อะไรหนอที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้
***เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของเรื่อง***
ที่ใดมีรักที่นั่นมีเสรีภาพ
ที่ใดมีอำนาจที่นั่นไม่มีรัก
1
วินาทีแรกที่รู้สึกเป็นพวกเดียวกันคือตอนที่เพลง "ดีเกินไป" ของสไมล์บัฟฟาโล่ดังขึ้นมาในหูฟังของดิว หนังก็พาย้อนกลับไปในสมัยวัยรุ่นอีกครั้ง จากนั้นสิ่งต่างๆ ก็ค่อยๆ ห่อโลกใบนั้นหุ้มเราไว้ ตู้สติ๊กเกอร์ เพจเจอร์ Nirvana วงพราว โมเดิร์นด็อก และที่เด็ดสุดคือภาพสามมิติที่เคยนั่งจ้องกันจนตาจะถลนออกมา เหมือนได้นั่งไทม์แมชชีนกลับไปในวันวัยที่เรารักที่สุดอีกครั้ง
2
หนังมีการกำกับที่พอดีๆ ไม่ฟูมฟาย แต่ใช้รายละเอียดทางอารมณ์ของคนแตกต่างกันมาปะทะกัน ความรู้สึกเศร้า กลัว แพ้ น้อยใจ ไร้คนเข้าใจ มันค่อยๆ บ่มเพาะจากข้างใน ไม่ต้องแสดงออกมากแต่เราสัมผัสความรู้สึกของตัวละครและน้ำตาซึมไปพร้อมกับพวกเขาได้
3
หนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยเงื่อนไขยากๆ เต็มไปหมด ถ้าเล่าเรื่องย่อให้ฟังคงต้องเงยหน้าถามผู้กำกับว่าจะทำให้คนดูคล้อยตามได้จริงหรือ เช่น การกลับชาติมาเกิด และความสัมพันธ์ของครูหนุ่มกับนักเรียนม.สาม แต่สำหรับเราแล้วหนังเรื่องนี้ทำได้ และทำได้ดีมากด้วย
4
ชอบที่เรื่องราวในวัยเด็กเกิดที่หมู่บ้านเล็กๆ ที่ถ้าทำอะไรผิดก็รู้กันไปทั่ว ทำให้เห็นว่าชีวิตของเรานั้นไม่ได้เป็นของเราโดยเสรี แต่เราต้องดำเนินชีวิตตามความคาดหวังของสังคมซึ่งมักถือไม้บรรทัดคอยวัดความถูกต้องดีงามของเราอยู่เสมอ ไม้บรรทัดนั้นมักมาพร้อมอำนาจในแบบเดิมๆ ทำให้มันไม่ค่อยถูกตั้งคำถามว่าเราจะวัดความถูกต้องดีงามได้ด้วยมาตรฐานเดียวจริงหรือ
5
อำนาจในเรื่องแสดงผ่านครู หมอ และทหาร ซึ่งใช้อำนาจแห่งความรู้ ความจริงทางวิทยาศาสตร์ และกำลัง+เครื่องแบบ เพื่อตีกรอบความถูกต้องดีงามขึ้นมา และ "ตบ" ให้คนที่อยู่นอกกรอบกลับเข้ามาในกรอบ (น่าสนใจว่าถ้าในสามสถานะเหล่านี้มีเกย์หรือตุ๊ดอยู่ในนั้นด้วย เรื่องอาจซับซ้อนขึ้นอีก แต่ก็ยากเกิ๊น)
6
เมื่อมี "กรอบ" ให้ผู้คนรู้ว่าอะไรถูกต้อง คนที่อยู่นอกกรอบก็จะเป็นตัวประหลาดในสายตาของคนทั่วไป ถูกจับจ้อง จัดการ เปลี่ยนแปลง ให้กลับเข้ากรอบแห่งความดีงามหนึ่งเดียวนั้น "สายตาชาวบ้าน" จึงทำงานต่อจาก "อำนาจ" ในการตรวจตรา "ตัวประหลาด"
7
ผู้ใช้อำนาจมักเชื่อว่าตัวเองทำลงไปด้วยความหวังดี และเชื่อว่าระเบียบและ "ความปกติ" นั้นจะทำให้ทุกคนมีความสุข โดยมิค่อยได้คิดว่า "ความปกติ" ของตนไปกำจัดเสรีภาพของใครหรือเปล่า
8
เมื่อมีการใช้อำนาจย่อมมีการขัดขืนอำนาจนั้น แต่ในเมื่อไม่สามารถสู้กับอำนาจโดยตรง ก็เปลี่ยนไปเป็นการหลบซ่อน อึดอัด ปวดร้าว ถึงวันหนึ่งอาจระเบิดออกมา แต่ถ้าคิดวิธีต่อต้านอำนาจนั้นไม่ออก สิ่งที่พอทำได้คือ "หนีไปเสียจากที่นี่"
9
นั่นคือความรู้สึกว่า "ที่นี่ไม่ใช่ที่ของฉัน" ฉะนั้นฉันจะหนีไป "ที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่ที่นี่" นี่เป็นความรู้สึกของหนังและงานศิลปะจำนวนมากในยุคสมัยนี้ ซึ่งน่าสนใจว่าทำไมเป็นเช่นนั้น
10
เป็นไปได้ไหมว่า "ไม้บรรทัด" ในสังคมเราแข็งแรงและชัดเจนเสียจนไม่เปิดโอกาสให้เกณฑ์ความดีความงามความจริงของคนในแบบอื่นได้แสดงออกมา ทั้งในแง่ของเจนเนอเรชั่น เพศ ความคิดทางการเมือง ฯลฯ ซึ่งมีความหลากหลายมากไปกว่าสิ่งที่คนมีอำนาจอยากให้เป็นแค่หนึ่งเดียว
11
ครอบครัวก็เป็น "อำนาจ" อีกรูปแบบหนึ่งที่กดทับลงบนบ่า เมื่อภพทะเลาะกับพ่อจนตัดขาดพ่อลูกกัน และทุกคนในบ้านก็อยู่ข้างพ่อ ทันใดนั้นภพก็เป็น "คนไร้บ้าน" ทันที เป็นเหตุผลให้เขาต้องเดินทางไปหา "ที่ของฉัน" ที่ที่รู้สึกว่าอยู่แล้วสบายใจ ที่ที่ยอมรับเขาในแบบที่เขาเป็น (แน่นอนว่าครอบครัวคนจีนก็ยิ่งทำให้ประเด็นเรื่องเพศซีเรียสมากขึ้นไปอีก)
12
ขณะที่ดิวยังตัดสัมพันธ์กับแม่ไม่ขาด จึงมีเยื่อใยที่จะทนอยู่ต่อไปในสถานที่เดิม ยังมีบางสิ่งที่รู้สึก belong to
13
ผมดูหนังเรื่องนี้ตอนโตแล้ว ทำให้ย้อนคิดกลับไปว่าผมเคยเป็นคนหนึ่งในสมัยมัธยมที่ชอบแซวเพื่อน LGBTQ ยิ่งดูก็ยิ่งเข้าใจว่าอำนาจแห่งไม้บรรทัดนั้นมีผลต่อมุมมองของเราที่มีต่อเพื่อนร่วมสังคมมากน้อยแค่ไหน และมันไม่ใช่แค่เรื่องเพศเท่านั้นหรอก
14
และนั่นคือคุณูปการของหนังเรื่องนี้ มันทำให้เราเห็น "ข้างใน" ของคนที่เราเคยตัดสินเขาอยู่ไกลๆ โดยไม่เข้าใจอะไรเขาเลย สิ่งที่หนังเก่งมากคือสามารถทำให้เราเอาใจช่วยกรณีที่ข้ามเส้นศีลธรรมของไม้บรรทัดในใจซึ่งสร้างโดยมาตรฐานสังคมอย่างความสัมพันธ์ของครูกับศิษย์ชั้นมัธยมได้
15
ที่เราหย่อนเกณฑ์ตัดสินถูก-ผิด ดี-ชั่วลงก็เพราะเรามองเห็นเหตุผลของ "มนุษย์" สองคนที่รักกันอย่างมาก (ขนาดข้ามภพช้ามชาติ) ซึ่งเป็นความท้าทายมหึมาที่หนังพาผมก้าวข้ามไปได้ และรู้สึกเอาใจช่วยในสิ่งที่ถ้าคิดด้วยสมองคงไม่มีวันคล้อยตาม แต่หนังชวนให้เราใช้หัวใจในการมองความสัมพันธ์นี้
16
สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างดูหนังเรื่องนี้คือ ผมค่อยๆ เปลี่ยนโหมดจากการใช้ความคิดไปเป็นการใช้ความรู้สึก ค่อยๆ เปลี่ยนสถานะจาก "ผู้พิพากษา" ไปเป็น "เพื่อนมนุษย์" และได้เห็นว่าเราไม่ควรใช้ไม้บรรทัดใดๆ วางทาบลงบนชีวิตของใครอื่นที่ไม่มีวันเหมือนเรา, และมนุษย์ไม่มีวันเหมือนกัน
17
ฉากซาบซึ้งใจที่สุดคือตอนที่ครูใหญ่ประจำโรงเรียนมาพูดกับภพครั้งสุดท้ายเมื่อโดนไล่ออกจากคลิปหลุดที่ถูกถ่ายขณะกอดกับลูกศิษย์ เปล่าเลย, ผมไม่ได้น้ำตาไหลเพราะคำพูดซึ่งเป็นวรรคทองของเรื่องที่ว่า "อย่าให้บาดแผลในอดีตมาขัดขวางการเติบโตของเรา" แต่ผมร้องไห้เมื่อได้เห็น "อำนาจ" มองมาด้วยความเข้าใจ และโอบกอดคนคนนั้นอย่างยอมรับในตัวตนที่เขาเป็น, สิ่งนั้นคือ "เสรีภาพ" ของชีวิตที่ปลดล็อกปมแน่นภายในใจของ "ผู้ที่หวาดกลัวและต้องใช้ชีวิตภายใต้อำนาจ" มาโดยตลอดอย่างภพ ซึ่งเป็นภาพที่สวยงามเหลือเกิน
18
เมื่อ "อำนาจ" ไม่ใช้ไม้บรรทัดที่ตัวเองคิดว่าถูกต้องดีงามวางทาบเพื่อตัดสินคนอื่น เราอาจหาวิธีอยู่ร่วมกันได้โดยได้เรียนรู้ความสวยงามที่หลากหลายซึ่งกันและกัน เมื่อมีเสรีภาพที่จะเป็น ที่จะคิด ที่จะทำในแบบเรา "อำนาจ" ก็จะกลับมาอยู่ในตัวเราในการตัดสินใจดำเนินชีวิต และที่แห่งนั้นจะเป็นของเรา, วินาทีที่ครูใหญ่กอดภพ ผมรู้สึกว่าตรงนั้นแหละที่ภพได้เจอ "ที่ของฉัน"
19
"ที่ของเรา" จึงเป็นสถานที่ลับซุกซ่อนในหุบเขาไกลผู้คน ณ ที่แห่งนั้นเราจะได้เป็นตัวเราจริงๆ เราจะเป็นใครก็ได้ รักใครก็ได้ พูดอะไรกันก็ได้ คนเราจำเป็นต้องมีที่แบบนี้อยู่ในโลกใบนี้ และที่แบบนี้จะสมบูรณ์ที่สุดตอนที่มีอีกอย่างน้อยหนึ่งคนที่จะ "ไปด้วยกัน" คนคนนั้นเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้เราได้เป็นในแบบที่เราเป็นจริงๆ
20
ความรู้สึกไม่ belong to อาจเกิดจากความคาดหวังของคนรอบตัวอันนำมาซึ่งความกดดันในตัวเองให้ต้องเป็นไปตามที่สังคมคาดหวัง ทั้งเรื่องการใช้ชีวิต ความสำเร็จ ตัวตน ฯลฯ หันไปทางไหนก็เจอแต่ "ไม้บรรทัด" ไม่มี "พื้นที่ปลอดภัย" ให้เราได้เป็นอย่างใจเลย เราอยู่ภายใต้ "อำนาจ" ที่มาในรูปแบบความคาดหวังให้เราเป็นนู่นนี่ตลอดเวลา เราเก็บความรู้สึกต่อต้านไว้ภายใน ปวดร้าว ไม่มีคนเข้าใจ สุดท้ายก็กลายเป็นบาดแผลเรื้อรังนำมาซึ่งโรคร้ายของจิตใจ
21
"ดิว, ไปด้วยกันนะ" พาเราเที่ยวท่องไปในหัวใจของตัวละครสองคนที่เสาะแสวงหาพื้นที่ปลอดภัยที่จะได้เป็นตัวเอง ขณะเดียวกันมันก็พาเราเข้าไปสำรวจหัวใจของเราที่โหยหาพื้นที่นั้นเช่นกัน
22
อะไรทำให้เราลุ่มหลง "ความรัก" กันมากมายขนาดนั้น ถึงที่สุดแล้ว "ความรัก" มันคือการยอมรับ เข้าใจ และให้อภัยในทุกสิ่งที่อีกคนหนึ่งเป็น มันคือ "บ้านของหัวใจ" ที่ให้เรากลับไปพำนักได้ทุกเมื่อในวันที่โลกทั้งใบไม่เข้าใจหรือกระทั่งเกลียดชังเรา
23
เราจึงหลงรัก "ความรัก" เราจึงต้องการมันอย่างโหยหา เพราะต่อหน้าคนที่รักเราเท่านั้นที่เราจะรู้สึกได้ถึงเสรีภาพแห่งชีวิตอย่างแท้จริง
24
หากเราจะรักเพื่อนมนุษย์ สิ่งที่ทำได้คือหัก "ไม้บรรทัด" ส่วนตัวในใจของตัวเองเสียเถิด เลิกหยิบไม้บรรทัดไปเที่ยวตัดสินคนอื่นว่าควรทำตัวอย่างไร ดำเนินชีวิตอย่างไร เพราะทุกครั้งที่ทำเช่นนั้น เรากำลังทำให้คนคนนั้นเป็นทุกข์และกดดัน โดยเราอาจไม่รู้ตัวเลยว่าที่เราชอบตัดสินคนอื่นก็เพราะเราโดนตัดสินมาทั้งชีวิต เมื่ออยู่ในสถานะที่มีอำนาจมากกว่าเราจึงตัดสินพิพากษาคนอื่นบ้าง และที่ใดมีการตัดสินจากไม้บรรทัดส่วนตัว ที่แห่งนั้นไม่มีความรัก
25
การโดดสะพานลงไปโดยไม่รู้ว่า "ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร" ของภพและหลิวในตอนท้ายเรื่องคือสิ่งสะท้อนความรู้สึก "ไม่มีที่ไป" ในโลกไร้รักจากคนรอบข้าง "ขอแค่ได้ไปจากที่นี่" คือความรู้สึกของคนที่มองไม่เห็นว่าจะสร้างความรักให้เกิดขึ้นได้อย่างไรอีก นั่นเป็นความเศร้าขั้นสุดในโลกมนุษย์ที่ชอบตัดสินพิพากษาด้วยความถูกต้องดีงามตามที่ตนเห็นว่าดี โดยไม่เปิดพื้นที่ให้เสรีภาพและความรักในหัวใจ
26
การโดดบันจี้จั๊มพ์โดยปลดล็อกอุปกรณ์เกี่ยวข้อเท้าแล้วทิ้งตัวลงสู่อากาศว่างเปล่าเบื้องล่างนั้นไม่ต่างจากสัญลักษณ์ของการปลดตัวเองออกจาก "อุปกรณ์เซฟตี้" ที่สังคมสร้างขึ้นมาว่า ถ้าเป็นแบบนี้จะปลอดภัย แต่ทั้งคู่เลือกแล้วว่าพอกันทีกับ "ความปลอดภัยที่ไม่ได้เป็นในสิ่งที่ฉันเป็น" ความปลอดภัยที่ไม่มีความรัก ว่าแล้วก็ปล่อยตัวเองร่วงหล่นไปสู่ชะตากรรมปลายเปิดอย่างเสรี กับอนาคตที่มิอาจล่วงรู้
27
ว่าแต่, การจะมีเสรีภาพ เราต้องแลกด้วยชีวิตเลยหรือ?
...
#ดิวไปด้วยกันนะ
「ความรู้สึกเศร้า」的推薦目錄:
- 關於ความรู้สึกเศร้า 在 Roundfinger Facebook 的精選貼文
- 關於ความรู้สึกเศร้า 在 Roundfinger Facebook 的最佳貼文
- 關於ความรู้สึกเศร้า 在 หมอประเวช ตันติพิวัฒนสกุล Facebook 的最佳解答
- 關於ความรู้สึกเศร้า 在 ความรู้สึกเศร้า แบบไม่รู้สาเหตุ - YouTube 的評價
- 關於ความรู้สึกเศร้า 在 Raksa - ความเศร้าที่เผชิญอยู่มันคืออะไร : อารมณ์เศร้า ภาวะซึมเศร้า ... 的評價
ความรู้สึกเศร้า 在 Roundfinger Facebook 的最佳貼文
อะไรหนอที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้
***เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของเรื่อง***
ที่ใดมีรักที่นั่นมีเสรีภาพ
ที่ใดมีอำนาจที่นั่นไม่มีรัก
1
วินาทีแรกที่รู้สึกเป็นพวกเดียวกันคือตอนที่เพลง "ดีเกินไป" ของสไมล์บัฟฟาโล่ดังขึ้นมาในหูฟังของดิว หนังก็พาย้อนกลับไปในสมัยวัยรุ่นอีกครั้ง จากนั้นสิ่งต่างๆ ก็ค่อยๆ ห่อโลกใบนั้นหุ้มเราไว้ ตู้สติ๊กเกอร์ เพจเจอร์ Nirvana วงพราว โมเดิร์นด็อก และที่เด็ดสุดคือภาพสามมิติที่เคยนั่งจ้องกันจนตาจะถลนออกมา เหมือนได้นั่งไทม์แมชชีนกลับไปในวันวัยที่เรารักที่สุดอีกครั้ง
2
หนังมีการกำกับที่พอดีๆ ไม่ฟูมฟาย แต่ใช้รายละเอียดทางอารมณ์ของคนแตกต่างกันมาปะทะกัน ความรู้สึกเศร้า กลัว แพ้ น้อยใจ ไร้คนเข้าใจ มันค่อยๆ บ่มเพาะจากข้างใน ไม่ต้องแสดงออกมากแต่เราสัมผัสความรู้สึกของตัวละครและน้ำตาซึมไปพร้อมกับพวกเขาได้
3
หนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยเงื่อนไขยากๆ เต็มไปหมด ถ้าเล่าเรื่องย่อให้ฟังคงต้องเงยหน้าถามผู้กำกับว่าจะทำให้คนดูคล้อยตามได้จริงหรือ เช่น การกลับชาติมาเกิด และความสัมพันธ์ของครูหนุ่มกับนักเรียนม.สาม แต่สำหรับเราแล้วหนังเรื่องนี้ทำได้ และทำได้ดีมากด้วย
4
ชอบที่เรื่องราวในวัยเด็กเกิดที่หมู่บ้านเล็กๆ ที่ถ้าทำอะไรผิดก็รู้กันไปทั่ว ทำให้เห็นว่าชีวิตของเรานั้นไม่ได้เป็นของเราโดยเสรี แต่เราต้องดำเนินชีวิตตามความคาดหวังของสังคมซึ่งมักถือไม้บรรทัดคอยวัดความถูกต้องดีงามของเราอยู่เสมอ ไม้บรรทัดนั้นมักมาพร้อมอำนาจในแบบเดิมๆ ทำให้มันไม่ค่อยถูกตั้งคำถามว่าเราจะวัดความถูกต้องดีงามได้ด้วยมาตรฐานเดียวจริงหรือ
5
อำนาจในเรื่องแสดงผ่านครู หมอ และทหาร ซึ่งใช้อำนาจแห่งความรู้ ความจริงทางวิทยาศาสตร์ และกำลัง+เครื่องแบบ เพื่อตีกรอบความถูกต้องดีงามขึ้นมา และ "ตบ" ให้คนที่อยู่นอกกรอบกลับเข้ามาในกรอบ (น่าสนใจว่าถ้าในสามสถานะเหล่านี้มีเกย์หรือตุ๊ดอยู่ในนั้นด้วย เรื่องอาจซับซ้อนขึ้นอีก แต่ก็ยากเกิ๊น)
6
เมื่อมี "กรอบ" ให้ผู้คนรู้ว่าอะไรถูกต้อง คนที่อยู่นอกกรอบก็จะเป็นตัวประหลาดในสายตาของคนทั่วไป ถูกจับจ้อง จัดการ เปลี่ยนแปลง ให้กลับเข้ากรอบแห่งความดีงามหนึ่งเดียวนั้น "สายตาชาวบ้าน" จึงทำงานต่อจาก "อำนาจ" ในการตรวจตรา "ตัวประหลาด"
7
ผู้ใช้อำนาจมักเชื่อว่าตัวเองทำลงไปด้วยความหวังดี และเชื่อว่าระเบียบและ "ความปกติ" นั้นจะทำให้ทุกคนมีความสุข โดยมิค่อยได้คิดว่า "ความปกติ" ของตนไปกำจัดเสรีภาพของใครหรือเปล่า
8
เมื่อมีการใช้อำนาจย่อมมีการขัดขืนอำนาจนั้น แต่ในเมื่อไม่สามารถสู้กับอำนาจโดยตรง ก็เปลี่ยนไปเป็นการหลบซ่อน อึดอัด ปวดร้าว ถึงวันหนึ่งอาจระเบิดออกมา แต่ถ้าคิดวิธีต่อต้านอำนาจนั้นไม่ออก สิ่งที่พอทำได้คือ "หนีไปเสียจากที่นี่"
9
นั่นคือความรู้สึกว่า "ที่นี่ไม่ใช่ที่ของฉัน" ฉะนั้นฉันจะหนีไป "ที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่ที่นี่" นี่เป็นความรู้สึกของหนังและงานศิลปะจำนวนมากในยุคสมัยนี้ ซึ่งน่าสนใจว่าทำไมเป็นเช่นนั้น
10
เป็นไปได้ไหมว่า "ไม้บรรทัด" ในสังคมเราแข็งแรงและชัดเจนเสียจนไม่เปิดโอกาสให้เกณฑ์ความดีความงามความจริงของคนในแบบอื่นได้แสดงออกมา ทั้งในแง่ของเจนเนอเรชั่น เพศ ความคิดทางการเมือง ฯลฯ ซึ่งมีความหลากหลายมากไปกว่าสิ่งที่คนมีอำนาจอยากให้เป็นแค่หนึ่งเดียว
11
ครอบครัวก็เป็น "อำนาจ" อีกรูปแบบหนึ่งที่กดทับลงบนบ่า เมื่อภพทะเลาะกับพ่อจนตัดขาดพ่อลูกกัน และทุกคนในบ้านก็อยู่ข้างพ่อ ทันใดนั้นภพก็เป็น "คนไร้บ้าน" ทันที เป็นเหตุผลให้เขาต้องเดินทางไปหา "ที่ของฉัน" ที่ที่รู้สึกว่าอยู่แล้วสบายใจ ที่ที่ยอมรับเขาในแบบที่เขาเป็น (แน่นอนว่าครอบครัวคนจีนก็ยิ่งทำให้ประเด็นเรื่องเพศซีเรียสมากขึ้นไปอีก)
12
ขณะที่ดิวยังตัดสัมพันธ์กับแม่ไม่ขาด จึงมีเยื่อใยที่จะทนอยู่ต่อไปในสถานที่เดิม ยังมีบางสิ่งที่รู้สึก belong to
13
ผมดูหนังเรื่องนี้ตอนโตแล้ว ทำให้ย้อนคิดกลับไปว่าผมเคยเป็นคนหนึ่งในสมัยมัธยมที่ชอบแซวเพื่อน LGBTQ ยิ่งดูก็ยิ่งเข้าใจว่าอำนาจแห่งไม้บรรทัดนั้นมีผลต่อมุมมองของเราที่มีต่อเพื่อนร่วมสังคมมากน้อยแค่ไหน และมันไม่ใช่แค่เรื่องเพศเท่านั้นหรอก
14
และนั่นคือคุณูปการของหนังเรื่องนี้ มันทำให้เราเห็น "ข้างใน" ของคนที่เราเคยตัดสินเขาอยู่ไกลๆ โดยไม่เข้าใจอะไรเขาเลย สิ่งที่หนังเก่งมากคือสามารถทำให้เราเอาใจช่วยกรณีที่ข้ามเส้นศีลธรรมของไม้บรรทัดในใจซึ่งสร้างโดยมาตรฐานสังคมอย่างความสัมพันธ์ของครูกับศิษย์ชั้นมัธยมได้
15
ที่เราหย่อนเกณฑ์ตัดสินถูก-ผิด ดี-ชั่วลงก็เพราะเรามองเห็นเหตุผลของ "มนุษย์" สองคนที่รักกันอย่างมาก (ขนาดข้ามภพช้ามชาติ) ซึ่งเป็นความท้าทายมหึมาที่หนังพาผมก้าวข้ามไปได้ และรู้สึกเอาใจช่วยในสิ่งที่ถ้าคิดด้วยสมองคงไม่มีวันคล้อยตาม แต่หนังชวนให้เราใช้หัวใจในการมองความสัมพันธ์นี้
16
สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างดูหนังเรื่องนี้คือ ผมค่อยๆ เปลี่ยนโหมดจากการใช้ความคิดไปเป็นการใช้ความรู้สึก ค่อยๆ เปลี่ยนสถานะจาก "ผู้พิพากษา" ไปเป็น "เพื่อนมนุษย์" และได้เห็นว่าเราไม่ควรใช้ไม้บรรทัดใดๆ วางทาบลงบนชีวิตของใครอื่นที่ไม่มีวันเหมือนเรา, และมนุษย์ไม่มีวันเหมือนกัน
17
ฉากซาบซึ้งใจที่สุดคือตอนที่ครูใหญ่ประจำโรงเรียนมาพูดกับภพครั้งสุดท้ายเมื่อโดนไล่ออกจากคลิปหลุดที่ถูกถ่ายขณะกอดกับลูกศิษย์ เปล่าเลย, ผมไม่ได้น้ำตาไหลเพราะคำพูดซึ่งเป็นวรรคทองของเรื่องที่ว่า "อย่าให้บาดแผลในอดีตมาขัดขวางการเติบโตของเรา" แต่ผมร้องไห้เมื่อได้เห็น "อำนาจ" มองมาด้วยความเข้าใจ และโอบกอดคนคนนั้นอย่างยอมรับในตัวตนที่เขาเป็น, สิ่งนั้นคือ "เสรีภาพ" ของชีวิตที่ปลดล็อกปมแน่นภายในใจของ "ผู้ที่หวาดกลัวและต้องใช้ชีวิตภายใต้อำนาจ" มาโดยตลอดอย่างภพ ซึ่งเป็นภาพที่สวยงามเหลือเกิน
18
เมื่อ "อำนาจ" ไม่ใช้ไม้บรรทัดที่ตัวเองคิดว่าถูกต้องดีงามวางทาบเพื่อตัดสินคนอื่น เราอาจหาวิธีอยู่ร่วมกันได้โดยได้เรียนรู้ความสวยงามที่หลากหลายซึ่งกันและกัน เมื่อมีเสรีภาพที่จะเป็น ที่จะคิด ที่จะทำในแบบเรา "อำนาจ" ก็จะกลับมาอยู่ในตัวเราในการตัดสินใจดำเนินชีวิต และที่แห่งนั้นจะเป็นของเรา, วินาทีที่ครูใหญ่กอดภพ ผมรู้สึกว่าตรงนั้นแหละที่ภพได้เจอ "ที่ของฉัน"
19
"ที่ของเรา" จึงเป็นสถานที่ลับซุกซ่อนในหุบเขาไกลผู้คน ณ ที่แห่งนั้นเราจะได้เป็นตัวเราจริงๆ เราจะเป็นใครก็ได้ รักใครก็ได้ พูดอะไรกันก็ได้ คนเราจำเป็นต้องมีที่แบบนี้อยู่ในโลกใบนี้ และที่แบบนี้จะสมบูรณ์ที่สุดตอนที่มีอีกอย่างน้อยหนึ่งคนที่จะ "ไปด้วยกัน" คนคนนั้นเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้เราได้เป็นในแบบที่เราเป็นจริงๆ
20
ความรู้สึกไม่ belong to อาจเกิดจากความคาดหวังของคนรอบตัวอันนำมาซึ่งความกดดันในตัวเองให้ต้องเป็นไปตามที่สังคมคาดหวัง ทั้งเรื่องการใช้ชีวิต ความสำเร็จ ตัวตน ฯลฯ หันไปทางไหนก็เจอแต่ "ไม้บรรทัด" ไม่มี "พื้นที่ปลอดภัย" ให้เราได้เป็นอย่างใจเลย เราอยู่ภายใต้ "อำนาจ" ที่มาในรูปแบบความคาดหวังให้เราเป็นนู่นนี่ตลอดเวลา เราเก็บความรู้สึกต่อต้านไว้ภายใน ปวดร้าว ไม่มีคนเข้าใจ สุดท้ายก็กลายเป็นบาดแผลเรื้อรังนำมาซึ่งโรคร้ายของจิตใจ
21
"ดิว, ไปด้วยกันนะ" พาเราเที่ยวท่องไปในหัวใจของตัวละครสองคนที่เสาะแสวงหาพื้นที่ปลอดภัยที่จะได้เป็นตัวเอง ขณะเดียวกันมันก็พาเราเข้าไปสำรวจหัวใจของเราที่โหยหาพื้นที่นั้นเช่นกัน
22
อะไรทำให้เราลุ่มหลง "ความรัก" กันมากมายขนาดนั้น ถึงที่สุดแล้ว "ความรัก" มันคือการยอมรับ เข้าใจ และให้อภัยในทุกสิ่งที่อีกคนหนึ่งเป็น มันคือ "บ้านของหัวใจ" ที่ให้เรากลับไปพำนักได้ทุกเมื่อในวันที่โลกทั้งใบไม่เข้าใจหรือกระทั่งเกลียดชังเรา
23
เราจึงหลงรัก "ความรัก" เราจึงต้องการมันอย่างโหยหา เพราะต่อหน้าคนที่รักเราเท่านั้นที่เราจะรู้สึกได้ถึงเสรีภาพแห่งชีวิตอย่างแท้จริง
24
หากเราจะรักเพื่อนมนุษย์ สิ่งที่ทำได้คือหัก "ไม้บรรทัด" ส่วนตัวในใจของตัวเองเสียเถิด เลิกหยิบไม้บรรทัดไปเที่ยวตัดสินคนอื่นว่าควรทำตัวอย่างไร ดำเนินชีวิตอย่างไร เพราะทุกครั้งที่ทำเช่นนั้น เรากำลังทำให้คนคนนั้นเป็นทุกข์และกดดัน โดยเราอาจไม่รู้ตัวเลยว่าที่เราชอบตัดสินคนอื่นก็เพราะเราโดนตัดสินมาทั้งชีวิต เมื่ออยู่ในสถานะที่มีอำนาจมากกว่าเราจึงตัดสินพิพากษาคนอื่นบ้าง และที่ใดมีการตัดสินจากไม้บรรทัดส่วนตัว ที่แห่งนั้นไม่มีความรัก
25
การโดดสะพานลงไปโดยไม่รู้ว่า "ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร" ของภพและหลิวในตอนท้ายเรื่องคือสิ่งสะท้อนความรู้สึก "ไม่มีที่ไป" ในโลกไร้รักจากคนรอบข้าง "ขอแค่ได้ไปจากที่นี่" คือความรู้สึกของคนที่มองไม่เห็นว่าจะสร้างความรักให้เกิดขึ้นได้อย่างไรอีก นั่นเป็นความเศร้าขั้นสุดในโลกมนุษย์ที่ชอบตัดสินพิพากษาด้วยความถูกต้องดีงามตามที่ตนเห็นว่าดี โดยไม่เปิดพื้นที่ให้เสรีภาพและความรักในหัวใจ
26
การโดดบันจี้จั๊มพ์โดยปลดล็อกอุปกรณ์เกี่ยวข้อเท้าแล้วทิ้งตัวลงสู่อากาศว่างเปล่าเบื้องล่างนั้นไม่ต่างจากสัญลักษณ์ของการปลดตัวเองออกจาก "อุปกรณ์เซฟตี้" ที่สังคมสร้างขึ้นมาว่า ถ้าเป็นแบบนี้จะปลอดภัย แต่ทั้งคู่เลือกแล้วว่าพอกันทีกับ "ความปลอดภัยที่ไม่ได้เป็นในสิ่งที่ฉันเป็น" ความปลอดภัยที่ไม่มีความรัก ว่าแล้วก็ปล่อยตัวเองร่วงหล่นไปสู่ชะตากรรมปลายเปิดอย่างเสรี กับอนาคตที่มิอาจล่วงรู้
27
ว่าแต่, การจะมีเสรีภาพ เราต้องแลกด้วยชีวิตเลยหรือ?
...
#ดิวไปด้วยกันนะ
ความรู้สึกเศร้า 在 หมอประเวช ตันติพิวัฒนสกุล Facebook 的最佳解答
คนไทยทั่วประเทศอยู่ในช่วงของความเศร้าโศกเสียใจ
จากการเสด็จสวรรคต
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ช่วงวันแรกๆ
หลายคนยังไม่อยากเชื่อว่าเป็นความจริง
รู้สึกเหมือนฝันไป
แต่ก็ต้องตื่นมาพบว่าเป็นความจริง
เวลาผ่านมาแล้วหลายวัน
หลายคนยังรับรู้ได้ถึงอารมณ์เศร้าที่ก่อตัวขึ้นมาเป็นระลอก
โดยเฉพาะในเวลาที่ได้ยินเสียงเพลง เห็นภาพ
หรือรับฟังเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์
มีทั้งที่เป็นอาการทางร่างกาย เช่น จุกแน่นอกและลำคอ
น้ำตาไหล
กินไม่ได้ นอนไม่หลับ
และที่เป็นอาการทางใจ เช่น ความรู้สึกเศร้า
นึกคิดเกี่ยวกับพระองค์ท่าน
ไม่มีแรง ไม่อยากทำอะไร
ผู้สูงอายุบางรายถึงกับเป็นลม
เมื่อรับรู้ข่าวนี้
ถ้าสังเกตให้ดี จะพบว่า
ระยะนี้ หลายคนมีอารมณ์อ่อนไหวกว่าปกติ
ไม่เพียงมีอารมณ์เศร้า
แต่ยังมีอารมณ์อื่นๆ เช่น ความโกรธ พุ่งขึ้นได้เร็วกว่าธรรมดา
ทั้งหมดนี้
เป็นปฏิกิริยาที่เป็นปกติในเวลาที่เราสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รัก
คนที่เคยผ่านความสูญเสียรุนแรงล้วนเคยมีประสบการณ์
คล้ายคลึงกัน
เพียงแต่ครั้งนี้ เป็นความสูญเสียของคนไทยทั้งประเทศ
และเป็นการจากไปของบุคคลอันเป็นที่รักและเทิดทูนบูชายิ่ง
ทุกคนรู้ดีว่า
ความเศร้าโศกเสียใจนี้เป็นเรื่องธรรมดา
การร้องไห้เสียใจก็เป็นธรรมดา
หลายคนเป็นห่วงว่า หากความเศร้านี้เป็นอยู่นาน
อาจส่งผลกระทบต่อพลังชีวิต
ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง
เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น
คนที่มีโรคประจำตัว อาจมีอาการกำเริบ
บางคนอาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
วิธีจัดการอารมณ์เศร้าที่ดี คือ
ไม่ต้องปฏิเสธหรือหนีจากอารมณ์ตัวเอง
เพราะความเศร้าเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติ
ขณะเดียวกัน ก็ไม่ปล่อยให้ตัวเองจมไปกับอารมณ์เศร้า
เพราะหากอารมณ์เศร้าท่วมท้น
จะส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ
ตลอดจนความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคม
การวางใจตัวเองให้เป็นกลางๆ
ระหว่างการรับรู้อารมณ์โดยไม่ปฏิเสธหรือหนี
ขณะเดียวกันก็ไม่จมลงไป จนถูกอารมณ์ท่วมท้น
เป็นทักษะอย่างหนึ่งที่เราสามารถฝึกฝนได้
ฝึกกำหนดจุดสนใจ
โดยวางความรู้สึกส่วนหนึ่งไว้ที่ลมหายใจ
อีกส่วนหนึ่งไว้ที่ความรู้สึกทางกายและทางใจของอารมณ์เศร้า
ที่ก่อตัวขึ้นเป็นระลอก
การวางความรู้สึกในลักษณะนี้
จะช่วยให้เรา “เห็น” อารมณ์เศร้าที่ก่อตัวขึ้น
และเห็นอารมณ์เศร้าที่ค่อยๆ จางหายไป
มาแล้วก็ไป มาแล้วก็ไป
เราจะเรียนรู้ธรรมชาติของอารมณ์
และธรรมชาติการทำงานของจิตใจของตัวเองได้
จากการฝึกฝนเช่นนี้
ในสมัยพุทธกาล
นางกีสาโคตมีสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
นางแทบเสียสติ
ภายหลังจากการฟังธรรมะของพระพุทธองค์
นางเกิดดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน
ขอออกบวชและบรรลุเป็นอรหันต์ในเวลาต่อมา
ปลายทางความเศร้าโศกเสียใจ
อาจเกิดเป็นความเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ
หรืออาจแปลงเป็นบทเรียนสำคัญของชีวิต
ที่ช่วยยกระดับจิต
ยกระดับความเข้าใจธรรมชาติของอารมณ์
ช่วยให้เรามีความละเอียดอ่อน
เห็นอกเห็นใจ และเข้าใจกันได้มากขึ้น
ความรู้สึกเศร้า 在 Raksa - ความเศร้าที่เผชิญอยู่มันคืออะไร : อารมณ์เศร้า ภาวะซึมเศร้า ... 的推薦與評價
ความเศร้าที่เผชิญอยู่มันคืออะไร : อารมณ์เศร้า ภาวะซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้า? #เที่ยวรอบโรค . ไม่ว่าใครก็ต้องเคยเผชิญกับ “ความรู้สึกเศร้า”... ... <看更多>
ความรู้สึกเศร้า 在 ความรู้สึกเศร้า แบบไม่รู้สาเหตุ - YouTube 的推薦與評價
เคยอยากร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุกันบ้างไหม ? หรืออยู่ดีๆก็ รู้สึกเศร้า ขึ้นมาทั้งๆที่ก็ไม่ได้มีเรื่อง เศร้า อะไร ... ... <看更多>