อ้ายจงเล่าจีน : "ความเป็นไทย" จุดเริ่มต้นการสร้างมิตรภาพง่ายๆกับคนจีน / "มวยไทย" "ท่องเที่ยวไทย" หนึ่งในประเด็นฮิตที่คนจีนชวนคุยเมื่อรู้ว่าคู่สนทนาเป็นคนไทย
.
ใน Facebook ส่วนตัวของอ้ายจงเด้งความทรงจำขึ้นมา สมัยเมื่อสามปีที่แล้ว ที่เริ่มเก็บเสื้อผ้า ขนของบางส่วนจากคอนโดที่เมืองซีอาน มณฑลส่านซี เพื่อส่งไปไทย เตรียมตัวกลับไทยถาวร ทำให้อ้ายจงนึกถึงเพื่อนคนจีนหลายคนที่มาเป็นเพื่อนกันแบบไม่นึกไม่ฝัน เพื่อนอ้ายจงกลุ่มนี้ คือ "บุรุษไปรษณีย์จีนและพนักงานส่งของในจีน หรือที่เราเรียกว่า 快递 ไคว่ตี้ "
.
พวกเขาบริการดีมาก เพื่อนที่เป็นพนักงานของของ ไปรษณีย์จีน China post มาช่วยขนถึงห้อง พร้อมเลี้ยงน้ำอ้ายจง เขามาช่วยขน แต่เขาเป็นฝ่ายเลี้ยง ฮ่าาา เขาบอกว่า ต่างคนต่างไม่มีเวลาไปกินข้าวด้วยกันสักมื้อ ดังนั้น ขอเลี้ยงละกัน แต่อ้ายจงก็เลี้ยงตอบเน้อ ไม่ยอมให้เขาเลี้ยงฝ่ายเดียว
.
พอเขาขนของไปที่ไปรษณีย์สำนักงานสาขาเขาทำงานอยู่ เขาส่งภาพมาให้ดูว่า เขากับเพื่อนที่ออฟฟิศ พับเสื้อผ้าให้เรียบร้อยแล้วนะ เพราะอ้ายจงยัดๆไปในถุง มันเลอะ
.
บอกได้เลยว่า ซาบซึ้งสุดๆ เท่าที่มีเพื่อนเป็นคนจีน ต้องบอกว่า คนจีนเป็นคนที่ค่อนข้างเป็นมิตรและพร้อมช่วยเหลือกัน (ทั้งนี้ทุกสังคมทุกชนชาติก็มีทั้งดีและไม่ดี อ้ายจงก็เคยเจอมาทุกแบบ)
.
จุดเริ่มต้นของมิตรภาพ มาจากที่ มีอยู่ช่วงหนึ่งอ้ายจงสั่งของออนไลน์บ่อย ซื้อนู่นซื้อนี่ ช้อปเก่งประมาณนึง :-P เวลาเดินไปรับของ พนักงานไปรษณีย์ พนักงานส่งของในจีน ก็มักจะชวนคุย โดยที่ทักบ่อยสุดคือ เป็นคนจีนหรือเปล่า? ทำไมชื่อแปลกจัง?
.
帕卡 (อ่านว่า ผ้าข่า) เป็นชื่อภาษาจีนที่อ้ายจงใช้สมัยอยู่จีน ชื่อนี้ทางมหาวิทยาลัยเป่ยหัง สมัยที่อ้ายจงเรียนปริญญาโทที่นั่น เป็นคนตั้งให้ ตั้งแบบเลียนเสียงจากชื่อภาษาอังกฤษ Pagon (ภาษาไทย: ภากร) มันเป็นชื่อที่ไม่ได้มีความหมายนะ แต่อ้ายจงชอบ แม้จะมีคนเคยบอกว่า ฟังเหมือนชื่อชาวเขา ชาวเผ่า แต่ดูเก๋ และเป็นที่จดจำง่ายๆด้วย คนจีนอ่านชื่อนี้ รู้ทันทีว่าไม่น่าใช่ชื่อคนจีน
.
พอทุกคนทราบว่า อ้ายจงเป็นคนไทย 泰国人 ก็มักจะชวนคุยเรื่องราวเกี่ยวกับไทย
.
เรียกได้ว่า "ความเป็นคนไทย เป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพ"
.
4-5 ปีก่อน เป็นช่วงคนจีนนิยมไปเที่ยวไทยจำนวนมากด้วย (ติดอันดับ 1 จุดหมายปลายทางที่คนจีนไปตปท. แทบทุกปี) พวกเขาจึงสนใจเรื่องไทยไทยเป็นพิเศษ
.
"มวยไทย" เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่คนจีน และกลุ่มพนักงานส่งของกลุ่มนี้ ใช้มาเป็นประเด็นคุยแทบทุกรอบที่เจอหน้ากัน เขามีความเชื่อว่า "คนไทย ต่อยมวยเป็นทุกคน หรืออย่างน้อยก็ต้องคุยเรื่องมวยได้"
.
อย่างเช่นในรูปสุดท้าย ที่ทุกคนเห็น เป็นรูปของ พี่พนักงานรักษาความปลอดภัย 保安 กับ พี่พนักงานส่งของ 快递哥
เวลาอ้ายจงเดินไปเอาของทีไร มักทักทายว่า 泰拳来了!มวยไทยมาแว้ว
พี่แกชอบมวยไทยมาก ตั้งแต่มาเอาของครั้งแรก พอรู้ว่าเป็นคนไทย ก็ชวนคุยแต่เรื่องมวยไทย วันนั้นที่อ้ายจงถ่ายภาพ คือพี่แกเลยเล่นมวยไทยโชว์เลย
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
ความเป็นคนไทย 在 Danai Chanchaochai Facebook 的最佳貼文
คนไทยเป็นบุคคลที่โชคดีที่สุดในโลก
เรื่องอริยบุคคลนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นปรารภไว้หลายสถานที่ หลายวาระ ต่างๆ กัน แล้วแต่เหตุ ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า ชาวพุทธมีหลายประเทศ แต่จะขอกล่าวเฉพาะใกล้เคียง เขมร ลาว เวียดนาม และพม่า นอกนี้ไม่กล่าว
ท่านพระอาจารย์มั่นบอกว่า “เราไม่ได้ว่าเขาเหล่านั้นแต่ได้พิจารณาแล้ว ไม่มีก็ว่าไม่มี มีก็ว่ามี”
ท่านพระอาจารย์มั่นหมายถึง พระอริยบุคคลในประเทศเหล่านี้ มีที่ประเทศพม่าเพียงคนเดียว คือ หมู่บ้านที่ท่านไปจําพรรษา เป็นผ้าขาว ที่ผู้เล่าเคยเล่าว่า บุตรสาว บุตรเขย และบุตรชายของตาผ้าขาวคนนั้นละ ที่มาจัดเสนาสนะของบิดาเขาถวายท่านพระอาจารย์มั่น และท่านเจ้าคุณบุญมั่น มนฺตาสโย ครั้งจําพรรษาที่ประเทศพม่า ท่านพระอาจาย์มั่นว่า “ยกเว้นสยามประเทศแล้วนอกนั้นไม่มี”
“สําหรับสยามประเทศ ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน มีติดต่อมาโดยไม่ขาดสาย ทั้งคฤหัสถ์ชายหญิงและบรรพชิต แต่มรรคขั้นต้นคฤหัสถ์มากกว่า ทั้งปริมาณและมีสิกขาน้อยกว่า”
ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าต่อไปว่า เราไม่ได้ว่าเขา เราไม่ได้ดูหมิ่นเขา เพราะประเทศเหล่านั้น ขาดความพร้อม คือคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น เรื่องอักขระ ที่ไม่เป็นพุทธภาษา คือ ฐานกรณ์วิบัติ และ องค์ประกอบอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ องค์พระมหากษัตริย์ของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนานี้ก็สําคัญ ขาดไม่ได้ ถ้าขาดไป อริยบุคคลก็ขาดไปด้วย
ท่านพระอาจารย์มั่นว่า เมื่อพระพุทธเจ้าจะทรงประกาศพระศาสนา ทรงหาหลักค้ำประกันอันมั่นคง คือ มุ่งไปที่พระเจ้าพิมพิสาร ความสําคัญอันนี้มีมาตลอด หากประเทศใด ไม่มีองค์ประกอบนี้ ซึ่งเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ก็ปฏิเสธได้เลย
เปรียบเหมือนกับก้อนเส้า ๓ ก้อน ก้อนที่ ๑ คือ ความเป็นชาติ
ก้อนที่ ๒ มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
ก้อนที่ ๓ มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก
หากขาดไปก้อนใดก้อนหนึ่ง ก็จะขาดความสมบูรณ์ไป ไม่สามารถจะใช้นึ่งต้มแกง หุงหาอาหารได้
#ความสมบูรณ์พร้อมของประเทศไทย
ท่านพระอาจารย์มั่นว่า “ความเป็นคนไทยพร้อม” พร้อมอย่างไร ท่านจะอ้างอิงตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงสมัยปัจจุบัน ทั้งภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ พระไตรปิฎกพร้อมมูล ประเทศไทย ไม่เคยอดอยากหิวโหยตาย ตั้งแต่ยุคสุโขทัยถึงปัจจุบัน ประเทศไทยไม่เคยว่างเว้นจากพระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ไทย ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ทุกยุค ทุกสมัย ชาวไทยศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ถวายจตุปัจจัยพระสงฆ์ทุกวัน นับมูลค่าไม่ได้
ทําไมคนไทยจึงมีกินมีใช้ มิใช่บุญหรือ บุญมีจริงไหม มีข้าวกล้าในนางาม ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ในป่ามีไม้ มีปลาในน้ำ มีสัตว์บนบก มีนกในอากาศ มิใช่บุญเกิดจากการถวายทานพระสงฆ์ในแต่ละวันหรือ
ความเป็นคนไทย นับถือพระพุทธศาสนา เข้าสู่พุทธวงศ์ (หรือเข้าสู่วงจรชาวพุทธ) มิใช่เป็นของได้ง่ายๆ ท่านพระอาจารย์มั่นเลย ยกพุทธภาษิตที่มาจากคัมภีร์พระธรรมบท ขุททกนิกายว่า
กิจฺโฉ มนุสสปฏิลาโภ กิจฺจํ มจฺจานชีวิตํ
ภาษิตที่ยกมานั้น ท่านเอามงคลสูตรมากล่าว ตั้งแต่ อเสวนาเป็นต้นไป จนถึง ผุฎฐสฺส โลกธมฺเมหิ ฯลฯ เป็นอวสาน มงคลที่ท่านเป็นพิเศษ คือ บท ๒ ปฏิรูป เทสวาโส ฯลฯ บท ๓ และ บท ๔ ทานญฺจ ฯลฯ อนวชฺชานิ กมฺมานิ เพราะ ๔ บทนี้ เป็นพื้นฐาน ของมงคลทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องปฏิรูปเทสนี้ สําคัญมาก ท่านดูจะหมายเอาประเทศไทย โดยเฉพาะ
พอท่านอธิบายจบแต่ละมงคล ก็จะเป็นบาลี ว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ถึง ๓ ครั้ง และเป็นภาษาไทยว่า เป็นความเจริญอันอุดมเลิศ เป็นความเจริญอันอุดมเลิศ เป็นความเจริญอันอุดมเลิศ ถึง ๓ ครั้ง
ครั้งสุดท้าย พอขึ้น ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ นั่นละ ถึงเป็นมงคลถึงที่สุด คือ พระนิพพานเลย
ธรรมเทศนาของท่านพระอาจารย์มั่น มักจะยกการทํานามาเป็นเครื่องอุปมาอุปไมย เปรียบเทียบเกือบจะไม่ว่างเว้นเลย และอธิบายเรื่องการทํานาได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนมาก คงจะได้พบในมุตโตทัย
ผู้เล่า(หลวงตาทองคำ จารุธมฺโม) จะนํามาเล่าเท่าที่จําได้ เช่น การปฏิบัติธรรมถูกก็ถูกมาแต่ต้น ท่านพระอาจารย์มั่น หมายถึง ผู้ปฏิบัติคือ ไม่ลืมคําสอนที่พระอุปัชฌาย์สอนไว้แต่วันบวช การทํานาก็เหมือนกัน ถูกมาตั้งแต่ต้น ฮวงเม่าจึงมี ผิดมาตั้งแต่ต้น ฮวงเม่าบ่มี คําเหลือง สร้อยซิเป็นฮอยหิห่ำ ข้าวก่ำ เป็นข้าวพั้ว งัวสิให้ต่อควาย คํานี้ท่านเปรียบผู้เรียนรู้มาก แล้วลาสิกขาออกไป เปรียบด้วยข้าวในนาจวนจะสุกอยู่แล้ว เลยถูกหนอนคอรวง กัดกินเสียหายหมด เลยไม่ได้กินสูญเปล่า
#การเกิดในแผ่นดินไทยโชคดีที่สุด
ความเป็นคนไทย และได้เกิดในผืนแผ่นดินไทยโชคดีที่สุด เพราะว่า การพลัดเข้ามา สู่วงศ์พระพุทธศาสนา จะต้องอยู่ในมนุสสธรรมหรือเทวธรรม ท่านว่าอย่างนั้น
คําว่า โชคดีที่สุด หมายความว่า ตราบใดที่ประเทศไทยยังมีพระอริยบุคคล ตราบนั้น จะไม่ฉิบหายด้วยภัยแห่งสงคราม ตามที่ปรากฏมาแล้ว ในสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ไทยชนะ ครั้งที่ ๒ ไทยก็ชนะ สู้กับคอมมิวนิสต์ เพื่อนบ้านเป็นคอมมิวนิสต์ไปหมด แต่ไทยชนะ ท่านพระอาจารย์มั่น ยังเล่าอีกว่า ทีนี้ทําไมคนทั้งหลาย ทั้งฆราวาสและบรรพชิต จึงไม่ค่อยจะได้บรรลุเป็นโสดาบัน สกิทาคามี ก็เพราะความปรารถนาไม่พอ
ท่านพระอาจารย์มั่นว่า เราอยู่อย่างนี้มีพอได้กินได้ใช้ คนบ้านนอกบ้านนา เขาก็มีข้าวในยุ้ง ไม่มีปัญหาอะไร กับข้าวก็พากันไปหาปลาตามหนองคลองบึง ผู้อยู่ในบ้านในเมืองใหญ่ เขาก็มีการมีงาน มีเงินมีทอง คนเหล่านี้ล่ะ ติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เท่าที่ตนได้รับในแต่ละวัน ๆ ถึงแม้จะไม่ร่ำไม่รวย แต่เรียกว่าอยู่ได้ไปได้
การนับถือพระพุทธศาสนานั้น ก็มีทั้งนับถือภายนอกบ้าง ภายในบ้าง การบํารุงศาสนาภายนอก เช่น ในสมัยพุทธกาลก็มี พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น ฝ่ายฆราวาสก็มี ท่านอนาถบิณฑิกะ และนางวิสาขา เป็นต้น ท่านได้เสียสละทรัพย์สร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า ทนุบํารุงพระสงฆ์สาวกทั้งปวง
การบํารุงศาสนาภายในก็คือ การทำทานให้เป็นทานเลิศ ทำศีลให้เป็นศีลเลิศ ทำสมาธิให้เป็นสมาธิยิ่ง ทำปัญญาให้เป็นปัญญายิ่ง เมื่อทำได้อย่างนี้แล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นบอกว่า อะไรจะเกิด ก็คุณวิเศษในพระพุทธศาสนาน่ะซี ไม่ใช่ของยาก และก็ไม่ใช่ของง่าย เราทําได้ อานิสงส์ของทาน ศีล ภาวนา และสติปัญญาของเราน่ะ จะเป็นพลังเสริมสร้างจิตของเรา ให้เป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาได้
คัดลอกจากหนังสือ รำลึกวันวาน เกร็ดประวัติ ปกิณกธรรมและพระธรรมเทศนา ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร โดย หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ (อดีตพระอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น) ; หน้า ๒๕๕ – ๒๕๘ ; พิมพ์เมื่อ พฤษภาคม ๒๕๔๗ (หนังสือเล่มนี้ถูกนำมาตีพิมพ์ใหม่เพื่อแจกเป็นธรรมทาน สามารถขอรับได้ที่วัดป่าดานวิเวก จ.บึงกาฬ)
๑๕๐ปีชาตกาลท่านพระอาจารย์มั่น_ภูริทตฺตเถร
_/\\_ _/\\_ _/\\_
ความเป็นคนไทย 在 Danai Chanchaochai Facebook 的最佳解答
คนไทยเป็นบุคคลที่โชคดีที่สุดในโลก
เรื่องอริยบุคคลนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นปรารภไว้หลายสถานที่ หลายวาระ ต่างๆ กัน แล้วแต่เหตุ ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า ชาวพุทธมีหลายประเทศ แต่จะขอกล่าวเฉพาะใกล้เคียง เขมร ลาว เวียดนาม และพม่า นอกนี้ไม่กล่าว
ท่านพระอาจารย์มั่นบอกว่า “เราไม่ได้ว่าเขาเหล่านั้นแต่ได้พิจารณาแล้ว ไม่มีก็ว่าไม่มี มีก็ว่ามี”
ท่านพระอาจารย์มั่นหมายถึง พระอริยบุคคลในประเทศเหล่านี้ มีที่ประเทศพม่าเพียงคนเดียว คือ หมู่บ้านที่ท่านไปจําพรรษา เป็นผ้าขาว ที่ผู้เล่าเคยเล่าว่า บุตรสาว บุตรเขย และบุตรชายของตาผ้าขาวคนนั้นละ ที่มาจัดเสนาสนะของบิดาเขาถวายท่านพระอาจารย์มั่น และท่านเจ้าคุณบุญมั่น มนฺตาสโย ครั้งจําพรรษาที่ประเทศพม่า ท่านพระอาจาย์มั่นว่า “ยกเว้นสยามประเทศแล้วนอกนั้นไม่มี”
“สําหรับสยามประเทศ ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน มีติดต่อมาโดยไม่ขาดสาย ทั้งคฤหัสถ์ชายหญิงและบรรพชิต แต่มรรคขั้นต้นคฤหัสถ์มากกว่า ทั้งปริมาณและมีสิกขาน้อยกว่า”
ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าต่อไปว่า เราไม่ได้ว่าเขา เราไม่ได้ดูหมิ่นเขา เพราะประเทศเหล่านั้น ขาดความพร้อม คือคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น เรื่องอักขระ ที่ไม่เป็นพุทธภาษา คือ ฐานกรณ์วิบัติ และ องค์ประกอบอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ องค์พระมหากษัตริย์ของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนานี้ก็สําคัญ ขาดไม่ได้ ถ้าขาดไป อริยบุคคลก็ขาดไปด้วย
ท่านพระอาจารย์มั่นว่า เมื่อพระพุทธเจ้าจะทรงประกาศพระศาสนา ทรงหาหลักค้ำประกันอันมั่นคง คือ มุ่งไปที่พระเจ้าพิมพิสาร ความสําคัญอันนี้มีมาตลอด หากประเทศใด ไม่มีองค์ประกอบนี้ ซึ่งเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ก็ปฏิเสธได้เลย
เปรียบเหมือนกับก้อนเส้า ๓ ก้อน ก้อนที่ ๑ คือ ความเป็นชาติ
ก้อนที่ ๒ มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
ก้อนที่ ๓ มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก
หากขาดไปก้อนใดก้อนหนึ่ง ก็จะขาดความสมบูรณ์ไป ไม่สามารถจะใช้นึ่งต้มแกง หุงหาอาหารได้
#ความสมบูรณ์พร้อมของประเทศไทย
ท่านพระอาจารย์มั่นว่า “ความเป็นคนไทยพร้อม” พร้อมอย่างไร ท่านจะอ้างอิงตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงสมัยปัจจุบัน ทั้งภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ พระไตรปิฎกพร้อมมูล ประเทศไทย ไม่เคยอดอยากหิวโหยตาย ตั้งแต่ยุคสุโขทัยถึงปัจจุบัน ประเทศไทยไม่เคยว่างเว้นจากพระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ไทย ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ทุกยุค ทุกสมัย ชาวไทยศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ถวายจตุปัจจัยพระสงฆ์ทุกวัน นับมูลค่าไม่ได้
ทําไมคนไทยจึงมีกินมีใช้ มิใช่บุญหรือ บุญมีจริงไหม มีข้าวกล้าในนางาม ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ในป่ามีไม้ มีปลาในน้ำ มีสัตว์บนบก มีนกในอากาศ มิใช่บุญเกิดจากการถวายทานพระสงฆ์ในแต่ละวันหรือ
ความเป็นคนไทย นับถือพระพุทธศาสนา เข้าสู่พุทธวงศ์ (หรือเข้าสู่วงจรชาวพุทธ) มิใช่เป็นของได้ง่ายๆ ท่านพระอาจารย์มั่นเลย ยกพุทธภาษิตที่มาจากคัมภีร์พระธรรมบท ขุททกนิกายว่า
กิจฺโฉ มนุสสปฏิลาโภ กิจฺจํ มจฺจานชีวิตํ
ภาษิตที่ยกมานั้น ท่านเอามงคลสูตรมากล่าว ตั้งแต่ อเสวนาเป็นต้นไป จนถึง ผุฎฐสฺส โลกธมฺเมหิ ฯลฯ เป็นอวสาน มงคลที่ท่านเป็นพิเศษ คือ บท ๒ ปฏิรูป เทสวาโส ฯลฯ บท ๓ และ บท ๔ ทานญฺจ ฯลฯ อนวชฺชานิ กมฺมานิ เพราะ ๔ บทนี้ เป็นพื้นฐาน ของมงคลทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องปฏิรูปเทสนี้ สําคัญมาก ท่านดูจะหมายเอาประเทศไทย โดยเฉพาะ
พอท่านอธิบายจบแต่ละมงคล ก็จะเป็นบาลี ว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ถึง ๓ ครั้ง และเป็นภาษาไทยว่า เป็นความเจริญอันอุดมเลิศ เป็นความเจริญอันอุดมเลิศ เป็นความเจริญอันอุดมเลิศ ถึง ๓ ครั้ง
ครั้งสุดท้าย พอขึ้น ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ นั่นละ ถึงเป็นมงคลถึงที่สุด คือ พระนิพพานเลย
ธรรมเทศนาของท่านพระอาจารย์มั่น มักจะยกการทํานามาเป็นเครื่องอุปมาอุปไมย เปรียบเทียบเกือบจะไม่ว่างเว้นเลย และอธิบายเรื่องการทํานาได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนมาก คงจะได้พบในมุตโตทัย
ผู้เล่า(หลวงตาทองคำ จารุธมฺโม) จะนํามาเล่าเท่าที่จําได้ เช่น การปฏิบัติธรรมถูกก็ถูกมาแต่ต้น ท่านพระอาจารย์มั่น หมายถึง ผู้ปฏิบัติคือ ไม่ลืมคําสอนที่พระอุปัชฌาย์สอนไว้แต่วันบวช การทํานาก็เหมือนกัน ถูกมาตั้งแต่ต้น ฮวงเม่าจึงมี ผิดมาตั้งแต่ต้น ฮวงเม่าบ่มี คําเหลือง สร้อยซิเป็นฮอยหิห่ำ ข้าวก่ำ เป็นข้าวพั้ว งัวสิให้ต่อควาย คํานี้ท่านเปรียบผู้เรียนรู้มาก แล้วลาสิกขาออกไป เปรียบด้วยข้าวในนาจวนจะสุกอยู่แล้ว เลยถูกหนอนคอรวง กัดกินเสียหายหมด เลยไม่ได้กินสูญเปล่า
#การเกิดในแผ่นดินไทยโชคดีที่สุด
ความเป็นคนไทย และได้เกิดในผืนแผ่นดินไทยโชคดีที่สุด เพราะว่า การพลัดเข้ามา สู่วงศ์พระพุทธศาสนา จะต้องอยู่ในมนุสสธรรมหรือเทวธรรม ท่านว่าอย่างนั้น
คําว่า โชคดีที่สุด หมายความว่า ตราบใดที่ประเทศไทยยังมีพระอริยบุคคล ตราบนั้น จะไม่ฉิบหายด้วยภัยแห่งสงคราม ตามที่ปรากฏมาแล้ว ในสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ไทยชนะ ครั้งที่ ๒ ไทยก็ชนะ สู้กับคอมมิวนิสต์ เพื่อนบ้านเป็นคอมมิวนิสต์ไปหมด แต่ไทยชนะ ท่านพระอาจารย์มั่น ยังเล่าอีกว่า ทีนี้ทําไมคนทั้งหลาย ทั้งฆราวาสและบรรพชิต จึงไม่ค่อยจะได้บรรลุเป็นโสดาบัน สกิทาคามี ก็เพราะความปรารถนาไม่พอ
ท่านพระอาจารย์มั่นว่า เราอยู่อย่างนี้มีพอได้กินได้ใช้ คนบ้านนอกบ้านนา เขาก็มีข้าวในยุ้ง ไม่มีปัญหาอะไร กับข้าวก็พากันไปหาปลาตามหนองคลองบึง ผู้อยู่ในบ้านในเมืองใหญ่ เขาก็มีการมีงาน มีเงินมีทอง คนเหล่านี้ล่ะ ติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เท่าที่ตนได้รับในแต่ละวัน ๆ ถึงแม้จะไม่ร่ำไม่รวย แต่เรียกว่าอยู่ได้ไปได้
การนับถือพระพุทธศาสนานั้น ก็มีทั้งนับถือภายนอกบ้าง ภายในบ้าง การบํารุงศาสนาภายนอก เช่น ในสมัยพุทธกาลก็มี พระเจ้าพิมพิสาร เป็นต้น ฝ่ายฆราวาสก็มี ท่านอนาถบิณฑิกะ และนางวิสาขา เป็นต้น ท่านได้เสียสละทรัพย์สร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า ทนุบํารุงพระสงฆ์สาวกทั้งปวง
การบํารุงศาสนาภายในก็คือ การทำทานให้เป็นทานเลิศ ทำศีลให้เป็นศีลเลิศ ทำสมาธิให้เป็นสมาธิยิ่ง ทำปัญญาให้เป็นปัญญายิ่ง เมื่อทำได้อย่างนี้แล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นบอกว่า อะไรจะเกิด ก็คุณวิเศษในพระพุทธศาสนาน่ะซี ไม่ใช่ของยาก และก็ไม่ใช่ของง่าย เราทําได้ อานิสงส์ของทาน ศีล ภาวนา และสติปัญญาของเราน่ะ จะเป็นพลังเสริมสร้างจิตของเรา ให้เป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาได้
คัดลอกจากหนังสือ รำลึกวันวาน เกร็ดประวัติ ปกิณกธรรมและพระธรรมเทศนา ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร โดย หลวงตาทองคำ จารุวณฺโณ (อดีตพระอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น) ; หน้า ๒๕๕ – ๒๕๘ ; พิมพ์เมื่อ พฤษภาคม ๒๕๔๗ (หนังสือเล่มนี้ถูกนำมาตีพิมพ์ใหม่เพื่อแจกเป็นธรรมทาน สามารถขอรับได้ที่วัดป่าดานวิเวก จ.บึงกาฬ)
๑๕๐ปีชาตกาลท่านพระอาจารย์มั่น_ภูริทตฺตเถร
_/\_ _/\_ _/\_