ท้องผูกช่วงคีโต
บางคนกินเข้าไปเท่าไหร่ก็ถ่ายไม่ออก โดยเฉพาะคนที่กินอาหารแบบคีโตเจนิคไดเอ็ท ดังนั้นเพื่อความเข้าใจ กินให้ถูก การขับถ่ายควรเป็นไปอย่างปกติ คือวันละ 1-2 ครั้ง มากกว่ายิ่งดี เพราะร่างกายจะสร้างน้ำดีใหม่เพิ่มขึ้น และขับคอเรสเตอรอลออกไปจากร่างกายได้ดีขึ้น
ร่างกายของเรา ถูกสร้างมาเป็นระบบอัตโนมัติ หากเรากินสารอาหารครบถ้วน แบบไม่มโนไปเอง พร้อมทั้งการพักผ่อนที่เพียงพอ ไม่เครียด ระบบการย่อยอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันก็จะดีไปด้วย
ระบบทางเดินอาหารของเรา จะเป็นระบบเฉพาะที่ควบคุมโดย Enteric Nervous System ที่อยู่ตามผนังทางเดินอาหาร มีเซลประสาทรวมๆกัน
ถึง 1 ล้านเซล
การขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายก็เป็นกระบวนการหนึ่งในระบบทางเดินอาหาร โดยเริ่มจากกากอาหารเคลื่อนตัวเป็นทอดๆ ผ่านการบีบตัวของลำไส้ จนรู้สึกปวดท้องและอยากถ่าย
สุขภาพการขับถ่ายปกติ เป็นอย่างไร
1.อุจจาระที่ดี ก้อนโตยาว ไม่ขาดตอน ผิวเรียบ
ไม่มีมูกฉาบ หรือไขมันออกมาเป็นหยด สีเหลือง นวลปนเขียว หรืออ่อน ตามสภาพอาหารที่ทานเข้าไป กลิ่นไม่เหม็นมาก ไม่มีสีดำ หรือแดงปนหรือสีซีดเกินไป ขับถ่ายทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง
ไม่ต้องเบ่งออกแรง หรือใช้เวลาเบ่งนาน
ไม่เจ็บ ปวด แสบ ขณะถ่าย ยกเว้นกินพริกมากเกินไป ไม่ถ่ายเป็นน้ำ หรือเป็นเม็ดเล็กๆ เหมือนเม็ดน้อยหน่าไม่มีท้องอืดหรือปวดเกร็งบริเวณท้องบ่อย
หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น
แสดงว่าคุณกำลังท้องผูกแล้วค่ะ
ควรปรับแก้การกินแบบใหม่และเปลี่ยนนิสัย
ก่อนจะสายเกินไปให้ลองสังเกตตัวเอง
1.กินอาหารที่มีกากใยถึงไหม?
เพื่อให้กากใยเหล่านี้ดูดซับสารพิษในร่างกาย
รวมทั้งดูดซับคอเรสเตอรอล เป็นการลด LDL
เพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่ดี
เพราะกากใยจะเป็นพรีไบโอติก
อาหารสำหรับจุลินทรีย์ฝ่ายดีให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น รวมทั้งลดการหดเกร็งของลำไส้ แหล่งพรีไบโอติก ที่ดีก็ได้แก่ ผักใบเขียว แป้งทนการย่อย
อินนูลิน แต่ทั้งนี้ก็ต้องระวังเรื่องคาร์โบไฮเดรตจากผักบางชนิด ที่เป็นรูปแบบหัวใต้ดิน เพราะจะมีน้ำตาลและแป้งสูง หรือผักบางชนิดที่อาจทำให้ท้องอืดได้ เช่น กระหล่ำดอก บล๊อกเคอรี่ ผักกาดขาว กระหล่ำปลี
2.ดื่มน้ำเพียงพอหรือไม่?
น้ำเป็นปัจจัยสำคัญของร่างกาย
ทำให้การขับถ่ายคล่องตัว อย่างน้อยเราควรดื่มน้ำให้เพียงพอ 4-5 ลิตรในผู้ชาย และ 3-4 ลิตรในผู้หญิง หรือกินให้พอเหมาะ ให้จิบทั้งวัน
ไม่ใช่ดื่มรวดเดียว
3.ทานอาหารที่มีโพรไบโอนิคเพียงพอหรือไม่
การมีจุลินทรีย์ตัวดีในลำไส้ นอกจากเป็นการปกป้องลำไส้แล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างสารสำคัญ เอ็นไซม์หลายชนิดที่เป็นประโยชน์ในการย่อย
ดูดซึมสารอาหารได้ดี มีการหมุนเวียนของน้ำดี และเกิดการสร้างน้ำดีใหม่ในตับ ช่วยลดนิ่วในถุงน้ำดี แหล่งโปรไบโอนิคธรรมชาติที่ดี ได้แก่โยเกิร์ตรสธรรมชาติ ไม่ใส่น้ำตาล กิมจิ ผักดอง คีเฟอร์ คอมบูชาในปริมาณที่เหมาะสม
ผักดอง กรีกโยเกิร์ต คีเฟอร์ 50-100 กรัมต่อวัน คอมบูชา 30-50 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ข้อสำคัญ
ควรเลือกจากแหล่งผลิตที่สะอาด สดใหม่ คุณภาพของจุลินทรีย์ที่ดี อย่าทานมาก จะระบายท้องมากเกินไป
4.การทำ IF นานเกินไปหรือเปล่า?
เพราะเมื่อทำ IF นาน ทำให้ไม่มีอาหารตกสู่กระเพาะ ลำไส้ ไม่เกิดกระบวนการกระตุ้นการเคลื่อนตัวของอาหาร เลยทำให้การขับถ่ายเกิดขึ้นช้าลง
โดยเฉพาะคนที่ท้องผูกอยู่แล้ว ไม่ควรทาน 1 มื้อ ทุกวัน แต่ให้กินสลับกันไปมา ทำ IF เพียงสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งก็เพียงพอ หรืออาทิตย์ละครั้ง
5.กินเกลือแร่ 3 ชนิดครบหรือไม่
- โซเดียม 5,000 มิลลิกรัม มีในเกลือแกงธรรมดา
ก็กินให้เค็มขึ้น
- โพแทสเซียม 1,000 มิลลิกรัม
มีในเกลือโลว์โซเดียม เอามาใช้ทำอาหาร
- แมกนีเซียม 300 มิลลิกรัม
ถ้าหาได้ก็กินเสริม บางครั้งการที่ร่างกายกำลังปรับตัวมาใช้ไขมัน ทำให้เซลล์เริ่มปล่อยน้ำออกมาจำนวนมาก (น้ำหนักจะลดช่วงแรก) ร่างกายยิ่งขาดเกลือแร่และน้ำมากขึ้น ดังนั้นการเติมเกลือชมพู
หิมาลายัน ผสมกับ ACV ช่วยปรับสมดุลย์ความเป็นกรดด่างในเลือด ทดแทนส่วนที่สูญเสีย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันตะคริวแล้ว ลดความหิวน้ำได้ แถมลดอาการคีโตฟลูด้วยค่ะ
กิมจิ โซเดียม 在 EP. 57 | กิมจิสูตรโลว์โซเดียม #คนลดน้ำหนักกินได้อย่างสบายใจ ... 的推薦與評價
กิมจิ เป็นอาหารเกาหลี ที่มีมากกว่า 187 ชนิด วันนี้ออสการ์ทำกิมจิผักกาดขาว (โลว์โซเดียม)ปรับสูตรให้เหมาะกับคนลดและคุมน้ำหนัก #เมนูลดน้ำหนัก ... ... <看更多>
กิมจิ โซเดียม 在 กิมจิ กินดีไม่ดียังไง มาดูกัน... - เมื่อวานนี้ทานอะไร? | Facebook 的推薦與評價
กิมจิ เป็นอาหารหมวดผักหมักดอง ซึ่งมีแบคทีเรียเป็นส่วนประกอบแน่นอน โดยจะเป็นกลุ่ม Lactic acid bacteria ... กิมจิ จัดเป็นผักดอง แล้วโซเดียมล่ะ? ... <看更多>