อันนี้ฮาดีครับ เป็นการเชื่อมโยงได้สุดยอดมากก
บอกว่า "ให้เคี้ยวใบกระท่อม จะออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค covid ได้ทันที เพราะดูที่ดอกกระท่อมสิ รูปทรงเหมือนเชื้อไวรัสโควิคจริงๆ" 😂😂
อย่างนี้ไม่เคี้ยว "ใบเงาะ" ด้วยอีกอย่างล่ะครับ เพราะผลเงาะ ก็ดูคล้ายๆ กับเชื้อไวรัสโคโรน่า ก่อโรคโควิดเหมือนกันนะ 555
ขอเอาข้อมูลทางการแพทย์จริงๆ มาอธิบายดีกว่าครับ ว่ากระท่อมไม่ได้สามารถรักษาป้องกันโรคโควิด-19 อย่างที่แชร์กันนะครับ
------
(เนื้อหาบทความ)
ตามที่มีการแชร์เนื้อหาอ้างถึงสรรพคุณของ ใบกระท่อม มีฤทธิ์ช่วยต้านโควิด-19 ทางสื่อสังคมออนไลน์
ทาง ภญ.ศตพร สมเลศ พท.ศรัญญ่า เหล็กกาณกูล สังกัด กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว พบว่า สรรพคุณที่กล่าวอ้างมีเนื้อหาที่เป็นเท็จ !
ในปัจจุบัน ราชกิจจานุเบกษาได้มีประกาศพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2564 ลงวันที่ 25 พค. 2564 ให้ปลดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภท 5
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแม้จะมีประกาศปลดกระท่อมออกจากยาเสพติด แต่สำหรับโรคโควิด-19 ซึ่งถือว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดร้ายแรง ยังไม่มีการพบรายงานการวิจัยของฤทธิ์ต้านเชื้อโควิด-19 ในใบกระท่อม
เพราะฉะนั้น เนื้อหาดังกล่าวที่มีการเผยแพร่ ถือว่าเป็นเนื้อหาที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
นอกจากนี้ยังมีการพบว่านำไปเผยแพร่เป็นโฆษณาชวนเชื่อในสื่อออนไลน์ โดยผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากพืชกระท่อม อวดอ้างสรรพคุณว่าสามารถใช้ใบกระท่อมป้องกันหรือรักษาโรคโควิด-19
ทั้งนี้ได้มีจดหมายจาก US-FDA เตือนเรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน รวมถึงไม่ได้รับการพิจารณาด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่แอบอ้างโฆษณาดังกล่าว
ผลกระทบจากการบริโภคกระท่อมเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้เกิดการเสพติดและจะมีอาการของโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดจาไม่ค่อยรู้เรื่อง
พร้อมลงข้อเสนอแนะว่า ประชาชนควรเชื่อถือข่าวสารที่ออกมาจากหน่วยงานทางราชการเท่านั้น
แหล่งอ้างอิง: กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
จาก https://www.hfocus.org/content/2021/07/22437
「กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข」的推薦目錄:
- 關於กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答
- 關於กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
- 關於กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答
- 關於กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข 在 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก | Nonthaburi 的評價
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ใดๆ ที่ว่า "ใบกระท่อม" จะรักษาโรคโควิด-19 ได้นะครับ ... พวกเรื่องเล่าแบบนี้ อย่าไปหลงเชื่อนะครับ !
ดูข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่างครับ
---------
"ข่าวปลอม อย่าแชร์! ใบกระท่อม สามารถต้านโควิด-19 ได้"
วันที่ 20 ก.ค. 2564 10:30 น.
FacebookTwitterLine
ตามที่ได้มีข่าวปรากฎในสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ในประเด็นเรื่อง ใบกระท่อม สามารถต้านโควิด-19 ได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากที่มีการแชร์ข้อมูลว่าใบกระท่อม สามารถต้านโควิด-19 ได้นั้น ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า
แม้ปัจจุบันจะมีประกาศปลดล็อกกระท่อมจากยาเสพติด แต่สำหรับโรคโควิด-19 ซึ่งถือว่าเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรง และยังไม่พบรายงานการวิจัยของฤทธิ์ต้านเชื้อโควิด-19 ของใบกระท่อม
ดังนั้นข่าวดังกล่าว ถือว่าเป็นข่าวที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
นอกจากนี้ จากการพบว่ามีการโฆษณาชวนเชื่อในสื่อออนไลน์โดยผู้ผลิตผลิณภัณฑ์จากกระท่อมว่าสามารถใช้ใบกระท่อมป้องกันหรือรักษาโรคโควิด-19
แต่มีจดหมายจาก US-FDA เตือนเรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ไม่ได้รับการพิจารณาด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่แอบอ้างโฆษณาดังกล่าว
โดยกระท่อมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เข็มและกาแฟ (Rubiaceae) ในสมัยโบราณ กระท่อมเป็นพืชที่ใช้เข้าเป็นตัวยาที่ใช้ทั้งในส่วนของการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน ในตำรับพวกประเภทยาแก้ท้องเสีย แก้ปวด ท้องเสีย เบาหวาน และอื่นๆ เช่น ตำรับยาประสะกระท่อม
ซึ่งกระท่อมมีปริมาณ total alkaloids ประมาณ 0.5 – 1.5% โดยพบ mitragynine ซึ่งเป็นสารกลุ่ม indole alkaloids เป็นสารสำคัญหลัก นอกจากนี้สารที่พบรองลงมา คือ flavonoids terpenoid และ saponins
ซึ่งผลกระทบจากการบริโภคกระท่อมเป็นระยะเวลานาน ๆ ทำให้เสพติดและจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง จึงข้อเสนอแนะให้ประชาชนควรเชื่อถือข่าวสารที่ออกมาจากหน่วยงานทางราชการเท่านั้น
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ
และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.dtam.moph.go.th หรือโทร. 02 5917007
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ยังไม่พบรายงานการวิจัยของฤทธิ์ต้านเชื้อโควิด-19 ของใบกระท่อม ดังนั้นข่าวดังกล่าว ถือว่าเป็นข่าวที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
จาก https://www.antifakenewscenter.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A1-%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94-19-%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89/
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答
"ไม่มีหลักฐานว่าสมุนไพร "ฟ้าทะลายโจร" ป้องกันรักษาโรคโควิดได้ มีแค่ส่วนช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น"
ต่อจากเรื่อง "กระชายขาว" ก็มารีรันเรื่อง "ฟ้าทะลายโจร" ที่กลับมาเป็นกระแส โฆษณาขายกันใหญ่เลยว่า "ให้กินแคปซูลเพื่อป้องกัน-รักษาโรคโควิด-19" โดยอ้างงานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ออกมา ... ซึ่งจริงๆ มันเป็นงานวิจัย "สารสกัด" จากฟ้าทะลายโจรครับ (ประเด็นเดียวกับที่เอาเรื่อง งานวิจัยสารสกัดจากกระชายขาว มาแอบอ้างขายแคปซูลกระชายกันเลย)
1. ข้อความที่แชร์กันในเชิงสรรพคุณของฟ้าทะลายโจร ทำนองว่า "สธ. ประกาศ สารแอนโดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจร ช่วยรักษา COVID-19" นั้น ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้เคยเตือนแล้วว่า เป็นข่าวปลอม !! (ดู https://www.antifakenewscenter.com/ข่าวปลอม-อย่าแชร์-สธ-ประ/)
- ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ !! .... โดยทางกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ข้อมูลว่า ภาพและคลิปดังกล่าวเป็นตอนที่ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก , กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ , องค์การเภสัชกรรม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วยการวิจัยยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรกับไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อศึกษาวิจัยประสิทธิผลของยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในการต้านเชื้อไวรัส ... ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ หากการศึกษาวิจัยได้ผลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะมีการแถลงข่าวให้ประชาชนทราบอย่างแน่นอน
2. ต่อมาในเดือนธันวาคม 2563 ทางกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก , คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล , สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ , กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม ได้แถลงผลการศึกษานำร่องผลของยา "สารสกัด" ฟ้าทะลายโจร "ขนาดสูง" ต่อโรค COVID-19 โดยผลในหลอดทดลองนั้นพบ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและยังยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันเซลล์จากการติดเขื้อ COVID-19 จึง "ไม่แนะนำ" ให้กินเพื่อการป้องกันโรค ตอนที่ยังไม่มีอาการ (https://news.thaipbs.or.th/content/299058)
- ส่วนการเอาไปใช้ในคน ได้ร่วมกับโรงพยาบาลสมุทรปราการ ผลการศึกษาเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยที่กิน "สารสกัด" ฟ้าทะลายโจร ขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่าผู้ป่วยทุกคนมีอาการดีขึ้น ตั้งแต่วันที่ 3 ของการได้รับสารสกัด อาการไอ เจ็บคอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ มีอาการดีขึ้น จึงเตรียมขยายการวิจัยในคน ระยะที่ 2 ต่อไป
3. งานวิจัยล่าสุดที่มีการยกมาอ้างนั้น ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2564 ในวารสาร Journal of Natural Products จากผลงานของคณิต เสงี่ยมสุนทร และคณะ รวม 18 คน ซึ่งดูผลของ "สารสกัด" ฟ้าทะลายโจร และสาร "แอนโดรกราโฟไลด์" บริสุทธิ์ (สารสำคัญของฟ้าทะลายโจร) ต่อเซลล์เยื่อบุผิวปอดของมนุษย์ที่ถูกทำลายจากเชื้อโควิด-19 ในหลอดทดลอง พบว่าสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสได้
- นอกจากนั้น ยังมีการอ้างถึงงานวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทย ใช้ฟ้าทะลายโจรแคปซูล รักษาผู้ป่วยโควิดในโรงพยาบาลของรัฐจำนวน 9 แห่ง ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน พบว่าผู้ป่วยทุกรายรวม 276 ราย มีอาการดีขึ้น ความรุนแรงของอาการลดลง (ดูรูปกราฟประกอบ)
(จาก https://mgronline.com/politics/detail/9640000036280?fbclid=IwAR3MCT1V7j3d8aqmtVXLuhl7Aa7-HVx_4osmT-90JZj6aW0fORqk2JO_rKw)
4. ซึ่งจะเห็นว่า งานวิจัยที่หลายที่อ้างถึงนั้น ถ้าไม่ใช่เป็น "การใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจรในปริมาณสูง ต่อเซลล์ในหลอดทดลอง" ก็เป็นการใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ไม่ได้เป็นการใช้แคปซูลผงสมุนไพรเพื่อกินป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 แต่อย่างไร
5. ล่าสุด โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ก็ออกมาเตือนเรื่องนี้เช่นกัน ว่าถ้ากินฟ้าทะลายโจรไปมากๆ จะมีผลต่อตับไตได้ (https://www.thairath.co.th/news/local/central/2072278)
- เภสัชกรหญิง ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ศูนย์การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า "มีข้อกังวลว่า หากนำไปรับประทานกันมากๆ จะมีผลกับการทำงานของตับและไต ฟ้าทะลายโจรมีการแชร์ข้อความที่ไม่จริงค่อนข้างมาก ตั้งแต่การระบาดครั้งที่ 1, 2, 3 ทางโรงพยาบาลได้นำฟ้าทะลายโจรไปใช้กับผู้ป่วยโควิดจริง แต่ใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการน้อย ซึ่งทุกรายก็หาย กลับบ้านได้ อาการข้างเคียงแทบไม่มีเลย"
- "อย่างไรก็ตาม จะบอกว่า ผู้ป่วยหายจากการรับประทานฟ้าทะลายโจร ก็คงบอกได้ลำบาก เพราะเวลาที่ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาล ก็ได้รับการดูแลแบบอื่นๆ ได้รับการพักผ่อนด้วย หรือตัวโรคอาจจะหายได้เองอยู่แล้ว จึงยังไม่มีหลักฐานว่า ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิดได้ แต่ก็มีส่วนช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น"
- "ถ้าท่านอยู่ที่บ้าน และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ถ้ามีอาการเจ็บคอเป็นไข้ ก็ทานฟ้าทะลายโจรได้ พอหายแล้วก็หยุดทาน"
- "ในเฟสที่ 1 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และกรมการแพทย์แผนไทย ได้นำตัวเซลล์และสารสกัดฟ้าทะลายโจร คือสารแอนโดรกราโฟไลด์ พบว่าตัวเชื้อยังสามารถหลุดเข้าไปในเซลล์ได้ หมายถึงฟ้าทะลายโจรที่เรากิน อาจไม่ได้ทำให้เชื้อไม่เข้าเซลล์ได้"
- "สำหรับท่านใดที่รับประทานฟ้าทะลายโจรอยู่ เพื่อป้องกันโควิด ขอบอกอันนี้ยังไม่มีการยืนยัน และหากจะรับประทานต่อ ขอความกรุณาใช้ขนาดที่ต่ำมากๆ ไม่จำเป็นต้องใช้สารสกัดที่มีขนาดสูงๆ เพราะอาจมีผลต่อการทำงานของตับและไต ซึ่งคุณหมอหลายท่านก็มีความกังวล ถ้าท่านเป็นโควิด-19 ก็ต้องใช้ยาต้านไวรัส เพราะถ้าตับเสียไปแล้วจะยุ่งยากมากในการรักษา"
กล่าวโดยสรุปคือ อย่าพึ่งเห่อตามกระแสข้อความที่แชร์กัน จนไปหาซื้อแคปซูลฟ้าทะลายโจรมากินเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งอาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพได้ ถ้ากินต่อเนื่องยาวนาน หรือกินเป็นปริมาณมาก ... ที่พอจะมีประโยชน์ คือเตรียมไว้ใช้เมื่อเป็นโรคโควิดแล้ว กินเพื่อบรรเทาอาการป่วยไข้ครับ
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข 在 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก | Nonthaburi 的推薦與評價
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, นนทบุรี. ถูกใจ 89852 คน · 1560 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้ · 4106 คนเคยมาที่นี่. รู้จัก เชื่อมั่น ชอบ และ ใช้ สมุนไพรไทย. ... <看更多>