พาลูกเที่ยว #ลองเล่นเรียนรู้ ครั้งที่1
EP.2 ตอน โลกของสัตว์น้ำและการอนุรักษ์
พืช และ สัตว์น้ำ หลายอย่างกำลังจะสูญพันธุ์
.
.
วันนี้ พ่อต่อ และน้องบอลลูน ชวนเพื่อนๆแฟนเพจ
มาดูปลาด้วยกัน เด็กๆตื่นเต้น บางบ้านตื่นตั้งแต่เช้า
มาถึงกระโดด วิ่งเล่น ผมได้เห็นรอยยิ้ม
เสียงกรีดร้อง และเสียงหัวเราะ มีความสุขมากๆครับ
.
.
ผมขอขอบคุณ ครู อาจารย์ นักศึกษา
คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตร บางเขน
ที่ให้โอกาสเด็กๆ ได้มา เที่ยว #ลองเล่นเรียนรู้
.
.
ขอบคุณ แฟนเพจ ทุกๆท่านที่สละเวลาอันมีค่า
พาเด็กๆ มา #ลองเล่นเรียนรู้ เป็นเพื่อนน้องบอลลูน
.
.
7/04/64
#ผู้ชายเลี้ยงลูก #พาลูกเที่ยว #ลองเล่นเรียนรู้ EP.2
#พ่อต่อ #น้องบอลลูน 🐳🐠🐬🐟🦐🦑🐙🦀
#ชอบปลาชุม #คณะประมง #เกษตรบางเขน
คณะประมง 在 Facebook 的最讚貼文
พาลูกเที่ยว ลองเล่นเรียนรู้ EP.2
ตอน โลกของสัตว์น้ำและการอนุรักษ์
คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตร (บางเขน)
9.00-10.30 น. ผมจะพาลูกไป เลยชวนเพื่อนๆไปด้วย
.
.
วันที่ 7 เมษายน 2564
8.30 ลงทะเบียน
9.00 แนะนำสถานที่และครูผู้เชี่ยวชาญ
9.15 เริ่มกิจกรรม เรียนรู้เรื่องปลาและการอนุรักษ์
9.45 ระบายสีปลา
10.15 สรุปการเรียนรู้ครั้งนี้
10.30 แยกย้ายกลับบ้าน
📍เด็กอายุ 2-4 ขวบ
📍ลงทะเบียนเด็กคนละ 100 บาท ผู้ใหญ่ฟรี
📍รับ 20 ครอบครัว เท่านั้น
🐠เพื่อนๆที่สนใจ จองใต้โพสต์นี้เท่านั้น🐳
✅แจ้งชื่อน้อง อายุ
✅จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ เพื่อ CF
✅แคปหน้าจอCF เก็บไว้แสดงในวันงาน
น้องบอลลูนอายุ 2 ขวบ 7 เดือน ป่วนสุดๆ
#ผู้ชายเลี้ยงลูก #พาลูกเที่ยว #ลองเล่นเรียนรู้
#คณะประมงมหาวิทยาลัยเกษตร #พ่อต่อ #น้องบอลลูน
คณะประมง 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的精選貼文
มีคำถามเกี่ยวกับ "ปลาหมึกที่ไปกินในร้านหมูจุ่ม" มาว่า เขาสงสัยว่ามันคืออะไรที่อยู่ในเนื้อปลาหมึก
เนื่องจากคำถามเขาไม่ค่อยเคลียร์ เลยเดาว่าเขาน่าจะสงสัยพวกที่เป็นจุดๆ สีออกเหลืองๆ เป็นเนื้อปลาหมึกนั้น
ซึ่งก็น่าจะเป็นร่องรอยของ photophore หรืออวัยวะที่ใช้ในการเรืองแสง ของพวกหมึกยักษ์น้ำทะเลลึก ซึ่งบ้านเราหลังๆ สั่งนำเข้าแช่เย็นมาจากต่างประเทศ และหาซื้อได้ตามพวก supermarket
อวัยวะ photophore นี้ จะอยู่ใต้ชั้นหนังหนาๆ ของหมึก และพอลอกชั้นหนังออก เพื่อประกอบอาหาร ก็จะเห็น ... ไม่ได้อันตรายอะไร เพียงแค่ขูดออกให้หมดก่อนจะนำมาประกอบอาหาร ก็ใช้ได้แล้วครับ
-----------------
ลองอ่านรายละเอียดจากที่เคยเขียนโพสต์ไว้นะครับ
(จาก https://m.facebook.com/OhISeebyAjarnJess/posts/1013632455786474)
"จุดเหลือง ใต้หนังหมึกยักษ์ไม่ใช่พยาธิใบไม้นะครับ แต่เป็นอวัยวะเรืองแสง"
มีแม่บ้านท่านหนึ่งไปโพสต์เฟสบุ้ค ในกลุ่มทำอาหารว่า "มีใครรู้บ้างว่ามันคืออะไร สีเหลืองๆ รีๆ อยู่ใต้หนังของปลาหมึกยักษ์ พอลอกเอาออกจะเป็นรูๆ เหมือนมันกินเนื้อไปแล้ว ก่อนที่ยังไม่ได้ลอกหนังออก มันเรืองแสงสีส้มๆ"
ก็มีคนมาช่วยกันคิดไป เดาไปต่างๆ นาๆ จนมีคนเสนอว่า เป็นพยาธิใบไม้ในปลา แล้วสื่อบางสำนักก็รีบเอาไปขยายอย่างรวดเร็วทำให้คนตกใจกันใหญ่ ... ไม่ใช่นะครับ มันไม่ใช่พยาธิ อย่างที่เป็นข่าวกัน !!
1. บางคนเข้าใจว่า เจ้าของรูปภาพนี้เอาขนมถั่วแปบ มาแปะบนเนื้อหนึกยักษ์ เพื่อปั่นกระแสแกล้งคน แต่เจ้าตัวเขายืนยันว่าเจอมาจริงๆ ... แล้วก็เคยมีรายงานลักษณะของจุดสีเหลืองที่อยู่ใต้หนังหมึกยักษ์นี้ มาก่อนหลายครั้งแล้ว ทั้งในไทย (เช่น https://m.pantip.com/topic/39872419?) และต่างประเทศ (เช่น https://sdfish.com/forums/t/yelow-spots-in-squid.38954/) โดยเฉพาะของต่างประเทศนั้น มักจะบอกว่ามาจากหมึกฮัมโบลด์ ที่จับในประเทศแถบอเมริกาใต้ แต่ไม่มีคำอธิบายชัดเจนว่าคืออะไร
2. ที่บางคนไปคิดว่าเป็น Clinostomum marginatum พยาธิใบไม้ในปลา หรือ yellow grub นั้น แม้ว่าจะดูเป็นเม็ดสีเหลืองๆ อยู่ที่ใต้เกล็ดของปลา แต่มันเป็นปรสิตของปลาน้ำจืด ไม่ใช่ของหมึกยักษ์ที่อยู่ในทะเล จึงตัดทิ้งได้เลย (ดู https://en.m.wikipedia.org/wiki/Clinostomum_marginatum)
3. ผมได้ปรึกษากับ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ผู้เชี่ยวชาญด้านหมึกและหอยของทางจุฬาฯ ว่า เม็ดสีเหลืองๆ นี้จะเป็นปรสิตชนิดไหนของหมึกยักษ์หรือเปล่า ? อาจารย์ก็บอกว่าไม่น่าใช่ ปรสิตของหมึกมักจะอยู่ในบริเวณช่องท้อง (ช่อง coelom) ของมัน ไม่ใช่ที่ใต้ผิวหนังแบบนี้ และถ้าคิดว่าเป็นปรสิตชนิด crustacean (พวดเห็บทะเล) มาเกาะที่หนัง จากรูปก็ไม่ได้เห็นว่าจะมีระยางค์ยื่นออกมา .... แถมมันเรียงเป็นระเบียบมาก จึงน่าจะเป็นชิ้นส่วนเนื้อเยื่อของหมึกเองมากกว่า
4. ที่อาจารย์บอกว่าเป็นไปได้มากกว่า ก็คือมันอาจจะเป็นอวัยวะสำหรับการเรืองแสง "โฟโตฟอร์ photophore" ของหมึกยักษ์ ... ปรกติ พวกหมึกในน้ำลึกจะมีการเปลี่ยนแปลงสีตัวและสร้างแสงขึ้นได้ด้วยตนเอง โดยใช้โครมาโตฟอร์ chromatophore ที่เป็นถุงที่มีเม็ดสี ซึ่งอยู่บนผิวหนังด้านนอก ควบคุมโดยระบบประสาทให้ถุงหดหรือขยายอย่างรวดเร็วมากระดับนาโนวินาที แต่ในบริเวณที่น้ำลึกมืดมิด ถุงโครมาโตฟอร์หดขยายได้ไม่ดีพอ จึงมีอีกอวัยวะคือ โฟโตฟอร์ photophores ทำหน้าที่เป็นอวัยวะเรืองแสง ที่ใช้ปฏิกิริยาเคมีแบบลูมิเนสเซนส์ luminescence
5. ความเห็นนี้สอดคล้องกับที่เคยมีบทความในวารสารการประมง พ.ศ.2562 เรื่อง "อวัยวะสร้างแสงเรืองในปลาหมึก
Bioluminescence in Cephalopods" ของ สนธยา ผุยน้อย และคณะ จากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่อธิบายถึง อวัยวะสร้างแสงเรือง (photophores หรือ light organ) นี้ ที่พบแทรกอยู่ในเนื้อปลาหมึกนำเข้าจากต่างประเทศ มีลักษณะเป็นก้อนสีครีมออกขาว รูปทรงกลมและทรงรี ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสาร จึงทำให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นปรสิตที่ฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อของหมึก แต่เมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายต่ำ จะเห็นเป็นก้อนทึบแสง และเมื่อกระตุ้นด้วยสารเคมีบางชนิด จะทำให้เกิดแสงเรืองสีต่างๆ เช่น ขาว เขียว ฟ้า ชมพู หรือม่วง จากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่มีเซลล์โฟโตไซต์ (photocyte) เป็นตัวสร้าง
(ดู https://www4.fisheries.go.th/local/pic_activities/202001211609001_pic.pdf)
สรุปคือ เวลาซื้อเนื้อหมึกยักษ์จากตามห้าง ซึ่งเดี๋ยวนี้มักจะเป็นเนื้อของปลาหมึกจากต่างประเทศ แล้วเจอจุดหรือก้อนเหลืองแบบนี้แทรกอยู่ใต้ชั้นหนังแข็งด้านนอกของมัน ก็อย่าตกใจแตกตื่นกันนะครับ เป็นแค่อวัยวะที่ใช้ในการเรืองแสงของมัน สามารถกำจัดออกแล้วเอาเนื้อมาบริโภคได้ตามปกติครับ
คณะประมง 在 คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - YouTube 的推薦與評價
![影片讀取中](/images/youtube.png)
รายการเปิดประตูสู่มหาวิทยาลัย ช่วง Openhouse Onair คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกอากาศวันที่ 04/05/2559. ... <看更多>
คณะประมง 在 คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - Facebook 的推薦與評價
คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ. . +66 2 942 8894. . fish.ku.ac.th. . ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คณะประมง ... <看更多>