เพื่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่หรือตอบโจทย์ในปัญหาทางสังคม และอาจมีประเด็นที่คนสนใจโดยเอาทฤษฎีในเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอน มาปรับวิเคราะห์ในประเด็นที่กล่าวถึงข้างต้น เป็นที่มาของการเขียนงานงานวิจัยตามศาสตร์ ในการบูรณาการการเรียนการสอน ได้อีกทางหนึ่ง และได้งานวิจัยขึ้นม มีบทความที่เขียนลงตีพิมพ์เผยแพร่ เป็นผลงานทางวิชาการ สามารถนำไปเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการได้
3. การเขียนเอกสารประกอบการสอน/เอกสารคำสอนที่เป็นแนวคิดทฤษฎีนำมาศึกษาวิเคราะห์ในหัวข้อในการเรียนการสอน เขียนบทความทางวิชาการซึ่งสามารถพัฒนาเป็นหัวข้อวิจัย ได้เช่น สอนวิชากฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งมีกฎหมายที่ในการควบคุมภายในฝ่ายปกครอง ที่สำคัญ 3 ฉบับ คือ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และข้อมูลข่าวสารทางราชการ ทำให้เราศึกวิเคราะห์ราะห์ เป็นหัวข้อวิจัยได้ ว่า กฎหมายทั้งฉบับบนี้มันความสัมพันธ์กันอย่าง บังคับใช้อย่างไรให้สอดรับ สามารถเป็นหลักคิด แนวทางการบังคับใช้กฎหมายของฝ่ายปกครองได้
เมื่อได้งานวิจัย ขึ้นมาสามารถนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ คือ นำงานวิจัย ไปพัฒนาเป็นหนังสือเสนอสำนักพิมพ์เพื่อพิมพ์แพร่ใช้ประโยชน์ทางพาณิชย์ และสามารถนำไปเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการได้ในผลงานหนังสือ ถ้าไม่เสนองานวิจัย ซึ่งเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ตามเงื่อนไขของ กพอ.ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ
จากการเขียนผลงานทางวิชาการของผม เริ่มต้นมาจากการเขียนเอกสารประกอบการสอนทั้งนั้น แบะทุกรายวิชาจะมีเอกสารประกอบการสอนทุกวิชาใน 19 ปีที่ผ่าน ในฐานะอาจารย์ผู้สอน
จากการเขียนเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน หนังสือ ตำรา นี้สามารถมีประเด็นที่นำไปเขียนเป็นบทความวิชาการจะก่อประโยชน์ 2 ด้าน
1) ด้านที่ 1 ได้ผลงานวิชาการ บทความวิชาการ และได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ทางวิชาการ และถ้าบทความนั้นมีความลุ่มลึกและสามารถเป็นบทความที่มีคุณภาพ สามารถประกอบการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการได้
2) ด้านที่ 2 ผลงานวิชาการที่ได้รับตีพิมพ์ นั้นได้เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับรองคุณภาพ เป็นเกณฑ์ประเมินประกันคุณภาพ ได้เป็นอย่างดี ในการประกันคุณภาพ
4.นำผลงานทางวิชาการบทความวิชาการ/วิจัย ในแต่ละหัวข้อมาเขียนเป็นหนังสือ/ตำรา ก่อให้เกิดผลดีคือ
1) ตำรา /หนังสือจะเป็นตำราที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆได้ เพราะตำราดังกล่าว ในประเด็นหัวข้อนี้ ได้นำมาจากการเขียนบทความวิชาการ ถือว่าเป็นตำราที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยตำรานั้นต้องเขียนครอบคลุมตามคำอธิบายรายวิชา ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ( การเขียนตำราที่นำมาจากบทความวิชาการ /วิจัยนั้นต้องอ้างผลงานบทความวิชาการด้วยที่เขียนด้วยแม้ผลงานตนเองก็ต้องอ้าง)
2) หนังสือ นำบทความวิชาการ/วิจัย ที่ได้เขียนมาจัดระบบ ให้เป็นเรื่องเป็นราว ที่ก่อให้เรื่องใหม่ ที่เป็นหนังสือ ขึ้นมาแต่ต้องเป็นหนังสือที่มีแนวคิดใหม่ๆหรือนำมาเขียนเป็นเรื่องเดียวกันที่ได้เขียนบทความวิชาการมาแล้ว ( การเขียนตำราที่นำมาจากบทความวิชาการ นั้นต้องอ้างผลงานบทความวิชาการด้วยที่เขียนด้วยแม้ผลงานตนเองก็ต้องอ้าง)
จากการเขียนบทความวิชาการ พัฒนามาเป็นหนังสือ เช่น ศาสตร์แห่งการตีความกฎหมาย การปกครองแบบนิติรัฐที่ยึดหลักนิติธรรมกับปรัชญากฎหมายที่มีอิทธิพลต่อการจัดทำและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไทย หลักพื้นฐานแห่ง
3) วิจัยก็เป็นงานที่ได้วิเคราะห์สังเคราะห์ ตามรูปแบบกระบวนการขั้นตอนการวิจัย เกิดแหล่งความรู้ใหม่นำไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการ ในการเรียนการสอนและเป็นหลักคิดในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามหลักสมควรแก่เหตุ
ตำรา/หนังสือ/วิจัย นี้สามารถขอตำแหน่งทางวิชาการาได้และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับรองคุณภาพ สามารถเป็นผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นเกณฑ์หนึ่งของการประกันคุณภาพการศึกษา
สรุป
การเขียนผลงานทางวิชาการ จะเป็นการเอางานเก่ามาเขียนเรียบเรียง มาเขียนใหม่ (อาศัยกินบุญเก่า) ที่ก่อให้เกิดมุมมองใหม่ๆ เกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องอ้างอิงงานเก่าเหล่านั้น ถ้าไม่อ้างอิงจะเข้าข่ายเป็นการคัดบอกผลงานตัวเองได้ เพราะงานที่ผมเขียนทุกเรื่องสามารถเชื่อมโยงกันได้ เนื่องจาก
1.สอนวิชา ในสาขาที่เราเรียน โดยการเขียนเอกสารประกอบคำสอน เอกสารคำสอน หนังสือ และตำรา
2.ทำวิจัยในรายวิชาที่สอน
3.เขียนบทความวิชาการในรายวิชาที่เราสอน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
แนะนำ หนังสือเล่มใหม่ ของผม
คำนำ
หนังสือ “หลักคิดทั่วไปในทางกฎหมายมหาชน” เล่มนี้เกิดขึ้นจากที่ผู้เขียนได้ขอไปราชการโดยไม่เบิกค่าใช้จ่ายในในช่วงปิดเทอม ขอคำชี้แนะจากอาจารย์หลาย ๆ ท่านด้วย คือ ศาสตราจารย์ ดร. คณิต ณ นคร ศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ พิเศษ ดร. กมลชัย รัตนสกาววงศ์ ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระ สุธีวรางกูร ด้วยความตั้งใจอยากอยากหนังสือพื้นฐานทางในทางกฎหมายมหาชนตามแนวคิดของตนเอง ซึ่งมีเหตุผลอยู่ 3 ประการ
ประการที่ 1 มีหนังสือตำราของอาจารย์หลาย ๆ ท่านที่เขียนมีตำราที่คลาสสิค เช่น ตำราของศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่เขียนไว้หลายเล่มไม่ได้อยู่ในเล่มเดียวกันและไม่ได้ผลิตเผยแพร่
ประการที่ 2 ผู้เขียนได้เขียนตำราหลักกฎหมายมหาชน ก็ยังเห็นว่าตำราเล่มนี้ยังไม่เป็นตำราพื้นฐานทางด้านกฎหมายมหาชนที่แท้จริง เป็นตำราแบบกลาง ๆ ที่มีมุมมองนิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริงเป็นส่วนใหญ่ ขาดมุมมองนิติศาสตร์เชิงคุณค่า ด้วยเหตุผล 2 ประการนี้ ผู้เขียนมุ่งที่จะศึกษาค้นคว้าเขียนหนัง “หลักคิดทั่วไปในทางกฎหมายมหาชน” ในมุมมองความคิดของผู้เขียน
ประการที่ 3 เป็นความตั้งใจของผู้เขียนที่จะให้ผู้ที่สนใจด้านกฎหมายได้เข้าถึงวิธีคิดเบื้องต้นหรือวิธีคิดพื้นทางกฎหมาย เพื่อที่จะนำไปสู่การคิดต่อยอดในศาสตร์ของกฎหมายแต่ละแขนงสาขาออกไป ด้วยปรัชญาแนวคิดของผู้เขียนที่ว่า “คนเราจะสามารถดำรงชีพด้วยวิชาชีพของตนต้องมีความรู้พื้น” เพราะชีวิตในวัยเด็กเป็นนักกีฬามวยเริ่มต้นการฝึกพื้นฐานของการชกมวยทั้งมวยไทย และมวยสากลสมัครเล่น กว่าที่จะขึ้นชกได้ต้องฝึกปรือ การชกพื้นฐานของมวยไทย มวยสากลสมัครเล่น ให้มีความช่ำชอง เมื่อเรามีเบสิคพื้นฐาน เราก็สามารถที่ปรับหรือพลิกแพลงกระบวนยุทธที่สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ มวยไทยสามารถเป็นยอดไอ้แอ๊ดระดับประเทศ มวยสากลสมัครเล่น สามารถติดทีมชาติ และที่สำคัญกีฬาเป็นสิ่งเบิกทางให้ผู้เขียนมีการศึกษาได้ ซึ่งได้รับทุนการศึกษาฟรีทั้งในระดับปริญญาตรี ถึงปริญญาโท ในฐานะ “นักกีฬาทุน” การที่เอาชนะคู่ชกทั้งมวยไทยและมวยสากลสมัครเล่น ก็ด้วยมาจากการที่มีเบสิคพื้น ที่สามารถพลิกแพลงแก้ไขสถานการณ์สามารถได้ ทั้งนั้น เมื่อผู้เขียนจบปริญญาโทด้านกฎหมายมหาชน จากเป็นนักศึกษากฎหมายเปลี่ยนสถานะมาเป็นอาจารย์ผู้สอนกฎหมาย ในปี 2544 ถึงปัจจุบัน (2563) มีวิชาที่สอน ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย หลักกฎหมายมหาชน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายแพ่งลักษณะทั่วไป กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายปกครองท้องถิ่น และนิติปรัชญา เมื่อพิจารณาแล้วกฎหมายเหล่านี้ เมื่อสอนในแต่ละรายวิชามักจะเกี่ยวพันในแต่ละเรื่อง เพราะจะสอนวิชาอะไรก็ต้องย้อนไปพูดถึงพื้นฐานแห่งกฎหมายตลอด ไม่ว่าในระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท
จากความตั้งใจใน 3 ประการข้างต้นจึงเกิดหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย 13 บท บทที่ 1 กล่าวถึง ความหมายและลักษณะของกฎหมาย เป็นการศึกษาอธิบายความหมายของกฎหมายแต่ละสำนักกฎหมายที่นำอ้างถึงความชอบธรรมในการจัดทำกฎหมายมหาชน บทที่ 2 กล่าวถึง แนวคิดที่สนับสนุนรองรับกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม ที่มีมุมมองเชิงลบและมีมุมมองเชิงบวก บทที่ 3 กล่าวถึงที่มาและลำดับชั้นของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่มีลำดับชั้นทางกฎหมายที่แตกต่างกัน กฎหมายที่ตำกว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่สูงกว่าไม่ได้ บทที่ 4 กล่าวถึง วิวัฒนาการของระบบกฎหมายที่มีอิทธิพลต่อทั่วโลก คือ ระบบกฎหมายวิวิลลอว์กับระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ บทที่ 5 กล่าวถึงการแบ่งประเภทของกฎหมายเอกชน กับกฎหมายมหาชน บทที่ 6 กล่าวถึงนิติวิธีทางกฎหมายมหาชน : ปฏิเสธกฎหมายเอกชน ด้วยเหตุผลที่ปรัชญาแนวคิดความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองมีความแตกต่างกัน บทที่ 7 กล่าวถึงนิติวิธีเชิงสร้างสรรค์ :นิติวิธีเพื่อการสร้างหลักกฎหมายมหาชนอยู่บนพื้นฐานการกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เกิดดุลยภาพกันในสังคม บทที่ 8 กล่าวถึงนิติวิธีประกอบ : ภายใต้หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรมอันเป็นแนวคิดรากฐานของการสร้างหลักกฎหมายมหาชน บทที่ 9 กล่าวถึง การปรับใช้กฎหมายมหาชน การใช้ การตีความกฎหมายมหาชนทั้งในกรณีที่มีบทบัญญัติแห่งแห่งกฎหมายและไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร บทที่ 10 กล่าวถึงความรู้ทั่วไปของกฎหมายมหาชนภายใน : กรณีศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญ บทที่ 11 กล่าวถึงความรู้ทั่วไปของกฎหมายมหาชนภายใน : กรณีศึกษากฎหมายปกครอง บทที่ 12 กล่าวถึงความรู้ทั่วไปของกฎหมายมหาชนภายนอก (กฎหมายระหว่างประเทศ) และบทสุดท้าย บทที่ 13 กล่าวถึงกระบวนการยุติธรรมตามระบบกฎหมายมหาชนของประเทศไทย
หนังสือเล่มนี้นับว่าเป็นงานมุมมองความคิดที่มาจากการสนทนาขอคำแนะนำจากอาจารย์หลาย ๆ ท่านที่กล่าวมาข้างต้น ที่ผู้เขียนไปขอคำนี้ชี้แนะแลกเปลี่ยนความคิด ให้คิดแบบองค์รวม ทั้งในมุมมองนิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริงและมุมมองเชิงคุณค่าและสำคัญ “ครู” ของผู้เขียน 4 ท่านที่ทำให้ผู้เขียนได้เดินบนเส้นทางวิชาการ คือ “ครู” ผู้ให้แนวทางแสงสว่างทางวิชาการ แก่ผู้เขียน ดร.พีระพันธุ์ พาลุสุข ครูผู้ให้อนาคต เริ่มต้นนักวิชาการศาสตราจารย์ พิเศษ ดร. วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ “ครู” ต้นแบบ กฎหมายมหาชน ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ “ครู” ผู้ให้ความมั่นใจการคิดด้วยตนเอง (ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์) และ ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร “ครู” ต้นแบบการดำเนินแบบอย่างของนักวิชาการกฎหมายที่ดีมีคุณธรรม สุดท้ายนี้ผู้เขียนต้องขอบคุณภรรยา (เฟื่องนภา ศักดิ์แสง) ที่คอยเคียงข้างและสนับสนุนอยู่เสมอ
รองศาสตราจารย์ สิทธิกร ศักดิ์แสง
ณ บ้านสวนยาย อ.หลังสวน จ.ชุมพร
กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ 在 มสธ. 33204 รายการที่ 3 หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ - Facebook 的推薦與評價
ช้อำนาจรัฐ ส่วน รัฐธรรมนูญ ที่หมายถึง กฎหมายสูงสุดของรัฐเป็นรายฉบับ ๆ ไป เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ " กฎหมายรัฐธรรมนูญ " และ ... ... <看更多>
กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ 在 รายการห้องเรียนรัฐธรรมนูญ ตอนที่ 1 "รัฐธรรมนูญคืออะไร" - YouTube 的推薦與評價
1:53:00 · Go to channel · เตรียมสอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ : ฉบับสายเนติ/อัยการ/ศาล (part 1/4). RELAW Academy•5.9K views · 25:01 · Go to channel · รายการ ... ... <看更多>