“โรงพยาบาลศิริน อบอุ่นเหมือนบ้าน ดูแล รักษาใกล้ชิดเหมือนคนในครอบครัว” 🏩👩🏻⚕️✨👨👩👧👦💕 >> Serene Hospital Thailand << ที่นี่ดูแลรักษาผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ใครมีเคสผู้ป่วยในกลุ่มนี้อยากดูแล ติดต่อไปสอบถามได้เลยค่ะ 👍🏻
#โรงพยาบาลศิริน มีห้องพักไว้บริการหลากหลายรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง โดยแยกเฉพาะให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการดูแลผู้สูงอายุค่ะ
📍 พิกัด : ซอย กรุงเทพกรีฑา 8 แยก 16 แขวง หัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
📱 063-992-6315 ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
.
.
.
#serenehospital #serenehopitalthailand #ผู้สูงอายุ #การดูแลผู้สูงอายุ #โรงพยาบาลผู้สูงอายุ #โรงพยาบาลคุณธรรม #โรงพยาบาลศิริน
https://www.instagram.com/p/CQU9629LN29/?utm_medium=copy_link
「การดูแลผู้สูงอายุ」的推薦目錄:
- 關於การดูแลผู้สูงอายุ 在 Faai Nichanun Funkaew Facebook 的精選貼文
- 關於การดูแลผู้สูงอายุ 在 Faai Nichanun Funkaew Facebook 的最佳貼文
- 關於การดูแลผู้สูงอายุ 在 Roundfinger Facebook 的最佳解答
- 關於การดูแลผู้สูงอายุ 在 10 วิธีดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ |สูงวัยใจแซ่บ | Ep 40 - YouTube 的評價
- 關於การดูแลผู้สูงอายุ 在 การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการส่งเสริมสุขภาพและนวัตกรรมการ ... 的評價
การดูแลผู้สูงอายุ 在 Faai Nichanun Funkaew Facebook 的最佳貼文
นั่งเล่นรับลมที่ >> Serene Hospital Thailand 🌿🍃#โซนนั่งเล่น ชิวเลยค่ะ ⛅️ 🏩✨
"อบอุ่นเหมือนบ้าน รักษา ดูแลใกล้ชิดเหมือนคนในครอบครัว"
📍 พิกัด : ซอย กรุงเทพกรีฑา 8 แยก 16 แขวง หัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
📱 : 063-992-6315 ติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า
#serenehospital #serenehopitalthailand #ผู้สูงอายุ #โรงพยาบาลผู้สูงอายุ #โรงพยาบาลคุณธรรม #การดูแลผู้สูงอายุ #โรงพยาบาลศิริน
การดูแลผู้สูงอายุ 在 Roundfinger Facebook 的最佳解答
"หน้ากากเปื้อนๆ ที่คุณเห็นอาจเป็นชิ้นเดียวที่เขามีอยู่"
พี่หน่อย-วรรณา แก้วชาติ จากมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัยเล่าถึงปัญหาสถานการณ์โควิดของพี่น้องในชุมชนแออัดให้ฟังว่ามีหลายแง่มุมที่ต้องการความเข้าใจและการจัดการที่ดีกว่าที่เป็นอยู่
จากที่ได้ไลฟ์สนทนากับพี่หน่อย และแฮม-จักรกฤษณ์ เต็มเปี่ยม ประธานสภาเด็กและเยาวชนเขตคลองเตย และเยาวชนเครือข่ายสลัม 4 ภาค รวมถึงปู-อนรรฆ พิทักษ์ธานิน จากแผนงานสนับสนุนองค์ความรู้ฯ คนไร้บ้าน สสส. ผมลองสรุปประเด็นสำคัญมาเล่าสู่กันฟังดังนี้ครับ
🔸️🔸️🔸️
1. การถูกรังเกียจ:
ขณะนี้เริ่มมีความรู้สึกเป็นมวลรวมที่เป็นลบต่อคนในชุมชนต่างๆ ที่เป็นข่าว และเหมารวมว่าทุกคนมีโอกาสแพร่เชื้อโควิด ทำให้หลายคนตกงาน ถูกเลิกจ้างเพียงเพราะเป็นคนในชุมชนเหล่านั้น ซึ่งพี่หน่อยเรียกร้องความเข้าใจว่า ที่จริงแล้วทุกคนมีโอกาสติดเท่าๆ กัน และคนในชุมชนก็พยายามดูแลตัวเองอย่างหนัก จึงขอความเข้าใจให้ไม่มองสมาชิกชุมชนด้วยความรังเกียจแบบเหมารวม
...
2. รายได้หดหาย:
ผลกระทบเรื่องรายได้เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ถูกเลิกจ้างเพราะกลัวติดโรค ถูกเลิกจ้างเพราะไม่มีงานให้ทำ (งานน้อยลง) ทำงานไม่ได้เพราะนโยบาย work from home ไม่ใช่ทุกคนที่จะ 'ทำงานที่บ้าน' ได้ แฮมเล่าว่าคนคลองเตยไม่ได้หาเช้ากินค่ำ แต่หาเช้ากินเช้า หาค่ำกินค่ำ คือไม่มีเงินเก็บเลย งานที่หายไปจึงกระทบชีวิตมาก
...
3. ไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน:
เมื่อไม่มีรายได้ ไม่มีเงิน แค่จะซื้อข้าวกินยังยาก การซื้ออุปกรณ์ป้องกันจึงแทบเป็นไปไม่ได้ หลายคนต้องใช้หน้ากากวนเวียนอยู่อย่างนั้น บางคนอาจมีแค่ชิ้นเดียวใส่ซ้ำๆ ไม่ใช่ว่าไม่อยากเปลี่ยนแต่ไม่มีเงินซื้อ
...
4. การเข้าถึงการรักษาทำได้ยาก:
พี่น้องในชุมชนแออัดที่ยังไม่เป็นข่าวออกมาหรือไม่มีคนช่วยประสานงานเข้าถึงการตรวจเชื้อยากมาก แฮมตั้งคำถามว่า "คนในชุมชนจะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ได้วัคซีนหรือเปล่า" เพราะปัญหาอุปสรรคนานาประการ เช่น การลงทะเบียนฉีดวัคซีนที่ต้องเข้าระบบผ่านสมาร์ทโฟนก็ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ (รัฐควรคิดให้ละเอียด คิดถึงคนทุกกลุ่ม) ยังไม่นับว่าถ้าเป็นคนไร้บ้านหรือคนที่ไม่มีบัตรประชาชนหรือทำหาย คนที่ไม่มีเลข 13 หลัก คนเหล่านี้จะกรอกข้อมูลไม่ได้เลย เขาจะได้รับวัคซีนได้อย่างไร นอกจากนั้น ขณะนี้รถตรวจน้อย หลายชุมชนต้องการตรวจเชื้อ แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้ทั่วถึง
...
5. การบริจาคและช่วยเหลือลดลง:
ระลอกล่าสุดการช่วยเหลือลดลงมาก เพราะทุกคนทุกกิจการล้วนได้รับผลกระทบหนัก แค่ตัวเองก็ไม่ไหวแล้ว การบริจาคหน้ากาก ข้าวสารอาหารแห้ง หรือตู้ปันสุขจึงไม่มากเท่าครั้งที่ผ่านๆ มา
...
6. สถานที่พักคอยขาดแคลน:
เมื่อได้รับการตรวจแล้วไม่เป็นหรือคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต้องมีสถานที่พักคอย 14 วัน ถ้าจะให้กลับบ้านไปก็เสี่ยงติดคนอื่น เพราะบ้านในชุมชนนั้นแออัดมาก (24 ตารางเมตร อยู่กัน 8 คน) แต่ขณะนี้หลายที่ไม่มีสถานที่พักคอยเพียงพอ
🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️
อยากให้ภาครัฐทำอะไรบ้าง?
1. การสื่อสารของภาครัฐยังเป็นปัญหา ความไม่ชัดเจนต่างๆ ขั้นตอนต่างๆ อยากให้ชัดเจนกว่านี้ รวมถึงการสื่อสารเพื่อให้ประชาชนนอกชุมชนเข้าใจประชาชนในชุมชนด้วย
2. รัฐควรดูแลเรื่องหน้ากาก จัดการเรื่องการกักตุนหน้ากาก ทำให้ขาดตลาด โก่งราคา ควบคุมราคาให้อยู่ในระดับที่ประชาชนซื้อหามาเองได้ รวมถึงควบคุมคุณภาพด้วย เพราะตอนนี้หน้ากากราคาถูกก็ด้อยคุณภาพ
3. จัดการปัญหาเรื่องคนไม่มีงานทำ ทุกคนอยากทำงาน ไม่ได้อยากขอเงินใคร แต่ในสถานการณ์เช่นนี้หางานยากมาก รัฐจะดูแลเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง
4. คิดถึงทุกคนให้เท่าเทียมกัน คิดถึงคนจน คนไร้บ้าน คนไม่มีบัตรประชาชนด้วย อย่างระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ก็ตัดโอกาสเข้าถึงของคนจำนวนมากไปเลย
5. ปลดล็อกเงินช่วยรายเดือนชุมชน แฮมบอกว่า ไม่เข้าใจว่าทำไมเงินรายเดือนที่ให้ชุมชนจึงออกช้าเหลือเกิน พร้อมทั้งเรียกร้องให้ผู้แทนราษฎรทำหน้าที่ของตัวเอง ซึ่งที่ผ่านมาสิ้นหวังในตัวผู้แทนมาก
🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️
แล้วประชาชนด้วยกันเองล่ะครับ?
1. ขอความเข้าใจ อย่ารังเกียจกัน อย่าตีตรากันเพียงเพราะเขาเป็นคนในชุมชนแออัด หยิบยื่นความช่วยเหลือให้กันเท่าที่จะทำได้
2. หากมีงานก็หยิบยื่นงานให้ทำ เพราะทุกคนต้องการรายได้มาดูแลตัวเองและครอบครัว เมื่อคนในชุมชนมีงาน เงินก็หมุนในชุมชนต่อไปผ่านการจับจ่าย
3. ความช่วยเหลือง่ายๆ เช่น ถ้าเห็นใครหน้ากากเก่ามาก แทนที่จะรังเกียจ ถ้าเรามีหน้ากากอีก 2-3 ชิ้นในกระเป๋าก็หยิบของเราให้เขา จะเป็นประโยชน์กับเขามาก
4. สามารถช่วยเหลือได้ตามหน่วยงานต่างๆ ที่ดูแลเรื่องนี้ เช่น มูลนิธิดวงประทีป หรือมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย (ติดต่อพี่หน่อยได้ที่ 089-455-1251) รับเป็นของเท่านั้น ไม่รับเงิน สิ่งขาดแคลนคือหน้ากากและเจลแอลกอฮอลล์ ข้าวสารอาหารแห้งและเครื่องปรุงเช่นน้ำปลา ซีอิ๊ว ฯลฯ เพื่อนำไปทำกับข้าวให้คนในชุมชนในราคาถูก หรือฟรีสำหรับคนไม่มีเงินเหลือ
🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️
ปัญหาของคนในชุมชนแออัดสะท้อนอะไรในภาพใหญ่?
1. สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้าง เห็นความเหลื่อมล้ำชัดเจน: การที่อำนาจและความเจริญกระจุกตัวที่เมือง ทำให้คนต้องมากระจุุกกันมาอยู่กันอย่างแออัดเพื่อทำงาน แต่ในขณะที่คน 8 คนใช้ชีวิตเบียดเสียดในห้องเล็กๆ ก็มีคนที่อยู่คอนโดห้องละ 100 ล้าน เช่นกันกับคนจนไม่มีที่ทำกิน แต่เศรษฐีมีที่ดินเป็นหมื่นไร่ สิ่งเหล่านี้สะท้อนปัญหาว่าประเทศของเราไม่ให้ความสำคัญกับการเกลี่ยความเท่าเทียมให้ผู้คนในสังคม มีคนได้เปรียบต่อเนื่อง และคนเสียเปรียบก็ยากจะโงหัวขึ้นมาได้
...
2. ควรมีการกระจายการถือครองที่ดิน: ให้คนจนได้มีที่ดินทำกิน รวมถึงกระจายความเจริญและโอกาสไปยังจังหวัดต่างๆ ไม่ต้องมากระจุกตัวกันแต่ในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่เท่านั้น
...
3. ดูแลเรื่องราคาผลผลิตการเกษตร: ให้ราคาสมเหตุสมผล เพื่อเป็นทางเลือกในการทำงานให้คนในภาคเกษตร ไม่ต้องไหลเข้าสู่เมืองกันมากมาย
...
4. สวัสดิการการศึกษา: พี่หน่อยถามว่า เด็กๆ จะเรียนนี่ไม่ต้องกู้กยศ.ได้ไหม ถ้าการศึกษาสำคัญ รัฐก็น่าจัดงบประมาณให้เด็กเรียนฟรีถึงระดับที่จำเป็น มีคุณภาพที่ดีทัดเทียมกัน แฮมเน้นเรื่องความเท่าเทียมของคุณภาพ เพราะโรงเรียนแต่ละโรงเรียนมาตรฐานต่างกันมาก บางทีในชั้นเดียวกัน ขณะที่แฮมเรียนวิชาเดียวกันเล่ม 1 แต่เพื่อนต่างโรงเรียนเกือบจบเล่ม 2 แล้ว การศึกษาคือปัจจัยในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ถ้ามีความเหลื่อมล้ำก็จะทำให้คนได้เปรียบก็ได้เปรียบวันยันค่ำ
...
5. การดูแลผู้สูงอายุ: รัฐควรให้สวัสดิการดูแลอย่างเต็มที่ เพราะเขาก็ทำหน้าที่มาตลอดชีวิต ช่วยลดภาระลูกหลานที่จะต้องมาดูแลในยามแก่ชรา ลองคิดถึงคนจนที่ต้องดูแลพ่อแม่แก่เฒ่าด้วย เป็นชีวิตที่ไม่ง่ายเลย
...
6. มีพื้นที่ให้พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอย: การจัดการจากภาครัฐมักออกมาในรูปแบบของการไล่ที่ รื้อแผง ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบร้อย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือพวกเขาไม่มีที่ทำกิน ควรมีการจัดพื้นที่ให้เขาได้ทำมาหากินให้เป็นระบบระเบียบแทนที่จะไล่ที่เท่านั้น
...
7. เห็นคนเป็นคนเหมือนกัน: ให้ความสำคัญกับคนในสถานะต่างๆ เท่าเทียมกัน ไม่ดูแลใครเป็นพิเศษ หรือคนที่ฐานะดี หน้าที่การงานดีอย่างเดียว คิดถึงชีวิตจริงของคนทุกกลุ่มว่านโยบายที่ออกมาเขาสามารถปฏิบัติตามได้จริงไหม เช่น เรื่องลงทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ work from home ก็กระทบคนแต่ละกลุ่มต่างกัน
🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️🔸️
ปูบอกว่า วิกฤตโควิดน่าจะทำให้เราเห็นว่าทุกชีวิตในเมืองเชื่อมโยงกัน เราได้เห็นว่าคนที่คลองเตยติดเชื้อเพราะทำงานที่ทองหล่อ มันไม่มีเส้นแบ่งระหว่างรวย-จน เราอยู่ในสังคมเดียวกัน ผลกระทบมันไปถึงกันหมด ก็เหมือนเรื่องอื่นๆ ในสังคม ก็คาดว่าเราจะมองเห็นความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ได้เห็นคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกัน ได้เห็นสภาพชีวิตของคนในชุมชนมากขึ้น
ผมนั่งฟังทั้งสามท่านบอกเล่าเรื่องราวที่เต็มไปด้วยความรู้สึกก็คิดว่า สังคมจะรอดได้เมื่อเราคิดถึงเพื่อนร่วมสังคมมากกว่าที่เป็นอยู่ ตอนนี้ชีวิตแต่ละกลุ่มเหมือนแยกขาดจากกัน ทุกข์ของคนกลุ่มหนึ่งไม่ค่อยอยู่ในสายตาคนอีกกลุ่มหนึ่ง คนชั้นกลางอาจรู้สึกหงุดหงิดใจและลำบากกับโควิดมาก แต่เมื่อฟังปัญหาจากพี่น้องชุมชนแออัดหรือคนไร้บ้านก็ตระหนักเลยว่าหนักหนากว่ามากมายนัก
ไม่เพียงแค่เรื่องโควิดเท่านั้น แต่ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ฝังรากมานาน เชื่อมโยงกับระบบอุปถัมภ์ที่สร้างความไม่เท่าเทียม ระบบเกื้อกูลนายทุนใหญ่ การเมืองที่ไม่เป็นธรรม คอร์รัปชั่น การไม่เชื่อมโยงกับประชาชน สิ่งเหล่านี้เป็นเชื้อร้ายไม่แพ้ไวรัส
เราสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงและแก้ปัญหาเหล่านี้ได้เมื่อร่วมรับรู้ทุกข์สุขของเพื่อนๆ ในสังคม แก้ทั้งปัญหาเฉพาะหน้าและแก้ภาพใหญ่ในระยะยาว การที่เมืองไทยติดอันดับประเทศเหลื่อมล้ำสูงสุดเป็นอันดับต้นๆ นับเป็นเรื่องน่าเศร้า แต่ที่น่าเศร้ากว่านั้นคือเราไม่เห็นแนวโน้มใดๆ ที่จะลดความเหลื่อมล้ำในสังคมลงเลย
⭐ สำหรับใครที่ต้องการช่วยเหลือพี่น้องในชุมชนต่างๆ สามารถติดต่อที่มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย (เบอร์โทรพี่หน่อย 089-455-1251) และฝากแชร์กันต่อไปเผื่อใครอยากช่วยเหลือกันอีก ⭐
ขอบคุณพี่หน่อย แฮม และปูมากๆ นะครับที่ร่วมสนทนาและบอกเล่าปัญหาให้ฟัง ขอให้สุขภาพแข็งแรงๆ กันทุกคนครับ
การดูแลผู้สูงอายุ 在 การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการส่งเสริมสุขภาพและนวัตกรรมการ ... 的推薦與評價
ตกรรมการ ดูแลผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2 The 2nd National Health Promotion and Elderly Care Innovation Conference 2022 “เสริมสร้างสุขภาพสูงวัย ... <看更多>
การดูแลผู้สูงอายุ 在 10 วิธีดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ |สูงวัยใจแซ่บ | Ep 40 - YouTube 的推薦與評價
10 วิธีดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ | สูงวัยใจแซ่บ | Ep 40 การดูแลผู้สูงอายุ เป็นเรื่องสำคัญ แต่หลายคนมักจะให้ความสำคัญกับการดูแลทางด้านร่างกาย ... ... <看更多>